การเงินสีเขียว (Green Finance)

ผู้เรียบเรียง

ดวงพร อรัญญพงษ์ไพศาล

บรรณารักษ์ชำนาญการ ฝ่ายบริการ

 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

            จากสถานการณ์โลกในปัจจุบันสภาวะโลกเดือดที่เกิดขึ้นในระดับโลกได้กลายเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาวะทางการเมืองและเศรษฐกิจ การหาวิธีเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำอย่างเร่งด่วน รัฐบาล นักลงทุนและองค์กรทั่วโลกต่างก็เริ่มดำเนินการจัดการกับวิกฤตการณ์นี้ โดยหลายประเทศพยายามดำเนินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ ด้วยเหตุนี้ Green Finance หรือการเงินสีเขียว จึงเป็นเครื่องมือที่สามารถเพิ่มกระแสการเงินจากการลงทุนทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนผ่านเครื่องมือทางการเงินต่างๆ ที่เกิดจากความร่วมมือกันระหว่างอุตสาหกรรมการเงินการลงทุนและภาคสิ่งแวดล้อม เพื่อทำให้เกิดการเติบโตทางธุรกิจและผลกำไร รวมถึงความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบต่อสังคม และการใช้หลักธรรมาภิบาลควบคู่ไปด้วย 

https://admin.bangkokbanksme.com/uploads/topics/16614144401616.jpg
ที่มา : https://www.bangkokbanksme.com/en/8sme3-guidelines-for-green-loans

เป้าหมายของการเงินสีเขียว คือ

  • มุ่งแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มลพิษ ฯลฯ
  • ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน
  • สร้างสมดุลระหว่างผลตอบแทนทางการเงินกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม

ประเทศไทยได้กำหนดทิศทางการพัฒนาด้านการเงินสีเขียวไว้ 5 ด้าน ดังนี้

1. ปรับกระบวนการดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงิน เพื่อให้มีบริการและผลิตภัณฑ์ทางการเงินด้านสิ่งแวดล้อมที่ตอบโจทย์ความต้องการของภาคธุรกิจ

2. จัดทำมาตรฐานกลางที่กำหนดนิยามและจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการเงิน 

3. ร่วมพัฒนาระบบฐานข้อมูลกลางด้านสิ่งแวดล้อมและมีมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลของสถาบันการเงิน เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีข้อมูลเพียงพอสำหรับการประเมินโอกาสและความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม ในการกำหนดนโยบาย กลยุทธ์ หรือการบริหารจัดการความเสี่ยง รวมถึงตัดสินใจลงทุนหรือเลือกใช้บริการและผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ส่งเสริมกิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม

4. สร้างแรงจูงใจส่งเสริมการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อกระตุ้นให้สถาบันการเงิน ภาคธุรกิจ และผู้บริโภค เห็นความจำเป็นเร่งด่วนในการปรับตัวด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้น

5. ยกระดับองค์ความรู้และความชำนาญของบุคลากรในภาคการเงิน เพื่อสร้างความตระหนักรู้ ความเข้าใจ สามารถประเมินโอกาสและความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม และให้คำแนะนำแก่ภาคธุรกิจได้อย่างเหมาะสม

เครื่องมือทางการเงินสำหรับ Green Finance ประกอบด้วย

1. ตราสารหนี้สีเขียว (Green Bonds) เป็นการระดมทุนสำหรับโครงการที่เป็นประโยชน์กับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะกับโครงการที่เกี่ยวกับการคมนาคมที่มีคาร์บอนต่ำ พลังงานสะอาด และอาคารประหยัดพลังงาน

2. กองทุนรวมตราสารทุนสีเขียว (Green Equity Funds) เป็นกองทุนรวมตราสารทุนที่เน้นลงทุนในโครงการที่มีนโยบายด้านความยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งใช้กันแพร่หลายในการลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียน

3. การกู้ยืมสีเขียว (Green loans) เป็นการกู้ยืมเงินเพื่อไปใช้สร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับตราสารหนี้สีเขียว เพื่อช่วยสนับสนุนธุรกิจที่ต้องการลงทุนเกี่ยวกับการลดหรือแสวงหาการใช้พลังงานทดแทน หรือการบริหารจัดการของเสียเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม 

4. ประกันภัยสีเขียว (Green Insurance): ประกันภัยที่คุ้มครองความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม เช่น มลพิษ ภัยธรรมชาติ

Green Finance เป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยโลกแก้ไขปัญหา Climate Change ซึ่งเกิดจากการสร้างความร่วมมือให้เกิดขึ้นกับทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ หน่วยงานกำกับดูแล ตลาดเงิน ตลาดทุน รวมถึงภาคเอกชนที่ต้องสร้างมาตรฐานร่วมกัน เพื่อขับเคลื่อนไปสู่การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ให้ได้ในปี 2050  

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

Liberator. (2565). Green Finance การเงินสีเขียวเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน. 

          สืบค้นจาก https://www.liberator.co.th/libx-patraporn-creativetone-19_12_22/

BIZ & MARKETING NEWS. (2565). รู้จัก Green Finance อาวุธหนักของโลกการเงิน ช่วยโลกสู้ Climate  

           Change กับทิศทาง “การเงินสีเขียว” ในไทย. สืบค้นจาก https://www.marketingoops.com/news/biz-news/green-finance/

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2565). ทิศทางการพัฒนาสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ภาค   

           การเงินไทย. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/th/news-and-media/news/news-20220823.html

BANGKOKBANK. (2565). ส่องแนวทาง ‘สินเชื่อสีเขียว’ นวัตกรรมสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการ SME ไทยใส่ใจ

           โลก อีกก้าวที่จำเป็นสู่อนาคตที่ยั่งยืน”. สืบค้นจาก https://www.bangkokbanksme.com/en/8sme3-guidelines-for-green-loans

นิรมล สุธรรมกิจ. (2565). การเงินสีเขียวเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน. สืบค้นจาก https://bkktribune.com/

แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

Palmaccio, M., Galeone, G., Shini, M., & Campobasso, F. (2023). Green Finance: Past, Present 

          and Future Studies. Journal of Financial Management, Markets & Institutions, 11(2), 

          1–19. https://doi.org/10.1142/S2282717X23500135

Huang, L., Cao, Y., & Zhu, Y. (2023). Is there any recovery power for economic growth from 

          green finance? Evidence from OECD member countries. Economic Change & 

          Restructuring, 56(6), 3909–3926. https://doi.org/10.1007/s10644-022-09458-5

Saxena, A., Tiwari, S., Bhardwaj, S., Srivastava, S., & Kumar, N. (2023). A Bibliometric Review of 

          Green Finance: Current Status, Development and Future Directions. Folia Oeconomica 

          Stetinensia, 23(2), 331–351. https://doi.org/10.2478/foli-2023-0034

Liu, X., & Zhang, Y. (2024). Green finance, environmental technology progress bias and cleaner 

          industrial structure. Environment, Development & Sustainability, 26(4), 8643–8660. 

          https://doi.org/10.1007/s10668-023-03062-x

Yang, Q., Ming, S., Zhang, R., & Yan, H. (2024). Green finance and corporate environmental 

          investment: “Scale Up” or “Efficiency Up”? PLoS ONE, 19(2), 1–19. 

          https://doi.org/10.1371/journal.pone.0297456

Mavlutova, I., Spilbergs, A., Verdenhofs, A., Kuzmina, J., Arefjevs, I., & Natrins, A. (2023). The 

          Role of Green Finance in Fostering the Sustainability of the Economy and Renewable 

          Energy Supply: Recent Issues and Challenges. Energies (19961073), 16(23), 7712. 

          https://doi.org/10.3390/en16237712

Zhao, J., Wang, J., & Dong, K. (2023). The role of green finance in eradicating energy poverty: 

          ways to realize green economic recovery in the post-COVID-19 era. Economic Change & 

          Restructuring, 56(6), 3757–3785. https://doi.org/10.1007/s10644-022-09411-6

Zhu, H., Feng, T., & Li, X. (2024). Green finance, green development and decarbonization of 

          the energy consumption structure. PLoS ONE, 19(4), 1–18. 

          https://doi.org/10.1371/journal.pone.0300579

Zhang, H., & Wei, S. (2024). Green finance improves enterprises’ environmental, social and 

          governance performance: A two-dimensional perspective based on external financing 

          capability and internal technological innovation. PLoS ONE, 19(4), 1–22. 

          https://doi.org/10.1371/journal.pone.0302198

Aleknevičienė, V., & Bendoraitytė, A. (2023). Role of Green Finance in Greening the Economy: 

          Conceptual Approach. Central European Business Review, 12(2), 105–130. 

          https://doi.org/10.18267/j.cebr.317

 

ดวงพร อรัญญพงษ์ไพศาล | 07/05/2567 | 20 | share : , ,
แบบประเมิน