‘กระท่อม’สมุนไพรรักษาโรคในวันที่ถูกกฎหมาย
ผู้เรียบเรียง
กัณฐิกา เดชแสง
บรรณารักษ์ปฎิบัติการ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
กระท่อมเป็นพืชในวงศ์เข็มและกาแฟ (Rubiaceae) โดยมีลักษณะ
เป็นไม้ยืนต้น สูงราว 15-30 เมตร มีใบหยัก ทนแดด ชอบฝน แต่ไม่ชอบอากาศหนาว เติบโตได้ดีในที่ชุ่มชื้น ความชื้นสูง ดินอุดมสมบูรณ์ และมีแสงแดดปานกลาง จึงทำให้สามารถปลูกและดูแลได้ง่าย พบในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในไทยมีอยู่ 3 พันธุ์ คือ พันธุ์แตงกวา พันธุ์ยักษาใหญ่ และพันธุ์ก้านแดง พบมากในป่าธรรมชาติบริเวณภาคใต้
แต่เดิมนั้น พืชกระท่อมในประเทศไทยถูกระบุในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 พ.ศ. 2522 มาตรา 3 ในปัจจุบันมีการปลดล็อคพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2564 โดยประชาชนทั่วไปสามารถปลูก จำหน่าย หรือบริโภคได้อย่างเสรี แต่มีข้อจำกัดคือ ห้ามนำไปผลิตเป็นยาเสพติดและห้ามจำหน่ายให้กับเด็กอายุตำ่กว่า 18 ปี
สรรพคุณของพืชกระท่อม
ในใบกระท่อมประกอบไปด้วยสารแอลคะลอยย์ มิตราไจนีน สเปโอไจนีน ไนแนนทีน และสเปซิโอซีเลียทีน เป็นสารที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาในหลายระบบและถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคอย่างกว้างขวาง มีฤทธิ์ในการบรรเทาความปวดและต้านอักเสบ สามารถใช้รักษาอาการท้องเสีย ท้องร่วง อีกทั้งยังช่วยลดน้ำตาลในเลือด ลดความอยากอาหาร ลดอาการปวดตามกล้ามเนื้อและข้อ รวมทั้งรักษาโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูงได้
การบริโภคใบกระท่อม
การทานใบกระท่อมจะต้องนำก้านใบออกจากใบเสียก่อน ส่วนใหญ่มักจะบริโภคโดยการเคี้ยวใบสด นำไปต้มดื่ม หรือนำไปบดเป็นผงแล้วนำไปละลายน้ำดื่ม
ข้อควรระวัง
การทานใบกระท่อมควรทานในปริมาณที่ไม่มากจนเกินไป เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงขึ้นได้หรือเกิดอาการเสพติดการทานใบกระท่อมได้ อาจเกิดอาการเมา เกิดภาพหลอน หนาวสั่น ท้องผูก คลื่นไส้ อาเจียน และนอนไม่หลับ เป็นต้น
อ้างอิง
"ใบกระท่อม สรรพคุณทางยา ประโยชน์และโทษ" โดย ผศ.ดร.นิวัติ แก้วประดับ ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
"กระท่อม..พืชที่ทุกคนอยากรู้" โดย ดร. ภก. สมนึก บุญสุภา ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
‘ทนแดด ลดหวาน แก้ปวด’ ยอดสมุนไพรใบกระท่อม ในวันที่ไม่ผิดกฎหมายอีกต่อไป
https://thematter.co/social/kratom-field-moo12-pathumthani/134404
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
สาวิตรี อัษณางค์กรชัย, & อาภา ศิริวงศ์ ณ อยุธยา. (2005). พืชกระท่อมในสังคมไทย. สำนักงบประมาณความช่วยเหลือด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.
มูฮัมมัดฟาห์มี ตาเละ, & กนิษฐา ไทยกล้า. (2018). พืชกระท่อมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. สถาบันสำรวจและติดตามการปลูกพืชเสพติด สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม.
อาภา ศิริวงศ์ ณ อยุธยา. (2012). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพในการศึกษาปัญหาสารเสพติด. สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Goh, Y. S., Karunakaran, T., Murugaiyah, V., Santhanam, R., Abu Bakar, M. H., & Ramanathan, S. (2021). Accelerated Solvent Extractions (ASE) of Mitragyna speciosa Korth. (Kratom) Leaves: Evaluation of Its Cytotoxicity and Antinociceptive Activity. Molecules, 26(12), 3704. https://doi.org/10.3390/molecules26123704
Singh, D., Narayanan, S., Grundmann, O., Chear, N. J. Y., Murugaiyah, V., Hamid, S. B. S., Yusof, N. S. M., Dzulkapli, E. B., & Balasingam, V. (2020). Long-Term Effects of Kratom (Mitragyna speciosa) Use. Malaysian Journal of Medicine & Health Sciences, 16(4), 64–72.
URL :
Eastlack, S. C., Cornett, E. M., & Kaye, A. D. (2020). Kratom—Pharmacology, Clinical Implications, and Outlook: A Comprehensive Review. Pain & Therapy, 9(1), 55–69. https://doi-org.portal.lib.ku.ac.th/10.1007/s40122-020-00151-x