ห้องสมุดใหม่ในอนาคต (Future Library)
นางชนารัตน์ บุณยรัตพันธุ์*
นักเอกสารสนเทศปฏิบัติการ
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
จากสถานการณ์ COVID-19 ที่ผ่านมา ส่งผลให้บทบาทของห้องสมุดเปลี่ยนไป หลายแห่งต้องมีการปรับตัวในหลายรูปแบบมากขึ้น ที่เห็นชัดเจนเลยคือ การให้บริการพื้นที่ที่ส่งเสริมในเรื่องของบรรยากาศและสนับสนุนในเรื่องของอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ จนเกิดเป็นแนวคิด Co-Working Space ในช่วงหนึ่งที่ผ่านมานั้น และเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ต้องปรับตัวอีกครั้งหลังจากสถานการณ์ COVID-19 นี้ ตามมาตรการการรักษาระยะห่าง (Social Distancing) ทำให้รูปแบบการใช้พื้นที่เปลี่ยนไป เช่น จากโต๊ะกลุ่มเป็นโต๊ะเดี่ยว หรือจากการจัดกิจกรรม การประชุมรวมกลุ่มแบบเผชิญหน้ากลายเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านรูปแบบออนไลน์ เป็นต้น ซึ่งจากสภาวการณ์ที่ทุกคนยังต้องตั้งรับกับการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลานั้น ทำให้หลาย ๆ ห้องสมุดอาจไม่แน่ชัดกับบทบาทที่ควรจะเป็นหรือดำเนินการต่อ บ้างก็มีหลาย ๆ ทรรศนะว่าห้องสมุดยังคงจำเป็นอยู่หรือไม่ในยุคสมัยเช่นนี้ จึงได้ขอรวบรวมแนวคิด มุมมอง ข้อแนะนำที่น่าสนใจมาไว้เพื่อเป็นแนวทางในการปรับตัวของห้องสมุด หากจะยังคงอยู่ต่อไปในอนาคตให้ได้เป็นพื้นที่ที่ทุกคนยังคงนึกถึงและต้องการ โดยไม่แม้แต่เพียงพื้นที่ หรืออุปกรณ์ทางเทคโนโลยีดิจิทัลเท่านั้น แต่ยังหมายรวมไปถึงทรัพยากรสารสนเทศต่าง ๆ การบริการ บุคลากร และประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยขอสรุปไว้ดังนี้
ที่มา: Jin Weiqi. 2019. Designboom.com
Mr. Ng Cher Pong (CEO, National Library Board: NLB) ก่อนหน้านี้เคยเป็น CEO ของ SkillsFuture Singapore (SSG) มาก่อน ได้มีข้อแนะนำ 4 ข้อ ไว้ในบทความจากหนังสือพิมพ์ The Straits Times เรื่อง “Beyond Covid-19: The new roles libraries can play” โดยกล่าวถึงการปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับพฤติกรรมใหม่ ๆ ของผู้ใช้บริการ ไว้ว่ามีดังนี้
- To move beyond reading to facilitate learning (จาก “อ่าน” สู่ “การเรียนรู้”)
เป็นในแง่ของการสร้างสภาพแวดล้อม และอำนวยความสะดวกในเรื่องของการเรียนรู้ให้กับผู้ใช้บริการ และการเรียนรู้ที่เราต้องอำนวยความสะดวกต้องเป็นการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์เฉพาะแก่ผู้ใช้บริการเป็นรายบุคคล (Personalized Learning) - และแนวโน้มที่สำคัญคือ การเรียนรู้ตลอดชีวิตและการเรียนรู้เพื่อให้เราสามารถดำรงอยู่ได้ในอนาคต
- To move beyond books to curating programs (จาก “หนังสือ” สู่ “การจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้”)
“บรรณารักษ์” จำเป็นต้องมีวิธีการถ่ายทอด และสื่อสารเนื้อหาที่น่าสนใจให้กับผู้ใช้บริการ เช่น SURE แคมเปญที่ห้องสมุดสิงคโปร์ต้องการสร้างแนวคิดวิธีการหาความจริงจากการอ่านวรรณกรรม เป็นต้น
- To move beyond collecting to engagement with Singaporeans (Community) (จาก “การจัดเก็บ” สู่ “การสร้างความผูกพันในชุมชน”)
ห้องสมุดไม่สามารถซื้อหนังสือได้ทุกเล่มที่มีในท้องตลาด และมีข้อจำกัดเรื่องการจัดเก็บหนังสือ (พื้นที่ไม่สอดคล้องกับจำนวนหนังสือ) ซึ่งหนังสือหลายเล่มที่ห้องสมุดซื้อมาบางทีก็ไม่เคยถูกใช้เลย ดังนั้นจากการอ่านและหนังสือ ตอนนี้ได้ถูกเปลี่ยนเป็นการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมส่งเสริมแทน ซึ่งหากตอบโจทย์ชุมชนได้ก็จะเป็นสิ่งที่ดีและเกิดประโยชน์ คนที่ตกงานก็จะกลับมาหางาน กลับมาอัพเดทความรู้
- To move beyond physical to Omni-channel modalities (จาก “กายภาพ” สู่ “การสร้างช่องทางใหม่ ๆ”)
ผู้ใช้บริการบางส่วนตอนนี้ย้ายไปอยู่บน Platform ออนไลน์ และก็มีผู้ใช้บริการบางส่วนรอการเปิดห้องสมุด (สถานที่) ถ้าเราสามารถส่งเสริมให้ผู้ใช้แต่ละกลุ่มได้ลองใช้ Platform ที่เขาไม่คุ้นชินและบูรณาการทั้ง กายภาพ และ ดิจิทัล เข้าด้วยกันได้ก็จะเป็นการดี ซึ่งหากเน้นออนไลน์อย่างเดียว คำถามที่จะตามมาคือ “ทำไมต้องมีสถานที่” แต่หากเน้นสถานที่อย่างเดียว คำถามที่ตามมาคือ “ถ้าเกิดวิกฤตอีกครั้งผู้ใช้บริการจะต้องรอห้องสมุดเปิดเมื่อไหร่”
นอกจากแนวทางการปรับเปลี่ยนในเบื้องต้นแล้วนั้น การสร้างความมั่นใจให้กับเจ้าหน้าที่ห้องสมุดและผู้ใช้บริการรู้สึกปลอดภัย ก็เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งมี 8 ข้อแนะนำดังนี้
- Offer mobile checkout
ยืมคืนผ่านอุปกรณ์ Mobile ของแต่ละคนได้เลย จากเดิม ยืมหนังสือผ่านเจ้าหน้าที่ห้องสมุด เปลี่ยนเป็น ยืมหนังสือผ่านโทรศัพท์มือถือของตัวเอง (ถ่ายภาพหนังสือ หรือสแกนบาร์โค้ตของหนังสือ ผ่าน Application ของห้องสมุด)
- Reduce physical contact
บริการหลาย ๆ อย่างภายในห้องสมุดยังมีจุดสัมผัสที่ค่อนข้างมาก หากเราสามารถลดการสัมผัสในจุดต่าง ๆ ภายในอาคารห้องสมุดได้จะทำให้เราลดความเสี่ยงไปด้วย เช่น การชำระค่าปรับด้วยระบบ E-payment หรือ QR Code เป็นต้น
- Expand delivery services
หากต้องปิดให้บริการอาคารห้องสมุด หรือผู้ใช้บริการไม่สามารถเดินทางมาที่ห้องสมุดได้ บริการจัดส่งก็น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีให้กับผู้ใช้บริการ ซึ่งการจัดส่งอาจแบ่งออกได้เป็น การนัดให้ผู้ใช้บริการมารับ ณ ตู้ยืมหนังสืออัตโนมัติ (Vending Machine) หรือไปส่งให้ถึงบ้านผู้ใช้บริการ ก็ลองเลือกดูแล้วแต่ความเหมาะสม
- Quarantine returns
การกักตัว ในที่นี้หมายถึง หนังสือที่เพิ่งจะถูกคืน ก็ควรจะกักตัวเล่มไว้ก่อน ยังไม่สามารถให้บริการได้ทันที เนื่องจากเราไม่แน่ใจว่าผู้ที่ยืมก่อนหน้ามีการแพร่เชื้อโรคลงในตัวหนังสือหรือไม่ เช่น เผลอจามลงมาในหน้าใดหน้าหนึ่งของหนังสือ เป็นต้น
- Limit building occupancy
จำกัดการเข้าใช้บริการโดยระบุจำนวนที่เหมาะสม หรือ การเข้าใช้พื้นที่ภายในห้องสมุดก็ต้องมีการรักษาระยะห่างระหว่างบุคคลที่ชัดเจน
- Provide for vulnerable users
ดูแลผู้ใช้บริการที่มีความเสี่ยงเป็นพิเศษ เช่น เด็กและผู้สูงอายุ อาจต้องได้รับการบริการที่พิเศษและระมัดระวังมากกว่ากลุ่มผู้ใช้บริการประเภทอื่น ๆ
- Enhance digital access
พัฒนาช่องทางในการเข้าถึงแบบดิจิทัล เช่น ฐานข้อมูล E-book E-journal เป็นต้น
- Grow digital collections
เพิ่มจำนวนสื่อดิจิทัลให้มากขึ้น
ซึ่งในข้อแนะนำทั้งหมดที่กล่าวมานั้น เชื่อว่าหลายห้องสมุดก็ได้ปรับเปลี่ยนไปพอสมควรแล้ว แต่หากจะนำไปเป็นแนวทางประกอบ อาจเป็นในแง่ของการตระหนักเพิ่มขึ้น โดยการนำข้อมูลปัญหาที่พบหรือความสำเร็จที่เกิดขึ้นมาปรับให้เกิดเป็นมาตรฐานในการบริการ เพื่อคุณภาพที่ดียิ่งขึ้นต่อไปก็ได้
นอกจากนี้ มีกรณีศึกษาจากบริการใหม่ของห้องสมุด DCU (Dublin City University) – ประเทศไอร์แลนด์ ที่ให้บริการเฉพาะนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยเท่านั้น ประเภททรัพยากรที่ให้บริการสแกนได้มีเพียงหนังสือและวารสารเท่านั้น ส่วนทรัพยากรที่ไม่สามารถให้บริการในรูปแบบนี้ได้ เช่น วิทยานิพนธ์ หนังสือพิมพ์ หนังสือที่มีขนาดใหญ่กว่า A4
โดยมีเงื่อนไขและได้เขียนไว้เป็นลิขสิทธิ์อย่างชัดเจนว่า “ขอสแกนบทความเพียง 1 บท จากวารสาร หรือ เนื้อหา 1 บทของหนังสือ จาก Collection สิ่งพิมพ์ของ DCU Library เท่านั้น”
ซึ่งในแบบฟอร์มออนไลน์จะให้เราแสดงเจตนารมณ์ว่าด้วยเรื่องการขอสแกนดังนี้
1) วัสดุนั้นจำเป็นสำหรับวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์หรือการศึกษาส่วนตัว
2) คุณไม่เคยได้รับสำเนาของวัสดุเดียวกันนี้มาก่อนโดย DCU Library หรือห้องสมุดที่อื่น
3) ระบบจะเก็บสำเนากระดาษแผ่นเดียวไว้และสำเนาอิเล็กทรอนิกส์จะถูกทำลายหากพิมพ์รายการ
4) คุณจะไม่ทำหรือแจกจ่ายสำเนาใด ๆ เพิ่มเติมทั้งในรูปแบบกระดาษหรือรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์
จากกรณีศึกษานี้ เป็นเหตุให้หลายคนตั้งข้อสันนิษฐานเพิ่มเติมได้ว่า “บริการนี้จะสามารถทำได้หรือไม่ในห้องสมุดเมืองไทย” “หากทำได้ห้องสมุดจะต้องปฏิบัติอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์” และ “หากทำไม่ได้คิดว่าเป็นเพราะอะไรหากไม่ได้ติดเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์”
- มุมมอง 5 ปี ต่อจากนี้ กับการเดินทางของห้องสมุด
มีประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือ “The Next Five Years” ในบทที่ 1 ของหนังสือเล่มหนึ่งที่กล่าวเกี่ยวกับ “Digital Information Strategies” ไว้ ที่ผู้เขียนได้เล่าถึงการศึกษาอนาคตและแนวโน้มของห้องสมุด โดยใช้เทคนิคที่ชื่อว่า “Delphi” ในการสัมภาษณ์และพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญจากหลายวิชาชีพ
- ข้อคิดเพื่อการปรับเปลี่ยนห้องสมุดในอนาคต
จากการ Work from home ที่ผ่านมา ทำให้เกิดแนวคิด Third Place สำหรับคนที่เบื่อเมื่อต้องทำงานที่บ้านนาน ๆ และออฟฟิตก็ยังไม่สามารถเข้าไปทำงานได้ จึงมองว่า “การมี Third Place อาจตอบโจทย์ได้”
อีกทั้ง ความรู้เฉพาะทางสามารถหาได้ง่ายขึ้น ห้องสมุดไม่ใช่แค่ที่อ่านอีกต่อไปแล้ว แต่ต้องเน้นการสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ กระบวนการในการเรียนรู้ให้เพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่น่าสนใจไว้เป็นข้อคิด ดังนี้
- ข้อมูล ความรู้จากหนังสือในห้องสมุด บรรณารักษ์สามารถเลือกและนำมาเล่าในรูปแบบง่าย ๆ ได้ผ่าน Social Media
- ต้องระมัดระวังเรื่องลิขสิทธิ์มากยิ่งขึ้น
- Social Media ใคร ๆ ก็เขียน Content ได้ ข่าวลวง ข่าวจริง แยกแยะอย่างไรบรรณารักษ์ตอบได้หรือไม่
- Physical Distancing เราสามารถให้บริการผ่าน Online ได้หรือไม่ หรือถ้าผู้ใช้ไม่สามารถเดินทางมาหาเรา เรามี Mobile Library หรือไม่
- Content marketing สำคัญมาก
- เราไม่สามารถเก่งได้ด้วยตัวคนเดียว หลายหัวดีกว่าหัวเดียว
- พื้นที่ภายในห้องสมุดปรับเปลี่ยนได้หรือไม่
- สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ หรือ สร้างประสบการณ์เรียนรู้ใหม่ ๆ ในพื้นที่ห้องสมุด
- การจัดหนังสือแบบเดิมจะค่อย ๆ หายไป จัดหมวดหมู่ตามเนื้อหาที่เป็นที่สนใจน่าจะดีกว่า
- เราต้องเป็น “ที่พึ่ง” ของทุกคนในชุมชนให้ได้
และหากต้องการทราบที่มาหรือแนวคิดเกี่ยวกับ “รถห้องสมุดเคลื่อนที่รูปเต่าทอง” จากภาพด้านบนเพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน สังคม รวมถึงรายละเอียดอื่น ๆ เพิ่มเติมนั้น ก็สามารถศึกษาได้จากแหล่งอ้างอิงด้านล่างที่ได้รวบรวมไว้นี้
Libraryhub. 2020. 4 บทบาทใหม่ที่ห้องสมุดควรทำหลัง COVID-19 (NEXT NORMAL FOR LIBRARY). สืบค้นจาก
http://www.libraryhub.in.th/2020/09/26/4-new-library-roles-next-normal-for-library/ เมื่อวันที่ 27
ตุลาคม 2563.
Libraryhub. 2020. “5 สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต” จากผู้นำความคิดในวงการห้องสมุด. สืบค้นจาก
http://www.libraryhub.in.th/2020/06/24/5-things-in-future-library-technology-from-thinkers/
เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2563.
Libraryhub. 2020. 8 แนวทางในการสร้างความมั่นใจเจ้าหน้าที่ห้องสมุดและผู้ใช้บริการให้รู้สึกปลอดภัย.
สืบค้นจาก http://www.libraryhub.in.th/2020/09/23/8-ensure-library-staff-and-users-feel-safe/
เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2563.
Libraryhub. 2020. [ร่วมกันวิพากษ์อย่างสร้างสรรค์] เมื่อห้องสมุดมีบริการใหม่ SCAN & SEND. สืบค้นจาก
http://www.libraryhub.in.th/2020/09/08/what-do-you-think-scan-and-send-new-service-from-
library/ เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2563.
BuilderNews. 2019. ห้องสมุดเคลื่อนที่รูปเต่าทอง ดีไซน์เพื่อการแบ่งปัน. สืบค้นจาก https://www.buildernews.
in.th/news-cate/news-updates/25773 เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2563.
Libraryhub. 2020. “THE NEXT FIVE YEARS: อีกห้าปีหลังจากนี้ … ห้องสมุดจะ …”. สืบค้นจาก
http://www.libraryhub.in.th/2020/08/18/the-next-five-years-library-will-change/ เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม
2563
Ewen, L. (2020). Virus Responsive Design: In the age of COVID-19, architects merge future-facing
innovations with present-day needs. American Libraries, 51 (9-10), 36-40. Retrieve from
http://eds.a.ebscohost.com/eds/pdfviewer/pdfviewer?vid=0&sid=aa3f5f64-d0c2-4e79-b28f-
776fb47d4ad6%40sdc-v-sessmgr02
Macdonald, H. (2020). Surviving Covid-19: Facing closures and budget shortfalls, libraries look for
new ways to support graphic novels amid the ongoing pandemic. Publishers Weekly, 267 (23),
57-62. Retrieve from http://eds.a.ebscohost.com/eds/pdfviewer/pdfviewer? vid=0&sid
=4e4cb845-f328-4a7c-ba65-3850b466bc18%40sdc-v-sessmgr03
Peet, L. (2020). Budgeting for the New Normal: As COVID-related budget cuts hit libraries,
directors and deans must decide what their communities need most.
Library Journal, 145 (9), 14-19. Retrieve from http://eds.a.ebscohost.com/eds/pdfviewer/
pdfviewer?vid=0&sid=4a24c907-7fb4-47f6-8d29-cc1532da48fe%40sdc-v-sessmgr02