สุขภาพจิตในยุคดิจิทัล : ดาบสองคมแห่งโลกออนไลน์

ผู้เรียบเรียง
ดวงพร อรัญญพงษ์ไพศาล
บรรณารักษ์ชำนาญการ ฝ่ายบริการช
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

            ในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลมีบทบาทในทุกด้านของชีวิตประจำวัน การเกิดขึ้นของสมาร์ทโฟน โซเชียลมีเดีย และอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงทำให้โลกออนไลน์
กลายเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตประจำวันทั้งในด้านการศึกษา การทำงาน การติดต่อสื่อสาร และการพักผ่อนหย่อนใจ โดยผู้คนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและ
เชื่อมต่อกับผู้อื่นได้อย่างรวดเร็วผ่านอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ แต่ในขณะที่เทคโนโลยีนำมาซึ่งความสะดวกสบายและโอกาสมากมาย ก็ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของ
ผู้คนในวงกว้างอีกด้วย สุขภาพจิตเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต หากเรามีสุขภาพจิตที่ดีจะสามารถจัดการกับความเครียด ความท้าทายต่างๆ และสร้างความ
สัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นได้ ในทางกลับกันหากสุขภาพจิตเสื่อมถอยจะส่งผลกระทบต่อชีวิตส่วนตัว การทำงาน และความสัมพันธ์กับผู้อื่น ดังนั้นโลกออนไลน์จึงเป็นเหมือน
ดาบสองคมซึ่งมีทั้งคุณประโยชน์และโทษอยู่ในตัวเอง การใช้โลกออนไลน์อย่างไม่ระมัดระวังอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตหลากหลายรูปแบบ เช่น อาการซึมเศร้า 
วิตกกังวล ภาวะเครียดเรื้อรัง และขาดการสื่อสารทางสังคม ดังนั้นการทำความเข้าใจกับปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรตระหนักในยุคดิจิทัล
เพื่อทำให้เราสามารถปรับตัวและรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม  

ปัจจัยเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตในโลกดิจิทัล

  • การพัฒนาตนเองเพื่อแข่งขันกับหุ่นยนต์ งานหลากหลายประเภทที่มีการปรับเปลี่ยนจากแรงงานมนุษย์เป็นการใช้หุ่นยนต์ และ AI แทน เนื่องจากศักยภาพของ
    แรงงานมนุษย์มีอยู่จำกัด และค่าแรงของมนุษย์มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุงานและความเชี่ยวชาญเฉพาะบุคคล ในขณะที่หุ่นยนต์ และ AI มีอายุการใช้งาน
    ยาวนาน สามารถทำงานหนักได้ 24 ชั่วโมง ค่าใช้จ่ายระยะยาวถูกกว่าและสามารถอัปเดตข้อมูลได้ตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้มนุษย์จึงต้องหมั่นพัฒนาตนเองทั้งใน
    ด้านความรู้ ทักษะ ความสามารถ โดยเฉพาะความรู้หรือทักษะเฉพาะทางที่หุ่นยนต์ หรือ AI ไม่สามารถแทนที่ได้ เช่น งานด้านจิตวิเคราะห์ จิตวิทยา สังคมศาสตร์
     เป็นต้น 
  • ความรู้สึกไม่อยากทำงาน เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ความมั่นคงทางการเงินเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ความเหลื่อมล้ำทางฐานะทางสังคม จึงทำให้มนุษย์ต้อง
    ทำงานหนักเพื่อหารายได้ให้เพียงพอกับรายจ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้คนวัยทำงานรู้สึกเหนื่อยล้า ท้อแท้ สิ้นหวัง  มีความกดดันสูง และมีปัญหาสุขภาพจิตตามมา
  • โหยหาความสุขในการใช้ชีวิต จากความเครียดในการทำงานหนัก และแบกรับภาระหลายอย่าง ส่งผลให้คนวัยทำงานต่างแสวงหาความสมดุลในชีวิต หากสถานที่
    ทำงานไม่ตอบสนองต่อความคาดหวัง ก็จะมีแนวโน้มลาออกจากงานสูง รวมถึงปัญหาที่คนวัยทำงานต้องต่อสู้แย่งงานกับหุ่นยนต์ และ AI ทำให้เกิดความเครียด 
    ความเสี่ยงต่อการตกงานตามมา 
  • ความมั่นคงทางด้านรายได้และสวัสดิการ ด้วยภาวะทางสังคมและเศรษฐกิจที่มีความเหลื่อมล้ำสูงในปัจจุบัน ส่งผลให้คนวัยทำงานเกิดความกังวลเกี่ยวกับรายได้
    และการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้เกิดความคาดหวังต่อนโยบายของรัฐบาลในการสร้างความมั่นคงทางรายได้ รวมถึงพัฒนาสวัสดิการที่มีคุณภาพ เพื่อลดความ
    วิตกกังวลต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของโลก 
วิถีชีวิตใหม่อยู่กับดิจิทัล
ที่มาภาพ : https://learningdq-dc.ku.ac.th/course/?c=4&l=1

ผลกระทบที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตเชิงบวก

  • การเข้าถึงข้อมูลและความช่วยเหลือ การพัฒนาอย่างรวดเร็วของอินเทอร์เน็ต สมาร์ทโฟน และแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียได้เปลี่ยนแปลงวิถีการใช้ชีวิตของ
    ผู้คนอย่างมาก ทำให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลและติดต่อสื่อสารได้ตลอดเวลา ผู้คนสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพจิตและบริการให้คำปรึกษาออนไลน์ได้ง่ายขึ้น
  • บริการทางการแพทย์ออนไลน์ การพบแพทย์ทางไกล (Telemedicine) เพิ่มความสะดวกในการรับบริการทางการแพทย์ โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง
  • ชุมชนออนไลน์ แพลตฟอร์มออนไลน์สร้างพื้นที่ให้ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตได้แบ่งปันประสบการณ์และให้กำลังใจซึ่งกันและกัน
  • แอปพลิเคชันสุขภาพจิต มีการพัฒนาแอปพลิเคชันที่สามารถติดตามและบันทึกข้อมูลสุขภาพ ช่วยในการจัดการความเครียด วิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า 
  • เสริมสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคม การทำงานทางไกลหรือการตลาดออนไลน์ช่วยสร้างโอกาสใหม่ๆ ทางเศรษฐกิจ

ผลกระทบที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตเชิงลบ

  • การเสพติดเทคโนโลยี การใช้งานอุปกรณ์ดิจิทัลมากเกินไปในโลกออนไลน์ อาจนำไปสู่ภาวะเสพติดและส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ในชีวิตจริง
  • การเปรียบเทียบทางสังคม การเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่นบนโลกโซเชียลมีเดีย อาจนำไปสู่ความรู้สึกไม่พอใจในตนเอง และเกิดภาวะซึมเศร้า
  • ข้อมูลจากสื่อดิจิทัลมีปริมาณมาก ทำให้สมองมีการจัดการกับข้อมูลที่มากเกินไปจนส่งผลให้เกิดความเครียดสะสม
  • ความเครียดจากการใช้งานต่อเนื่อง การเชื่อมต่อโลกออนไลน์ตลอดเวลา จะส่งผลเสียต่อการพักผ่อนและนอนหลับ
  • การขาดการออกกำลังกาย การนั่งทำงานกับคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เป็นเวลานาน ทำให้ขาดการออกกำลังกาย ส่งผลเสียต่อสุขภาพทางร่างกาย
  • การกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ พื้นที่ออนไลน์เปิดโอกาสให้เกิดการกลั่นแกล้งและคุกคาม ซึ่งส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพจิต อาจนำมาสู่ภาวะซึมเศร้าได้
  • ข้อมูลที่ไม่ปลอดภัยและบิดเบือน การเสพข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงหรือขาดความปลอดภัยอาจส่งผลกระทบต่อมุมมองและความเชื่อมั่นในตนเอง
  • ความคาดหวังให้ตนเองเป็นที่รู้จัก ต้องการให้ผู้อื่นสนใจและชื่นชม จึงมีพฤติกรรมนำเสนอเรื่องส่วนตัว ความคิดเห็น บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ ซึ่งหากไม่ได้
    รับความสนใจตามที่คาดหวัง อาจทำให้เกิดความรู้สึกด้อยค่าในตนเอง
  • ความเป็นส่วนตัว ข้อมูลสุขภาพที่ถูกเก็บไว้ในระบบดิจิทัลมีความเสี่ยงที่จะถูกละเมิด
การปฏิวัติการดูแลสุขภาพจิต: บทบาทของปัญญาประดิษฐ์
ที่มาภาพ :https://binariks.com/blog/ai-mental-health-examples-benefits/

วิธีดูแลสุขภาพจิตในยุคดิจิทัล

             กำหนดตารางเวลาในการใช้งานเทคโนโลยี โดยตั้งเวลาที่ชัดเจนสำหรับการใช้งานโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์ การดูโซเชียลมีเดียหรืออินเทอร์เน็ต 
ทั้งสำหรับการทำงานและพักผ่อน และหยุดใช้งานเมื่อถึงเวลาที่กำหนด
            สร้างกิจวัตรที่มีสุขภาพดี โดยการทำกิจกรรมที่นอกเหนือจากการใช้เทคโนโลยี เช่น การออกกำลังกาย การอ่านหนังสือ การใช้เวลาร่วมกับครอบครัว หรือ
การพบปะเพื่อนฝูง เพื่อสร้างสมดุลในชีวิตประจำวัน 
            หลีกเลี่ยงการเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่นในโซเชียลมีเดีย เนื่องจากอาจทำให้รู้สึกเครียดและไม่มีความสุข พยายามมองโลกในแง่บวกและรับรู้ถึงคุณค่าของ
ตนเอง 
            ตั้งค่าแจ้งเตือนจากแอปพลิเคชันต่างๆ ให้น้อยลง การได้รับแจ้งเตือน หรือปิดเสียงแจ้งเตือนในช่วงเวลาที่ต้องการความเงียบสงบ
            พักผ่อนอย่างมีสติ โดยการพักสายตาสั้นๆ เป็นระยะๆ ระหว่างการใช้งานอุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ โดยใช้เวลาเหล่านี้ในการยืดเส้นสาย ขยับร่างกาย หรือฝึกสติ
 สมาธิ เพื่อลดความเมื่อยล้าตา และช่วยลดความเครียด และเพิ่มความสงบในจิตใจได้ 
            เข้าร่วมกลุ่มสนับสนุนออนไลน์ที่เป็นประโยชน์ สร้างสรรค์และเพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน
            ขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต หากรู้สึกเครียดหรือวิตกกังวลเกินไป อย่าลังเลที่จะขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต หรือคน
ใกล้ตัวที่สามารถให้คำปรึกษาได้
            เลือกคอนเทนต์ที่สร้างแรงบันดาลใจ โดยเลือกคอนเทนต์ที่สร้างสรรค์หรือทัศนคติเชิงบวก เพื่อช่วยเติมเต็มอารมณ์และทำให้มีแรงบันดาลใจในแต่ละวัน
            รู้จักพักผ่อน เพื่อให้จิตใจได้ผ่อนคลาย ซึ่งการนอนหลับเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด

แนวทางแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตยุคดิจิทัล

  1. กำหนดเวลาการใช้งานดิจิทัล – วางแผนเวลาในการใช้งานอุปกรณ์ดิจิทัลและโซเชียลมีเดียให้เหมาะสม
  2. เรียนรู้การจัดการกับอารมณ์ – ใช้เทคนิคการควบคุมอารมณ์และการรู้จักลดความเครียด
  3. สนับสนุนการเข้าถึงการให้คำปรึกษาทางสุขภาพจิต – ให้ความรู้เรื่องสุขภาพจิตผ่านช่องทางออนไลน์เพื่อเพิ่มความเข้าใจ
  4. สร้างนิสัยการรับข้อมูลอย่างมีวิจารณญาณ – ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์และประเมินข้อมูลที่ได้รับจากสื่อดิจิทัล
  5. สร้างสมดุลระหว่างโลกออนไลน์และออฟไลน์ – ให้ความสำคัญกับกิจกรรมและความสัมพันธ์ในโลกความเป็นจริงมากขึ้น
  6. ใช้เทคโนโลยีอย่างมีสติ - เลือกใช้แอปพลิเคชันและเทคโนโลยีที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพจิต
  7. ให้ความรู้เรื่องการใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัย – สอนเกี่ยวกับอันตรายและวิธีการป้องกันตนเองในโลกออนไลน์
  8. กำหนดนโยบายและกฎหมาย - ออกกฎหมายที่คุ้มครองผู้ใช้งานออนไลน์
  9. สนับสนุนการวิจัย -  ให้ทุนสนับสนุนการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบของเทคโนโลยีต่อสุขภาพ
  10. พัฒนาระบบสาธารณสุข – ปรับปรุงระบบการให้บริการสุขภาพจิตให้รองรับกับความท้าทายในยุคดิจิทัล
  11. การบูรณาการเทคโนโลยีกับการดูแลสุขภาพจิต - การพัฒนาเทคโนโลยี AI และ VR เพื่อช่วยในการวินิจฉัยและรักษาปัญหาสุขภาพจิตให้มากขึ้น

           การใช้เทคโนโลยีและสื่อสังคมออนไลน์มีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเรา ตั้งแต่การเชื่อมโยงผู้คนทั่วโลกไปจนถึงการเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับ
สุขภาพจิต ความสะดวกสบายเหล่านี้ทำให้เราสามารถสื่อสารและแชร์ประสบการณ์ต่างๆ ได้อย่างไม่จำกัด แต่เทคโนโลยีดิจิทัลก็มีความเสี่ยงในการทำให้เกิดความเครียด
วิตกกังวล และภาวะซึมเศร้าได้เช่นกัน ดังนั้นการสร้างความตระหนักรู้และแนวทางจัดการสุขภาพจิตในยุคดิจิทัลนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้เราสามารถใช้ชีวิตอย่างมี
คุณภาพในโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

Bambang Riyadi. (2566). 7 กลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพในการสร้างสมดุล. สืบค้นจาก https://kasets.art/Y7Arpl

TruePlookpanya. (2567). วิธีดูแลสุขภาพจิตในยุคดิจิทัล. สืบค้นจาก https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/94404-heamen-hea-

Salisar Rungwalapad. (2567). สุขภาวะดิจิทัล (Digital Wellbeing) : ปรับสมดุลเวลาการใช้หน้าจอ เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นในปี 2024. สืบค้น
          จาก https://kasets.art/eeDyNT

 Sattawat Veranon. (2567). การดูแลสุขภาพจิตในยุคดิจิทัล. สืบค้นจาก https://today.line.me/th/v2/article/pez1Q89

จันทมา ช่างสลัก. (2567). นักจิตวิทยาเตือน! เตรียมรับ 4 ปัจจัยเสี่ยงสุขภาพจิตในโลกดิจิทัล. สืบค้นจาก 
           https://www.istrong.co/single-post/4-risk-factors-in-the-digitalworld

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2567). ผลกระทบของเทคโนโลยีดิจิทัลกับสุขภาพและวิถีชีวิตในปัจจุบัน. สืบค้นจาก https://kasets.art/XWZx6e

 แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

Marshall, I. C., Hammer, L. A., Springfield, C. R., & Bonfils, K. A. (2024). Activism in the Digital Age: The Link Between Social Media
          Engagement With Black Lives Matter-Relevant Content and Mental Health. Psychological Reports, 127(5), 2220–2244. 
          https://doi-org.kasetsart.idm.oclc.org/10.1177/00332941221146706

Boothroyd, S., Chou, F., Black, T., & Liu, S. (2024). Youth Mental Health in the Digital Age: Canadian Youth Perspectives on the
          Relationship Between Digital Technology and Their Mental Health. Journal of Child & Adolescent Counseling, 10(2), 145–164.
          https://doi-org.kasetsart.idm.oclc.org/10.1080/23727810.2024.2363741

Yasmeen, K., Imran, H., & Ahmad, T. (2024). Exploring the Profound Impact of Social Media, Self-Identity and Mental Health in 
          Today’s Digital Age. Annals of Human and Social Sciences; Vol. 5 No. 3 (2024): July to September; 615-623. 
          https://doi-org.kasetsart.idm.oclc.org/10.35484/ahss.2024(5-III)54

Li, C., Wang, P., Martin-Moratinos, M., Bella-Fernández, M., & Blasco-Fontecilla, H. (2024). Traditional bullying and cyberbullying in the
           digital age and its associated mental health problems in children and adolescents: a meta-analysis. European Child &
           Adolescent Psychiatry, 33(9), 2895–2909. https://doi-org.kasetsart.idm.oclc.org/10.1007/s00787-022-02128-x

Fullagar, S., Rich, E., & Francombe-Webb, J. (2017). New Kinds of (Ab)normal?: Public Pedagogies, Affect, and Youth Mental Health in the
           Digital Age. Social Sciences (2076-0760), 6(3), 99. https://doi-org.kasetsart.idm.oclc.org/10.3390/socsci6030099

Haryanto, S., Jemmy, Rumbiak, H., Batubara, F. A., & Apriyanti, E. (2024). Evaluation the Impact of Digital Technology on Children’s
           Mental Health and Psychological Wellbeing. Al-Hijr: World Psychology, 3(2), 219–232.
           https://doi-org.kasetsart.idm.oclc.org/10.55849/wp.v3i2.669

Rea Kaur Gill, Joanne Droney, Gareth Owen, Julia Riley, & Lucy Stephenson. (2024). Digital advance care planning with severe mental
            illness: a retrospective observational cohort analysis of the use of an electronic palliative care coordination system. BMC
            Palliative Care, 23(1), 1–9. https://doi-org.kasetsart.idm.oclc.org/10.1186/s12904-024-01381-y

Daniel Guinart, Michael Sobolev, Bhagyashree Patil, Megan Walsh, & John M Kane. (2022). A Digital Intervention Using Daily Financial
             Incentives to Increase Medication Adherence in Severe Mental Illness: Single-Arm Longitudinal Pilot Study. JMIR Mental Health,
             9(10), e37184. https://doi-org.kasetsart.idm.oclc.org/10.2196/37184

Van de Casteele, M., Flamant, N., Ponnet, K., Soenens, B., Van Hees, V., & Vansteenkiste, M. (2024). Adolescents’ mental health in the
             social-media era: The role of offline and online need-based experiences. Journal of Adolescence, 96(3), 612–631. 
             https://doi-org.kasetsart.idm.oclc.org/10.1002/jad.12286

Maltby, J., Rayes, T., Nage, A., Sharif, S., Omar, M., & Nichani, S. (2024). Synthesizing perspectives: Crafting an Interdisciplinary view 
             of social media’s impact on young people’s mental health. PLoS ONE, 19(7), 1–20. 
             https://doi-org.kasetsart.idm.oclc.org/10.1371/journal.pone.0307164

ดวงพร อรัญญพงษ์ไพศาล | 04/11/2567 | 0 | share : , ,
แบบประเมิน