Digital Asset (สินทรัพย์ดิจิทัล)

ผู้เรียบเรียง 

ดวงพร อรัญญพงษ์ไพศาล 

บรรณารักษ์ชำนาญการ ฝ่ายบริการ 

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 

 

Digital Asset หรือสินทรัพย์ดิจิทัล เป็นหน่วยอิเล็กทรอนิกส์ที่แสดงมูลค่าเหมือนสินทรัพย์ทั่วไป สร้างขึ้นบนระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์และระบบบล็อกเชน การทำธุรกรรมต่างๆ จะถูกบันทึกโดย คอมพิวเตอร์ สามารถแลกเปลี่ยนความเป็นเจ้าของโดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง  

ประเภทของ Digital Asset 

  1. Cryptocurrency ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ
  2. Digital Token ใช้เพื่อกำหนดสิทธิของบุคคลในการร่วมลงทุนหรือสิทธิของสินค้าและบริการ

     

หลักการทำงานของเงินตราดิจิทัล 

การทำงานของเงินตราดิจิทัลจะถูกบันทึกข้อมูลในแต่ละชุด ระบบบล็อกเชนจะบันทึกธุรกรรมแบบกระจายศูนย์ โดยการส่งสัญญาณหากันในเครือข่าย เพื่อแจ้งข้อมูลให้ทุกคนในเครือข่ายสามารถเข้าถึง รับรู้ และ รับรองความถูกต้องของธุรกรรมทั้งหมดได้ ซึ่งระบบบล็อกเชนมีความปลอดภัยสูง โปร่งใส ไม่มีการผ่านคนกลาง  สามารถควบคุมตัวเองได้ การแทรกแซงข้อมูลทำได้ยาก  

 

ความแตกต่างของสกุลเงินดิจิทัลและสกุลเงินปกติ 

- สกุลเงินปกติ จะผลิตโดยธนาคารกลางของรัฐในรูปของธนบัตรหรือเหรียญ สามารถทำธุรกรรมได้ในลักษณะ การใช้เงินสดหรือรูปแบบออนไลน์ผ่าน Digital Payment  

- สกุลเงินดิจิทัล มีมูลค่าในตัวเอง ไม่มีตัวกลางในการควบคุมและใช้ระบบบล็อกเชนเข้ามาช่วยในการทำธุรกรรม 

 

แนวโน้มของเงินตราดิจิทัล 

- ธุรกิจ Wallet สามารถเข้าใช้งานแพลตฟอร์มบนเครือข่ายต่างๆ ได้อย่างอิสระ 

- Cross-Chain Solution การเชื่อมประสานบล็อกเชน 2 ระบบเครือข่ายที่แยกจากกันให้ทำงานร่วมกันได้  ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลและมูลค่าสินทรัพย์ระหว่างกัน 

- Metaverse การใช้ตัวตนเสมือนล็อกอินเข้าระบบออนไลน์เพื่อเชื่อมต่อพื้นที่เสมือน และปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ 

- DAO องค์กรแบบกระจายศูนย์ เป็นการรวมกลุ่มของคนที่มีสินทรัพย์ร่วมกันและตัดสินใจด้วยการโหวตผ่านระบบบล็อกเชน 

 

สกุลเงินดิจิทัลในประเทศไทย 

  1. Bitcoin เป็นสกุลเงินที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
  2. Bitcoin Cash มีสภาพคล่องสูงจะช่วยลดระยะเวลาการทำธุรกรรมให้เร็วขึ้น
  3. Ethereum ใช้เทคโนโลยี Smart Contract ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลายธุรกิจทั่วโลก
  4. Etheremu Classic เป็นสกุลเงินดิจิทัลแยกตัวออกมาจาก Ethereum
  5. Litecoin สามารถเพิ่มสภาพคล่องให้กับธุรกรรม ยืดหยุ่น และรวดเร็วมากกว่า
  6. Ripple เป็นสกุลเงินที่ถูกกำหนดขึ้นจากบริษัท Ripple สามารถเพิ่มความรวดเร็วและความโปร่งใสใน การทำธุรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  7. Stellar เป็นสกุลเงินดิจิทัลที่รองรับทุกๆ สกุลเงิน Stellar

     

สกุลเงินดิจิทัลทำอะไรได้บ้าง 

  1. ซื้อสินค้า
  2. บริจาคเพื่อการกุศล
  3. ให้เป็นของขวัญ
  4. ให้ทิปแทนคำขอบคุณ
  5. เดินทางท่องเที่ยว

     

ข้อดีข้อเสียของสกุลเงินดิจิทัล 

         ข้อดี 

∙ ทำธุรกรรมต่างๆ ได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ทันสมัย  

∙ บัญชีของผู้ใช้มีรหัสสาธารณะและกุญแจส่วนตัวในการอนุมัติธุรกรรม  

∙ ค่าธรรมเนียมในการโอนค่อนข้างต่ำ 

∙ การปลอมแปลงประวัติการทำธุรกรรมทำได้ยากมาก  

∙ มีการประมวลผลที่รวดเร็ว  

 

ข้อเสีย 

∙ หากผู้ใช้ขาดความรู้ ความเข้าใจ อาจทำให้เงินดิจิทัลสูญหายได้ทันที 

        ∙ ไม่มีที่เก็บส่วนกลาง เงินดิจิทัลอาจถูกลบออกจากระบบคอมพิวเตอร์ ถ้าหากไม่มีการสำรองการถือครอง  หรือถ้าหากกุญแจส่วนตัวสูญหายก็จะไม่สามารถเข้าถึงได้  

∙ การทำธุรกรรมของผู้ที่ไม่เปิดเผยตัวตนจะทำให้เอื้อต่อการทำกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย 

∙ ความไม่แน่นอนของสกุลเงินดิจิทัล ทำให้ผู้คนไม่มั่นใจและเกิดความกลัว 

 

INFO Digital Asset 2

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง 

The MATTER. (2021). Digital Asset คืออะไร. สืบค้นจาก https://thematter.co/futureverse/futureword-digital-asset/160461 

KIM MARTIN. (2021). ข้อดีข้อเสียของ CRYPTOCURRENCY. สืบค้นจาก  https://eatrealstaysane.com/cat-bitcoin/cryptocurrency/ 

BRAYAN JACKSON. (2020). ข้อดีและข้อเสียของ Cryptocurrency คืออะไร. สืบค้นจาก  https://newswire-24.com/page-2/cryptocurrency-5/ 

Online Business. (2021). สกุลเงินดิจิทัล คืออะไร รู้จัก 7 สกุลเงินบนโลกออนไลน์ ที่ใช้ซื้อ – ขายได้แทนเงิน จริง. สืบค้นจาก  

https://www.fillgoods.co/online-biz/no-shop-what-is-digital-currency-5-currency-online/ 

 

แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง 

Pálmai, G., Csernyák, S., & Erdélyi, Z. (2021). Authentic and Reliable Data in the Service of  National Public Data Asset. Public Finance Quarterly (0031-496X), 52–67.  https://doi.org/10.35551/PFQ_2021_s_1_3 
Chomsiri and D. Pansa, "JSP Digital Asset Trading System," 2019 23rd International Computer  Science and Engineering Conference (ICSEC), 2019, pp. 255-260,  DOI: 10.1109/ICSEC47112.2019.8974847 

Domingo, C & Mathew, E 2021, ‘Tokenisation: Assembling the building blocks of an  institutional digital assets marketplace’, Journal of Securities Operations & Custody, vol. 13,  no. 3, pp. 218–236,  

https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=bsu&AN=151492374&site=eds-live Y. Zhu, Y. Qin, Z. Zhou, X. Song, G. Liu and W. C. -C. Chu, "Digital Asset Management with  Distributed Permission over Blockchain and Attribute-Based Access Control," 2018 IEEE  International Conference on Services Computing (SCC), 2018, pp. 193-200,  DOI: 10.1109/SCC.2018.00032

Ning, W., & Lu, M. (2021). Informatization Construction of Digital Assets in Smart Cities. Wireless  Communications & Mobile Computing, 1–9. https://doi.org/10.1155/2021/3344987 W. -T. Tsai, J. He, R. Wang and E. Deng, "Decentralized Digital-Asset Exchanges: Issues and  Evaluation," 2020 3rd International Conference on Smart BlockChain (SmartBlock), 2020, pp.  1-6, DOI: 10.1109/SmartBlock52591.2020.00024 

Harwood-Jones, Margaret. 2019. “Digital and Crypto-Assets: Tracking Global Adoption Rates  and Impacts on Securities Services.” Journal of Securities Operations & Custody 12 (1): 49–57.  https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=bsu&AN=141768412&site=eds-live

| 28/04/2565 | 210 | share : , ,
แบบประเมิน