วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์ข้าว ของศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มก.

KULIB TALK | EP.40 | วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์ข้าว ของศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มก.

ศาสตราจารย์ ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร Prof.Dr.Apichart Vanavichit

Director (RSC&RGDU) 

ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าวและ หน่วยค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าวมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน


คำถาม : ศูนย์นี้มีเทคโนโลยีหรือบริการอะไรบ้างที่เกี่ยวกับข้าว

  • เป็นศูนย์ที่ปรับปรุงและศึกษาข้าวโดยเน้นเรื่องของการปรับปรุงพันธ์ รวบรวมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยมี 3 ส่วนคือ
  1. การศึกษาความหมายทางชีวภาพของข้าว การปรับปรุงยีนส์หรือพันธุกรรมที่เกิดขึ้น เช่นการปรับปรุงข้าวหอม โดยต้องมีพันธุกรรมควบคุม โดยการค้นหายีนส์ความหอม
  2. คือให้บริการเทคโนโลยีห้องปฏิบัติการใช้แยกพันธ์ข้าว โดยสามารถประยุกต์ใช้การแยกพันธ์ข้าว มีอะไรบ้าง โดยเรานำไปใช้กับการควบคุมพันธ์ข้าวที่ส่งออก เช่นถ้าต้องการข้าวหอมมะลิไทย ต้องมีความบริสุทธ์ขนาดไหน
  3. การส่งเสริมเชิงการตลาด

โดยงานที่เป็นหลักของศูนย์คือ การสร้างพันธ์ข้าวใหม่ ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี แต่ไม่ใช้ GMO โดยมีทิศทาง 2 แบบคือ กำหนดเพื่อตอบโจทย์ชาวนา ซึ่งจะมีปัญหามาก ถ้าไม่ปรับตัว และเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคซึ่งมีความต้องการที่แตกต่างกัน เป็นผู้บริโภคในประเทศและต่างประเทศ

คำถาม : นอกจากผลงานที่สำคัญคือ ข้าวไรท์เบอร์รี่ ซึ่งเป็นผลงานโดดเด่นของศูนย์แล้ว ทางศูนย์มีผลงานอะไรอีกบ้างคะ

  • เราพัฒนาพันธุ์ข้าวเพื่อผู้บริโภค ทางศูนย์มีเป้าหมาย 3 ระยะ

ในระยะใกล้ ผู้บริโภคต้องการข้าวที่ถูกปาก มีรสนุ่ม กลิ่นหอม ซึ่งเป็นเป้าหมายระยะสั้น

ระยะกลางมองถึงปัญหาสุขภาพผู้บริโภค ซึ่งข้าวให้พลังงานค่อนข้างมาก ประกอบกับความอ่อนแอของมนุษย์ยุคปัจจุบันที่มีกิจกรรมการใช้พลังงานต่อวันน้อย แต่การทานอาหารมากกว่าเดิม จึงมีแนวคิดเรื่องข้าวที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของมนุษย์ โดยทำอย่างไรให้ข้าวมีธาตุอาหาร ธาตุเหล็กและสังกะสีสูงขึ้น ซึ่งทำงานร่วมกับนักโภชนาการ โดยเริ่มต้นจากข้าวเจ้าหอมนิลที่ปลูกได้ทั้งปี แต่รสชาติยังไม่อร่อยมาก จากนั้นก็ได้ ข้าวไรเบอรี่มา ซึ่งเป็นตัวจุดประกายให้ผู้บริโภค บริโภคข้าวกล้อง ต่อมาก็มีข้าวสินเหล็กซึ่งมีเหล็กและสังกะสีสูง และมีดัชนีน้ำตาลปานกลาง เมื่อบริโภคแล้วให้ปริมาณกลูโคสน้อยกว่าข้าวพันธุ์อื่น ซึ่งดีต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน และพันธุ์ข้าวตัวถัดมาคือข้าวขาว ซึ่งคือพันธุ์ข้าวปิ่นเกษตรบวก4 ซึ่งก็คือการพัฒนาคุณภาพของแป้ง ย่อยช้า ให้ผลผลิตสูง ต้านทานน้ำท่วม แมลง โดยพัฒนามา 4 ปี

คำถาม : ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราประสบความสำเร็จในการปรับปรุงพันธุ์คืออะไรบ้าง

          เรารู้จักความหลากหมายของพันธุ์ข้าว เราจะรุ้จักดีว่าแต่ละตัวให้อะไร เช่น ถ้าข้าวทนน้ำท่วมก็เป็นข้าวจากอินเดีย เรารู้จักว่ายีนต์ข้าวอะไรที่เค้าให้ ซึ่งเราเรียกเทคโนโลยีชีวภาพนี้ว่า Molecular Breeding เราจะทำแบบนี้กับข้าวหลายพันธุ์ เช่นข้าวหอมปทุม เราก็ใช้เทคโนโลยีชีวภาพนี้ กับข้าวหอมปทุม ก็จะสามารถทนต่อโรค ทนน้ำท่วม ทนร้อนได้ เราสามารถเอาเทคโนโลยีและยีนต์ที่เราค้นพบเข้ามาช่วยพัฒนาพันธุ์ได้

คำถาม : อยากให้อาจารย์ให้ข้อคิดว่า ทิศทางในอนาคตจะไปในทางไหนบ้าง

  • Climate change เป็นเรื่องสำคัญมาก เราต้องปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้สู้ได้ เช่น อุณหภูมิที่สูง ใช้น้ำเยอะ ต้องแก้ไขยังไง หรือเมื่อน้ำแข็งขั่วโลกละลาย น้ำทะเลหนุน น้ำก็จะขึ้น ข้าวก็ต้องทนต่อเรื่องความเค็ม ซึ่งเราต้องปรับให้ข้าวทนต่อน้ำเค็ม ข้าวจะไม่ตาย ซึ่งเป็นลักษณะพันธุ์ข้าวที่จะ Climate Ready พร้อมที่จะเผชิญ และเมื่อถึงจุดนั้น ประชากรเพิ่มขึ้น ความต้องการอาหารเพิ่มขึ้น ต้องให้คนในยุคหน้ามีอาหารที่ช่วยชลอการเกิดโรคภัยและทำให้แข็งแรง โดยให้ข้าวมีโภชนาการที่เข้มข้น โดยเฉพาะข้าวสี ให้ธาตุอาหารและอร่อย นอกจากนี้ยังทำข้าวสรรพสี ที่ปลูกง่าย สามารถบริโภคได้ทุกส่วน

คำถาม : ฝากถึงเรื่องของการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการปรับปรุงพันธุ์ข้าว

          เราขาดนักวิจัย และนักเรียนที่มาค้นคว้า เรียกว่าตอนนี้คนเรียนน้อยลง มันเป็นวิทยาศาสตร์ เรื่องของการผลิตอาหาร ผลิตพันธุ์พืช มีความน่าสนุก และมีความอิสระทางความคิดสูงมาก โดยเฉพาะการปรับปรุงพันธุ์ ก็อยากฝากให้นักเรียนตั้งแต่มัธยมว่าการเกษตรไม่ใช่แค่ดำนาตัวเลอะแต่เป็นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

ข้าวสรรพสี

ข้าวหอม ดัชนีน้ำตาลต่ำ

ข้าวไทย : การเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างการผลิตและช่องทางการกระจาย

ฐานข้อมูลลักษณะข้าววัชพืชที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงในประเทศ ไทย

แนวทาง--และแบบอย่างการทำนาข้าวสุขภาพ สร้างมูลค่าเพิ่ม 1ไร่

ไรซ์เบอร์รี่ ข้าวหอมสายพันธุ์ใหม่ พลิกชีวิตชาวนาไทย

ข้าวไทยในอนาคต

โมเดลธุรกิจเชิงสังคม ข้าวไรซ์เบอร์รี่และธัญโอสถ อีกทางเลือกของชาวนาไทย

การคัดเลือกดีเอ็นเอเครื่องหมายแบบ SSR ของยีนต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Nilaparvata lugens (Stal), delphacidae, Homoptera ชนิด Qbph6 และ Qbph12 จากข้าวสายพันธุ์ปรับปรุง abhaya และพันธุ์ชัยนาท 1

การค้นพบยีนความหอม จากข้าวสู่ถั่วเหลืองและพืชอื่นๆ

Customer segmentation of functional food with application of Kano's model: A case study of Riceberry drink in Bangkok

Tailor-made climate-ready and nutrient-dense rice

 

 

 


 
 
 
1xbet casino siteleri bedava bahis kaçak bahis superbetin yeni giriş casino siteleri