Regenerative Agriculture (การเกษตรแบบปฏิรูป)

ผู้เรียบเรียง

ปิยะธิดา ปรางค์โคกกรวด

นักเอกสารสนเทศ ฝ่ายบริการ

 

         โดยทั่วไปการทำเกษตรอุตสาหกรรมจะเป็นแบบมุ่งใช้ทรัพยากรดินให้หมดไปและนำสารเคมีมาใช้ ในขณะที่การเกษตรปฏิรูปเพื่อฟื้นฟูดิน (Regenerative Agriculture) จะเป็นการเกษตรแนวใหม่ที่ฟื้นฟูและรักษาสุขภาพของดินให้มีความอุดมสมบูรณ์สนับสนุนความหลากหลายทางชีวภาพ ปกป้องแหล่งต้นน้ำ ปรับปรุงระบบนิเวศและเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นแนวทางจัดการผืนดินเพื่อการเกษตรแบบองค์รวม โดยใช้ประโยชน์จากการสังเคราะห์แสงในพืชเพื่อสร้างความสมดุลย์ของวงจรคาร์บอนในการฟื้นฟูสภาพดิน และสร้างความหนาแน่นและความต้านทานของแร่ธาตุในพืช ซึ่งนอกจากจะต้องปลอดสารเคมีแล้ว ฟาร์มแนวใหม่นี้ยังต้องเสริมด้วยการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ให้หลากหลายในพื้นที่เดียวกัน และที่สำคัญคือการไม่ถอนรากถอนโคนพืชผักต่าง ๆ ยามเก็บเกี่ยว เพื่อให้พืชสามารถสร้างชีวิตใหม่ และเป็นการทำให้สัตว์ใต้ดินกลับมาช่วยพรวนดิน และสร้างดินให้มีสุขภาพดีอีกครั้ง เพราะเมื่อดินมีสุขภาพดีก็จะสามารถกกักเก็บก๊าซเรือนกระจกได้มากขึ้น

      ขณะนี้ฟาร์มหลายแห่งทั่วโลกเริ่มให้ความสนใจการทำเกษตรแนวนี้เพิ่มมากขึ้น เช่น สหรัฐอเมริกามีการออกมาตรฐานใหม่เพื่อรองรับการทำการเกษตรภายใต้ชื่อ Regenerative Organic Certified (ROC) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์บนแบรนด์เพื่อใช้ในการยืนยันถึงความเป็นมิตรต่อดินของฟาร์มที่ผ่านมาตรฐานออร์แกนิกเบื้องต้นมาแล้ว หรือที่นิวซีแลนด์รัฐบาลได้ลงทุนช่วยเหลือเกษตรกรถึง 1 พันล้านเหรียญนิวซีแลนด์ เพื่อพลิกฟื้นที่ดินทำกินให้เขียวสด สะอาด และเป็นมิตรกับธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น

             คำว่า “Regenerative Agriculture “ ที่ฟังดูจะเป็นหน้าที่ของเกษตรกร แต่ความจริงแล้วผู้บริโภคก็สามารถมีบทบาทเพื่อตอบรับเทรนด์ดังกล่าว โดยใช้หลักการ Soil Science Society of America 5 ขั้นตอน ได้แก่

  1. กินให้หลากหลายทั้งพืชผักผลไม้ธัญพืช เพื่อให้เกษตรกรได้ปลูกผลผลิตที่หลากหลายตามไปด้วย
  2. สนับสนุนถั่วจากฟาร์มออร์แกนิก เพราะพืชต้นเล็กอย่างถั่วมีคุณสมบัติในการช่วยตรึงไนโตรเจนที่สามารถนำไปใช้ในดินได้อย่างเหมาะสม
  3. ถ้ายังกินเนื้อสัตว์อยู่ เลือกเนื้อสัตว์ที่เลี้ยงอย่างเป็นมิตร เพราะกระบวนการเลี้ยงสัตว์ที่ต้องใช้อาหารจำพวกพืชจากฟาร์มเชิงเดี่ยวที่นำไปอัดเม็ดนั่นเป็นภัยร้ายต่อหน้าดิน
  4. ลดการกินเหลือเพราะอาหารที่เน่าเสียจะสร้างมลพิษ หากนำไปทิ้งหรือฝังกลบในดิน ก็กลายเป็นการเพิ่มหน้าที่ให้ดินทำงานหนักขึ้น
  5. รู้จักการทำปุ๋ย เพราะเปลือกไข่หรือเศษกาแฟต่าง ๆ ล้วนมีประโยชน์ต่อดินทั้งสิ้น ถ้ารู้จักจัดการให้ถูกต้อง

ถึงแม้ขณะนี้ไทยอาจจะยังไม่มีการทำการเกษตรแบบ regenerative อย่างจริงจัง แต่ควรมีการสนับสนุนฟาร์มอินทรีย์ให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อเกษตรกรจะได้ปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ที่หลากหลาย ซึ่งจะกลายเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ผูกมิตรกับผืนดิน และช่วยโลกได้เช่นเดียวกัน

 INFO Regenerative

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

Big Data Thailand. 10 อันดับเทรนด์เทคโนโลยี และนวัตกรรมการเกษตร (Agriculture Innovations) สำหรับปี 2022. สืบค้น 31 พฤษภาคม 2565. Retrieved From https://bigdata.go.th/movements/top-10-agriculture-trendstechnologies-innovations-for-2022/

Greenery. Soil-friendly เทรนด์กินดียุคใหม่ที่ต้องใส่ใจและเป็นมิตรกับ ผืนดิน. สืบค้น 31 พฤษภาคม 2565.Retrieved From https://www.greenery.org/articles/soil-friendlyeating/

Only-Good-Stuff. Kisutanew Co.,Ltd. อะไรคือการเกษตรปฏิรูปเพื่อฟื้นฟูดิน (Regenerative Agriculture)?. สืบค้น 31 พฤษภาคม 2565. Retrieved From https://only-goodstuff.com/regenerative-agriculture/?sl=th

Rodaleinstitute.org. THE POWER of the PLATE: The Case for Regenerative Organic Agriculture in Improving

Human Health. Retrieved From https://rodaleinstitute.org/wpcontent/uploads/Rodale-Institute-The-Power-of-the-Plate-The-Case-for-Regenerative-Organic-Agriculture-in-Improving-Human-Health.pdf

TCDC (Thailand Creative & Design Center). Farming in New Zealand : คือฟาร์มเขียว คือฟาร์มแคร์. สืบค้น 31 พฤษภาคม 2565. Retrieved From https://www.creativethailand.org/view/article-read?article_id=32948

 

แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

Burns, E. A. (2021). Regenerative Agriculture: farmer motivation, environment and climate improvement.

Policy Quarterly, 17(3), 54–60. Retrieved From https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=edb&AN=152666601&site=eds-live

Gordon, E., Davila, F., & Riedy, C. (2022). Transforming landscapes and mindscapes through regenerative

agriculture. Agriculture and Human Values, 39(2), 809. Retrieved From https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=edsgao&AN=edsgcl.704147178&site=edslive

RHODES, C. J. (2017). The imperative for regenerative agriculture. Science Progress (1933-), 100(1), 80–129.

Retrieved From https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=edsjsr&AN=edsjsr.26406369&site=eds-live

Shannon Olsson, Minhaj Ameen, Saransh Bajpai, Gravikanth Gudasalamani, Chirag Gajjar, Srajesh Gupta,

Søren Hvilshøj, Jyotsna Krishnakumar, Crispino Lobo, Rohan Mukherjee, Abhayraj Naik, Ajay Raghavan, Hansika Singh, & Kesavan Subaharan. (2022). Framework For a Collective Definition of Regenerative Agriculture in India. Ecology, Economy and Society – The INSEE Journal, 5(1). Retrieved From

https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=edsdoj&AN=edsdoj.0b9257282e8f493db0a2db542d2c0d9d&site=eds-live

White, C. (2020). Why Regenerative Agriculture? American Journal of Economics and Sociology, 79(3), 799–Retrieved From https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=https://search.ebscohost.com/log

in.aspx?direct=true&db=eoh&AN=1931342&site=eds-live


 
 
 
1xbet casino siteleri bedava bahis kaçak bahis superbetin yeni giriş casino siteleri