20210112 bannerlibservice
 20210729 Welcome Grads 2564 00320230203 E book KU 80th 1
bannerorientationku81

 


banner covid220210915 button service01

Science DirectSageEconlitKnovelAIPScopusSciFinderWileyWestlawฺBusiness Source CompleteASMEAPSTDC

 QuickLinkh 15QuickLinkh kukrQuickLinkh archives Asset 28 QuickLinkh talk QuickLinkh activuties QuickLinkh Recovered 07Untitled 3 AgrisTconhall of fame Logomenu researchinspire

KULIB Talk ตอนที่ 6 บอล – ยอด จากผู้ผลิตรายการสู่รางวัลนักสำรวจ

“เมื่อเวลาเดินทาง เราก็จะได้สำรวจตัวเองไปด้วย แม้ว่าเราจะเดินทางไปไกลแค่ไหน แต่สุดท้ายเราก็มองเข้าไปในจิตใจของตัวเอง”

                                                                      Quote by คุณพิศาล แสงจันทร์ (คุณยอด)

          เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2561 คุณทายาท เดชเสถียร (คุณบอล) ศิษย์เก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และคุณพิศาล แสงจันทร์ (คุณยอด) ศิษย์เก่า คณะอุตสาหกรรมเกษตรภาควิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เกียรตินิยมอันดับ 2 ได้ให้เกียรติมาสัมภาษณ์รายการ KULIB Talk และมาช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการเดินทางและค้นหาความหมายของชีวิต โดยที่ทั้งคู่ได้เล่าเรื่องราวของจุดเริ่มต้นในการร่วมงานกันเกิดจากการทำงานชมรมค่าสร้างสรรค์เยาวชนจนเกิดความคิดอยากทำหนังสั้น โดยยืมอุปกรณ์เครื่องมือจากน้องๆคณะมนุษยศาสตร์ ขอยืมนักแสดงจากน้องๆสถาปัตย์ เรื่องแรกได้เรื่องมาจากหนังสือรวมเรื่องสั้นของรุ่นพี่ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล้องหาหยิบยืมเอา อุปกรณ์สมัยนั้นอยากได้ Dolly (กล้องค่อยๆ เลื่อนจากซ้ายไปขวาที่เห็นในทีวี) เราไม่มีราง Dolly ใช้รถซาเล้งของชมรมช่วยกันเข็น ตกหลุมก็ถ่ายกันใหม่ หนังสั้นเรื่องแรกเกิดจากเกษตร ช่วยกันทำจากความขาดแคลนที่มี และก็เป็นจุดเริ่มต้นในการส่งหนังสั้นเข้าประกวด ซึ่งในช่วงแรกเชื่อว่า การที่ได้รางวัล การได้เอาหนังไปประกวดเมืองนอก จะทำให้บริษัทค่ายหนังใหญ่ๆ มาจองตัว ก่อนเราจบ แต่ในโลกแห่งความเป็นจริงไม่ได้ง่าย ไม่ได้สวยหรู ต้องหาทุนเอง จะตะเกียกตะกายทุกอย่างเอง ไม่มีใครมาสนับสนุนเราได้ง่ายๆ เพราะฉะนั้นจุดเริ่มต้นของรายการ คือหนังสารคดี “กว่าจะได้เดินทางไปเมืองนอก” ตอนนั้น ไทยพีบีเอส เกิดขึ้นมา (ใช้ชื่อว่าทีวีไทย) หนังสารคดีที่ตั้งใจไว้จะให้เป็นหนังสองชั่วโมงก็ยาวเกินสองชั่วโมง ตัดเป็นรายการส่งเข้าทีวีผ่านกระบวนสร้างสรรค์ของสถานี จนเกิดเป็น “หนังพาไป”

“ภาษา” จำเป็น แต่ไม่ได้เป็นอุปสรรค

          การไปต่างประเทศภาษาไม่จำเป็นต้องดีเลิศ ถ้าเราไม่ต้องการไปสืบข้อมูลที่มันลึกซึ้ง แค่ไม่ขึ้นเครื่องบินผิด รู้แค่ว่าอ่านได้ สื่อสารได้เท่านั้น สื่อสารได้ดีจากประสบการณ์ความจริงในโลกไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารกันทั้งหมดบางประเทศต่อให้พูดภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ภาษาสเปน เขาก็ฟังไม่รู้เรื่อง เขานึกว่าเราพูดภาษาหนึ่งในมณฑลเขาหรือแขนงเขาเท่านั้นเอง มันจำเป็นไหม ก็จำเป็น แต่ไม่ใช่อุปสรรคของการที่จะออกไปเดินทาง

 

จากผู้ผลิตรายการสู่รางวัลนักสำรวจNational Geographic Thailand Explorer Awards 2018

          รางวัลนี้เป็นรางวัลที่มอบให้บุคคลแขนงต่างๆด้านการสำรวจ หรือบุกเบิกอะไรใหม่ที่น่าสนใจ บางท่านเป็นอาจารย์เป็นผู้บุกเบิกเกี่ยวกับการขุดฟอสซิล ไดโนเสาร์ ในประเทศไทยมานาน  บางท่านเป็นช่างภาพสารคดีใต้น้ำ บุกเบิกในประเทศเรามานาน บางท่านเป็นอาจารย์วิจัยขั้วโลกเหนือ ขั้วโลกใต้ตอนนี้ ซึ่งก็ถือว่าในเรื่องนั้นๆ เป็นผู้บุกเบิกเส้นทางใหม่ๆ รวมทั้งคนที่ทำรายการโทรทัศน์ จะมี 4 รายการ นอกจากหนังพาไปก็มี คุณเรย์ แมคโดนัลด์ ผู้บุกเบิกรายการท่องเที่ยว ตั้งแต่เราในวัยเด็ก คุณวรรณสิงห์ ประเสริฐกุล รายการเถื่อนทราเวลตุ๊กตุ๊ก ทีทีไรเดอร์ และเขียน blog บุกเบิกอีกแนวทางหนึ่งเหมือนกัน ส่วนรายการหนังพาไปนั้นน่าจะเป็นการบุกเบิกวิธีการถ่ายทำแบบใหม่ถือกล้องตัวเดียว ไม่ต้องใช้พิธีกรหน้าตาดี ไม่ต้องไปอยู่หลังกล้อง เห็นแต่ภาพวิวสวยๆ ไม่มีใครมาพูดมีแต่เสียงพากย์ แต่เราก็เอาตัวเรามาอยู่หน้ากล้องได้ นี่คือวิธีการใหม่ๆ อาจจะเป็นโดยเรื่อง เพราะรายการท่องเที่ยวในยุคนั้นต้องไปให้ถึง ไปให้เห็น เห็นภาพสวยๆ บทดีๆ พอหนังพาไปประกาศไป คนดูจะงง ไปก็ไม่ถึง โดนโกงบ้าง บอกจะไปที่นี่ สุดท้ายดูจนจบก็ไปไม่ถึง เจอค่าเข้าแพงก็ไม่เข้า เรายืนยันจะที่จะเล่าแบบนี้เพราะมันสนุกกับการเล่าเรื่องแบบนี้คิดว่าอาจจะเป็นแบบนี้ ที่ทำให้คณะกรรมการเห็นคุณค่า“พอเริ่มเดินทางและเห็นคนอื่นๆ ออกเดินทางมานั้น สำรวจ ไม่ใช่แค่การสำรวจ พื้นที่หรือผู้คน แต่เมื่อเวลาเดินทาง เราก็จะได้สำรวจตัวเองไปด้วย แม้ว่าเราจะเดินทางไปไกลแค่ไหน แต่สุดท้ายเราก็มองเข้าไปในจิตใจของตัวเอง”

“หนังสือ”เล่มโปรด

เล่มแรก “ข้างหลังโปสการ์ด” เขียนโดยคุณหลาน เสรีไทย เป็นนามปากกา เป็นหนังสือเกี่ยวกับบันทึกการเดินทางแบ็คแพ็คเกอร์รุ่นแรกของไทย คล้ายกับหนังพาไปเวอร์ชั่นหนังสือ บุกเบิกการเดินทางในแบบหนึ่ง ที่หนังพาไปมีกลิ่นๆ เขาอยู่บ้าง เขาไปเที่ยว และมีการวิพากษ์วิจารณ์ ตั้งคำถาม เล่าเรื่องที่ปกตินักท่องเที่ยวจะไม่เล่าเช่น เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยด้านมืดของคนที่เขาไปเจอ ประเทศที่เขาไปเจอ ทั้งด้านมืดในตัวเขาเอง ในการคลี่คลาย

อีกเล่ม คือ “มีชีวิต...เพื่ออิสรภาพ” เป็นหนังสือที่เขียนถึงผู้หญิงเกาหลีเหนือ ที่หนีออกจากเกาหลีเหนือ ผ่านจีน ตอนนี้ใช้ชีวิตอยู่ในเกาหลีใต้เรียบร้อย เขาหนีจากเกาหลีเหนือมาโดยการลักลอบข้ามแม่น้ำไปทางจีน พอเข้าไปจีนกลายเป็นตกเป็นเหยื่อค้ามนุษย์ เขาหนีไปพร้อมกับคุณแม่ ตั้งแต่วัยเด็ก ตอนอายุ 13 พอเป็นเหยื่อค้ามนุษย์ เขาก็โดนเหยื่อค้ามนุษย์ข่มขืน หรือแม้กระทั่งแม่เขาเองก็ถูกข่มขืนต่อหน้าต่อตาเขา เพียงเพราะให้เขารอดไปเรื่อยๆ เขาก็จะเล่าชีวิตว่าเขาเจออะไรบ้าง แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือ คนที่มาจากโลกอย่างเกาหลีเหนือ ต้องปรับตัวในเกาหลีใต้อย่างไร ทำให้ค้นพบว่าเล่มนี้สนุกมาก และมันตั้งคำถามไปถึงตัวเราเองว่าเราเจออะไรกันมาบ้าง ประเทศเราดีขนาดไหน ประเทศเรามีบางส่วนไหมที่คล้ายกับเกาหลีเหนือตอนนี้

เล่มต่อไป ชื่อหนังสือ “จากเมืองนุนสุมคำสู่อัสสัมแดนไท” เป็นหนังสือเกี่ยวกับการเดินทางของอาจารย์ด้านมานุษยวิทยาของหลายคน เขียนเล่าประสบการณ์ ของนักมานุษยวิทยาหลายคน เดินทางไปสู่ดินแดนอัสสัมในอินเดีย ทำให้เห็นการเชื่อมโยงความเป็นไทย

 

ฝากข้อคิดเห็น ความสำเร็จ การค้นพบตัวเอง

คุณบอล

คำถามในชีวิตมันซ้อนกันอยู่ระหว่างสิ่งที่อยากทำ กับสิ่งที่อยากเป็น ดูเหมือนเป็นคำถามที่คล้ายกัน แต่เป็นคนละคำถาม ถ้าเราชัดเจนกับคำถามนี้ เพราะว่าคำตอบไม่เหมือนกัน บางทีเราได้เป็นแล้ว เราไม่รู้ว่าเป็นแล้วยังไงต่อ ต้องทำอะไรบ้างในระหว่างที่เราเป็นตำแหน่งนั้น แต่ถ้าเกิดว่าอยากทำค้นพบว่าคำตอบไปได้อีกไกล ยังมีเรื่องสนุกให้เราทำอีกเยอะ การอยากเป็นรู้สึกว่ามันไปได้ไม่ได้ไกลเท่าไร อยากเป็นกับอยากทำ

คุณยอด

โลกมีคนหลายแบบ แบบที่มีความฝันที่ชัดเจน หรือเป็นแบบมีความฝันยังไม่ชัดเจน ไม่รู้ว่าตัวเองต้องการจะทำอะไรเลย พยายามทำหลายๆ แบบ สำหรับคนที่ไม่รู้ว่าตัวเอง ฝันอะไร ก็ลองทำให้หมด ถ้าอันไหนสนุกก็ทำมันเรื่อยๆ เพราะว่าไม่มีใครบอกได้ว่า สิ่งที่เราทำในวันนี้ จะไปอยู่ในอนาคตรูปแบบไหน มันอาจเป็นเส้น เป็นจุดจุดหนึ่งที่ต้องมองจากอนาคตมา จะเห็นเส้นทางที่เชื่อมกันระหว่างการที่เราได้ทำสิ่งเหล่านี้

แนะนำหนังสือที่น่าสนใจจากฐานข้อมูล National Geographic

1. Timeless Journeys: Travels to the World's Legendary Places

2. National Geographic Atlas of the World, Tenth Edition

3. Indian Nations of North America

4. National Geographic Almanac of World History

5. The Voyage of the [Beagle]

6. Tigers Forever: Saving the World's Most Endangered Big Cat

7. An Uncommon History of Common Courtesy

8. 1000 Events That Shaped the World

9. National Geographic Traveler: South Africa

10. Citizens of the Sea: Wondrous Creatures from the Census of Marine Life

Books Recommendation

  • IoT สถาปัตยกรรมการสื่อสาร

    IoT สถาปัตยกรรมการสื่อสาร

  • The Opportunity : ส่อง โอกาส สร้าง อาชีพ: Now and Trend จับเทรนด์ให้เป็นงาน

    The Opportunity : ส่อง โอกาส สร้าง อาชีพ: Now and Trend จับเทรนด์ให้เป็นงาน

  • ปั้นร้านอาหารให้ปัง ทำยังไง?

    ปั้นร้านอาหารให้ปัง ทำยังไง?

  • สร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมสันติสุข

    สร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมสันติสุข

  • ไมเกรนและโรคปวดศีรษะอื่นๆ

    ไมเกรนและโรคปวดศีรษะอื่นๆ

  • พระจอมเกล้าฯ พยากรณ์ : ความย้อนแย้งของ

    พระจอมเกล้าฯ พยากรณ์ : ความย้อนแย้งของ "ดาราศาสตร์" กับ "โหราศาสตร์" ในสังคมไทยสมัยใหม่

  • รายวิชาที่ 2 การปลูกข้าวแบบลดต้นทุนเพิ่มผลกำไร

    รายวิชาที่ 2 การปลูกข้าวแบบลดต้นทุนเพิ่มผลกำไร

  • The Netherlands at its best

    The Netherlands at its best

  • เวชศาสตร์นิวเคลียร์ในโรคสมอง

    เวชศาสตร์นิวเคลียร์ในโรคสมอง

  • รายวิชาที่ 5 การแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าว

    รายวิชาที่ 5 การแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าว

News & Events

 
1xbet casino siteleri bedava bahis kaçak bahis superbetin yeni giriş casino siteleri