Food Traceability เทรนด์อาหารตรวจสอบได้
ผู้เรียบเรียง
ปิยะธิดา ปรางค์โคกกรวด
นักเอกสารสนเทศ ฝ่ายบริการ
ในปัจจุบันผู้บริโภคหันมาใส่ใจกับสุขภาพมากขึ้น และเทรนด์ Food Traceability ของอาหารโลกกำลังมาแรง เป็นเทรนด์อาหารตรวจสอบและติดตามอาหารได้ โดยส่วนประกอบที่ใช้ในการผลิตอาหารมีการเชื่อมโยงข้อมูลของผู้ที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่การผลิตวัตถุดิบ กระบวนการแปรรูป ไปจนถึงการกระจายผลิตภัณฑ์อาหารสู่ผู้บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าสินค้ามีมาตรฐานและความปลอดภัย ทำให้การตรวจสอบที่มาของอาหารได้นั้นเป็นสิ่งสำคัญว่าอาหาร ผัก ผลไม้ มาจากที่ไหน ฟาร์มไหน ขั้นตอนการปลูกเป็นอย่างไร ฉีดยาฆ่าแมลงช่วงไหนซึ่งทำให้ผู้บริโภคสามารถวางแผนการบริโภคได้
โดยในยุคหลัง COVID-19 ธุรกิจเกษตรและอาหารไทย 4 กลุ่มหลัก ประกอบด้วย สินค้าปศุสัตว์ ประมง อาหารสัตว์ ผักและผลไม้ต้องเร่งดำเนินการเรื่อง Traceability อย่างจริงจัง เพราะสินค้าดังกล่าวถูกจับตาในเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยในสินค้า และเป็นกลุ่มสินค้าที่พึ่งพาตลาดสหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดที่ให้ความสำคัญกับระบบการตรวจสอบย้อนกลับอาหารค่อนข้างมาก
ปัจจัยที่ทำให้เทรนด์อาหารมุ่งสู่ Food Traceability |
Key Success ในการยกระดับ Traceability |
© พฤติกรรมผู้บริโภคให้ความสำคัญกับที่มาที่ไปของอาหารเพิ่มมากขึ้น © การตรวจสอบย้อนกลับแรงงานผิดกฎหมายเป็นหนึ่งในเหตุผลของการกีดกันทางการค้า © ผู้บริโภคยุคใหม่ต้องการทราบว่าอาหารที่รับประทานส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแค่ไหน © ผลจากการระบาดของโควิด 19 เป็นปัจจัยให้ผู้บริโภคกังวลในการบริโภคอาหาร |
© ติดตามกฎระเบียบการค้าใหม่ๆ © จัดเก็บข้อมูลห่วงโซ่การผลิตในรูปแบบดิจิทัล © ความร่วมมือทั้ง Ecosystem (เกษตรกร ผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้เชี่ยวชาญ และหน่วยงานภาครัฐ)
|
ทั้งนี้จะต้องมีการพัฒนาระบบการผลิตและขนส่งอาหารที่มีความโปร่งใส ดีต่อสุขภาพ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะมีการตรวจสอบย้อนกลับสินค้าอาหารโดยการบังคับติดฉลากเพื่อแสดงข้อมูลสินค้า เช่น โภชนาการ แหล่งที่มา ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ หรือมาตรฐานเพิ่มเติมของสานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) ของสหรัฐอเมริกาที่จะทำให้การตรวจสอบย้อนกลับของแหล่งที่มาอาหารจากเดิมที่ส่วนใหญ่เป็นรูปแบบเอกสารมาเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น และขณะนี้ Block Chain กำลังช่วยตอบสนองความต้องการนี้ ซึ่ง Block Chain จะช่วยให้มั่นใจว่า เมื่อมีการบันทึกข้อมูลแบบรวมศูนย์หรือกระจายศูนย์แล้วจะไม่สามารถดัดแปลงแก้ไขได้อีก สำหรับบริษัทอาหารและเครื่องดื่ม คุณลักษณะเช่นนี้สำคัญต่อผู้ค้าปลีกและผู้บริโภคเพราะเป็นการให้ข้อมูลแหล่งที่มาของอาหารที่น่าเชื่อถือที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
Blockdit. Food Traceability เทรนด์อาหารตรวจสอบได้ เทรนด์ใหม่ของผู้บริโภค. สืบค้น 12 กรกฎาคม 2565. Retrieved From https://www.blockdit.com/posts/61dfef03ad11052111206888
Cioworldbusiness. การใช้แนวทาง Multi-Enterprise ร่วมกับเทคโนโลยีบล็อกเชน เพื่อสร้าง Food Traceability. สืบค้น 12 กรกฎาคม 2565. Retrieved From https://www.cioworldbusiness.com/multi-enterprise-blockchain-food-traceability/
HUNTNEWS, บริษัท รีเจี้ยนลิ้งค์ จากัด. เจาะลึก Food Traceability โจทย์ท้าทายธุรกิจเกษตร-อาหารไทย. สืบค้น 12กรกฎาคม 2565. Retrieved From https://bit.ly/3IvOIhO
Krungthai COMPASS. July 2021 จับตาเทรนด์อาหารโลกหนุน Food Traceabilityโอกาสหรือความท้าทายอุตสาหกรรม เกษตรและอาหารไทย?. สืบค้น 12 กรกฎาคม 2565. Retrieved From https://bit.ly/3c5AyI6
Marketeeronline. ในวันที่ผู้บริโภคหันมาใส่ใจกับสุขภาพมากขึ้น และเทรนด์ Food Traceability ของโลกมาแรง. สืบค้น 12 กรกฎาคม 2565. Retrieved From https://marketeeronline.co/archives/226532
แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
Cocco, L., & Mannaro, K. (2021). Blockchain in Agri-Food Traceability Systems: a Model Proposal for a Typical Italian Food Product. 2021 IEEE International Conference on Software Analysis, Evolution and Reengineering (SANER), Software Analysis, Evolution and Reengineering (SANER), 2021 IEEE International Conference on, SANER, 669–678. Retrieved From https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=edseee&AN=edseee.9425984&site=eds-live
Hou, L., Li, Y., & Wang, Y. (2021). Research on Constructing Green Food Traceability Information Management System from the Perspective of Farmers’ Behavior. 2021 International Conference on E-Commerce and E-Management (ICECEM), E-Commerce and E-Management (ICECEM), 2021 International Conference on, ICECEM, 584–587. Retrieved From https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=edseee&AN=edseee.9636941&site=eds-live
Jie Zhao, An Li, Xinxin Jin, & Ligang Pan. (2020). Technologies in individual animal identification and meat products traceability. Biotechnology & Biotechnological Equipment, 34(1), 48–57. Retrieved From https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=edsdoj&AN=edsdoj.89daf712217841d4bfc6c6140390ef51&site=eds-live
Marchesi, L., Mannaro, K., Marchesi, M., & Tonelli, R. (2022). Automatic Generation of Ethereum-Based Smart Contracts for Agri-Food Traceability System. IEEE Access, Access, IEEE, 10, 50363–50383. . Retrieved From https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=edseee&AN=edseee.9764720&site=eds-live
Rao, E. S., Shukla, S., & Rizwana. (2022). Food traceability system in India. Measurement: Food, 5. Retrieved From https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=edselp&AN=S2772275921000162&site=eds-live