20210112 bannerlibservice
 20210729 Welcome Grads 2564 00320230203 E book KU 80th 1
bannerorientationku81

 


banner covid220210915 button service01

Science DirectSageEconlitKnovelAIPScopusSciFinderWileyWestlawฺBusiness Source CompleteASMEAPSTDC

 QuickLinkh 15QuickLinkh kukrQuickLinkh archives Asset 28 QuickLinkh talk QuickLinkh activuties QuickLinkh Recovered 07Untitled 3 AgrisTconhall of fame Logomenu researchinspire

KUlib Talk No.23 “Sam’s Story RUN FOR LIFE”

 

     ในปีที่ผ่านมามีข่าวออกมามากมายหลายข่าวที่เป็นกระแสปรากฏการณ์ใหม่ให้แก่ประเทศของเรา รวมถึงการถ่ายทอดการวิ่งของพี่ตูน บอดี้แสลม ที่มีการวิ่งเพื่อระดมทุนซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์มอบให้กับโรงพยาบาลจำนวน 11 แห่ง ภายใต้โครงการก้าวคนละก้าว ซึ่งการวิ่งในครั้งนี้ได้สร้างแรงบัลดาลใจให้กับใครหลายคนที่จะพาตัวเองออกมาวิ่งเพื่อสร้างสุขภาพให้กับตัวเอง ซึ่งแขกรับเชิญของเราในรายงาน KUlib Talk ในวันนี้ก็เป็นหนึ่งท่านที่ได้รับแรงบัลดาลใจจากพี่ตูนเช่นกัน ซึ่งบุคคลท่านนี้ก็เป็นศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา รุ่น KU65 จากคณะวิทยาการจัดการ เคยเป็นอดีตนักมวยจากเวทีราชดำเนิน ได้ล้มป่วยเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว และได้รับแรงบัลดาลใจให้ลุกขึ้นมาก้าวเดินและก็วิ่งโดยบันทึกเรื่องราวของตัวเองผ่านเพจ Sam’s Story และวันนี้คุณแซมของเราได้อยู่กับเรา ขอต้อนรับคุณแซมครับ

libtalk24 1

 

ให้คุณแซมแนะนำตัวเองให้กับท่านผู้ชมรายการในตอนนี้ด้วยครับ

     สวัสดีครับ ผม แซม ณัฐพล เสมสุวรรณ KU65 วิทยาเขตศรีราชา เป็นอดีตผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน

ตอนที่เรารู้ว่าตัวเองเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันเราสึกอย่างไรบ้างครับ

     อาการเริ่มจากเบื่ออาหาร ทานอาหารไม่ค่อยได้ เริ่มมีอาการอาเจียน เริ่มเป็นไข้ทุกวันเลย ด้วยความที่เราอยู่หอพักอยู่ไกลจากคุณพ่อคุณแม่ เราก็เข้าใจว่ามันอ่อนเพลียจากอาการพักผ่อนน้อย ก็ทานยาพาราทุกวัน จนกระทั่งสอบเสร็จกับบ้านมา คุณแม่เห็นว่าเป็นไข้สามวัน ก็เริ่มพาไปหาหมอเจาะเลือดพบว่ามีเม็ดเลือดผิดปกติ

ตอนนั้นรู้สึกท้อแท้ไหมครับที่รู้ คือ ตอนที่รู้ยังเป็นนิสิตที่ศรีราชาใช่ไหมครับ

     รู้สึกตกใจ ท้อ เพราะว่าเรายังอยู่ในวัยที่อายุไม่เยอะมาก มีร่างกายที่แข็งแรง มันก็ตกใจเพราะเราไม่เคยป่วยเลยแต่พอมาเจ็บก็กลายเป็นว่าเป็นมะเร็งไปเลย

ตอนนั้นคิดอย่างไร พอรู้ว่าเป็นเราวางแผนการดำเนินชีวิตของตัวเองอย่างไร

      ด้วยความที่พื้นฐานร่างกายเป็นคนที่แข็งแรงมาก ๆ เราเข้าใจเอาเองว่า มันคงผ่านไปได้อย่างไม่ยากเย็น ด้วยวัยที่ยังน้อยอายุยังไม่มากร่างกายยังแข็งแรงอยู่ แต่ว่าพอเราเริ่มเข้าสู้กระบวนการรักษาจริง ๆ มันยากมาก มันยากถึงขนาดเราเอาชีวิตไม่รอด หลาย ๆ ครั้ง เราต้องเข้าปลูกถ่ายไขกระดูก เราไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ เราหายใจเองไม่ได้ เราลุกขึ้นช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เรากลายเป็นคนที่นอนติดเตียง หันซ้ายหันขวาได้อย่างเดียวเป็นระยะเวลานานมันทรมานมาก

ช่วงนั้นต้อง drop เรียนเลยไหมครับ

     Drop เรียนเลยครับ ทันทีที่รู้ว่าป่วยคุณหมอสั่งให้ drop เรียนทันที เพราะต้องรักษาทันที

การรักษาต้องใช้วิธีการรักษาอย่างไรบ้างครับ

     ให้เคมีบำบัดและก็ฉายแสงครับ

เคมีบำบัดคือตัวที่เขาเรียกว่าคีโมหรือเปล่าครับ

     ใช่ครับ

ผลการรักษาในเบื้องต้นเป็นอย่างไรบ้างครับ

     เบื้องต้นก็อาการไม่ค่อยดีครับ ตอบสนองต่อยาไม่ค่อยดี จนนำไปสู้กระบวนการที่เรียกว่าปลูกถ่ายไขกระดูก ซึ่งเป็นการล้างเซลล์ทั้งหมดในร่างกายออก ก็ใส่เซลล์ของคนใหม่เข้าไปที่เรียกว่า stem cell ขั้นตอนนั้นเป็นขั้นตอนที่ลำบากที่สุดในชีวิตของผมครั้งหนึ่ง เราเกือบไปหลายครั้ง ติดเชื้อหลายครั้งจากกระบวนการนี้

การติดเชื้อในระหว่างการรักษาที่คุณแซมบอกมา มันมีโรคอะไรที่เพิ่มเข้ามาบ้างครับ

     ถ้าหมายถึงโรคแพ้ยาอย่างรุนแรงก็หลังจากที่ผมออกจากห้องถ่ายไขกระดูกแล้ว 2-3 เดือน มันเริ่มมีอาการหลังจากทานยาตัวหนึ่งเข้าไปมันมีผื่นขึ้นตามตัว ปากบวม ตาบวม แต่ที่มันร้ายแรงกว่าโรคทั่วไป คือมันเริ่มมีอาการไหม้ของผิวหนัง ปวดแสบปวดร้อนที่ปลายเล็บ โชคดีที่ตอนนั้นอยู่ใกล้โรคพยาบาลมาก ๆ เข้าไป หมอก็บอกว่าเป็นโรคแพ้ยาอย่างรุนแรงที่ชื่อว่าโรค Stevens Johnson Syndrome มันส่งผลให้ร่างกายของเรากลับจากหน้ามือเป็นหลังมืออีกครั้งหนึ่ง

พอผ่านสภาวะช่วงโรคมะเร็งมาได้ ก็มาเจอโรคแทรกซ้อนก็คือโรคแพ้ยาอย่างรุนแรง เห็นว่าเป็นโรคหนักอย่างหนึ่งพบเป็นจำนวนน้อยในล้านคน

     ใช่ครับ ในล้านคนจะเจอได้ใน 7 คน

ในช่วงที่เป็นในตอนนั้นเริ่มท้อหนักกว่าเก่าไหมครับ คือเราผ่านมาโรคหนึ่งแล้วมาเจออีกโรคหนึ่งที่มีโอกาสจะพบเจอน้อยมาก ๆ มาเป็นที่เราอีก

     ผมชอบเปรียบว่ามันเหมือนกับการที่เราพยายามสู้อยู่กลางมหาสมุทร แล้วเราว่ายน้ำไม่เจอฝั่งสักที เหมือนเราไปเจอเกาะเกาะหนึ่งแล้ว คือการพ้นจากมะเร็งแล้ว สักพักเกาะนั้นก็หายไปอีก เราก็ต้องลุยว่ายน้ำออกไปอีกไม่รู้ว่าเป้าหมายปลายทางเส้นชัยของเรามันอยู่ตรงไหน คำว่าชัยชนะจากโรคมะเร็งมันไม่ได้การันตีว่าเราจะหมดเคราะห์หมดกรรม มันยังมีเรื่องต่าง ๆ ที่เรายังต้องเจอ ไม่รู้ว่ามันจะสิ้นสุดที่ตรงไหน

อะไรเป็นจุดเปลี่ยนวิกฤตของเราตรงนั้นมาเป็นโอกาสมาทำให้เราหากำลังใจให้ตัวเองหรือการหาเป้าหมายใหม่ของเราครับ

     จริง ๆ จุดที่เราท้อมาก ๆ มันท้อมาจากภายนอกภายใน คือภายนอกผมปฏิเสธการรักษาตอนที่เป็นโรคมะเร็ง และก็ภายในผลเลือดทุก ๆ อย่างของผมแย่หมดเลย วันนั้นคุณหมอเอาหนังสือเล่มหนึ่งมาให้ชื่อหนังสือว่า “ความสุข ณ จุดที่ยืนอยู่” เขียนโดย หนุ่มเมืองจันทร์ ในหนังสือเล่มนี้จะมีบทหนึ่งที่พูดถึงอิฐสามก้อน เป็นเรื่องของพระท่านสร้างกำแพงเองวางอิฐทีละก้อน ๆ อิฐเป็นร้อยเป็นพันก้อนถ้าเราเรียงได้สวยงามทุกก้อนแต่ว่าในกำแพงนั้นมีอิฐอยู่แค่สามก้อนที่วางไว้อย่างไม่เป็นระเบียบ ผมก็เปรียบว่าตอนนี้ชีวิตของเรามันเหมือนอิฐแค่สามก้อน เราได้รับการเลี้ยงดูที่ดีมากตลอดจากคุณพ่อคุณแม่ คุณพ่อคุณแม่ช่วยกันวางอิฐทีละก้อน ๆ แต่ว่าในช่วงชีวิตนี้มันมีอิฐแค่สามก้อนที่วางไม่เป็นระเบียบในชีวิตของผมคือ เราไม่ควรที่จะเอาจุดเล็ก ๆ น้อย ๆ มาทำลายความหวังของอิฐหลาย ๆ ก้อน ที่สังคมคนรอบ ๆ ข้างช่วยสร้างเราขึ้นมา พออ่านจบก็ตัดสินใจโทรบอกคุณแม่ว่าผมจะสู้ต่อ คุณแม่ก็ร้องไห้ไม่ได้ตอบรับอะไรกลับมา

ตอนนั้นเป็นจุดที่ทำให้เราลุกขึ้นสู้อีกครั้งหนึ่ง

     คือหลังจากที่เราตัดสินใจว่าจะสู้ ผลเลือดของเรามันดีขึ้นมาเลยโดยที่เรายังไม่ต้องให้ยาอะไร กลายเป็นว่ายาที่ใส่เข้าไปตอบสนองต่อร่างกายมากขึ้น

มันน่าจะเกี่ยวกับจิตใจของเราในตอนนั้น มันน่าจะมีส่วน

     ครับกับโรคมะเร็งมันเป็นปัจจัยหลัก มันดีกว่ายาที่ต้องกินเข้าไป มันคือพลังที่เกิดจากภายในความเข้าใจมากกว่า

มาโยงเกี่ยวกับตอนที่หันมาวิ่ง คือก่อนที่เราเป็นมะเร็งหรือโรคแทรกซ้อน เรามีการวิ่งมาก่อนหรือเปล่าครับ

     ไม่เลยครับ คือ ต้องบอกว่าตอนที่ออกจากโรงพยาบาลไป ผมเดินไม่ได้ เป็นผู้ป่วยติดเตียงอยู่ที่บ้าน ผมยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ต้องให้คนอื่นพยุงไปห้องน้ำอยู่ พอช่วงเริ่มเดินได้ผมก็เป็น Stevens Johnson Syndrome ร่างกายผมมันเปลี่ยนไปมาก เมื่อก่อนผมดำกว่านี้ผอมกว่านี้ ปากแข็งลิ้นแข็งพูดไม่ชัด ผิวไหม้ ซึ่งโรคนี้ทำให้ผมเก็บตัวไปประมาณ 9 ปี เพราะว่าทุกครั้งที่ออกไปมันโดนกระแสลบจากทางสังคมมาก ๆ ทุกคนมองด้วยท่าทีที่รังเกียจ ทุกครั้งที่เราไปนั่งกินข้าวตรงไหน ถ้ามีคนนั่งกินข้าวอยู่จะลุกออกหมด เราเดินไปไหนจะมีคนชี้เราและก็ค่อยหลบเรา

หลังจากเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ทำให้เราเริ่มเก็บตัว 9 ปี เลยหรอครับ

     เก็บตัว 9 ปี ครับ เราหายใจอยู่ที่บ้านเราไม่ได้ใช้ชีวิตของเราเลย

ช่วงนั้นครอบครัวกับคุณพ่อคุณแม่ให้ความเห็นอย่างไรบ้างครับที่เราเริ่มมาเก็บตัว

     คุณแม่เคยพบเจอปัญหาเดียวกับผม คือวันนั้นเราออกไปนั่งกินข้าวด้วยกัน แล้วมีคนหนึ่งมานั่งใกล้โต๊ะเราแล้วหันมาเจอผมแล้วเขาตกใจ ผมก็หันไปมองหน้าคุณแม่แล้วบอกว่ากลับบ้านเถอะ เราไม่อยากกินต่อแล้ว คุณแม่เข้าใจว่าสิ่งที่เราเจอมันเป็นอย่างไง

หลังจากนั้นอะไรทำให้คุณแซมกล้าที่จะออกมาใช้ชีวิตกับสังคมภายนอกปกติครับ

     เราในมุมมองคนอื่นว่า ถ้าเราเป็นตัวของเราเองที่เห็นคนที่มีลักษณะอย่างเรามาเดินเข้ามา เราจะปฏิบัติตัวอย่างไร คำตอบนี้ต้องไม่โกหกตัวเอง คือเราจะมีปฏิกิริยาเหมือนกันคือเราจะระวังตัว เราก็จะสะกิดเพื่อนว่า มันเป็นอะไร ทำไมถึงเป็นอย่างนี้ ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องผิดปกติ ผมคิดว่าการที่เราจะให้คนทั้งโลกมาเข้าใจเราคนเดียวมันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ แต่ว่ามันง่ายกว่าที่จะเป็นตัวเราคนเดียว ปรับเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อสังคม เข้าใจกับสังคมทำให้เราเดินต่อไป มันเป็นสิ่งที่เป็นไปได้มากกว่า เลยตัดสินใจว่า โอเคเราจะกลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่งมาสู้กับสังคมอีกครั้งหนึ่ง เราจะไม่ตัดสินสังคมจากมุมมุมเดียวอีกต่อไป

หลังจากที่คิดได้เช่นนี้แล้ว คุณแซมออกมาจากที่เราเก็บตัวเลยไหมครับ พอออกมาเราค้นพบอะไรมากขึ้นไหมครับ

     ผมคิดว่าสิ่งที่ขังเรามาตลอด 9 ปี มันไม่ใช่สังคมแต่มันคือจุดเดียวในความคิดของเราเท่านั้นเอง พอเราปลดล็อคได้ทุกอย่างมันเปลี่ยนไป โลกที่เราเห็นอยู่มุมแคบมันกว้างใหญ่ขึ้น จากในมุมของสายตาและมุมของความคิด คือเรารู้สึกว่าโลกมันอยู่ง่ายขึ้นแค่เราพยายามเข้าใจมัน

หลังจากที่ออกมาแล้ว คุณแซมหันมามองเรื่องการวิ่งเลยไหมครับ

     ยังครับ ผมมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว เพราะเราแค่เดินไปไม่กี่ก้าวเราก็หอบมากแล้วครับ สภาพตัวเองยังไม่พร้อมที่จะออกกำลังกาย เรายังไม่มีความสามารถที่จะมีชีวิตเหมือนคนอื่นได้ ผมยังคิดว่าผมเป็นผู้ป่วยอยู่ตลอดเวลา แต่จุดเปลี่ยนมันคือ วันนั้นที่ผมนอนอยู่เป็นวันที่พี่ตูนวิ่งจากกรุงเทพไปบางสะพาน ผมจำได้เลยว่าทุกคนมองไปที่ยอดเงินหมดมองว่าพี่ตูนได้เงินจากการวิ่งไปเท่าไหร่ทุกคนพูดถึงแต่ว่าตัวเงิน แต่ว่าผมฟังพี่ตูนพูดประโยคหนึ่งว่า “การออกมาวิ่งของเขาไม่ได้ออกมาวิ่งเพื่อระดมทุนเพียงอย่างเดียวปลุกให้คนไทยหันมามองสุขภาพของตนเอง อยากให้คนไทยหันมารักษาสุขภาพของตนเอง” มันเป็นจุดที่เรามองย้อนตัวเองไปว่า ตลอด 9 ปี ที่ผ่านมาเราอย่างแข็งแรง ทุกคนอย่างแข็งแรง เราเคยพยายามกับมันหรือเปล่า เรามองว่าเป็นผู้ป่วยตลอดเวลา เราไม่เคยมองเลยว่าเราเป็นผู้รักษาตัว เรารอคอยให้คุณหมอมารักษา ให้พยาบาลมาช่วยเหลือตลอดเวลา ให้คนที่บ้านมาช่วยเหลือตลอดเวลา แค่ว่าเรายังไม่เคยพยายามที่จะช่วยเหลือตัวเองก่อน นั้นคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้ผมออกไปวิ่งครับ

ช่วงนั้นที่คุณแซมบอกว่าร่างกายยังไม่แข็งแรง เดินนิดหนึ่งก็หอบก็เหนื่อยแล้ว คุณแซมเริ่มอย่างไงครับจนปัจจุบันสามารถวิ่งได้เป็นหลายกิโลเมตร

     ผมก็เริ่มจากการหอบนั้นแหละครับ ผมรู้ว่ามันยากมันแทบจะเป็นไปไม่ได้จากสภาพที่เป็นอยู่ แต่ถ้าเราอยู่จุดเดิมเราก็จะอยู่จุดเดิมตลอดเวลา ผมเชื่อว่าถ้าชีวิตอยากเปลี่ยนแปลงก็เริ่มจากการเปลี่ยนแปลงตัวเอง ผมก็เลยเริ่มออกไปก้าวซึ่งมันก็เป็นไปได้ยากมาก ๆ ตอนแรก ๆ แค่ 20 เมตร ผมก็รู้สึกหอบแล้ว พอหอบขาผมสั่น ด้วยความที่ผมติดเตียงมานาน ผมขาดสารอาหาร โซเดียมของผมต่ำ ผมเป็นตะคิว ผมกัดปากกัดลิ้นตัวเองเลือดไหลเต็มไปหมดเลย แม่เข้าใจว่าผมวิ่งล้ม เห็นแล้ววิ่งมาประคองร้องไห้ใหญ่เลย ก็พยุงกันเข้าบ้าน ก็เป็นอีกวันที่เราท้อแท้ เพราะว่าเราคิดว่าเราเก่งแล้วเรามาไกลได้ขนาดนี้แต่ทำไมมันยังไม่สำเร็จอีก มันยังเหนื่อยอีกยังล้มเหลวอีก เราจะผ่านมันไปได้จริง ๆ หรือเปล่า แต่เราก็คิดว่าถ้าทุกครั้งที่เราเจอกับปัญหาไม่ว่าจะเรื่องไหน การงาน ครอบครัวหรืออะไรก็ตาม ถ้าเราล้มเลิกก็จะกลับไปที่จุดเดิมมันก็ยังเป็นปัญหาอยู่ ถ้าเราเจอปัญหาแล้วเราต่อสู้กับมันต่อให้มันจะยากจะเจ็บสักเท่าไหร่ แต่ถ้าเราพยายามที่จะชนะมันมันก็จะมีโอกาสที่จะผ่านไปได้ วันรุ่งขึ้นผมเลยกลับไปบนเส้นทางที่วิ่งแล้วเจ็บใหม่นั้นแหละ  กลับไปเจ็บอีก แต่มันเจ็บน้อยลง เจ็บน้อยลง จนไม่เจ็บ ผมก็เลยเพิ่มระยะเรื่อย ๆ คนอื่นเพิ่มทีละ 20 – 50 เมตร แต่ผมเพิ่มเป็น 5 เมตร 10 เมตร แต่ผมเพิ่มทุกวัน ตลอดเวลา ประมาณ 6 เดือน จนกระทั่งเริ่มวิ่งได้

พอเริ่มวิ่งได้ระยะแรกที่คุณแซมวิ่ง จำได้ไหมครับว่าช่วงครั้งแรกเลยที่วิ่งได้ไกลที่สุดตอนนั้นระยะกี่กิโลครับ

     งานแรกก็คือ 10 กิโลเมตร เลยครับ

ตอนที่เราวิ่งได้ครั้งแรก 10 กิโลเมตร ความรู้สึกแรกเลยเรารู้สึกอย่างไรตอนเข้าเส้นชัย

     ต้องบอกก่อนเลยว่า 10 กิโลแรกนี้ผมไม่ได้ตั้งใจไปวิ่ง 10 กิโลเมตร ผมเคยเดินช้าได้ไกลสุด 5 กิโลเมตรตอนช่วงป่วย แต่ว่าที่วันนั้นเพื่อนสมัครวิ่งไว้แล้วเขาไปไม่ได้ เขาส่งเลขวิ่งมาให้ผม ระยะมัน 10 กิโลเมตรแต่เราตั้งใจไว้ 5 กิโลเมตร เพราะเราไหวแค่นี้ แต่พอวิ่งได้สักระยะหนึ่ง ใครเคยวิ่งจะรู้ว่ามันมีป้ายแยกระยะทาง 10 กิโลเมตร กับ 5 กิโลเมตร 10 กิโลเมตรไปทางซ้าย 5 กิโลเมตรไปทางขวา ไอ้ป้ายนั้นผมไม่ได้เห็นว่ามันเป็นเลข 5 หรือเลข 10 เลย ในสายตาในความคิดผม ผมเห็นว่ามันได้ทำกับทำได้ ถ้า 5 กิโลเมตร คือคำว่าได้ทำ ถ้า 10 กิโลเมตร คือคำว่าทำได้ แล้วภาพเก่า ๆ มันย้อนเข้ามา ต้องนอนอยู่บนเตียงเกือบ 10 ปี ภาพที่เราทานอาหารไม่ได้ ภาพที่เราเดินไปเข้าห้องน้ำขายังสั่น เราย้อนถามตัวเองว่าถ้าครั้งนั้นเป็นโอกาสครั้งเดียวที่เราจะได้วิ่งเราจะเลือกทำได้หรือเราจะเลือกได้ทำ ผมเลือกไปทางทำได้วิ่ง 10 กิโลเมตร ทั้งที่ยังไม่เคยวิ่งมาก่อนเลย แล้วผมก็จบ 10 กิโลเมตร ได้ในวันนั้น

จำเวลาในวันนั้นได้ไหมครับ

     1 ชั่วโมง 52 นาที ครับ

เรามีความรู้สึกอะไรเข้ามาในช่วงเวลานั้นอีกไหม

     มันไม่ใช่แค่ 10 กิโลเมตร ที่ผมก้าวข้ามผ่านมา มันคือ 9 ปี มันคืออดีตแห่งความทรมานของผม ผมรู้สึกว่านาทีที่ผมก้าวข้ามเส้นชัยในวันนั้นเป็นนาทีที่เกิดใหม่ของผม เป็นนาทีที่ผมก้าวข้ามความอ่อนแอ ก้าวข้ามมะเร็งตลอดระยะเวลา 9 ปี 10 กิโลเมตร มันคือชีวิตใหม่ของผม แล้วก็ร้องไห้ เพราะว่ามันคือก้าวที่ผ่านมาได้ตัวเอง มันไม่ได้ผ่านมาได้ด้วยหมอหรือปาฏิหาริย์อะไรใด ๆ มันเกิดมาจากความพยายาม ความอดทน และความไม่ย่อท้อของเรา ภูมิใจมาก

หลังจากครั้งแรกที่คุณแซมได้เปลี่ยนตัวเองออกมาวิ่งและวิ่งได้ระยะแรกของตัวเองเลยคือ 10 กิโลเมตร หลังจากที่คุณแซมลงได้ 10 กิโลเมตร คุณแซมตั้งเป้าในการวิ่งของตัวเองอย่างไรบ้างครับ

         ตอนนี้ผมชนะ10 กิโลเมตร มาไกลแล้วครับ อันนี้ผมผ่าน mini heart marathon มา 6 ครั้ง แล้วครับ เป้าหมายในการวิ่งต่อไปก็คือการลงระยะ full marathon

ที่คุณแซมบอกมันมี mini marathon, heart marathon, full marathon ระยะมันต่างกันอย่างไรบ้าง

         mini marathon ประมาณ 10 กิโลเมตร heart marathon 21.25 กิโลเมตร full marathon 42.195 กิโลเมตร

คุณแซมวิ่งระยะไกลสุดอยู่ที่เท่าไหร่ครับ

         ถ้าวิ่งแข่งก็ heart marathon แล้ว

full marathon ยังไม่เคยลงมาก่อนใช่ไหมครับ

         ยังครับ

แล้วปกติการตั้งเป้าหมายในการวิ่งของคุณแซม คือวัตถุประสงค์ในการลง marathon ของตัวเองอย่างไรบ้าง

         ผมเลือกลงในงานที่ผมอยากไปจริง ๆ ตอนแรกผมลงทุกงานเลย แล้วสุดท้ายมันก็จะเจ็บ เพราะเราวิ่งเร็วเกินไปบ่อยเกินไป เลือกงานจากวิวสองข้างทางมากกว่า สถานที่จัดงาน จุดประสงค์ของการจัดงาน ผมจะเลือกไปงานที่มีโอกาสได้ช่วยเหลือคนอื่น

ในส่วนของ full marathon ได้วางแผนไว้ในปีนี้หรือเปล่าครับ

         ต้นปีหน้าครับ

มีที่ไหนที่มองไว้บ้างหรือเปล่าครับ

         อาจจะวิ่งที่ Tokyo marathon

ซึ่งรายงานนี้ก็จะเห็นว่ามีคนไทยเองเข้าไปวิ่ง สมัครวิ่งบ่อย เห็นหลายคนก็บ่นว่าเราวิ่งแล้วเสียเงิน บางรายการมีคนสมัครเป็นจำนวนมาก มันก็จะมีการรันดอมรายชื่ออีกว่าคุณจะมีสิทธิ์วิ่งในรายการนั้นไหม ตรงนี้คาดหวังอะไรบ้างไหมในรายการ Tokyo marathon ครับ

         รอลุ้น auto เอาครับ

คุณแซมก็ได้มีการสร้างเพจของตัวเองชื่อว่าเพจ Sam’s Story และก็มีการแชร์เรื่องราวของตัวเองในเพจนี้ ก็อยากทราบว่าคุณแซมคิดเห็นอย่างไรที่เริ่มต้นสร้าง story ของตนเองโดยการสร้างเพจของตนเองขึ้นมา

         จริง ๆ จุดเริ่มต้นของเพจเกิดจากการอ่านหนังสือเล่มนี้แล้วผมประทับใจมาก เขียน e-mail ไปหาคนเขียน ปรากฏว่าภาษาที่ผมเขียนมันดีจนมันเขียนหนังสือได้ ก็เลยอยากให้ลองเขียนหนังสือดู

เป็นคำแนะนำจากผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ว่าให้คุณแซมลองเขียนหนังสือดู

         ใช่ครับ เลยเป็นเพจที่เล่าเรื่องราวความคิด เรื่องราวจากประสบการณ์ที่เราผ่านมา การต่อสู้การไม่ย่อท้อ ความหวัง กำลังใจ ตอนที่เขียนเพจผมหวังไว้ว่าจะมีใครสักคนหนึ่งที่ได้อ่านข้อความของผมแล้วมีกำลังใจมากขึ้น เหมือนที่ผมเคยได้อ่านจากหนังสือเล่มนี้แล้วมีกำลังมากขึ้น ผมหวังว่าประสบการณ์ของผมที่มันผ่านความทุกข์มามันอาจจะเป็นกำลังใจให้ใครสักคนที่กำลังเผชิญอยู่กับความทุกข์ในวันนั้นอยู่ วันที่เรามองไม่เห็นว่ามันจะผ่านไปได้อย่าไร อาจจะเปิดโอกาสให้เห็นว่ามันมีคนที่ผ่านไปได้ ในเมื่อเราทำได้เขาก็ต้องทำได้

ใช้เรื่องราวทุกอย่างเลยไหมครับในตัวเพจ

         ใช่ครับ

ก็คือตั้งแต่การวิ่ง การเตรียมวิ่ง หรือชีวิตประจำวันต่าง ๆ

         การวิ่งความคิดครับ

จากที่สอบถามคุณแซมมาเบื้องต้น หลายท่านก็อาจจะได้มองเห็นถึงลักษณะแนวคิดหรือว่าการแก้ปัญหาต่าง ๆ ของคุณแซมที่ผ่านมา ก็อยากให้คุณแซมให้ข้อคิดจากเห็นการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตของเราว่า สิ่งที่เกิดขึ้นมาเราได้ข้อคิดอะไรบ้าง

         ผมคิดว่าไม่ว่าความทุกข์มันจะยากเย็นแค่ไหนมันจะผ่านเราไปเสมอ อะไรทีแก้ได้เราควรจะแก้ อะไรที่แก้ไม่ได้เราก็ควรจะปล่อยมันไป อย่าไปมองว่าความไม่สมบูรณ์เป็นความผิดพลาด จริง ๆ โลกนี้มันประกอบไปด้วยความไม่สมบูรณ์มากมายเลย เราไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์เท่าใคร เราต้องเข้าใจในความไม่สมบูรณ์ของเราชีวิตมันถึงจะเดินต่อไปได้ ทำสิ่งที่ทำอยู่ให้ดีที่สุดอย่าไปคาดหวังผลจนลืมความสุขของการกระทำ อย่าไปตั้งเป้าหมายที่มันไกลเกินควร พอตั้งเป้าหมายแล้วขยับตัวให้เหมาะสมกับเป้าหมายที่เราตั้งไว้

หลังจากที่คุณแซมได้ทำคีโมต่าง ๆ เกี่ยวกับมะเร็งมานาน จนมาวิ่งจากสุขภาพที่ทรุดก็มาถึงในระดับที่เรียกว่าใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ วิ่งได้ปกติ เป็นคนปกติทั่วไป อยากจะทราบว่าโรคมะเร็งทีพบของคุณแซมตอนนี้หายขาดหรือยังครับ

         หายขาดแล้วครับ

อีกโรคหนึ่งที่เป็นโรคแทรกซ้อนนั้นไม่สามารถรักษาให้หายได้ใช่ไหมครับ

         ครับ

ตอนนี้มันก็จะมีวิธีรักษา เราก็รักษาเป็นปกติของเรา เป็นวิธีดูแลตัวเอง

         ชีวิตมันก็ไม่ต้องเศร้าทุกอย่าง เราใช้ชีวิตไปกับทางพุพังบ้างก็ได้ ทุกอย่างไม่จำเป็นต้องเพอร์เฟคในชีวิตของเรา อะไรที่เราอยากให้มันดีเกินความคาดหมายมันเป็นทุกข์ ผมว่าเราควรจะทำความเข้าใจในสิ่งที่เรามีอยู่มากกว่า ผมภูมิใจในชีวิตที่เหลืออยู่ และขอบคุณในทุกอย่างที่ผ่านมา ผมไม่เคยโทษมะเร็งโทษความทุกข์โทษความทรมานที่ผ่านมา เพราะมันทำให้ผมกลายเป็นคนที่มีความคิดที่เบาขึ้น ง่ายขึ้น สบายขึ้น ยอมรับได้มากขึ้น ผมเจอความสุขที่แท้จริงได้มากกว่าตอนที่ยังไม่ได้ป่วยเป็นโรคมะเร็ง

เป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้เราได้ค้นพบอะไรเพิ่มขึ้นเยอะเลย ถ้าหากย้อนไปตอนนั้นที่ยังไม่ได้เป็นมะเร็งเราอาจจะใช้ชีวิตธรรมดาทั่วไป เรายังไม่ได้ค้นพบสิ่งเหล่านี้

         มันคงเป็นทุกข์มากกว่านี้จากการพยายามหาเงิน พยายามมีรถดี ๆ พยายามสร้างบ้านหลังใหญ่ ๆ แต่ว่าความสุขทุกวันนี้กลายเป็นการกินข้าวได้ ออกกำลังกายได้ มีร่างกายที่แข็งแรง มีเวลาอยู่กับครอบครัว มีโอกาสส่งกำลังใจให้กับสังคม มันกลายเป็นว่าความสุขของเราสร้างความยั่งยืนได้มากกว่า ถ้าไม่ป่วยผมอาจจะมีชีวิตที่เป็นทุกข์มากกว่านี้ก็ได้

สิ่งนี้ก็เป็นสิ่งที่คุณแซมได้ค้นพบและถ่ายทอดให้กับคุณผู้ชอบ KUlib Talk ในวันนี้ ขอถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการวิ่งแล้วกัน ในตอนที่คุณแซมเริ่มวิ่งในครั้งแรกต้องเตรียมตัวอะไรกว่าคนอื่นทั่วไปไหมครับ

         ผมเตรียมตัว คือ ผมต้องวิ่งถือน้ำเพราะว่าผมเป็น Stevens Johnson Syndrome ร่างกายผมไม่ผลิตน้ำลาย ไม่ผลิตน้ำตา ต้องจิบน้ำตลอดเวลา ผมว่าการเตรียมตัวของเราในสภาพของแต่ละคน ต้องเตรียมตัว support ตัวเอง อย่าไปสร้างปัญหาในสนามวิ่ง ถ้าคุณรู้ว่าตัวเองตาแห้งผมพบน้ำยาหยอดตาไปผมใส่แว่นตา อย่าทำอะไรที่มันเกินตัว จนกระทบต่อคนรอบข้าง คุณป่วยได้ก็ต้องดูแลตัวเองได้ ผมพยายามวิ่งให้มันช้า ผมไม่เคยเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นเลย แรกที่ผมวิ่งทุกคนหัวเราะผมหมดเลย มีคนผอม ๆ ดำ ๆ ร่างกายน่าเกียจน่ากลัวไปวิ่ง ถ้าเราไม่ทำวันนั้นเราจะไม่มีวันนี้เลย ถ้าเราไม่ทำในสิ่งที่เราทำได้ในวันนั้น มันจะไม่มีทางพัฒนาตัวเองมาได้ถึงจุดนี้ อย่าเปรียบเทียบตัวเองกับใครไปในระยะที่ตัวเองทำได้

ช่วงนี้ก็จะมีหลายคนเริ่มหันมารักสุขภาพมากขึ้น หลายคนก็อาจจะเข้า fitness หลายคนอาจจะทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น ช่วงนี้ Trand Health กำลังมา คุณแซมมีคำแนะนำอะไรให้กับคนวิ่งเพิ่มเติมไหมครับ สำหรับคนที่เริ่มต้นวิ่งหรือคนที่หันมารักษาสุขภาพตัวเอง

         การวิ่งที่ดีไม่ใช่แค่ทักษะการวิ่ง ทักษะการดูแลตัวเองก็สำคัญ การกินการพักผ่อนกลายเป็นวงจรที่จะทำให้ผลลัพธ์การวิ่งมันดีขึ้น ก่อนที่คุณจะวิ่งให้ได้ดี คุณจะต้องกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ ให้ร่างกายได้ฟื้นฟูซ้อมแซมกลายเป็นว่าเป้าหมายในการวิ่งมันกลายเป็นการหล่อรวมทุกอย่างให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทุกอย่างคุณต้องทำก่อนการวิ่ง

ให้คุณแซมฝากข้อคิดหรือฝากประเด็นอะไรให้กับผู้ชมวันนี้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน หรือในการที่อยากจะทำอะไรบางอย่าง หรือการก้ามผ่านวิกฤตของแต่ละคน

         คนทั่วไปชอบมองว่าชีวิตของผมมันคือปาฏิหาริย์ เป็นสิ่งที่เกิดได้ยาก ผมมองว่ามันเป็นสิ่งธรรมดา ชีวิตของผมในวันนี้เกิดจากคำสองคำคือ ความอดทน กับพยายาม มันไม่มีทางลัดกับความสำเร็จเลยถ้าคุณยากไปได้ไกลขึ้น คุณต้องพยายามมากขึ้น ถ้าคุณเหนื่อยกับการต่อสู้คุณต้องอดทนให้มากขึ้น แล้วคุณจะประสบความสำเร็จในสิ่งที่เป็นเป้าหมายของคุณ “อดทน และพยายาม”

 

         นอกจากความอดทนและความพยายามแล้ว ความคิดของคุณแซมสามารถที่จะเปลี่ยนตัวเองได้ในเรื่องแรกเลยคือเรื่องความคิดที่เราจะเปลี่ยนตัวเองว่า เราไม่ใช่ว่าไม่แคร์สังคมแต่คือจากสภาพแวดล้อมของสังคมที่เราเจอมาเราเปลี่ยนแปลงความคิดของตัวเองว่าทำไมเราไม่ดูแลตัวเองก่อนไม่แคร์ตัวเอง พอเราแคร์ตัวเองเราจะนำพาตัวเองออกมาจาก 9 ปี ที่เก็บตัวจากตรงนั้นได้ และสามารถยอมรับความจริงสามารถมองสิ่งที่เกิดขึ้นให้เป็นความจริง และยอมรับได้สิ่งไหนที่เราสามารถทำให้ดีขึ้นได้ก็จะทำ เช่น การดูแลสุขภาพตัวเองมากขึ้น การเปลี่ยนมารับการรักษาต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งในเรื่องของการตั้งเป้าไม่มองว่าตัวเองป่วยหลังจากที่มีกำลังใจทุกอย่างก็ดีขึ้นมาเรื่อย ๆ นั้นเป็นสิ่งที่ได้จากการถอดความแรงบัลดาลใจต่าง ๆ ที่คุณแซมมีในวันนี้

 

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

Books Recommendation

  • วิชาจิ๋ว : รู้หนึ่งเข้าถึงหมื่น รู้หมื่นเข้าถึงสุข

    วิชาจิ๋ว : รู้หนึ่งเข้าถึงหมื่น รู้หมื่นเข้าถึงสุข

  • หนังสือชุดความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี: Sharing Economy เศรษฐกิจร่วมใช้ประโยชน์

    หนังสือชุดความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี: Sharing Economy เศรษฐกิจร่วมใช้ประโยชน์

  • การจัดการทรัพยากรมนุษย์ของอาลีบาบา

    การจัดการทรัพยากรมนุษย์ของอาลีบาบา

  • โลกเป็นของคนที่เห็นอนาคตก่อนใคร

    โลกเป็นของคนที่เห็นอนาคตก่อนใคร

  • ไส้เดือนฝอย : ศัตรูพืชที่มีความสำคัญทางการเกษตร

    ไส้เดือนฝอย : ศัตรูพืชที่มีความสำคัญทางการเกษตร

  • จิตสำนึกแห่งพระเจ้า : ประสาทวิทยาศาสตร์ ศรัทธาและการแสวงหาจิตวิญญาณของมนุษย์

    จิตสำนึกแห่งพระเจ้า : ประสาทวิทยาศาสตร์ ศรัทธาและการแสวงหาจิตวิญญาณของมนุษย์

  • สถิติเพื่อการสุ่มตัวอย่างทางสิ่งแวดล้อม

    สถิติเพื่อการสุ่มตัวอย่างทางสิ่งแวดล้อม

  • โลกาภิวัตน์ของการเสพติด : การศึกษาเรื่องความยากจนทางจิตวิญญาณ

    โลกาภิวัตน์ของการเสพติด : การศึกษาเรื่องความยากจนทางจิตวิญญาณ

  • ชีวิตดีอย่างอัศจรรย์เมื่อตื่นทุกวันตอนตี 5

    ชีวิตดีอย่างอัศจรรย์เมื่อตื่นทุกวันตอนตี 5

  • คุณมีความสุขกับงานที่ทำอยู่หรือเปล่า

    คุณมีความสุขกับงานที่ทำอยู่หรือเปล่า

News & Events

 
1xbet casino siteleri bedava bahis kaçak bahis superbetin yeni giriş casino siteleri