Plant-based meat (เนื้อสังเคราะห์)

ผู้เรียบเรียง

ปิยะธิดา ปรางค์โคกกรวด

นักเอกสารสนเทศ ฝ่ายบริการ

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

       Plant-based food คือ อาหารที่สังเคราะห์จากพืช หรือ เนื้อสัตว์จากพืช หรือ เนื้อเทียม มีส่วนประกอบหลักที่มาจากพืชเป็น ธัญพืช เห็ด ถั่ว สาหร่าย หรือสารประกอบอื่นๆ ที่ไม่ใช่เนื้อสัตว์ แต่รสชาติไม่แตกต่างจากเนื้อสัตว์ทั่วไป สามารถนำไปสร้างสรรค์เป็นอาหารจานพืชได้หลากหลาย มีการสร้างกลิ่น รสชาติ และเนื้อสัมผัสคล้ายกับเนื้อสัตว์จริงมากที่สุด ซึ่งจะแตกต่างจากโปรตีนเกษตรที่เราคุ้นเคย ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์จากพืชจึงเป็นอาหารในกลุ่มโปรตีนทางเลือกที่เป็นมิตรกับผู้ทานมังสวิรัติ กลุ่มวีแกน และผู้ที่กำลังมองหาทางเลือกเพื่อสุขภาพ

  • ประโยชน์จาก plant-based meat
  1. ประกอบด้วยส่วนผสมจากพืชที่อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพ
  2. งานวิจัยระบุว่าอาหารจากพืชเป็นประโยชน์สำหรับการควบคุมน้ำหนัก
  3. อาหารที่ทำจากพืชอาจช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด และโรคเบาหวาน
  4. ลดปัญหาการขาดแคลนอาหารในอนาคตได้
  5.  
  • ข้อด้อยของผลิตภัณฑ์ plant-based meat เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์จริง
  1. ราคาค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับราคาของเนื้อสัตว์จริง
  2. รสชาติที่ยังแตกต่างจากเนื้อสัตว์จริง
  3. ในบางผลิตภัณฑ์อาจยังหาซื้อได้ยาก

 

       จากข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย โรค Covid-19 เป็นตัวเร่งให้คนหันมาใส่ใจสุขภาพ ซึ่ง Plant-based Food ก็เป็นอีกหนึ่งสินค้าในตลาดอาหารสุขภาพที่น่าจับตา และด้วยความตระหนักถึงความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมได้สร้างความกดดันให้กับอุตสาหกรรมอาหาร ทำให้เกิดแหล่งอาหารทางเลือกเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรน้อย โดยในช่วงที่ผ่านมา plant-based meat (เนื้อสัตว์สังเคราะห์) ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นเนื้อสัตว์ทางเลือกที่มีความยั่งยืน เนื่องจากกระบวนการผลิตใช้ทรัพยากรน้อย และยังช่วยคืนความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดปัญหาโลกร้อนและช่วยลดปัญหาการขาดแคลนอาหารได้

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

Blockdit. "Plant-Based Food หรือเนื้อสัตว์จากพืช". สืบค้น 3 พฤษภาคม 2565. Retrieved From https://www.blockdit.com/posts/60796ef8a7fe570c5160d107

Business News, Marketeer. ทำไม Plant-based จึงแพงกว่าเนื้อสัตว์แท้ ทั้งที่ต้นทุนน่าจะต่ำกว่า. สืบค้น 3 พฤษภาคม 2565.  Retrieved From https://marketeeronline.co/archives/247664

GRID Ideas Health, by PEA. Plant-based Meat เนื้อสัตว์จากพืชเทรนด์มาแรงช่วงโควิด-19. สืบค้น 3 พฤษภาคม 2565. Retrieved From https://www.gridmag.co/the-plant-based-trends/

Organicbook, สาระเพื่อสุขภาพและชีวิต, เนื้อสังเคราะห์ (Plant based meat) เพื่อคนรักสุขภาพและรักษ์โลก. สืบค้น 3 พฤษภาคม 2565. Retrieved From https://www.organicbook.com/food/%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C-plant-based-meat/

UOB Asset Management, Plant-based meat นวัตกรรมอาหารแห่งอนาคต อีกทางเลือกบริโภคเนื้อสัตว์ที่ยั่งยืน. สืบค้น 2 พฤษภาคม 2565. Retrieved From https://www.uobam.co.th/srcm/publication/mlqur5zik/r5/zi/o0x0/UOBAM-ESG-Plant-based-meat-TH-Final.pdf

Sarakadeelite. Plant-based Meat เนื้อสัตว์จากพืช เทรนด์อาหารเพี่อเยียวยาโลก. สืบค้น 3 พฤษภาคม 2565. Retrieved From https://www.sarakadeelite.com/better-living/plant-based-meat/

 

แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

Bühler, J. M., Schlangen, M., Möller, A. C., Bruins, M. E., & van der Goot, A. J. (2022). Starch in Plant-Based Meat Replacers: A New Approach to Using Endogenous Starch from Cereals and Legumes. Starch, 74(1–2). Retrieved From https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=edsgao&AN=edsgcl.688670075&site=eds-live

CHEN, Q. et al. Protein-amylose/amylopectin molecular interactions during high-moisture extruded texturization toward plant-based meat substitutes applications. Food Hydrocolloids, [s. l.], v. 127, 2022. Retrieved Fromhttps://portal.lib.ku.ac.th/login?url=https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=edselp&AN=S0268005X22000790&site=eds-live

Martino, V. (2022). De-bunking the industry bias behind plant-based meat. Aroq - Just-Food.Com (Global

News), N.PAG. Retrieved Fromhttps://portal.lib.ku.ac.th/login?url=https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=bsu&AN=156073895&site=eds-live

Van Vliet, S., Bain, J. R., Muehlbauer, M. J., Provenza, F. D., Kronberg, S. L., Pieper, C. F., & Huffman, K. M.

(2021). A metabolomics comparison of plant-based meat and grass-fed meat indicates large nutritional differences despite comparable Nutrition Facts panels. Scientific Reports, 11(1), 1–13. Retrieved From https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=asn&AN=151252234&site=eds-live

Zwanka, R. J. (2021). Awareness and Attitudes of Plant-Based Meat Options, and Their Impact on

Consumption Behaviors. International Journal of Sales, Retailing & Marketing, 10(1), 7–13. Retrieved From https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=bsu&AN=152072882&site=eds-live

 

| 17/05/2565 | 198 | share : , ,
แบบประเมิน