ผู้เรียบเรียง
ดวงพร อรัญญพงษ์ไพศาล
บรรณารักษ์ชำนาญการ ฝ่ายบริการ
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพนั้นมีจุดเริ่มต้นจากสปาที่เป็นแหล่งบำบัดโรคด้วยการอาบน้ำแร่และแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ให้คำนิยามการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพไว้ว่าเป็นการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามในแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติและวัฒนธรรม ตลอดจนการเรียนรู้วิถีชีวิตและพักผ่อนหย่อนใจ โดยแบ่งเวลาส่วนหนึ่งจากการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและกิจกรรมการรักษาฟื้นฟูสุขภาพ ซึ่งการท่องเที่ยวแบบนี้มีอัตราการขยายตัวที่สูงในประเทศไทย ได้แก่ การนวดแผนไทย การใช้สมุนไพรและพืชพรรณธรรมชาติดูแลสุขภาพและความงาม การใช้ธรรมชาติบำบัดในแนวทางแบบเฉพาะตัวสำหรับแต่ละบุคคล
ประเภทของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
- การท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพ (Wellness Tourism) เป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน นักท่องเที่ยวจะเข้ามาเที่ยวด้วยจุดประสงค์หลากหลาย เช่น ทำกิจกรรมผสมผสานแบบเชิงนิเวศวัฒนธรรมและสุขภาพ เรียนรู้การทำอาหารไทยเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกายเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกาย การทำสปาเพื่อสุขภาพหรือเสริมความงาม รวมทั้งการนวดไทยเพื่อการผ่อนคลายหรือบำบัดอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
- การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical Tourism) เป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวจะเข้ามาด้วยจุดประสงค์หลักเพื่อใช้บริการทางการแพทย์ด้านต่างๆ เป็นการท่องเที่ยวในเชิงบำบัดรักษาสุขภาพ เช่น ทัวร์แพทย์แผนไทย ทัวร์สวนสมุนไพร สวนเกษตรต่างๆ การทำศัลยกรรมความงาม การทำทันตกรรม
จุดเด่นของการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพ
- มาตรฐานบริการ ได้แก่ บุคลากรให้บริการด้วยมิตรไมตรี มีใจรักบริการ มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ รวมถึงราคาที่สามารถเลือกได้หลากหลายตามงบประมาณ
- บรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ดีของภูมิประเทศ ทำให้รู้สึกสบายและผ่อนคลาย
- การรับบริการเชิงสุขภาพพร้อมๆ กับการท่องเที่ยวด้านอื่นๆ ได้ด้วยค่ารักษาที่ย่อมเยา
แนวโน้มของการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพ
- ธุรกิจการออกกำลังกาย พร้อมการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ Netflix หรือ HBO ที่ส่งผ่านการบำบัดสภาวะอารมณ์ผ่านทางช่องทาง Smart-TV แอพพลิเคชั่น
- การสร้างสมดุลภูมิคุ้มกันในร่างกายแทนที่การกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ทำได้โดยการเพิ่มความแข็งแรงทางจิตใจด้วยการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อลดความเครียดในร่างกาย การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ก็จะช่วยปรับ สมดุลภูมิคุ้มกันร่างกายให้มีความแข็งแรงมากขึ้น
- การออกแบบสถานที่พักและสถานที่ให้บริการ ด้วยการติดตั้งเครื่องกรองอากาศให้มีการหมุนเวียนอากาศที่ดี การฆ่าเชื้อหรือปรับสถานที่ให้เอื้อ กับผู้สูงอายุ
- การฟื้นฟูสุขภาพแบบองค์รวม ทั้งร่างกาย จิตใจ จิตวิญญาณและสิ่งแวดล้อม
- การดูแลแบบ Healthcare & Wellness เน้นการรักษาควบคู่กับการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันเป็นการบำบัดร่างกายภายนอกและสภาวะจิตใจ และอารมณ์
- การใช้เทคโนโลยีทางการสื่อสาร แพลตฟอร์มต่างๆ ทำให้การสื่อสารเป็นไปได้อย่างสะดวกรวดเร็วมี ประสิทธิภาพ รวมถึงสามารถรวมกลุ่มคน ที่มีความสนใจร่วมกันมาพูดคุยกันอย่างเปิดเผย ซึ่งหัวข้อยอดนิยมคือ สุขภาพ ความปลอดภัยและภูมิคุ้มกัน
- การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพได้รับความนิยมมากขึ้น การเข้าหาธรรมชาติสามารถทำให้ร่างกายและจิตใจมีความแข็งแรงและสมดุลมากยิ่งขึ้น
- การดูสุขภาพจิต การลดความเครียด การนอนที่มีคุณภาพ รวมถึงการนั่งสมาธิที่ช่วยในการดูแลจิตใจ
- การแพทย์เฉพาะบุคคล เน้นการตรวจสุขภาพเชิงป้องกัน ดูแลร่างกายก่อนการเจ็บป่วยเพื่อที่จะทราบความเสี่ยงของโรคและวางแผนการดูแลตัวเอง
- อาหารสุขภาพ อาหารที่รับประทานแล้วดีต่อร่างกาย เช่น อาหารไขมันต่ำ อาหารน้ำตาลต่ำ อาหารโซเดียมต่ำ อาหารลดน้ำหนัก อาหารออร์แกนิค
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
กรุงเทพธุรกิจ มีเดีย จำกัด. (2565). คาดปี 2567 "ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ" โตก้าวกระโดด 1 ล้านล้านเหรียญ.
สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/social/1006474
ประชาชาติธุรกิจ. (2565). Wellness Tourism การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพยูนิคอร์นใหม่เศรษฐกิจไทย “ ยุคโควิด”.
สืบค้นจาก https://www.prachachat.net/public-relations/news-924619
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(2565). The Next Wellness Tourism Trends สรุปสาระสำคัญจากงาน Amazing Thailand Wellness City
@ Cha-am & Hua Hin. สืบค้นจาก https://www.tatreviewmagazine.com/article/the-next-wellness-tourism-trends/
แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
Liu, Biqiang, Yaoqi Li, Anna Kralj, Brent Moyle, and Mang He. 2022. “Inspiration and Wellness Tourism:
The Role of Cognitive Appraisal.” Journal of Travel & Tourism Marketing 39 (2): 173–87.
https://doi.org/10.1080/10548408.2022.2061676.
Phuthong, T., P. Anuntavoranich, A. Chandrachai, and K Piromsopa. 2021. “Wellness Tourism Destination Assessment Model:
A Development Indicator in an Emerging Economy- Thailand.” 2021 EEE International Conference on Industrial
Engineering and Engineering Management (IEEM), Industrial Engineering and Engineering Management (IEEM),
2021 IEEE International Conference On, December, 1040–46. https://doi.org/10.1109/IEEM50564.2021.9672602.
.
Kotur, A.S. 2022. "Exploring the wellness dimensions of wine tourism experiences: a netnographic approach", International
Journal of Wine Business Research, 34 (4): 608-626. https://doi.org/10.1108/IJWBR-07-2021-0040
Wang, Shiwei. 2022. “Route Planning of Health Care Tourism Based on Computer Deep Learning.”
Wireless Communications & Mobile Computing, August, 1–11.
https://doi.org/10.1155/2022/4500009.
He, Mang, Biqiang Liu, and Yaoqi Li. 2022. “Recovery Experience of Wellness Tourism and Place Attachment: Insights f
rom Feelings-as-Information Theory.” International Journal of Contemporary Hospitality Management 34 (8): 2934–52.
https://doi.org/10.1108/IJCHM-10-2021-1237.
.
Kazakov, S. and Oyner, O. 2021. "Wellness tourism: a perspective article", Tourism Review, 76(1): 58-63. Biqiang Liu, Yaoqi Li,
Anna Kralj, Brent Moyle & Mang He (2022) Inspiration and wellness tourism: the role of cognitive appraisal,
Journal of Travel & Tourism Marketing, 39 (2): 173-187. https://doi.org/10.1108/TR-05-2019-0154
Heung, Vincent C. S., and Deniz Kucukusta. 2013. “Wellness Tourism in China: Resources, Development and Marketing.”
International Journal of Tourism Research 15 (4): 346–59. .https://doi.org/10.1002/jtr.1880.
Biqiang Liu, Yaoqi Li, Anna Kralj, Brent Moyle & Mang He (2022) Inspiration and wellness tourism: the role of cognitive appraisal,
Journal of Travel & Tourism Marketing, 39 (2): 173-187. https://doi.org/10.1080/10548408.2022.2061676
Tang, Shuyi. 2022. “Research on the Development of Eco-Health Tourism Products Based on IPA Model in Internet Plus.”
Mobile Information Systems, May, 1–10. https://doi.org/10.1155/2022/9137006.