พื้นที่เพื่อประชาชน : Eco-Library ห้องสมุดเพื่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม Public Area : Eco-Library Library for life and environment

  KU Eco-Library: ห้องสมุดรักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งแรกของประเทศไทย เป็นห้องสมุดต้นแบบเพื่อการเรียนรู้ด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์พลังงานผ่านสื่อความรู้ และการสัมผัสจริงจากงานออกแบบสร้างสรรค์บนเส้นทางสีเขียว



แนวคิดในการออกแบบ (DESIGN APPROACH)

     แนวความคิดในการออกแบบและพัฒนา Eco-Library ให้เป็นแหล่งบริการความรู้นี้ มุ่งเน้นการใช้ครุภัณฑ์เก่าและวัสดุเหลือใช้ต่างๆโดยนำองค์ความรู้จากศูนย์ปฏิบัติการออกแบบจากวัสดุเหลือใช้(scrap lab) มาใช้ในการคัดเลือกวัสดุ ศึกษาและออกแบบพื้นที่การใช้งานของ Eco-Library
พื้นที่ของ Eco-Library ถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก คือ

  1. Common Reading Space หรือ Eco-Library
  2. Kid Reading space เพื่อการใช้งานที่หลากหลายสำหรับเด็ก
  3. Alumni Space สำหรับให้บริการศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

แนวคิดการให้บริการ (SERVICES)

ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
    ส่งเสริมการอ่านของนักเ รียน นิสิต บุคลากร ชุมชนรอบมหาวิทยาลัย และประชาชนทั่วไป อ่านได้ทุกวัน อ่านกันได้ทั้งครอบครัว และเป็นแหล่งบริการความรู้สำหรับศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สร้างคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม
    บริการความรู้ด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์พลังงาน ผ่านหนังสือและสื่อการเรียนรู้ ร่วมกับหน่วยงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมต่างๆ บริการความรู้ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต การพัฒนาสุขภาพกายและสุขภาพใจพร้อมพึ่งพาตนเอง
    ส่งเสริมการให้บริการแบบพึ่งพาตนเอง โดยใช้ระบบห้องสมุดเปิดเผยรหัส “จินดามณี” ที่พัฒนาขึ้น ร่วมกับการใช้โปรแกรม Open Source อื่นๆเพื่อการให้บริการ บริหารจัดการแบบประหยัดทรัพยากร สร้างความมีส่วนร่วม มีสัจจะและมีจิตสาธารณะ



การเป็นสมาชิก

  • บริจาคเงินช่วยโครงการห้องสมุดชุมชน 200 บาท ได้รับบัตรสมาชิก 1 ใบ มีสิทธิ์ยืมหนังสือกลับบ้านได้ 3 เล่ม
  • นิสิตและบุคลากรมก. ใช้บัตรสำนักหอสมุด ยืมหนังสือใน Eco-Library ได้โดยไม่ต้องทำบัตรใหม่
  • ศิษย์เก่า มก. สมัครสมาชิกสำนักหอสมุด ประเภทศิษย์เก่า ค่าสมาชิก 200 บาทต่อปี มีสิทธิเข้าใช้ห้องสมุดกลาง มีสิทธิยืมหนังสือใน Eco-Library และใช้บริการ KU Alumni Service




Green Gallery   
       
       
ประชุม / อบรม / สัมมนา ศึกษาดูงาน กิจกรรมบุคลากร ภาพประทับใจ

Quick Links

เอกสารประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรม "การพัฒนาผู้ตรวจประเมินห้องสมุดสีเขียว" วันที่ 29-30 มกราคม 2561

- แนวทางการคัดแยกขยะมูลฝอย
- การจัดการพลังงานในห้องสมุด
- การจัดการสารสนเทศห้องสมุด
- หลักการและวิธีการตรวจประเมิน

Green Library
- 18 กรกฎาคม 2560 การประชุมหน่วยงานความร่วมมือทางวิชาการด้านการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว ครั้งที่ 4 ประจำปี 2560
9 มิถุนายน 2560 การฝึกอบรมหัวข้อ “การเตรียมความพร้อมก้าวสู่ห้องสมุดสีเขียว”
2-4 พฤศจิกายน 2559 การฝึกอบรมหัวข้อ “การตรวจประเมินห้องสมุดสีเขียว”
29 กันยายน 2558 การอบรมหัวข้อ “โอกาสในการประยุกต์ใช้แหล่งพลังงานสีเขียว เพื่อการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว”
นโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เครือข่ายห้องสมุดสีเขียว 43 แห่ง และที่ปรึกษา
มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว พ.ศ. 2558
เกณฑ์การพัฒนาห้องสมุกสีเขียวข้อกำหนด เกณฑ์การพัฒนาห้องสมุกสีเขียว ข้อกำหนดแนวทางเชิงปฏิบัติ และวิธีการตรวจประเมิน พ.ศ.2559 
ห้องสมุดสีเขียว วิธีการตรวจประเมิน

Download /Form
- มาตรฐานสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- เกณฑ์การพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ข้อกำหนด แนวทางปฏิบัติ และวิธีการตรวจประเมิน พ.ศ.2559
เอกสารประกอบการประชุม การฝึกอบรมการประเมินห้องสมุดสีเขียว วันที่ 2-4 พฤศจิกายน 2559
การจัดการพลังงานในห้องสมุด ( สีเขียว )
ห้องสมุดสีเขียว วิธีการตรวจประเมิน
ห้องสมุดสีเขียว ข้อกำหนดและแนวทางเชิงปฏิบัติ
- ฟอร์มแสดงผลการตรวจประเมินความสอดคล้องตามข้ออกำหนดของมาตรฐานห้องสมุดสีเขียวและระดับคะแนน
โครงการสํานักงานสีเขียว
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ในห้องสมุด
แบบฟอร์มการรายงานผลห้องสมุดสีเขียว
เอกสารการบรรยายหัวข้อ โอกาสในการประยุกต์ใช้แหล่งพลังงานสีเขียว เพื่อการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว

Green Database
-
ฐานข้อมูลก๊าซเรือนกระจก
คลังความรู้สิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ

Carbon Footprint
ห้องสมุดคาร์บอนนิวทรัลแห่งแรกของประเทศไทย

KM / Document
Green e-Book
Green Book

เอกสารดาวน์โหลดทั้งหมด >>

Back to top