Digital Literacy กับสังคมสูงวัย

ผู้เรียบเรียง
ดวงพร อรัญญพงษ์ไพศาล
บรรณารักษ์ชำนาญการ ฝ่ายบริการ
 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โครงสร้างประชากรที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องทำให้ประชากรผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และจำนวนประชากรเกิดใหม่มีจำนวนลดน้อยลง ดังนั้นในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตประจำวันจึงมีผลกระทบกับกลุ่มผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก ดังนั้นความรู้ด้านดิจิทัลสำหรับผู้สูงอายุจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้ผู้สูงอายุปรับตัวให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพปลอดภัยและยังช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นอีกด้วย

https://i0.wp.com/thailandsmartlivinglab.org/wp-content/uploads/2023/12/image-2.png?resize=1024%2C683&ssl=1
ที่มา : https://thailandsmartlivinglab.org

บทบาทของ Digital Literacy ต่อผู้สูงอายุ

  • เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ โดยการใช้แอปพลิเคชันหรืออุปกรณ์ที่ช่วยติดตามสุขภาพต่างๆ ซึ่งทำให้ผู้สูงอายุสามารถ
    ตรวจสอบสุขภาพของตนเองได้แบบเรียลไทม์ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคและส่งเสริมการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน ส่งผลให้ผู้สูงอายุ
    สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีศักยภาพ ลดการพึ่งพิง มีสุขภาพทางร่างกายและจิตใจที่ดี 
  • ผู้สูงอายุสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อเชื่อมต่อกับครอบครัวและสังคม ผ่านแพลตฟอร์มสื่อสารออนไลน์ เช่น Facebook, LINE, วิดีโอคอล
    ทำให้ลดความรู้สึกโดดเดี่ยวและสร้างความสุขใจจากการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม 
  • การใช้เทคโนโลยีช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ผ่านการใช้แอปพลิเคชันหรือเข้าถึงข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งช่วยพัฒนาทักษะการคิด
    และเพิ่มโอกาสในการพัฒนาตนเอง ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลสาระความรู้ ความบันเทิง และบริการต่างๆ เช่น การเรียนหลักสูตรอบรม
    ออนไลน์หรือการอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  นอกจากนี้ยังสามารถใช้แอปพลิเคชันเพื่อความบันเทิง เช่น เกมพัฒนาความจำ ฝึกสมอง หรือ
    ชมภาพยนตร์และรายการทีวีออนไลน์ 
  • การสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีจะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้กับผู้สูงอายุในการติดต่อสื่อสารและเข้าร่วมกิจกรรม
    ในสังคมมากขึ้น
  • การเข้าถึงบริการและความสะดวกสบายในชีวิตประจำวันโดยใช้บริการออนไลน์ ทำให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตได้สะดวกสบายมากขึ้น ลดความ
    จำเป็นในการออกนอกบ้านบ่อยครั้ง โดยเฉพาะในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรค
หัวใจสำคัญของทักษะ Digital Literacy
ที่มา : https://kasets.art/rGU2Yi

ทักษะจำเป็นสำหรับผู้สูงอายุในยุคดิจิทัล
1. ทักษะด้านเทคโนโลยี ผู้สูงอายุจำเป็นต้องมีทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์ การใช้สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรืออุปกรณ์อื่นๆ การใช้อินเทอร์เน็ต
การใช้ฟีเจอร์พื้นฐานของแอพปลิเคชั่นต่างๆ ได้
2. ทักษะด้านการเงิน ผู้สูงอายุต้องรู้จักการจัดทำงบประมาณ การวางแผนใช้เงินให้เพียงพอต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
3. ทักษะด้านการดูแลสุขภาพ เนื่องจากโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้น จึงต้องจัดการวางแผนเรื่องอาหาร ยา การติดต่อกับแพทย์ และการทำกิจกรรมทางกาย
ที่เหมาะสม เพื่อยืดอายุการทำงานของอวัยวะต่างๆ ของร่างกายให้แข็งแรง 
4. ทักษะทางสังคม ผู้สูงอายุจำเป็นต้องมีทักษะทางสังคมที่สามารถสื่อสาร พูดคุยหรือรับฟังกับบุคคลอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม
5. ทักษะการแก้ปัญหา ผู้สูงอายุต้องสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน โดยใช้ประสบการณ์ส่วนตัวในการแก้ไขปัญหา หรือพึ่งพาบุคคลอื่น
ให้เข้ามาช่วยแก้ไข

ความท้าทายในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของผู้สูงอายุ

  • ความรู้และทักษะการใช้เทคโนโลยี ผู้สูงอายุจำนวนมากอาจขาดความรู้และทักษะที่จำเป็นในการใช้อุปกรณ์ดิจิทัล ดังนั้นการเรียนรู้การใช้งานอาจเป็นสิ่งที่ยุ่งยาก ซึ่งจำเป็นต้องมีการสนับสนุนและการสอนอย่างต่อเนื่อง
  • ปัญหาทางกายภาพ  ผู้สูงอายุจะมีประสิทธิภาพในการมองเห็นหรือการได้ยินลดลง อาจทำให้เกิดความลำบากในการใช้งานอุปกรณ์ดิจิทัลอันเนื่องมาจากปุ่มกดหรือหน้าจอที่เล็กเกินไป
  • ความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัย ผู้สูงอายุอาจมีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้งานเทคโนโลยี เช่น การโดนหลอกลวงหรือการเข้าใช้งานเว็บไซต์ที่ไม่ปลอดภัย จึงจำเป็นต้องมีการให้ความรู้ด้านความปลอดภัยทางดิจิทัลอย่างเหมาะสม

แนวทางการส่งเสริม Digital Literacy สำหรับผู้สูงอายุ

  • การให้ความรู้และการฝึกอบรม โดยจัดกิจกรรมอบรมเพื่อสอนทักษะการใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน โดยจัดหลักสูตรการเรียนการสอนโดยเฉพาะสำหรับผู้สูงอายุเพื่อเรียนรู้การใช้งานอุปกรณ์และแอปพลิเคชันต่างๆ
  • การพัฒนาอุปกรณ์ที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ การใช้สื่อการสอนที่เข้าใจง่ายและสามารถเข้าถึงได้ง่าย สื่อการเรียนการสอนควรมีภาพประกอบที่ชัดเจนและภาษาที่เข้าใจง่าย เช่น คลิปวิดีโอหรือคู่มือที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับผู้สูงอายุ
  • การสร้างแรงจูงใจ โดยสนับสนุนให้ผู้สูงอายุเริ่มใช้เทคโนโลยีอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยอาจเริ่มจากกิจกรรมที่ชื่นชอบ เช่น การดูวิดีโอหรือการเล่นเกม.
  • การส่งเสริมการเรียนรู้แบบ Peer-to-Peer ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเข้าร่วมกลุ่มหรือชุมชนออนไลน์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และแชร์ประสบการณ์
  • การสนับสนุนจากครอบครัวและชุมชน มีบทบาทในการสอน ให้กำลังใจ ช่วยเหลือผู้สูงอายุให้สามารถใช้งานเทคโนโลยีได้อย่างเต็มที่

แนวโน้มของ Digital Literacy ในสังคมผู้สูงอายุ

  • การเพิ่มขึ้นของการใช้งานสมาร์ทโฟน จะกลายเป็นอุปกรณ์หลักที่ผู้สูงอายุใช้ในการเข้าถึงข้อมูลและการสื่อสาร ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ในการใช้งานแอปพลิเคชันต่างๆ
  • การเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีการออกแบบให้เหมาะสมและใช้งานง่ายขึ้นสำหรับผู้สูงอายุ เช่น การใช้งานเสียงในการสั่งการต่างๆ
  • การเติบโตของบริการในรูปแบบออนไลน์จะได้รับความนิยมมากขึ้น เช่น การซื้อของออนไลน์ การจองบริการสุขภาพ หรือการเข้าชมกิจกรรมออนไลน์ 
  • การสนับสนุนจากภาครัฐและองค์กร โดยหน่วยงานภาครัฐและองค์กรต่างๆ เริ่มมีนโยบายที่มุ่งเน้นการส่งเสริม digital literacy เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุมีความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยี

ความเสี่ยงของเทคโนโลยีดิจิทัลต่อผู้สูงอายุ

  • ปัญหาด้านสุขภาพ การใช้เทคโนโลยีเป็นเวลานานอาจส่งผลต่อสุขภาพทางกายของผู้สูงอายุ เช่น ปัญหาสายตา ปวดคอ ปวดหลังจากการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเวลานาน นอกจากนี้ยังอาจเกิดความเครียดจากการพยายามปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีใหม่ๆ
  • ความเสี่ยงด้านการเงินและการหลอกลวงออนไลน์ ผู้สูงอายุอาจตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ตได้ง่าย เนื่องจาก ขาดความรู้และประสบการณ์ในการระวังภัยต่างๆ 
  • ความโดดเดี่ยวและการเสพติดเทคโนโลยี หากผู้สูงอายุพึ่งพาเทคโนโลยีมากเกินไป อาจทำให้ขาดการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในชีวิตจริง นอกจากนี้
    การใช้งานอุปกรณ์อย่างต่อเนื่องโดยไม่มีกิจกรรมอื่นๆ อาจทำให้เกิดการเสพติดเทคโนโลยี ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพกายและใจได้

       ในอนาคตอุตสาหกรรมเทคโนโลยีจะมุ่งเน้นพัฒนาอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อผู้สูงอายุมากขึ้น เช่น อุปกรณ์ที่มีหน้าจอขนาดใหญ่ ใช้งานง่ายและมีฟีเจอร์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน เช่น การเตือนให้ทานยา การแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉิน และการติดตามสุขภาพที่แม่นยำ นอกจากนี้หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ (AI) จะเข้ามามีบทบาทในการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น เช่น หุ่นยนต์ที่สามารถดูแลและสนทนากับผู้สูงอายุในบ้าน ช่วยเหลือในกิจกรรมต่างๆ และเทคโนโลยี AI ที่สามารถวิเคราะห์สุขภาพและเสนอแนะการดูแลสุขภาพในแต่ละวัน รวมถึงบริการแพทย์ทางไกลจะเป็นสิ่งสำคัญในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ เทคโนโลยีนี้จะช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถพบแพทย์จากที่บ้านผ่านแอปพลิเคชัน หรือแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาล ลดความเสี่ยงในการเดินทางและช่วยให้การรักษาเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
       Digital literacyเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในสังคมยุคดิจิทัล ซึ่งการส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงข้อมูลและบริการต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง อย่างไรก็ตามการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลกับผู้สูงอายุเป็นทั้งโอกาสและความท้าทาย ซึ่งต้องได้รับการสนับสนุนและแก้ไขอย่างเหมาะสมทั้งทางด้านเทคโนโลยี การให้ความรู้ และการสนับสนุนจากครอบครัวและสังคม จะเป็นปัจจัยหลักที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถปรับตัวและใช้งานเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย พร้อมกับการพัฒนาเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นผู้สูงอายุเป็นศูนย์กลางในอนาคต

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

พนม คลี่ฉายา. (2563). การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของผู้สูงอายุและข้อเสนอเพื่อการเสริมสร้างภาวะพฤฒิพลัง ของผู้สูงอายุไทย. สืบค้นจาก https://kasets.art/BcER43

CANES Community Care. (2564). Is Social Media Good or Bad for Seniors?. สืบค้นจาก 
          https://www.canes.on.ca/blog/social-media-good-or-bad-seniors

มูลนิธิหมอชาวบ้าน. (2565). ผู้สูงอายุกับการใช้สื่อโซเชียลมีเดีย. สืบค้นจาก 
          https://empowerliving.doctor.or.th/case/939

ThaiSeniorMarket. (2566). โลกออนไลน์ ตัวช่วยดีๆ ของผู้สูงอายุ. สืบค้นจาก 
          http://www.thaiseniormarket.com/article-detail/373

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2566). รัฐควรทำอย่างไรให้ผู้สูงอายุก้าวทันเทคโนโลยี. สืบค้นจาก 
          https://www.bot.or.th/th/research-and-publications/articles-and-publications/bot-
          magazine/Phrasiam-64-2/the-knowledge-64-2-4.html

บุญทิพย์ สิริธรังศร. (2566). ผู้สูงอายุในยุคดิจิทัล: ความท้าทายทางสุขภาพ. สืบค้นจาก 

          https://he03.tci-thaijo.org/index.php/JHFC/article/download/605/940/6843

Bangkok Hospital. (2567). SOCIAL MEDIA ผู้สูงวัยรู้ให้ทันใช้ให้พอดี. สืบค้นจาก 
          https://kasets.art/jHDcOs

แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

Ye In Jane Hwang, Amanuel Hagos, Adrienne Withall, Stephen Hampton, Phillip Snoyman, & Tony Butler. (2024).
          Population ageing, incarceration and the growing digital divide: Understanding the effects of digital literacy
          inequity experienced by older people leaving prison. PLoS ONE, 19(4), e0297482. 
          https://doi-org.kasetsart.idm.oclc.org/10.1371/journal.pone.0297482&type=printable
Hwang, Y. I., Hagos, A., Withall, A., Hampton, S., Snoyman, P., & Butler, T. (2024). Population ageing, incarceration 
          and the growing digital divide: Understanding the effects of digital literacy inequity experienced by older 
          people leaving prison. PLoS ONE, 19(4), 1–19. https://doi-org.kasetsart.idm.oclc.org/10.1371/journal.pone.0297482
Zuhri, S., & Arif, R. (2024). Digital Literacy as a Media Guide Amid Digital Disruption (Study of the Importance of 
          Digital Literacy in the Era of Globalization). Jurnal Indonesia Sosial Teknologi, 5(1), 233–246. 
          https://doi-org.kasetsart.idm.oclc.org/10.59141/jist.v5i01.882
Najmeh Razmkhah. (2024). The Elderly and the Right to Digital Literacy, on the Base of the Recommendation 
          of the UN on the Age of Digital Interdependence. حقوق فناوریهای نوین, 5(9), 133–153. 
          https://doi-org.kasetsart.idm.oclc.org/10.22133/MTLJ.2023.416097.1246
Tomczyk, L., d’Haenens, L., Gierszewski, D., & Sepielak, D. (2023). Digital inclusion from an intergenerational 
          perspective: promoting the development of digital and media literacy among older people from a 
          young adult perspective. Pixel-Bit, Revista de Medios y Educacion, 68, 115–154. 
          https://doi-org.kasetsart.idm.oclc.org/10.12795/pixelbit.97922
Cai, M., & Kose, H. (2023). Motivation Survey and Influence Factor Analysis of Old People to Improve Digital 
          Literacy. 2023 Eleventh International Symposium on Computing and Networking Workshops (CANDARW),
          Computing and Networking Workshops (CANDARW), 2023 Eleventh International Symposium on, CANDARW, 
          191–194. https://doi-org.kasetsart.idm.oclc.org/10.1109/CANDARW60564.2023.00039
Wynia Baluk, K., Detlor, B., La Rose, T., & Alfaro-Laganse, C. (2023). Exploring the Digital Literacy Needs and 
          Training Preferences of Older Adults Living in Affordable Housing. Journal of Technology in Human 
          Services, 41(3), 203–229. https://doi-org.kasetsart.idm.oclc.org/10.1080/15228835.2023.2239310
Johansson-Pajala, R.-M., Gusdal, A., Eklund, C., Florin, U., & Wågert, P. von H. (2023). A codesigned web platform 
          for reducing social isolation and loneliness in older people: a feasibility study. Informatics for Health & 
          Social Care, 48(2), 109–124. https://doi-org.kasetsart.idm.oclc.org/10.1080/17538157.2022.2070068
Sriwisathiyakun, K., Dhamanitayakul, C. (2022). Enhancing digital literacy with an intelligent 
          conversational agent for senior citizens in Thailand. Educ Inf Technol 27, 6251–6271
          https://doi-org.kasetsart.idm.oclc.org/10.1007/s10639-021-10862-z
Chanyawudhiwan, G., & Mingsiritham, K. (2022). An Analysis of Elderly Use of Digital Technology in 
          Thailand. International Journal of Interactive Mobile Technologies, 16(7), 173–181. 
           https://doi-org.kasetsart.idm.oclc.org/10.3991/ijim.v16i07.28755
Diteeyont, W., & Ku, H.-Y. (2021). Internet literacy among the elderly in Thailand. Educational Media
           International, 58(3), 248–260. https://doi-org.kasetsart.idm.oclc.org/10.1080/09523987.2021.1976829

ดวงพร อรัญญพงษ์ไพศาล | 01/10/2567 | 25 | share : , ,
แบบประเมิน