AI กับการจัดการองค์ความรู้

ผู้เรียบเรียง

ดวงพร อรัญญพงษ์ไพศาล

บรรณารักษ์ชำนาญการ ฝ่ายบริการ

 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

           AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์เป็นเทคโนโลยีที่ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อจำลองความสามารถในการคิด แก้ปัญหา การเรียนรู้ และการทำงานที่เหมือนมนุษย์ได้ เพื่อให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วนองค์ความรู้เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ของบุคคลหรือจากการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เช่น ประสบการณ์ส่วนตัว การศึกษาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ซึ่งการใช้ AI กับองค์ความรู้สามารถช่วยให้เราสามารถปรับปรุงการทำงาน การตัดสินใจ หรือการแก้ไขปัญหาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลมากขึ้น 

รูปแบบการเรียนรู้ของ AI มีดังนี้
1. ความฉลาดเชิงฐานความรู้ 
- Expert system เป็นระบบที่นำเอาองค์ความรู้ของผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ มารวบรวมไว้เพื่อสร้าง AI ที่เปรียบเสมือนผู้เชี่ยวชาญจริงๆ ที่ให้คำแนะนำได้
- Intelligent agent สามารถทำหน้าที่แทนมนุษย์ตามข้อมูลที่ได้ป้อนไว้

2. ความฉลาดเชิงคำนวณ
- Machine learning เป็นระบบที่มีการเรียนรู้จากการวิเคราะห์ข้อมูลตามรูปแบบที่กำหนด ได้แก่ Supervised Learning , Unsupervised Learning , Reinforcement Learning สำหรับ Deep learning เป็น Machine Learning แบบหนึ่ง ที่มีการเรียนรู้ข้อมูลประเภทรูปภาพ เสียง หรือข้อมูลที่ซับซ้อนได้ดีกว่า

- Swarm intelligence เป็นระบบที่มีการเรียนรู้ โดยใช้การสุ่มคำตอบที่เป็นไปได้จากหลายๆ ชุดคำตอบ และปรับคำตอบตามชุดที่ดีที่สุด 

ประเภทความรู้ของ AI 

1. ความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริง

2. ความรู้เชิงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆ

3. ความรู้เชิงเหตุผล การใช้ตรรกะเพื่อหาข้อสรุป

4. ความรู้ที่ได้มาจากประสบการณ์

5. ความรู้ที่ได้มาจากสัญชาตญาณ

https://techsauce.co/tech-and-biz/how-to-apply-ai-with-your-business
https://techsauce.co/tech-and-biz/how-to-apply-ai-with-your-business

AI กับการจัดการความรู้

1. การรวบรวมความรู้ โดย AI สามารถดึงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อสร้างฐานความรู้ แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์เพื่อค้นหาข้อมูลเชิงลึก
 2. การจัดเก็บความรู้ โดย AI สามารถสร้างระบบจัดเก็บความรู้ในรูปแบบต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาความรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น
3. การแบ่งปันความรู้ โดยการแนะนำเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้ สร้างระบบตอบคำถามอัตโนมัติ (FAQ) และสร้างชุมชนออนไลน์สำหรับการแบ่งปันความรู้
4. การประยุกต์ใช้ความรู้ โดยการวิเคราะห์ข้อมูล แก้ไขปัญหาและแนะนำแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด

AI กับยุคเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยองค์ความรู้  

องค์ความรู้มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ซึ่ง AI เป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยองค์ความรู้ ในหลายๆ ด้าน ดังนี้
1. การสร้างองค์ความรู้ ช่วยให้นักวิจัยสามารถวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาลได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ AI จะช่วยค้นหารูปแบบและข้อมูลความรู้ใหม่ๆ และสามารถสร้างแบบจำลองสถานการณ์ต่างๆ เพื่อทดสอบสมมติฐานและคาดการณ์ผลลัพธ์ในอนาคตได้
2. การแบ่งปันองค์ความรู้ AI สามารถแปลภาษาได้หลากหลาย ทำให้ผู้คนจากทั่วโลกสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ได้ อีกทั้งช่วยสร้างแพลตฟอร์มการเรียนรู้แบบออนไลน์ ช่วยให้ผู้คนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา และสามารถค้นหาข้อมูลตามความสนใจของตนเองได้
3. การใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ โดยการใช้ข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ

4. การเพิ่มขีดความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล AI สามารถวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาลได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ช่วยลดความเสี่ยงในการตัดสินใจ นักวิจัยสามารถนำข้อมูลหลากหลายเหล่านั้นมาประมวลผลและเสนอข้อมูลที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจที่แม่นยำขึ้น 
5. การส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูล AI สามารถจัดการข้อมูลที่มีอยู่มากมายมหาศาล ทำให้มนุษย์สามารถเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ได้อย่างเท่าเทียมกัน และเกิดการพัฒนาทักษะและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
6. การยกระดับทักษะแรงงาน AI สามารถช่วยให้คนทำงานมีทักษะที่จำเป็นสำหรับยุคเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยองค์ความรู้ ผ่านการฝึกอบรมและเครื่องมือเทคโนโลยีอัจฉริยะ

7. การสร้างงานใหม่ๆ AI ทำให้เกิดการสร้างงานใหม่ๆ ในสาขาต่างๆ 

8. การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน โดยการที่ AI สามารถทำงานด้วยระบบอัตโนมัติ ทำงานแทนที่มนุษย์ได้ จึงช่วยให้มนุษย์มีเวลามากขึ้นในการฝึกฝนพัฒนาตนเอง หรือไปทำงานที่ต้องการทักษะขั้นสูงมากขึ้น

ประโยชน์ของการนำ AI มาใช้ในองค์กร
1. การสร้างมาตรฐานและยกระดับการทำงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น โดยการนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลของ AI มาปรับปรุงพัฒนาการทำงานให้ดีขึ้น ช่วยลดความซ้ำซ้อน ข้อผิดพลาดในการทำงาน ลดการใช้ทรัพยากรมนุษย์ งบประมาณและเวลาในการทำงาน และสามารถกำกับ ติดตาม ประเมินผลงานได้แบบเรียลไทม์

2. การเสริมสร้างงานบริการใหม่ๆ เนื่องจากการนำข้อมูลที่มีอยู่ในองค์กรมาวิเคราะห์ ต่อยอดไปสู่บริการที่มีคุณภาพมากขึ้น

3. การยกระดับการให้บริการ ซึ่งการสร้างประสบการณ์ที่ดีจากการใช้บริการ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากการใช้บริการที่ผ่านมา ใช้เป็นข้อมูลนำเสนอสินค้าและบริการที่เหมาะกับแต่ละบุคคล

4. การเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตในการทำงานโดย AI จะช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจาก AI เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการตัดสินใจเลือกการดำเนินงานที่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ภายในระยะเวลาเท่าเดิม ในขณะที่ใช้คนทำงานน้อยลง ใช้งบประมาณน้อยลง แต่สามารถให้บริการได้เพิ่มมากขึ้น 

แนวทางการพัฒนาของ AI ในยุคเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยองค์ความรู้
1. ด้านยุทธศาสตร์ โดยการกำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมายที่สอดคล้องกับภารกิจหลักขององค์กรให้ชัดเจน หลังจากนั้นจึงกำหนดกลยุทธ์ที่จะมุ่งใช้ AI ในการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย

2. ด้านบุคลากรและการพัฒนาทักษะแรงงาน โดยการสรรหาบุคคลที่มีทักษะทางเทคโนโลยี AI เข้ามาร่วมทำงานและส่งเสริมให้บุคลากรเพิ่มพูนทักษะทางเทคโนโลยี AI ให้มากขึ้น  

3. ด้านกระบวนการ โดยออกแบบกระบวนการควบคุม กำกับดูแล เพื่อที่จะนำ AI มาใช้ในการปฏิบัติงาน 

4. ด้านข้อมูล องค์กรต้องเก็บรวบรวมข้อมูลการทำงานที่ผ่านมาทั้งในด้านปริมาณและความครบถ้วนของเนื้อหา รวมถึงต้องมีการจัดการข้อมูลที่มีคุณภาพ มีระบบการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นไปตามมาตรฐานด้านวิศวกรรมความปลอดภัย เพื่อให้ AI ทำการประมวลผลได้ครอบคลุมมากขึ้น 

5. ด้านเทคโนโลยี มีการจัดหาและพัฒนาเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มต่างๆ ให้สามารถรองรับการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่อย่างเชื่อมโยงและต่อเนื่องในระยะยาว

6. ด้านจริยธรรม โดยการพัฒนา AI อย่างมีความรับผิดชอบ คำนึงถึงจริยธรรม และความปลอดภัย มีการพัฒนากฎหมายและนโยบายเพื่อรองรับการใช้ AI

ข้อเสียของการเข้าถึง AI

1. ด้านความเหลื่อมล้ำ : AI อาจจะทำให้เกิดช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางสังคม

2. ด้านจริยธรรม : AI อาจจะถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด 

3. ด้านการจ้างงาน : AI อาจจะทำให้คนถูกเลิกจ้างงาน

4. ด้านความปลอดภัย : AI อาจจะถูกใช้เพื่อพัฒนาอาวุธร้ายแรง

5. ด้านความรับผิดชอบ : ขาดความชัดเจนเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดจาก AI

6. ด้านต้นทุน : การพัฒนาและใช้งานระบบ AI มีค่าใช้จ่ายสูง

7. ด้านความถูกต้อง : ระบบ AI อาจให้ผลลัพธ์ที่ไม่สมบูรณ์

       ถึงแม้ว่า AI จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยองค์ความรู้ แต่ AI ก็เป็นเหมือนกับมนุษย์ที่ต้องมีการเรียนรู้อยู่เสมอ เพื่อให้สามารถทำงานได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นองค์กรจึงต้องมีแนวทางการพัฒนา AI ที่ชัดเจน เข้าใจถึงจุดเด่นและข้อจำกัดของเทคโนโลยี AI เพื่อให้สามารถส่งเสริมเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างยั่งยืน

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

Halley. (2563). แนวคิดด้านปัญญาประดิษฐ์. สืบค้นจาก https://scar.maggang.com

Business & Technology. (2564). 7 ประโยชน์ของการนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในภาคธุรกิจ.              

          สืบค้นจาก https://aigencorp.com/7-ai-benefits-for-business/

Electronic Transactions Development Agency. (2564). ปัญญาประดิษฐ์ในการให้บริการของภาครัฐ.

สืบค้นจาก https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/Knowledge-Sharing/Articles/AI-in-   Government-Services.aspx

Business & Technology. (2565). 6 วิธีการรับมือกับความไม่เพอร์เฟคของเทคโนโลยี AI.

           สืบค้นจาก https://aigencorp.com/6-methods-to-handle-with-imperfect-ai/

Aphichat Boonrod. (2566). ปรับกลยุทธ์การใช้ AI ให้สอดรับยุค Knowledge-Based Economy. 
          สืบค้นจาก https://visai.ai/th/blogs/5/ai-knowledge-based-economy

Suppawan. (2566). เริ่มต้นนำ AI มาใช้ในองค์กรอย่างไร พร้อมทำความรู้จักประเภท Machine Learning. 

          สืบค้นจาก https://www.nationtv.tv/gogreen/378915955

แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

Alavi, M., Leidner, D. E., & Mousavi, R. (2023). A Knowledge Management Perspective of 

          Generative Artificial Intelligence. Journal of the Association for Information Systems, 

          25(1), 1–12. https://doi.org/10.17705/1jais.00859

Pai, R. Y., Shetty, A., Shetty, A. D., Bhandary, R., Shetty, J., Nayak, S., Dinesh, T. K., & D’souza, K. J. 

          (2022). Integrating artificial intelligence for knowledge management systems – synergy 

          among people and technology: a systematic review of the evidence. Economic 

          Research-Ekonomska Istrazivanja, 35(1), 7043–7065. 

          https://doi.org/10.1080/1331677X.2022.2058976

Vadari, S., & Desik, P. H. A. (2021). The Role of AI/ML in Enhancing Knowledge Management 

          Systems. IUP Journal of Knowledge Management, 19(2), 7–31.

          https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=bsu&AN=151496508&site=eds-   live

The Challenges of Generative AI in Knowledge Management. (2023). Pakistan Journal of 

          Information Management & Libraries, 25, i. 

          https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=edsgao&AN=edsgcl.784322424

           &site=eds-live.   

Kocjancic, L., & Gricar, S. (2023). Usage of AI in Sustainable Knowledge Management and 

          Innovation Processes; Data Analytics in the Electricity Sector. FinTech, 2(4), 718–736. 

          https://doi.org/10.3390/fintech2040040

Sanzogni, L., Guzman, G., & Busch, P. (2017). Artificial intelligence and knowledge management: 

          questioning the tacit dimension. Prometheus (Routledge), 35(1), 37–56. 

          https://doi.org/10.1080/08109028.2017.1364547

Kocjancic, L., & Gricar, S. (2023). Usage of AI in Sustainable Knowledge Management and 

          Innovation Processes; Data Analytics in the Electricity Sector. FinTech, 2(4), 718–736. 

          https://doi.org/10.3390/fintech2040040

Taherdoost, H., & Madanchian, M. (2023). Artificial Intelligence and Knowledge Management: 

          Impacts, Benefits, and Implementation. Computers, 12(4). 

          https://doi.org/10.3390/computers12040072

Botega, L. F. de C., & da Silva, J. C. (2020). An artificial intelligence approach to support 

          knowledge management on the selection of creativity and innovation techniques. 

           Journal of Knowledge Management, 24(5), 1107–1130. 

           https://doi.org/10.1108/JKM-10-2019-0559

 

ดวงพร อรัญญพงษ์ไพศาล | 29/03/2567 | 20 | share : , ,
แบบประเมิน