Digital Preservation : มรดกยุคดิจิทัล
ผู้เรียบเรียง
ดวงพร อรัญญพงษ์ไพศาล
บรรณารักษ์ชำนาญการ ฝ่ายบริการ
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ในโลกยุคดิจิทัลที่ข้อมูลถูกสร้าง เก็บรักษาและเผยแพร่อย่างกว้างขวางผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีช่วยให้ผู้คนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างสะดวกรวดเร็ว แต่ข้อมูลเหล่านี้อาจจะสูญหายได้หากไม่ได้รับการเก็บรักษาอย่างเหมาะสม ดังนั้นมรดกดิจิทัลที่แสดงถึงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม วิทยาการและมูลค่าทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นภาพถ่าย วิดีโอ เสียง เอกสารสำคัญ ฐานข้อมูล เว็บไซต์ บัญชีอีเมลหรือโซเชียลมีเดียต่างๆ จึงถูกจัดเก็บในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งมรดกดิจิทัลเหล่านี้มีความเสี่ยงที่จะสูญหายหรือถูกทำลายได้ง่ายกว่ามรดกทางวัฒนธรรมในรูปแบบดั้งเดิม การอนุรักษ์ดิจิทัลจึงต้องอาศัยกระบวนการที่ซับซ้อนและมีการวางแผนระยะยาว ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจะทำให้การเข้าถึงข้อมูลดิจิทัลกลายเป็นสิ่งที่ล้าสมัยในเวลาอันรวดเร็ว รวมถึงรูปแบบไฟล์และเวอร์ชันที่แตกต่างกัน การเสื่อมสภาพของสื่อฮาร์ดแวร์ ภัยคุกคามทางไซเบอร์ ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์ กฎระเบียบด้านการคุ้มครองข้อมูล เป็นต้น ดังนั้นการอนุรักษ์มรดกดิจิทัลจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งเพื่อรักษาคุณค่าและความสำคัญของมรดกเหล่านี้ไว้สำหรับคนรุ่นหลัง การดำเนินการอนุรักษ์ที่มีประสิทธิภาพจะทำให้มรดกดิจิทัลเป็นแหล่งข้อมูลที่มีคุณค่า ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ การวิจัยและการสืบสานวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน
ความเสี่ยงของสื่อดิจิทัล
สื่อดิจิทัลมีประโยชน์มากมายแต่ก็มีความเสี่ยงที่ต้องระวังเช่นกัน ความเสี่ยงเหล่านี้อาจส่งผลกระทบในหลายๆ ด้าน ความเสี่ยงที่สำคัญของสื่อดิจิทัล มีดังนี้
- ความล้าสมัยทางเทคโนโลยี เทคโนโลยีและรูปแบบไฟล์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่ใช้เป็นสื่อจัดเก็บข้อมูลนั้นล้าสมัย ทำให้การกู้คืนสื่อเหล่านั้นอาจทำได้ยากและมีค่าใช้จ่ายสูง
- ความปลอดภัยทางไซเบอร์และความเป็นส่วนตัว การเก็บรักษาข้อมูลดิจิทัลอาจเผชิญภัยคุกคามจากการโจมตีทางไซเบอร์ การรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลและการถูกคุกคามทางออนไลน์
- การขาดนโยบายและมาตรฐานการอนุรักษ์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งหลายองค์กรยังขาดแนวทางและมาตรการที่ชัดเจนในการจัดการและอนุรักษ์ข้อมูลดิจิทัล
- ข้อผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์ เช่น การลบ การแก้ไข การทุจริต การจัดการที่ไม่ดี ซึ่งควรกำหนดกฎระเบียบ การควบคุมการเข้าถึงเนื้อหาภายในองค์กร
- การไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด กฎหมาย นโยบาย อาจส่งผลให้เกิดการสูญเสียทางการเงิน ชื่อเสียงและความไว้วางใจต่อหน่วยงานภายในและภายนอกองค์กร
ความสำคัญของการอนุรักษ์มรดกดิจิทัล
การอนุรักษ์มรดกดิจิทัลเป็นภารกิจที่สำคัญและท้าทาย ซึ่งต้องอาศัยการวางแผนและดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและความต้องการของผู้ใช้งานในอนาคต การอนุรักษ์ที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงช่วยป้องกันการสูญเสียข้อมูลที่มีคุณค่าแต่ยังเป็นการส่งต่อความรู้ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมให้กับคนรุ่นหลังได้เรียนรู้และเข้าใจรากเหง้าทางประวัติศาสตร์ซึ่งมีความสำคัญ ดังนี้
- การปกป้องข้อมูลและความรู้ทางวัฒนธรรม เช่น บันทึกทางประวัติศาสตร์ งานศิลปะ ภาพถ่าย และเอกสารสำคัญที่เป็นแหล่งข้อมูลสะท้อนถึงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม
- การลดความเสี่ยงจากการสูญหาย เช่น ความเสื่อมของฮาร์ดแวร์ ความล้าสมัยของซอฟต์แวร์ หรือภัยธรรมชาติ
- การส่งเสริมการเข้าถึงและการเรียนรู้ ช่วยให้เข้าถึงข้อมูลได้โดยไม่ถูกจำกัดด้วยเวลาและสถานที่
- การรักษาความทรงจำและมรดกทางวัฒนธรรม การอนุรักษ์มรดกเหล่านี้จะช่วยให้สามารถเรียนรู้และเข้าใจประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ
- การส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยมรดกดิจิทัลเป็นแหล่งข้อมูลที่มีคุณค่าสำหรับการศึกษาและการวิจัยในหลากหลายสาขา เช่น ประวัติศาสตร์ โบราณคดี และมานุษยวิทยา
- การสร้างสรรค์และนวัตกรรม สามารถนำมาใช้เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ
- การส่งเสริมความเข้าใจและความหลากหลายทางวัฒนธรรมช่วยให้เข้าถึงและเรียนรู้ความหลากหลายทางวัฒนธรรม

วิธีการอนุรักษ์มรดกดิจิทัล
การประเมินและคัดเลือกข้อมูล โดยเริ่มจากการประเมินและคัดเลือกข้อมูลหรือสื่อดิจิทัลที่มีคุณค่าและควรอนุรักษ์ โดยพิจารณาจากความสำคัญทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และสังคม เช่น เอกสารทางประวัติศาสตร์ หรือข้อมูลวิจัยที่มีคุณค่าทางวิชาการ
การแปลงข้อมูล สำหรับข้อมูลที่ยังอยู่ในรูปแบบอนาล็อก ควรแปลงให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลเพื่อง่ายต่อการจัดเก็บและอนุรักษ์
การจัดเก็บและจัดการ การจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบที่ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เช่น การใช้ไฟล์มาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับ และการใช้ระบบจัดเก็บข้อมูลที่ปลอดภัยและมีการสำรองข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ
การบันทึก Metadata เป็นข้อมูลที่อธิบายลักษณะเฉพาะของมรดกดิจิทัล เช่น วันที่สร้างไฟล์ ผู้สร้าง หรือรูปแบบไฟล์ Metadata ช่วยให้การค้นหาและการบริหารจัดการข้อมูลมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การสำรองข้อมูล และการกระจายข้อมูล การสำรองข้อมูลในสถานที่ต่างๆ และสื่อจัดเก็บที่หลากหลายจะช่วยลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติทางธรรมชาติหรือปัญหาทางด้านเทคนิค
การตรวจสอบและอัปเดตข้อมูล ควรตรวจสอบสภาพของไฟล์และสื่อจัดเก็บเป็นระยะๆ รวมถึงการอัปเดตไฟล์ให้รองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้ข้อมูลยังคงสามารถเข้าถึงได้ในอนาคต
การจำลองข้อมูล การใช้ซอฟต์แวร์ที่จำลองการทำงานของฮาร์ดแวร์หรือระบบปฏิบัติการเดิมเพื่อให้สามารถเปิดไฟล์ดิจิทัลเก่าบนระบบใหม่ได้
การเก็บรักษาข้อมูล หลายๆ สถานที่หรือบนระบบคลาวด์เพื่อกระจายความเสี่ยงและเพิ่มความปลอดภัยของข้อมูล
การเผยแพร่และเข้าถึง ควรจัดทำระบบหรือแพลตฟอร์มที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวกและปลอดภัย
การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างองค์กรและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์มรดกดิจิทัลเพื่อแลกเปลี่ยนทรัพยากรและความรู้
การให้ความรู้และสร้างความตระหนัก โดยจัดกิจกรรมอบรมและเผยแพร่ข้อมูลเพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์มรดกดิจิทัล
ปัจจัยที่มีผลต่อการอนุรักษ์มรดกดิจิทัล
ด้านวัฒนธรรม กลุ่มคนส่วนใหญ่ยังขาดการตระหนักรู้เกี่ยวกับคุณค่าทางประวัติศาสตร์และความสำคัญของมรดกดิจิทัล ซึ่งส่งผลให้ขาดการดูแลรักษาเอกสารอย่างเหมาะสมจนส่งผลให้สูญเสียมรดกไปในที่สุด
ด้านเทคโนโลยี ความล้าสมัยของคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลและสื่อ การเปลี่ยนแปลงของระบบปฏิบัติการ รูปแบบ โปรแกรม อินเทอร์เฟซ รวมถึงปัญหาเกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูล เช่น ภัยคุกคาม ความเสี่ยง จุดอ่อน ผลกระทบ และมาตรการควบคุมวัตถุดิจิทัล
ด้านกฎหมาย ลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา ผู้รับผิดชอบทางกฎหมายในการเก็บรักษาเอกสาร สิทธิ์เข้าถึงเอกสาร และข้อจำกัดในการเผยแพร่เอกสาร
ด้านวิธีการ เกี่ยวกับเครื่องมือและมาตรฐานที่ใช้ในการประเมินวัสดุต่างๆ การคัดเลือกและการกำจัด การจัดเก็บ และการค้นคืนเอกสารดิจิทัล
ด้านเศรษฐกิจ เกี่ยวกับต้นทุนและเงินทุนในระยะสั้นและระยะยาว รวมถึงต้นทุนการแปลงเป็นดิจิทัล การลงทะเบียน การจัดเก็บ และต้นทุนการอัปเดตเอกสารดิจิทัล
ด้านสังคม การใช้งาน การเข้าถึงและความปลอดภัยของการเก็บรักษาข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล การทำให้ข้อมูลพร้อมเข้าถึงได้ในอนาคต
แนวทางการเก็บรักษามรดกดิจิทัล
- การทำพินัยกรรมดิจิทัล โดยระบุรายละเอียดของบัญชีออนไลน์และทรัพย์สินดิจิทัล จากนั้นกำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกดิจิทัล และระบุความต้องการเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลดิจิทัล
- การจัดการบัญชีออนไลน์และทรัพย์สินดิจิทัล ด้วยการรวบรวมข้อมูลบัญชีออนไลน์และรหัสผ่านทั้งหมด จากนั้นจัดทำวิธีการเข้าถึงรายการทรัพย์สินดิจิทัล และการใช้บริการจัดการมรดกดิจิทัลออนไลน์
- การเก็บรักษาข้อมูลส่วนตัวและไฟล์ดิจิทัล ควรดำเนินการสำรองข้อมูลสำคัญไว้ในรูปแบบที่ปลอดภัยและ
กำหนดผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลด้วยรหัสข้อมูลที่ปลอดภัย

วิธีการจัดการมรดกดิจิทัล
- รวบรวมข้อมูล ทำรายการบัญชีออนไลน์ทั้งหมด พร้อมชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน
- ระบุตำแหน่งที่เก็บไฟล์ดิจิทัลต่างๆ
- ทำรายการสินทรัพย์ดิจิทัล พร้อมรายละเอียดการเข้าถึง
- ระบุอุปกรณ์ดิจิทัลทั้งหมด พร้อมรหัสผ่าน
- คัดเลือกผู้จัดการมรดกดิจิทัล
- เลือกบุคคลที่ไว้ใจได้ เพื่อทำหน้าที่จัดการมรดกดิจิทัล
- แจ้งให้ผู้จัดการมรดกทราบถึงข้อมูลและวิธีการเข้าถึงข้อมูลดิจิทัล
- จัดทำพินัยกรรมดิจิทัล
- ระบุพินัยกรรมถึงความต้องการของเกี่ยวกับการจัดการมรดกดิจิทัล
- ระบุวิธีการเข้าถึงข้อมูลดิจิทัลต่างๆ
- ระบุบุคคลที่จะได้รับสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลดิจิทัล
- ใช้เครื่องมือจัดการมรดกดิจิทัล
- เครื่องมือสำหรับจัดการมรดกดิจิทัล เช่น Google Inactive Account Manager และ Facebook Legacy Contact
- การใช้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล
ข้อควรระวังและแนวทางปฏิบัติ
- การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลดิจิทัล ควรใช้รหัสผ่านที่ซับซ้อนและไม่ซ้ำกัน เปิดใช้งานการยืนยันตัวตนแบบสองขั้นตอน ระวังการหลอกลวงทางออนไลน์ และอัปเดตซอฟต์แวร์และระบบปฏิบัติการอย่างสม่ำเสมอ
- การเลือกผู้จัดการมรดกดิจิทัลที่น่าเชื่อถือ ควรเลือกบุคคลที่ไว้ใจได้และมีความรู้ทางด้านเทคโนโลยี
พร้อมกำหนดอำนาจหน้าที่และขอบเขตความรับผิดชอบให้ชัดเจน รวมถึงพิจารณาแต่งตั้งผู้จัดการมรดกสำรอง - การทบทวนและปรับปรุงแผนการเก็บรักษามรดกดิจิทัล ควรมีการทบทวนแผนการเก็บรักษามรดกดิจิทัลอย่างสม่ำเสมอและปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
การอนุรักษ์มรดกดิจิทัลไม่ใช่เพียงแค่การรักษาข้อมูล แต่เป็นการปกป้องประวัติศาสตร์และเอกลักษณ์ของมนุษยชาติจากการสูญหาย พร้อมทั้งสร้างโอกาสในการส่งต่อองค์ความรู้และคุณค่าทางวัฒนธรรมสู่คนรุ่นหลัง ดังนั้นความร่วมมือกันระหว่างนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี องค์กรภาครัฐและภาคประชาชนจึงเป็นกุญแจสำคัญในการรักษามรดกดิจิทัลให้คงอยู่ในอนาคต
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
Digital Preservation Coalition. (2025). What is digital preservation? สืบค้นจาก
https://www.dpconline.org/digipres/what-is-digipres
The Daily Guardian. (2024). Preserving the Digital Legacy: The Imperative of Digital Preservation
and Archiving”. สืบค้นจาก https://thedailyguardian.com/literature/preserving-the-digital-
legacy-the-imperative-of-digital-preservation-and-archiving/
Scientific and Cultural Organization. (2023). Concept of Digital Preservation. สืบค้นจาก
https://kasets.art/CwsJha
Jagdish Arora. (2018). Digital Preservation Part I. สืบค้นจาก
https://ebooks.inflibnet.ac.in/lisp8/chapter/digital-preservation-part-i/
Dynamic Intelligence Asia. (2567). Digital preservation. สืบค้นจาก
https://www.newworldencyclopedia.org/entry/Digital_preservation
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. (2567). แผนการสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล คลังปัญญา สถาบัน
บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สืบค้นจาก https://library.nida.ac.th/th/nidawr-preservation-plan/
แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
Balogun, T. (2025). Preserving digital heritage: assessing the compliance of digital repositories in
South Africa with OAIS and TDR standards. Records Management Journal.
https://doi-org.kasetsart.idm.oclc.org/10.1108/RMJ-11-2024-0047
Chiara Innocente, Francesca Nonis, Antonio Lo Faro, Rossella Ruggieri, Luca Ulrich, & Enrico
Vezzetti. (2024). A Metaverse Platform for Preserving and Promoting Intangible Cultural
Heritage. Applied Sciences, 14(8), 3426. https://doi.org/10.3390/app14083426
Ruiz, M., & Velasco, L. (2024). Privacy Preserving Digital Twin Knowledge Sharing for Multi-domain
Networks. 2024 Optical Fiber Communications Conference and Exhibition (OFC), Optical
Fiber Communications Conference and Exhibition (OFC), 2024, 1–3.
Han, Q., Lucas, C., Aguiar, E., Macedo, P., & Wu, Z. (2023). Towards privacy-preserving digital
marketing: an integrated framework for user modeling using deep learning on a data
monetization platform. Electronic Commerce Research, 23(3), 1701–1730.
https://doi.org/10.1007/s10660-023-09713-5
Rummelhoff, I., Gutierrez, E., Kristoffersen, T., Liabo, O., Ostvold, B. M., Plata, O., & Romero, S.
(2021). An Abstract Machine Approach to Preserving Digital Information. IEEE Access,
Access, IEEE, 9, 154914–154932. https://doi.org/10.1109/ACCESS.2021.3128382
Ruan, J., & McDonough, J. P. (2009). Preserving born-digital cultural heritage in virtual world.
2009 IEEE International Symposium on IT in Medicine & Education, IT in Medicine &
Education, 2009. ITIME ’09. IEEE International Symposium On, 1, 745–748.
https://doi.org/10.1109/ITIME.2009.5236324
Wu, X. (2023). Application of Virtual Reality Technology in the Digital Inheritance of Intangible
Cultural Heritage. 2023 International Conference on Distributed Computing and
Electrical Circuits and Electronics (ICDCECE), Distributed Computing and Electrical
Circuits and Electronics (ICDCECE), 2023 International Conference On, 1–6.
https://doi.org/10.1109/ICDCECE57866.2023.10151329
Lunt, B. M., Hyatt, D., Zhang, F., Saini, G., & Linford, M. R. (2008). Preserving Our Digital Heritage.
2008 Digest of Technical Papers - International Conference on Consumer Electronics,
Consumer Electronics, 2008. ICCE 2008. Digest of Technical Papers. International
Conference On, 1–2. https://doi.org/10.1109/ICCE.2008.4587848
Smith, B. (2002). Preserving tomorrow’s memory: Preserving digital content for future
generations. Information Services & Use, 22(2/3), 133.
https://doi.org/10.3233/ISU-2002-222-313
Ocón, D. (2021). Digitalising endangered cultural heritage in Southeast Asian cities: preserving or
replacing? International Journal of Heritage Studies, 27(10), 975–990.
https://doi.org/10.1080/13527258.2021.1883711