กระบกไม้ป่าสู่การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์
ผู้เรียบเรียง
ปิยะธิดา ปรางค์โคกกรวด
นักเอกสารสนเทศ ฝ่ายบริการ
กระบก ชื่อสามัญ Barking deer's mango, Wild almond: ชื่อวิทยาศาสตร์ Irvingia malayana Oliv. ex A.W.Benn. จัดอยู่ในวงศ์กระบก (IRVINGIACEAE) ไม้ป่ายืนต้นขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ที่มีอยู่ทั่วทุกภูมิภาค มีลักษณะเป็นทรงพุ่ม มีเรือนยอดขนาดใหญ่ โดยสถานีวิจัยและฝึกอบรมวนเกษตรตราด ได้ถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกร ชาวบ้านอนุรักษ์พันธุ์ต้นกระบกไว้เพื่อสร้างมูลค่า และเพิ่มคุณค่าให้แก่ต้นกระบก
ประโยชน์: เนื้อไม้ สามารถใช้ทำเครื่องมือกสิกรรม เช่น ด้ามมีด ด้ามจอบ หรือนำไปเผาเป็นถ่าน ใบ แก้คันผิวหนัง เมล็ดกระบก มักนิยมนำไปคั่ว มีกลิ่นเฉพาะตัว เรียกว่า อัลมอนด์อีสาน ซึ่งมีคุณค่าทางอาหาร มีเส้นใยอาหารสูง สามารถนำไปแปรรูปเป็นแป้ง ข้าวเกรียบจากกระบกและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ใบอ่อน ใช้เป็นผักเครื่องเคียงเมนูลาบ น้ำมันจากเมล็ดกระบก ใช้ทำเทียนไข สบู่ โดยมีผลงานวิจัยจากการศึกษาการสกัดน้ำมันจากเนื้อเมล็ดกระบกเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการผลิตเป็นสบู่ก้อน ผลการศึกษาพบว่าสบู่ก้อนที่สกัดจากน้ำมันเมล็ดกระบกมีคุณสมบัติผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์สบู่ตามท้องตลาด
โดยกระบกสมุนไพรหรืออัลมอนด์เมืองไทยที่หากินได้ในช่วงปลายฝนต้นหนาว นอกจากจะเป็นไม้ป่ายืนต้นที่สามารถสร้างรายได้ให้กับผู้คนแล้ว เมล็ดกระบกยังให้คุณค่าและบำรุงร่างกายได้อีกด้วย อาทิเช่น การเพิ่มคุณค่ากระบกเป็น “กระบกเคลือบคาราเมล” ซึ่งมีคุณประโยชน์ทางโภชนาการหลากหลาย เหมาะกับทุกเพศทุกวัย จึงทำให้หลายคนอยากกลับมาทานกระบกอีกครั้ง นอกจากนี้การอุดหนุนผลิตภัณฑ์กระบกเคลือบคาราเมลถือเป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชน เนื่องจากทุกเมล็ดกระบกจะถูกกะเทาะเปลือกด้วยฝีมือชาวบ้านในชุมชนแบบแฮนด์เมด นำมาปรุงรสให้ทานง่าย จนกลายเป็นกระบกเคลือบคาราเมล ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมาก จนสามารถขยายเครือข่าย สร้างรายได้ให้เพิ่มมากขึ้น
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
เทคโนโลยีชาวบ้าน, บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน). แปลงร่างสมุนไพรพื้นบ้าน เพิ่มคุณค่าเป็น “กระบกเคลือบคาราเมล” คน
น้ำยืน ทำได้. สืบค้น 2 สิงหาคม 2565. Retrieved From https://www.technologychaoban.com/what-news/article_190852
วุฒิชัย รสชาติ . (2563). นวัตกรรมผลิตภัณฑ์จากน้ำมันเมล็ดกระบก. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
Retrieved From https://ris.snru.ac.th/research/1391
Food Story, สุริวัสสา กล่อมเดช. กระราง เนยถั่วเข้มข้นจากเมล็ดกระบก. สืบค้น 2 สิงหาคม 2565. Retrieved From
https://krua.co/food_story/krabok-seeds/
Roowai.com. กระบก สรรพคุณสมุนไพรแดนอีสาน สร้างรายได้ให้กับผู้คน. สืบค้น 2 สิงหาคม 2565. Retrieved From
KURDI, เกษตราศาสตร์นำไทย. กระบกไม้ป่า สู่การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์. สืบค้น 2 สิงหาคม 2565. Retrieved From
https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=74912
แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
Mirzaei, H., & Rezaei, K. (2019). Amygdalin Contents of Oil and Meal from Wild Almond: Effect of
Different Heat Pretreatment and Extraction Methods. Journal of the American Oil Chemists’ Society (JAOCS), 96(10), 1163–1171. Retrieved From https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=edb&AN=138991597&site=eds-live
Punnee Ponprachanuvut, & Sopark Sonwai. (2012). Characterization of Physicochemical and
Thermal Properties and Crystallization Behavior of Krabok (Irvingia Malayana) and Rambutan Seed Fats. Journal of Oleo Science, 61(12), 671. Retrieved From https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=edsjst&AN=edsjst.jos.61.12.61.671&site=eds-live
Sonwai, S., Ornla-ied, P., & Aneknun, T. (2015). Lauric Fat Cocoa Butter Replacer from Krabok
(<i>Irvingia Malayana</i>) Seed Fat and Coconut Oil. Journal of Oleo Science, 64(4), 357-365. Retrieved From https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=edselc&AN=edselc.2-52.0-84926205434&site=eds-live
Variability and inheritance of fruit characters of wild almond / Variability and inheritance of fruit
characters of wild almond [Prunus communis]. (1977). Biulleten’, 75, 53–56. Retrieved From https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=edsagr&AN=edsagr.US201302087009&site=eds-live
Wang, W., Wang, H.-L., Xiao, X.-Z., & Xu, X.-Q. (2019). Wild almond (Amygdalus pedunculata
Pall.) as potential nutritional resource for the future: studies on its chemical composition and nutritional value. Journal of Food Measurement & Characterization, 13(1), 250–258. Retrieved From https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=edb&AN=134786443&site=eds-live