ช่วงที่ 1 พ.ศ. 2486-2519 ห้องสมุดเรือนเขียวตั้งอยู่บริเวณชั้นล่างของเรือนเขียวพร้อมกับการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีบรรณารักษ์คือ นายชลอ เชาว์ดี และนายผล รางแดง
ช่วงที่ 1 พ.ศ. 2486-2519 ห้องสมุดเรือนเขียวตั้งอยู่บริเวณชั้นล่างของเรือนเขียวพร้อมกับการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีบรรณารักษ์คือ นายชลอ เชาว์ดี และนายผล รางแดง
องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้แนะนำให้รวมห้องสมุดของมหาวิทยาลัยซึ่งในขณะนั้นมีฐานะเป็นกรมหนึ่งของกระทรวงเกษตรและห้องสมุดของกรมเกษตรเข้าด้วยกัน
รวมห้องสมุดของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ชั้นล่างของเรือนเขียว) มาไว้กับห้องสมุดของกรมเกษตรซึ่งตั้งอยู่ชั้นบนของตึกพืชพรรณ เรียกว่า“ห้องสมุดกลาง” องค์การความร่วมมือทางการบริหารระหว่างประเทศ (ICA) ได้ส่งนางมาร์เบลไรท์(Mrs. Marble B. Wright) มาช่วยจัดห้องสมุดโดยใช้ระบบการจัดหมู่หนังสือหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress) มาใช้เป็นแห่งแรกของประเทศ
วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2496 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดอาคารห้องสมุดกลางแห่งใหม่ตั้งอยู่หลังตึกพืชพรรณ
ห้องสมุดกลางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีการแบ่งส่วนราชการอย่างเป็นทางการเป็นแผนกห้องสมุดสำนักงานเลขานุการกรม กรมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมี ผศ.ประไพ แจ้งเจนกิจ เป็นหัวหน้าแผนกห้องสมุดคนแรก (พ.ศ. 2499- 7 ส.ค. 2509)
ย้ายห้องสมุดกลางมาอยู่ที่อาคารเอกเทศสูง 3 ชั้น ตั้งอยู่หลังอนุสาวรีย์สามบูรพาจารย์ ใช้ชื่อว่า “หอสมุดกลาง”ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2508 และมีพิธีเปิดในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2508 โดยจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น
ดรุณา สมบูรณกุล เป็นหัวหน้าแผนกห้องสมุด (8 ส.ค. 2509 – 25 พ.ค. 2520)
2515-2519 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับงบประมาณจากโครงการเงินกู้ธนาคารโลกเพื่อพัฒนาการศึกษาโดยหอสมุดกลาง บางเขนได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดหาหนังสือ วารสาร โสตทัศนวัสดุ และครุภัณฑ์ จำนวน 9 ล้านบาท
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับงบประมาณจากโครงการเงินกู้ธนาคารโลกเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ระหว่างปี พ.ศ. 2518-2520 เพื่อก่อสร้างอาคารหอสมุดทั้ง 2 วิทยาเขต คืออาคารหอสมุดกลาง วิทยาเขตบางเขน ได้รับจัดสรรค่าก่อสร้างจำนวน 28,963,550 บาท และอาคารห้องสมุดวิทยาเขตกำแพงแสน จำนวน 12,152,000 บาท
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับงบประมาณจากโครงการเงินกู้ธนาคารโลกเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ระหว่างปี พ.ศ. 2518-2520 เพื่อก่อสร้างอาคารหอสมุดทั้ง 2 วิทยาเขต คืออาคารหอสมุดกลาง วิทยาเขตบางเขน ได้รับจัดสรรค่าก่อสร้างจำนวน 28,963,550 บาท และอาคารห้องสมุดวิทยาเขตกำแพงแสน จำนวน 12,152,000 บาท
ก่อตั้งชมรมห้องสมุดการเกษตรแห่งประเทศไทย ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยการริเริ่มของ ผศ.ดรุณา สมบูรณกุล (สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) และ อาจารย์เฉลิมวรรณ ชูทรัพย์ (กองบริการเอกสารและห้องสมุด สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ) ต่อ มาชมรมฯได้หยุดกิจกรรมไป และได้มีการดำเนินกิจกรรมอีกครั้ง ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2529 โดยนางพิบูลศิลป์ วัฑฒนะพงศ์ อดีตผู้อำนวยการสำนักหอสมุด จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2532 จึงได้สิ้นสุดกิจกรรมลง
เดือนมีนาคม พ.ศ. 2523 สำนักหอสมุดย้ายที่ทำการมายังอาคารหลังใหม่ ชื่อว่า “อาคารช่วงเกษตรศิลปการ”และเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2523 จนถึงปัจจุบัน
สำนักหอสมุดได้รับมอบงานให้ทำหน้าที่เป็นศูนย์สนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ (Thai National AGRIS Centre)เพื่อเป็นศูนย์เครือข่ายความร่วมมือในระบบสารสนเทศเกษตรนานาชาติ (AGRIS FAO)
วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524 สำนักหอสมุดจัดตั้งศูนย์สนเทศทางกระบือนานาชาติ (International Buffalo Information Center-IBIC)ภายใต้การสนับสนุนของศูนย์พัฒนาการวิจัยระหว่างประเทศ(IDRC) และองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)
พิบูลศิลป์ วัฑฒนะพงศ์ เป็นผู้อำนวยการสำนักหอสมุด คนที่ 2(1 เม.ย. 2525 – 31 ม.ค. 2545)
บันทึกข้อมูลการเกษตรของประเทศไทยเข้าคอมพิวเตอร์ ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (สำนักบริการคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบัน) และจัดพิมพ์บรรณานุกรมการเกษตรของประเทศไทย เป็นฉบับแรก
ศูนย์สนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ ร่วมกับการสื่อสารแห่งประเทศไทย สาธิตการสืบค้นข้อมูลด้านการเกษตรแบบ On-line ไปยัง AGRIS Processing Unit กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เป็นครั้งแรกของประเทศ
เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2528 สำนักหอสมุดได้รับคอมพิวเตอร์เครื่องแรก IBM PC 80286 ฮาร์ดดิสก์ขนาด 10 MB หน่วยความจำ 256 KB โดยทุนสนับสนุนจากศูนย์พัฒนาการวิจัยระหว่างประเทศ แคนาดา (IDRC)และเริ่มต้นการพัฒนาฐานข้อมูลด้านการเกษตร ของศูนย์สนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ และศูนย์สนเทศทางกระบือนานานชาติ
สำนักหอสมุดได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็น “ศูนย์ประสานงานสารนิเทศสาขาเกษตรศาสตร์” ในระบบสารนิเทศทางวิชาการแห่งชาติ (Thai NATIS – Thai National Information System)
คณะกรรมการข้าราชการมหาวิทยาลัย (ก.ม.) ได้พิจารณาอนุมัติให้ปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการภายในสำนักหอสมุดจากเดิม 5 งาน เป็น 7 งานได้แก่ งานบริหารและธุรการทั่วไป งานพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด งานวิเคราะห์ทรัพยากรห้องสมุดและทำบัตรรายการ งานวารสาร งานโสตทัศนวัสดุ งานบริการ และงานห้องสมุดสาขา
ให้บริการสืบค้นข้อมูล AGRIS On-line เป็นครั้งแรกของประเทศ ด้วยวิธีสื่อสารทางไกลผ่านระบบโมเด็ม ไปยังคอมพิวเตอร์ เมนเฟรมที่ AGRIS Processing Unit กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย
สำนักหอสมุดเริ่มให้บริการสืบค้นฐานข้อมูลแบบ online ผ่านระบบ DIALOG ให้กับอาจารย์ นักวิจัยของมหาวิทยาลัย โดยสมัครเป็นสมาชิก
สำนักหอสมุด ได้เข้าร่วมโครงการวิจัยพัฒนาทางด้านอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ในโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ : สารนิเทศห้องสมุดมหาวิทยาลัย โดยดำเนินการร่วมกับห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา รวม 11 แห่ง
สำนักหอสมุด ดำเนินงานโครงการสารนิเทศห้องสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พัฒนาฐานข้อมูลหนังสือ ใช้โปรแกรม Micro CDS/ISIS บันทึกข้อมูลหนังสือภาษาต่างประเทศในหมวดวิทยาศาสตร์ (Q), หมวดแพทย์ (R), หมวดเกษตรศาสตร์ (S) และหมวดเทคโนโลยี (T)
เปิดให้บริการสืบค้นข้อมูลด้านการเกษตรในระดับนานาชาติจากฐานข้อมูล AGRIS ผ่านระบบ CD-ROM อย่างเป็นทางการ
สำนักหอสมุดแบ่งการบริหารงานออกเป็น 7 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายบริหารและธุรการทั่วไปฝ่ายพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด ฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรห้องสมุดและทำบัตรรายการ ฝ่ายบริการ ฝ่ายโสตทัศนวัสดุ ฝ่ายห้องสมุดสาขา และฝ่ายวารสาร
เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2537 สำนักหอสมุดติดตั้งระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในอาคาร และเปิดให้บริการเป็นครั้งแรก
เดือนกันยายน พ.ศ. 2537 เปิดให้บริการสืบค้นฐานข้อมูลผ่านเครือข่ายซีดีรอม (KU CD-Net) เป็นครั้งแรก
สำนักหอสมุดปรับเปลี่ยนโครงสร้างภายใน แบ่งการบริหารงานออกเป็น 8 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายบริหารและธุรการทั่วไป ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด ฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรห้องสมุดและทำบัตรรายการ ฝ่ายวารสาร ฝ่ายโสตทัศนวัสดุ ฝ่ายบริการ ฝ่ายห้องสมุดสาขา และฝ่ายงานสารนิเทศ
ดำเนินโครงการพัฒนาระบบห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนกลาง (THAILINET) ได้รับงบประมาณผูกพัน 3 ปี (พ.ศ. 2538-2540) เป็นเงิน 12,720,000 บาท
สำนักหอสมุดใช้งบประมาณโครงการ THAILINET จัดซื้อคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ระบบคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (INNOPAC) Module Catalog และ OPAC และจัดซื้อโมดูล Acquisition, Serial Control และ WebOPAC ในปีต่อไป
ติดตั้งระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (INNOPAC) เริ่มจากโมดูล Catalog และ OPAC โดยเริ่มบันทึกข้อมูลเข้าระบบในเดือนสิงหาคม
เปิดให้บริการสืบค้นข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศบนเครือข่ายนนทรี และผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นครั้งแรก โดยใช้ Telnet
เดือนธันวาคม พ.ศ. 2540 สำนักหอสมุด เปิดให้บริการสารสนเทศ ผ่านโฮมเพจของสำนักหอสมุดเป็นครั้งแรก ที่ https://www.lib.ku.ac.th
สำนักหอสมุดเริ่มให้บริการยืม-คืนหนังสือผ่านระบบห้องสมุดอัตโนมัติ อย่างเป็นทางการ
สำนักหอสมุดได้รับงบประมาณแผ่นดินเป็นค่าออกแบบอาคารหลังใหม่(อาคารการเรียนรู้ สำนักหอสมุด) 2,500,000 บาท
สำนักหอสมุดปรับโครงสร้างการบริหารงานเป็น 11 ฝ่าย ได้แก่ สำนักงานเลขานุการ ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ฝ่ายฝึกอบรมและเผยแพร่วิชาการ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ฝ่ายบริการเทคโนโลยีการศึกษา ฝ่ายบริการสารสนเทศ ฝ่ายบริการยืมคืน ฝ่ายสารสนเทศ ฝ่ายห้องสมุดสาขา และฝ่ายหอสมุดกลางกำแพงแสน
เริ่มบอกรับและให้บริการฐานข้อมูลออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ในโอกาสครบรอบ 20 ปี ศูนย์สนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ เปิดให้บริการฐานข้อมูลการเกษตรของประเทศไทยแบบออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตเป็นครั้งแรก ในงานสัมมนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเกษตร ครั้งที่ 1
สำนักหอสมุด โดยศูนย์สนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ ได้รับการจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 10 ศูนย์เครือข่าย AGRIS ที่มีผลงานและกิจกรรมเพื่อการพัฒนาสารสนเทศด้านเกษตรของ AGRIS/FAO
สำนักหอสมุดเปิดให้บริการอินเตอร์เน็ตเป็นครั้งแรก ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ 50 เครื่อง ณ ห้องบริการอินเตอร์เน็ต ชั้น 1 อาคารช่วงเกษตรศิลปการ
ในโอกาสที่ศูนย์สนเทศทางกระบือนานาชาติ ครบรอบปีที่ 20 ได้เปิดให้บริการโฮมเพจศูนย์ IBIC ฐานข้อมูลควายไทยและฐานข้อมูลสมุนไพรรักษาควาย ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นครั้งแรก ในงานสัมมนา ฝ่าวิกฤตควายไทย
ผศ. ดร.รังสรรค์ ปิติปัญญา เป็นผู้อำนวยการสำนักหอสมุด คนที่ 3 (1 ก.พ. 2545 – 31 ม.ค. 2549)
สำนักหอสมุดร่วมกับสำนักบริการคอมพิวเตอร์ เปิดให้บริการการ์ดเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สาย ซึ่งเป็นโมเด็มแบบ PCMCIA ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา สำหรับการเข้าใช้เครือข่าย KU-Win ภายในอาคารสำนักหอสมุด
ก้าวเข้าสู่ยุคสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ เริ่มพัฒนาและทดสอบระบบ KULIB eOffice ครั้งแรกในเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2545
สำนักหอสมุดปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงานโดยแบ่งออกเป็น 9 ฝ่าย คือ สำนักงานผู้อำนวยการ ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ฝ่ายบริการ ฝ่ายสารสนเทศ ฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ ฝ่ายห้องสมุดสาขา ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ และฝ่ายหอสมุดกลาง กำแพงแสนง
เปิดระบบบริการฐานข้อมูลผลงานของบุคคลผู้ทำประโยชน์ให้กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในวาระ 60 ปีแห่งการสถาปนามหาวิทยาลัย รวบรวมผลงานของผู้ทำประโยชน์ให้กับมหาวิทยาลัย คณาจารย์และนักวิจัยอาวุโสที่มีชื่อเสียง จำนวน 107 ท่าน ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2543 และต่อยอดเป็นฐานข้อมูลภูมิปัญญามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และคลังความรู้ดิจิทัลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สำนักหอสมุดจัดพิธีเชิดชูเกียรติและมอบซีดีผลงานให้กับบุคคลผู้ทำประโยชน์ให้กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในวาระครบรอบ 26 ปีแห่งการสถาปนาสำนักหอสมุด
สำนักหอสมุดได้รับงบประมาณแผ่นดินจำนวน 147,000,000 บาท เพื่อก่อสร้างอาคารหลังใหม่โดยใช้ชื่อ “อาคารการเรียนรู้ สำนักหอสมุด”
เปิดบริการ KULIB eService ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2547 โดยรวมบริการอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดของสำนักหอสมุด ไว้ภายใต้ระบบเดียว
จัดการอบรมหลักสูตรนักสืบค้นสารสนเทศมืออาชีพ เป็นครั้งแรกของประเทศ
สำนักหอสมุด มีการปรับโครงสร้างการบริหารงานใหม่ตามที่สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อนุมัติโดยแบ่งออกเป็น 8 ฝ่าย คือ สำนักงานเลขานุการ ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ฝ่ายสารสนเทศ ฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีการศึกษา ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ฝ่ายบริการ และฝ่ายห้องสมุดสาขา
สภามหาวิทยาลัยได้มีประกาศจัดตั้ง สำนักหอสมุด กำแพงแสน โดยเป็นหน่วยงานภายใต้การบริหารจัดการของวิทยาเขตกำแพงแสนมีฐานะเทียบเท่าคณะ
สำนักหอสมุดมอบอรรถาภิธานศัพท์เกษตรไทย ในนามมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) เพื่อเชื่อมโยงกับ AGROVOC Multilingual Agricultural Thesaurus เป็นภาษาที่ 8 ของโลก และเป็นอรรถาภิธานศัพท์ด้านการเกษตรในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ฉบับแรกของไทย พัฒนาโดยศูนย์สนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ ร่วมกับ FAO ตั้งแต่ปี พ.ศ.2544
นางวันทนี โกวิทางกูร เป็นผู้อำนวยการสำนักหอสมุด คนที่ 4 (1 ก.พ. 2549 – 31 ม.ค. 2553)
เวลา 15.00 น.สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดอาคารการเรียนรู้ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สำนักหอสมุดจัดตั้ง ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Agricultural Knowledge Centre - AGKC) อย่างเป็นทางการเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
เปิดระบบห้องสมุดจินดามณี เป็นครั้งแรกที่ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร ระบบห้องสมุดจินดามณีเป็นผลงานวิจัยและพัฒนา ต่อยอดมาจากระบบห้องสมุดเปิดเผยรหัส Koha โดยฝ่ายสารสนเทศร่วมกับ NAiST Lab ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ต่อมาขยายผลนำระบบไปใช้ใน Eco-Library ในปีพ.ศ. 2555
เปิดให้บริการอาคารการเรียนรู้ สำนักหอสมุด
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีพระราชทานชื่ออาคารการเรียนรู้ว่า “เทพรัตน์วิทยาโชติ” ซึ่งมีความหมายว่า อาคารที่รุ่งเรืองด้วยความรู้อันวิเศษดุจดวงแก้วแห่งเทพ
สำนักหอสมุดเริ่มนำเทคโนโลยีระบุเอกลักษณ์ด้วยคลื่นสัญญาณวิทยุ (RFID) มาใช้สำหรับการยืมหนังสือด้วยตนเอง และการตรวจจับสัญญาณผ่านประตูป้องกันหนังสือสูญหาย
เดือนกันยายน พ.ศ. 2550 สำนักหอสมุดเริ่มโครงการเปิดบริการวันอาทิตย์ และช่วงสอบ ขยายเวลาบริการ 24 ชั่วโมงเป็นครั้งแรก ระหว่างวันที่ 5 กันยายน – 5 ตุลาคม 2550
สำนักหอสมุดปรับโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการตามประกาศสภามหาวิทยาลัย เป็น 6 ฝ่าย คือ สำนักงานเลขานุการฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ฝ่ายบริการ ฝ่ายสารสนเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ และฝ่ายเทคโนโลยีการศึกษา
เปิดให้บริการยืม-คืนหนังสือด้วยตนเองโดยเครื่องยืมอัตโนมัติแบบ RFID อย่างเป็นทางการ
เปิดให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Laptop) จำนวน 50 เครื่อง
สำนักหอสมุดได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากมหาวิทยาลัยเพื่อทำการปรับปรุงอาคารช่วงเกษตรศิลปการ ตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2552 จึงต้องปิดให้บริการที่อาคารช่วงเกษตรศิลปการ เป็นเวลา 9 เดือน และเปิดให้บริการอีกครั้งเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552
เปิดบริการ Research Square พื้นที่นั่งอ่านเพื่อการค้นคว้าวิจัย บริเวณโถง ชั้น 5 อาคารเทพรัตน์วิทยาโชติ
ได้รับรางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชนจาก สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) รางวัลดีเด่นประเภทรางวัล นวัตกรรมการให้บริการประจำปี 2552
ดร. อารีย์ ธัญกิจจานุกิจ เป็นผู้อำนวยการสำนักหอสมุด คนที่ 5 วาระที่ 1 (1 ก.พ. 2553 - 31 ม.ค. 2557))
ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด ประกาศวิสัยทัศน์ก้าวสู่การเป็นคลังความรู้ของมหาวิทยาลัย เป็นห้องสมุดดิจิทัลด้านการเกษตรของประเทศ และเป็นห้องสมุดสีเขียวที่บริหารจัดการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง)
สำนักหอสมุดได้รับคัดเลือกให้เป็นอาคารตัวแทนของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการเข้าร่วมประกวดอาคารอนุรักษ์พลังงาน ในโครงการ BEAT 2010 (Building Energy Awards of Thailand 2010) โดยมีสถาบันวิศวกรรมพลังงาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นที่ปรึกษา
เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และเป็น “วันรักการอ่าน”สำนักหอสมุด เป็นแม่ข่าย จัดพิธีลงนามความร่วมมือในการจัดทำโครงการส่งเสริมการอ่าน เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นครั้งแรก
สำนักหอสมุด โดยศูนย์สนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการด้านการพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศเกษตร เป็นครั้งแรกของประเทศ ในวันที่11พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ในงานสัมมนาวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเกษตร ครั้งที่ 3 เรื่อง ไอทีเกษตร ในยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (ลงนามครั้งแรก 10 หน่วยงาน และลงนามเพิ่มเติมอีก 7 หน่วยงาน)
ก้าวเข้าสู่ยุคของการประชาสัมพันธ์เชิงรุก ผ่าน Social media โดยสำนักหอสมุดเปิดตัว Facebook เป็นครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2553และขยายช่องทางการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง ผ่าน Twitter, Line และ Live chat
เปิดระบบบริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นครั้งแรกของประเทศ จำนวน 99 เล่ม และผลิตเพิ่มขึ้น เป็น 999 เล่ม เพื่อให้บริการผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และบันทึกลงดีวีดี มอบให้หน่วยงานด้านการเกษตรทั่วประเทศ เนื่องในวโรกาสอันเป็นมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 84 พรรษา
KU Boy ซึ่งออกแบบโดยนายปิยะรัฐ จันทร์อ่อน นิสิตระดับปริญญาโท คณะเกษตร กำแพงแสน ชนะการประกวด ได้เป็น Mascot อนุรักษ์พลังงานประจำสำนักหอสมุด
เปิดบริการ e-Book ส่งเสริมการอ่านเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นครั้งแรก
สำนักหอสมุด ร่วมกับมูลนิธินักเรียนทุนรัฐบาลญี่ปุ่นแห่งประเทศไทย จัด “Human Library” เป็นครั้งแรก โดยมีการบันทึกเทปเผยแพร่บนเว็บไซต์เป็นประจำทุกเดือน
ได้เกิดมหาอุทกภัยในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑลและหลายจังหวัดในประเทศไทย สำนักหอสมุดได้รับความเสียหายโดย ห้องควบคุมระบบไฟฟ้าซึ่งอยู่ใต้อาคารช่วงเกษตรศิลปการ ถูกน้ำเข้าท่วมเต็มพื้นที่ ระบบลิฟท์ได้รับความเสียหายทั้งระบบ ส่วนอาคารเทพรัตน์วิทยาโชติน้ำไหลเข้าท่วมเต็มพื้นที่ใต้อาคารซึ่งเป็นพื้นที่จอดรถ ห้องควบคุมระบบไฟฟ้าและปั๊มน้ำ ได้รับความเสียหายทั้งหมด รวมถึงหม้อแปลงไฟฟ้าของอาคาร
เป็นวันเปิดภาคเรียนของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์หลังวิกฤตการณ์มหาอุทกภัย โดยสำนักหอสมุดสามารถบริหารจัดการซ่อมคืนสภาพระบบงานอาคารได้ทันเวลา และสามารถเปิดบริการได้ตามกำหนด
ได้รับรางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชน ประจำปี 2554 จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) รางวัลชมเชยประเภทรายกระบวนงาน เรื่อง “การเรียนรู้ด้านเกษตรผ่าน e-Book” จากรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายยงยุทธวิชัยดิษฐ) ณ หอประชุมกองทัพเรือ
พิธีเปิดห้อง KUEco-Libraryห้องสมุดเพื่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็น Eco-Library แห่งแรกของประเทศไทย
สำนักหอสมุดได้รับรางวัล BEAT 2010 (Building Energy Awards of Thailand) รางวัลการแข่งขันอาคารอนุรักษ์พลังงานด้านการมีส่วนร่วม กลุ่มอาคารประเภทมหาวิทยาลัย จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ ณ โรงภาพยนตร์สกาล่า สยามสแควร์
ประกาศสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ให้โอนย้ายหอจดหมายเหตุ ซึ่งเดิมสังกัด สำนักงานอธิการบดีมาเป็นหน่วยงานภายใต้สำนักหอสมุด โดยมีสถานะเทียบเท่าฝ่าย โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการภายในสำนักหอสมุดจึงประกอบด้วย 7 ฝ่าย ได้แก่ สำนักงานเลขานุการ ฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ฝ่ายสารสนเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีการศึกษา ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ฝ่ายบริการ และฝ่ายหอจดหมายเหตุ
ได้รับรางวัลดีเยี่ยม ประเภทการพัฒนาปรับปรุงกระบวนงาน ในโครงการรางวัลคุณภาพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 5 ประจำปี 2554 ในผลงานเรื่อง “เพิ่มโอกาสการเรียนรู้ด้วย eBook ด้านการเกษตร”
พิธีเปิดห้องสมุดในสวน ซึ่งเป็นสวนระหว่างอาคารที่ได้รับการปรับปรุงใหม่หลังจากได้รับความเสียหายจากมหาอุทกภัยปี 2554 โดยได้รับความร่วมมือจากภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร และสาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
ได้รับรางวัลดีเด่น และดีเยี่ยม ในโครงการรางวัลคุณภาพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 6 ประจำปี 2555 ได้รับรางวัลดีประเภทหน่วยงานที่มีผลงานดีเด่น และได้รับรางวัลดีเยี่ยมและชนะเลิศภาคโปสเตอร์ ประเภทแนวปฏิบัติที่ดี จากผลงาน KU Eco-Library ห้องสมุดเพื่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม
เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และเป็นวันรักการอ่าน นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ศ.ดร. นิวัติ เรืองพานิช)เป็นประธานพิธีเปิด Read@KU : อ่านทุกทึ่ใน มก. เป็นครั้งแรกในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับคณะผู้บริหาร โดยสำนักหอสมุดนำหนังสือพร้อมชั้นหนังสือที่ Recycle มาจากเศษวัสดุ ไปให้บริการเริ่มต้น 7 แห่งและขยายผลไปยังหอพัก และ Too Fast Too Sleep เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2560
พระปัญญานันทมุนี เจ้าอาวาสวัดปัญญานันทาราม รับมอบระบบห้องสมุดจินดามณี เพื่อใช้ประโยชน์ในห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติวัดปัญญานันทาราม และขยายผลไปติดตั้งระบบเพิ่มเติมที่ห้องสมุดศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ละเมียด สัชฌุกร วัดชลประทานรังสฤษดิ์ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ได้รับรางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ ประจำปี 2556 จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ได้รับรางวัลระดับดี ประเภทการพัฒนาบริการที่เป็นเลิศเรื่อง “บริการความรู้บนเส้นทางสีเขียว: ห้องสมุดเพื่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม (Eco-Library)” จากรองนายกรัฐมนตรี (นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา) ณ หอประชุมกองทัพเรือ
ดร. อารีย์ ธัญกิจจานุกิจ เป็นผู้อำนวยการสำนักหอสมุด คนที่ 5 วาระที่ 2 (25 ก.พ. 2557 – 24 ก.พ. 2561)
สำนักหอสมุด เป็นแม่ข่ายประสานงานลงนาม“บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการด้านการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว” เป็นครั้งแรกของประเทศ จำนวน 20 หน่วยงาน และมีห้องสมุดลงนามความร่วมมือเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สำนักหอสมุดเป็นหน่วยงานนำร่องของมหาวิทยาลัยในการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร ในการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือน กระจกจนเป็นศูนย์ ส่งผลให้สำนักหอสมุดเป็นห้องสมุดคาร์บอนนิวทรัลแห่งแรกของประเทศและของอาเซียน
พิธีเปิดคลังความรู้ดิจิทัล และฐานข้อมูลจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในวาระครบ 72 ปีแห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ก.บ.ม.) ณ ห้องประชุม กำพล อดุลวิทย์
ประสานงานร่วมกับสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ในการจัดทำมาตรฐานห้องสมุดสีเขียว (ประกาศ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2558) และเกณฑ์การพัฒนาห้องสมุดสีเขียว (ประกาศวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559) เป็นครั้งแรกของประเทศ
ผู้บริหาร 16 ส่วนงานในบางเขน และรักษาการแทนอธิการบดี (รศ.ดร.บัญชา ขวัญยืน) ร่วมลงนามความร่วมมือการพัฒนาคลังความรู้ดิจิทัล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีนายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (รศ.ดร. วิโรจ อิ่มพิทักษ์) ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผ่านการตรวจประเมินตามเกณฑ์ข้อกำหนดมาตรฐานห้องสมุดสีเขียวของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ด้วยระดับคะแนนดีเยี่ยม เป็นห้องสมุดสีเขียวแห่งแรกของประเทศไทย
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผ่านการตรวจประเมินตามมาตรฐานสำนักงานสีเขียว ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ระดับทองด้วยคะแนนสูงสุดของประเทศ
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้ารับประทานเกียรติบัตรห้องสมุดสีเขียวเป็นครั้งแรกของประเทศ จากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพมหานคร
พิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณให้กับผู้มีอุปการคุณ ในโอกาส ครบรอบ 40 ปี แห่งการสถาปนาสำนักหอสมุด
สำนักหอสมุด วิทยาเขตบางเขน ร่วมกับสำนักหอสมุด วิทยาเขตกำแพงแสน โดยฝ่ายสารสนเทศ จัดนิทรรศการแสดงผลงานและสาธิตการสืบค้นข้อมูล “ระบบคลังความรู้ดิจิทัล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์” และระบบบริการความรู้ “ห้องสมุดเพื่อเกษตรกรไทย” ในงานเกษตรกำแพงแสน ครั้งที่ 21 ณ อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
มีพิธีเปิดห้องสมุดเมื่อวันวาน ณ อาคารช่วงเกษตรศิลปการ ชั้น 3 ภายในห้องนิทรรศการ จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของสำนักหอสมุด และใช้เป็นสถานที่เก็บรวบรวมและจัดแสดงเครื่องมือ อุปกรณ์ในการดำเนินงานของสำนักหอสมุด ตั้งแต่ครั้งอดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้นิสิต บุคลากร และบุคคลทั่วไป ได้เรียนรู้เกี่ยวกับประวัติ ความเป็นมาของสำนักหอสมุด ผ่านเรื่องราวในนิทรรศการที่ออกแบบที่ให้สาระความรู้เกี่ยวกับงานทางด้านบรรณารักษ์ โสตทัศนูปกรณ์ การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และงานด้านสารสนเทศข้อมูลทางด้านการเกษตร
บุคลากรสำนักหอสมุด ร่วมรับเสด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ และร่วมถวายรายงาน เรื่อง “ระบบคลังความรู้ดิจิทัลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และระบบบริการความรู้ “ห้องสมุดเพื่อเกษตรกรไทย”
เปิดระบบบริการคลังความรู้ศาสตร์พระราชาศาสตร์แห่งแผ่นดิน เข้าถึงได้ผ่านทางเว็บไซต์ http://kukr.lib.ku.ac.th/kingrama9
รวมถึงมีการจัดทำหนังสือ “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เล่ม 2” เสนอพระราชกรณียกิจของพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร ในช่วงปี พ.ศ. 2543 จนถึงเสร็จสิ้นพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ
เปิดให้บริการฐานข้อมูล “ฐานข้อมูลผลงานศาสตราจารย์ระพี” เข้าถึงได้จาก https://kukr.lib.ku.ac.th/kukr_es/rapee ปัจจุบัน พ.ศ.2567 ใช้ชื่อว่า “ฐานข้อมูล ๑๐๐ ปี ชาตกาล ศาสตราจารย์ระพีสาคริก”
วันที่ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าร่วมรับประกาศนียบัตรหน่วยงานผู้ใช้เสื้อผ้า Cool Mode ลดโลกร้อน ณ โรงแรมศิวาเทล กรุงเทพฯ
นางวนิดา ศรีทองคำ เป็นผู้อำนวยการสำนักหอสมุด คนที่ 6 (1 พ.ค. 2561 – 30 เม.ย. 2565)
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณจาก ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในโอกาสที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็น 1 ใน 4 ของห้องสมุดที่ดำเนินการขยายผลการพัฒนาห้องสมุดสีเขียวสู่ชุมชนและสังคม
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับรางวัลโครงการสำนักงานสีเขียว (Green Office) ในระดับดีเยี่ยม (Gold) ณ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดนิทรรศการร่วมแสดงความอาลัยศาสตราจารย์ระพี สาคริก ปูชนียบุคคลเกษตรศาสตร์ ณ บริเวณโถงนิทรรศการชั้น 1 อาคารช่วงเกษตรศิลปการ (ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2561)
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดประชุมเครือข่ายห้องสมุด 4 วิทยาเขต ครั้งที่ 29 ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 2 อาคารเทพรัตน์วิทยาโชติ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมจัดนิทรรศการ 99 ปี ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร ในงานกตเวทิตาจิต 99 ปี ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร ณ อาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ศูนย์สนเทศทางกระบือนานาชาติ (IBIC) สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดนิทรรศการคลังความรู้ดิจิทัลควายไทย ปี 2561 ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนากระบือ จังหวัดสุรินทร์
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดนิทรรศการ “ขอพระองค์ทรงพระเจริญ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร” ณ บริเวณโถงนิทรรศการ ชั้น 1 อาคารเทพรัตน์วิทยาโชติ สำนักหอสมุด
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าร่วมการประชุมหน่วยงานความร่วมมือทางวิชาการ ด้านการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว ครั้งที่ 5 ณ ห้องประชุมกำพล อดุลวิทย์ อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับรางวัล “Thailand Energy Awards 2018 ” ด้านอนุรักษ์พลังงาน ประเภทอาคารควบคุม จากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ
พิธีลงนามเครือข่ายความร่วมมือห้องสมุดด้านประกันคุณภาพการศึกษา รอบปีที่ 6 ณ ห้องประชุมสัญญา ธรรมศักดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โครงการรางวัลคุณภาพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 12 ประจำปี 2561 สำนักหอสมุด ได้รับรางวัลในประเภทที่ 2 การพัฒนาและปรับปรุงกระบวนงาน 2.2 แนวปฏิบัติที่ดี โดยได้รับรางวัล ‘ระดับดี’ จากผลงานเรื่อง “เครือข่ายความร่วมมือห้องสมุดด้านประกันคุณภาพการศึกษา” โดยนางสาวธนาภรณ์ ฉิมแพ
ระหว่างวันที่ 2 มกราคม – วันที่ 30 กันยายน 2562 หอจดหมายเหตุ สำนักหอสมุด ได้ดำเนินการปรับปรุงห้องนิทรรศการเย็นศิระเพราะพระบริบาล ณ อาคารหอประวัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยนำเทคโนโลยี QR CODE เข้ามาใช้เพื่อสามารถรับชมผ่านสื่อออนไลน์ได้ และเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 2562
สำนักหอสมุด เข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติ PULINET ครั้งที่ 9 ได้รับรางวัล ‘ระดับดี’ จากผลงานชื่อ “ห้องสมุดเพื่อเกษตรกรไทย : ระบบบริการความรู้เพื่อเกษตรกรยุคใหม่” โดย นางสาวถิรนันท์ ดำรงค์สอน และนางอารีย์ ธัญกิจจานุกิจ ประเภทบรรยาย (Oral Presentation) และรางวัล ‘ระดับดี’ จากผลงานชื่อ “แนวทางการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาคลังความรู้ดิจิทัล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์” โดย นางสาวสุราภรณ์ คงผล และนางอารีย์ ธัญกิจจานุกิจ ในส่วนประเภทโปสเตอร์ (Poster Presentation) ได้รับรางวัล ‘ระดับดีเด่น’ จากผลงาน ชื่อ “การวิเคราะห์ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลเชิงภาพ เพื่อประยุกต์ใช้กับการแสดงข้อมูลสถิติของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์” โดย นายอภิยศ เหรียญวิพัฒน์
วันที่ 10 มกราคม 2562 สำนักหอสมุด ลงนามความร่วมมือกับหน่วยงานต่างประเทศ ได้แก่ The Center for People and Forests (RECOFTC) เป็นความร่วมมือด้านทรัพยากรห้องสมุดและการให้บริการ ณ ห้องประชุม 9 ชั้น 2 อาคารสารนิเทศ 50 ปี
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดกิจกรรมความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ SJTU Library (Shanghai Jiao Tong University Library) ได้แก่ การที่สำนักหอสมุดเชิญ Dr. CHEN Jin, Director, SJTU Library มาเป็นวิทยากรให้ความรู้หัวข้อ “Electronic Resource/Database Selection Principle and API” เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562 และเชิญเป็นวิทยากรในโครงการสัมมนาทางวิชาการประจำปี หัวข้อ “Data Science: Data Analytics ในการบริหารห้องสมุดในศตวรรษที่ 21” เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 5 อาคารเทพรัตน์วิทยาโชติ สำนักหอสมุด
สำนักหอสมุดจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคล พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ณ โถงนิทรรศการ ชั้น 1 อาคารเทพรัตน์วิทยาโชติ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ช่วงเดือนพฤษภาคม 2562 คลังความรู้ดิจิทัล มก. เปิดฐานข้อมูลผลงาน ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร เพื่อรวบรวมผลงานทั้งหมดของศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร (ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2562)
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลงนามความร่วมมือกับ Shanghai Jiao Tong University Library (SJTU Library) เป็นความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนบุคลากร ณ ห้องประชุม SJTU Library สาธารณรัฐประชาชนจีน
สำนักหอสมุด ส่งผลงานการจัดการความรู้เพื่อประกวดรางวัล “KU -KM Best Practice Awards” และรางวัล “KU -KM Mart Awards” จำนวน 2 ผลงาน
สำนักหอสมุด ปรับปรุงหน้าเว็บไซต์ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงบริการและข้อมูลข่าวสาร และหอจดหมายเหตุ สำนักหอสมุด ปรับปรุงระบบฐานข้อมูลเกียรติภูมิมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สำนักหอสมุด ได้เข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติ PULINET ครั้งที่ 10 และได้รับรางวัล ‘ระดับดี’ ประเภทโปสเตอร์ (Poster Presentation) จากผลงานชื่อ “การศึกษาความต้องการของผู้ใช้บริการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม (Focus group) และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview)” โดย นางสาวสมใจ ขุนเจริญ นายกนก สุขมณี และนายณัฐวุฒิ นันทปรีชา
หอจดหมายเหตุ สำนักหอสมุด จัดทำนิทรรศการในรูปแบบออนไลน์ “สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผู้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์” พร้อมกันนี้ฝ่ายสารสนเทศ สำนักหอสมุด ได้จัดทำคลังความรู้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในชื่อว่า “แว่นแก้วศรีนนทรี”
เนื่องจากเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปิดทำการให้บริการในพื้นที่ เปิดให้บริการในรูปแบบออนไลน์ และให้บริการยืมหนังสือโดยการส่งไปรษณีย์ให้แก่นิสิตที่ต้องการยืมหนังสือในช่วงเวลาปิดทำการ
คลังความรู้ดิจิทัล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เปิดฐานข้อมูลคลังความรู้เกษตรศาสตร์สู้ COVID – 19
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้ารับประกาศนียบัตร ในพิธีขอบคุณและมอบประกาศนียบัตร จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ในกิจกรรมการร่วมชดเชยคาร์บอนฟุตพริ้นท์
พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างห้องสมุดสมาชิกภาคีเครือข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค PULINET Plus ที่รวมห้องสมุดมหาวิทยาลัยทั้งสิ้น 29 สถาบัน โดยมีวัตถุประสงค์ที่มุ่งเน้นส่งเสริมการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างกัน และใช้ทรัพยากรร่วมกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างโอกาสการเข้าถึงและใช้ทรัพยากรสารสนเทศต่อไปในอนาคต โดยได้รับเกียรติจาก ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ รศ.ดร.ลดาวัลย์ พวงจิตร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ร่วมเป็นพยาน ในการลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้
สำนักหอสมุด จัดงานเสวนาเรื่อง "Sustainable Library ห้องสมุดที่ยั่งยืน" เพื่อมุ่งเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในมิติต่าง ๆ และเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้รับบริการ ในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวเปิดการเสวนาผ่าน Cisco Webex วิทยากรโดย ผศ.ดร. ชนันนา รอดสุทธิ และ คุณวนิดา ศรีทองคำ ผู้อำนวยการ สำนักหอสมุด ร่วมเสวนา
สำนักหอสมุดได้รับรางวัล เนื่องในโครงการรางวัลคุณภาพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 14 ประจำปี 2563 จากผลงานการนำเสนอภาคโปสเตอร์ โดยได้รับรางวัลอันดับที่ 2 และรางวัลอันดับที่ 3 (Popular Vote) จากเรื่อง “library Service for New Normal” โดยนางสาวกิตติยา ขุมทอง
สำนักหอสมุด เข้าร่วม การประชุมวิชาการระดับชาติ PULINET ครั้งที่ 11 ประจำปี 2564 และได้รับรางวัล ‘ระดับดี’ประเภทบรรยาย (Oral Presentation) ในผลงานชื่อ “การพัฒนาระบบจำแนกและตรวจนับบุคคลอัตโนมัติ ด้วยเทคโนโลยีประมวลผลภาพดิจิตอลของคอมพิวเตอร์ เพื่อตรวจสอบการเข้าใช้งานพื้นที่ให้บริการ ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตามมาตราการผ่อนปรนกิจการและกิจกรรมเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19”
นางวนิดา ศรีทองคำ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับการประกาศเกียรติคุณนักศึกษาเก่าดีเด่น ประจำปีพุทธศักราช 2563 คณะมนุษยศาสตร์ (ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมมือกับสถานีวิทยุ มก. รวบรวม คัดสรรความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับด้านการเกษตรและสิ่งแวดล้อม มาเผยแพร่และให้ประชาชนได้รับรู้และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ และได้ออกอากาศครั้งแรกในรายการ อยู่ดินกินดี ร่วมกับสถานีวิทยุ มก.” โดย นายอภิยศ เหรียญวิพัฒน์
ประกาศการปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในสถานการณ์ COVID-19 เรื่อง มาตราการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ COVID-19 ฉบับที่ 27 เพื่อเป็นการควบคุมและป้องกันการแพร่กระจายของโรค COVID-19 จึงมีการปิดให้บริการสำนักหอสมุดตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2564 เป็นต้นไป
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ดำเนินการจัดทีมกระจายกำลัง Big Cleaning เข้าฉีดพ่นแอลกอฮอล์และน้ำยาฆ่าเชื้อ พ่นฆ่าเชื้อทุกอาคารในส่วนของสำนักหอสมุดทั้ง 2 อาคาร พื้นที่นั่งอ่าน สำนักงาน และพื้นที่โดยรอบก็ได้รับการพ่นฆ่าเชื้อ เพื่อทำความสะอาดตามมาตรการเฝ้าระวังด้านสุขอนามัย เพื่อสร้างความมั่นใจ ความปลอดภัย และรอที่จะกลับมาให้บริการแก่ทุกท่านอีกครั้ง
สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดทำ “คลังความรู้เกษตรศาสตร์สู้ COVID19” เป็นคลังความรู้ที่รวบรวมและให้บริการองค์ความรู้ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 จำนวนมากกว่า 50,000 รายการ โดยมีองค์ความรู้ทั้งผลงานวิจัย เอกสาร ตำรา สื่อมัลติมีเดียและนวัตกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาในช่วงสถานการณ์ COVID-19 สามารถเข้าถึงได้จาก https://kukr.lib.ku.ac.th/db/covid19
สำนักหอสมุด มก. เปิดให้บริการแบบ New Normal โดยเปิดบริการแบบจำกัดจำนวนผู้ใช้บริการ เว้นระยะห่างเพื่อความปลอดภัย จำกัดรอบละ 50 คน วันละ 2 รอบ ผู้ใช้บริการต้องสำรองที่นั่งผ่านระบบก่อนเข้าใช้ ให้บริการเคาน์เตอร์ทางเข้า – ออก แบบ Contactless พูดคุยกับเจ้าหน้าที่ผ่านโปรแกรม Webex เว้นระยะห่าง ลดการสัมผัส ใช้บัตรนิสิตสแกนเข้าประตูอัตโนมัติเท่านั้น บริการออนไลน์ต่าง ๆ ยังคงให้บริการเช่นเดิม
สำนักหอสมุดยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมเข้าใช้ห้องสมุด โดยเปิดให้เข้าใช้บริการฟรีกับคนทุกวัย เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับทุกคน
พิธีเปิด MiniTCDC Link ซึ่งเป็นความร่วมมือ ระหว่าง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ในการเปิดโอกาสให้นิสิตและบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในทุกวิทยาเขตได้เข้าถึงองค์ความรู้ด้านการออกแบบ ผ่านการเชื่อมโยงในรูปแบบดิจิทัลแพลตฟอร์ม ทั้งฐานข้อมูลออนไลน์และทรัพยากรสารสนเทศด้านการออกแบบ กิจกรรมในงานประกอบด้วย การแนะนำประโยชน์และการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์และทรัพยากรสารสนเทศด้านการออกแบบจากเครือข่ายความร่วมมือ miniTCDC Link โดยคุณวัชชพล หรั่งแพ นักพัฒนาเครือข่ายองค์ความรู้อาวุโส และ ดร.ดารารัตน์ เมฆเกรียงไกร ผู้เชี่ยวชาญด้านส่งเสริมองค์ความรู้และวัสดุ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)
นางสาวสุพรรณี หงษ์ทอง ได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี นับเป็นผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คนที่ 7
สำนักหอสมุดส่งผลงานเข้าร่วมประกวดในงาน KU Digital Day โดยส่งผลงานเข้าร่วมเผยแพร่ ได้แก่ ผลงาน Digital Platform “ระบบบันทึกเวลาปฏิบัติงานออนไลน์บนพื้นฐาน New Normal” โดย ประจักษ์ สุขอร่าม และสุกัญญา อ่อนจันทร์ และ “ระบบเบิกจ่ายยืมคืนวัสดุออนไลน์” โดย ประจักษ์ สุขอร่าม และน้ำฝน ยอดนิล
นางสาวสุพรรณี หงษ์ทอง ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้ารับมอบประกาศนียบัตร หน่วยงานที่ผ่านการรับรองมาตรฐานสากล CoreTrustSeal ในการจัดการข้อมูลในคลังสารสนเทศดิจิทัล จากศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 (Thailand Research Expo 2022)” ครั้งที่ 17 จัดโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ ถือเป็นคลังสารสนเทศดิจิทัลสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทยที่ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐาน CoreTrustSeal จากประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลในการจัดการข้อมูลในคลังสารสนเทศดิจิทัล
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดพิธีมอบรางวัลพร้อมเกียรติบัตรในโครงการประกวดออกแบบพื้นที่เพื่อการเรียนรู้ Learning Space ให้นิสิตที่ชนะเลิศการประกวดออกแบบ Learning Space ภายใต้แนวคิด “ใส่ใจด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการเรียนรู้ การใช้บริการ และเป็นพื้นที่สร้างแรงบันดาลใจ” โดยได้รับเกียรติจาก ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดี เป็นประธานและผู้มอบรางวัล ร่วมด้วยคณะผู้บริหารจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ อาจารย์ขวัญชัย กาแก้ว รองคณบดีฝ่ายแผนและพัฒนา ผศ.กัมพล แสงเอี้ยม ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนานวัตกรรม และคณะผู้บริหารสำนักหอสมุด มก. ณ ห้องประชุมชั้น 5 สำนักหอสมุด มก. รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นายอลงกรณ์ โยมรัมย์ ชื่อผลงาน “The Living” โดยสำนักหอสมุดมีแผนที่จะนำผลงานที่ชนะเลิศไปพัฒนาแบบ และดำเนินการพัฒนาปรับปรุงพื้นที่ Learning Space ชั้น 1 บริเวณโซนบริการคอมพิวเตอร์ อาคารเทพรัตน์วิทยาโชติ สำนักหอสมุด มก. มีพื้นที่ขนาด 321.20 ตารางเมตร ให้ตรงต่อความต้องการของนิสิตต่อไป
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการกระจายโอกาสสร้างแหล่งเรียนรู้ด้านการออกแบบสู่ภูมิภาค miniTCDC Link โดยมี ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ คุณเลอชาติ ธรรมธีรเสถียร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาองค์ความรู้เครษฐกิจสร้างสรรค์ ร่วมลงนามฯ ซึ่งบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าวมีขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้นิสิตและบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในทุกวิทยาเขตได้เข้าถึงองค์ความรู้ด้านการออกแบบ ผ่านการเชื่อมโยงในรูปแบบดิจิทัลแพลตฟอร์ม ทั้งฐานข้อมูลออนไลน์และทรัพยากรสารสนเทศด้านการออกแบบ เช่น ฐานข้อมูลวัสดุต่างประเทศ Material ConneXion Database ฐานข้อมูลวัสดุไทย Thai Materials Database เป็นต้น โดยสามารถใช้บริการได้ที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทุกวิทยาเขต
สำนักหอสมุดได้ดำเนินการประชุมความร่วมมือการทำคลังความรู้เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และการพัฒนาอาชีพให้กับโรงเรียนในพื้นที่เขตชายแดน โดยมี คุณสุพรรณี หงษ์ทอง ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด ผศ.อนุพร สุวรรณวาจกกสิกิจ ผู้อำนวยการสถานีวิทยุ มก. กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คุณศศิธร พูนเพิ่มสิริ หัวหน้าฝ่ายฝึกอบรมและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และ คุณกรองแก้ว อามาตย์เสนา รองหัวหน้าฝ่ายและหัวหน้างานสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สำนักบริการคอมพิวเตอร์ร่วมประชุมและวางแผนการดำเนินงาน
ผู้บริหาร และบุคลากรสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมแสดงนิทรรศการในงาน ๑๐๐ ปี ชาตกาล ศาสตราจารย์ระพี สาคริก ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยได้รับเกียรติจาก ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดี พร้อมด้วยคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เยี่ยมชมนิทรรศการ ซึ่งประกอบด้วยประวัติและผลงานของศาสตราจารย์ระพี สาคริกที่มีกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อีกทั้งสาธิตการใช้งาน "ฐานข้อมูล ๑๐๐ ปี ชาตกาล ศาสตราจารย์ระพี สาคริก” ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมและจัดเก็บผลงานสร้างสรรค์ต่าง ๆ ของศาสตราจารย์ระพี สาคริก เช่น กล้วยไม้ ข้อคิดและหลักปรัชญาต่าง ๆ อันทรงคุณค่า
สำนักหอสมุด มก. ร่วมออกบูธในงาน ปักหมุดบริบทใหม่ชาวนาไทย "เศรษฐกิจบนฐานนวัตกรรม 2023" ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม BETTER FARMSBETTER LIVES 2023 เพื่ิอเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และ เฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 80 ปี โดยมีผู้อำนวยการสำนักหอสมุดและบุคลากร นำเสนอและสาธิตการใช้งานฐานข้อมูลข้าวและชาวนาไทย
บุคลากรสำนักหอสมุด คว้ารางวัล ‘ระดับดี’ ในการนำเสนอผลงานวิชาการ ประเภทบรรยาย (Oral Presentation) กลุ่มการบริการสารสนเทศ (Information Services : IS) การประชุมวิชาการระดับชาติ PULINET ครั้งที่ 13 ชื่อผลงาน : การพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการตอบคำถามในรูปแบบระบบรวมศูนย์ ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้นำเสนอ : คุณชาญณรงค์ เผือกพูลผล คุณพนารัตน์ สร้อยศรีเมือง และ คุณชนารัตน์ บุณยรัตพันธุ์
สำนักหอสมุด มก.ได้จัดพิธีเปิดนิทรรศการเกษตรศาสตร์ เนื่องในโอกาส เฉลิมฉลอง 80 ปี การสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยได้รับเกียรติจาก ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวเปิดงาน และเป็นประธานเปิดงาน ร่วมกับ ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีผู้อำนวยการสำนักหอสมุด พร้อมด้วยผู้บริหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และแขกผู้มีเกียรติจากหน่วยงานต่างๆ ร่วมในพิธี
พร้อมกันนี้ ยังได้มีการเปิดตัวฐานข้อมูล “โครงการประวัติศาสตร์บอกเล่า (Oral History) 80 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์” ซึ่งได้มีการดำเนินงานจัดเก็บประวัติศาสตร์บอกเล่าของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในรูปแบบการสัมภาษณ์ผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น คณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ อันมีบทบาทต่อการวางรากฐานการพัฒนาของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นับตั้งแต่ครั้งอดีต จนถึงวาระครบรอบ 80 ปี โดยสามารถรับชมคลิปการสัมภาษณ์จากหน่วยงานต่าง ๆ ได้ในรูปแบบออนไลน์ ผ่านทาง https://kasets.art/MRUCRO
สัมมนาทางวิชาการของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประจำปี 2566 จัดขึ้น ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 5 อาคารเทพรัตน์วิทยาโชติ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภายในงานมีกิจกรรม “การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านบริการและด้านวิชาการของห้องสมุดระดับมหาวิทยาลัย” และการสัมมนาในหัวข้อ “ก้าวต่อไปของห้องสมุดในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงแบบผกผัน”
นางสาวสุพรรณี หงษ์ทอง และ Prof. Dr. Xinwan Li ผู้อำนวยการห้องสมุด มหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวทง (Shanghai Jiao Tong University Library) ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กับ Shanghai Jiao Tong University Library ในการแลกเปลี่ยนบุคลากรเพื่อเรียนรู้การงานห้องสมุดระหว่างมหาวิทยาลัยและความร่วมมือในด้านต่าง ๆ
สำนักหอสมุด จัดงาน "Knowledge Fair 2023" มหกรรมความรู้ นวัตกรรม เทศกาลจำหน่ายหนังสือและสื่อสร้างสรรค์ “KU Book Fair” โดยในงานมีร้านค้าเอกชนและสำนักพิมพ์ ร่วมจัดบูธจำหน่ายหนังสือ เครื่องเขียน และนวัตกรรมกว่า 60 บูธ และยังมีกิจกรรมเสวนาจากนักเขียนและเจ้าของผลงานวิจัยทุกวัน ณ บริเวณพื้นที่บริการ ชั้น 1 ของทั้งสองอาคาร
สำนักหอสมุด ร่วมกับ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กรมวิทยาศาสตร์บริการ และมูลนิธิต่อต้านการทุจริต ได้ส่งมอบห้องสมุดสีเขียว (Green Library) ให้กับโรงเรียนเทวสุนทร กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้ดำเนินการปรับปรุงห้องสมุด การจัดหาหนังสือและจัดหมวดหมู่หนังสือให้มีความเหมาะสมกับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา โดยมุ่งหวังน้อง ๆ นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน มีบรรยากาศห้องสมุดที่น่าใช้งานเพื่อใช้ในการศึกษาค้นคว้าข้อมูลในการเรียน ไปพร้อมกับการเรียนรู้การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นการบูรณาการความร่วมมือกันระหว่างเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว
สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับการประเมินความพึงพอใจต่อการให้บริการของสำนักหอสมุด ในด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ระดับมหาวิทยาลัย เป็นอันดับ 1 โดยได้คะแนนเฉลี่ย 4.31 (จากนิสิตผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 9,692 คน)
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย คุณสุพรรณี หงษ์ทอง ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) เรื่อง “การจัดการสารสนเทศและองค์ความรู้” ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดย ดร.จุฬารัตน์ ตันประเสริฐ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ณ ห้องออดิทอเรียม อาคารสำนักงานกลาง สวทช. อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย พร้อมทั้งได้มีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถ่ายทอดประสบการณ์ จากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
สำนักหอสมุด จัดแสดงนิทรรศการ "นวมินทรมหาราชรำลึก" เป็นครั้งแรกในวันนวมินทรมหาราช โดยเป็นการนำเสนอเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระองค์ที่มีความสำคัญต่อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดแสดงผ่านต้นนนทรี อันเป็นต้นไม้สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมไปถึงการแนะนำคลังความรู้ศาสตร์พระราชา หนังสือของพ่อ และคลังความรู้รัชกาลที่ 9 กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
สำนักหอสมุดเปิดให้บริการพื้นที่นั่งอ่าน ตลอด 24 ชั่วโมงเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ภายหลังมีการแพร่ระบาดของ Covid-19 เปิดให้บริการเฉพาะพื้นที่นั่งอ่าน ชั้น 1 – 4 อาคารเทพรัตน์วิทยาโชติและให้บริการพื้นที่นั่งอ่านตลอดทั้งวันที่บริเวณลานอเนกประสงค์ นอกจากนี้ ยังจัดโซนจำหน่ายอาหารค่ำ มีบริการเครื่องดื่มร้อน และแจกนมเกษตรฟรี (จากการสนับสนุนของศูนย์ผลิตภัณฑ์นม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) และมีบริการรถตะลัย รับ-ส่ง หอสมุด > หอพักนิสิตซอยพหล 45 > BTS ทุกๆ 1 ชั่วโมง จนถึง 23.30 น. เพื่อความสะดวกและปลอดภัยของนิสิต
ผู้บริหารและบุคลากรสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าศึกษาดูงาน ณ ห้องสมุดชั้นนำประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ ประกอบด้วย Central Library National University of Singapore, Medicine + Science Library National University of Singapore, Library@UTown National University of Singapore, Chinese Library National University of Singapore, Li Ka Shing Library Singapore Management University, Lee Wee Nam Library Nanyang Technological University, Punggol Regional Library ห้องสมุดประชาชนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ โดยมีการหารือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านการบริหารจัดการห้องสมุด การให้บริการสนับสนุนการวิจัย การเรียน การสอน การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต การหารือด้านการทำงานร่วมกันต่อไปในอนาคต รวมถึงมีการแลกเปลี่ยนบุคลากร โดยบุคลากรสำนักหอสมุด มก. 2 ท่าน เข้ารับการอบรมด้านการบริหารจัดการห้องสมุดในส่วนงานต่าง ๆ กับ Central Library ของ National University of Singapore ระหว่าง วันที่ 21 – 24 พฤศจิกายน 2566 อีกด้วย
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดพิธีเปิดคลังข้อมูลดิจิทัลเคหการเกษตร และเปิดให้บริการออนไลน์อย่างเป็นทางการโดยรวบรวมวารสารเคหเกษตรตั้งแต่ฉบับแรกจนถึงฉบับปัจจุบันที่ได้ให้บริการแก่นักอ่านมาอย่างยาวนานกว่า 40 ปี ซึ่งปัจจุบันวารสารเคหเกษตรได้มอบให้สำนักหอสมุดเป็นผู้จัดเก็บและให้บริการเผยแพร่แก่ผู้สนใจในรูปแบบดิจิทัล เพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าและให้ความรู้ทางด้านการเกษตรแก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา เกษตรกร และผู้สนใจทั่วไป
สำนักหอสมุดได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 ในงานโครงการวันแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 10 ประเภท Innovation Awards จากผลงาน “ระบบตรวจสอบความถูกต้อง ความพร้อมใช้งานและปรับปรุงการเชื่อมโยงแหล่งทรัพยากรสากล (URT) โดยใช้ Cognitive AI” โดยนางเพ็ญสุภา แก้วพิทยาภรณ์ และ นายอภิยศ เหรียญวิพัฒน์
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับรางวัลจากการมอบรางวัลคุณภาพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 17 ประจำปี 2566 ‘ระดับดี’ ในเรื่อง “การนำเข้าข้อมูล ผ่านระบบบันทึกผลงานสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KUKR Input)” โดย นางสาวสุนีย์ ฉัตรศิริยิ่งยง นางสาววันเพ็ญ ศรีจันทร์กุล นางสาวถิรนันท์ ดำรงค์สอน นางสาวสุราภรณ์ คงผล นายบดินทร์ ผลพันพัว และนายเฉลิมเดช เทศเรียน
สำนักหอสมุดเข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติ PULINET ครั้งที่ 14 และมี 1 ผลงานที่ได้รับรางวัลชมเชย ในชื่อผลงาน "การขยายผลการใช้ประโยชน์จากคลังความรู้ดิจิทัล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต" เจ้าของผลงานและผู้นำเสนอ ได้แก่ นางสาวสุพรรณี หงษ์ทอง ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด, นางสาวถิรนันท์ ดำรงค์สอน รองผู้อำนวยการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ, นายเฉลิมเดช เทศเรียน นักเอกสารสนเทศชำนาญการ
ผู้บริหารและบุคลากรสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้การต้อนรับ Mrs. Lee Cheng Ean Advisor & Head Global Relations จาก NUS Libraries เข้าหารือเรื่องการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ห้องสมุดมหาวิทยาลัย National University of Singapore
ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมด้วยรองผู้อำนวยการ ผู้บริหาร และบุคลากร เข้าศึกษาดูงาน ณ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพพล เผ่าสวัสดิ์ ผู้อำนวยการหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล คุณอังคณา อินทรพาณิชย์ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารและพัฒนาคุณภาพห้องสมุด ดร.อภิภู สิทธิภูมิมงคล รองผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีการศึกษาและพันธกิจพิเศษ ผู้บริหาร และบุคลากร หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ให้เกียรติต้อนรับ ร่วมให้ข้อมูล และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงานห้องสมุด ในเรื่อง การจัดการความรู้ การบอกรับฐานข้อมูลร่วมกันกับคณะ (Co-Pay) การบริการสนับสนุนการเรียน การสอน และการวิจัย และนำชมพื้นที่การให้บริการและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดงานสืบสานประเพณีสงกรานต์ประจำปี 2567 โดยมีพิธีทำบุญ สรงน้ำพระเพื่อความเป็นศิริมงคล และยังมีการสืบสานประเพณีอันดีงามด้วยการขอขมาในสิ่งที่ได้ล่วงเกินและขอพรปีใหม่จากอดีตผู้บริหารที่เคารพรักของชาวหอสมุด
วารสาร Buffalo Bulletin โดย ศูนย์สนเทศทางกระบือนานาชาติ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เลื่อนลำดับ Quartile score ของวารสาร จาก Journal Quartile Score ที่ 4 (Q4) เข้าสู่ Journal Quartile Score ที่ 3 (Q3) ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันถึงความพยายามในการพัฒนาคุณภาพวิชาการของวารสารที่มีการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง และยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาต่อไปในอนาคต