มาตรการการการบริหารจัดการการประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

มาตรการประหยัดไฟ และความปลอดภัยในการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า

  1. ให้เปิดไฟเฉพาะบริเวณที่นั่งทำงาน และปิดสวิทซ์หลอดไฟตอนพักกลางวันหรือเมื่อไม่ใช้งานทุกครั้ง
  2. ปิดไฟกระตุกทุกครั้งหากไม่ได้นั่งอยู่โต๊ะทำงานหรือพื้นที่ใกล้เคียง
  3. ปิดจอภาพคอมพิวเตอร์ในเวลาพักเที่ยง หรือ ตั้งโปรแกรม Sleep mode เพื่อปิดหน้าจออัตโนมัติหากไม่ได้ใช้งานเกินกว่า 15 นาที
  4. การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ เช่น กระติกน้ำร้อน ไมโครเวฟ ให้จัดไว้ในจุดใช้งานเดียวกันในแต่ละฝ่าย และให้ถอดปลั๊กออกหลังจากการใช้งานทุกครั้ง
  5. การใช้ตู้เย็น ให้นำสิ่งของที่คาดว่าจะเสียออกจากตู้เย็นทุกวันศุกร์ ทำความสะอาดเสมอ รวมถึงไม่ใส่ของในตู้เย็นแน่นเกินไป
  6. การใช้ลิฟท์ ให้พยายามหลีกเลี่ยงการใช้ กรณีที่มีการขึ้นลง 1 ชั้น ไม่ควรใช้ลิฟท์ ยกเว้นขนสัมภาระ
  7. การบริหารจัดการการเปิด-ปิด เครื่องปรับอากาศในช่วงความต้องการไฟฟ้าต่ำ (Off Peak)
  8. ถอดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้า/ปิดสวิทซ์อุปกรณ์ไฟฟ้าสำนักงานเมื่อไม่ใช้งาน
  9. ปิดช่องอากาศ (ประตู หน้าต่าง) ในพื้นที่ปรับอากาศ
  10. ปิดระบบปรับอากาศ/ช่องจ่ายลม (AHU/FCU) เมื่อไม่ใช้งาน และเวลา 12.00 – 13.00 น.
  11. กำหนดมาตรการลดการใช้ไฟฟ้าอย่างน้อยร้อยละ 2 เมือ่เทียบกับปริมาณการใช้ไฟฟ้าของปีที่ผ่านมา
  12. กรณีเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับสืบค้น (จุดให้บริการ) ให้ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับสืบค้นข้อมูลในพื้นที่ให้บริการร้อยละ 50 ก่อนปิดบริการ 1 ชั่วโมง
  13. ถอดปลั๊กเครื่องทำน้ำเย็นส่วนสำนักงานหลังเวลา 16.30น.
  14. ถอดปลั๊กเครื่องปริ๊นส่วนสำนักงานหลังเวลา 16.30น. หรือเมื่อไม่ใช้งาน
  15. รณรงค์ ให้ความรู้ และสร้างจิตสำนึกด้านการประหยัดไฟฟ้า
  16. มีเอกสารการสื่อสารประชาสัมพันธ์และรณรงค์ให้ผู้รับบริการและบุคลากรห้องสมุด ประหยัดไฟฟ้า ประหยัดทรัพยากร ตามแผนงานที่กำหนด
  17. มีเอกสารการสื่อสารประชาสัมพันธ์และรณรงค์ให้ผู้รับบริการและบุคลากรห้องสมุด ประหยัดไฟฟ้า ประหยัดทรัพยากร ตามแผนงานที่กำหนด
  18. การทำงานในสำนักงานนอกเวลาราชการ ให้กำหนดตามความเหมาะสม

มาตรการประหยัดไฟ มาตรการการใช้ห้องประชุม

  1. กำหนดให้แต่ละการประชุมภายในหอสมุด สนับสนุนการเป็นห้องประชุมสีเขียว เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  2. หลีกเลี่ยงการใช้จานกระดาษ แก้วน้ำกระดาษ เวลาจัดงานสังสรรค์ต่างๆ เพราะสิ้นเปลืองพลังงานในการผลิต
  3. อาหารว่างระหว่าพัก เป็นขนมไทยที่บรรจุภัณฑ์ทำจากธรรมชาติ
  4. การจัดเตรียมห้องประชุม กรณีที่มีการใช้กระติกต้มน้ำ ให้เสียบปลั๊กก่อนพักเบรก 30 นาที และหลังพักเบรกต้องถอดปลั๊ก ทุกครั้ง

มาตรการการใช้น้ำ

  1. งานอาคารมีการตรวจสอบอุปกรณ์การใช้น้ำและหมั่นตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดการสูญเสียน้ำอย่างเปล่าประโยชน์
  2. ปิดวาล์วน้ำ หรืออุปกรณ์การใช้น้ำประปาทุกชนิดให้สนิท หลังจากการใช้งานทุกครั้ง แจ้งให้บุคลากรภานใยและผู้ใช้บริการภายนอกทราบและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติ
  3. ไม่เปิดน้ำตลอดเวลาในการแปรงฟัน ให้ใช้แก้วรองน้ำในการบ้วนปากและแปรงฟัน ไม่ปล่อยน้ำไหลตลอดเวลา เพราะจะทำให้สูญเสียน้ำโดยเปล่าประโยชน์ (นาทีละ 9 ลิตร)
  4. ให้ใช้อุปกรณ์ประหยัดน้ำ เช่น ชักโครกประหยัดน้ำ ฝักบัวประหยัดน้ำ ก๊อกประหยัดน้ำ หัวฉีดประหยัดน้ำ เป็นต้น
  5. นำหลักการ 3R คือ การลดการใช้น้ำ (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) การนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) มาปรับใช้ตามความเหมาะสมกับสำนักหอสมุด

มาตรการการใช้เชื้อเพลิง

  1. รณรงค์ลดการใช้ยานพาหนะส่วนตัวภายในมหาวิทยาลัยหรือพื้นที่ใกล้เคียง ให้ใช้วิธีการเดิน หรือปั่นจักรยาน และวางแผนก่อนการเดินทาง
  2. ตรวจและซ่อมบำรุงรถยนต์ส่วนกลางและรถกอล์ฟไฟฟ้าอยู่เสมอ
  3. มีการควบคุมการใช้รถยนต์โดยการจัดทำบันทึกการใช้ยานพาหนะประจำรถยนต์ทุกคันการใช้รถยนต์ต้องจัดทำใบอนุญาตการใช้รถยนต์จากผู้บังคับบัญชา
  4. ไม่ควรติดเครื่องขณะจอดคอย ดับเครื่องยนต์ทุกครั้งหากจอดรถเป็นเวลานาน
  5. กำหนดเส้นทางและวางแผนการเดินทางก่อนทุกครั้ง และการใช้รถยนต์ไปในเส้นทางเดียวกันให้ไปพร้อมกัน และควรให้คนขับรถศึกษาเส้นทางก่อนเดินทางทุกครั้งเพื่อเลือกใช้เส้นทางที่ใกล้ที่สุดหรือใช้เวลาน้อยที่สุด
  6. ใช้อุปกรณ์การสื่อสารอื่นแทนการเดินทาง เช่นการส่งหนังสือระหว่างหน่วยงานหากเร่งด่วนให้ใช้วิธีส่งทางโทรสาร หากเป็นเอกสารสำคัญก็ใช้วิธีรวบรวมเอกสารแล้วส่งพร้อมกัน หากเป็นเอกสารไม่สำคัญก็ใช้วิธีส่ง E-mail หรือส่งทางไปรษณีย์

มาตรการใช้กระดาษ

  1. รับ/ส่งข้อมูล ข่าวสารต่างต่างๆ ผ่านระบบเครือข่ายสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ หรือ สื่อสังคมออนไลน์ ในการรับส่ง เอกสาร เพื่อลดการใช้กระดาษ
  2. รณรงค์ให้ใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ประกอบการประชุมเพื่อลดการใช้เอกสารที่เป็นกระดาษ
  3. ใช้กระดาษที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ถ่าย/พิมพ์เอกสารเฉพาะที่จำเป็น และใช้เป็นเอกสาร 2 หน้า
  4. การแก้ไขเอกสาร ควรแก้ไขบนจอคอมพิวเตอร์ และตรวจสอบความถูกต้องให้เรียบร้อยก่อนทำการพิมพ์ เพื่อประหยัดการใช้กระดาษ
  5. กระดาษที่ใช้แล้ว 1 หน้าให้คัดแยกไว้และนำกลับมาใช้ใหม่ หรือนำมาตัดและใช้เป็นกระดาษบันทึกข้อความ (Post it)
  6. กระดาษที่ใช้แล้วสองหน้า ให้แยกกระดาษสีและขาวออกจากกัน เพื่อความสะดวกในการจำหน่ายหรือนำไปใช้ประโยชน์อื่น
  7. หมั่นตรวจสอบและทำความสะอาดเครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องให้อยู่ในสภาพดีเพื่อลดการสูญเสียกระดาษ

 

 

 


Green Gallery   
       
       
ประชุม / อบรม / สัมมนา ศึกษาดูงาน กิจกรรมบุคลากร ภาพประทับใจ

Quick Links

เอกสารประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรม "การพัฒนาผู้ตรวจประเมินห้องสมุดสีเขียว" วันที่ 29-30 มกราคม 2561

- แนวทางการคัดแยกขยะมูลฝอย
- การจัดการพลังงานในห้องสมุด
- การจัดการสารสนเทศห้องสมุด
- หลักการและวิธีการตรวจประเมิน

Green Library
- 18 กรกฎาคม 2560 การประชุมหน่วยงานความร่วมมือทางวิชาการด้านการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว ครั้งที่ 4 ประจำปี 2560
9 มิถุนายน 2560 การฝึกอบรมหัวข้อ “การเตรียมความพร้อมก้าวสู่ห้องสมุดสีเขียว”
2-4 พฤศจิกายน 2559 การฝึกอบรมหัวข้อ “การตรวจประเมินห้องสมุดสีเขียว”
29 กันยายน 2558 การอบรมหัวข้อ “โอกาสในการประยุกต์ใช้แหล่งพลังงานสีเขียว เพื่อการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว”
นโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เครือข่ายห้องสมุดสีเขียว 43 แห่ง และที่ปรึกษา
มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว พ.ศ. 2558
เกณฑ์การพัฒนาห้องสมุกสีเขียวข้อกำหนด เกณฑ์การพัฒนาห้องสมุกสีเขียว ข้อกำหนดแนวทางเชิงปฏิบัติ และวิธีการตรวจประเมิน พ.ศ.2559 
ห้องสมุดสีเขียว วิธีการตรวจประเมิน

Download /Form
- มาตรฐานสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- เกณฑ์การพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ข้อกำหนด แนวทางปฏิบัติ และวิธีการตรวจประเมิน พ.ศ.2559
เอกสารประกอบการประชุม การฝึกอบรมการประเมินห้องสมุดสีเขียว วันที่ 2-4 พฤศจิกายน 2559
การจัดการพลังงานในห้องสมุด ( สีเขียว )
ห้องสมุดสีเขียว วิธีการตรวจประเมิน
ห้องสมุดสีเขียว ข้อกำหนดและแนวทางเชิงปฏิบัติ
- ฟอร์มแสดงผลการตรวจประเมินความสอดคล้องตามข้ออกำหนดของมาตรฐานห้องสมุดสีเขียวและระดับคะแนน
โครงการสํานักงานสีเขียว
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ในห้องสมุด
แบบฟอร์มการรายงานผลห้องสมุดสีเขียว
เอกสารการบรรยายหัวข้อ โอกาสในการประยุกต์ใช้แหล่งพลังงานสีเขียว เพื่อการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว

Green Database
-
ฐานข้อมูลก๊าซเรือนกระจก
คลังความรู้สิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ

Carbon Footprint
ห้องสมุดคาร์บอนนิวทรัลแห่งแรกของประเทศไทย

KM / Document
Green e-Book
Green Book

เอกสารดาวน์โหลดทั้งหมด >>

Back to top