กุ้งมังกรเจ็ดสี มณีของภูเก็ต

ผู้เรียบเรียง

จิรารัตน์ วงษ์ศรีสวัสดิ์

บรรณารักษ์ปฏิบัติการ ฝ่ายบริการ

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

               นอกจากยางพาราและปาล์มน้ำมันแล้ว กุ้งมังกรถือเป็นสัตว์ที่เกษตรกรในภาคใต้นิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นสัตว์น้ำที่เลี้ยงได้ราคาดี โดยธรรมชาติกุ้งมังกรจะอยู่ตามพื้นทะเลที่มีโขดหินและปะการังหนาแน่นเพื่อเป็นที่พักและซ่อนตัว มักพบมากในพื้นที่หมู่เกาะพีพี เกาะไม้ท่อน จังหวัดภูเก็ตในปัจจุบันเกษตรกรจะนำลูกกุ้งมาเพาะเลี้ยงในบ่อปูนซีเมนต์หรือกระชังมากกว่าการเลี้ยงบริเวณเกาะหรือชายหาด ซึ่งกุ้งมังกรสามารถจำแนกได้หลายสายพันธุ์ เช่น 1.) กุ้งมังกรกาบ (Scalloped Spiny Lobster; P.homarus ) มีลำตัวสีเขียวปนจุดขาว เป็นพันธุ์ที่นิยมบริโภคเพราะราคาถูกเมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่น ๆ 2.) กุ้งมังกรเลน (Panulirus polyphagus; P. polyphagus) เป็นพันธุ์ที่มีปริมาณการจับขึ้นจากการเลี้ยงได้ค่อนข้างสูง  3.) กุ้งมังกรเขียว (P. versicolor) ลำตัวมีสีเขียวเข้ม มีปล้องลำตัวสีดำสลับขาว หนวดสีส้มอมแดง มีขนาดใหญ่กว่าพันธุ์อื่น ๆ และ 4.) กุ้งมังกรเจ็ดสี (Panulirus ornatus: P. ornatus) เป็นสายพันธุ์ที่มีนิยมเลี้ยงเนื่องจากมีความต้องการทางตลาดสูงมากในหลายปีที่ผ่านมา สามารถขายได้ประมาณ 1,600 - 3,500 บาท ต่อกิโลกรัม

ที่มา mgronline.com/business/detail/9670000007023

ลักษณะของกุ้งมังกรเจ็ดสีที่สังเกตได้ง่าย เช่น

  1. กุ้งมังกรเจ็ดสีมีความยาวหัวระหวาง 40 - 130 มิลลิเมตร (เฉลี่ยประมาณ 70.73 มิลลิเมตร)
  2. เพศผู้ขนาดใหญ่กว่าเพศเมีย
  3. เปลือกของกุ้งมังกรเจ็ดสีจะเป็นโทนร้อนและโทนเย็นเด่นชัด (หนวดสีส้มแดงหรือชมพูและลำตัวสีเขียวอมน้ำเงิน) มีสีสันสวยงาม
  4. หนวดแข็งและไม่มีก้ามปล้องเหมือนกุ้งทั่วไปและหน้าท้องแบนราบ ทำให้มีปริมาณเนื้อเยอะ
  5. เมื่อโตเต็มวัยจะมีน้ำหนักตัว 3.5 - 4.5 กิโลกรัม 

              ปัจจุบันเกษตรกรยังต้องนำพันธุ์ลูกกุ้งมังกรจากธรรมชาติมาเพาะพันธุ์ต่อในสถานที่เพาะเลี้ยง เนื่องจากตัวอ่อนของกุ้งมังกรเจ็ดสีมีอัตราการรอดชีวิตต่ำในระบบธรรมชาติ ตัวอ่อนซึ่งเป็นแพลงก์ตอนต้องใช้เวลาในการเจริญเติบโตประมาณ 11 เดือน ซึ่งถือว่านานพอสมควร อาหารที่ใช้เลี้ยงคือหอยหรือปลาตามหน้าดิน รสชาติของกุ้งมังกรเจ็ดสีหากเลี้ยงได้ตามมาตรฐานจะมีรสหวาน สีใส เมื่อนำมาทำอาหารจะไม่มีกลิ่นคาวหรือจะรับประทานแบบซาชิมิก็ได้เช่นกัน นอกจากนี้เปลือกของกุ้งมังกรเจ็ดสีและกุ้งมังกรสายพันธุ์อื่น ๆ สามารถนำทำเครื่องประดับได้เพราะมีสีสันสวยงามและแข็งแรง

             เกษตรกรแถบชายฝั่งทะเลอันดามันร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดภูเก็ตพยายามผลักดันการเพิ่มมูลค่าของการเลี้ยงกุ้งมาตลอด เช่น การเสนอกุ้งมังกรเจ็ดสีเป็นเมนูหลักในงาน Phuket Lobster Festival ต่อเนื่องกันถึง 7 ปี มีการผลักดันโครงการต่าง ๆ เช่น จัดตั้งธนาคารการเพาะเลี้ยงพันธุ์กุ้ง ระบบเพาะเลี้ยงกุ้งมังกรเจ็ดสีที่มีสารโอเมก้า 3 แบบครบวงจร เป็นต้น เรียกได้ว่าเป็นสัตว์เศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ตที่สามารถสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวได้สูง ทำให้มีเกษตรกรเริ่มสนใจและหันมาเพราะเลี้ยงกุ้งมังกรมากขึ้นตามไปด้วย โดยจากข้อมูลปี 2566 สามารถผลิตกุ้งมังกรเจ็ดสีได้ 6.6 ล้านตัน ดังนั้น เกษตรกรที่ประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงกุ้งมังกร ชาวประมงในพื้นที่และหน่วยงานต่าง ๆ จึงร่วมกันเสนอแก่กรมทรัพย์สินทางปัญญาให้ขึ้นทะเบียนกุ้งมังกรเจ็ดสีเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ สินค้า GI เพื่อแสดงให้เห็นว่ากุ้งมังกรเจ็ดสีนั้นคือสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์และมีความเฉพาะตัวจนสามารถบ่งบอกถึงท้องถิ่นหรือพื้นที่ภูมิศาสตร์ได้ โดยที่ผ่านมาจังหวัดภูเก็ตมีสินค้าที่ขึ้นทะเบียน GI แล้ว 2 รายการ ได้แก่ มุกภูเก็ตและสับปะรดภูเก็ต อยู่ระหว่างดำเนินการ 1 รายการคือ ส้มควายภูเก็ต เมื่อได้รับการรับรองแล้วสินค้านั้นจะเป็นสินค้าที่มีการประกันคุณภาพซึ่งถือเป็นสินค้าที่ได้รับการรับรอง เกษตรกรสามารถจำหน่ายสินค้าได้ในราคาที่สูงขึ้นและสามารถยกระดับสินค้าให้สูงขึ้นได้ ถือเป็นเครื่องมือการเพิ่มมูลค่าสินค้าในการตลาด นอกจากนี้ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนสินค้าสามารถเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อนำมาพัฒนาวิชาชีพและเพิ่มช่องทางการขายสินค้าในงานมหกรรมได้ 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง  

กรมทรัพย์สินทางปัญญา. (2559). สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์. สืบค้นจาก https://www.ipthailand.go.th/th/gi.html

ธงชัย นิติรัฐสุวรรณ, กันย์สินี พันธ์วนิชดำรง และจันทร์สว่าง งามผ่องใส. (2560). ชีววิทยาบางประการของกุ้งมังกรเจ็ดสี

         (Panulirus ornatus Fabricius 1798) จากการทำประมงขนาดเล็กในจังหวัดตรัง. สืบค้นจาก 

         https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=O021%20Fis08.pdf&id=2630&keeptrack=4

ธัญญภัทร ชํานินา, พรพิมล เชื้อดวงผุย และพิไลวรรณ ประพฤติ. (2563). ความท้าทายของการเพาะเลี้ยงกุ้งมังกรและกลไก

ตลาดในพื้นที่เกาะยาว จังหวัดพังงา. แก่นเกษตร, 50(1), 138-153. สืบค้นจาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/248043/173210 

มติชนออนไลน์. (2567). พณ.ดึง กุ้งมังกร 7 สีภูเก็ต ขึ้นทะเบียนจีไอ สนับสนุนเป็นซอฟต์เพาเวอร์ด้านอาหารไทย. สืบค้นจาก

           https://www.matichon.co.th/economy/news_4384762
 

แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

Banks, T. M., Wang, T., Fitzgibbon, Q. P., Smith, G. G., & Ventura, T. (2022). A Tale of Two Lobsters-

Transcriptomic Analysis Reveals a Potential Gap in the RNA Interference Pathway in 

the Tropical Rock Lobster Panulirus ornatus. International Journal of Molecular Sciences

23(19), 11752. Retrieved from https://doi.org/10.3390/ijms231911752

Courtney L. Lewis, Quinn P. Fitzgibbon, Gregory G. Smith, Abigail Elizur, & Tomer Ventura. (2024). 

         Ontogeny of The Cytochrome P450 Superfamily in the Ornate Spiny Lobster (Panulirus ornatus). 

         International Journal of Molecular Sciences, 25(2), 1070. Retrieved

          from https://doi.org/10.3390/ijms25021070

Foo, C. H. (2020). Parameter estimation of laboratory-reared Panulirus ornatus. SN Applied Sciences, 2(5).

          Retrieved from https://doi.org/10.1007/s42452-020-2612-8

Katarzyna Kropielnicka-Kruk, Quinn P. Fitzgibbon, Basseer M. Codabaccus, Andrew J. Trotter, 

           Dean R. Giosio, Chris G. Carter, & Gregory G. Smith. (2022). The Effect of Feed Frequency

           on Growth, Survival and Behaviour of Juvenile Spiny Lobster (Panulirus ornatus). Animals

           12(17), 2241. Retrieved from https://doi.org/10.3390/ani12172241

Kelly, T. R., Giosio, D. R., Trotter, A. J., Smith, G. G., & Fitzgibbon, Q. P. (2023). Cannibalism in cultured juvenile 

lobster Panulirus ornatus and contributing biological factors. Aquaculture, 576. Retrieved

from https://doi.org/10.1016/j.aquaculture.2023.739883

ดวงพร อรัญญพงษ์ไพศาล | 20/03/2567 | 17 | share : , ,
แบบประเมิน