Hybrid Learning การเรียนรู้แบบผสมผสาน
ผู้เรียบเรียง
ดวงพร อรัญญพงษ์ไพศาล
บรรณารักษ์ชำนาญการ ฝ่ายบริการ
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Hybrid Learning การจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานที่เกิดจากการบูรณาการระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบในห้องเรียนร่วมกับการเรียนรู้แบบออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ โดยใช้สื่อการเรียนการสอนที่หลากหลายควบคู่กัน ซึ่งเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับบริบทของผู้เรียนและสถานที่ได้ จึงส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ เข้าถึงผู้เรียนและสอดคล้องกับโลกในยุคปัจจุบัน
องค์ประกอบของการเรียนแบบ Hybrid Learning
- Learning Environment สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เหมาะสมทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์
- Class Community การจำลองการเรียนในห้องเรียนให้เกิดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ ทุกคนสามารถช่วยกันให้ข้อมูล พูดคุยกันได้
- Lesson Design การสร้างเนื้อหาบทเรียนที่ทำให้ผู้เรียนสามารถนำข้อดีของเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ในการเรียนรู้ได้
- Engagement and Interactivity ระหว่างการเรียนรู้แบบออนไลน์หรือออฟไลน์ จะต้องมีกิจกรรมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและโต้ตอบเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในการเรียน
- Assessment and Feedback จะต้องมีการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและให้ผลป้อนกลับได้
แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบ Hybrid Learning
- Maintain The Time Routine การเรียนการสอนยังใช้ตารางเวลาเรียนแบบเดิม แต่เปลี่ยนมาใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อสร้างวินัยในการเรียนแม้จะอยู่ที่บ้าน
- Assign Homework ผู้สอนควรมอบหมายการบ้านเป็นส่วนๆ ในแต่ละครั้งที่จัดการเรียนการสอน
- Create Learning Media ผู้สอนต้องเตรียมหรือสร้างสื่อการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ
- Live without Everyone to Join การสอนออนไลน์ไม่จำเป็นต้องสอนสดตลอดเวลา เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนอาจมีความพร้อมในด้านอุปกรณ์ เวลาไม่เท่ากัน อาจใช้การพูดคุยกันหลังจากผู้เรียนได้ดูสื่อการเรียนรู้มาแล้ว
- Don’t The Learners Stay with a Monitor All Day ผู้สอนควรให้ผู้เรียนทำกิจกรรมที่หลากหลาย อย่าให้ผู้เรียนอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งวัน
- Get Parents Participate ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่สามารถให้ผู้ปกครองได้ร่วมกันทำกับผู้เรียนได้ อาจส่งแผนการเรียนให้ผู้ปกครองทราบและช่วยติดตามผลการเรียนได้ด้วย
- Use Online Platform ใช้เครื่องมือจัดการเรียนรู้ออนไลน์ต่างๆ ที่สามารถแบ่งปันสื่อการเรียนรู้
การประยุกต์ใช้ Hybrid Learning
- การสอนออนไลน์สด ควรใช้เวลา 45 นาที –1 ชั่วโมงต่อครั้ง ไม่ควรสอนเกิน 6-8 ชั่วโมงต่อเนื่องกันใน 1 วัน
- ผู้สอนต้องสร้างสื่อการเรียนการสอน อาจแบ่งออกเป็น 2-3 ตอนในแต่ละบทเรียน และแต่ละตอนใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที การทำสื่อการสอนจาก PowerPoint แปลงเป็นคลิปวิดีโอแบบง่ายๆ และอัพโหลดคลิปวิดีโอไว้บน YouTube
- ผู้สอนควรจัดทำสื่อในรูปแบบเอกสารดิจิทัล เพื่อให้ผู้เรียนที่ไม่สะดวกเปิดวิดีโอหรืออินเทอร์เน็ตไม่เสถียร สามารถอ่านและทบทวนเนื้อหาได้ง่าย
- การกระตุ้นความสนใจด้วยการเล่นเกมตอบคำถาม เพื่อให้ผู้เรียนตื่นตัวตลอดเวลา
- ผู้สอนควรสร้างห้องเรียนออนไลน์บนระบบคลาวด์ การอัพโหลดสื่อการเรียนรู้ ระบบส่งการบ้าน ระบบการสอบออนไลน์
- การแชร์ไฟล์เอกสารเพื่อทำงานร่วมกันแบบเรียลไทม์
ข้อดีของการเรียนรู้ แบบ Hybrid Learning
- ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนที่มีรูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
- สามารถดึงดูดและกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนได้ดี
- เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถค้นคว้าบทเรียนได้ทุกเวลา ทุกสถานที่
- ช่วยพัฒนาบุคลากรผู้สอนให้มีความสามารถหลากหลายขึ้น
- ตอบสนองต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นตลอดเวลา
- ผู้เรียนสามารถพูดคุยสอบถามกับครูผู้สอนได้สะดวกมากขึ้นผ่านช่องทางออนไลน์
- ลดการเดินทาง ทำให้ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย
- ผู้สอนมีเวลาเตรียมการสอนมากขึ้น และสามารถเข้าถึงนักเรียนได้มากขึ้น ผ่าน live-streaming หรือวิดีโอ
- ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักการเชื่อมโยงความรู้และเกิดการพัฒนาความคิดวิเคราะห์เชิงวิจารณญาณ ความคิดร้างสรรค์ โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่
ปัญหาและอุปสรรคของการจัดการเรียนการสอนแบบ Hybrid Learning
- การสร้างความตระหนักและตื่นตัวถึงความสำคัญของการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานแบบ Hybrid Learning
- การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีให้กระจายครอบคลุมทั่วประเทศ
- การส่งเสริมและสนับสนุนอย่างจริงจังของภาครัฐในการติดตามและประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ตลอดจนประเมินคุณภาพการเรียนการสอนให้เป็นมาตรฐานสากล
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
Audio Visual Design. (2565). ห้องเรียนยุคใหม่ รองรับการใช้งานแบบ Hybrid Learning. สืบค้น 20 พฤษภาคม 2565, จาก https://avl.co.th/blogs/hybrid-learning/
นรรัชต์ ฝันเชียร. (2564). Hybrid Learning ทางรอดของการศึกษาสมัยใหม่. สืบค้น 20 พฤษภาคม 2565, จาก https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/89235/-blog-teaartedu-teaart-
touchpoint. (2564). Hybrid Learning : การเรียนรู้แบบปรับเปลี่ยนได้. สืบค้น 23 พฤษภาคม 2565, จาก https://bit.ly/2Su3LD4
แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
Gupta, C. P., & Ravi Kumar, V. V. (2022). Hybrid Learning Challenges and Knowledge Management: Role of Information Technology. 2022 9th International Conference on Computing for Sustainable Global Development (INDIACom), Computing for Sustainable Global Development (INDIACom), 2022 9th International Conference On, 330–336. https://doi.org/10.23919/INDIACom54597.2022.9763167
Sedjelmaci, H., Senouci, S., Ansari, N., & Boualouache, A. (2022). A Trusted Hybrid Learning Approach to Secure Edge Computing. IEEE Consumer Electronics Magazine, Consumer Electronics Magazine, IEEE, IEEE Consumer Electron. Mag, 11(3), 30–37. https://doi.org/10.1109/MCE.2021.3099634
Li, H., Ren, Z., Xu, Y., Wenyuan, L., & Hu, B. (2022). A Multi-Data Driven Hybrid Learning Method for Weekly Photovoltaic Power Scenario Forecast. IEEE Transactions on Sustainable Energy, Sustainable Energy, IEEE Transactions on, IEEE Trans. Sustain. Energy, 13(1), 91–100. https://doi.org/10.1109/TSTE.2021.3104656
Purahong, B., Sithiyopasakul, S., Sithiyopasakul, P., Anuwongpinit, T., Archevapanich, T., & Vichaiva, P. (2021). Hybrid learning during the COVID-19 pandemic of engineering students at KMITL, Thailand. 2021 6th International STEM Education Conference (ISTEM-Ed), STEM Education Conference (ISTEM-Ed), 2021 6th International, 1–4.
https://doi.org/10.1109/iSTEM-Ed52129.2021.9625090
Yang, M., Qu, Q., Shen, Y., Zhao, Z., Chen, X., & Li, C. (2021). An Effective Hybrid Learning Model for Real-Time Event Summarization. IEEE Transactions on Neural Networks and Learning Systems, Neural Networks and Learning Systems, IEEE Transactions on, IEEE Trans. Neural Netw. Learning Syst, 32(10), 4419–4431.