KULIB TALK | EP.55 | PABLO ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตัวช่วยในการนอนหลับ

“ผงดอกคาโมมายล์  สารสกัดจากรำข้าว สารสกัดถั่งเช่า  สารสกัดจากชาเขียว  สารสกัดจากพริกไทยดำ   สารสกัดจากงาดำ  PABLO นวัตกรรมใหม่ ตัวช่วยในการนอนหลับด้วยสารสกัดจากสมุนไพร งานวิจัยต่อยอดจากงานวิจัยถั่งเช่าโดย  ศาสตราจารย์ ดร.มณจันทร์  เมฆธน ผู้ทรงคุณวุฒิคณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์”

พิธกร :           คุณศรัญญาภรณ์  โชลิตกุล 

วิทยากร          1. ศาสตราจารย์ ดร.มณจันทร์ เมฆธน
                    2. ดร.ชาญ  เมฆธน

พิธีกร : สวัสดีค่ะวันนี้รายการ KULIB Talk ของเรา พาทุกท่านมาที่ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ค่ะ ซึ่งที่นี่มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ต่อยอดทางธุระกิจและสามารถขายได้จริงค่ะ  และวันนี้เราก็มีหนึ่งในผลิตภัณฑ์ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจที่จะมาแนะนำให้ท่านรู้จักค่ะชื่อว่า Pablo เป็นอาหารเสริมที่ช่วยให้เรานอนหลับค่ะ เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหานอนหลับยากและเราก็ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ดร.มณจันทร์ เมฆธน และ ดร.ชาญ เมฆธน จะมาให้ช้อมูลกับเราในวันนี้ค่ะ

พิธีกร : งานวิจัยชิ้นนี้มีความเป็นมาอย่างไรบ้างคะ ?

ศาสตราจารย์ ดร.มณจันทร์ เมฆธน : ตัว Pablo มาจากตัวเองค่ะ ที่เมื่อปี 57, 58 ตอนนั้นก็เป็นหัวหน้าภาคอยู่ และเราก็นั่งเซ็นต์งานเยอะ แต่ก่อนหน้านั้นเราไปมีอุบัติเหตุที่อเมริกาทำให้เจ็บเข่า แล้วจากนั้นก็ทำให้นอนไม่หลับ ตอนนั้นสามีที่เป็นนักเคมีก็เลยผสมสูตรตัว Pablo ขึ้นมาให้ทาน เพราะว่านอนยากกว่าจะหลับ บางทีลงไปนอนแล้วชั่วโมง สองชั่วโมงก็ยังนอนไม่หลับ อาจจะเจ็บเข่าด้วยแล้วก็ค่อนข้างเครียดเพราะเป็นหัวหน้าภาคก็เลยทำให้นอนไม่หลับ หลังจากที่สามีผสมสูตรขึ้นมาให้ทานปรากฏว่าเราก็หลับได้ดีขึ้น เร็วขึ้น ช่วงหลับแล้วจะไม่มีปัญหาอะไรแต่ช่วงที่จะหลับจะคิดฟุ้งซ่าน คิดอะไรไปเรื่อยๆ บางทีก็ความที่เจ็บปวดบางทีนอนพลิกซ้ายหรือพลิกขวา หรือต้องหาท่าที่เข่าเราไม่เจ็บจึงกว่าจะนอนหลับไปได้

พิธีกร : กลุ่มเป้าหมายผลิตภัณฑ์นี้ต้องเป็นกลุ่มเป้าหมายแบบไหนคะ ?

ศาสตราจารย์ ดร.มณจันทร์ เมฆธน : จริงๆก็ทานได้ทุกเพศทุกวัยค่ะ คนที่มีปัญหานอนไม่หลับ แต่ว่าจะบอกก่อนว่าคนที่นอนไม่หลับมีปัญหาเยอะ อย่างเช่นของตัวเราเองมาจากเจ็บเข่า คิดฟุ้งซ่าน บางคนก็อาจจะมาจากกรรมพันธุ์ก็มี มันเป็นอาการมาจากระบบประสาทค่ะค่อนข้างที่จะมีสาเหตุเยอะ….

พิธีกร : จากการดูส่วนประกอบค่อนข้างที่จะมีส่วนประกอบเยอะ  มีวิธีการคัดเลือกส่วนผสมมีการกำหนดอย่างไรบ้างคะ ?

ศาสตราจารย์ ดร.มณจันทร์ เมฆธน : สามีเป็นนักเคมี เค้าก็คิดสูตรนี้ขึ้นมา เพราะส่วนใหญ่แล้วสมุนไพร 6 ตัวนี้ มีคุณสมบัติในการช่วยผ่อนคลาย ก็ทำให้เรานอนหลับดีขึ้น ทีนี้มันขึ้นทะเบียนเป็นยาไม่ได้ การขึ้นทะเบียนยาต้องเป็นเดี่ยวๆ เค้าก็เลยคิดสูตรว่ามีสารอาหารหลายๆตัวมาผสมกันเพื่อให้มัน Synergist (การทำงานร่วมกัน) กันทางวิทยาศาสตร์ก็คือออกฤทธิ์ร่วมกันในเวลาที่เหมาะสม…

พิธีกร :  ทราบมาว่าทาง ดร.ชาญ มีส่วนช่วยในการทำงานวิจัยชิ้นนี้ด้วยใช่ไหมคะ ?

ศาสตราจารย์ ดร.มณจันทร์ เมฆธน : ใช่ค่ะ ก็เค้าจบ Molecular Biology มา ก็ทำทุกอย่างค่ะ เค้าเป็นกรรมการผู้จัดการของ CORDYBIOTECH เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

ดร.ชาญ เมฆธน :  ตัวพระเอกของ Pablo ก็คือเป็นตัวสารสกัดจากงาดำก็เป็นอนุสิทธิบัตรร่วมกับของพี่สาวนะครับ ผมก็เป็นคนช่วยในเรื่องของกระบวนการแปรรูป เพราะอันนี้เป็นอนุสิทธิบัตรสองชิ้นด้วยกันนะครับในผลิตภัณฑ์ตัวนี้ที่มาจากงาดำ ต้องเกริ่นก่อนเลยว่างาดำเค้าจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ประเภทแรกก็คือเมล็ดงาที่ถูกหีบน้ำมันออกมานะครับ ก็คือเค้าเอาน้ำมันมาใส่อยู่ในรูปของแคปซูลเจล ก็จะได้สารออกฤทธิ์อยู่ส่วนหนึ่ง แต่ว่าในกากงาที่เค้าหีบน้ำมันออกไปแล้วก็ยังมีสารออกฤทธิ์หลงเหลืออยู่เยอะ โดยเฉพาะพวกสารออกฤทธิ์ เซซามิน
เซซามูริน เซซามอล หรือ ทริปโทแฟน นะครับพวกนี้ ปรากฏว่าอีกกลุ่มหนึ่งในท้องตลาดเค้าก็ใช้ Solvent นะครับเป็นตัวสกัดซึ่งผู้บริโภคหลายๆท่านอาจจะไม่สบายใจเพราะได้ยินคำว่าเค้าใช้สารเคมี เราก็เลยเป็นอนุสิทธิบัตรอีกชิ้นหนึ่งก็คือการสกัดงาดำตัวกากด้วยเอนไซม์ เราก็ต้องหาเอนไซม์ที่เข้าไป Breakdown Cellulose พวกอะไรที่ Breakdown Cell wall แล้วดึงสารออกฤทธิ์ออกมาอยู่ข้างนอก ข้อดีของเอนไซม์คือเค้าสลายตัวเร็วด้วยธรรมชาติอยู่แล้ว อันนี้ก็เป็นอีกนวัตกรรมที่ต่อยอดมาจากตัวถั่งเช่า พอเราได้ตรงนี้แล้วเราก็ทำให้อยู่ในรูปผงด้วยการทำ Spray Dry อีกชิ้นหนึ่งก็คือเราเห็นว่าตอนนี้เราสกัดตัวกากงาได้แล้ว แล้วส่วนน้ำมันส่วนที่ดีของส่วนน้ำมันจะเอากลับมาผสมกันอย่างไร เพราะน้ำมันไม่สามารถผสมอะไรกับอย่างอื่นได้ยกเว้นน้ำมันด้วยกันก็เลยเป็นอนุสิทธิบัตรที่ทำให้แปรรูปตัวน้ำมันงาให้อยู่ในรูปผง สุดท้ายแล้วเราก็คือสามารถเอาทุกอนูของตัวสารสกัดงาดำมาใช้ได้นั่นเองครับ….

พิธีกร : พึ่งทราบว่างาดำมาสารที่ช่วยในการผ่อนคลายด้วย…ค่ะ

ศาสตราจารย์ ดร.มณจันทร์ เมฆธน : ตัวที่ช่วยก็คือตัว Tryptophan ในงาดำนะคะ Tryptophan เค้าเป็น Amino Acid ที่เป็นสารตั้งต้นของ Melatonin กับ Serotonin ซึ่งในต่างประเทศที่พัฒนาแล้วเค้าจะยอมให้จำหน่าย Melatonin กับ Serotonin เรียกว่าเป็นอาหารเสริมที่ช่วยนอนหลับอยู่แล้ว แต่ว่าบ้านเราไม่อนุญาต เพราะฉะนั้นเราต้องหาทางเลือกอื่น….หาสมุนไพรอื่น

พิธีกร : ในท้องตลาดจะเห็นคาโมมายล์ อยากจะสอบถามอาจารย์ทั้งสองท่านค่ะว่า คาโมมาลย์มีส่วนผสมหรือคุณสมบัติที่ช่วยในการนอนหลับอย่างไรบ้างคะ ?

ศาสตราจารย์ ดร.มณจันทร์ เมฆธน : คาโมมายล์จะมีสาร Apigenin ที่ช่วยทำให้ร่างกายสงบ ผ่อนคลายแล้วก็หลับได้ค่ะ จริงๆแล้วมันมีอีก 4 ตัวนอกจากตัวของ งาดำ ตัวของคาโมมายล์ก็ยังมีสารสกัดถั่งเช่าที่เป็นพระเอกของเรา ในถั่งเช่าเองจริงๆก็มีอีกอนุสิทธิบัตร

ดร.ชาญ  เมฆธน :  ถั่งเช่าตอนนี้มี 2 ตัวแล้วครับ ตัวแรกเลยที่ได้เมื่อ 7 ปีที่แล้วเป็นกระบวนการผลิตสูตรอาหาร การเพาะเลี้ยง ซึ่งเราก็เป็นอนุสิทธิบัตรที่ช่วยให้เราเพาะเลี้ยงถั่งเช่าให้มีสารออกฤทธิ์ Cordycepin สูงนะครับ แล้วก็คงที่ทุกล็อต แต่ว่าเรามีข้อจำกัดในการผลิตปริมาณที่เราขยายมันได้น้อย ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง ราคาที่จำหน่ายก็เลยสูงตามไปด้วย ต่อมาอีก4ปี เราก็ค่อยๆพัฒนากรรมวิธีการเพาะเลี้ยงจนกระทั่งปีที่แล้วสำเร็จการเพาะเลี้ยงแบบใช้ถังหมักปฏิกรณ์ชีวภาพแนวนอน อันนี้ทำให้เราสามารถคุมต้นทุนได้ดีขึ้นนะครับ แล้วก็ขยายผลผลิตได้ขึ้นถึงสามเท่าด้วยกัน

ศาสตราจารย์ ดร.มณจันทร์ เมฆธน : นอกจากในถั่งเช่าจะมีสาร Cordycepin ที่เป็นพระเอก ยังมีสาร Adenosine  ….. Adenosine จะเป็นตัวที่ช่วยทำให้หลับลึก นอกจากนั้นก็ยังมีตัวชาเขียว ชาเขียวเราจะเลือกตัวที่มีสารคาเฟอินต่ำ แต่ทว่ามีสารสูงก็ทำให้ผ่อนคลาย แล้วตัวที่เด่นอีกตัวหนึ่งก็คือสารสกัดจากรำข้าว ที่จะมีสารฟูโรลิก และก็กาป้า ซึ่งเรารู้อยู่แล้วว่ามันเป็นสารที่ช่วยเกี่ยวกับสารสื่อประสาท ทำให้การส่งกระแสประสาทถูกยับยั้งไประยะหนึ่งทำให้เราไม่คิดฟุ้งซ่านและทำให้หลับได้ นอกจากนั้นก็มีตัวสุดท้ายคือพริกไทยดำ ตัวนี้ก็ทำให้ช่วยลดแก๊ส อย่างในสมองเราหากมีแก๊สเยอะก็ทำให้เครียด หากแก๊สถูกดึงออกไปก็ทำให้เราผ่อนคลายแล้วหลับได้ ฉะนั้นมีสารประกอบ 6 ตัวด้วยกันสำหรับ Pablo ซึ่งเท่าที่ออกตลาดมา 4ปี ผลตอบรับถ้าคนที่ไม่ถึงกับต้องทานยานอนหลับก็ 70-80% แต่ถ้าคนที่ทานยานอนหลับแทนที่จะต้องทาน 1 เม็ดหรือ 2 เม็ดก่อนนอน อาจจะต้องทาน 3-6เม็ดค่ะ… แต่อย่างที่บอกว่าสาเหตุของการนอนไม่หลับมีเยอะค่ะ…

พิธีกร : ขั้นตอนการจดสิทธิบัตรใช้เวลาเยอะไหมคะ?

ดร.ชาญ  เมฆธน : อนุสิทธิบัตรก็ใช้เวลาประมาณ 1 ปีครับ เค้าก็จะไปเช็คในฐานข้อมูลก่อนแล้วก็มีหน่วยค้นหาแล้วก็ช่วยจดด้วยอยู่ในศูนย์บ่มเพาะธุรกิจเลย อันนี้ก็ช่วยเราได้เยอะมาก

ศาสตราจารย์ ดร.มณจันทร์ เมฆธน : แต่ว่าการวิจัยเราใช้เวลานานนะคะ… อย่างตัวของนวัตกรรมใหม่ที่ทำให้ราคาถั่งเช่าของเราถูกลงเราทดลองมาสามปี ใช้เวลายาวนานอยู่ค่ะ…

พิธีกร : ทราบว่า Pablo ไปขายและทำตลาดที่สหรัฐอเมริกาด้วยใช่ไหมคะ?....อยากจะทราบว่าที่นั่นมีขั้นตอนการคัดเลือกหรือมีกฏหมายอย่างไรบ้างคะที่เราต้องดำเนินงานค่ะ

ดร.ขาญ เมฆธน : ในขั้นตอนแรกสุดเราก็ต้องยื่นจดทะเบียนกับทาง US FDA (U.S. Food and Drug Administration) เพื่อที่เราจะได้จดทะเบียนเป็นรายชิ้นเลยว่าเราจะขอผลิตภัณฑ์ชนิดใดเข้าไปจำหน่าย เราก็ต้องชี้แจงส่วนประกอบ ที่มา สารออกฤทธิ์ และที่สำคัญที่สุดคือเมื่อเราขึ้นทะเบียนกับทาง US FDA ได้แล้ว เค้ามีสิทธิ์ในการมาตรวจโรงงานเราที่ประเทศไทยได้ตลอดเวลาอันนี้เป็นคอนดิชั่นของเค้าซึ่งเร็วๆ มานี้ที่ผ่านมานี้เราพึ่งขอร Request เควสมาตรวจโรงงานครับ ก็ในอนาคตรผมว่าน่าจะอีกประมาณเดือนกว่าๆรอให้โควิดซาลงเค้าก็น่าจะได้มาตรวจ….

ศาสตราจารย์ ดร.มณจันทร์ เมฆธน : ก็ใช้เวลาเป็นปีนะ กว่าจะขึ้นทะเบียนที่อเมริกาได้…

พิธีกร : ก็เป็นผลงานที่น่าภาคภูมิใจชิ้นหนึ่งเลยนะคะอาจารย์… นอกจากทาง Pablo แล้ว ทาง CORDYBIOTECH มีผลิตภัณฑ์ตัวอื่นๆอีกมั้ยคะ ?

ศาสตราจารย์ ดร.มณจันทร์ เมฆธน : ที่ออกตลาดตัวแรกก็เป็นถั่งเช่าค่ะ สูตรผู้ชายกับสูตรผู้หญิง ซึ่งตอนแรกบรรจุภัณฑ์เราเล็กกว่านี้ค่ะ 30 เม็ด ราคา 2,700 บาท  แต่ตอนนี้เนื่องจากเรามีนวัตกรรมใหม่ ตัวถั่งเช่าของเราก็ถูกลง ตอนนี้เราบรรจุ 60 เม็ด ราคา 1,800 บาท เรียกว่าขวดหนึ่งก็ทานได้เดือนหนึ่งค่ะ  ตัวถั่งเช่าเราอยู่ในตลาดมา 7 ปีแล้ว ออเดอร์ก็ค่อนข้างคงที่รวมทั้งในอเมริกาด้วย มันก็ช่วยในเรื่องของการไหลเวียนโลหิตค่ะ เมื่อเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ดี การทำงานของตับอ่อนดีขึ้น เบาหวานเราก็จะลดน้อยลง สิ่งที่เราเห็นได้ชัดคือ HbA1c หรือการตรวจฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี ก็เป็นการตรวจน้ำตาลสะสมเฉลี่ยสามเดือนนะคะ.. คนเป็นเบาหวานจะอยู่ที่ 7 ปรากฏว่าคนที่ทานของเราต่ำกว่า 7 ทั้งนั้นเลย… อย่างสามีเป็นเบาหวานมา 20 กว่าปีแล้ว หลังจากที่ทานถั่งเช่ามาตอนนี้ก็ลดยาไปได้ครึ่งหนึ่ง เมื่ออาทิตย์ที่แล้วสามีไปตรวจน้ำตาลก็พบว่าน้ำตาลสะสมเฉลี่ยเหลือ 6.2 อันนี้ก็เป็นจุดเด่นของถั่งเช่า…เบาหวาน ความดัน คอเลสเตอรอล และก็จะเด่นในเรื่องไตแล้วก็ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง บางทีผู้สูงอายุทานแล้วขึ้นบันไดไม่เหนื่อย อันนี้ก็เป็นจุดเด่นของถั่งเช่าค่ะ สูตรผู้ชายกับสูตรผู้หญิงส่วนที่เป็นสารหลักก็คือถั่งเช่าสกัดที่ของเราละลายน้ำได้100% และเราเป็นรายเดียวที่กล้าระบุสาร Cordycepins … ในสูตรผู้ชายจะผสมเพิ่มเติมจากตัวถั่งเช่าก็คือตัวกระชายดำและตัว L-Arginin  เพื่อเสริมความเป็นชาย ส่วนสูตรผู้หญิงเราก็จะมี Collagen และ Glutathione ที่ช่วยดีท็อกตับนะคะ…

ดร.ชาญ  เมฆธน : อีกอย่างหนึ่งสิ่งสำคัญผมว่าเป็นสิ่งที่จำแนก Product จากงานวิจัยกับ product กับท้องตลาดทั่วๆไป…คือเวลาที่นักวิจัย..สิ่งใดก็ตาม เราจะต้องหาไปถึงอะไรที่เป็น Active ของสมุนไพรชนิดชนิดนั้น ซึ่งเวลางานวิจัยเราก็ต้องระบุได้ว่าเราใช้ Active เท่าไหร่ถึงจะก่อให้เกิดสรรพคุณ แต่ด้วยท้องตลาดด้วยทาง อย.เองเค้าไม่ได้บังคับว่า…จริงๆ อย. ไม่ได้ขอตรวจแอคทีฟนะครับ… อย.ได้รับ Certificate แล้วว่าโอเคสมุนไพรชนิดนี้ปลอดภัยต่อผู้บริโภคมีงานวิจัยเกี่ยวกับความปลอดภัยมานานส่วนมากต้องเกิน 10 ปี อย. ถึงจะให้ แต่กลายเป็นว่า สิ่งที่ผู้บริโภคส่วนมากได้ทานอาจจะไมได้เกิดประโยชน์ก็ได้เพราะว่าเค้าไมได้มีการควบคุมตรงนี้เลย และถั่งเช่าเรียกได้ว่าเองเราก็เป็นรายแรกๆในประเทศไทยซึ่งในอดีตก็พยายามขอจดทะเบียนว่าขอขึ้นปริมาณตัวสารออกฤทธิ์ก็ใช้เวลาดำเนินการถึง 6 ปี กว่าจะได้ใส่ปริมาณสารออกฤทธิ์ไว้ข้างกล่องเพราะว่า อย. เค้าขอประวัติการผลิตย้อนหลังไปหลายปีเลยทีเดียวครับ

ศาสตราจารย์ ดร.มณจันทร์ เมฆธน : เราเป็นรายเดียวตอนนี้ในประเทศไทยที่กล้าใส่สารออกฤทธิ์

พิธีกร : นอกจากถั่งเช่าก็มีผลิตภัณฑ์ตัวนี้ (Pablo) อีกใช่ไหมคะ ?

ศาสตราจารย์ ดร.มณจันทร์ เมฆธน : ตัวนี้ (Pablo) ที่เกริ่นมาแล้วว่าตัวเองมีปัญหาเกี่ยวกับข้อเข่า ตอนนั้นก็เกือบจะผ่าเข่าแล้ว… ตอนนั้นสามีก็ลองผสมสูตรตัว central ก็ตอนนั้นลูกสาวเป็นอาจารย์ที่คณะอุตสาหกรรมเกษตร เค้าก็สกัดงาดำแล้วก็เอามาเป็นส่วนผสมงาดำที่มีสารเซซามอล เซซาโมลินที่ช่วยการอักเสบ… คืออย่างงี้เล่าให้ฟังเกี่ยวกับโครงสร้างกระดูกนิดหนึ่ง คือมันจะประกอบไปด้วยกระดูกแข็งข้อต่อต่างๆกระดูกแข็งก็จะหุ้มด้วยกระดูกอ่อน และก็จะมีน้ำหล่อลื่นตรงกลาง ขณะเดียวกันกระดูกแข็งจะยึดด้วยเอ็นและกล้ามเนื้อ ใน Central มันจะมีส่วนผสมของสมุนไพรที่ช่วยทุกส่วนเลยของข้อต่อก็คือตัวของงาดำที่ช่วยป้องกันการถูกทำลายของกระดูกอ่อน เพราะเราอายุมากขึ้นจะมีเอนไซม์ตัวหนึ่งที่มาทำลายกระดูกอ่อน ตัวสารสกัดเซซามิน เซซามอล เซซามูลิน ก็จะมาช่วยยับยั้งการทำงานตรงนี้ เพราะฉะนั้นกระดูกอ่อนนอกจากจะไม่ถูกทำลายแล้ว ยังมีคอลลาเจนไทป์ทู ที่ไปเสริมกระดูกอ่อนกับน้ำหล่อลื่น มีตัวผงบัวบกที่ช่วยเกี่ยวกับบำรุงเอ็นและกล้ามเนื้อ ตัวสุดท้ายก็คือสารสกัดจากถั่วเหลืองที่ช่วยในการป้องกันกระดูกพรุนและก็เสริมความแข็งแรงของกระดูกสำหรับตัว Central  ตัวนี้ก็เรียกได้ว่าขายดีในอเมริกาเหมือนกันเพราะว่าที่นู่นมีพ่อครัวแม่ครัวเยอะเค้าก็จะยืนนานแล้วอยู่ในท่าเดียว บางทีปวดหลัง มืออะไรสารพัด เจ็บเข่า ก็ขายดีเหมือนกันค่ะ….

พิธีกร : ก็เป็นผลิตภัณฑ์ของทาง CORDYBIOTECH นะคะ นอกเหนือจาก Pablo ที่อาจารย์แนะนำนะคะ….

วันนี้ก็ต้องขอขอบคุณอาจารย์ทั้งสองท่านเป็นอย่างสูงเลยนะคะ..ที่ให้ข้อมูลทางด้านการดูแลสุขภาพและการดูแลตัวเองนะคะ ซึ่งผลิตภัณฑ์ทั้งหมดก็ถือเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เลยนะคะ ขอขอบคุณอาจารย์ทั้งคู่ค่ะ….

“รายการ KULIB Talk ก็ต้องขอขอบคุณท่านผู้ชมที่ติดตามชมรายการมาโดยตลอดนะคะ แล้วก็อย่าลืมติดตามข่าวสารของทางสำนักหอสมุดผ่านทางช่องทางเฟซบุ๊คและไลน์สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ค่ะ ก็จะไม่ทำให้ท่านพลาดข่าวสารของเราค่ะ สำหรับวันนี้นะคะก็ต้องขอกล่าวคำว่าขอบคุณและสวัสดีค่ะ “

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

รวมผลงานของศาสตราจารย์ดร.มณจันทร์ เมฆธน ในคลังความรู้ดิจิตัล มก.

รวมผลงานของดร. ชาญ เมฆธน ในคลังความรู้ดิจิตัล มก.
คัมภีร์ถั่งเช่า / วรวิทย์ โรจนวิภาต

ถั่งเช่า สุดยอดยาอายุวัฒนะ / เรียบเรียง มณจันทร์ เมฆธน, ชาญ เมฆธน
คู่มือสมุนไพรจีนกับการรักษาทางคลินิก / โดย ภาสกิจ (วิทวัส) วัณนาวิบูล

มหัศจรรย์สมุนไพรจีน บำบัดโรค บำรุงสุขภาพ / กองบรรณาธิการหนังสือสุขภาพ

หายป่วย สุขภาพดี ด้วยอาหารและสมุนไพรจีน / ภาสกิจ วัณนาวิบูล

 

KULIB TALK | EP.42 | การค้นพบกล้วยไม้ชนิดใหม่ของโลก

นางสาวอ้อพร เผือกคล้าย (น้ำ) นิสิตปริญญาเอก คณะวนศาสตร์ค้นพบกล้วยไม้ชนิดใหม่ของโลก

          สวัสดีครับ ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่รายการ Kulibtalk โดยผ่านการไลฟ์สดผ่านทาง facebook สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นะครับ และในวันนี้เองผมเฉลิมเดช เทศเรียน รับหน้าที่เป็นพิธีกรในวันนี้ครับ และในวันนี้เองเราก็มีเรื่องราวที่น่าสนใจเช่นเคยครับ ซึ่งในครั้งนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับนิสิตปริญญาเอก    สาขานิเวศวิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์

ที่ได้มีการวิจัยค้นพบกล้วยไม้ชนิดใหม่ของโลกซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากนะครับ และในวันนี้เองเราก็ได้คุณอ้อพร เผือกคล้าย (น้ำ) มาให้ข้อมูลในวันนี้นะครับ และในวันนี้นะครับคุณน้ำจะมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับการค้นพบกล้วยไม้ชนิดใหม่ของโลกครับ

คำถาม :  ในการค้นพบกล้วยไม้ชนิดใหม่ของโลกครั้งนี้ มีจุดเริ่มต้นจากอะไร ??

คำตอบ : เริ่มจาก น้ำเป็นคนทำวิจัยทบทวนอนุกรมวิธานเกี่ยวกับกล้วยไม้สกุลหวาย หมู่หวาย ชื่อวิทยาศาสตร์ก็คือ  สกุล Dendrobium sp.  พอทำงานเกี่ยวกับการทบทวนอนุกรมวิธาน จึงจำเป็นจะต้องหาข้อมูลเกี่ยวกับเอกสารต่างๆทางกลุ่มพืชที่เราต้องการจะศึกษา เพื่อที่จะแก้ปัญหาที่เราพบเจอในระยะของการวิจัย เสร็จแล้วก็จะศึกษาตัวอย่างพืชแต่ละชนิด ที่อยู่ในสกุลหวาย จากนั้นหาก็ลักษณะที่ไม่ต่อเนื่องกัน เพื่อที่จะแยกแต่ละชนิดออก ซึ่งการที่เจอกล้วยไม้ชนิดใหม่คือน้ำได้ดูเอกสารอ้างอิงต่างๆทางอนุกรมวิธาน ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง พรรณไม้ดองที่เก็บรักษาทั้งในประเทศไทยในพิพิธภัณฑ์ต่างๆ รวมทั้งของต่างประเทศด้วย พอมีการดูตัวอย่างเยอะๆ มีประสบการณ์แล้ว เราก็จะรู้ว่าตัวอย่างชนิดไหนมีลักษณะแตกต่างจากชนิดอื่น

คำถาม :  จากที่คุณน้ำอ้างอิงมาว่าศึกษาค้นคว้าจากเอกสารต่างๆ มีฐานข้อมูลที่ค้นคว้าจากแหล่งออนไลน์ร่วมด้วยไหมครับ ?

คำตอบ :  ใช่ค่ะ ก็จะเป็นข้อมูลทางด้านพืช อนุกรมวิธาน เราก็หาได้ตามเว็ปไซต์ ซึ่งปัจจุบันก็มีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า เราก็สามารถดูข้อมูลได้จากพวกข้อมูล data base อย่างทางของสำนักหอสมุดก็จะมีข้อมูลdata base , thesis  น้ำก็จะหาข้อมูลตามแหล่งข้อมูลนี้ค่ะ

คำถาม : เห็นว่านอกจากเอกสาร กับฐานข้อมูลต่างๆแล้วก็ยังมีการจะต้องดูตัวอย่างจริง เห็นว่ามีทั้งในและต่างประเทศด้วย อย่างในประเทศคุณน้ำก็ได้ไปศึกษาข้อมูลตัวอย่างจริง ?

คำตอบ :  ค่ะ… สำหรับตัวอย่างจริงในประเทศไทย หลักๆที่น้ำได้ศึกษาก็จะมี พิพิธภัณฑ์พืชกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช พิพิธภัณฑ์พืชของกรมวิชาการเกษตร แล้วก็ตามมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และก็ตามที่ต่างๆที่เค้าลงทะเบียนว่าเป็นพิพิธภัณฑ์พืช

คำถาม : แล้วอย่างต่างประเทศ คุณน้ำได้ไปดูพิพิธภัณฑ์ตัวอย่างของต่างประเทศด้วยไหมครับ ?

คำตอบ :  ค่ะ ได้ไปด้วยค่ะ …. แต่เดิมของเรา มีโครงการการสำรวจ นักวิทยาศาสตร์ไทย ก็จะสำรวจร่วมกับต่างประเทศ ฉะนั้นเวลาที่เค้ามาสำรวจ นักวิทยาศาสตร์ของต่างประเทศก็จะเก็บตัวอย่างพืชไปที่ต่างประเทศด้วย ก็เลยเป็นเหตุผลที่ว่าเราต้องไปดูตัวอย่างพืชที่ต่างประเทศด้วย

คำถาม : กล้วยไม้ชนิดใหม่ที่คุณน้ำค้นพบ มีลักษณะเด่นที่แตกต่างจากกล้วยไม้พันธุ์อื่นๆอย่างไรบ้างครับ ?

คำตอบ : ก่อนอื่นต้องขอบอกส่วนประกอบพื้นฐานของกล้วยไม้ก่อน คือส่วนประกอบของดอกกล้วยไม้จะมี กลีบเลี้ยง กลีบดอก และกลีบปาก คือ ลักษณะเด่นของกล้วยไม้ชนิดใหม่คือ ขอบของกลีบปากจะแตกต่าง คือจะมีลักษณะเด่นเลยคือ ขนขอบกลีบเป็นชายทุยและมีขนยาวนุ่มออกมา ซึ่งลักษณะดังกล่าวเป็นลักษณะเด่นของกล้วยไม้ชนิดนี้ และรูปทรงของกลีบปากจะขนานไปกับพื้นดินเวลาบาน จะเป็นทรงตรงขนานกับพื้นดิน

คำถาม : มีลักษณะอื่นๆที่แตกต่างอีกไหมครับ ?

คำตอบ : ที่ดูๆมา จะมีลักษณะที่เด่นชัดก็คือที่กล่าวไปค่ะ

คำถาม : ข้อมูลที่คุณน้ำสำรวจเจอ เคยมีท่านใดค้นพบมาก่อนหรือไม่ ในตัวอย่างพืชที่มีส่วนใกล้เคียงกับกล้วยไม้ชนิดนี้?

คำตอบ : กล้วยไม้ชนิดใหม่นี้ มีความคล้ายคลึงกับกล้วยไม้เอื้องคำน้อย Dendrobium fimbriatum Hook.  ลักษณะของกล้วยไม้2ชนิดนี้คือ สีมีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน (น้ำยังไม่เห็นกล้วยไม้ชนิดใหม่นี้ในธรรมชาติจริงๆ) แต่ตามคำบรรยายใน label สีของกล้วยไม้ชนิดใหม่ก็จะบอกไว้ว่า สีของกล้วยไม้มีสีเหลืองแกมส้ม แต้มจุดสีม่วง2จุด บริเวณกลางกลีบปาก ซึ่งลักษณะของสีดังกล่างจะไปคล้ายกับกล้วยไม้เอื้องคำน้อย แต่พอดูลักษณะที่ละเอียดจริงๆแล้วก็จะพบว่ามีลักษณะต่างกัน 10 ประการ        

คำถาม : ฉะนั้นการค้นพบครั้งนี้ไม่ได้ค้นพบตามธรรมชาติทั่วไป ? ก็คือเราดูจากข้อมูลอ้างอิง และดูจากข้อมูล label  ข้อมูลที่มีการเก็บตามพิพิธภัณฑ์ต่าง ?

          คำตอบ : ใน label ก็จะบอกลักษณะสีก่อนที่เค้าจะนำมาดอง alcohol 70% เค้าจะต้องมีการบันทึกลักษณะของสีไว้ก่อน และบอกถึงลักษณะสังคมพืชที่ค้นพบกล้วยไม้ชนิดนั้นๆ พอเค้าสำรวจพื้นที่มาแล้ว ก็จะมีการเก็บตัวอย่างเพื่อคงสภาพไว้โดยการดอง alcohol ไว้ เพื่อบ่งบอกว่าประเทศเรามีทรัพยากรอะไรบ้าง

          คำถาม : ซึ่งในการเก็บและดอง alcohol ไว้ มีการระบุสถานที่ที่พบเจอไหมครับ ?

          คำตอบ : มีค่ะ เค้าก็จะเขียนไว้เลยว่า location นี้พบที่ไหน อย่างชนิดที่ค้นพบนี้คือ พบที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ภูวัว จังหวัดบึงกาฬ ส่วนอีกที่หนึ่งพบที่ อุทยานแห่งชาติภูลังกา จังหวัด นครพนม

          คำถาม : แสดงว่าตอนนี้ที่พบข้อมูลมีอยู่2ที่ ?

          คำตอบ : ใช่ค่ะ … แต่ว่าช่วงที่มีการค้นพบ เทคโนโลยีด้าน GPS อาจจะยังไม่มีจึงไม่ได้แจ้งพิกัดไว้ จึงแจ้งไว้แค่ Location ที่พบ

          คำถาม :  แล้วอย่างนี้ คุณน้ำมีข้อมูลของสภาพแวดล้อม หรือสังคมพืชของกล้วยไม้ชนิดใหม่นี้หรือไม่ครับว่า กล้วยไม้ชนิดนี้จะเติบโตในสภาพแวดล้อมแบบไหน หรือสังคมพืชแบบใด?

          คำตอบ : ถ้าเป็นกล้วยไม้สกุลหวาย จะมีลักษณะเป็นพืชกล้วยไม้อิงอาศัยที่เกาะตามต้นไม้อยู่แล้ว แต่ในธรรมชาติน้ำยังไม่พบ  แต่ในสภาพในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ภูวัว(แหล่งที่ค้นพบ) ก็จะมีลักษณะสังคมพืชแบบ ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ลานหิน ทุ่งหญ้า น้ำเลยคิดว่า กล้วยไม้ชนิดนี้ถ้าพบก็จะเกาะอยู่ตามต้นไม้ที่มีลักษณะโปร่งแสง ก็คือมีแสงแดดส่องถึงแต่ไม่ได้แดดจัดมาก มีความชื้นจากเปลือกไม้ที่เกาะอาศัยอยู่ แต่ไม่ทราบว่าเกาะอยู่ตามต้นไม้ชนิดใด

          คำถาม : อันนี้เป็นข้อมูลที่เรามีอยู่แต่ไม่ได้เจาะลึกขนาดนั้น ?

          คำตอบ : ใช่ค่ะ แต่เป็นข้อมูลพื้นฐานที่ทำให้เราสามารถกำหนดจุดสำรวจได้

คำถาม : จากที่กล่าวมาว่ามีความคล้ายคลึงกับกล้วยไม้เอื้องคำน้อยคือสีที่คล้ายกัน แล้วมีส่วนอื่นอีกหรือไม่ครับ ?

คำตอบ : ถ้าเรามองลึกลงไปอย่างละเอียด จะพบว่า2ชนิดนี้มีความแตกต่างกัน อย่างแรกเลยรูปทรงของลำต้นจะแตกต่างกันมาก ถ้าเป็นกล้วยไม้ชนิด Dendrobium perplexum (กล้วยไม้ชนิดใหม่ที่ค้นพบ) ลำต้นจะเป็นทรงกระสวย โปร่งทางด้านฐาน ยอดจะเรียว ส่วนกล้วยไม้เอื้องคำน้อย ลำต้นจะเป็นทรงกระบอกและยาว รูปร่างและขนาดของใบก็ต่างกัน  ส่วนที่สามคือขนาดของกลีบเลี้ยงแตกต่างกัน รูปทรงของกลีบปากก็แตกต่างกัน ในส่วนกลีบปากของ Dendrobium perplexum ตรงฐานโคนกลีบปากจะโอบล้อมกับซอกเกสร โอบล้อมเป็นหลอด ส่วนกล้วยไม้เอื้องคำน้อยจะโอบล้อมเป็นรูปกรวย แล้วก็เวลาที่ดอกบาน Dendrobium perplexum จะบานไปกับพื้นดิน ส่วนของกล้วยไม้เอื้องคำน้อยปลายปากจะโค้งลงทางด้านล่าง ลักษณะดังที่กล่าวมาแตกต่างกันจึงสามารถแยก2ชนิดดังกล่าวออกจากกันได้

คำถาม : ในทีมที่ค้นพบ รู้สึกจะมีการร่วมจากหลายท่าน มีท่านใดบ้างที่มีผลในการวิจัยครั้งนี้ ?

          คำตอบ : ท่านแรกเลยคือเป็นที่อาจารย์ปรึกษาวิทยานิพนธ์ของน้ำเอง คือ รศ.ดร สราวุธ  สังข์แก้ว (ที่ปรึกษาด้านกล้วยไม้ , Thesis )  อีกท่านคือผู้เชี่ยวชาญด้านกล้วยไม้ประเทศไทย(อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม)   ดร.สมราน สุดดี จากกลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช  อาจารย์ที่ปรึกษาร่วมอีกท่านที่เป็นชาวต่างประเทศคือ  ศาสตราจารย์.ดร เทเวอร์ ฮอคินสัน   อีกท่านคือผู้เชี่ยวชาญด้านกล้วยไม้ของประเทศเดนมาร์ก รองศาสตราจารย์.ดร.เฮนริค พีเดอร์เซน

คำถาม : ซึ่งอันนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยใช่ไหมครับ ที่จะเจอสายพันธุ์ชนิดใหม่ของโลก ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญจากหลายหน่วยงาน หลายท่านด้วย ?

          คำตอบ : ใช่ค่ะ …. ก็ระยะเวลาที่ทำก็เกือบ2ปี เพราะต้องค้นคว้าเอกสารด้วยเพื่อดูว่ามีคนตีพิมพ์ไปแล้วหรือยัง แล้วก็ต้องหาข้อมูลจากเอกสารหลายๆที่ ในประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงเรามีใครเคยค้นพบแล้วตีพิมพ์แล้วหรือยัง จากนั้นก็หาข้อมูลจากทั่วโลกว่ามีคนเคยเจอกล้วยไม้ชนิดนี้แล้วหรือยัง และต้องดูตัวอย่างทั้งหมดเลยเพื่อทำให้เรามีประสบการณ์ในการทำงาน เพื่อระบุว่ากล้วยไม้นี้เป็นกล้วยไม้ชนิดใหม่จริงๆค่ะ ….

         

          คำถาม : พอเรามีข้อมูลค่อนข้างครบถ้วนแล้วว่าเป็นชนิดที่ไม่เคยเจอหรือมีการระบุมาก่อน พอมั่นใจแล้วดำเนินการอย่างไรต่อ ต้องแจ้งที่หน่วยงานไหนเพิ่มเติม ?

          คำตอบ : สิ่งแรกที่ต้องทำคือต้องดูให้แน่ชัดว่ามีคนไหนเคยตีพิมพ์แล้วหรือยัง(อันนี้สำคัญที่สุด) จากนั้นให้เรามาเขียนบรรยายลักษณะทางสัณฐานวิทยาของกล้วยไม้ชนิดนั้นอย่างละเอียด อาจจะมีภาพวาดลายเส้นหรือรูปถ่าย จากนั้นก็ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านอนุกรมวิธาน เพื่อให้เค้าช่วยในการยืนยันอีกทีเนื่องจากประสบการณ์ผู้เชี่ยวชาญมีมาก เสร็จแล้วให้หาวรสารทางอนุกรมพืชที่เป็นที่ยอมรับ ให้เราส่งเนื้อเรื่องของเราไปที่วารสารนั้นเพื่อทำการตีพิมพ์และเผยแพร่ออกมา

คำถาม : เมื่อสักครู่ได้ยินชื่อที่เกริ่นออกมาคร่าวๆคือ Dendrobium perplexum Phueakkhlai, Sungkaew & H.A.Pedersen, sp อันนี้เป็นชื่อกล้วยไม้ของชนิดใหม่นี้ใช่ไหมครับ ?

          คำตอบ : เราตั้งชื่อพฤกษศาสตร์ให้แก่กล้วยไม้ชนิดใหม่นี้คือ Dendrobium perplexum คำระบุชนิด  perplexum นี้เป็นคำละติน แปลว่า ทำให้สับสน ทำให้มึนงง ซึ่งน้ำตั้งจากคนที่ศึกษากล้วยไม้ชนิดนี้ก่อนหน้า เค้าไม่ได้ระบุชนิดนี้แน่ชัดว่าเป็นอะไรคล้ายชนิดนั้นบ้าง ชนิดนี้บ้าง น้ำเลยตั้งว่า perplexum และก็ตามด้วยนามสกุลของน้ำเองคือ Phueakkhlai แล้วก็ Sungkaew H.A.Pedersen ก็จะเป็นชื่อของทีมงานที่ค้นพบด้วยกัน

คำถาม : นอกจากชื่อภาษาอังกฤษแล้ว มีชื่อภาษาไทยไหมครับกล้วยไม้ชนิดใหม่นี้?

          คำตอบ : น้ำอยากจะเห็นกล้วยไม้ชนิดนี้ในธรรมชาติก่อนค่ะ จึงจะตั้งอีกทีค่ะ

          คำถาม : รอติดตามข่าวชื่อกล้วยไม้ชนิดใหม่นี้ที่เป็นภาษาไทยนะครับ ถ้ามีการอัพเดทยังไงเดี๋ยวคุณน้ำจะมีข้อมูลการอัพเดทเพิ่มเติมให้ อันนี้เป็นข้อมูลที่เรายังไม่ได้เจอกล้วยไม้ในธรรมชาติ ต้องรอดูผู้เชี่ยวชาญในการสำรวจ….

          คำตอบ :  ค่ะ….ต้องรอดูนักสำรวจที่มีโครงการในการสำรวจพันธุ์ไม้ในประเทศค่ะ ซึ่งข้อมูลตรงจุดนี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานให้เค้าในการสำรวจเส้นทางธรรมชาติ อาจจะพบกล้วยไม้ชนิดนี้ในธรรมชาติค่ะ ก็จะออกดอกช่วงเดือนเมษายนนะคะ

          คำถาม : กล้วยไม้ชนิดนี้มีกลิ่นแบบไหนครับ ?

          คำตอบ : ไม่ทราบเลยค่ะ เพราะตัวอย่างเค้าดองแอลกอฮอล์มาค่ะ น้ำเลยไม่ทราบว่ามีกลิ่นแบบไหน

          คำถาม : ในอนาคตคุณน้ำมีแผนในการต่อยอดงานวิจัยชิ้นนี้อย่างไรบ้างครับ?

          คำตอบ :  จากที่น้ำทำเรื่องอนุกรมวิธานของพืชกลุ่มนี้ ข้อมูลทางด้านนี้จะเอามาเสริมเป็นข้อมูลที่เพิ่มเติมให้กับหนังสือ  FLORA OF THAILAND ซึ่งเป็นหนังสือเกี่ยวกับโครงการพันธุ์พฤกษชาติของประเทศไทย ซึ่งหนังสือจะบอกเกี่ยวกับ ชื่อพฤกษศาสตร์ที่ถูกต้อง คำบรรยายลักษณะพืช แหล่งการกระจายพันทางด้านนิเวศวิทยาว่าพบในสภาพสังคมพืชใดบ้าง ออกดอกช่วงไหน ซึ่งในหนังสือจะบอกเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศเรา เพื่อบอกว่าประเทศเรามีทรัพยากรใดเป็นความก้าวหน้าของประเทศ ก็จะมีประโยชน์ทางด้านการเกษตรก็คือก่อนที่เราจะปรับปรุงพันธุ์พืชเราก็ต้องรู้ชื่อวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องก่อนเราถึงจะนำมาปรับปรุงพันธุ์พืชได้ ในทางด้านป่าไม้ถ้าเรารู้ชื่อวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องก็จะรู้ถึงจำนวนประชากรว่ามีเท่าไหร่ พอรู้ปริมาณแล้วเราก็สามารถนำข้อมูลมาจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อเป็นแนวทางในการอนุรักษ์พืชต่อไป ในด้านการแพทย์ เภสัช ก่อนอื่นต้องรู้ถึงชื่อพืชที่ถูกต้องเพื่อที่ว่าเวลาที่เราสกัดสารหรือสกัดเคมีเพื่อนำมาเป็นยารักษาโรค เราต้องรายงานผลว่าเจอกล้วยไม้ชนิดนี้ที่ไหน ข้อมูลตรงนี้จะบอกได้ทุกอย่างเลยในการนำไปต่อยอดทางด้านต่างๆทุกแขนง

พิธีกรพูด(ต่อจากข้อที่แล้ว) : อันนี้ก็จะเป็นแนวทางในอนาคตที่คุณน้ำจะใช้ในการต่อยอดพัฒนากล้วยไม้ชนิดใหม่นี้ ช่วงสุดท้ายแล้วอยากให้คุณน้ำช่วยฝากกับท่านผู้ชมซึ่งอาจเป็นนิสิตปริญญาเอก โท หรือตรี ที่มีความเกี่ยวข้องกับการสำรวจ อยากจะให้ฝากถึงท่านผู้ชมกลุ่มนี้ครับ

          คำตอบ : ในการทำงานด้านอนุกรมวิธานพืช คือว่าอยากให้นิสิตที่สนใจเริ่มต้นจากการเข้ามาดูในพิพิธภัณฑ์พืชก่อน ดูว่าเราชอบกลุ่มพืชไหนไม้ดอกไม้ชนิดไหน จากนั้นก็จะมีสาขาวิชาทางด้านพืชที่รองรับนิสิตสนใจอยากจะเป็นนักอนุกรมวิธานพืชในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เช่น คณะวิทยาศาสตร์ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวนศาสตร์ ภาควิชา ชีววิทยาป่าไม้ มีศาสตร์อีกหลายอย่างที่เราสนใจที่จะให้ศึกษา อยากฝากน้องๆว่า สาขาอนุกรมวิธานเป็นงานที่สนุกและทำให้เรามีความละเอียดและรอบคอบมากขึ้นและทำให้เราอยากสืบค้นข้อมูลต่อยอดไปเรื่อยๆค่ะ…..         

          พิธีกรกล่าว : ถือว่าเป็นสาขาหนึ่งที่น่าสนใจและก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการค้นพบกล้วยไม้ชนิดใหม่ของโลก วันนี้ก็ได้ข้อมูลค่อนข้างละเอียดจากคุณน้ำ ในการให้ข้อมูลตั้งแต่ในเรื่องของการค้นพบว่าค้นพบได้อย่างไร การเก็บข้อมูลเอกสารต่างๆ การศึกษารายละเอียดต่างๆว่ามีลักษณะเด่นที่แตกต่างจากสายพันธุ์อื่นๆ และเมื่อค้นพบเสร็จต้องทำอย่างไรต่อ และแนวทางการวิจัยในอนาคตที่มีประโยชน์ด้านการอนุรักษ์ ความหลากหลายทางชีวภาพ และการต่อยอดทางการแพทย์ที่จะนำข้อมูลนี้ไปใช้ในการรักษาโรค (คุณน้ำพูดแทรก)ด้านการเกษตรเองก็มีค่ะ ในวันนี้ขอขอบพระคุณคุณน้ำนะครับ คุณอ้อพร เผือกคล้าย นิสิตปริญญาเอก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวนศาสตร์นะครับ สำหรับท่านผู้ชมที่ติดตามรายการ kulibtalk ของเรานะครับ สามารถที่จะติดตามข่าวสารรายการผ่านทาง facebook สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นะครับ หรืออีกช่องทางหนึ่งนะครับทางไลน์ @kulibrary นะครับ ก็จะทำให้ทุกท่านสามารถติดตามข่าวสารของเราได้ และในวันนี้เองนะครัยต้องขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตามนะครับ แล้วพบกันใหม่เทปหน้านะครับ ขอบคุณครับ

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

รวมผลงานของ รองศาตราจารย์ ดร. สราวุธ  สังข์แก้ว ในคลังความรู้ดิจิตัล มก.

Flora of Thailand / Chote Suvatti

การประเมินความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมและการจำแนกกล้วยไม้สกุลหวาย หมู่แคลิสตา ด้วยลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีน rpoC1 และ matK

การคัดเลือกสายพันธุ์แอคติโนมัยซีทและการผลิตชีวภัณฑ์เพื่อควบคุมทางชีวภาพโรคเน่าและของกล้วยไม้ทางการค้า Dendrobium sonia โดยมีสาเหตุมาจากเชื้อ Erwinia carotovora / สุพัตรา แผ่นเงิน

เอกสารวิชาการคู่มือการจำแนกชนิดกล้วยไม้สกุลหวายโดยไม่ใช้ดอกสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 / เรียบเรียงโดย สุมาลี ทองดอนแอ, ดวงเดือน ศรีโพทา, วีรวิทย์ นิยากาศ

การศึกษาค้นคว้าประวัติการเก็บพรรณไม้แห้งในประเทศไทย / สุคิด อักษรรัตน์

ความหลากหลายของกล้วยไม้ภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา / นิรมล รังสยาธร...[และคนอื่น ๆ]

กล้วยไม้--คู่มือการปลูกและสายพันธุ์ยอดนิยม / กมลวรรณ เตชะวณิช

         

การตรวจ DNA ข้าวเพื่อรับรองข้าวก่อนที่จะส่งออก

“การตรวจ DNA ข้าวเพื่อรับรองข้าวก่อนที่จะส่งออก”

หน้าที่ของ DNA

          DNA ทำหน้าที่อะไร เป็นเรื่องที่น่าแปลก ในเมื่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิดประกอบไปด้วย DNA และ DNA ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดก็ประกอบไปด้วยนิวคลีโอไทด์ 4 ชนิด คือ A C G T แต่ทำไมสิ่งมีชีวิตจึงได้แตกต่างกันมาก ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวเช่น อะมีบา มาจนกระทั่ง หญ้า พืชล้มลุก ไม้ยืนต้น แมลงเล็กๆ พวก มด ปลวก สัตว์น้ำต่างๆ สัตว์ปีกพวก นก เป็ด ไก่ พวกสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ใหญ่ต่างๆ จนถึงคน

          ห้องปฏิบัติการดีเอ็นเอเทคโนโลยี ได้ตระหนักถึงการสูญเสียประโยชน์ของประเทศชาติ  จึงได้พัฒนาชุดสำเร็จสำหรับใช้ในการวิเคราะห์ดีเอ็นเอขึ้นโดยมีประสิทธิภาพเท่าเทียมกับชุดสำเร็จจากต่างประเทศ และที่สำคัญคือการลดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าครึ่ง

          DNA preservation matrix ถูกพัฒนาสำหรับใช้ในการเก็บรักษาตัวอย่างของเหลวจากสิ่งมีชีวิต เช่น เลือด น้ำเหลือง ฯลฯ ที่มีปริมาณน้อย ณ อุณหภูมิห้อง  โดยไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีอื่นในการเก็บรักษาตัวอย่าง  ใช้พื้นที่น้อย ง่ายต่อการขนส่งเพราะไม่จำเป็นต้องรักษาสารพันธุกรรมในสภาพแช่แข็ง  ชุดเก็บตัวอย่างของเหลวนี้ มีคุณสมบัติในการแยกสารพันธุกรรมออกจากเซลล์และจับ DNA ไว้ได้นานกว่าสามเดือนในสภาพแห้ง ก่อนที่จะนำมาทำการสกัดสารพันธุกรรมเพื่อวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ  โดยชุดเก็บรักษาตัวอย่างถูกพัฒนาขึ้นมา 2 แบบด้วยกัน ได้แก่ แบบหลอดทดลอง (1 ตัวอย่าง) และ แบบจานหลุมขนาด 96 ตัวอย่าง

          DNA Trap เป็นชุดสกัดสารพันธุกรรมจากเซลล์พืชและสัตว์ ที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงเทียบเท่ากับชุดสกัดสารพันธุกรรมจากต่างประเทศ แต่ราคาต่ำกว่า ชุดดังกล่าวสามารถนำมาสกัดได้ทั้งชิ้นส่วนของพืชที่เป็นของแข็งหรือตัวอย่างที่เป็นของเหลว  ซึ่ง DNA Trap นี้ใช้หลักการตกตะกอนโปรตีนและโพลีแซคคาไรด์ด้วยเกลือ โดยไม่ใช้ Phenol หรือ chloroform ซึ่งเป็นสารอันตราย ดังนั้นสารพันธุกรรมจึงถูกทำให้บริสุทธิ์ มีคุณภาพเพียงพอที่จะนำไปใช้ในการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ

ข้อกำหนดของกระทรวงพาณิชย์ ข้าวหอมไทย ต้องมีความบริสุทธิ์ไม่ต่ำกว่า 92 เปอเซ็น เพราะนั้นผู้ที่จะส่งออกข้าว จะต้องผ่านการตรวจ DNA ก่อน

โดยในขั้นตอนแรกเป็นการสุ่มตัวอย่างข้าว 1 กิโลกรัม และมาใช้เครื่องแบ่งเมล็ดพันธุ์ 192 เมล็ดเป็นตัวแทนในการตรวจ DNA และเทียบกับ DNA มาตรฐาน เช่นหอมมะลิ

1 เมล็ดคือการสกัด DNA 1 หลุม และตรวจตามระบบ เพื่อให้ได้คำตอบว่าข้าวล็อตนี้บริสุทธ์เท่าไหร่ โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. การสุ่มเมล็ดในบล็อกพลาสติก และใช้ลูกเหล็กเพื่อใส่เครื่องบด ให้เมล้ดข้าวกลายเป็นผงแป้ง
  2. เติม Affection buffer
  3. จากนั้นจะได้ DNA ข้าวในแต่ละหลุม โดย1หลุมต่อ1เมล็ด
  4. ใช้เครื่อง Genespin ช่วยในการย้ายตัวอย่าง DNA
  5. ตัวอย่างข้าวจะมีการติดบาร์โค้ดเพื่อทวนสอบว่าเป็นตัวอย่างของใคร รับมาเมื่อไหร่
  6. บันทึกข้อมูลชื่อตัวอย่างบาร์โคดลงใน Server
  7. เมื่อได้ DNA ข้าวแล้ว เราจะไปจำเพาะ DNA ต้นแบบเพื่อวิเคราะห์พันธุ์ โดยใช้เครื่อง Meridian
  8. จากนี้ก็ไปใส่ DNA เครื่องหมาย และปิดซีลเพจ เพราะเครื่องไฮโดรไซเคิล คือการแช่ลงไปในน้ำ ความรวดเร็วของเครื่องเราสามารถทำพร้อมกัน 14 เพจ ซึ่งจะรวดเร็วกว่าแบบเดิม
  9. อ่านค่าผล

ข้าวหอมมะลิ 80 : จุดประกายการใช้ความหลากหลายทางชีวภาพแบบก้าวหน้า

รายงานการวิจัยโครงการบูรณาการเทคโนโลยีชีวภาพในการสร้างพันธุ์ข้าวเพื่อเพิ่มมูลค่าและคุณค่าสูง

การศึกษายีนควบคุมลักษณะสำคัญทางเศรษฐกิจในข้าวโพด

"ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว" กับผลงานด้านนวัตกรรม

KU สร้างสรรค์ข้าวไทย "ศาสตร์แห่งแผ่นดิน เพื่อความกินดีอยู่ดี"

ไรซ์เบอร์รี่ ข้าวหอมสายพันธุ์ใหม่ พลิกชีวิตชาวนาไทย

Genome-wide association mapping of virulence gene in rice blast fungus Magnaporthe oryzae using a genotyping by sequencing approach

Thai Hom Mali Rice: Origin and Breeding for Subsistence Rainfed Lowland Rice System

Dissection of broad-spectrum resistance of the Thai rice variety Jao Hom Nin conferred by two resistance genes against rice blast

Assessment of genetic variation of 15 Thai elite rice cultivars using InDel markers.

Phylogenetic relationship of Diospyros kaki (persimmon) to Diospyros spp. (Ebenaceae) of Thailand and four temperate zone Diospyros spp. from an analysis of RFLP variation in amplified cpDNA

 

 

 

การพัฒนาระบบตรวจจับปูม้าลอกคราบอัตโนมัติ

การพัฒนาระบบตรวจจับปูม้าลอกคราบอัตโนมัติ

วันนี้ เราได้รับเกียรติจาก อาจารย์.ดร.สุขกฤช นิมิตกุล อาจารย์ประจำภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งอาจารย์เป็นผู้ที่พัฒนาระบบตรวจจับปูม้าลอกคราบอัตโนมัติ เป็นระบบที่ทำให้เราสามารถกินปูม้านิ่มได้ง่ายขึ้น ซึ่งปูม้านิ่ม เป็นอาหารทะเลที่มีความต้องการในตลาดสูง ทั้งในและต่างประเทศ เนื่องจากกินได้ทั้งตัว แล้วก็ไม่ต้องเสียเวลาแกะเปลือกแกะกระดอง มีปริมาณเนื้อส่วนที่รับประทานได้มากกว่าปูที่มีเปลือกแข็ง 3-4 เท่า

     วันนี้รบกวนอาจารย์ให้ความรู้เกี่ยวกับปูม้านิ่มหน่อยครับอาจารย์ คำถามแรกเลย ผมอยากรู้ว่า ปูนิ่มกับปูธรรมดามีความแตกต่างกันอย่างไรครับ

ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณทางสำนักหอสมุดนะครับที่ได้มาสัมภาษในวันนี้ ก่อนอื่นก็ต้องอธิบายว่าปูนิ่มไม่ได้เป็นปูชนิดใหม่ หรือไม่ได้เป็นปูอีกชนิดนึง ตามที่หลายคนเข้าใจกัน ปูนิ่มก็คือปูปกติ เพียงแต่ว่า ในช่วงชีวิตนึงของปู กุ้ง ไม่สามารถขยายร่างกายได้เหมือนมนุษย์ เพราะมนุษย์มีผิวที่อ่อนนุ่มยืดหยุ่นขยายได้ เหมือนเวลาอ้วน ท้องเราก็จะยื่นออกมา พอผอม ท้องก็ยุบไป แต่สัตว์พวกนี้มีข้อเสียอย่างนึงคือ เปลือกเขาแข็ง เพราะฉะนั้นเปลือเขาไม่สามารถยืดหยุ่นได้เหมือนเราที่มีเนื้อหนัง เขาก็ต้องใช้วิธี ทิ้งเปลือกเก่า แล้วก็สร้างเปลือกใหม่ที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิม คือกระบวนการนี้เขาเรียกว่า กระบวนการลอกคราบ เพราะฉะนั้น ในระหว่างที่เขาสลัดเปลือกเก่าออกไป เปลือกที่กำลังจะขึ้นมาใหม่มันยังอ่อนนุ่มอยู่ แค่ระยะเวลาสั้นๆ พอผ่านไปชั่วโมงนึง หรือสาม-สี่ชั่วโมง เปลือกจะค่อยๆแข็งขึ้น จนกระทั่งแข็งเป็นเปลือกใหม่ที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิม มนุษย์ก็ไปค้นพบว่า ถ้าเราจับปูหรือกุ้งตอนที่เพิ่งลอกคราบใหม่ๆ เปลือกยังอ่อนนุ่มอยู่ เอามาแช่แข็ง เปลือกก็จะยังอ่อนนุ่มอยู่ ก็เลยเป็นที่มาของปูนิ่ม เพราะว่า ข้อหนึ่งของการกินปูคือ ไม่ค่อยมีใครอยากแกะปู เพราะลำบาก มือเลอะเปอะเปื้อน ก็เลยกินปูนิ่ม ปูนิ่มในที่นี้คือปูที่เพิ่งลอกคราบใหม่ ที่จับมาแช่เย็นก่อนที่คราบใหม่จะแข็ง ก็เลยเป็นที่มาของปูนิ่ม ทีนี้ ปูที่เรานิยมเอามาทำเป็นปูนิ่มในปัจจุบัน คือปูทะเลหรือพวกปูดำทั้งหลาย ก็คือปูที่จับได้ทางป่าชายเลน ก้ามใหญ่ๆตัวสีดำออกเขียว เพราะอยู่บนบกได้หลายวัน แค่นำผ้าเปียกมาคลุมไว้ ตัวนี้หละครับที่เรานิยมนำมาทำปูนิ่ม ก็แสดงให้เห็นว่า ปูนิ่มไม่ใช่สัตว์ชนิดใหม่ เป็นแค่ เราอาศัยช่วงที่เขากำลังเจริญเติบโตเอามาเป็นประโยชน์กับมนุษย์ คือการกินโดยไม่แกะเปลือก

     ปูนิ่มที่อาจารย์พัฒนา ศึกษาอยู่ เป็นสายพันธ์อะไรครับ

คือต้องย้อนไปก่อนนะครับ ว่า ปูนิ่มเนี่ยเราเป็นคนคิดค้นรึเปล่า เปล่าครับ เขาทำกันมาหลายสิบหลายร้อยปีแล้ว เพียงแต่ว่า ปัญหาในปัจจุบันที่เกิดขึ้นกับธุรกิจปูนิ่มในไทย หรือเอเชีย คือการขาดแคลนลูกพันธ์ แล้วทำไมถึงขาดแคลน ก็ต้องอธิบายว่า กระบวนการผลิตปูนิ่มเนี่ย ทำยังไง ขั้นแรกเลย ก็คือต้องเอาปูตัวเล็กๆมาใส่กระบะพลาสติก1ตัว ต่อ1กระบะ เพื่อแยกไม่ให้อยู่รวมกัน เพราะปูมีนิสัยกินกันเองเมื่ออีกตัวลอกคราบ ปรากฏว่า กระบวนการนี้ต้องใช้ปูเยอะ เพราะฟาร์มๆนึงมีปู2หมื่น-7หมื่นตะกร้า นั่นหมายความว่า เราต้องเอาปูใส่ตะกร้า7หมื่นกระดอง ก็ต้องใช้ลูกปูเยอะ ลูกปูก็ต้องดักจับ ไม่มีฟาร์มเพาะเลี้ยง ก็ต้องดักจับตามธรรมชาติ ปูพวกนี้อาศัยตามป่าชายเลน เพราะฉะนั้น ป่าชายเลนเราพื้นที่เหลือน้อยลงจากการทำนากุ้ง การบุกรุก ทำให้ลูกพันธ์พวกนี้หายไป วิธีการแรกๆก็ไปหาประเทศเพื่อนบ้านที่ยังมีป่าชายเลน ไม่ว่าจะเป็นพม่า อินเดีย บังคลาเทศ ทำไปมาประเทศเหล่านั้นก็คงคิดว่า ปูก็ของเรา แรงงานในฟาร์มก็แรงงานประเทศเรา แล้วทำไมเราไม่ทำเอง เขาก็เลยมีการทำฟาร์มของประเทศเขาเยอะ บางส่วนเรานำเข้าลูกปูมา โดยที่เขาคัดลูกปูตัวที่ดีๆไว้เรียบร้อย ตัวที่ไม่ดีก็ส่งมาขายเรา ฟาร์มเราก็คือ มีปัญหาเรื่องลูกพันธ์ที่ไม่ดี กระท่อนกระแท่นมาเรื่อย บางครั้งโชคดี มีลูกพันธ์ก็ดีไม่มีก็ไม่รู้จะทำยังไง อันที่สอง อันนี้น่าสนใจ ก็คือ อย่างเมื่อกี้ที่บอกไปว่าถ้าทิ้งเวลาไว้นานกระดองมันจะแข็ง นั่นหมายความว่าหลังจากปูลอกคราบแล้วต้องเอาไปแช่เย็นให้เร็วที่สุด นั่นหมายความว่าทุกสี่ชั่วโมงต้องมาคอยเช็ค ถ้าฟาร์มนึงมี7หมื่นตะกร้า ก็ไล่เช็คไปทุกๆสี่ชั่วโมง เพราปูเขาไม่ได้มาเลือกวัน ว่าวันนี้จะไม่ลอกคราบ เขาก็ลอกตามธรรมชาติของเขา เราก็จะคิดว่า ปูส่วนใหญ่ลอกกลางคืน ทำไมต้องเลือกกลางคืน เพราะความมืดอำพรางตัว เป็นช่วงเวลาที่ตัวเองอ่อนแอที่สุด เพราะถ้าลอกตอนกลางวันก็จะโดนเพื่อนจับกิน นอกจากจะต้องคอยเช็คทุกสี่ชั่วโมง มันยังลอกคราบมากช่วงเที่ยงคืน-6 โมงเช้า มนุษย์ชอบไหมอะ เราไม่ได้นอนอะ คงไม่ไหว ก็เลยเป็นที่มาของกระบวนการทำปูนิ่ม เป็นกระบวนการที่ หนึ่ง เลือกลูกพันธ์ สอง มีปัญหาเรื่องแรงงาน แรงงานต้องอดทน เพราะไปไหนไม่ได้ 4 ชั่วโมง เช็คครั้งนึงไม่ได้ใช้5-10นาที ต้องนั่งไล่ดูไปเรื่อย ดีไม่ดีหมดครึ่งชั่วโมง พอหมดครึ่งชั่วโมงก็ไปนอน อีกสามชั่วโมงตื่นมาเช็คใหม่ ช่วงตี4-ตี5ตาเบลอๆ อาจจะหลุดตัวที่ลอกคราบไปได้ และยังไม่นับการให้อาหาร ต้องมานั่งหยอดอาหาร เพราะฉะนั้นก็จะกลายมาเป็นปัญหาของธุรกิจปูนิ่มในประเทศไทย ทั้งเรื่องการใช้แรงงาน หลักๆก็เรื่องนี้ ส่วนเรื่องตลาดไม่มีปัญหา มีขายหมด มีไม่พอ ซึ่งพูดได้น้อยมากกับสินค้าประมง อย่างปลา ปลานิล จะมีปัญหาเรื่องราคาตกต่ำบ้าง ปูนิ่มเป็นสินค้าที่มีความต้องการของตลาด แต่ไม่สามารถผลิตได้เต็มที่ เพราะติดปัญหาเล็กๆน้อยๆพวกนี้ การผลิตปูนิ่มในอดีตก็จะเป็นแบบนี้ ใช้ปูทะเลดำ และใช้แรงงานในการสาว ซึ่งผมมีวิดิโอ แต่จะเปิดให้ดูทีหลัง ว่ามันต้องใช้คนสาวจริงๆ แล้วคนก็ต้องเก่งมากๆ เพราะว่า ผมเองยังไม่สามารถมองได้ไวเท่าเขาเลย คือเราไปยืนมองตามเขา ตะกร้าผ่านไปไวมาก แต่เขามองเห็นทัน แบบนี้เขาเรียกว่าแรงงานมีทักษะ ซึ่งหายาก เพราะฉะนั้น ก็เกิดความไม่แน่นอนในธุรกิจ นี่ก็เป็นปัญหาในการผลิตปูนิ่มในปัจจุบัน ทีนี้ ทางคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีสถานีวิจัยอยู่5แห่งทั่วประเทศไทย ไม่มีภาคเหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะว่าสถาบันวิจัยเราจะอยู่ภาคกลาง ตะวันออก และใต้ ทีนี้ หนึ่งในสถานีวิจัยนั้นคือสถานีวิจัยประมง คลองวาน ที่ประจวบคีรีขัน ซึ่งสถานีวิจัยนี้เป็นสถานีวิจัยที่วิจัยเรื่องปูม้ามานาน แล้วก็ผลิตปูม้าได้ ผลิตในที่นี้คือ แม่ปูม้าในทะเลมาฟักไข่ แล้วก็มาเพาะเลี้ยงต่อในบ่อดิน ทีนี้ ผมเลยร่วมมือกับทางสถานีวิจัยคลองวาน โดย ดร.วุฒิชัยเป็นหัวหน้าสถานี ท่านก็จบคณะประมงเหมือนกัน เป็นรุ่นพี่ผม ดร.วุฒิชัยหรือพี่เต้ยเนี่ย ก็จะเป็นนักเพาะปูของคณะประมง พี่เต้ยก็ทำเรื่องเพาะปูมานานแล้ว ผมเอง ตอนนั้นก็เพิ่งเรียนจบกลับมา ต้องเล่าย้อนกลับไปนิดนึงว่า ตอนที่ผมเรียน ผมทำงานวิจัยเกี่ยวกับปู แต่ไม่ได้ทำเรื่องปูนิ่ม ผมทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องฮอร์โมนการลอกคราบของปู นั่นหมายความว่า ผมเป็นคนรีดเลือดกับปู ผมทำ ไม่ใช่ปูไม่มีเลือดนะครับ มีเยอะมาก ประมาณ30%ของน้ำหนักตัวเป็นเลือด เพราะฉะนั้น ผมเนี่ย เอาเข็มฉีดยาดูดเลือดปูทั้งวัน นี่คือชีวิตตอนเรียน แล้วกลางคืนก็ต้องออกไปจับปูเอง อาจารย์เขาไม่ทำอะไรให้ เราก็ต้องทำทุกอย่าง มีอยู่วันนึง ผมคิดว่า ผมน่าจะซื้อกล้องNight vision ก็เลยซื้อมา ปรากฏว่า เห็นกระดองปูชัดมาก เพราะแสงอินฟาเรตมันสะท้อนกระดองปู พอมันเห็นชัดเราก็จับปูได้เยอะ เห็นปู แต่ปูไม่เห็นเรา ก็จับมาตั้งแต่สมัยนั้น เมื่อห้าปีที่แล้ว ผมเป็นอาจารย์ใหม่ ก็ได้มีโอกาส เล่าเรื่องนี้ให้ รศ.ดร.วรา ฟัง ท่านก็เสนอไอเดียมาว่า เอาความรู้ตรงนี้มาพัฒนาระบบตรวจจับปูลอกคราบได้ เราก็เลยปิ๊งไอเดีย ตอนแรกก็จะเขียนขอทุน แต่ท่านก็บอกว่าเราเปลี่ยนไม่ใช่ปูดำแล้วมาใช้ปูม้าได้ไหม เพราะสถานีเราผลิตปูม้าได้ ทำไมไม่มีคนใช้ปูม้าเลยในไทย ก็ไปศึกษาเพิ่มเติม ผลออกมาว่า ที่ยังไม่มีใครทำปูม้า เพราะหนึ่ง ยังไม่มีคนเพาะปูม้าในไทย สอง ปูม้าที่ถูกจับจากทะเลมันไม่ทน เอามาใส่กล่องแบบปูดำแล้วมันตาย สาม ปูม้ากระดองแข็งเร็วมาก 1ชั่วโมง นั่นหมายความว่า แรงงานจะหยุดเช็คไม่ได้ ต้องเช็คตลอด มันก็ติดปัญหาเรื่องเทคโนโลยีกับชีววิทยาแล้ว งานนี้ประมงก็เลยทำคนเดียวไม่ได้แล้ว เราก็ไปปรึกษาว่าจะเอาใครมาช่วยดี คิดไปคิดมาก็นึกได้ว่ามก. มีคณะวิศวะ แต่วิศวะอยู่กลางมหาลัย เราอยู่ตรงนี้ ปกติไม่ค่อยเจออาจารย์วิศวะ เราจะทำยังไงดี เราก็สอบถามอาจารย์ผู้ใหญ่หลายๆท่าน ก็ได้คำแนะนำว่า ให้ไปหาอาจารย์ที่คณะวิศวะ ผมก็โทรถามเรื่อยๆ จนวันนึงก็ได้โทรสอบถามอาจารย์วุฒิพงศ์ ท่านก็ให้ความกรุณา ให้ผมเข้าพบเพื่อรับคำปรึกษา แล้วมันก็สนุกมาก เพราะใช้เวลาสองชั่วโมงแรก อธิบายเรื่องปูนิ่ม เพราะว่าอาจารย์วิศวะก็จะไม่เข้าใจทางชีวะ อาจารย์ทางชีวะก็จะไม่เข้าใจทางกลไกวิศวะ ก็อธิบายไป พออธิบายเสร็จท่านก็บอกโอเค เข้าใจคอนเซปแล้วว่าต้องการทำอะไร ผมก็เลยอธิบายว่า กระดองปูมันสะท้อนแสงอินฟาเรตเป็นสีขาว ในขณะที่กะบะไม่สะท้อนเป็นสีดำ เพราะฉะนั้น ถ้าปูลอกคราบ สัดส่วนของพื้นที่สีขาวก็จะเพิ่มมากขึ้น คืแปกติ ถ้าเรามีกะบะ แล้วในหนึ่งกะบะมีปูตัวเดียว แสงสีขาวก็จะเกิดแค่ตรงนี้ แต่ถ้ามีสองตัว กระบะเท่าเดิม มันก็ต้องมีสีขาวมากขึ้นอีก ก็ใช้หลักการแค่นี้มาตรวจจับ ท่านบอกว่า ง่ายมาก ทางวิศวะสอนเด็กป.ตรีเรื่องนี้ แต่สำหรับเรานี่ยากมาก ทีนี้เราก็ขออาจารย์เขียนโครงการร่วมกัน ก็ได้งบมาก้อนนึง ก็เลยมาทำ หลักการก็คือว่า 1.ปูม้าเราผลิตได้ ไม่มีปัญหาเรื่องลูกพันธ์ ไม่ต้องนำเข้า แถมเรายังค้นพบด้วยว่า ปูม้าที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงอยู่ในตะกร้าแล้วไม่ตาย ไม่ช้ำ แต่ปูม้าที่เกิดจากธรรมชาติ เอามาใส่ตะกร้าแล้ว ตายสูงมาก คิดภาพอย่างนี้ครับ เราอยู่ข้างนอก วันหนึ่ง ถูกจับติดคุก เราก็คงเศร้า เฉาตายในคุก เหมือนกับปูม้า ที่อยู่ในทะเล วันนึง ถูกจับมาขังใส่กระป๋องเล็กๆ เกิดมาเป็นปูอิสระ กินอะไรก็ได้ วันนึงมาโดนแบบนี้ก็คงเฉาตาย แต่ถ้าปูที่เกิดในบ่อดิน เขาคุ้นเคย เกิดมาก็เจอแบบนี้แล้ว โตในสภาพแวดล้อมแบบนี้ เอาเขาไปจับขังเขาก็สบายๆ คุ้นแล้ว ก็ไม่มีการตาย เพราฉะนั้น ปูที่เกิดจากการเพาะเลี้ยง ความทนทานที่จะอยู่ในการขังมีมากกว่า มันก็เข้าทางเราเลย เพราะปูม้าเราเพาะได้ ลูกปูมีความแข็งแรงมากขึ้น แล้วก็การที่มันลอกคราบเร็ว ทางคณะวิศวะ โดยท่านศาสตราจารย์....... อารีกุล กับลูกศิษย์ป.เอกของท่าน คุณอู๊ด ก็ช่วยกันเขียน เราก็ให้คำปรึกษาด้านชีวะวิทยา อาจารย์กับคุณอู๊ดก็ช่วยกันเขียนโปรแกรมวิศวะ ก็ได้ต้นแบบ เพื่อที่จะทดสอบดูว่า สิ่งที่เราคิดนี่สามารถตรวจจับได้จริงมั้ย เราก็เอาไปประกอบกับปูม้าที่เราผลิตได้จากสถานีวิจัยคลองวาน เราก็ทดสอบ ก็ปรากฏว่า ไม่ได้แปลกใจหรอกครับ ปัญหาร้อยแปดพันเก้าแน่นอน ที่เราไม่เคยคิดจะเจอก็เจอ ยกตัวอย่างเช่น ปูปกติมันอยู่อย่างนี้ กล้องก็ตรวจเจอ บางทีปูขี้เล่นนอนแบบตะแคงกล้องก็จับไม่ได้ เจอพื้นที่น้อย หรือตรวจเจอว่าลอกคราบทั้งที่ไม่ได้ลอกคราบ อีกอย่างก็คือมุมแสง แสงไฟมันเป็นแสงอินฟาเรตสะท้อนกระดองปู พอลงต่ำแสงมันสะท้อนเข้ากล้อง เบลอไปหมดเลย หรือปัญหาแปลกๆ ทุก6โมงเย็น-2ทุ่ม บางกล้องจะมีแสงสีขาวเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุก็มี ความชื้นก็ไม่ใช่ ฝุ่นก็ไม่ใช่ มาเองตั้งแต่6โมง-2ทุ่ม หลังจากนั้นก็หายไป เราก็ไม่เข้าใจ เป็นแค่บางกล้องบางตำแหน่ง แสงไฟก็ไม่ใช่ ความชื้นไม่ใช่ เอาคนไปเช็ดก็ไม่หาย ก็ไม่รู้ว่าเพราะอะไร จะไสยศาสตร์หรืออะไรก็แล้วแต่ ไม่สามารถอธิบายได้ ปัจจุบันก็ยังอธิบายไม่ได้ คือคอนเซปมันง่าย แต่ตอนปฏิบัติจริงรายละเอียดเยอะ หลังจากนั้นหนึ่งปีก็ได้โครงการ ทำเป็นWorking Prototype ได้สำเร็จ ก็คือสามารถตรวจจับการลอกคราบได้ แต่ก็ยังมีการผิดพลาดบ้าง โปรแกรมก็ต้องพัฒนาต่อไป อันนี้ก็คือประวัติคร่าวๆของโครงการนี้

     อยากจะให้อาจารย์เล่าถึงกระบวนการทำงานของเครื่อง ที่เรียกว่า เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์วิชั่น

คือ เป็นตัวที่สามารถแปลงผลจากภาพแล้วตัดสินได้ว่า ตัวนี้จะลอกคราบหรือไม่ มันเป็นโปรแกรมที่ อันนี้ผมอาจจะอธิบายได้ไม่ดีเท่าคนเขียนนะ เพราะว่าทางประมงเองก็จะบอดๆนิดนึงทางวิศวะ เพราะฉะนั้นหลักการคือว่า พอกล้องจับภาพได้ ภาพต่างๆเป็นขาวกับดำ ปูจะเป็นสีขาว พื้นหลังจะเป็นสีดำ โปรแกรมจะคอยมอนิเตอร์ตลอดเวลาว่า การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่สีขาวเมื่อเทียบกับที่ทั้งหมดของกล่อง เช่น ถ้าพื้นที่ของกล่องเป็น100% อันนี้15% ถ้าปูขยับก็จะบวก ลบ ซัก17%12% 10% แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ทะลุจาก15% เป็น30% คือลอกคราบ แน่นอน เพราะงั้น เครื่องก็จะตรวจพบแบบนี้ให้เราโดยอัตโนมัติ ถ้าทำแบบนี้ เมื่อกี้ที่เราคุยกันว่าต้องเอาคนไปนั่งเช็ค ก็ไม่ต้องแล้ว แล้วเวลาเราออกแบบเรื่องนี้ สมาชิกในโครงการคุยกันตั้งแต่ต้นเลยว่า เวลาเราออกแบบตรงนี้ มีสามหลักตั้งแต่ต้น 1.ต้องไว้ใจได้ ทำงานไม่เสีย 2.ต้องไม่แพง 3.ต้องเป็นมิตรต่อผู้ใช้ ไม่ใช่ว่าโผล่ขึ้นมางงตั้งแต่บรรทัดแรก แบบนี้ไม่ไหว เพราะฉะนั้นนั่นหมายความว่า เราพยายามใช้อุปกรณ์ที่มีในท้องตลาด ที่มีราคาถูก เพื่อให้ตรงกับความไม่แพง กล้องวงจรปิดเราใช้ตัวที่ติดอยู่ตามบ้าน ตัวละ4-500บาท สายก็ลากสายแลนปกติเข้าเลาน์เตอร์ที่เราใช้ที่บ้าน เพราะฉะนั้นตัวฮาร์ดแวร์จริงๆไม่ได้สิ้นเปลือง หาได้ทั่วไป หลักการคือ ถ้าเราจะทำให้สำเร็จ จะไปสั่งกล้องที่มี10ตัวในไทยคงเป็นไปไม่ได้ ก็ต้องสั่งกล้องที่คนอื่นมีอยู่แล้ว สามารถซื้อได้ง่าย เพราะว่าวัตถุประสงค์หลักของโครงการคือ เพื่อให้ธุรกิจนี้เกิดขึ้นในอนาคต ผมต้องย้ำนิดนึงนะ ว่าธุรกิจนี้เกิดขึ้นแล้วในไทย อันนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เป็นเรื่องเก่า แต่สิ่งที่ผมอยากให้มันเกิดกับโครงการนี้คือ ธุรกิจปูม้านิ่ม ซึ่งตอนนี้มันยังไม่เกิด ต้องเรียนตามตรงว่ายังไม่เกิด เพราะหนึ่ง เป็นการผลิตลูกปู สอง เป็นปัญหาเรื่องการใช้แรงงานตรวจจับการลอกคราบของปู มันชั่วโมงเดียว แล้วตอนนี้ปูจับได้ก็ขายเป็นปูเนื้อหมด ถ้าตัวเล็กหน่อยก็เป็นปูแกะ แกะเอาเนื้อ ปูทอดกรอบตัวเล็ก เพราะฉะนั้นตอนนี้เรากินปูม้าตั้งแต่เล็กจนโต ทุกไซส์มีตลาดหมด โตขึ้นมาหน่อยก็จับมาทำส้มตำ เดี๋ยวนี้ส้มตำก็เป็นส้มตำปูม้า สมัยก่อนใช้ปูแสม ปูนา ปัจจุบันเป็นปูม้าแล้ว เพราะฉะนั้นมันมีตลาดของมันทุกช่วง เราก็เลยคิดว่า ทำไมปูม้าเอามาทำปูนิ่มไม่ได้ ทำไมเราจะสร้างห่วงโซ่ของธุรกิจปูม้านิ่มไม่ได้ ตอนนี้ปัญหาหลักๆที่เกิดคือ เทคโนโลยีกับลูกพันธ์ ซึ่งลูกพันธ์เนี่ย เราเพาะพันธ์ได้ แต่ติดที่เทคโนโลยี เราก็เลยมาทำทั้งลูกพันธ์และเทคโนโลยี ในอนาคตก็หวังว่าหากเทคโนโลยีนี้พัฒนาไปถึงจุดนึงที่สามารถส่งต่อไปในการค้าขายได้แล้ว มันก็จะเกิดห่วงโซ่อุปทาน คือมันจะมีคนผลิตลูกปูม้าจากบ่อดิน มีคนที่เอาลูกปูม้าไปชำ เพื่อให้ได้ขนาดที่ต้องการ มีคนซื้อลูกปูม้ามา ใช้ระบบนี้ตรวจจับ แล้วก็มีห้องเย็นมาซื้อ ทำตลาดต่อไปในอนาคต นี่คือสิ่งที่โครงการนี้โดยเฉพาะผมและทีมงาน อยากจะทำให้มันเกิด เพราะว่ามันยังไม่เกิด และปูม้าเป็นสินค้าที่ยังไม่มีตัวเปรียบเทียบในตลาด หมายความว่า เนื่องจากไม่เคยมีปูม้านิ่มในตลาดมาก่อน เพราะงั้นราคาเนี่ย ไม่รู้เริ่มต้นเท่าไหร่ ทางการตลาดจึงเป็นโอกาสที่ดีที่จะตั้งราคา แล้วก็เป็นปูที่มีสตอรี่สวย หมายความว่า ไม่ได้จับจากทะเลมา แต่ต้องผ่านการเพาะมาตั้งแต่ไข่ ตัวเล็ก จนตัวโต เอามาใส่และนำกล้องที่มีเทคโนโลยีไปตรวจจับ เสร็จแล้วนำมาแช่น้ำให้ปูมีความสดมากที่สุด ล้างความเค็ม แล้วก็ออกมาในจานตรงหน้าท่าน ผมมองว่า อย่างนี้ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจ อีกอันนึงที่ผมมองว่าเป็นสิ่งที่น่าให้ความสำคัญมาก ก็คือการผสมเทคโนโลยี ของทางด้านชีวะ กับวิศวกรรม เพราะว่าปกติประมงก็ทำแต่หน้าที่ประมง ประมงก็จะเลี้ยงปลา ใช้ความรู้ทางวิศวะน้อยมาก ในขณะเดียวกันวิศวะก็ทำหน้าที่ของเขาไป ไม่ได้เอาความรู้ทั้งสองมาผสมกัน ซึ่งถ้ามาผสมกันแล้วจะทำให้เกิดสิ่งดีๆ คือสิ่งที่ยากของเขาคือสิ่งที่ง่ายของเรา และสิ่งที่ง่ายของเรามันก็คือสิ่งที่ยากของเขา เพราะฉะนั้นถ้านำทั้งสองมารวมกันแล้วก้จะง่ายทั้งคู่ ก้จะสามารถที่จะไปได้สวยในอนาคต ทีนี้ถามว่า ปูม้านิ่มมีคนเคยได้กินยัง มีแล้ว ผมก็เคยกิน แต่มันไม่ได้มาง่ายๆ มันมายังไงรู้ไหม มันมาจาก ร้านค้าปูที่เอาปูเป็นๆไปสต๊อกไว้ ไปร้านอาหารทะเลก็จะมีตู้ปู ปูพวกนั้นก็จะลอกคราบ เจ้าของร้านก็เห็น ก็เอามาแช่เย็นแล้วก็ทำอาหารให้ลูกค้ากิน แต่เป็นสเปเชียลเมนู มีก็ได้กิน ไม่มีก็ไม่ได้กิน เพราะว่าต้องรอลอกคราบ ก็ไปลองกินมา ก็มีรสชาตที่อร่อย แล้วจากการที่ไปสอบถามร้านค้าต่างๆ เขาก็ยืนยันว่าปูม้านิ่มอร่อยกว่า อีกทั้งคงรูปร่างได้มากกว่าเวลาทำกับข้าว ทำให้เห็นรูปร่างปู คนนิยมมากกว่า อันนี้คือได้จากการฟังความคิดเห็นการทำโครงการที่ผ่านมา แล้วเขาก็ยังบอกอีกว่า น่าจะทำราคาได้ดีกว่าปูทะเลนิ่ม แล้วตอนที่อาจารย์ไปทานสเปเชียลเมนูนี่ เขาคิดราคาอาจารย์เท่าไหร่ครับ ก็เหมือนเดิม คิดเท่าเดิม แต่ส่วนตัวผมไม่ได้เห็นความแตกต่าง ระหว่างปูดำนิ่ม ปูม้านิ่ม เวลากิน ในความคิดของผม เนื่องจากการทำกับข้าวของไทย เช่นปูผัดผงกะหรี่รสชาตของเครื่องแกงมันกลบปูหมด เพราะฉะนั้นไม่ได้ด้อยกว่าปูนิ่มปกติ แต่ถามว่าดีกว่ามากมั้ย ถ้าหลับตาผมก็อาจจะมองไม่ออก แต่รูปร่างดีกว่า อันนี้คือสิ่งที่ผมรู้สึก แต่ไม่ได้หมายความว่า ลูกทีมรู้สึกไม่เหมือนกันนะบางคนไปกินแล้วว่าปูม้าอร่อยกว่า บางคนก็บอกปูดำอร่อยกว่า มันก็แล้วแต่คนกิน แต่ผมมองว่า ถ้ามองในแง่ของความยั่งยืนของการใช้ทรัพยากร ปูม้ายังไงก็กินขาดแน่นอน เพราะว่าเราไม่ต้องซื้อลูกพันธ์ แล้วลูกพันธ์ปูทะเลในปัจจุบัน ที่บอกว่านำเข้าจากอินเดีย บังคลาเทศ บินเครื่องบินมา นะครับ ขึ้นเครื่องบินมา แล้วมาลงสุวรรณภูมิ มีรถไปรับ แล้วก็กระจายไปตามฟาร์มต่างๆ บางครั้งตายครึ่งนึง คิดภาพครับ เมื่อกี้เป็นปูม้าธรรมดาเกิดในทะเลใช่มั้ย อยู่ดีๆถูกคนจับใส่กล่องก็เฉาตาย อันนี้เลวร้ายกว่านั้นอีกนะ เป็นปูดำอยู่ดีๆในอินเดีย เดินเข้ารอบ โดนจับแพ็กใส่กล่องขึ้นเครื่องบินมากรุงเทพ จากกรุงเทพนั่งรถไปไหนก็ไม่รู้ เราจะรอดหรอครับ เป็นเราก็คงเฉาตาย นี่คือการใช้ปูที่ไม่ได้เป็นลูกพันธ์ที่เกิดจากการเพาะเองในพื้นที่ มันมีความเสี่ยงเรื่องอัตรารอด เพราะฉะนั้น จะมีปัญหา อีกอันนึงคือ เวลาแพ็คปูเนี่ย คือเขาเอาใส่กล่องกล่องนึงตัวนึง เขาก็ต้องนั่งดูทีละกล่อง แล้วคิดภาพ อยู่ในกล่องสีดำ แดดเปรี้ยงตอนกลางวัน แล้วอยู่ที่ผิวน้ำ ร้อนนะ แล้วมันใช่ที่อยู่ตามธรรมชาติของปูไหม เครียดไหม เครียด เวลาคนเราเครียดๆอยากทำอะไรไหม ก็ไม่ อยากอยู่เฉยๆ ปูก็เหมือนกัน สัตว์น้ำสัตว์ทะเลเหมือนกัน จะมีพฤติกรรมผิดไปจากปกติ พอมีความเครียดปั๊บ ก็ตายง่าย เหมือนเราตรอมใจ เครียดมาก ฉะนั้นเหมือนกัน เอาเขามาอยู่ในนี้ก็เครียด เพราะงั้นนี่คือปูที่จับมาจากป่ามาใส่ ถ้าเอาปูที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงมาใส่ ก็คงเครียดเหมือนกัน แต่เครียดน้อยลง เพราะเขาคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อม ตัวอย่างเช่น เอาหมาป่ามาล่ามโซ่ ขังไว้ที่บ้าน มันจะอยู่กับเราไหม มันก็คงพยศนะ แต่หมาของเราที่เราซื้อมาอยู่ตามสวนจตุจักรเนี่ยอันนี้ไม่ต้องล่ามโซ่ก็ไม่ไปไหน

     อยากทราบว่าผลงานที่อาจารย์ทำเนี่ยครับ มันช่วยเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจ เราจะสามารถเผยแพร่ออกไปต่างประเทศได้ไหม

คืออย่างนี้ครับ เฟสหนึ่งเนี่ยWorking prototype เฟสสองเนี่ย สนุกกว่าอีก เพราะว่าเราได้เชิญผู้ประกอบการมาร่วม ซึ่งอันนี้ก็เป็นเรื่องที่สนุกดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีวิทยาลัยใหม่ ทางสำนักหอสมุดคงทราบ เรามีวิทยาลัยบูรณาการศึกษาศาสตร์ใหม่ แต่ตอนนั้นเป็นหลักสูตร ก็ เปิดการเรียนการสอนแบบใหม่ เป็นชุดวิชา นะ อันนี้เล่าพื้นฐานนิดนึง ทางชุดวิชานี้ก็เชิญทุกคณะไปช่วยกันเขียน ผมก็เป็นตัวแทนของคณะประมงไปเปิดชุดวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ พี่เขาก็เป็นนักเรียนรุ่นแรกของคลาสแรกของหลักสูตรมาเรียน เรียนไปเรียนมาผมก็อธิบายฝันของผมเกี่ยวกับพวกนี้ พอเขาจบไป เขาก็ขอกลับมาทำงานวิจัยร่วมด้วย เป็นคอนเนคชั่นที่ดีมาก เราก็เลยเขียนโครงการที่สอง โครงการที่สองก็เลยมีเรื่องของธุรกิจประกบ ผมก็ออกสำรวจว่าราคาต้องอยู่ประมาณเท่าไหร่ต่อกิโล ถึงจะคุ้มทุน ฟาร์มๆนึงควรจะมีกี่ตัวเป็นอย่างต่ำ คือถ้าผลิตสองตัว ห้าสิบตัวอย่าผลิตเลย มันเปลือง ยิ่งผลิตมากต้นทุนยิ่งถูกลง เพราะกล้องก้ใช้ตัวเดียว แรงงานก็ใช้คนเดียว พี่เขาก็กำลังทำเรื่องนี้อยู่ ชื่อพี่แซน ก็จะทำตรงนี้ให้ เพราะฉะนั้น ในโครงการก็จะมีแง่มุมเศรฐศาสตร์ จับ ไปตลอด ตั้งแต่ต้นจนจบ ทีนี้ถามว่ามีประโยชน์ต่อเกษตรกรยังไง ผมมองว่ายังงี้ คือผมฝันไว้ว่า หลังจากที่เรามั่นใจว่าโปรแกรมเราใช้ได้จริง เราจะสร้างโรงเรือนต้นแบบที่คลองวาน การที่จะชักจูงให้คนทำอะไรใหม่ๆต้องให้เขาเห็นกระบวนการทั้งหมด นั่นหมายความว่าเราจะต้องให้เขาเห็นว่า โรงเรือนต้องออกแบบแบบนี้นะ ประหยัดสุดนะ ได้ผลประโยชน์สุดนะ แล้วกำไร ต้นทุน ผลตอบแทนมันต้องชัด ใครจะให้เราทำอะไรเนี่ยต้องถามละเอียด ต้องจ่ายตังค์ ต้องลงทุน คือหลังจากเทคโนโลยีสุกงอมจะต้องสร้างโรงเรือนต้นแบบ พร้อมกับผลิตขายให้ได้ ไม่ต้องได้กำไรเยอะแยะ ไม่ต้องทำเป็นสิบบ่อ ร้อยไร่ พันไร่ เอาแค่นิดหน่อย เพื่อให้สามารถที่จะเห็นได้ว่าได้กำไร ทำได้จริง และให้คำปรึกษาได้ จากนั้น เทคโนโลยี รับรองครับไม่ต้องทำอะไร มีคนเอาไปใช้ โดยที่เราไม่ต้องไปโฆษณา แล้วพอหลังจากที่มันใช้ได้แล้ว เดี๋ยวก็จะมีคนผลิตลูกปูมาขาย เดี๋ยวก็จะมีคนทำลูกปูมาขาย ผมไม่ห่วงเลยเรื่องตลาด เพราะเท่าที่ฟังมามีแต่คนอยากซื้อแต่ไม่มีคนขาย ตอนนั้นออกรายการไปเนี่ย มีคนมาขอซื้อปูม้านิ่มกับผมเนี่ย ผมไม่มีนะครับ เพราะว่าผมไม่ได้มีความสนใจในการผลิตขาย ผมสนเทคโนโลยีในการผลิต เพื่อที่จะให้โอกาสนี้มันเกิดกับทุกคนในอนาคต ท่านนั่นแหละเอาไปผลิตเอง มหาลัยเกษตรศาสตร์ คณะประมงและวิศวกรรมศาสตร์เป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีและพัฒนาปรับปรุงเพื่อให้ธุรกิจ ความเป็นดีอยู่ดีของเกษตรกรในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ไม่ใช่เราทำขายเอง เพราะงั้นไม่ต้องห่วงหรอกครับ เพราะว่าเดี๋ยวอีกหน่อยพอเวอร์ชั่นแรกหลุดไปในตลาด เดี๋ยวเราก็วิจัยและพัฒนา เดี๋ยวอีกหน่อยผมก็อาจจะมีโปรแกรมปูม้าเวอร์ชั่นสิบสอง ประมาณนี้ แล้วที่มันดีกว่านี้ก็คือว่า โปรแกรมนี้ที่เราใช้เนี่ย มันสามารถไปใช้กับปูดำ การผลิตปัจจุบันได้ด้วย เพราะมันก็สะท้อนกระดองปูดำ เพราะฉะนั้นถ้าไม่อยากเสี่ยงทำทั้งหมดในระบบ ก็ไม่เป็นไร เอาเทคโนโลยีไป แล้วไปปรับใช้กับรูปแบบการผลิตที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน อันนี้ผมมองว่า น่าจะเป็นผลงานนึงในการ เขาเรียกว่าแนวทางการนำไปใช้ประโยชน์ในอนาคต แต่ตอนนี้ก็เรียนตามตรง จาก1-9 ว่า เราอยู่ประมาณ4-5เอง ผมยังไม่อยากเอาไปใช้ เพราะผมคิดว่า เรายังเจอปัญหาไม่หมด ผมอยากจะให้เราเจอปัญหาให้หมด หาทางแก้ให้เรียบร้อย จากนั้นพอออกไปสู่ตลาดมันจะได้ไม่มีปัญหา

     ในอนาคตเนี่ย อาจารย์มีการคิดแล้วก็พัฒนานวัตกรรมพวกนี้ไปทางด้านไหนบ้างครับ จะเอาไปต่อยอดทางไหน

ครับ ผมว่าอีกหน่อย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์หรือทางการเกษตร ประมงไปคนเดียวไม่ได้ ผมจะต้องแนบเพื่อนสังคมไปด้วย แนบเพื่อนวิศวะไปด้วย แนบเพื่อนเศรฐศาสตร์ไปด้วย ผมไปดูประมงอีกคนดูเศรฐศาสตร์ เขาบอก สุขกฤช เอาเทคโนโลยีมาใช้ดีๆนะ แต่ถ้าสุขกฤชใช้ไม่ดีเนี่ย รับรอง เจ๊ง วิศวะไป ก็จะแบบ ต้องให้เป๊ะทุกอย่าง ก็จะไม่ได้ดูราคา  ประมงไปถึงก็ไม่รู้ เอาปลาสุงสุดเศรฐศาสตร์ไปถึง ห้ามทุกคนเลย บอกว่า เฮ้ยๆ ไม่คุ้ม อย่างนี้ ผมว่าอย่างนี้เป็นการทำงานที่สนุกนะครับ เพราะงั้น ในอนาคตผมมองว่า ผมไม่ห่วงว่าจะไม่มีงานทำเรื่องนี้ มีแต่จะต้องเลือกทำ เพราะว่า เช่น ปลานิล ปัจจุบันเราเลี้ยงแบบบ่อดั้งเดิม คือขุดบ่อ ใส่น้ำ ปล่อยปลา ไม่มีการใช้เทคโนโลยี เพราะ 1.ราคาปลานิลถูก การลงทุนไม่คุ้ม เครื่องให้อาหารมีแล้ว แต่ไม่สามารถที่จะกระจายทั่วไทยได้ เพราะ 1.มันช่วยได้จริง แต่ก็ยังใช้คนบังคับอยู่ดี มันยังไม่สมาร์ทเต็มที่ เพราะฉะนั้น แต่ผมก็ดีใจนะ ที่มีการเริ่มเอาเทคโนโลยีนี้เข้ามา ดีนะครับ เครื่องวัดอากาศ เลี้ยงปลาอย่านึกว่าเราไม่ต้องการอุณหภูมินะ ผมต้องการด้วยนะ ว่าวันนี้แดดออกกี่ชั่วโมง ลมพัดเท่าไหร่ ฝนตกรึปล่าว แต่ไม่เคยใช้ข้อมูลในการเลี้ยงปลาเลย เพราะความเคยชิน เกษตรกรเลี้ยงปลาด้วยความเคยชิน เพราะงั้นความสนใจเทคโนโลยีของผมคือ ผมคิดว่า ปูยังไม่อิ่มตัว ผมจึงเชิญชวนพี่ น้อง อาจารย์ช่วยกัน ผมคนเดียวไม่ไหว เพราะมีหลายมุมมอง ความจริงที่ผมเรียนมานะ ดีที่สุดคือการตัดตาปู โหดร้าย ขายของไม่ได้ เดี๋ยวนี้เลิกทรมานสัตว์ เพราะฉะนั้นวิธีการง่ายๆของผมคือตัดตา เพราะในตาเป็นเซลล์ที่สร้างฮอร์โมนยับยั้งการลอกคราบ ตัดมันซะ ก็จะลอกคราบ แต่ นั่นคือวิทยาศาสตร์ ทำจริงไม่ได้ เพราะสังคมไม่ยอมรับ เห็นมั้ย ต้องมองอีกด้านนึงก็ต้องหาวิธีอื่น อันนี้เราก็พยามทำอยู่ อยู่ในโครงการนี้แหละ ครับ วันนี้เราก็ได้พาทุกท่านมาพบกับอาจารย์สุขกฤช และระบบตรวจจับปูนิ่มลอกคราบอัตโนมัติ แล้วก็ให้คนไทยได้กินปูนิ่มมากขึ้นในอนาคต ครับ ก็ต้องขอขอบคุณอาจารย์สุขกฤช มากครับ

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

รวมตำรับ--เมนูปูม้านิ่ม : อาหารทะเลจานใหม่ สำหรับผู้ห่วงใยสุขภาพ / บรรณาธิการ พงษ์เทพ วิไลพันธ์

การเลี้ยงปูทะเล,Scylla serrata (Forskal),ให้เป็นปูนิ่มในบ่อซีเมนต์ / วิวรรธน์ สิงห์ทวีศักดิ์

Antioxidant activity in hard and soft shell crabs of Charybdis lucifera (Fabricius, 1798).
Global status of production and commercialization of soft-shell crabs.

Comparative analysis of low molecular mass nutrients in hard- and soft-shell crabs (Scylla paramamosain).

KULIB Talk#31 กำแพงแสนม่วงจัมโบ้ กระเจี๊ยบแดงสายพันธุ์ใหม่ ที่มีสารแอนโทไซยานินปริมาณสูง ต่อต้านอนุมูลอิสระ ผลงานชิ้นโบว์แดงจากคุณอุทัยวรรณ ด้วงเงิน

วันนี้จะพาทุกท่านมาที่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน มาชมกระเจี๊ยบอีกหนึ่งสายพันธุ์ซึ่งมีการพัฒนาให้มีขนาดใหญ่กว่าเดิม และให้คุณค่ามากกว่าเดิมด้วย ตอนนี้ผู้ที่จะมาให้ข้อมูลกับเรานั่งอยู่ตรงนี้แล้ว ขอต้อนรับอาจารย์อุทัยวรรณ ด้วงเงิน

จากที่เกริ่นไปจะเป็นกระเจี๊ยบแดงพันธุ์กำแพงแสนม่วงจัมโบ้ อยากทราบว่ามีลักษณะพิเศษอย่างไร
กระเจี๊ยบแดงพันธุ์กำแพงแสนม่วงจัมโบ้ เป็นพันธุ์ใหม่ที่เกิดจากการผสมข้ามระหว่างพันธุ์สุดาและพันธุ์กลีบยาว เราต้องเข้าใจก่อนว่ากระเจี๊ยบแดงที่ปลูกในประเทศไทยสามารถจำแนกได้เป็น 2 กลุ่มหลักๆ ก็คือกระเจี๊ยบแดงที่ใช้บริโภคยอดอ่อนใบอ่อนกับกระเจี๊ยบแดงที่ใช้กลีบดอก หรือคนทั่วไปมักจะเรียกว่า ดอกกระเจี๊ยบแดงเป็นหลัก สำหรับกระเจี๊ยบแดงม่วงจัมโบ้จะมีกลีบสีม่วงขนาดใหญ่กว่าพันธุ์เดิมซึ่งใช้กันอยู่ และก็มีสารแอนโทไซยานินซึ่งเป็นสารสำคัญสูงกว่าพันธุ์ดั้งเดิมที่ใช้กันอยู่

ในส่วนของที่เราเอามาทำน้ำกระเจี๊ยบแดง เราเอามาจากสายพันธุ์อะไร
ในตลาดทั่วไปที่ใช้กันอยู่หลายสิบปีมาแล้ว จะมีอยู่ 2 พันธุ์ก็คือ พันธุ์สุดาและพันธุ์กลีบยาวมก.

ที่เราบอกว่าดอกกระเจี๊ยบ เราเรียกถูกหรือไม่
จริงๆแล้ว ส่วนที่เรียกว่าดอกกระเจี๊ยบจะเข้าใจกันผิด คนทั่วไปจะเข้าใจว่าส่วนที่เราเอามาต้มน้ำเป็นสีแดง สีม่วงคือดอก แต่จริงๆแล้วคือส่วนของกลีบเลี้ยง ดอกกระเจี๊ยบเป็นพืชที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับพวกชบา ดอกของเขาจะบานแค่วันเดียว แล้วก็ร่วงไป พอร่วงไปแล้วกลีบเลี้ยงเขาจะมีการเติบโตขึ้นเรื่อยๆ

พิธีกร เพราะฉะนั้นแสดงว่าที่เราเอามาต้มทำเป็นน้ำกระเจี๊ยบ ไม่ใช่ดอกถูกไหมคะ เป็นกลีบเลี้ยง แต่ดอกจริงๆ คือร่วงไปแล้ว
: ใช่ค่ะ เหมือนดอกไม้ คือบานแล้วจะร่วงลงไปภายในวันเดียว

กระเจี๊ยบแดงสรรพคุณหลักๆมีอะไรบ้าง
ในกระเจี๊ยบแดงมีสารสำคัญหลักๆอยู่ก็คือสารแอนโทไซยานินและกรดอินทรีย์หลายชนิด ทั้งกรดซิตริก มาลิก ทาร์ทาริก จากข้อมูลของคณะเภสัชศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหิดล บอกว่าประโยชน์ของสารแอนโทไซยานิน ก็คือเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ แล้วก็มีการวิจัยพบว่ามีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระได้สูงกว่าวิตามินซีและวิตามินอี ถึง 2 เท่า

พิธีกร อันนี้คือช่วยเรื่องลดริ้วรอย
: ใช่ค่ะ นั่นส่วนหนึ่งลดการอักเสบ ช่วยปกป้องหลอดเลือด กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจหลอดเลือดได้ และยังช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด สามารถป้องกันมะเร็งได้หลายชนิด แล้วก็ยับยั้งเชื้อ E.coliที่เป็นสาเหตุของท้องเสียได้ด้วย

พิธีกร แสดงว่ามันไม่ได้ช่วยในเรื่องของการขับถ่าย
: กระเจี๊ยบแดงถ้าเราทำเป็นน้ำดื่ม มันเป็นยาระบายอ่อนๆ อยู่แล้ว จะช่วยขับปัสสาวะและก็เป็นยาระบายอ่อนๆ

พิธีกร แสดงว่าทานมากไม่ดี
: ก็แล้วแต่ธาตุคน ถ้าคนที่ธาตุแข็งทานกระเจี๊ยบดีก็จะช่วยระบายได้ดีขึ้น

พิธีกร จะเป็นการระบายในส่วนของการขับปัสสาวะ ไม่ใช่เป็นการถ่ายใช่ไหมคะ
: ใช่ค่ะ

นอกจากเราเอามาทำน้ำกระเจี๊ยบแล้ว ตัวกระเจี๊ยบแดงสามารถนำมาทำผลิตภัณฑ์อะไรอื่นๆ ได้อีกไหม
เท่าที่มีการทำอยู่ทั่วไปในระดับอุตสาหกรรม ก็จะเป็นการสกัดสีธรรมชาติ สกัดสารแอนโทไซยานินทำเยลลี่ แยม ไวน์ พวกนี้ แต่ว่าจากการวิจัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขาได้นำกระเจี๊ยบแดงไปทำเป็นยาเม็ดกระเจี๊ยบแดง สำหรับผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วย

พิธีกร เอาสรรพคุณที่อาจารย์เกริ่นมาก่อนหน้านี้ มาสกัดเป็นเม็ดยา มันมีวางจำหน่ายทั่วไปไหม
: เป็นยาพื้นฐานยังไม่ได้จำหน่ายทั่วไป แต่แพทย์สามารถให้ยาอันนี้แก่ผู้ป่วยได้

พิธีกร ถือเป็นยาสมุนไพร
: ใช่ค่ะ ที่ค่อนข้างปลอดภัยมาก

เราพูดถึงกระเจี๊ยบแดงทั่วไป ในต้นเทปพูดถึงพันธุ์กำแพงแสนม่วงจัมโบ้ อาจารย์มีการวิจัยพันธุ์นี้ออกมาได้อย่างไร อยากให้อาจารย์เล่าให้ฟัง
คือช่วงแรก เราได้ทำการศึกษากระเจี๊ยบแดงหลากหลายสายพันธุ์ 20กว่าพันธุ์ เราก็จำแนกได้อย่างที่บอก ก็คือพวกกลีบเลี้ยงเล็กๆ ซึ่งเราใช้ประโยชน์จากยอดอ่อน แล้วก็พวกกลีบเลี้ยงใหญ่ซึ่งใช้ประโยชน์จากกลีบเลี้ยง พบว่าในตลาดที่ใช้อยู่ ก็จะมีหลักๆแค่ 2พันธุ์ คือพันธุ์สุดาและพันธุ์กลีบยาว ซึ่งเราใช้มานานมากหลายสิบปี แล้วก็จากการที่ทำงานกับกระเจี๊ยบแดง เราก็พบว่าดอกของเขามีความสวยงาม แล้วกลีบก็สวยด้วย

พิธีกร ยังไม่เคยเห็นดอก โดยมากจะเห็นตัวที่เขาเอามาทำน้ำ
: ใช่ค่ะ เพราะว่าหลังจากดอกบานแล้วมันต้องใช้เวลาอีกประมาณ1เดือน ถึงจะสามารถเก็บเกี่ยวกลีบเลี้ยงได้ เมื่อกี้พูดถึงพันธุ์สุดากับพันธุ์กลีบยาวก็เลยมีความคิดว่า ถ้าอย่างนั้นจากการวิจัยเขาก็พบว่ากระเจี๊ยบแดงเป็นพืชผสมตัวเอง ก็คือการผสมข้ามในธรรมชาติเกิดขึ้นน้อยมาก น้อยกว่า 0.1 0.5% ด้วยซ้ำไป

พิธีกร ผสมตัวเองในที่นี้ หมายถึงว่า เกสรตัวผู้ตัวเมีย
: เขาจะผสมกันก่อนที่ดอกจะบาน ทำให้ไม่สามารถที่จะผสมข้ามพันธุ์ทำให้เกิดการกลายพันธุ์เป็นพันธุ์อื่นได้ ซึ่งการวิจัยพบว่ามันสามารถผสมได้ แต่น้อยมากๆ ก็เลยลองใช้วิธีถ้าเราปลูกแล้วก็ใช้ผึ้งในธรรมชาติเป็นตัวช่วยในการถ่ายละอองเกสร จะลองดูว่าเขาสามารถผสมข้ามระหว่างพันธุ์ได้ไหม ก็เลยเกิดเป็นแนวความคิดว่า เราจะลองทำดูโดยใช้ผึ้งจากธรรมชาติ เพราะมือคนไม่สามารถทำได้

พิธีกร คือก็จะคล้ายๆหลักการผสมปกติทั่วไปคือผึ้งจะเป็นตัวนำ
: ใช่ค่ะ ปกติผึ้งเป็นแมลงที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ต่อพืชต่างๆมาก ในการช่วยผสมเกสรแล้วก็ทำให้เกิดติดดอกติดผล หรือการก่อเกิดพันธุ์ใหม่ๆขึ้นมา อันนี้ก็ถือเป็นโชคดี ซึ่งที่เราสามารถได้พันธุ์ลูกผสมที่เกิดจากการผสมข้ามระหว่างพันธุ์สุดาและพันธุ์กลีบยาว หลังจากได้พันธุ์ลูกผสมรุ่นแรก ก็ได้ทำการปลูกเป็นรุ่นที่ 2 3 4 แล้วก็ทำการคัดเลือก ในการคัดเลือกเราก็จะใช้หลักเกณฑ์เกี่ยวกับขนาดของกลีบเลี้ยง สี แล้วก็รูปทรงของกลีบเลี้ยงด้วย เพราะว่าการกระจายตัวของยีนที่ควบคุมสีจะต่างกัน ถ้าสีเข้มจะเป็นยีนเด่น สีเข้มคือสีแดง ม่วง สีม่วงจะเป็นยีนเด่น ส่วนสีขาว สีชมพู จะเป็นยีนด้อย มันก็จะเกิดการกระจายตัวของยีน การจับคู่ของยีน ทำให้เราได้สายพันธุ์กระเจี๊ยบแดงพันธุ์ใหม่ ซึ่งมีตั้งแต่สีม่วง ม่วงเข้ม สีแดง สีแดงอ่อน สีชมพู สีขาว มาพร้อมๆกัน

พิธีกร แสดงว่าเราก็จะได้ทุกสีเลย มาจากต้นเดียวๆ
: ใช่ค่ะ รุ่นผสมรุ่นแรก

ความจัมโบ้มาจากสายพันธุ์อะไร
ความจัมโบ้ เราต้องเข้าใจว่าพันธุ์ที่เกิดจากเป็นลูกผสมจะมีความดีเด่นกว่าพันธุ์พ่อแม่ เราก็ใช้ลักษณะพวกนี้ คือกลีบใหญ่ แข็งแรง เติบโตดี แล้วก็มีสารสูง อันนี้เป็นลักษณะที่ดีของพันธุ์ลูกผสมทั่วๆไป ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ว่าเราต้องการคัดเลือกลักษณะไหนที่เราต้องการนำมาใช้ประโยชน์

พิธีกร ก็คือเราสามารถเลือกยีนเด่นของมันออกมา
: ใช่ค่ะลักษณะเด่นของเขาออกมาได้ ซึ่งจริงๆ ในการคัดเลือก เราสามารถได้พันธุ์ที่มีสีม่วงเข้มมากกว่าพันธุ์ม่วงจัมโบ้ด้วย ซึ่งเราเรียกว่าพันธุ์แอนโทไซยานินสูง แต่ว่าขนาดของกลีบเลี้ยงจะเล็กกว่าพันธุ์ม่วงจัมโบ้

พิธีกร มาจากสายพันธุ์เดียวกันใช่ไหม
: ต้นพันธุ์เดียวกัน แต่ว่าเกิดการกระจายตัวในรุ่นลูก รุ่นต่อๆ มา ซึ่งเราก็ได้ทำการคัดเลือกจนกระทั่งถึงรุ่นที่ 7 รุ่นที่8 จนกระทั่งเกิดความคงตัวของสายพันธุ์ แล้วก็ทำการเผยแพร่ให้สาธารณชนรู้จัก ก็อยากให้ได้เห็นความสวยงามของดอกของเขา แล้วก็ได้เห็นประโยชน์ความหลากหลายของกลีบเลี้ยงที่ออกมา

พิธีกร เพราะว่าโดยมากที่เข้าใจว่า อันที่ต้มกินคือดอก แต่อันนี้ทำให้บุคคลทั่วไปได้รู้ว่า ลักษณะส่วนต้นหรือส่วนประกอบของกระเจี๊ยบมันเป็นอย่างไร
: ใช่ค่ะมีความหลากหลายมากขึ้นแล้วก็ใช้ประโยชน์กว้างขวางขึ้น

นอกจากกลีบเลี้ยงจะขนาดใหญ่แล้ว คุณค่าอะไรที่เพิ่มขึ้นมามากขึ้น
ที่หลักๆก็จะเป็นปริมาณสารแอนโทไซยานินซึ่งจริงๆแล้วสารแอนโทไซยานินเราสามารถพบได้ในผัก ผลไม้ และธัญพืชที่มีสีแดงม่วง สีน้ำเงิน แต่ว่าในกระเจี๊ยบจะพบได้ในปริมาณสูงทีเดียวแล้วมันก็สามารถจะไปพัฒนาเป็นอาหารชนิดต่างๆ เป็นยา เป็นเวชภัณฑ์ได้หลายชนิดโดยใช้ประโยชน์จากสารแอนโทไซยานินตัวนี้ มีสรรพคุณทางด้านเภสัช อย่างที่บอกไปแล้วก็จะทำง่ายๆ ทำเป็นน้ำกระเจี๊ยบ มันก็จะช่วยแก้ไข้ แก้ร้อนในแก้เจ็บคอ ทำให้สดชื่นเนื่องจากมีวิตามินซี อะไรพวกนี้

พิธีกร วิตามินซีสูง
: ใช่ค่ะ ในแง่สมุนไพรก็สามารถดื่มชงเป็นชากระเจี๊ยบ ช่วยลดคอเลสเตอรอล ลดน้ำตาล สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับน้ำตาลในเลือด แล้วก็ไขมันในเลือดได้
ตอนนี้ทางอาจารย์ได้พัฒนาออกมากี่สายพันธุ์
ตอนนี้ที่เราได้ขึ้นทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ไปแล้วจำนวน 12 สายพันธุ์ เป็นพันธุ์แอนโทไซยานินสูง 2 พันธุ์ เป็นพันธุ์จัมโบ้มีสีม่วงสีแดง สีชมพู 3 พันธุ์ เป็นพันธุ์กลีบบาน มี 3 สีเหมือนกัน 3 พันธุ์ แล้วก็เป็นพันธุ์กลีบหุบ มี 3 สีอีกเหมือนกัน 3 พันธุ์ แล้วก็พันธุ์สีขาว

แต่ละสายพันธุ์มีความต่างกันอย่างไร
ความแตกต่างของเขาอย่างที่บอก อันที่หนึ่งก็คือสีของกลีบเลี้ยง ซึ่งเราจะเป็น4สีหลักๆ ก็คือ สีม่วง ม่วงก็คือแดงม่วง สีแดง สีชมพู และก็สีขาว นอกจากสีแล้ว เราก็จะดูรูปทรงของกลีบดอกว่าเป็นแบบไหน มันก็จะมีแบบทรงกระบอก ทรงกลีบบานแล้วก็ทรงกลีบหุบแบบดอกบัวอย่างนี้ ช่วงคัดเลือกก็จะเวียนหัวหน่อย ทำไมมันมากมายขนาดนี้

อยากทราบความแตกต่างแต่ละสายพันธุ์ที่อาจารย์พัฒนามา มีการเอาไปแปรรูปในรูปแบบต่างๆหรือว่ามันแปรรูปได้เหมือนกัน
แปรรูปกลีบเลี้ยงสีม่วง สีแดง สีชมพู สามารถเอามาแปรรูปได้ทุกชนิด แต่ว่ากลีบเลี้ยงสีม่วงก็จะมีปริมาณแอนโทไซยานินสูงกว่าสีแดง และก็สูงกว่าสีชมพู 3 สีอันนี้มันเป็นตัวบ่งบอกว่ามันมีปริมาณอยู่มากน้อยแค่ไหน เพราะฉะนั้นในแง่ของการใช้ประโยชน์จากสารแอนโทไซยานินไปสกัดสี สกัดสารแอนโทไซยานินทำเป็นสมุนไพรเป็นยา เป็นเครื่องดื่ม สีม่วงจะให้ปริมาณสารสำคัญดีที่สุดสูงที่สุด

พิธีกร แล้วอย่างพวกดอกที่เป็นดอกสีขาว อันนั้นเราเอาไปทำอะไรได้
: สีขาวมีปริมาณกรดเหมือนกับกระเจี๊ยบแดงที่มีสีอื่น แต่ไม่มีสารแอนโทไซยานินเราสามารถจะนำมาใช้เป็นสารเติมความเปรี้ยวให้กับเครื่องดื่มชนิดอื่นๆได้อย่างเช่น ผลหม่อน ลูกหม่อนที่ทำน้ำหม่อนรสชาติก็จะจืดๆใช่ไหม น้ำเครื่องดื่มอื่นๆที่ไม่มีรส เราสามารถใช้กระเจี๊ยบสีขาวนำไปสกัดสีเพิ่มความเปรี้ยวได้ หรือจะนำไปรับประทานสดๆก็ได้ ใส่ในสลัดในยำ ซึ่งจะเป็นความเปรี้ยวแบบกรอบๆ ของกลีบเลี้ยงกระเจี๊ยบแดง

 

 

พิธีกร ก็คืออย่างไรมันก็ยังให้คุณค่าทางอาหารเหมือนกัน
: อีกอย่างหนึ่งนอกจากใช้ทำอาหารแล้ว กระเจี๊ยบแดงอย่างที่บอกเขามีกลีบเลี้ยงสวยงามมีรูปทรงของกลีบเลี้ยงต่างๆกัน กลีบเลี้ยงของเขามีความคงทนสามารถใช้เป็นไม้ปักดอก ไม้ปักแจกัน หรือทำช่อดอกไม้ก็ได้


พิธีกร คือต้องบอกอาจารย์ก่อนว่ายังไม่เคยเห็นดอก ที่เป็นดอกของมันเลยเพราะตอนแรกคือทุกทีก็จะเห็นตามตลาดจะเป็นกลีบเลี้ยงที่นำมาต้ม ก็เลยสงสัยว่ามันเอามาทำอะไรได้นอกจากแปรรูปทำอาหาร ทำน้ำ ก็คือเอามาตกแต่งได้
: ใช่ค่ะ ตอนนี้เราก็กำลังทำวิจัยว่าจะนำกระเจี๊ยบแดงไปทำไม้ปักดอกได้อย่างไรบ้าง วิธีการรักษาอย่างไรให้คงอยู่นาน

พิธีกร และลำต้นมัน ใช้ได้ไหม
: ใช้ได้ จริงๆกระเจี๊ยบแดงใช้ได้ทุกส่วน ลำต้นจะมีไฟเบอร์สูงมาก บางที่จะเอาไปทำเป็นเชือก

พิธีกร แต่ไม่ได้เอามาทาน ตอนแรกเข้าใจว่ามีไฟเบอร์สูงต้องทาน เอาไปทำเชือกใช่ไหมคะ
: ที่ทานคือยอดอ่อน และใบอ่อน มีไฟเบอร์มากเราก็จะเคี้ยวไม่ไหว ไม่น่ากิน มันหยาบ แต่ว่าที่เราทานกันก็จะเป็นยอดอ่อนแล้วก็ใบอ่อนของกระเจี๊ยบ

พิธีกร ลำต้นส่วนมากเขาจะเอามาทำเป็นเชือก
: แต่ในบ้านเราก็จะมีการใช้ประโยชน์ค่อนข้างน้อย ที่ใช้ก็คือใช้ทานยอด ทานยอดอ่อนดอกอ่อนซึ่งจะมีวิตามินเอสูง และก็จะมีธาตุพวกแคลเซียมและแมกนีเซียมสูงด้วย

แต่ละสายพันธุ์ ในการปลูกมันมีวิธีปลูกที่มันแตกต่างกันไหม เราจะต้องมีการเตรียมสถานที่ปลูก เตรียมดินอย่างไร
จริงๆกระเจี๊ยบแดงเป็นพืชที่ปลูกค่อนข้างง่าย แล้วก็ค่อนข้างทนแล้ง แต่ว่าในช่วงแรกของการปลูก ก็อาจจะต้องการน้ำฝนช่วยในการเจริญเติบโตด้วย แต่ถ้าฝนทิ้งช่วงเราอาจจะต้องให้น้ำเพิ่ม จริงๆ การปลูกกระเจี๊ยบแดงไม่ได้ต่างจากพันธุ์ดั้งเดิม ก็คือสามารถจะปลูกโดยการหย่อนเมล็ดโดยตรง หรือจะเพาะกล้าก็ได้ ถ้ามีปริมาณเม็ดน้อยๆหรือจะปลูกในพื้นที่ไม่เยอะ การเตรียมดินก็เหมือนกับการปลูกข้าวโพดปลูกพืชไร่อะไรทั่วไป ก็คือไถพรวน กำจัดวัชพืช ถ้าในที่ที่ระบายน้ำได้ไม่ดีก็อาจจะทำการยกร่องสักหน่อย เพราะกระเจี๊ยบแดงจะไม่ชอบน้ำขัง เพราะน้ำขังอาจจะทำให้เกิดโคนเน่า รากเน่าได้

มักจะปลูกในช่วงไหน
กระเจี๊ยบแดงพิเศษนิดนึง เพราะเขาเป็นพืชวันสั้นที่ตอบสนองต่อแสงแดด กระเจี๊ยบแดงเขาจะไม่ออกดอกทั้งปี เขาจะออกดอกเมื่อช่วงวันสั้นมาถึง ก็คือประมาณเดือนตุลาคมเท่านั้น ฉะนั้นฤดูปลูกที่เหมาะสมสำหรับกระเจี๊ยบแดงคือประมาณเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมของทุกปี

พิธีกร อันนี้ถือเป็นพืชล้มลุกไหมคะ
: เป็นพืชล้มลุก ถ้าเราปลูกในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม พอเริ่มเข้าเดือนตุลาคม เขาก็จะเริ่มออกดอก ถูกกระตุ้นด้วยแสงชั่วโมงของแสงที่มันลดลงก็จะกระตุ้นให้เขาออกดอก พอดอกออกดอกร่วงไป กลีบเลี้ยงเขาจะเติบโตเขาจะสามารถเก็บเกี่ยวได้ประมาณเดือนพฤศจิกายนจนถึงธันวาคมซึ่งช่วงนั้นจะเป็นช่วงที่ปลอดฝนแล้วก็มีแดดดีซึ่งมันเหมาะสำหรับการตากแห้ง

ในส่วนของผลิตภัณฑ์ที่ออกมาตลอดปีเพราะว่ามันมีช่วงในการออกดอกอยากจะถามว่าผลิตภัณฑ์ที่ต้องใช้กระเจี๊ยบแดงตลอด เขาเอาผลิตภัณฑ์เก็บอย่างไร
ส่วนใหญ่เขาจะใช้วิธีตากแห้งหรืออบแห้งไว้ใช้ปีต่อปี

พิธีกร ก็คือจะเก็บช่วงเดียว
: ใช่ค่ะ สามารถจะเก็บเกี่ยวได้ในช่วงพฤศจิกายน ธันวาคม อาจจะถึงมกราคมแล้วช่วงนี้เราก็ทำการตาก หรืออบเก็บไว้ในที่ไม่โดนแสง ก็จะสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานหลายเดือน


พิธีกร สรรพคุณจะเท่ากับสดไหมคะ
: สรรพคุณ ปริมาณสารสำคัญในกลีบเลี้ยงก็จะลดลงเรื่อยๆ ตามการเก็บรักษาขึ้นอยู่กับสถานที่ที่เราเก็บมันมืดไหม มีแสงไหม ถูกออกซิเจนเข้าไปทำปฏิกิริยามากน้อยแค่ไหน เพราะฉะนั้นการเก็บรักษานี้มีส่วนในการรักษาคุณภาพของกระเจี๊ยบแดง


พิธีกร ก็แสดงว่าอยู่ที่ห้องเก็บด้วยว่าเรามีห้องเก็บกระเจี๊ยบเหมาะสม
: ไม่ต้องห้อง อาจจะเก็บในถุงทึบแสง หรือในขวดโหลได้เหมือนกัน

พิธีกร เข้าใจว่าอาจจะต้องอยู่ในห้องปิดทึบหรือห้องแลปหรือมีอะไรอย่างนี้
: ไม่จำเป็นค่ะ เก็บในที่แห้งและเย็นกันชื้นไม่โดนแสงเท่านั้นเองเก็บแบบแช่แข็งก็ได้ แล้วก็นำมาใช้ ใช้ได้เหมือนกัน

อาจารย์บอกว่ามันจะsensitiveกับน้ำ เรื่องน้ำเราต้องดูแลเรื่องน้ำมันอย่างไร
ก็คือจริงๆแล้วกระเจี๊ยบแดง ถ้าเราปลูกในหน้าฝนส่วนใหญ่ มันจะได้น้ำฝนช่วยในการเจริญเติบโต แต่ในบริเวณที่มีน้ำขังอะไรพวกนี้มันก็อาจจะกระตุ้นให้กระเจี๊ยบแดงเป็นโรคได้ง่ายขึ้น การระบายน้ำก็เป็นสิ่งจำเป็นเท่านั่นเอง นอกจากนี้การใช้ระยะปลูกที่เหมาะสม ก็คือถ้าเราปลูกเร็ว ประมาณกรกฎาคม สิงหาคมก็ควรจะใช้ระยะปลูกห่างหน่อย เพราะกระเจี๊ยบจะมีการเจริญเติบโตทางลำต้น กิ่งก้านมาก ถ้าปลูกแน่น ชิดเกินไปอาจทำให้เกิดเป็นโรค การหักล้มได้ง่าย กระเจี๊ยบต้องการแดดมากเป็นพืชต้องการแสงมากไม่ควรปลูกในที่ร่ม รำไร


พิธีกร สงสัยว่าถ้าต้องการแดดมากทำไมเราไม่ปลูกในช่วงหน้าร้อน
: ถ้าปลูกในช่วงหน้าร้อนเขาจะโตแต่ลำต้นไปเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงตุลาคม จะไม่มีดอก ต้นจะสูงใหญ่มาก บ้านเรามีแดดทั้งปี แต่ว่าเมษายนอุณหภูมิจะสูงมาก จะร้อนเกินไป และการสะสมสารแอนโทไซยานินในพืช ในกระเจี๊ยบแดง หรือพืชอื่นๆ เขาพบว่ามีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิ ยิ่งอุณหภูมิต่ำจะยิ่งช่วยกระตุ้นให้พืชสามารถสร้างสารแอนโทไซยานินได้สูงขึ้นด้วย เพราะฉะนั้นการปลูกในฤดูหนาวหรือว่าฤดูที่ไม่ร้อนจัดจะช่วยให้กระเจี๊ยบสามารถสะสมสารสำคัญได้สูงขึ้นด้วย

พิธีกร ถ้าจะตัดกระเจี๊ยบไปใช้ประโยชน์ควรตัดในช่วงปลายๆ ปี
: ใช่ค่ะ จะออกดอกในช่วงเดือนตุลาคม อุณหภูมิจะเริ่มลดลง จะเริ่มเย็นลง จะกระตุ้นให้กระเจี๊ยบสร้างสารได้สูงขึ้นมากขึ้น

ถ้าท่านผู้ชมสนใจสอบถามเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ช่องทางไหนบ้าง
สามารถติดต่อได้ทาง facebook ของศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน ติดต่อมาที่เบอร์โทรศัพท์ 081-9369260 และเป็นเบอร์ Line id ด้วย

 

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

KULIB Talk No.28 “คิดนวัตกรรมภายใน 24ชม.”

          สวัสดีค่ะ ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่การ live ผ่านทาง facebook live ของสำนักหอสมุด
ดิฉันนางสาวศรัญญาภรณ์ โชลิตกุล รับหน้าที่เป็นพิธีกรในวันนี้ สำหรับวันนี้นะคะ เราได้รับเกียรติจากนิสิตคณะเศรษฐศาสตร์ศรีราชา ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ1 การแข่งขันระดับภูมิภาค 24 Hours of innovation: Regionalcompetition (Eastern Region)และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ1 รายการแข่งขัน 24 Hours of innovation special competition ณ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยขอต้อนรับ น้องศิริฤทัย ปรีชาจารย์ ค่ะ

ทางเราทราบมาว่าได้รับรางวัลการแข่งขัน 24 Hours of innovation: Regionalcompetition แล้วก็รางวัลในระดับประเทศด้วย อยากจะให้ช่วยเล่าถึงรางวัลนี้ว่ามันเป็นการแข่งขันอะไร มีระยะเวลามีเกณฑ์การตัดสินอย่างไรบ้าง

ในรายการ 24 Hours of innovation เป็นการแข่งขันที่จะให้นักศึกษาได้มาคิดค้นนวัตกรรม คือเขาจะให้โจทย์มา แล้วเราก็คิดค้นนวัตกรรมภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งในรายการนี้เป็นรายการแข่งขันระดับภาคตะวันออก ก็จะมีหลายๆมหาวิทยาลัยที่จะเข้าร่วมแข่งขันด้วยกัน

รู้จักโครงการนี้ได้ยังไงบ้าง ทำไมถึงสนใจจะเข้าร่วมโครงการนี้

คือโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของ สวทน. ก็ได้มีการมาประชาสัมพันธ์ที่มหาวิทยาลัย ได้ร่วมเข้าไป workshop แล้วก็ได้จับกลุ่มกับเพื่อนๆ

กลุ่มหนึ่งมีกี่คน

กลุ่มหนึ่งมี 8 คนค่ะ

ใช้เกณฑ์อะไรในการรวมกลุ่มคัดกัน

ก็อย่างที่บอกว่ามันมีการที่ให้เราเข้าไป workshop แล้วเราก็จะเจอเพื่อนๆต่างคณะ แล้วก็ต่างสาขากัน เราก็เลยได้รวมกลุ่มกัน

เวลาเข้ามา workshop ด้วยกัน เราเลือกเพื่อนๆที่จะเข้ามารวมกลุ่มเลือกยังไงบ้าง เลือกตามความสนใจเหมือนกัน หรือว่าเลือกตามอย่างไร

จริงๆคือในรายการนี้เป็นการแข่งขัน innovation ดังนั้นเราก็เลยคัดเลือกคนที่ค่อนข้างที่จะเหมาะกับ innovation อย่างเพื่อนที่เลือกมาต่างสาขาก็จะเรียนทางด้าน IT ทางด้านคอมพิวเตอร์ คืออยากให้ด้านนี้มันเป็นจุดเด่นของกลุ่มเรา เราก็เลยเลือกคนที่อยู่ในสาขานี้

รายการนี้คือ 24 Hours of innovation ก็คือต้องคิดค้นนวัตกรรมภายใน 24 ชั่วโมง เป็นการเข้าแข่งขันครั้งแรกหรือเปล่า

จริงๆการแข่งขันครั้งแรกได้แข่งขันในระดับมหาวิทยาลัยก่อน เพราะว่าเขามีการจัดการแข่งขันเล็กๆก่อน เหมือนเป็นการเริ่มต้น ในรอบนั้นได้รองชนะเลิศอันดับ2 แต่ว่าก็มีการแข่งขันอีกเรื่อยๆ อย่างรอบนี้ก็เป็นการแข่งขันระดับภาค ก็ได้เข้าร่วมอีก

เรามาพูดถึงการแข่งขันในระดับภูมิภาค โจทย์ที่เราได้รับคืออะไร

โจทย์ที่ได้รับก็คือ เป็นปัญหาของขยะ electronic อย่างในปัจจุบันนี้เรามีการใช้โทรศัพท์มือถือ เรามี smartphone ในหลายรุ่น ดังนั้นเมื่อรุ่นใหม่ออกมา คนก็จะเปลี่ยนกันใช่ไหมคะ แล้วมันก็จะเกิดเป็นขยะ electronic หรือเรียกว่า e-waste

ในกลุ่มคิดค้นนวัตกรรมเพื่อจะแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างไงบ้าง

เราทำในส่วนของ process มากกว่า เพราะว่าเรามีคนที่อยู่คณะเศรษฐศาสตร์ 4 คนด้วยกัน ดังนั้นเราอยากจะให้มันออกมาเป็นภาพรวมใหญ่ๆ เราจึงคิดค้น application ขึ้นมา ชื่อว่า How waster เราได้รับแรงบันดาลใจมาจากพวก line man ต่างๆที่มีคนไป service ถึงหน้าบ้านใน application เรามีการทำ application ให้เป็นรูปแบบที่สามารถเข้าใจง่าย มีการถ่ายรูปสิ่งของก่อนที่จะไปรับ เพราะว่าของ electronic มันอาจจะเป็น ทีวีเครื่องใหญ่ หรือโทรศัพท์เครื่องเล็ก ดังนั้นเพื่อให้คนที่ไปรับได้เตรียมตัวก่อน เราก็เลยจะต้องมีการถ่ายรูปไว้ก่อน แล้วก็มีการสะสมแต้มต่างๆอะไรอย่างนี้

นวัตกรรมที่น้องแป้งและทีมงานคิด ก็คือเป็น application ใช่ไหมคะ ชื่อ How waster โดยการไปรวบรวมหรือว่าไปเก็บขยะ electronic ที่มีผู้สนใจต้องการจะกำจัด โดยใช้วิธีการนี้ พอดีในโจทย์ก็จะมีเรื่องของการคิดค้นเป็น prototype อยากจะให้อธิบายความหมายของ prototype ให้เข้าใจได้ง่ายๆว่ามันเป็นอะไรอย่างไร เพราะเป็นโจทย์ที่เราได้รับตรงนี้ด้วยใช่ไหม

ในส่วนของ prototype มันก็คือโมเดลต้นแบบ ซึ่งมันอาจจะสามารถใช้ได้จริง หรือว่าจะใช้ไม่ได้จริง เราใช้ 3D printing ทำมาก็ได้ คือมันเป็นแค่ต้นแบบ อย่างของเรายังไม่ได้ออกมาเป็น application จริงๆ เราใช้เป็นตัวดัมมี่ทำก่อน

ในกลุ่มมี 8 คน มีทั้งเศรษฐศาสตร์ แล้วก็มีทั้งวิศวะด้วยใช่ไหมคะ ในการแบ่งงานมีการระดมความคิดกัน หรือว่าแบ่งงานกันอย่างไร

คือก่อนอื่นเลยเริ่มแรกเราทำเป็น Process ดังนั้น คือมันจะเริ่มที่เศรษฐศาสตร์ก่อน ว่าเราอยากให้มันออกมาเป็นมุมนี้นะ มุมนี้นะ แล้วก็จะต้องมีการพูดเพื่อที่จะให้เพื่อนต่างสาขาให้เขาเข้าใจได้ แล้วก็สามารถเอาไปตีความ และเอาไปทำให้เราดูได้ว่าอันนี้ทำได้แบบนี้นะ

หลังจากแข่งขันในระดับภูมิภาคเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราก็ไปต่อกันในระดับประเทศ ในการแข่งขัน 24 Hours of Innovation Special Competition ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในครั้งนี้ทีมของน้องแป้งก็ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง  ในการแข่งขันทั้งสองแห่ง สองอย่างนี้มีความแตกต่าง ความเหมือนกันอย่างไร ความยากง่ายต่างกันไหม

ความแตกต่างน่าจะเป็นความกดดัน คือในเมื่อเราได้ผ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ดังนั้นแน่นอนว่าความคาดหวังทั้งกับตัวเรา ทั้งกับเพื่อนเรา อย่างแป้งเป็นคนที่ต้อง Pitching หรือเป็นการ Present ดังนั้นทุกครั้งที่พูดทุกครั้ง เหมือนเราได้แบกความหวังของเพื่อนทั้ง 7 คนเอาไว้ แล้วเรายืนอยู่ข้างหน้าทุกคน คือมันกดดันมากกว่าเดิม แน่นอน แต่ว่าความเหมือนก็คือตอนที่เราได้รับโจทย์ คือเราไม่สามารถจะคาดเดาได้เลยว่าโจทย์จะออกมาในรูปแบบไหน มันเหมือนกับการที่เราคิดใหม่ทุกครั้ง นั้นมันคือ Innovation

โจทย์ง่ายหรือว่ายากกว่าเดิม

คิดว่ามันมีความยากง่าย แบบว่าต่างกัน เพราะว่ามันคนละโจทย์กัน

ช่วยแชร์ประสบการณ์ว่าโจทย์ในครั้งนี้ ที่ในการแข่งระดับชาติโจทย์ที่ได้รับคืออะไร

โจทย์ที่ได้รับมันปัญหาของปริมาณเส้นผม ที่มีผู้บริจาคมาที่สถาบันมะเร็ง ที่เราได้เห็นตามข่าว ตาม Facebook ต่างๆมีการรับบริจาคเส้นผม แต่ว่าสิ่งที่หลายๆคนไม่รู้ คือว่าเส้นผมนี้มันมีการ Over Supply หรือว่ามีปริมาณที่มากเกินไป ดังนั้นทางสถาบันมะเร็งต้องเสียค่าใช้จ่ายที่จะต้องทำลายเส้นผม และอีกอย่างที่หลายๆคนไม่รู้ว่า การทำสีผม ดัดผม หรือว่าผมที่ไม่ได้ตรง ก็ไม่สามารถที่จะบริจาคได้ ดังนั้นการให้ไปก็สูญเปล่า อีกอย่างผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งบางท่านก็ไม่ได้อยากจะได้ผมจริง ก็คือความกลัว กลัวว่า เอ๊ะ เส้นผมนี้ มันเป็นเส้นผมใคร คือเขาก็ไม่กล้าใช้ ถ้าเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์แล้วน่าจะมีประมาณ 30 % ที่ใช้เส้นผมจริงๆ

(พิธีกร : ทางสถาบันมะเร็งต้องกำจัดถึง 70 % เลยใช่ไหมคะ)  ใช่ค่ะ ประมาณนั้น

แล้วทางน้องแป้งคิดค้นนวัตกรรม ที่จะช่วยในส่วนนี้ยังไงบ้าง

คือเราคิดมาเป็นตู้ค่ะ ตอนที่คิดนะคะ ถ้ามันเป็นตู้ เราสามารถที่จะบริจาคที่ไหนก็ได้ ตอนไหนก็ได้ เราคิดว่ามันควรไปตั้งอยู่ในจุดที่สำคัญต่างๆ เช่น แถวๆบีทีเอส หรือว่าตามห้างดังๆ แล้วก็เพื่อให้ได้เส้นผมที่มีคุณภาพ เราใช้นวัตกรรม ที่เรียกว่า Image processingก็คือการตรวจจับ คือเราก็ตั้งค่าไว้ว่าเราอยากได้ แบบนี้ แบบนี้ ผมแบบนี้ อะไรอย่างนี้ มันก็จะสามารถคัดกรองเส้นผมได้

(พิธีกร : น่าสนใจมากเลยค่ะ วันหนึ่งพี่ก็อยากฝัน อยากจะเห็นตู้ที่เป็นตู้รับบริจาคเส้นผม อยู่ตามที่สาธารณะบ้าง)

ในการแข่งขันแต่ละครั้ง คิดว่าจากประสบการณ์ในการเข้าแข่งขัน  เรื่องไหนที่เราควรเป็นคุณสมบัติของผู้ที่เข้าแข่งขัน

คุณสมบัติของผู้เข้าแข่งขัน ต้องเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีความสนใจในเรื่องของInnovation ต่างๆ คือเรื่อง Innovation มันไม่ใช่เรื่องยากเสมอไป มันอาจจะเป็นเรื่องที่ง่ายๆ เช่น ถ้าเราขี้เกียจทำสิ่งนี้ เราอยากจะคิดอะไร ทำอะไรที่ทำให้มันง่ายกว่านี้ และมันไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งของเสมอไป มันอาจจะเป็นกระบวนการใหม่ๆที่เราคิดขึ้นมา แล้วก็อีกอย่างหนึ่งก็คือการที่เราจะสามารถสื่อสาร อย่างที่เราคิดมาแล้ว คือเราไม่สามารถทำให้คนอื่นเขาเข้าใจ หรือเขาอินในสิ่งที่เราทำได้ มันก็สูญเปล่า

นอกเหนือจากความรู้จากทางเรื่อง Innovation ความรู้ทักษะในเรื่องการสื่อสารก็ถือเป็นเรื่องจำเป็นด้วยใช่ไหมคะ ในการแข่งระดับนี้ จากการเข้าแข่งขันมาทั้งหมด คิดว่าสิ่งที่เราได้เรียนรู้จากการเข้าแข่งขันในระดับนี้มีอะไรบ้างที่อยากจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ชม

สิ่งที่ได้จากการแข่งขันนี้ มันคือการเปิดโลกใหม่ๆ คือสำหรับแป้งนะคะ มันคือการเปิดโลกเลยคือจากที่เรานั่งเรียนอยู่เฉยๆเราไม่สามารถรู้ได้ว่าคนอื่นที่เขาเรียนต่างสาขากันเขาเก่งแค่ไหนเขามีความรู้เรื่องอะไรกันและการที่เราคิด innovation มา มันจะต้องมา present ให้คนอื่นดู ดังนั้นแน่นอนว่ามันจะต้องมีการcommentมีการติในสิ่งที่เราทำดังนั้นมันทำให้เราได้อะไรใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเยอะเลยค่ะ

เป็นนิสิตที่เพิ่งจบเลย มองภาพหรือว่าวางแผนอนาคตตัวเองไว้ว่าอย่างไรบ้าง

จากการที่ได้แข่งมาหลายๆครั้ง ก็คิดว่าอยากจะมีความรู้ในหลายๆ สาขา คือเริ่มที่จะมีความสนใจในด้าน innovation อะไรอย่างนี้ จากเดิมเราเรียนเศรษฐศาสตร์แต่ว่าเดี๋ยวนี้เราก็เริ่มติดตามข่าวสารติดตามเทคโนโลยีต่างๆแล้วก็มีความคิดว่าอยากเรียนรู้เรื่อยๆถ้ามีโอกาสเรียนต่อก็จะเรียนในสาขาที่ต่างกันบ้างเพื่อเอามาบูรณาการกัน

เป็นเด็กรุ่นใหม่ที่มีความคิดดีมากเลยในช่วงเวลาเรียนในช่วงที่เรียนหนังสือนอกเหนือจากการเรียนใช้เวลาว่างทำอะไรบ้าง

ถ้าเป็นเวลาว่าง คือตอนที่อยู่มหาวิทยาลัย ก็เป็นTAด้วย มีการช่วยทางคณะทำอะไรอย่างนี้ แล้วก็เป็นคนที่ชอบจดlectureมากคือเดี๋ยวนี้มันจะมี ipadใช่ไหมคะมันก็จะสามารถแต่งlectureเราได้ เราก็จะมีความสุขในการทำจริงๆมันก็ไม่ได้ใช้เวลานานหรอกแต่ว่าเราก็ชอบและเราก็ทำตรงนี้นานๆ แล้วก็ชอบฟัง content ที่เป็นเรื่องทัศนคติต่างๆ

แล้วพวกนี้สามารถหาอ่านได้จากที่ไหน เป็นอินเตอร์เน็ตหรือว่าเป็นหนังสือ

ถ้าชอบภาษาอังกฤษมันมี app ค่ะ TED ที่แบบเป็นคนมาพูดอะไรอย่างนี้แล้วเราก็แบบฟังมันก็ได้หลายมุมมอง

ชอบอ่านหนังสืออื่นที่นอกเหนือจากตำราเรียนไหมคะ

จริงๆคือเป็นคนไม่ค่อยชอบอ่านหนังสือเลย จะชอบฟังคนอื่นพูดชอบเรียนรู้จากสิ่งที่เห็นหรือว่าได้ทำจริงๆ

นอกเหนือจากสนใจทางด้าน innovation ทราบว่าสนใจทางด้าน financeด้วย ใช่ไหมคะ

ใช่ค่ะ

แล้วมีสิ่งอื่นๆเรื่องอื่นๆที่สนใจด้วยอีกไหมคะ

ก็ยังชอบ financial แต่ว่าเพิ่งมารู้ตัวตอน ปี3 ปี 4

สุดท้ายนี้ก็อยากจะให้ช่วยแนะนำกับรุ่นน้องหรือว่านิสิตท่านอื่นๆในการสร้างสรรค์ผลงานหรือว่าการเข้าแข่งขันในระดับภูมิภาคหรือว่าระดับชาติ ช่วยให้คำแนะนำกับน้องๆ

จริงๆแล้วมีความเชื่อว่าโอกาส มันเข้ามาหาเราเสมอดังนั้นถ้าเราลองคว้ามันไว้สักครั้งหนึ่ง มันก็จะเหมือนกฎของแม่เหล็ก มันก็จะมีแรงดึงดูดเกี่ยวกับด้านนี้ดังนั้นมันก็จะเจอคนที่อยู่ในด้านนี้เรื่อยๆเราก็จะได้เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่เราชอบเราต้องลองเปิดใจเข้าไปแข่งขันดูสักครั้งหนึ่ง

เราสามารถติดตามข่าวสารการแข่งขันประมาณนี้ได้จากที่ไหนบ้าง

เขามี page ที่อยู่ใน fanpagefacebook ชื่อว่า 24 hours of innovation ลองsearchดู

(พิธีกร   :  เป็น facebook24hour of innovation ผู้ชมรายการสามารถไปกดไลค์ได้นะคะ เพื่อจะได้ติดตามข่าวสารต่างๆ)

พิธีกร   :  วันนี้นะคะทางรายการ KULIB talk ต้องขอขอบคุณน้องแป้ง ศิริฤทัย ปรีชาจารย์ มากเลยนะคะ แล้วก็ขอแสดงความยินดีที่เรียนสำเร็จเป็นบัณทิตขอขอบคุณที่มาแชร์ประสบการณ์ต่างๆแล้วก็ idea ความคิดต่างๆให้กับผู้ชมของเราด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

e-wasteการรีไซเคิลซากแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีทางกายภาพ

โครงการจัดทำระบบติดตามวงจรชีวิตของซากอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

- คุณภาพการใช้งานแอปพลิเคชั่นร้านอาหารจากมุมมองของลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร / ธนสิทธิ์ สุขสุทธิ์

- แนวโน้มการใช้โมบายแอพพลิเคชั่น / สุชาดา พลาชัยภิรมย์ศิล

- คุณค่าจากการบริโภคและคุณประโยชน์ของโมบายแอพพลิเคชั่นที่มีความสัมพันธ์กับการซื้อซ้ำในการใช้บริการรถแท็กซี่ผ่านโมบายแอพพลิเคชั่นของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร / ชุตินภัสฐ์ อนันตพฤทธ์

- พฤติกรรมการใช้ไลน์แอพพลิเคชั่นของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร / ศิริพร แซ่ลิ้ม, พีรยุทธ โอรพันธ์

- Read for the blind จิตอาสา+เทคโนโลยี = แอปฯ หนังสือเสียงเพื่อคนตาบอด / ธัชชัย วงศ์กิจรุ่งเรือง

- Measuring the social value of innovation : a link in the university technology transfer and entrepreneurship equation / edited by Gary D. Libecap

- Science and technology in Thailand : moving forward to the new era / editors, Supachai Lorlowhakarn, Sasithorn Teth-uthapak

- สร้างแอพพลิเคชั่นด้วย Visual Basic 2015 [electronic resource] / ผู้บรรยาย สกล คำปันนา ; บรรณาธิการ ปิยะ นากสงค์

- แนวทางและประสบการณ์การพัฒนาเครือข่ายนวัตกรรมกลุ่มย่อย / ผู้จัดทำ ภัทรพงศ์ อินทรกำเนิด ... [และคนอื่น ๆ]

- ทำตลาดบน -- facebook : ฉบับประยุกต์ใช้แอพพลิเคชั่น / ผู้เขียน อรภัค สุวรรณภักดี

- การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา / รัตนะ บัวสนธ์

- กระบวนการยอมรับนวัตกรรมและพฤติกรรมการรับชมช่องรายการโทรทัศน์ดิจิทัลของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร / ธนภูมิ อติเวทิน, ไพบูลย์ อาชารุ่งโรจน์

- สร้างชาติด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม / ศันสนีย์ ชีระพันธ์

-ศูนย์นวัตกรรม Global innovation incubator (Gii) สร้างความแตกต่างด้วยนวัตกรรม / กองบรรณาธิการ

- การพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี : บูรณาการอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และทักษะที่สำคัญแห่งศตวรรษที่ 21 / ศุภฤกษ์ ทานาค

- การจัดการนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ / ขวัญฤดี ตันตระบัณฑิตย์

- นวัตกรรมนำสู่อนาคตประเทศไทย / จิตรลดา พิศาลสุพงศ์

- นวัตกรรมต่อยอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาไทย / สมปอง สมญาติ

- มุ่งสู่อุตสาหกรรม 4.0 "นวัตกรรมพาร์ค (EECi)" "ดิจิทัลพาร์ค (EECd)" / อุไรพร ใจมูลวงศ์

- นวัตกรรมการสื่อสารด้วยอินโฟกราฟิก / ณัฏฐพงษื สายพิณ

- นวัตกรรม 6.0--platform--เปลี่ยนอนาคต / สมคิด ลวางกูร

- เมืองนวัตกรรมอาหาร Food Innopolis เพื่อการสร้าง “มูลค่าเพิ่ม” ในอุตสาหกรรมอาหาร / กฤชชัย อนรรฆมณี

- ทัศนคติ ความพึงพอใจ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคต่อการทำการตลาดดิจิทัลผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์แอท / เขมิกา กอเซ็ม, วิกานดา พรสกุลวานิช

- พฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้ใช้แอพพลิเคชั่น Application บนสมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการแอนดรอยส์ (Android) / วัศยา ธีรวนิชย์ไชยกุล

- Mobile applications : ทิศทางและแนวโน้มของแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลกและไทย / บุญชัย ศรีพลแผ้ว

- Mobile application development for cultural tourism attractions in Thailand's lower central provinces / Panornuang Sudasna Na Ayudhya

- Innovative cement and concrete in modern construction / Pusit Lertwattanaruk, Natt Makul

- Innovative bridge design handbook : construction, rehabilitation and maintenance / edited by Alessio Pipinato

- Innovative professional development methods and strategies for STEM education / Kenan Dikilitas, [editor]

- Innovative methods of marine ecosystem restoration [electronic resource] / edited by Thomas J. Goreau, Robert Kent Trench

-The Next generation of corporate universities : innovative approaches for developing people and expanding organizational capabilities / Mark Allen, editor

- Innovation ecosystems : increasing competitiveness / Martin Fransman

- Innovation and application of green building materials / chief editor, Song Jia

- การสร้างนวัตกรรม : เปลี่ยนผู้เรียนให้เป็นผู้สร้างนวัตกรรม / เนาวนิตย์ สงคราม

- นวัตกรรมเทคโนโลยีสนับสนุนการดำเนินงานแห่งสหัสวรรษ / [โกศล ดีศีลธรรม]

-   Innovation, product development and commercialization : case studies and key practices for market leadership / Dariush Rafinejad

- Technological innovation in oil processing / edited by Giancarlo Barbiroli

- Measuring the social value of innovation : a link in the university technology transfer and entrepreneurship equation / edited by Gary D. Libecap

- The microeconomics of product innovation [electronic resource]/ Paul Stoneman, Eleonora Bartoloni, and Maurizio Baussola

- Product innovation toolbox : a field guide to consumer understanding and research / edited by Jacqueline Beckley, Maria Dulce Paredes, Kannapon Lopetcharat

- Principle concepts of technology and innovation management : critical research models / Robert S. Friedman, Desiree M. Roberts, Jonathan D. Linton

- นวัตกรรมของเทคโนโลยีในกระบวนการแปรรูปและถนอมอาหาร / นิพัฒน์ ลิ้มสงวน

- สร้างชาติด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม / ศันสนีย์ ชีระพันธ์

- นวัตกรรมประเทศไทย : กรณีศึกษาประสบการณ์จากสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และยุทธศาสตร์การสร้างนวัตกรรมสำหรับประเทศไทย / ปรีดา ยังสุขสถาพร

KULIB TALK | EP.50 | ทรายแมวจากผักตบชวา

นิสิตม.เกษตร ผุดไอเดียรักษ์โลก  “ทรายแมวจากผักตบชวา”

คุณเมธัส เปล่งเจริญศิริชัย รับหน้าที่เป็นพิธีกร

นิสิตให้สัมภาษณ์ทั้งหมด 5 คน ได้แก่

  1. นางสาวธัญญรัตน์ เกาะเกต
  2. นางสาว ปิ่นมณี ดอนจันทร์เยี่ยม
  3. นางสาวนิรมล ตั้งเจริญ
  4. นางสาวฮัซซูนา สาเหล็ม
  5. นางสาวธนฉัตร ศิริพานิชกร

พิธีกร : “สวัสดีครับขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่รายการ KULIB Talk ผมเมธัส เปล่งเจริญศิริชัย รับหน้าที่เป็นพิธีกรในวันนี้ครับ วันนี้ KULIB Talk ของเราจะพาเพื่อนๆมารู้จักกับกลุ่มน้องๆนิสิตจากคณะเทคนิคการสัตวแพทย์ ที่คิดผลงานอันเป็นประโยชน์ต่อวงการสัตว์เลี้ยงและสิ่งแวดล้อม โดยการนำเอาผักตบชวานำมาแปรรูปเป็นทรายสำหรับให้น้องแมวขับถ่าย จะเป็นอย่างไรนั้นติดตามชม KULIB Talk ของเราได้ในวันนี้ครับ “

“ขอต้อนรับน้องๆทุกคนเลยครับ สวัสดีครับ ขอให้น้องๆช่วยแนะนำตัวให้ผู้ขมทางบ้านรู้จักกันหน่อยครับ “

นางสาวธัญญรัตน์  เกาะเกต : สวัสดีค่ะ หนูชื่อ นางสาวธัญญรัตน์  เกาะเกต ค่ะ ชื่อเล่นชื่อนิวค่ะ

นางสาว ปิ่นมณี ดอนจันทร์เยี่ยม : สวัสดีค่ะ ชื่อ นางสาว ปิ่นมณี ดอนจันทร์เยี่ยม ค่ะ ชื่อเล่นชื่อ ฟางค่ะ

นางสาวนิรมล ตั้งเจริญ : สวัสดีค่ะ ชื่อ นางสาวนิรมล ตั้งเจริญ ค่ะ ชื่อเล่นชื่อมายด์ค่ะ

นางสาวฮัซซูนา  สาเหล็ม : สวัสดีค่ะ ชื่อ นางสาวฮัซซูนา  สาเหล็ม ค่ะ ชื่อเล่นชื่อ ซูน่า ค่ะ

นางสาวธนฉัตร  ศิริพานิชกร : สวัสดีค่ะ ชื่อ นางสาวธนฉัตร  ศิริพานิชกร ชื่อเล่นชื่อป่านค่ะ

คำถาม : เรามาเริ่มคำถามแรกกันเลยครับ เพราะเหตุใดจึงเลือกผักตบชวาแปรรูปเป็นทรายแมวครับ ?

          นางสาวธัญญรัตน์  เกาะเกต : เราจะเห็นว่าผักตบชวาจะมีมากมายในแม่น้ำลำคลอง ผักตบชวาเป็นวัชพืชเติบโตง่ายและแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วและมันทำให้ส่งผลกระทบต่อคมนาคมทางน้ำรวมถึงส่งผลให้ระบบนิเวศทางน้ำเสียหายค่ะ บวกกับว่าผลิตภัณฑ์ทรายแมวพวกนี้ที่ทำจากวัสดุธรรมชาติและย่อยสลายได้ทางชีวภาพมีราคาค่อนข้างสูง ยกตัวอย่างเช่นทรายแมวจากเต้าหู้ ซึ่งเราก็ได้ศึกษาค้นคว้าจากผักตบชวาว่า มันสามารถมีรูพรุนข้างในที่น่าจะดูดซับสิ่งปฏิกุลพวกนี้ได้ค่ะเลยคิดค้นมาทำเป็นทรายแมวผักตบชวานี้ขึ้นมาค่ะ

คำถาม : รบกวนขอดูหน่อยได้ไหมครับ ?

นิสิต : ได้ค่ะ….

คำถาม : ทรายแมวแบบนี้มีขั้นตอนในการทำอย่างไรบ้างครับ?

นางสาว ปิ่นมณี ดอนจันทร์เยี่ยม : ขั้นตอนการทำคือเราก็จะเก็บผักตบชวาและนำส่วนที่เป็นลำต้นมาปลอกเปลือกออกและนำไปหั่นเป็นชิ้นเล็กๆเพื่อจะนำไปปั่นค่ะ คราวนี้ก็จะมีการเติมน้ำบ้างเล็กน้อยเพื่อให้ปั่นคล่องตัว หลังจากนั้นเราก็จะไปกรองเอาน้ำออกและก็จะนำส่วนที่นำน้ำแล้วออกไปผสมกับแป้งข้าวโพดเพื่อให้เกิดการจับตัวกัน คราวนี้เราก็จะนำส่วนนั้นไปใส่แม่พิมพ์เพื่ออัดออกมาแล้วก็นำไปตากแดดสองถึงสามวัน ก็จะได้รูปออกมาประมาณนี้ค่ะ

คำถาม : ระยะเวลาการทำทั้งหมด ใช้เวลานานไหมครับ ?

นางสาวธนฉัตร  ศิริพานิชกร : ในกระบะนั้น ประมาณหนึ่งกิโลค่ะ เราใช้เวลาทำประมาณสองถึงสามสัปดาห์ค่ะ เพราะว่าพวกเราทำด้วยมือกันหมดเลย ถ้าอนาคตมีเครื่องอาจจะทำได้เร็วกว่านี้ค่ะ

คำถาม : เรามีสูตรหรือว่าสัดส่วนในการผลิตอย่างไรบ้างครับ?

นางสาวนิรมล ตั้งเจริญ : สัดส่วนคร่าวๆนะคะ ก็จะเป็น ผักตบชวา 2ส่วน ต่อแป้งข้าวโพด 1ส่วนค่ะ ส่วนสัดส่วนของน้ำเปล่าที่เติมไปคือไม่มีสัดส่วนที่ตายตัวค่ะ แค่ใส่ให้พอปั่นได้แค่นั้นค่ะ เพราะยังไงก็ต้องกรองน้ำออกอีกทีนึงค่ะ…

คำถาม : หลังจากการผลิตได้มีการทดสอบไหมครับว่าน้องแมวสามารถใช้งานได้จริงหรือว่ายอมขับถ่ายลงทรายแมวที่ทำจากผักตบชวา ?

นางสาวฮัซซูนา  สาเหล็ม :  เรามีการทดลองกับแมวสามตัวค่ะ เนื่องจากระยะเวลาเราค่ะ ปรากฏว่าแมวสองตัวมีการขับถ่าย แต่แมวอีกตัวไม่มีการตอบสนอง ขึ้นอยู่กับตัวของแมวด้วยค่ะ ในส่วนปัสสาวะจะถูกดูดซึมเข้าไปในทรายเลยค่ะ อุจจาระก็จะเกาะกับทรายของเราค่ะ

คำถาม : คิดว่าประโยชน์ของทรายแมวจากผักตบชวามีอะไรบ้างครับ ?

นางสาวธนฉัตร  ศิริพานิชกร : ผลิตภัณฑ์ของเราเป็นวัชพืชที่ขึ้นได้ตามทั่วไป อันดับแรกคือปลอดภัยค่ะ คือเมื่อน้องแมวทานเข้าไปยังไงก็ไม่มีผลอยู่ดีค่ะ แต่ว่าตอนนี้ยังไม่มีจำหน่ายนะคะ ยังไม่มีทำขายค่ะ

คำถาม : คิดว่าโปรเจคที่ทำให้อะไรแก่เราบ้างครับ ?

นางสาวนิรมล ตั้งเจริญ : อย่างแรกก็เป็นในเรื่องของการทำงานกันเป็นทีมค่ะ มีความคิดที่สร้างสรรค์ มีการระดมหัวกันคิด และคิดว่าเราจะสร้างสรรค์ผลงานจากไม่มีประโยชน์มาเป็นประโยชน์ได้อย่างไร ?

คำถาม : ถ้ามีคนสนใจทรายแมวจากผักตบชวาสามารถติดต่อได้ทีไหนครับ ?

นางสาวธัญญรัตน์  เกาะเกต : ถ้าเกิดมีคนสนใจติดต่อนะคะ สามารถติดต่อมาได้ทางคณะเทคนิคการสัตวแพทย์ค่ะ แล้วทางคณะจะติดต่อมาที่พวกเราอีกทีหนึ่งค่ะ….

คำถาม :  “ขอบคุณน้องๆทุกท่านมากครับ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเราจะได้เห็นผลงานของน้องๆกลุ่มนี้ได้ต่อไปในอนาคตสำหรับในครั้งหน้าจะเป็นใครต่อไปนั้น สามารถติดตามรายการของเราได้ทาง Facebook สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทุกท่านก็จะไม่พลาดทุกข่าวสารของทางสำนักหอสมุด สำหรับวันนี้ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามรับชม….สวัสดีครับ “

นิสิต : สวัสดีค่ะ….

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

แนวทางการดำเนินการกำจัดผักตบชวา และวัชพืช / บรรณาธิการ อัญชลี ริ้วธงชัย, สถาพร ลิ่มพันธ์

สร้างเงินล้านง่ายๆ--ด้วยผักตบชวา / เรียบเรียง พัชรี สำโรงเย็น ; บรรณาธิการ อภิชาติ ศรีสอาด
กำจัด "ผักตบชวา" สู่การใช้ประโยชน์ / สิริรัตน์ วารีรำพึงเพลิน
เครื่องอัดผักตบชวาโดยใช้ระบบไฮดรอลิค / สราวุธ ไตรพรหม, วิลาวัณย์ ปกรณ์

การพัฒนากระดาษผักตบชวาที่ทำด้วยมือแบบไทย / โดย วุฒินันท์ คงทัด

ผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา / สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

KULIB TALK | Special | นวัตกรรม KU สู้ภัย COVID-19

“KU libtalk special ในตอนสุดท้ายของเดือนเมษายนนี้ จะพาทุกท่านไปชมผลงานวัตกรรมจากหน่วยงานต่างๆของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในการร่วมมือร่วมใจกันต้านไวรัสโคโรน่า โดยในวันนี้ขอยกตัวอย่างจำนวน2ผลงาน คือ face shield และกล่องป้องกันการฟุ้งกระจายของไวรัสจากหน่วยงาน DIDM คณะวิศวกรรมศาสตร์จากศรีราชา และหุ่นยนต์น้องนนทรีฆ่าโควิดจากคณะวิศวกรรมศาสตร์บางเขน “

คำถาม : ในการคิดค้นพัฒนาหุ่นยนต์น้องนนทรี-ฆ่าโควิดใช้เวลาพัฒนานานเท่าไหร่?

ผศ.ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา : หุ่นยนต์ตัวนี้นะครับ เป็นหุ่นยนต์ใช้สำหรับฆ่าเชื้อโรคโควิดโดยเฉพาะ ใช้เวลารวมแล้วก็ประมาณสักหนึ่งเดือนนะครับสำหรับรุ่นต้นแบบแรก แต่ปรากฏว่าตอนทำมีการแก้แบบเรื่อยๆเพราะว่ามีปัญหาจุกจิกหลายๆเรื่องมาก สรุปง่ายๆก็ประมาณหนึ่งเดือนนิดๆครับ…..

คำถาม: ใช้งบประมาณในการสร้างเท่าไหร่และใช้อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตหุ่นยนต์อะไรบ้าง ?

ผศ.ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา : สำหรับต้นแบบนะครับ งบประมาณใช้ประมาณ9แสนบาท แต่9แสนบาทในงานวิจัยถือว่าน้อย ยากที่สุดคือเร่งรัดมาก คือหนึ่งอาทิตย์ต้องเสร็จ สองอาทิตย์ต้องเสร็จเนี่ยถ้าแบบนี้ค่าใช้จ่ายเลยแพงนะครับ แต่ถ้าทำเป็นปีอันนี้จะไม่มีปัญหาค่าใช้จ่ายจะน้อย ตัวนี้นี่…เราต้องออกแบบประมาณ4ตัวเลยนะฮะ…เอ่อการออกแบบอุปกรณ์มีอะไรบ้าง…1 ก็มีถังฉีดยา พอดีเราต้องออกแบบให้ใช้…เอ่ออ อะไหล่ที่อยู่ในท้องตลาดระดับต่างจังหวัดด้วยก็คือเครื่องจักรกลการเกษตรนี่เอง เช่น เครื่องฉีดพ่นการเกษตรนะฮะนำเข้ามาใช้งาน คือเครื่องพ่นยานะฮะ ที่สำคัญคือหุ่นยนต์ตัวนี้ต้องมีล้อมีมอเตอร์นะฮะ มอเตอร์มีสองตัวขับเลี้ยวขวาเลี้ยวซ้ายได้รอบทิศ360องศานะฮะ และขณะเดียวกันเค้าต้องมีวงจรไฟฟ้าพวกขับมอเตอร์และก็มีแบตเตอร์รี่อยู่ และก็สำคัญสุดท้ายคือมีแขนฮะ แขนกล  แขนกลของเค้านี้จะต้องติดตั้งพวกสปริงเกอร์ สปริงเกอร์ก็จะมีหลากหลาย แรกๆนี่ก็จะมีสปริงเกอร์ฉีดพ่นแบบธรรมดานะ แต่ตอนหลังเริ่มมีปัญหา..ฉีดพ่นก็กลัวว่าฉีดพ่นแล้วทำให้เชื้อโรคฟุ้งกระจายเราก็ปรับเป็นโหมดที่2….คือโหมด1ก็ยังไม่ทิ้งยังใช้ได้อยู่นะ … แล้วโหมดที่2เป็นการโรยละออง…คือเป็นความดันต่ำมากๆ ชี้ไปข้างหน้า พุ่งไปข้างหน้าและปล่อยตกให้ตัวละอองตกที่พื้น ฉะนั้นเชื้อโรคก็จะไม่มีการฟุ้งกระจาย อันนี้คือโหมดที่2 โหมดแรกคือฉีดพ่นรุนแรง..โอเคนะ…..ฉีดพ่นรุนแรงนี่ถ้าใช้ไม่ได้จริงๆก็ไปใช้กับการเกษตรได้อยู่…หุ่นยนต์ตัวนี้ออกแบบไว้สำหรับใช้ในการทำความสะอาด การฆ่าเชื้อโรคภายในอาคาร ห้องโถงต่างๆนะฮะ วัดวาอารามโรงบาลต่างๆได้หมด ถ้าไม่เกี่ยวกับเชื้อโรคก็ไปทำการเกษตรได้ด้วย โหมดที่3อีกข้อสำคัญคือถูพื้นได้ด้วยนฮะ…เบ็ดเสร็จเลยก็…สามารถใส่ผ้าถูพื้นข้างหลังหุ่นยนต์และถูกวาดเลยฮะ…มันเหมาะมากสำหรับห้องโถงใหญ่ๆหรือลานวัดอะไรอย่างนี้หรือศาลาที่คนเข้ามาอยู่เยอะๆมันกวาดทีเดียวเลยฮะคือมันค่อนข้างทำงานได้เร็วมากเหมือนมีคนถูพื้นถึงสี่ห้าคนเลย นี่คือข้อเด็ดของหุ่นยนต์ตัวนี้..ซึ่งนี่คืออะไหล่ทั้งหมดที่เป็นองค์ประกอบของหุ่นยนต์ตัวนี้ครับ…

คำถาม : หุ่นยนต์น้องนนทรี – ฆ่าโควิด มีกลไกและควบคุมการทำงานอย่างไร?

ผศ.ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา :  น้องนนทรีตัวนี้มีความวิเศษนิดนึงคือว่า… คือเราออกแบบเพื่อมาทดแทนคนจริงๆเพราะว่าคนที่จะต้องไปสัมผัสเชื้อโรคและก็สารเคมี ละอองเคมีเนี่ย ในพื้นที่หรือในอาคารในห้องที่มีผู้ป่วยติดเชื้อแล้วออกมา..แล้วเชื้อก็อยู่ในนั้นแล้วเค้าก็กลัว…วิธีการคือเราส่งหุ่นยนต์เข้าไปฮะ แต่หุ่นยนต์นี้จะทำงานได้ก็ต้องใช้remote control เป็น joy stickฮะ…ซึ่งถ้าเป็นห้องโถงกว้างๆเนี่ย รัศมีทำการอยู่ที่ 200เมตร ระยะไกลได้สบาย แต่ถ้ามีห้องหากเป็นกำแพงรัสมีเรดาร์จะประมาณ50เมตร ถือว่าใช้ได้นะฮะ50เมตร…แล้วก็นอกจากนี้ในหุ่นยนต์มีการติดตั้งกล้อง กล้องถ่ายทอดสดนะฮะอยู่ที่หุ่นยนต์…เพราะงั้นตัวคนบังคับเนี่ยเค้าจะมีแว่นตา Var เป็นแว่นตามีจอภาพสวมไป สามารถควบคุมหุ่นยนต์ได้เลย นี่คือข้อดี…คนจะไมได้ไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยงและคนก็ไม่ต้องใส่ชุด PPEคือชุดมนุษย์อวกาศซึ่งมีราคาแพงมาก…ชุดอย่างนี้ควรจะให้แพทย์ใช้ไม่ควรที่จะให้ผู้ปฏิบัติการณ์แบบนี้ใช้เลยเพราะราคาแพงและหายากนี่เป็นเหตุผลว่าผู้ปฏิบัติงานไม่จำเป็นต้องใส่ชุดนี้อีกละอยู่ข้างนอกและควบคุมรีโมทเข้าไป….หุ่นตัวนี้มีความพิเศษก็คือแขนมันสามารถกางออกได้และก็เก็บได้เพื่อหลบหลีกสิ่งกีดขวางและก็เข้าลิฟต์ได้หมด นี่คือข้อดีครับ…..

คำถาม: หุ่นยนต์น้องนนทรี-ฆ่าโควิด มีรัศมีในการฉีดพ่นได้ในพื้นที่แบบไหนได้บ้าง?

ผศ.ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา : น้องนนทรีนี่…ระบบล้อเค้าสามารถวิ่งได้ทั้งพื้นดิน พื้นทั่วๆไปได้เลยนะ และก็วิ่งเข้าไปในอาคารได้ แต่ถ้าเป็นบันไดสเต็ปเนี่ยประมาณ 5 เซนติเมตรพอ ….. แต่ว่าเดี๋ยวสักครู่เราจะออกแบบอีกรุ่นนึง เป็นรุ่นที่เป็นแบบขึ้นบันไดได้เลยเพราะบางอาคารเป็นอาคารเก่าไม่มีลิฟท์จะขึ้นลำบาก แบกก็หนัก เราก็ให้มันไต่บันไดได้ ซึ่งจะออกแบบชุดต่อไปนะฮะ และก็สำคัญอีกข้อนึงคือห้องโถง มีลิฟท์ไม่มีลิฟท์ได้หมด ห้องแคบๆได้ ที่ระยะประมาณเข้าลิฟท์ได้…ระยะนั้นก็เข้าได้หมดเลยทุกที่ มีโต๊ะอะไรอยู่ข้างๆก็เข้าได้หมด เพราะระบบการฉีดพ่นจะเป็นแบบเก็บแขนได้ด้วย ฉีดแนวดิ่งฮะ หรือกลางออกได้ด้วย ถ้าโล่งๆแบบลานวัดเนี่ยใหญ่ๆชอบเลย ทำแปปเดียวก็เสร็จละ… งานทำความสะอาดหรืองานฉีดพ่นหรืองานถูพื้น งานที่โหดที่สุดคือลานกว้างๆนี่แหละ คือมันต้องใช้แรงงานและใช้เวลา แต่หุ่นยนต์นี้ทำงานเสร็จเร็วมากเหมือนมีคน5คนช่วยกันถูพื้น ความเร็วนี่เราคำนวณแล้วระยะทำการคือกางปีกไปเกือบ3เมตร …. เราคำนวณแล้วว่าประมาณถังถังนึง…เนื่องจากเราบรรจุ2ถัง…เอ่อถังละ25ลิต ถังก็50ลิตร เอ่อ..รัศมีทำการก็คือ1ไร่ฮะ…ถ้าเป็นอาคารนี่ได้หลายชั้นเลยในการทำการแล้วไป…

คำถาม : หุ่นยนต์น้องนนทรี-ฆ่าโควิด มีประสิทธิภาพในการทำงานได้มากกว่าคนกี่เท่า?

ผศ.ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา : ประมาณสองถึงสามเท่าครับ ถ้าเป็นถูพื้นนี่เห็นชัดเลยสามสี่เท่า แต่ถ้าฉีดพ่นนี่ใกล้เคียงคน แต่คนโอกาสที่ละอองยาตกสม่ำเสมอจะค่อนข้างยาก แต่ของหุ่นยนต์นี่จะฉีดพ่นเสมอหมด คุณภาพงานจะต่างกันมาก อย่าลืมเชื้อโรคนะ..คุณต้องพ่นให้ทั่วถึง ถ้าตกค้างอยู่หนิอันตรายนะฮะ..ถ้าเป็นการฉีดพ่นหุ่นยนต์ทำงานได้มากกว่าสองเท่า แต่ถ้าเป็นถูพื้นนี่ห้าเท่าเลย

คำถาม : หุ่นยนต์น้องนนทรี-ฆ่าโควิด ได้ไปปฏิบัติงานที่ไหนบ้าง ?

ผศ.ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา : ตอนนี้นะฮะคือทดสอบอยู่ที่มอเกษตรศาสตร์คณะวิศวะฯ และตอนนี้คือเรามีความตั้งใจว่าจะออกสนามข้างนอก แต่เราจะเลือกพวกวัดหรือสถานที่ตลาดสดที่มีคนชุมนุมนะฮะ..แล้วตอนกลางคืนแล้วเราก็ปฏิบัติการฉีดพ่นหรือจะไปถูพื้นก็ได้… ส่วนโรงบาลนี่รอดูก่อนเพราะเรายังไม่อยากไปแตะโรงบาลเพราะว่าตอนนี้สภาวะที่นั่นก็ยังไม่ค่อยเรียบร้อยเท่าไหร่นัก เอาไว้ให้โรคร้ายสงบซักนิดนึงก่อนเราไปยุ่งกับแพทย์มากไม่ได้ช่วงนี้เพราะงานเค้าเยอะมาก…งานที่เรามองอยู่ตอนนี้ก็คือไม่ว่าจะห้างสรรพสินค้า…เพราะอนาคตอีกไม่นานคงจะเปิดเมืองแล้วแหละ ระบบทำความสะอาดเป็นเรื่องสำคัญ สมมุติมีคนติดเชื้อในอาคารนี่มีเรื่องเลย แม่บ้านก็ไม่กล้าเข้าไปทำความสะอาดมันต้องส่งหุ่นยนต์….ผมยังนึกไม่ออกเลยจะมีวิธีใดถ้าไม่ใช่หุ่นยนต์เข้าไปทำ ถ้างั้นถ้าเอาคนเข้าไปทำคุณต้องใส่ชุด PPE ซึ่งหายากมากนะครับผม….

คำถาม : อาจารย์มีแนวติดในการพัฒนาศักยภาพของหุ่นยนต์น้องนนทรี-ฆ่าโควิด ในด้านไหนอีกบ้าง?

ผศ.ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา : ตอนนี้เป็นล้อนะฮะ ตอนนี้ยังขึ้นบันได้ไม่ได้ แต่ขึ้นลิฟท์ได้หมด ต่อไปเราจะออกแบบให้ขึ้นลิฟท์ได้ สองก็คือขึ้นบันไดได้ บันไดก็มีความสูงไม่เท่ากันเราต้องทำเป็นตีนตะขาบ แต่การทำขึ้นบันไดได้เนี่ยต้องเป็นแบบนี้ฮะ…..หุ่นยนต์ตัวเก่าทั้งหมดต้องไปขี่อยู่บนหุ่นยนต์ตัวนี้ฮะที่ไต่บันไดโดยเฉพาะ เราใช้หลักากรคือหุ่นยนต์2ตัว หุ่นยนต์ตัวนึงเป็นฐานและอีกตัวนึงขึ้นค่อมเลยและไต่ขึ้นบันได พอพ้นบันไดเสร็จปุ๊บ…ปลดออก…ไอ่นี่ก็ลงไป..ไอ่นี่ก็ทิ้งไว้ก่อน เพื่อขากลับจะได้กลับและไต่ลง…เราจะออกแบบแบบนี้…เพราะถ้าออกแบบแบบนี้ปุ๊บ..หุ่นยนต์ตัวที่เราทำเวอร์ขั่นก่อนๆเค้าก็สามารถใช้การขึ้นบันไดได้ด้วย หลักการก็คล้ายๆจรวจสองท่อนฮะ สลัดทิ้งแต่ก็มาทำหน้าที่คู่ประสานกันแบบนี้ดีกว่า…นี่เรื่องไต่บันได้แล้วนะฮะ……อีกเรื่องก็คือเรื่องการถูพื้น…ตอนนี้เรื่องการถูพื้นเรายังเป็นแบบทางราบอยู่..เราอยากออกแบบให้เค้าสามารถเก็บแขนถูพื้นได้ด้วย และเก็บแขนเจ้าฉีดพ่นได้ด้วย…หรือฉีดพ่นพร้อมถูตามหลังต้องได้ด้วยมันมีหลายเรื่องมาก เราอยากให้หุ่นยนต์ตัวนี้เป็นหุ่นยนต์ที่เก่งเรื่องการทำความสะอาดโดยเฉพาะทั้งฆ่าเชื้อและถูให้เสร็จ…แต่การถูพื้นไม่หมูฮะ ในแง่ที่ว่า..ผ้าจะสกปรกมันต้องมีระบบซักล้างซึ่งเดี๋ยวเราต้องออกแบบระบบให้แขนกลไปจุ่มแล้วก็ซัก..เขย่า..และก็ใช้ต่อได้อะไรอย่างนี้นะฮะ…ซึ่งรายละเอียดมันจะเยอะมาก…เวอร์ชั่นนี้ไม่รู้ว่าจะไปได้แค่ไหนเพราะมาทำงานแทนคนเกือบร้อยเปอร์เซนต์…และอีกข้อคือการเช็ดถูแนวดิ่ง ราวบันได ผนัง อันนั้นก็อีกแบบนึงนะเพราะมันไม่ง่าย อันนั้นต้องขอเวลาวิเคราะห์ต่อไป เพราะระดับต่างประเทศทำของพวกนี้เค้ายังยากเลย…และอีกข้อคือการไร้คนขับ ไร้คนบังคับให้มันวิ่งเอง อันนี้ก็โหดไป… แนวโน้มต้องรอปีหน้าก่อนเพราะเทคโนโลยีทางด้านไร้คนขับไร้คนบังคับ หุ่นยนต์มีตามีกล้องแล้วหาเส้นทางไปเองได้ ทำแผนที่ห้องได้ อันนี้เรามีเทคโนโลยีอยู่แล้วเพียงแต่ว่ายังไม่เหมาะสมที่จะทำทางด้านนี้…รอสักหนึ่งปีก่อน…..

คำถาม: อาจารย์มีความคิดเห็นอย่างไร กรณีที่ว่าการฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อที่ตัวบุคคลหรือสถานที่ไม่ช่วยลดความเสี่ยงการติดของเชื้อโควิด-19

ผศ.ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา : คือต้องแยกเป็น2ประเด็น พื้นที่โล่งที่แดดส่อง..โอเคอาจจะไม่จำเป็น…แต่เรื่องนี้พูดยากเพราะคนมีความวิตกกังวล…ค่อนข้างเข้าใจนะครับว่า..หนึ่งเราทำไมต้องทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ยังไม่ได้อยู่เข้าบ้านเลย มันเป็นเรื่องของความเชื่อ เรื่องของความรู้สึกไว้วางใจ มีความมั่นใจ ฉะนั้นการทำความสะอาดห้อง ทำความสะอาดอาคารมันก็เป็นเรื่องที่จำเป็น ต่อให้ทางทฤษฎีเชื้อตายแน่นอน แต่มันไม่เห็นด้วยตา… แล้วอย่าลืมเชื้อนี่อยู่ในอากาศได้30นาที อยู่บนพื้นได้เป็นวันนะฮะ ตอนหลังนี่ข่าวสารบ้านเมืองเริ่มงงแล้ว แพทย์บางคนก็บอกว่า เชื้ออยู่ได้สองวันสามวัน อากาศร้อนก็อยู่ได้ สมัยก่อนบอกว่าติดเชื้อทางอากาศไม่ได้ ตอนหลังบอกว่าติดได้ มันเริ่มสับสน เพราะงั้นทางออกที่ดีที่สุดคือ safety ทำให้หมดทุกอย่างเลย หุ่นยนต์นี้จึงต้องออกแบบไว้เผื่อพลาด ถ้าฟุ้งกระจายเราก็ต้องมีการโรยละอองให้มันลงช้าๆ หรือเราโรยละอองไม่ได้อีก ก็ถูพื้นเลย เพราะสุดยอดที่สุดคือถูพื้น ถ้าถูพื้นไม่ได้ไม่มีการทำความสะอาดได้เลย ….. แต่การถูพื้นมีข้อเสีย…อย่างเช่นในห้างสรรพสินค้า ชั้นที่วางของคุณจะเอาผ้าไปนั่งถูเป็นขวดๆไม่ได้หรอก… และเราอย่าลืมนะว่าคนไปจับต้องสินค้าทุกอันเราไม่รู้อันไหนโดนคนมีเชื้อไปสัมผัส อย่างอยู่บ้านนี่ไม่มีปัญหาเพราะสามารถรู้ว่าลูกบิด หรืออันไหนที่มือไปจับ แต่ในห้างที่เป็นพื้นที่สาธารณะหมดสิทธิ์ไม่มีทางรู้เลยฮะ เพราะฉะนั้นการฉีดพ่นก็ยังจำเป็น…แต่การฉีดพ่นวิธีที่เราเสนอคือไม่ได้ฉีดพ่นตรงๆ ใช้ละอองตกง่ายกว่าเยอะ….และอย่าลืมในพื้นที่ปิดเค้าฉีดตอนกลางคืนพ่นตอนกลางคืนและทิ้งไว้ทั้งคืน ละอองตกอยู่แล้วเชื้อโรคตายอยู่ในนั้นอยู่แล้ว…แต่ถ้าเป็นห้องโถงที่มีลมพัดไปพัดมา อันนี้อาจจสิ้นเปลือง อย่าลืมว่าการฉีดพ่นทำมา50กว่าปี…ผมก็งงทำไมพึ่งมาเป็นประเด็นตอนนี้ แต่ไม่ว่ากัน…เนื่องจากเราเป็นวิศวกรเราไม่รู้เรื่องโรคติดต่อหรอก เพราะงั้นเราเลยต้องทำสามโหมดพร้อมหมด จะโหมดไหนก็ตอบโจทย์ได้หมดทุกข้อ….

คำถาม: หากผู้สนใจข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่ออาจารย์ทางไหนได้บ้าง

ผศ.ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา : ถ้าทั่วไปก็เข้าทาง Fanpage ที่ชื่อว่า นวัตกรรม Ku สู้ภัย covid-19  หรือมาติดต่อที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ที่มอเกษตรศาสตร์ก็ได้นะฮะ และเป็นที่น่ายินดีว่าทางสมาคมศิษย์เก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำลังระดมทุน CSR เพื่อผลิตหุ่นยนต์นี้หลายตัวเลย เพื่อไปให้บริการตามโรงบาลต่างๆหรือตามสถานที่ ที่มีแหล่งชุมนุมเยอะๆเพื่อไปฆ่าเชื้อโรค นี่ก็เป็นอีกช่องทางนึง หลังจากนั้นคือค่อยเข้าสู่เชิงพานิชย์ต่อไป…เพราะยังไงโรคไวรัสติดเชื้อแบบนี้ไม่จบง่ายๆฮะเป็นปี และไวรัสก็ต้องกลายพันธุ์อีก และวัคซีนกับยาตามหลังไม่ทัน เพราะฉะนั้นการรักษาความสะอาดหรือการฆ่าเชื้อโรคจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไมได้ นี่คือธุรกิจแบบใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนี้นะฮะ…..

และอีกหนึ่งผลงานจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

“Face Shield  และกล่องป้องกันการฟุ้งกระจายของไวรัส” โดย ผศ.ดร.ณัฐพล  จันทร์พาณิชย์

คำถาม : อยากทราบถึงบทบาทหน้าที่ของหน่วยปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีดิจิตอลการออกแบบและผลิตทางอุตสาหกรรมหรือ DIDM ว่ามีหน้าที่อะไรบ้าง และเกี่ยวข้องกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชาอย่างไร ?

ผศ.ดร.ณัฐพล  จันทร์พาณิชย์ : ตอนนี้ DIDM เป็นหน่วยงานวิจัยที่สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชาโดยบุคลากรมีทั้งอาจารย์ที่มาจากทั้งสาขาวิศวกรรมเครื่องกลและวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ โดย DIDM มีกิจหลักในเรื่องของการวิจัยและการบริการวิชาการแก่ภาคอุตสาหกรรม โดยเราจะเน้นเทคโนโลยีทางด้านดิจิตอลต่างๆมาบูรณาการร่วมกับองค์ความรู้ด้านการออกแบบและผลิตเชิงอุตสาหกรรมเพื่อนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือปรับปรุงการผลิต การทำงานต่างๆให้ดีขึ้น โดยเราจะโฟกัสการนำไปใช้ในฟิลด์เช่น ด้านการแพทย์ ด้านของการออกแบบชิ้นส่วนยานยนต์ต่างๆครับ

คำถาม: ที่ทราบมาว่าผลงานล่าสุดของ DIDM คือการทำอุปกรณ์และเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับบุคลากรทางการแพทย์หรือว่า face shield สำหรับป้องกันเชื้อและก็กล่องป้องกันเชื้อฟุ้งกระจาย ซึ่งถือว่าเป็นผลงานที่เป็นประโยชน์ในภาวะแบบนี้มากเลยใช่ไหมคะ ?

ผศ.ดร.ณัฐพล  จันทร์พาณิชย์ : คือตอนที่เราพึ่งทำกันเนี่ย ก็คือเกิดขึ้นในช่วงแรกของโรคโควิดระบาด เพราะทีมงานในหน่วยวิจัยของเราก็เลยคุยกันว่า เรามีเทคโนโลยีและก็เครื่องจักรที่สามารถไปช่วยผลิตอุปกรณ์ให้หมอและพยาบาลได้ เราเลยเริ่มลงมือทำงานกัน

คำถาม : อุปกรณ์ที่การผลิต มีขั้นตอนการผลิตยังไง ใช้วัสดุอะไรที่นำมาใช้แล้วได้คุณภาพทางการแพทย์ หรือมีข้อดียังไงในการผลิตชิ้นส่วนพวกนี้ ?

ผศ.ดร.ณัฐพล  จันทร์พาณิชย์ : วัสดุ face shield มีโครงสร้างหลักคือที่ใส่ตรงหัว โดยโครงสร้างหลักตัวนี้เราจะใช้พวกวัสดุ PLA นะครับในการทำขึ้นมา ส่วนที่เป็นพลาสติกที่ขอบด้านล่าง ที่เอาไว้ตรึงแถวๆคางเราจะใช้เป็น ABS ซึ่งทั้งสองวัสดุเอาจริงๆแล้วก็มีความแข็งแรงต่อการใช้งานนะครับ โดยการผลิตไม่ว่าจะเป็นตัวที่หัวก็ดี คางก็ดี เราก็ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า 3d printing ในการทำทั้งหมดนะครับ…. ถ้าเกิดขยายความให้เข้าง่ายๆก็คือ การนำเอาเส้นพลาสติกที่เราเรียกว่า filament มาหลอมแล้วก็ฉีดผ่านหัว นอสโซ่ ซึ่งพลาสติกที่ออกมาผ่านหัวนอสโซ่ก็จะถูกวางเป็นชั้นๆจนกระทั่งชิ้นงานของเราสมบูรณ์ พอเราทำเสร็จก็มาเก็บรายละเอียดคือลบความคม ทำให้มันสวยงามมากขึ้นแล้วจึงเอามาประกอบกับตัวแผ่นพลาสติก แล้วตรึงกับที่ทางด้านข้าง แล้วจึงส่งมอบแก่คุณหมอคุณพยาบาลครับ

คำถาม : การออกแบบกล่องป้องกันเชื้อฟุ้งกระจาย มีแนวคิดในการออกแบบอย่างไรเพื่อนำไปใช้งานจริงบ้างคะ ?

ผศ.ดร.ณัฐพล  จันทร์พาณิชย์ :  หลังจากทำ face shield ได้ระยะหนึ่ง เราก็ไปส่งมอบแก่หมอและพยายาล หมอกับพยาบาลก็ถามว่าพอจะทำกล่องแบบนี้ให้ได้ไหมเพราะมีความจำเป็นต้องใช้เราก็เลยมองว่า เราออกแบบให้ง่ายที่สุด ผลิตได้ง่าย ราคาไม่สูงมาก เวลาในการผลิตน้อย แต่ยังคงฟังก์ชั่นให้หมอพยาบาลใช้งานเป็นฉากกั้นสำหรับการทำหัตถการต่างๆได้อยู่ครับ….

คำถาม : ทาง DIDM มีความร่วมมือหรือได้รับความสนับสนุนจากหน่วยงานใดบางในการพัฒนาอุปกรณ์ทั้งสองชิ้นนี้?

ผศ.ดร.ณัฐพล  จันทร์พาณิชย์ : การสนับสนุนต่างๆแบ่งออกเป็นสองส่วนหลักด้วยกัน ส่วนแรกคือบริษัทต่างๆที่ข่วยเราทำอะไหล่บำรุงรักษาเครื่อง 3D printing ต่างๆให้เราโดยที่ไม่คิดค่าใช้จ่ายเลย อีกส่วนหนึ่งก็คือเป็นบริษัทหรือว่าห้างร้านต่างๆที่เค้าสนับสนุนในเรื่องของค่าใช้จ่ายที่ให้เรามาทำงานหลักๆ   ในกรณีของ DIDM ก็จะเป็นสมาคมอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทยครับ…..

คำถาม : ตั้งเป้าการผลิตไว้อย่างไร?

ผศ.ดร.ณัฐพล  จันทร์พาณิชย์ :  ในส่วนของกำลังการผลิต ถ้าเป็น face shield เราจะสามารถทำได้ประมาณ 40-50ชิ้นต่อวัน

แต่ถ้าเป็นส่วนของกล่องที่เราเกริ่นไปข้างต้น ก็จะทำได้สัก6กล่องต่อวัน ถ้าถามว่าตัวเลขเหล่านี้มันเพียงพอไหมที่จะส่งให้หมอและพยาบาล ก็คือต้องตอบว่าไม่เพียงพอ เพราะว่าความต้องการของคุณหมอพยาบาลมีอยู่ตลอด และเราก็ทำเพื่อที่จะแจกให้โรงพยาบาลทั่วประเทศไทยเลยครับ…..

คำถาม : เราผลิตแบบ Manual หรือมีเครื่องจักรในการผลิต ?

ผศ.ดร.ณัฐพล  จันทร์พาณิชย์ :  เราผลิตด้วยเครื่อง 3D Printing ครับ  3D printingก็คือเราจะเอาตัวเครื่องใช้พลาสติกฉีดผ่านตัวนอสโซ่และเรย์อัพเป็นชั้นๆครับ

คำถาม : มีทั้งหมดกี่เครื่องคะ ?

ผศ.ดร.ณัฐพล  จันทร์พาณิชย์ :  9 เครื่องครับ

คำถาม : เครื่องนี้ก็คือพัฒนาจากทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชาเองใช่ไหมคะ ?

ผศ.ดร.ณัฐพล  จันทร์พาณิชย์ : หมายถึงตัวเครื่องใช่ไหมครับ…. ถ้าเป็นตัวโครงของมันเราก็ซื้อมาปกตินี่แหละครับ แต่ในส่วนของซอฟต์แวร์ต่างๆ หรือในส่วนของโครงสร้างที่มีการปริ้นท์คือเรามีการปรับปรุงโดยบุคลากรของแลปเราเองครับ…

คำถาม: อุปกรณ์ทั้งสองชนิดนี้ถูกบริจาคไปยังโรงพยาบาลใดแล้วบ้าง… แล้วโรงพยาบาลไหนดูรายการ Ku libtalk แล้วสนใจสามารถติดต่อมาทางช่องทางไหนได้บ้างคะ…

ผศ.ดร.ณัฐพล  จันทร์พาณิชย์ :  ตอนนี้เราก็ไปให้หลายโรงพยาบาลนะครับ เช่น โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตที่สัตหีบ โรงพยาบาลชลบุรี โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติที่ธรรมศาสตร์ โรงพยาบาลคามิลโล โรงพยาบาลไทรโยก โรงพยาบาลศรีเชียงใหม่ และก็โรงพยาบาลหาดใหญ่ที่สงขลานะครับ ก็เรียกได้ว่าครอบคลุมหลายที่ ส่วนช่องทางในการติดต่อให้อินบล็อกมาที่ facebook fanpage ของหน่วยวิจัยได้เลยครับ

พิธีกร: facebook fanpage ศูนย์วิจัยคือ  DIDM : Digital industrial Design and Manufacturing Research Unit นะคะ ชื่อนี้เลยนะคะ

คำถาม :สำหรับทาง DIDM ตอนนี้มีเป้าหมายในการพัฒนาผลงานอะไรอีกที่สนับสนุนการทำงานของทีมแพทย์คะ?

ผศ.ดร.ณัฐพล  จันทร์พาณิชย์ :  ในส่วนของเป้าหมายในตอนนี้ยังไม่มีอะไรพิเศษนะครับ นอกจากว่าเราพยายามที่จะใช้เทคโนโลยีที่เรามีอยู่ในการทำอุปกรณ์ตัวนี้ไปยังความต้องการของแพทย์ เพื่อสนับสนุนให้คุณหมอพยาบาลที่เสียสละในการทำงานเพื่อป้องกันโรคโควิด-19 ได้มีความปลอดภัยมากขึ้น อย่างไรก็ตามผลงานที่เราได้แจกจ่ายไปยังพยาบาลต่างๆต้องเรียนว่าไม่ได้มีผมคนเดียวที่ทำนะครับ ผมก็ต้องขอขอบคุณในส่วนของทีมงานของผมทั้งหมดด้วย ซึ่งก็คืออาจารย์ สุจินต์ วันชาติ นะครับ  อาจารย์ ธรรมนุวัฒน์ วาลีประโคน อาจารย์ ประสิทธิชัย ณรงค์เลิศฤทธิ์ อาจารย์ จิรวัฒน์ จิตประสูติวิทย์ และก็ยังมีผู้ช่วยวิจัยของผมอีก2คนก็คือคุณ ณัฐนนท์ ขุนทอง คุณ เมลวิ่ง สแตนเล่ย์ รวมไปถึงจิตอาสาน้องๆนักศึกษาที่เข้ามาช่วยงานครั้งนี้ด้วยนะครับผม……..

“แล้วเราจะผ่านวิกฤต Covid-19 ไปด้วยกัน….”

 

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

รวมผลงานของผู้ช่วยศาสตราจารย์ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา ในคลังความรู้ดิจิตัล มก.

รวมผลงานของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล จันทร์พาณิชย์ ในคลังความรู้ดิจิตัล มก.

Corona virus disease-2019 infection: Prevention and control.

Negative pressure aerosol containment box: An innovation to reduce COVID-19 infection risk in healthcare workers.

Design, usage and review of a cost effective and innovative face shield in a tertiary care teaching hospital during COVID-19 pandemic

3D Printing for dummies 

3D printing with Autodesk 123D : create and print 3D objects with 123D, Autocad, and Inventor

3D printing : the next industrial revolution

KULIB TALK | EP.54 | นวัตกรรมบริหารพลังงานแบตเตอรี่แบบแยกกลุ่ม

“กลุ่มวิจัย G-set คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา มก. ได้รับรางวัลนวัตกรรมที่น่าสนใจเป็นพิเศษ จากโครงการประกวดเพิ่มประสิทธิภาพด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนโดยเทคโนโลยีและนวัตกรรม 4.0”

พิธีกร คือ คุณวิภานันท์  สิงห์นันท์

วิทยากร           1) ผศ.ดร.อุมารินทร์ แสงพานิช

                       2) ผศ.ดร.กุลวดี สมบูรณ์วิวัฒน์

พิธีกร : สวัสดีค่ะขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่รายการ KULIB Talk นะคะ เป็นรายการไลฟ์ผ่านทางเฟซบุ๊คไลฟ์เพจสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีดิฉัน วิภานันท์ สิงห์นันท์ รับหน้าที่พิธีกรในวันนี้ค่ะ  KULIB Talk วันนี้เราอยู่กันที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชานะคะ โดยหัวข้อที่เราจะมาพูดคุยกันในวันนี้คือ “นวัตกรรมการบริหารพลังงานแบตเตอร์รี่แบบแยกกลุ่ม DBEM” นะคะ เป็นผลงานของกลุ่มวิจัยเทคโนโลยีพลังงานสีเขียวอัจฉริยะ G-SET นะคะ ซึ่งได้รับรางวัลนวัตกรรมน่าสนใจเป็นพิเศษจากโครงการประกวดเพิ่มประสิทธิภาพด้านการอนุรักษ์พลังงาน และพลังงานทดแทนโดยเทคโนโลยีและนวัตกรรม 4.0 ของกระทรวงพลังงาน และในวันนี้เราก็ได้รับเกียรติจากหัวหน้ากลุ่มวิจัยเทคโนโลยี G-SET นะคะ ที่จะมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับนวัตกรรมการบริหารพลังงานแบตเตอร์รี่แบบแยกกลุ่ม DBEM ขอต้อนรับ ผศ.ดร.อุมาริน แสงพานิชย์ และ ผศ.ดร.กุลวดี สมบูรณ์วิวัฒน์….. สวัสดีค่ะ…

พิธีกร : อาจารย์เข้าร่วมโครงการประกวดเพิ่มประสิทธิภาพด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนโดยเทคโนโลยีและนวัตกรรม 4.0 นี้ได้อย่างไรคะ ?

ผศ.ดร.อุมารินทร์ แสงพานิช : นวัตกรรม DBEM เราได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงพลังงาน และพอดีเห็นว่ากระทรวงพลังงานเองได้จัดโครงการประกวดนวัตกรรมทางด้านพลังงานทดแทนและก็ทางด้านการเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้พลังงานทดแทน ก็คิดว่าตัวนวัตกรรมของเราก็ตอบโจทย์สำหรับหัวข้อตรงนี้ด้วย ก็เลยส่งผลงานเข้าประกวดค่ะ

พิธีกร : อยากให้อาจารย์ช่วยอธิบายว่า นวัตกรรมการบริหารพลังงานแบตเตอร์รี่แบบแยกกลุ่มนี่เป็นอย่างไรคะ ?

ผศ.ดร.อุมารินทร์ แสงพานิช : ตัวของนวัตกรรม DBEM ตัวนี้เราพัฒนาขึ้นมาเพื่อที่จะช่วยในระบบของตัวโซลาร์เซลล์ที่ไม่ว่าจะต่อแบบอิสระหรือต่อในลักษณะต่อในระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าให้สามารถบริหารจัดการตัวแบตเตอร์รี่ให้มีประสิทธิภาพให้ได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งสืบเนื่องจากในอดีตที่ผ่านมาในส่วนของระบบโซลาร์เซลล์หรือระบบกังหันลมที่เป็นระบบของพลังงานสะอาดก็จะมีปัญหาในเรื่องของการออกแบบระบบ ทำยังไงให้เหมาะสมในเรื่องของตัวแบตเตอร์รี่ให้สามารถที่จะใช้ตัวของแบตเตอร์รี่จ่ายให้กับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าได้ตลอดทั้งปี ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะติดกันในช่วงของฤดูฝนที่ว่าพลังงานในแบตเตอร์รี่ไม่เพียงพอเนื่องจากมีเมฆในช่วงนั้น ก็ทำให้ตัวของผู้ใช้งานระบบโซลาร์เซลล์ช่วงนั้นไม่มีไฟฟ้าใช้เนื่องจากว่าตัวพลังงานของแบตเตอร์รี่ไม่มีพลังงานจากแสงอาทิตย์มาบรรจุให้แบตเตอร์รี่ เนื่องจากว่าระบบแบบเดิมเป็นระบบของกลุ่มใหญ่กลุ่มเดียว แล้วก็จะต้องมีการเมื่อไฟจากโซลาร์เซลล์มาน้อย ตัวระบบที่เป็นกลุ่มใหญ่ก็จะมีการจ่ายกระแสไฟฟ้ามาตามแบตเตอร์รี่ ลูกต่างๆ มันก็จะแยกกัน ก็ทำให้ตัวแบตเตอร์รี่เองมันมีลิมิตของกระแสที่จะไหลเข้า คือถ้าเกิดน้อยเกินไปมันก็จะไม่สามารถที่จะชาร์ตไฟได้ ถ้าเกิดมากเกินไป ลิมิตของแบตเตอร์รี่ก็จะมีอีกว่าไม่สามารถชาร์ตไฟอีกได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นเราต้องออกแบบระบบโซลาร์เซลล์กับระบบแบตเตอร์รี่ให้เหมาะสมกันนะคะ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ก็จะเผื่อระบบเอาไว้ ทำให้มีต้นทุนทางด้านของพลังงานที่สูงขึ้นไปอีก เพราะว่าบางทีตัวของโหลดก็ไม่ได้ใช้เยอะขนาดนั้น ทีนี้อาจารย์ก็มองเห็นว่าจากตรงนี้คือปัญหาว่าเราจะทำยังไงเพื่อที่เราจะบริหารจัดการแบตเตอร์รี่ได้ดีขึ้น อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญคือเรื่องอายุการใช้งานของแบตเตอร์รี่ เมื่อช่วงฤดูฝนมันมีแดดน้อย พอฤดูฝนมีแดดน้อยก็ทำให้ตัวของพลังงานที่บรรจุเข้าแบตเตอร์รี่มีน้อยหรือบรรจุเข้าไม่ได้เลยก็จะทำให้แบตเตอร์รี่เสื่อมเร็วเพราะไม่ได้มีการชาร์ตไฟ เมื่อแบตเตอร์รี่เสื่อมแล้ว ตัวของแบตเตอร์รี่ถ้ามีลูกใดลูกหนึ่งเสียเวลาเปลี่ยนต้องเปลี่ยนยกเซ็ตทั้งระบบ ซึ่งตรงนี้ก็เป็นต้นทุนทางด้านพลังงานอีกเช่นเดียวกัน  แต่ว่าตัว DBEM ของเรา เมื่อเราแยกกลุ่มแบตเตอร์รี่เราสามารถเปลี่ยนเฉพาะกลุ่มของแบตเตอร์รี่ได้ ตัวของแบบเดิมถ้าเปลี่ยนแค่ลูกสองลูกจะไม่ได้เพราะว่าตัวของระบบแบตเตอร์รี่มันจะมีในเรื่องของคุณลักษณะ คุณสมบัติของแบตเตอร์รี่ แต่ว่าตัวนี้มันจะสามารถที่จะเปลี่ยนเฉพาะกลุ่มได้ และก็สามารถที่จะเอาชนิดอื่นเข้ามาผสมได้เช่นเดียวกันค่ะ….

พิธีกร : อยากให้อาจารย์อธิบายให้ทราบหน่อยค่ะว่านวัตกรรมการบริหารพลังงานแบตเตอร์รี่แบบแยกกลุ่ม DBEM 8 ว่าเป็นอย่างไร ?

ผศ.ดร.อุมารินทร์ แสงพานิช :  เดี๋ยวอาจารย์ขอให้ดูแผนภาพด้านหลังนะคะซึ่งเป็นหลักการของ DBEM ซึ่งอันนี้จะเป็นระบบที่ดั้งเดิมที่เราใช้กันอยู่ทั่วไปนะคะ ก็จะมีตัว โซลาร์เซลล์ ตัวกังหันลม หรืออย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ซึ่งตัวระบบแบบเดิมโดยทั่วไป แล้วเค้าก็จะมีระบบตัวกลุ่มแบตเตอร์รี่แบบกลุ่มเดียวกลุ่มใหญ่ต่ออยู่ร่วมกัน แล้วก็ตรงนี้ก็จะมีปัญหาในเรื่องของการออกแบบตัวระบบเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้าโดยเฉพาะบางช่วงที่หน้าฝน ที่มีไม่มีแสงแดด หรือว่าบางทีไม่มีลมก็ทำให้การชาร์ตพลังงานเข้ามาในแบตเตอร์รี่ในกลุ่มใหญ่  กระแสก็ไหลมาน้อย และในตัวของแบตเตอร์รี่เองก็มีข้อจำกัดของลิมิตของกระแสที่จะไหลเข้าแบตเตอร์รี่มันจะแบตเตอร์รี่กระแสแยกไหลอยู่ค่ะ ซึ่งตรงนี้ก็ทำให้ชาร์ตไฟไม่เข้า ซึ่งตรงนี้ก็จะทำให้ชาร์ตไฟไม่เข้า ผลก็คือผู้ใช้ไฟฟ้าในส่วนใหญ่ก็จะใช้กันในช่วงพลบค่ำไม่มีไฟฟ้าใช้ ซึ่งตรงนี้ถ้าเกิดแบตเตอร์รี่เองมีปัญหาก็จะทำให้ต้องเปลี่ยนยกทั้งกลุ่มเลย ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นค่าใช้จ่ายที่สูง ในส่วนการพัฒนาตัว DBEM ขึ้นมา เราจะทำในลักษณะของการแย่งกลุ่มแบตเตอร์รี่ อาจจะเป็น 2กลุ่ม หรือ 3กลุ่ม หรือมากกว่านี้ก็ได้ แต่อาจารย์ได้ทำการวิจัยมาโดยการจำลองในโปรแกรมคอมพิวเตอร์พบว่า 3กลุ่มจะเหมาะสมที่สุด ตัวDBEM เลยมีการพัฒนาออกมาแบ่งออกมาเป็น3กลุ่มใหญ่ๆ และก็ตัวแบตเตอร์รี่เมื่อมีไฟน้อยจากโซลาร์เซลล์หรือกังหันลม มันก็จะไปชาร์ตเข้ากับแบตเตอร์รี่กลุ่มเล็กได้ เมื่อมีพลังงานจากโซลาร์เซลล์มากก็สามารถที่จะไปชาร์ตในกลุ่มใหญ่ได้ ตรงนี้ก็จะตอบโจทย์ในไม่ว่าจะเป็นช่วงของที่ฤดูฝนที่ฝนตกติดต่อกันหลายวันยังไงก็มีพลังงานไว้สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้า และเมื่อเวลาที่ตัวของแบตเตอร์รี่เสื่อใ เราไม่จำเป็นต้องไปเปลี่ยนยกเซ็ตใหญ่เราสามารถที่จะเปลี่ยนบางกลุ่มได้ และก็สามารถที่จะเอาแบตเตอร์รี่ชนิดอื่นมาต่อเข้าระบบนี้ได้ด้วยเหมือนกัน

พิธีกร : แล้วในการพัฒนานวัตกรรมอาจารย์เจอปัญหาหรืออุปสรรคอะไรอย่างไรบ้างคะ ?

ผศ.ดร.อุมารินทร์ แสงพานิช : ปัญหาและอุปสรรคของเราที่ผ่านมาเราจะเป็นในลักษณะของ ทำยังไงที่จะให้ออกแบบตัว DBEM ในเวอร์ชั่นแรกให้คนสามารถที่จะเข้าใจว่ามันทำงานอย่างไร และก็ตัวของประโยชน์ที่ได้จากตัวของ DBEM ฉะนั้นเริ่มต้นมาอาจารย์ก็เลยเอาตัว DBEM ไปใส่ไว้ในระบบที่มีระบบโซลาร์เซลล์กันอยู่แล้ว ก็คืออาจจะเป็นอินเวอร์เตอร์หรือชาร์จเจอร์ของยี่ห้ออื่นก็เอาตัว DBEM เข้าไปใส่แล้วก็ลองทดสอบระบบเปรียบเทียบกันเพื่อให้คนยอมรับในจุดนี้ว่าประสิทธิภาพพลังงานที่ได้จาก DBEM จะเพิ่มขึ้นมากกว่เดิมนะคะ…

พิธีกร : เราก็ได้ทราบถึงตัวนวัตกรรมกันแล้วนะคะ ต่อไปเราอยากจะทราบเกี่ยวกับกลุ่ม G-SET ว่ามีบทบาทอย่างไรบ้างคะ ?

ผศ.ดร.อุมารินทร์ แสงพานิช : กลุ่ม G-SET เรามีวัตถุประสงค์ในเรื่องของการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับพลังงานสะอาดหรือคำว่าสีเขียวก็คือเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนะคะ ตรงนี้เน้นไปทางด้านของตัวพลังงาน ตัวนวัตกรรม DBEM ก็จะเป็นผลงานชิ้นหนึ่งในผลงานที่เราได้พยายามทำขึ้นมานะคะ ซึ่งนอกจากตัว DBEM แล้วก็จะมีงานวิจัยในส่วนของที่เรารับจากกรมการทางพิเศษแห่งประเทศไทยนะคะ แล้วก็ในส่วนของจุฬาเราก็ได้ร่วมมือกับทางมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ในการทำงานวิจัยในด้านของการพัฒนา…เป็นระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการข้อมูลของทางด่วน ซึ่งจะเป็นการตอบโจทย์เกี่ยวกับการบำรุงรักษาทางด่วนของกรมการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในส่วนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเราร่วมมือกับศูนย์วิจัยจีโนมกุ้ง ซึ่งปัญหาของศูนย์วิจัยก็คือการทำวิจัยในด้านกุ้ง เค้าต้องการพัฒนากุ้งที่ต้านทานโรค จึงจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับจีโนมกุ้ง เพื่อระบุเชื้อโรคและตัวของวัคซีนเพื่อสร้างวัคซีนป้องกันโรคได้ ทีนี้เทคโนโลยีที่เราพัฒนาก็คือเป็นส่วนของวิศวกรรมข้อมูลซึ่งนอกจากจะเอาไปใช้ในการพัฒนาตัวระบบ DBEM ที่เน้นทางด้านของพลังงานแล้ว เรายังเอาไปประยุกต์ใช้ในเรื่องช่วยของการบริหารจัดการข้อมูลให้กับทั้งในส่วนขององค์กรเช่น กรมการทางพิเศษและในส่วนของเชิงวิทยาศาสตร์คือศึกษาเกี่ยวกับกุ้งต้านทานโรคด้วยค่ะ…

พิธีกร :  แล้วในคณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา มีกลุ่มวิจัยอื่นๆอีกไหมคะ ?

ผศ.ดร.อุมารินทร์ แสงพานิช : ก็มีทางด้านพลังงาน และก็มีทั้งด้านการแพทย์และตอบโจทย์ด้านอุตสาหกรรมก็คือมีกลุ่มวิจัยทางด้านอุตสาหกรรมและก็คอมพิวเตอร์พวกนี้ค่ะ

พิธีกร : สุดท้ายนี้หากใครรับชมอยู่แล้วเกิดสนใจนวัตกรรมของอาจารย์สามารถติดต่ออาจารย์ได้ที่ไหนคะ ?

ผศ.ดร.อุมารินทร์ แสงพานิช : ในส่วนของนวัตกรรม DBEM เรามีระบบสาธิตที่ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนอนุรักษ์พลังงานของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานกระทรวงพลังงาน ก็มีเป็นระบบสาธิตด้วยกันสามระบบ ซึ่งตรงนี้ก็สามารถที่จะมาเยี่ยมชมได้ที่อาคารสองปฏิบัติการณ์วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา นอกจากนี้เราก็ไม่ได้หยุดแค่ตัว DBEM นะคะ เรามีการพัฒนาต่อไปด้วยที่เราจะนำระบบ IOT และก็ Big DATA ซึ่งอาจารย์กุลวดีก็มีประสบการณ์ในส่วนนี้เยอะ ก็จะมาพัฒนาระบบตรงนี้ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นจากเดิมค่ะ แล้วก็เราจะพัฒนาโดยที่ทำให้เครื่องจากตัวใหญ่ๆ…เนื่องจากในช่วงแรกของเรา เราต้องการที่วัด วิเคราะห์ในส่วนอื่นด้วย เลยเป็นเครื่องขนาดใหญ่ เราก็จะทำให้มันเล็กลงมาเพื่อตอบโจทย์ในการเคลื่อนย้าย เวลาไปติดตั้งในที่ชุมชนหรือชนบทหรือที่ห่างไกล ก็สามารถที่จะติดตั้งระบบนี้ได้ง่ายและก็สะดวกค่ะ อีกอันที่สำคัญก็คือเวลาที่เราจะต้องเดินทางไป…ถ้าเกิดระบบมีปัญหาเราก็สามารถที่จะรีโมท…ตรงนี้เรามีระบบรีโมทที่จะคอยควบคุมและก็สั่งงานทางไกลได้โดยที่เราไม่ต้องเดินทางไปยังสถานที่นั้นๆ ในช่วงของการบำรุงรักษาค่ะ….

พิธีกร : สำหรับวันนี้นะคะเราก็ได้รู้จักนวัตกรรมการบริหารพลังงานแบตเตอร์รี่แบบแยกกลุ่ม DBEM กันไปแล้ว ต้องขอขอบคุณ ผศ.ดร.อุมารินทร์ แสงพานิช และ ผศ.ดร.กุลวดี  สมบูรณ์วิวัฒน์ เป็นอย่างสูงนะคะ ขอขอบคุณมากค่ะ

สำหรับครั้งหน้าจะเป็นใครนั้นสามารถติดตามรายการของเราได้ที่แฟนเพจสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นะคะ หรือ line@kulibrary นะคะ สำหรับวันนี้สวัสดีค่ะ…..

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

ทำเนียบผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีเพื่อการประหยัดไฟฟ้าและพลังงาน / สถาบันวิศวกรรมพลังงาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โครงการติดตามและประเมินผลเพื่อการพัฒนาการใช้ระบบประจุแบตเตอรี่ด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ / โดย ศูนย์ปฏิบัติการวิศวกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

การอนุรักษ์พลังงานในระบบปรับอากาศแบบแยกส่วน / สถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ชุดควบคุมชาร์จประจุแบตเตอรี่ solar charger จากแผงโซลาร์เซลล์แบบประหยัด / ปัญญา มัฆะศร

ตรวจวัดการใช้พลังงานให้ถูกต้องและถูกใจ ตอน: เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน / วัชระ มั่งวิทิตกุล

KULIB Talk No.22 หัวข้อ “นวัตกรรมอาหาร ไอศกรีมสาหร่ายสไปรูลิน่า และ โยเกิร์ตสาหร่ายสไปรูลิน่า”นักวิจัยคนเก่งจากสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
โดยคุณวนิดา ปานอุทัย

libtalk22 1

สาหร่ายสไปรูลิมีประโยชน์อย่างไร ทำไมถึงได้เลือกนำเอาสาหร่ายสไปรูลิมาเป็นงานวิจัยของคุณวนิดา


      สาหร่ายสไปรูลิน่าเป็นสาหร่ายขนาดเล็ก มีจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ในเชิงอุตสาหกรรมในประเทศไทยอยู่แล้ว และสาหร่ายสไปรูลิน่าที่เราได้เลือกนำมาใช้เป็นสาหร่ายที่เกิดจากงานวิจัยต่อยอดมาจากงานวิจัยผลงานวิจัยการเพาะเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลิน่าเพื่อผลิตโปรตีนสูง หลังจากเราได้สาหร่ายสไปรูลิน่าที่มีปริมาณโปรตีนสูงแล้วจึงมีแนวคิดที่จะนำมาใช้ประโยชน์ต่อยอดในผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ มากขึ้นคะ


เป็นผลงานวิจัยที่มีอยู่แล้วของสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร อย่างที่เห็นข้างหน้านี้ มีผลิตภัณฑ์อะไรบ้างคะ


      สาหร่ายสไปรูลิน่าเมื่อผ่านการอบแห้งสามารถนำมาอัดเม็ดและเป็นแบบแคปซูล เป็นอาหารเสริมที่มีจำหน่ายในเชิงพาณิชย์บ้านเราอยู่แล้ว ในส่วนที่เห็นเป็นผง ๆ นี้ หลังจากเราทำการเก็บเกี่ยวสาหร่ายสไปรูลิน่าแล้ว เราก็ทำแห้งได้หลายรูปแบบ ตัวอย่างในการทำแห้ง คือ การทำแห้งโดยใช้ลมร้อน การทำแห้งโดยใช้ Freeze dried สาหร่ายสไปรูลิน่าจะมีสีสดขึ้นมานิดหนึ่ง เป็นการทำแห้งโดยการแช่เยือกแข็ง


แล้วการทำแห้งที่เรานำมาใช้ในงานวิจัยของเราเป็นแบบไหนคะ


      เป็นแบบ Freeze dried สีจะดูเข้มขึ้นมาเพราะไม่ผ่านกระบวนการความร้อน เป็นแบบที่ดีที่สุดยังคงคุณค่าของสารอาหารอยู่


ในส่วนของสถาบันเองสามารถทำเองเลยได้ไหมคะหรือว่าเราต้องส่งไปที่หน่วยงานอื่น แปรรูปแบบแห้งออกมา


      ถ้าเกิดเป็นงานวิจัยในระดับ lab ก็สามารถทำได้ในห้องปฏิบัติการ ถ้าเกิดเป็นอุตสาหกรรมต้องมีการจัดซื้อหรือว่าจัดจ้างกระบวนการนี้เกิดขึ้นคะ


ในส่วนของผลิตภัณฑ์ที่เรานำมาโชว์ในวันนี้มี 2 แบบ คือ โยเกิร์ตสาหร่ายสไปรูลิน่า และไอศกรีมสาหร่ายสไปรูลิน่า คุณวนิดาช่วยเล่าถึงผลิตภัณฑ์ 2 ตัวนี้นิดหนึ่งคะ


      เริ่มจากตัวโยเกิร์ตสาหร่ายสไปรูลิน่า เจ้าตัวที่เป็นผลิตภัณฑ์สาหร่ายสไปรูลิน่ามีคุณสมบัติเป็น per-biotic ซึ่งส่วนตัวโยเกิร์ตจะมีจุลินทรีย์ที่เรียกว่า pro-biotic per-biotic จากสาหร่ายสไบรูลิน่าจะช่วยส่งเสริมสนับสนุนการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ได้ นอกจากที่ว่าจะมีคุณค่าทางโภชนาการ และเพิ่มโปรตีนจากสาหร่ายสไบรูลิน่าเข้าไปแล้ว จะตัวสีสีนของสไบรูลิน่าก็จะช่วยเพิ่มให้น่ารับประทานมากขึ้น นอกจากนี้ตัวสาหร่ายสไปรูลิน่าจะมีคุณสมบัติอื่น ๆ เช่น ต้านอนุมูลอิสระได้ด้วย


      ส่วนไอศกรีมก็จะเป็นเบสนม คือทำจากผลิตภัณฑ์นมเป็นหลักและ เพิ่มสาหร่ายสไปรูลิน่าเข้าไป มีการพัฒนาสูตรให้สามารถเพิ่มสาหร่ายสไปรูลิน่าเข้าไป ให้มีสีสันน่ารับประทาน มีคุณค่าทางโภชนาการเพิ่มขึ้น


นอกจากที่เราประสบผลสำเร็จทั้งโยเกิร์ตและไอศกรีมแล้ว คุณวนิดายังมีวางแผนทำงานวิจัยอื่นที่นำเอาสาหร่ายมาเป็นวัตถุดิบหลักไหมคะ


      มีคะ ตอนนี้กำลังทำงานวิจัยอยู่คะ ขออุ๊บไว้ก่อน

คุณวนิดาได้มีการนำเอา โยเกิร์ตสาหร่ายสไปรูลิน่า และไอศกรีมสาหร่ายสไปรูลิน่า ออกจำหน่ายที่ไหนบ้างไหมคะ


      ตอนนี้ยังไม่มีการออกจำหน่ายนะคะ จะมีแต่เป็นลักษณะการออกนำแสดงผลงานนวัตกรรม ซึ่งที่ผ่านมาก็มีการจัดแสดงผลงานในงานเกษตรแฟร์เมื่อต้นปีที่ผ่านมา


มีคนให้ความสนใจเยอะไหมคะ


      เยอะคะ


แฟน ๆ รายการที่ชมอยู่สนใจในส่วนของเป็นเจ้าของกิจการหรือว่าอยากสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ไหนคะ


      สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร หรืออีกหนึ่งช่องทางคือ ผ่านทางงานทรัพย์สินทางปัญญาสำนักบริการวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


มีเพจของทางสถาบันไหมคะ


      มีคะ ก็สามารถ in box มาถามได้

สรุป


      สาหร่ายสไปรูลินาเป็นสาหร่ายขนาดเล็กมีโปตีนสูงกว่าถั่วเหลือง มีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย และสามารถต้านอนุมูลอิสระได้ สามารถเพาะเลี้ยงและนำมาเป็นอาหารเสริมในรูปของการอัดเม็ดหรือทำเป็นแคปซูลมีขายตามท้องตลาด โดยคุณวนิดา ณ สถาบันวิจัยและพัฒนาอาหารได้นำมาวิจัยเป็นส่วนผสมในโยเกิร์ตและไอศกรีมเป็นนวัตกรรมใหม่ที่น่าสนใจ มีการออกนำแสดงนวัตกรรมในงานเกษตรแฟร์ แต่ยังไม่มีการจำหน่าย ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร หรืออีกหนึ่งช่องทางคือ ผ่านทางงานทรัพย์สินทางปัญญาสำนักบริการวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือติดตามทางเพจของสถาบัน

 

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

 

KULIB Talk : “บ้านพึ่งพาตนเอง”

รายการ KULIB TALK ในวันนี้เองนะครับ ก็เป็นเนื้อหาที่น่าสนใจเช่นเคยนะครับ จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับโครงการบ้านพึ่งพาตนเองนะครับ ซึ่งเป็นโครงการของอาจารย์ภาควิชานวัตกรรมอาคาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ของเรานี่เองนะครับ ซึ่งอาจารย์เป็นหัวหน้าโครงการบ้านพึ่งพาตนเองและมีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างมากนะครับ ซึ่งจะเป็นใครไปไม่ได้เลยนะครับ ขอต้อนรับ รองศาสตราจารย์พาสินี สุนากร นะครับผม

พิธีกร : สวัสดีครับอาจารย์ ยินดีต้อนรับสู่รายการ KULIB TALK ครับผม แล้วก็ได้ยินข่าวมาว่า อาจารย์เป็นหัวหน้าโครงการบ้านพึ่งพาตนเองอยู่ อยากจะทราบความเป็นมาของ บ้านพึ่งพาตนเองว่า มีแนวคิดในการทำโครงการบ้านพึ่งพาตนเองอย่างไรบ้างครับอาจารย์

อาจารย์ : ทำตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 นะคะ แล้วก็เนื่องจากว่า เราเป็นพื้นที่ในเมือง เราก็เลยทำเพียงประมาณ 50 ตารางวา ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ทำต่างจังหวัด ซึ่งจะมีพื้นที่เยอะ ก็จะเป็น 15 ไร่ แล้วก็มีน้ำ 30% แล้วก็มี ปลูกพืช ผัก อีก 30% แล้วก็ปลูกข้าวอีก 30% แล้วเป็นบ้านอีก 10% นี่ของเราอยู่ในเมืองใช่ไหมคะ เราทดลองทำดู ใช้ 50 ตารางวา เท่ากับ 200 ตารางเมตร

พิธีกร : ครับ 50 ตารางวาใช่ไหมครับอาจารย์

อาจารย์ : ค่ะ หรือจะน้อยกว่านั้น จริงๆ พื้นที่น้อยกว่านั้น

พิธีกร : ครับผม ซึ่งอันนี้อาจารย์ทำในพื้นที่ ในตัวเมือง อาจารย์ทำที่ไหนบ้างครับอาจารย์

อาจารย์ : ทำตรงซอย 45 ด้านเหนือของหอพักนิสิตค่ะ

พิธีกร : ครับผม แล้วในมหาลัยมีทำพื้นที่ตรงนี้ด้วยไหมครับอาจารย์

อาจารย์ : ในมหาลัย ก็จะมีที่ดาดฟ้าคณะเรา ส่วนใหญ่ก็จะพอสำหรับอาจารย์และนิสิต ไม่พอสำหรับภายนอก แต่นี่อาจจะได้ผลิตผลเยอะพอที่จะมาขายที่ตลาด โรงอาหารกลางอะไรแบบนี้ค่ะ คิดว่าน่าจะได้อยู่

พิธีกร : ครับ แล้ววัตถุประสงค์ของตัวโครงการบ้านพึ่งพาตนเองนี่อะครับ คือจัดทำโครงการมาเพื่อวัตถุประสงค์อะไรเป็นหลักหรือเปล่าครับอาจารย์

อาจารย์ : อ๋อ เพราะว่าจริงๆ อยากจะทำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่น้อยๆ ค่ะ ลองดูว่าในเมืองเนี่ยจะทำพอไหม ทีนี้เราก็ได้แรงบันดาลใจจากเด็กๆ ปี 1 นะคะ ซึ่งเขาก็แบบว่า มีปลูกเห็ดซ้อนๆ กันได้หลายชั้น ปลูกต้นอ่อน แสงนิดหน่อย เพราะว่ามันมีอาหารอยู่ในเมล็ดอยู่แล้ว ไม่ต้องการการสังเคราะห์แสง ต้นอ่อน ซ้อนกันได้หลายๆ ชั้น เนี่ยคือนิสิตเขาทำ นิสิตเขาทำมา แล้วก็ทำให้เกิด เราคิดว่า ทำไมเรา เราลองมาทำเป็นวิจัยดู ทีแรกทำมาเป็นบ้านไม้ไผ่สวยงาม อาจจะเห็นในที่ส่งไปให้นะคะ ก็แล้วอันนี้พอดี บริษัท  A & J BUILDERS ซึ่งก็เป็นนิสิตปริญญาโท เขาขาดทุนก็เลยไม่ได้ เราก็เลยซื้อ คอนเทนเนอร์ขนาดเล็ก แล้วก็มีห้องน้ำขนาดเล็ก แล้วก็มีพื้นที่ปลูกสวน ซึ่งตอนนี้มีคนมาทำแล้ว เลี้ยงไก่ เพราะว่าตอนนั้นเนี่ยเป็นหน้าหนาว คนที่ทำนาก็กลับไปทำนาหมด หน้าฝน กว่าจะกลับมานั้นก็อาจจะเดือนตุลาคม พฤศจิกายน ซึ่งก็รอไม่ได้ เพราะเราได้ทุนอันนี้ ตั้งแต่สิงหาคม 2561 อันนี้ สิงหาคม 2562 เพิ่งทำได้ครึ่งหนึ่งเอง เพิ่งหาคนมาเลี้ยงไก่ คนมาปลูกผักได้

พิธีกร : ครับผม อ๋อมีการเลี้ยงสัตว์ด้วย แล้วคราวนี้ในอันนั้นจะเป็นรอบ ๆ ตัวอาคารใช่ไหมครับที่มีการเลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ

อาจารย์ : ค่ะ

พิธีกร : แล้วคราวนี้ในตัวบ้านเองเนี่ยครับอาจารย์ ในตัวบ้านนี่จะต้องมีฟังก์ชันอะไรที่อยู่ภายในบ้านบ้างครับที่จะเรียกว่าบ้านพึ่งพาตัวเองครับอาจารย์

อาจารย์ : อ๋อ มีอะไรที่อยู่ในบ้านบ้าง ก็คือพื้นที่บ้านเนี่ย มันก็จะเป็นคอนเทนเนอร์ขนาดแบบน้อยที่สุดเลย ไม่มีแอร์ จะมีหน้าต่างเปิดสองข้างระบายอากาศได้ แล้วก็มีห้องน้ำขนาดเล็กมากเลย ซึ่งพวกนี้ทั้งหมดเนี่ยรวมกันประมาณสามแสน ซึ่งก็ถือว่าน้อยอ่ะใช่มั้ย น้อย ตอนนั้นถ้าเทียบจะสร้างบ้านนั้นน่ะล้านหนึ่ง ที่นี้บริษัทเค้าก็ทำไม่ได้ใช่มั้ย ก็ไม่เป็นไร ที่นี้คอนเทนเนอร์กับห้องน้ำอะไรงี้ มันก็ เนี่ยะ ราคามันก็น้อยก็เลยสร้างได้ พอได้ทุนจากสวพ. ของเราเอง ก็คือ ได้ทุนมาห้าแสน เหลืออ่ะจะเป็นพวกค่าวิจัย วัดลม วัดน้ำอะไรนี้อ่ะค่ะ พวกค่าวิจัย

พิธีกร: แล้วคราวนี้ ในตัว ในตัวบ้านเองที่อาจารย์กล่าวมาเนี่ย ประมาณห้าสิบตารางวาใช่มั้ยครับ

อาจารย์ : ใช่

พิธีกร: คราวนี้ห้าสิบตางวาเนี่ย เอ่อ ถ้าหากว่ามีจำนวนผู้เข้าอยู่อาศัยเนี่ย สามารถที่จะอยู่อาศัยได้ประมาณกี่คนครับอาจารย์

อาจารย์ : สองคน ค่อนข้างแน่น ก็ประมาณ พื้นที่มันจะประมาณ 1.5 คูณด้วย 3 ขนาดคอนเทนเนอร์โดยประมาณ

พิธีกร : ครับ คราวนี้ก็ได้ทราบมาว่าในการทดลองการพึ่งพาตนเองของบ้านนี่อ่ะครับ อาจารย์ได้อาศัยตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงนะครับอาจารย์ คราวนี้อยากจะให้อาจารย์ได้ เอ่อ เพิ่มเติมในเรื่องของแต่ละด้านของแนวคิดต่าง ๆ ครับ เห็นว่ามีหกด้านด้วยกัน อยากให้อาจาย์เพิ่มเติมในเรื่องของว่าทดลองไปแล้ว แล้วเกิดผลอะไร อย่างไรบ้างอ่ะครับ โดยเรามาเริ่มจากด้านที่หนึ่ง ด้านที่หนึ่งก็คือด้านการเพาะปลูกพืชผลและการเลี้ยงสัตว์ครับอาจารย์

อาจารย์ : เพาะปลูกพืชผลนี่ก็เพิ่งจะเริ่มค่ะ ก็มีพวกผักบุ้ง ถั่วฝักยาวแต่รู้สึกยังได้ทำร้าน แล้วมีฟักทอง ฟักทองซึ่งเอาเมล็ดลงดินไปแล้ว แต่ว่าฟักทองมันอยู่บนดิน เพราะมันหนักก็เลยไม่ได้ทำร้าน ที่นี้ก็ยังไม่ได้ทำร้านค่ะ แต่ว่าจริง ๆ จะใช้ตรงที่เป็นเพาะต้นอ่อนนี่ ให้ภายนอกก็น่าจะได้เหมือนกัน

พิธีกร: การเลี้ยงสัตว์นี่เลี้ยงสัตว์ เป็น กลุ่มสัตว์ประเภทไหนบ้างครับอาจารย์

อาจารย์ : เอ่อ เลี้ยงสัตว์ก็จะมีไก่ ตอนนี้มีสองตัว จะซื้อเพิ่มมาอีกห้าตัว แล้วก็รอมันฟักไข่นะคะ จะได้อีกสองตัว ก็ เอ่อ แล้วก็มีเลี้ยงปลา เลี้ยงปลาเนี่ยะ ก็พอดีว่าทางกทม. มาลอกคลองให้พอดี กามารถจะเลี้ยงได้ แล้วก็ทำเป็นตาข่ายกั้นไม่ให้ปลามันหลุดออกไปจากที่อื่นนะคะ

พิธีกร: แล้วทดลองเลี้ยงแล้วเป็นไงบ้างครับอาจารย์ ระหว่างการปลูกพืชกับการเลี้ยงสัตว์ มีพบปัญหาอะไรบ้างครับอาจารย์

อาจารย์ : อ๋อ ตอนนี้ก็ยังไม่ ยังไม่ถึงตรงนั้นน่ะ ยังไม่ ยังไม่เจอปัญหา แล้วก็จะปลูกพืชแบบออร์แกนิก แล้วก็อาจจะเอาดอกดาวเรืองไปปลูกด้วย ผสมผสานกันเพื่อให้มันช่วยไล่แมลง

พิธีกร: ครับอาจารย์ คราวนี้เรามาด้านที่สองนะครับ ด้านที่สองก็คือการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ก็อยากจะทราบว่า เอ่อ ในบ้านพึ่งพาตัวเองอ่ะครับต้องมีโซลาเซลล์รึเปล่า ก็ต้องติดตรงไหน อะไร อย่างไรครับอาจารย์

อาจารย์ : มีบนดาดฟ้า 4 อัน ซึ่งมันก็จะพอสำหรับ เอ่อ ปั้มน้ำ ไทม์เมอร์ที่ตั้งเวลารดน้ำต้นไม้ ไฟฟ้า แสงสว่างภายนอก ภายใน ภายในสองดวง ภายนอกสองดวง ก็ส่องดูรอบ ๆ เพื่อว่าเผื่อตัวอะไรเข้ามา แล้วก็มี เอ่อ ไม่มีตู้เย็นค่ะ ไม่มีทีวีค่ะ อันนั้นก็น่าจะพออยู่

พิธีกร: ครับ แล้วตัวแผง solar cell เนี่ยครับอาจารย์ ก็คือรวมอยู่ใน 300,000 แรกอาจารย์ได้กล่าวไว้หรือเปล่าครับ

อาจารย์ : อยู่ค่ะ

พิธีกร: อ๋ออยู่ รวมอยู่ใน 300,000 ด้วยใช่มั้ยครับ คราวนี้เรื่องของ solar cell ก็จะมีในเรื่องการป้องกันแสงแดดด้วยโดยการใช้แผงผักบุ้ง หรือว่าพืชพันธุ์ปลูกในการบังแสง อันนี้เราใช้พืชพันธุ์อะไรบ้างครับอาจารย์

อาจารย์ : ไม่ได้ปลูก เพราะว่าหลังคามันเล็ก หลังคามันค่อนข้างเล็ก เลยไม่ได้ปลูกอะไรพวกนั้น

พิธีกร: เพราะฉะนั้นบ้านที่อาจารย์ทำ ยังไม่ได้เอาพืชมาใช้ในการบังแดดอะไร หรือว่ามีใช้แล้วครับ

อาจารย์ : ยังไม่ได้ใช้เราจะปลูกพวกพืชรับประทานได้บนรั้ว อย่างแตงกวา ถั่วฝักยาว อะไรอย่างนี้ค่ะ มะระ ก็จะปลูกบนรั้ว อันนี้เพื่อให้ลมที่ผ่านพีชมีการคายน้ำ ก็จะเข้ามาในอาคารได้เย็น

พิธีกร: อันนี้เราก็ต้องปลูกตามทิศต้นลมเลยใช่ไหมครับอาจารย์

อาจารย์ : ใช่ค่ะ มันจะอยู่ทาง ด้านหน้าอยู่ทางทิศใต้ ด้านหลังทางทิศเหนือ ที่นี้เราเปิดหน้าต่างให้พีชผ่านอาคารมันก็จะเย็นลง

พิธีกร: คราวนี้เราก็มาถึงระบบน้ำกันบ้างครับอาจารย์ เห็นว่าบ้านพึ่งพาตัวเองมีระบบน้ำด้วยระบบน้ำหมุนเวียน ซึ่งอาจารย์ใช่ระบบน้ำหมุนเวียนนี้มีกี่ระบบ และก็มีระบบอะไรยังไงที่ใช่ในตัวบ้านกันบ้างครับ

อาจารย์ : แล้วก็มีน้ำฝนแท็งค์หนึ่ง ก็น้ำประปาแท็งค์หนึ่ง

พิธีกร: อันนี้ไว้ใช่ในตัวบ้านเลยใช่ไหมครับ แบบว่าอาบน้ำ หรือว่าใช้ทำอะไรบ้าง

อาจารย์ : ก็มีใช้อาบน้ำได้ แล้วก็ใช้สำหรับรดน้ำต้นไม้ ซึ่งเราก็จะทำทามเมอร์มาติดมาเป็นจุดๆ อาจจะสองแปลงที สามแปลงที ทั้งหมดจะมีหกแปลง แล้วก็ข้างในที่ปลูกเห็ดปลูกต้นอ่อนก็จะมีอีกสองอันเป็นทามเมอร์

พิธีกร: ซึ่งตัวระบบน้ำนี้มีปัญหาอะไรบ้างไหมครับ แบบกินไฟมากไหม หรือว่าแบบน้ำจะต้องมีการหมุนเวียนตลอดเวลาอะไรอย่างนี้ครับอาจารย์

อาจารย์ : อ้อ ไม่กินไฟค่ะ กินไฟน้อยมาก

พิธีกร: คราวนี้เรื่องน้ำผ่านไปแล้ว เรามาเรื่องลมบ้างครับอาจารย์ เห็นว่ามีการหมุนเวียนเป็นของกระแสลมด้วย โดยที่มีการเจาะช่องรับลม อยากจะทราบว่าในตัวบ้านเนี่ยเราต้องเจาะช่องลมอย่างไรอะครับ

อาจารย์ : เรามีช่องทางเข้ากับช่องทางออกแล้วเราก็จะวัดจริง แล้วก็จะทำ simulation เทียบกันค่ะ

พิธีกร: คราวนี้ในตัวช่องรับลมนี้อะครับอาจารย์ ก็คือตัวบ้านจะต้องมีช่องรับลมทางเข้าและทางออกหมดเลยใช่ไหมครับ

อาจารย์ : อ่า ใช่ค่ะ

พิธีกร: มันช่วยให้บ้านเย็นขึ้นหรือเปล่าครับอาจารย์

อาจารย์ : อ่า ก็ช่วยค่ะบ้านเย็นขึ้น แต่ถ้าตอนกลางคืนเปิดไว้มันก็อาจจะยุงเข้า

พิธีกร: อ่อ แปลว่าไอตัวช่องรับลม เราสามารถที่จะเปิดปิดได้

อาจารย์ : กลางคืนก็ปิดแต่ว่ามันก็จะร้อน แต่ถ้าติดมุ้งลวดมันก็จะดีหน่อย

พิธีกร: อันนั้นมันจะเป็นตัวการดูกระแสทิศลม เพื่อให้ลมเข้าบ้าน คราวนี้ในด้านถัดไปก็จะเป็นด้านการใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จะมีการเลือกวัสดุในการสร้างบ้าน ที่ใช้ในบ้านพึ่งพาตัวเองวิธีการเลือกเพื่อให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้างครับ

อาจารย์ : เดิมเราใช้ไม้ไผ่อย่างที่ทำในนี้อะค่ะ สวยๆ แต่ว่าตอนนี้เราก็ใช่คอนเทนเนอร์ที่เป็นรียูส คือเอากลับมาใช้ใหม่อะค่ะ ห้องน้ำก็เป็นรียูสเหมือนกัน

พิธีกร: ก็จะเป็นของที่ใช้แล้ว ละนำกลับมาใช้ใหม่

อาจารย์ : ค่ะใช่ค่ะ

พิธีกร: แล้วตัวโครงการบ้านพึ่งพาตัวเองเนี่ยครับอาจารย์มีระยะเวลาสิ้นสุดเนี่ยครับ แล้วตอนนี้คือสิ้นสุดโครงการไปแล้วรึยังครับ

อาจารย์ : อ่อก็อีกประมาณ 6 เดือนค่ะ

พิธีกร: 6 เดือนใช่ไหมครับอาจารย์

อาจารย์ : จะเผยแพร่ใน สวพ แล้วก็อาจจะมีการไปพรีเซ้นท์ต่างประเทศอะไรอย่างนี้อะค่ะ

พิธีกร: แล้วตัวบ้านต้นแบบเนี่ย มีอย่างนี้มีอ่าแพลนที่จะไปทดลองสร้างที่ไหนบ้าง หรือว่าขยายผลสร้างต่อที่ไหนรึป่าวครับอาจารย์

อาจารย์ : เออตอนนี้ก็ยังไม่มีค่ะ แต่ว่าถ้าแบบในเมืองอะถ้าสมมติว่าอยากจะเอาไปทำเนี่ยก็เอาไปทำได้ เพราะว่าคอนเทนเนอร์ที่แบบว่า เราก็ไม่ได้จดสิทธิบัตร สิทธิบัตรมันจะเป็นของคอนเทนเนอร์เขาใช่ไหมคะ ก็น่าจะเอาไปทำได้ในเมืองได้

พิธีกร: แล้วคำถามเพิ่มเติม ในส่วนของคอนเทนเนอร์ นี้มีอายุที่เรานำมาใช้ มีอายุระยะเวลาการใช้งานนานแค่ไหนครับอาจารย์

อาจารย์ : ก็น่าจะนานอยู่เพราะว่ามันเป็นเหล็ก เป็นเหล็กทั้งอันก็น่าจะซัก 100 ปี

พิธีกร: แล้วตัวนี้ เราสามารถคือถ้าสมมุติคนสนใจที่จะทำบ้านพึ่งพาตนเองแบบรูปแบบที่อาจารย์ทำอยู่นี้อ่ะครับก็สามารถติดต่ออาจารย์ได้โดยตรงเลยไหมครับหรือว่าต้องรอดูพวกผลงานวิจัยอะไรต่างๆ

อาจารย์ : เอ่อก็คิดว่า เอาให้สำเร็จเรียบร้อยก่อนว่าได้ผลออกมาว่าไม่ต้องออกไปทำงานเลย ไปทำอยู่แต่ในบ้านเนี่ยแล้วก็มีพืชผักทานตลอดทั้งปีนะคะ เพราะบ้านเรานี่แบบว่าตลอดทั้งปีจริงใช่ไหม ถ้าอย่างทางต่างประเทศเนี่ยมันก็จะมีฤดูหนาวซึ่งมีหิมะ เขาก็ไม่ได้ตลอดทั้งปีจะอิจฉาบ้านเราก็มีมีคนฝรั่งเศสมาทำบ้าน บ้านพอเพียงเนี่ยที่ที่หัวหินเขาก็บอกว่าเนี่ยเพราะว่าของเราในน้ำที่ดีที่สุดแล้วก็มีมีอากาศที่ดีที่สุดให้มาปลูกได้ตลอดทั้งปี

พิธีกร: ส่วนมากที่อาจารย์ปลูกก็มักจะเน้นเป็นพืชที่รับประทานได้ แล้วก็สัตว์ก็จะเป็นสัตว์ที่เล็กที่สามารถที่จะเลี้ยงแล้วก็ ใช้ทำอาหารประกอบอาหารได้ เท่านี้ในส่วนของที่อาจารย์ได้กลับไปเมื่อกี้ว่าถ้าผลงานเสร็จอาจารย์ก็จะมีการส่งตีพิมพ์ของสวพ. แล้วก็จะนำเสนอในต่างประเทศ ใช่ไหมครับ อย่างเช่นในฐานข้อมูลนานาชาติต่างๆ อันนี้ก็จะเป็นตัวงานวิจัยที่อาจารย์ทำเป็นแล้วซึ่งอาจารย์ได้กล่าวไว้ว่าเหลืออีก 6 เดือนใช่ไหมครับ อีก 6 เดือนก็จะปิดโครงการนี้สำเร็จ แล้วทำโครงการมากนี่มีปัญหาอะไรไหมครับ ในช่วงระยะเวลาการทำโครงการ

อาจารย์ : มีปัญหาเรื่องที่หาคนไม่ได้ เขาไปทำนากันหมดก็จะได้คุณจริยพร เขามาทำที่บ้านที่คณะและก็ลงที่เขาส่งรูปแล้วเขาก็มาทำที่บ้านเหมือนกันแล้วก็ทำที่คณะเหมือนกันลุงอยู่ทุกวันเฝ้าไก่ ก็ออกมาเลี้ยงข้างนอกกลัวว่างูกลัวก็เลยให้เอาเข้าไปในกรง แล้วมีไข่ค่ะ

พิธีกร: อันนี้ก็จะเป็นเรื่องราวของโครงการบ้านพึ่งพาตนเองนะครับที่ทางอาจารย์ได้จะทำโครงการมาแล้วก็ได้ทดลองต่างๆ แล้วก็นำหลักของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในบ้านพึ่งพาตนเองนะครับ อาจารย์มีอะไรอยากจะฝากเกี่ยวกับท่านผู้ชมบ้างว่าถ้าอยากเขาอยากจะมีเขาอยากจะมีบ้านเร็วๆ นี้เลยอยากจะทดลองนำหลักมาใช้เพื่อประยุกต์ใช้ในที่ดินที่อยู่อาศัยของตนเองนะครับอาจารย์จะแนะนำหรือว่ามีวิธีอะไรแนะนำให้ท่านผู้ชม

อาจารย์  :ก็อยากจะบอกประเทศไทยว่าเราแบบโชคดีมากที่ว่าเรามีอากาศตลอดปีตลอดทั้งปีเลยนะหน้าหนาวก็ไม่ค่อยจะหนาวอะไรหน้าก็ร้อนมากแล้วก็หน้าฝนมันก็ทำให้แบบว่าชุ่มชื้นพืชผักก็จะงอกในช่วงนั้นเราเป็นประเทศที่แบบโชคดีในสิงคโปร์เนี่ยถึงพื้นที่เขาเล็กเขาจะมีต้นไม้มากกว่าเราเพราะว่าในเอเชียเขาจะมี 66 ต่อตารางเมตรของเรามี 3.4 ต่อตารางเมตรเท่านั้นเอง เราน่าจะมีพื้นที่มากกว่านี้นะฮะก็คิดว่าเราเราทำได้แล้วทำได้แล้วก็ปลูกพืชในพื้นที่ขนาดเล็กในเมืองใหญ่แล้วก็สามารถทำได้สามารถจะเอาที่อาจารย์ทำเป็นตัวอย่างนั้นเอาไปใช้ได้เลย เพราะว่ามันก็ไม่มีลิขสิทธิ์อะไร เทรนเนอร์หาซื้อได้ทั่วไปห้องน้ำแบบนั้นก็หาซื้อได้ทั่วไป

พิธีกร: อยากให้ฝากตัวหนังสือที่เกี่ยวข้องกับ เห็นว่าอาจารย์มีหนังสือที่เกี่ยวข้องกับพวกบ้านพักอาคารและการปลูกพืชอะไรอยู่ในบ้านอาคารต่างๆ

อาจารย์ : อาจจะมีหนังสือเกษตรบนอาคารแพร่โดยสำนักหอสมุดก็เปิดดูได้ฟรีเป็นทีละหน้าทีละหน้าเลยอยู่ใน KU urban Agriculture

พิธีกร: อันนี้ก็จะเป็นข้อมูลที่อาจารย์เพิ่มเติมให้กับคนที่สนใจนะครับก็สามารถที่จะหาข้อมูลเพิ่มเติมได้เลยหรือว่าอาจจะโทรมาติดต่ออาจารย์ได้นะครับในการสอบถามข้อมูลความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องครับแล้วก็ไปวันนี้เองนะครับแล้วก็ได้ข้อมูลที่ค่อนข้างมีประโยชน์เลยเกี่ยวกับโครงการบ้านพึ่งพาตนเองซึ่งได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์พาสินี สุนากร นะครับในการนำมาให้ความรู้วันนี้ซึ่งเป็นความรู้ที่มีประโยชน์มากทุกท่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับที่พักของตัวเองแล้วบ้านของตัวเองได้นะครับคือมีการนำหลักการเศรษฐกิจพอเพียงทั้ง 6 ด้านมาทั้งเรื่องของกระแสลม

ปลูกผักปลูกอะไรก็เลี้ยงสัตว์แล้วก็มีเรื่องของระบบหมุนเวียนของน้ำแล้วก็การเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยอันนี้ค่อนข้างสำคัญเลยนะครับก็วันนี้เราก็ได้ข้อมูลค่อนข้างครบถ้วนพอสมควรต้องขอขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างยิ่งครับที่ให้ข้อมูลในวันนี้ครับผม

และสำหรับในครั้งหน้านะครับจะเป็นเรื่องอะไรในรายการ kulib talk นะครับก็สามารถที่จะติดตามผ่านทางแฟนเพจของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์หรือแอดไลน์แอดของสำนักหอสมุดได้นะครับโดยพิมพ์ KU Library นะครับผมก็สามารถติดตามข่าวสารของห้องสมุดได้และรายการ kulib talk ครับสำหรับในวันนี้ขอขอบพระคุณครับผมสวัสดีครับ

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

รวมผลงานของรองศาสตราจารย์ พาสินี สุนากร ในคลังความรู้ดิจิตัล มก.

รังสีอาทิตย์ / โดย เสริม จันทร์ฉาย
เศรษฐกิจพอเพียง เกษตรกรรมยั่งยืน ตามแนวโครงการพระราชดำริ 1-5 ไร่ พึ่งตนเอง / ผู้เรียบเรียง ทีมงานเฉพาะกิจ วี.ที.เอส.บุ๊คเซ็นเตอร์

เศรษฐกิจพอเพียง เกษตรประณีต 1 ไร่ พึ่งตนเอง / ณัฐภูมิ สุดแก้ว, ชูขวัญ ทรัพย์มณี, คมสัน หุตะแพทย์
เศรษฐกิจพอเพียงกับยุทธศาสตร์ Thailand 4.0 / ฝ่ายวิชาการ สถาพรบุ๊คส์ : เรียบเรียง

 

KULIB Talk #15
การค้นพบมดชนิดใหม่ของโลก
ผศ.ดร.วัฒนชัย ตาเสน จากภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กับผลงานชิ้นโบว์แดงด้วยการค้นพบมดชนิดที่พบใหม่ (new record) ของประเทศไทยและชนิดใหม่ของโลก (new species)

     สำนักหอสมุดได้รับข่าวการค้นพบมดใหม่ในสกุลMyopias โดย ผศ.ดร.วัฒนชัย ตาเสน จากภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ จากคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบบทความงานวิจัย มี ดร. วียะวัฒน์ ใจตรง พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติDr. Guenard  School of Biological Sciences, University of Hong Kongซึ่งได้รายงานการค้นพบมดสกุลนี้ในประเทศไทย 7 ชนิดด้วยกัน ซึ่งเป็นการค้นพบครั้งแรกในประเทศไทย 4 ชนิด เป็นการค้นพบครั้งแรกหรือ new record ชนิดแรกคือ Myopias bidensชนิดที่ 2 คือ crawleyiชนิดที่ 3 punctigera ชนิดที่ 4 mandibularisซึ่งบรรยายลักษณะวรรณะราชินีของมดชนิดนี้เป็นครั้งแรกของโลก และผู้ที่จะมาให้ความรู้กับเรา ขอต้อนรับ ผศ.ดร.วัฒนชัย ตาเสน จากภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วันนี้เราจะมาพูดคุยเรื่องมดๆ กันซึ่งเป็นสัตว์ตัวเล็กแต่งานวิจัยไม่เล็กเลย

งานวิจัยชิ้นนี้เริ่มต้นอย่างไร

     เริ่มต้นการวิจัย ทางภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ร่วมมือทำงานวิจัยกับหลายหน่วยงาน แต่การสำรวจและการศึกษาความหลากชนิดของมด เราได้ร่วมมือกับองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติโดยการร่วมมือของ ดร.วียะวัฒน์ ใจตรง ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านมดในประเทศไทยผู้หนึ่ง หลังจากนั้นมีการเข้าไปสำรวจในพื้นที่ ทั้งในพื้นที่เกษตร สวนป่า ในพื้นที่ป่าธรรมชาติที่ได้รับอนุญาติแล้วจึงเข้าไปสำรวจได้ หลังจากนั้นทางทีมงานจะเข้าไปสำรวจแต่ละจุดแต่ละพื้นที่ จากนั้นก็เอาตัวอย่างมดที่ได้มาใส่แอลกอฮอล์ เอามาไว้ในห้องปฏิบัติการเพื่อรอรับการจำแนกในระดับสกุล ระดับชนิดต่อไป (พิธีกร การเก็บตัวอย่างมดไว้ในแอลกอฮอล์ มดยังมีชีวิตอยู่ หรือโดนแอลกอฮอล์มดก็ตาย)ตายแล้ว เป็นการเก็บแบบเปียก (พิธีกร มีแบบการเก็บแบบเปียก และแห้ง)การเก็บแบบแห้งจากที่เปียกแล้ว เราเอามาทำการ set หรือจัดให้อยู่ในรูปแบบมาตรฐาน ลักษณะการ set มดใส่ในกระดาษสามเหลี่ยม ใช้กาวแปะที่ตัวของมด (พิธีกร การ set มดต้องมีลักษณะพื้นฐาน จะต้องเป็นลักษณะท่าทางแบบไหน)จะ set ระหว่างขาคู่หน้า และขาคู่กลางใช้กระดาษสามเหลี่ยมแปะด้วยกาวลาเท็กซ์ วางไว้ set ในกล้องจุลทรรศน์ (พิธีกร มือก็ต้องนิ่งพอสมควร ค่อนข้างเล็กด้วย ใช้เวลานานแค่ไหน ในการ set มด)มดตัวหนึ่งถ้าผู้เชี่ยวชาญไม่นาน ประมาณ 1 นาที ถ้าเกิดไม่ชำนาญก็ 10 นาที ครึ่งชั่วโมงก็มี เพราะว่า set ให้ขาหรือรูปทรงของหนวดให้มันได้ระดับที่เป็นมาตรฐาน

การสำรวจพื้นที่ มีวิธีหลักการอย่างไรในการเลือกพื้นที่สำรวจมด

     แล้วแต่ชนิดมดที่เราจะศึกษาด้วยเหมือนกัน ถ้าศึกษามดที่อาศัยอยู่ตามพื้นดิน หรือในดิน เราต้องดูว่าลักษณะของดิน พื้นที่มีแนวโน้มมีตัวอย่างของมดที่เราจะศึกษาหรือเปล่า หรือในพื้นที่ที่เป็นแหล่งศึกษามดที่อยู่ตามเรือนยอด เราก็ต้องดูต้นไม้หรือว่าต้นไม้แบบไหนที่สนใจจะศึกษา ต้องดูระบบนิเวศวิทยาของมดด้วยเช่นกัน มีข้อมูลพื้นฐานของมด
 
หลักในการเลือกตัวมด อยากจะสำรวจสกุลใด

     มันค่อนข้างจะลำบาก เพราะมดมันมีเยอะมาก สกุลนี้อยู่ตรงนี้ ตรงไหน สำรวจอาจมีการสำรวจทั้งพื้นที่หรือว่าในพื้นฐานของต้นไม้นั้น ค่อยเอามาเลือกหรือมาเช็ค คัดแยกว่ากลุ่มนี้อยู่กลุ่มไหน สปีชี่ส์ไหน สกุลไหน
 
ผลงานมดชนิดใหม่ที่ได้กล่าวไปเบื้องต้น ในสกุล Myopiasมีความพิเศษหรือมีความเฉพาะอย่างไร

     มดสกุล Myopias ลักษณะเด่นของกลุ่มพวกนี้จะแตกต่างจากกลุ่มสกุลอื่นชัดเจนคือ ลักษณะของกรามหรือ  Mandibles ค่อนข้างจะห่าง มดชนิดอื่นจะชิดกัน แต่มดชนิดนี้จะเห็นเป็นช่องว่างเหมือนกับมีปากเป็นร่องอยู่ตรงกลาง ถ้าเกิดเรามองจากด้านบนลงมามันก็จะเป็นช่องว่างเหมือนฟันหลอ เรียกสกุลนี้เป็นมดสกุลปากห่าง เพราะลักษณะปากจะห่าง Mandibles หรือกรามห่าง ส่วนฐานของริมฝีปากบนหรือ Clypeus จะเป็นรูปประมาณสี่เหลี่ยม อาจจะเป็นสี่เหลี่ยมคางหมูหรือสี่หลี่ยมจตุรัส ลักษณะเด่น ส่วนของเอวมี 1 ปล้อง ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของ ซัพวงศ์ย่อยของ Ponerinae ที่มีเคียวปล้องเดียว (พิธีกร ปกติมดทั่วไปจะกี่ปล้อง)มี 1 - 2 ปล้อง เป็นลักษณะที่แตกต่างจากแมลงกลุ่มอื่นเหมือนกัน ปล้องท้องอันนี้

ลักษณะอื่นทั่วไปของตัวมด มดมีความพิเศษช่วยให้ระบบนิเวศดีขึ้น หรือเป็นตัวบ่งบอกบ่งชี้อะไร

     มดปกติแล้วจะมีบทบาททางนิเวศคือเป็นผู้ล่า กินสัตว์เป็นอาหาร แต่กลุ่มนี้จะอาศัยอยู่ตามขอนไม้ผุ คิดว่ากระบวนการของมันคือจะอยู่ในขอนไม้ผุจะกัดกินหรือว่าสร้างรังในขอนไม้ทำให้การย่อยสลายของขอนไม้ไวขึ้น ช่วยย่อยสลายด้วยในกลุ่มสกุลนี้ (พิธีกร ถ้าพวกใบไม้ทับทมพวกนี้ย่อยสลายได้ไหม)เราเจอเฉพาะในขอนไม้ใหญ่หรือขอนไม้ผุ ทำรัง protect ตัวเองสร้างรังในขอนไม้จะดีกว่าในใบไม้

ในประเทศไทยสกุลMyopias มีค่อนข้างเยอะไหม

     ในทั่วโลกจากการศึกษาจะทราบชื่อชนิดแล้วประมาณ 40 ชนิด ในประเทศไทยพบอยู่ 7 ชนิด ซึ่งเป็นรายงานครั้งแรกใน Zootaxa ประเทศไทยปกติยังไม่มีคนรายงานระดับชนิดว่ามีกี่ชนิด รู้ว่ามีระดับสกุล Myopiasไม่ระบุชนิดได้ ยังไม่มีคนระบุชนิดเป็นทางการ อันนี้เป็นรายงานแรกที่ค้นพบว่ามันมีอยู่ 7 ชนิดในประเทศไทยซึ่ง 4 ชนิดเป็น new record เป็นค้นพบใหม่ในประเทศไทย ส่วนอีก 3 ชนิดเป็น new speciesหรือว่าการค้นพบชนิดใหม่ของโลก
 
 
มีการตั้งชื่อ มดสกุล Myopias

         มีแล้วครับ ในกลุ่มของมดสกุลนี้ที่บอกว่าเป็นการระบุชนิดแรก ครั้งแรกของประเทศไทยที่บอกว่าพบ 7 ชนิด เป็น 4 new record 3 new species ซึ่ง 3 new species  เขาดูลักษณะของส่วนต่างๆ ที่แตกต่างกัน พบว่าชนิดแรกเป็นมดปากห่างเล็ก หรือเป็น Myopias minima ลักษณะจะเล็กที่สุดในบรรดามดปากห่างในสกุลนี้ พบในทางภาคใต้ของประเทศไทยซึ่งมีขนาดเล็ก แถวนครศรีธรรมราช ชนิดที่ 2 เป็น Myopias sakaeratensis เจออยู่ทางนครราชสีมา ในพื้นที่สะแกราช ตั้งชื่อให้เป็นเกียรติกับสถานที่  sakaeratensis หรือมดปากห่างสะแกราช ตั้งชื่อภาษาไทยให้เลย เจอแถวๆ ทานครราชสีมาและทางภาคตะวันออกของประเทศไทย ส่วนอีกชนิดหนึ่งคือ Myopias sonthichaiae เป็นมดที่เจอทางภาคเหนือและทางภาคตะวันตกของประเทศไทย เราตั้งชื่อให้เพื่อเป็นเกียรติกับอาจารย์เสาวภา สนธิชัย ซึ่งเป็นอาจารย์ในยุคแรกๆ ที่มีการศึกษามดในประเทศไทย ตั้งชื่อให้เป็นเกียรติกับท่าน


อยากให้อาจารย์เล่าถึงขั้นตอนการศึกษาวิจัย มีขั้นตอนอย่างไร ตั้งแต่เริ่มลงพื้นที่ต้องมีขั้นตอนอย่างไร

     ในขั้นตอนการศึกษาส่วนใหญ่จะมีการทำงานเป็นทีม ทราบว่ามดชนิดนี้ปกติจะอาศัยอยู่ตามขอนไม้ผุ โดยส่วนใหญ่มดมีหลายชนิด แต่ละชนิดจะมีแหล่งที่อยู่อาศัย หรือการหาอาหารต่างกันค่อนข้างมาก บางชนิดอาศัยอยู่ในดิน ตามพื้นดิน ตามต้นไม้ กิ่งไม้ ยอดไม้ต่างๆ มีความแตกต่างกัน ส่วนมดชนิดนี้เป็นมดที่อาศัยอยู่ตามขอนไม้ผุ เราก็เลยต้องเข้าไปสำรวจทั่วพื้นที่ถ้าเจอขอนไม้ที่ผุใหญ่ๆ จะค่อยพลิกดู ค้นดู เก็บดู วิธีการเก็บมีการร่อนคือมีตะแกรงร่อน มดขนาดเล็กมาก มองไม่เห็น ถ้าจับเหมือนตัวอื่นๆ จับไม่ได้ ร่อนๆ แล้วใช้ forceps ในการคีบเก็บในขวดแอลกอฮอล์ ระบุพิกัดว่าขวดนี้เก็บที่ไหน วันที่เท่าไร ผู้เก็บชื่ออะไร ลักษณะการเก็บ เก็บตามขอนไม้หรือตามยอดไม้ ลักษณะพื้นที่ที่เก็บด้วย แล้วเอาขวดนั้นมาปฏิบัติงานต่อในห้องปฏิบัติงาน (พิธีกร ในขั้นตอนการเก็บไปตามขอนไม้ ตัวมดค่อนข้างเล็ก เราต้องสุ่มเก็บตัวอย่างมาก่อนแล้วค่อยมาดูในห้องแล็บ)ใช่ครับ (พิธีกร เราไม่สามารถจะแยกตรงนั้น)ไม่สามารถต่อให้เป็นผู้เชี่ยวชาญก็ไม่สามารถแยกในพื้นที่นั้นได้ เพราะว่ามันค่อนข้างจะเล็กมาก เราต้องดูใต้กล้องเท่านั้น ดูใต้กล้องยังไม่พอ เราต้องถ่ายรูปในลักษณะ Morphologyหรือลักษณะโครงสร้างภายนอกที่ชัดเจน มีขนเป็นอย่างไร มีลักษณะหนวดเป็นอย่างไร ตาเป็นอย่างไร การเก็บในพื้นต้องเก็บสุ่มเก็บทั้งหมด ยิ่งเป็น colony เป็นลักษณะอาณาจักรเล็กๆ ย่อยๆ เราต้องเก็บในส่วนของมดงาน มดทหาร และในส่วนของวรรณะราชินี ถ้าเกิดเจอ ยากมากในการเก็บวรรณะราชินี ซึ่งมีชนิดหนึ่งที่สามารถเก็บวรรณะราชินีได้ Myopiasmandibularisเราเอามาบรรยายเป็นครั้งแรกของโลกในสกุลนี้ที่ใช้วรรณะราชินีในการบรรยายลักษณะใน Zootaxa

ลักษณะในวรรณะราชินี มีลักษณะเด่นอะไรเป็นพิเศษ

     ปกติเวลาเราเห็นราชินีต้องตัวใหญ่ มดบางชนิดอาจตัวเท่ากัน แต่ว่าเขาดูตรงตุ่มปีกข้างหลัง จะมีปุ่มปีกแสดงว่าเคยมีปีกมาก่อน มีการผสมพันธุ์กับตัวคิง สลัดปีกออก ดำรงชีวิตอยู่ในรังของมัน ใน colony ของมัน ส่วนใหญ่ท้องจะใหญ่กว่ามดงาน หรือมดทหารปกติทั่วๆ ไป (พิธีกร อาจารย์กล่าวถึงมีควีน มีคิงด้วย มีการ record ควีน และตัวคิงมีการระบุวรรณะอะไร)ส่วนใหญ่เราจะไม่ค่อยเจอ ตัวเหมือนมดงานทั่วไป (พิธีกร ไม่ได้มีลักษณะที่ชัดเจนจะแยกได้เหมือนราชินี)

มีพิษภัยกับคนอย่างไร

     ดูการจำแนกก่อน พื้นฐานการจำแนกในส่วนของกีฏวิทยา ลักษณะของแมลงโดยทั่วไปจะมีส่วนประกอบอยู่ 3 ส่วนที่ชัดเจน ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง แมลงทั่วๆ ไป แต่ในมดมีพิเศษอีกอย่างหนึ่งคือ มีเอว แมลงอื่นมีหัว อก ท้อง ส่วนของมดจะมีเอว มดจะมีเอวอยู่ 1-2 ปล้อง บางกลุ่มมี 2 ปล้อง บางกลุ่มมี 1 ปล้อง สามารถจำแนกเป็นมดได้ ลักษณะหนวดแบบหักข้อศอกหรือ geniculate(พิธีกร ถ้าเป็นแมลงอื่น จะเรียกว่าอะไร)มีหลายแบบอาจจะมีหักข้อศอกเหมือนกัน ในพวกต่อ แตน แต่ลักษณะโครงสร้างภายนอกจะไม่เหมือนมด  2 ลักษณะนี้รู้ว่าเป็นมด จะเอามาเข้าในกลุ่มจำแนก เช่น มดมีเอวกี่ปล้อง ถ้ามี 2 ปล้อง เป็นกลุ่มนี้ เอว 1 ปล้อง ไปกลุ่มนี้ เอว 1 ปล้อง ลักษณะเอวปล้องเดียวมีปากแบบไหน สกุล Myopias ลักษณะปากห่าง อยู่ในสกุล Myopias แน่นอน อย่างอื่นไม่ใช่ ก็เอามาเข้า Myopiasแต่ละชนิดแต่ละสกุลมีหลายชนิดหน้าตาแตกต่างกันเอามาแยกชนิด โดยการเปรียบเทียบจากต้นแบบหรือในหนังสือ ปัจจุบันเราใช้ฐานข้อมูลของ antweb กับ antwiki เพื่อเปรียบเทียบดูว่าลักษณะนี้ สกุลนี้หน้าตาเป็นอย่างไร เขาจะระบุไว้ซึ่งใช้ตรงนี้ เป็นพื้นฐานใช้ antweb antwiki ดูเบื้องต้นเป็นกลุ่มไหน หลังจากนั้นส่งไปให้ผู้เชี่ยวชาญดู เพื่อยืนยันเป็นชนิดใหม่หรือเป็นชนิดที่เจอเป็นแบบไหน ได้ผู้เชี่ยวชาญ Dr. Guenardจากฮ่องกง เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนี้มา confirm ให้ ปกติ ดร.วียะวัฒน์ก็สามารถ confirm ได้ในระดับหนึ่ง ยืนยันอีกทีก็ Dr. Guenardดูสปีชีส์เสร็จแล้วเขียนรายละเอียดต่างๆ ส่งไปให้ผู้เชี่ยวชาญดูอีกครั้ง แล้วก็ส่งไป Zootaxaหรือในวารสารต่างๆ เพื่อตีพิมพ์ต่อไป
 
ในการประกาศค้นพบมดชนิดใหม่จะต้องมีการตีพิมพ์ ต้องประกาศอะไรก่อนที่มีการตีพิมพ์

     ต้องตีพิมพ์ก่อน ถึงจะนำมาประกาศได้ ไม่ใช่เจอ new species10 ชนิด ยังไม่ตีพิมพ์เขาก็อ้างอิงไม่ได้ ซึ่ง Zootaxaเป็นวารสารหนึ่งที่ให้ความสำคัญในด้านอนุกรมวิธานของพวกแมลงและสิ่งมีชีวิตต่างๆ
 
ในการจำแนกจะดูส่วนต่างๆ ของมด ในเรื่อง หัว อก ท้อง เอว มีลำดับขั้นไหมว่าลำดับแรกจำแนกง่ายๆ ก่อน ดูที่ส่วนนี้แรกก่อน

     ในส่วนแรกดูแตกต่างจากแมลงอื่นหรือในกลุ่มเดียวกัน (พิธีกร ในกลุ่มเดียวกัน)ที่บอกว่าดูสัดส่วนของปากที่ชัดเจน และในส่วนของเอว จริงๆ กลุ่มพวกนี้ต้องดูที่เอวก่อนเพราะมีปล้องเดียว บางครั้งดูในส่วนของหนวด ปาก ประกอบกันหลายๆ ส่วนได้ในส่วนของสกุล เริ่มแคบตีวงล้อมมา จำแนกชนิดต่างๆ ออกมา 
 
ในเรื่องพิษของมด

     มีในบางชนิด มดมี 2 กลุ่ม มีเหล็กในและไม่มีเหล็กใน แต่ว่าเหล็กในไม่เหมือนผึ้ง ผึ้งจะมีเหล็กในที่เป็นปากฉลามหรือเป็นตะขอ ต่อยครั้งเดียว มดจะเป็นลักษณะแหลม ต่อยได้หลายครั้ง มดแดงไม่มีเหล็กใน แต่มีปาก มีกลิ่น มีกรดฟอร์มิก กลิ่นส้มๆ (พิธีกร มีพิษมากน้อยแค่ไหน) ไม่มีปัญหาเป็นพิษกับเรา นอกจากไปอยู่ตามถังขยะต่างๆ เป็นพาหะในการนำเชื้อโรค แต่อยู่ในพื้นที่โอเคหน่อย จะคันเฉยๆ ในกลุ่มของพวกมดตะนอย มีข่าวหลายปีก่อนที่ว่ากัดแล้วทำให้คนโดนกัดแพ้ เป็นแผล มีพิษค่อนข้างจะสูง มดตะนอย (พิธีกร มดตะนอยตัวใหญ่ไหม)ตัวใหญ่นะ อยู่ตามสวน ตามสวนสาธารณะ ตัวใหญ่หน่อย เอวสีแดงๆ ตรงก้นเป็นสีดำๆ (พิธีกร มดที่เป็นสีดำ เป็นมดเหมือนกัน มีพิษไหม)ไม่มีพิษตัวนั้น แล้วแต่คนแพ้แล้วกัน การอ่อนแอของคนโดนต่อย หรืออายุของคนโดนต่อย อาจเป็นเด็กหรือคนแก่ อันนั้นจะมีผลหน่อย แต่ไม่มีผลมากเท่ากับมดตะนอย พิษเยอะสุดในบรรดามดในประเทศไทย
 
มาพูดถึงเรื่องภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ ครั้งก่อนสัมภาษณ์ หัวหน้าวิเชียรไป ก็ได้เรียนของภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ และเปลี่ยนเป็นสาขาการจัดการสัตว์ป่า ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้จะต้องศึกษาเกี่ยวกับอะไร สำหรับนักเรียนที่อยากเข้ามหาวิทยาลัย อยากเข้ามาเรียนในภาควิชานี้ต้องมีความรู้พื้นฐานอะไรบ้างเป็นพิเศษ

     ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ ถ้าเกิดในระดับปริญญาตรี แยกเป็นสองสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพป่าไม้ และการจัดการสัตว์ป่าและทุ่งหญ้า ที่หัวหน้าวิเชียรจบสาขานี้ ในสาขาย่อยวิทยาศาสตร์ชีวภาพป่าไม้แบ่งเป็น อนุกรมวิธานพืช, การจำแนกลักษณะพืช new species ปีที่แล้วเจอ new species หลายชนิดเหมือนกัน, นิเวศวิทยาป่าไม้, โรคพืชและกีฏวิทยาป่าไม้ ซึ่งผมอยู่ในกลุ่มสาขาย่อยนี้, เทคโนโลยีอนุกรมป่าไม้, สรีระวิทยาของพืชป่า ทางชีวของป่าไม้จะเน้นในกลุ่มของป่าไม้ การที่มาเรียนในภาควิชานี้ต้องมีการเรียนทั่วๆ ไปก่อน ปี 1 ปี 2 ปี 3 ถึงเลือกเรียนภาควิชา (พิธีกร ตัว bio เรียนกี่ตัว ในภาคชีววิทยาป่าไม้)จริงๆ เดี๋ยวนี้เรียนหน่วยกิตน้อยลง ประมาณ 3-4 วิชาก็โอเคแล้วของภาควิชานี้ แต่ภาควิชานี้จะฝึกงานเยอะหน่อย การเก็บข้อมูลส่วนใหญ่เป็นการเก็บข้อมูลในภาคสนาม การเดินป่า การวัดต้นไม้ต่างๆ ทำงานในป่าเป็นส่วนใหญ่
 
สถานที่ฝึกงานของนิสิต มีที่ไหนบ้าง

     ในคณะวนศาสตร์สถานีมีอยู่เยอะเหมือนกัน มีที่วังน้ำเขียว นครราชสีมา ที่ลำปาง ห้วยทาก ที่เชียงใหม่ ดอยสุเทพปุย ที่หาดนวกร ประจวบคีรีขันธ์ ติดทะเล ที่ชุมพร ตะกั่วป่า
 
ผลงานวิจัยของอาจารย์มีค่อนข้างเยอะมาก ผู้สนใจอยากจะสืบค้นข้อมูลสามารถสืบค้นผลงานของอาจารย์ได้ที่ไหน

     ปัจจุบันการค้นหาข้อมูลในฐานข้อมูลค่อนข้างง่ายขึ้น เราค้นจากอินเตอร์เน็ต google แล้วพิมพ์ชื่อผม วัฒนชัย ตาเสน หรือตาเสน หรือชื่อผลงานวิจัยที่สนใจ search ใน google จะมี link ต่างๆ เราเจอค่อย save หรือ copy ไว้ หากสนใจข้อมูลไหน ไม่สามารถเข้าถึงได้ ส่ง email มาโดยตรงที่ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. มาอยากได้อันไหน ส่งให้ได้ไม่มีปัญหา
 
งานวิจัยมีเฉพาะเรื่องมด หรือมีสัตว์ชนิดอื่นๆ

     จริงๆ ศึกษาทางด้านกีฏ หรือแมลงป่าไม้ แมลงป่าไม้มีเยอะแยะมากมายหลายชนิดหลายกลุ่ม มดเป็นส่วนหนึ่งของแมลงที่อยู่ในป่าไม้ ศึกษาผีเสื้อ ผึ้ง ก็มีศึกษา เข้าไปในป่าอย่างแรกเจอต้นไม้ อย่างที่สองเจอแมลง แมลงก็สำคัญในระบบนิเวศ การศึกษาความหลากหลายทางชนิด หรือทางประชากร หรือบทบาททางนิเวศเป็นส่วนสำคัญในการศึกษาอยู่ตลอดเวลา
(พิธีกร ก่อนสัมภาษณ์อาจารย์ ลองสืบค้นคลังความรู้ดิจิตอลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีข้อมูลค่อนข้างเยอะ ในคลังความรู้ได้รับความอนุเคราะห์จากอาจารย์ ในการขออนุญาติเผยแพร่ผลงาน อาจารย์เปิดเป็นสาธารณะเพื่อเป็นการศึกษา หรือการต่อยอดผลงานงานวิจัยของอาจารย์ต่อไป ขอขอบพระคุณอาจารย์ที่ได้ให้รวบรวมผลงานที่คลังความรู้ของเรา)
 
ในการหาข้อมูลในการทำวิจัย ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับมด มีแหล่งข้อมูลประจำจากแหล่งใดบ้าง

     การอ้างอิงผลงาน อาจจะแบ่งเป็น 3 ประเภท 1. เอกสารในการเผยแพร่ 2.paper หรือวารสารต่างๆ 3. Text book ในหนังสือต่างๆ การตรวจเอกสารเป็นสิ่งสำคัญ ถ้านักวิจัยรุ่นใหม่แนะนำในส่วนของการตรวจเอกสารหรือ การ keep การเก็บวารสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเราไว้เยอะๆ แล้วนำมาอ่าน อ่านเยอะๆ และนำมาผสมผสานศึกษาวิจัยต่างๆ เป็นประโยชน์ต่อผู้วิจัยเอง และการร่วมมือกันระหว่างหน่วยงาน เพราะเราไม่ได้เก่งคนเดียว มีคนเก่งกว่าเราอีก มีการร่วมมือกัน แชร์ข้อมูลต่างๆ กัน ก็สามารถที่จะประสบความสำเร็จในการตีพิมพ์ผลงานวิจัยต่อไป ส่วนฐานข้อมูลใน ม.เกษตร มีฐานข้อมูลเยอะ ได้รับการ support จากสำนักหอสมุด เข้ามาจะ link มาที่ฐานข้อมูลของหอสมุด ไม่รู้ว่าฐานข้อมูลของหอสมุดมีอะไรบ้าง ใช้หลักๆ sciencedirect (พิธีกร สหสาขาวิชา ก็มี sciencedirect, scopus, web of science ถ้าเป็นสาขาเกษตรเป็น cabdirect)แมลงกลุ่มอื่นๆ ผึ้ง การผสมเกสร การทำลายแมลงต่างๆ แต่ละฐานก็มีความแตกต่างกัน
 
textbook ด้านใดในการอ้างอิง

     จะมี ของทาง anthropology  ecologyจะเน้น forest  ecologyนิเวศวิทยาป่าไม้ หรือการจัดการมาผสมผสานกัน หรือ biodiversityความหลากหลายทางชีววิทยา
 
วันนี้ค่อนข้างได้ข้อมูลที่เป็นความรู้มาก เกี่ยวกับเรื่องมดที่เป็นสัตว์ชนิดเล็ก แต่งานวิจัยไม่เล็ก เป็นการค้นพบ New Record บ้าง New species ซึ่งอาจารย์ได้กล่าวมาก่อนหน้านี้ New species ค่อนข้างสำคัญกว่า New Record

     ใช่ ส่วนใหญ่แล้ว เราคิดว่า New Record ดูตื่นเต้น แต่ New species สำคัญ ค่อนข้างจะยากกว่าในการระบุ New species ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ New species มากกว่า (พิธีกร ปกติมีการค้นพบ species ใหม่ แล้วค่อยไป New Record)ใช่ (พิธีกร ถ้าไม่มีการ New species มาก่อน ก็ไม่สามารถเป็น New Record ได้)New Record เอาข้อมูลที่เจอที่อื่น มารายงานให้คนอื่นรู้ว่าในพื้นที่เราก็มีนะ เจอนะ

ทรัพยากรสารสนเทศของสำนักหอสมุดที่เกี่ยวข้อง

ชื่อเรื่อง

  1. เรื่องของมด/ อวบ สารถ้อย
  2. พิพิธภัณฑ์มด / เดชา วิวัฒน์วิทยา
  3. พิพิธภัณฑ์มด / เดชา วิวัฒน์วิทยา ; ถ่ายภาพ เดชา วิวัฒน์วิทยา และ วีระวัฒน์ ใจตรง
  4. Separating effects of species identity and species richness on predation, pathogen dissemination and resistance to invasive species in tropical ant communities.
  5. Diverse stochasticity leads a colony of ants to optimal foraging
  6. Plant chemical mediation of ant behavior
  7. The role of ants in vertebrate carrion decomposition
  8. Selenium exposure results in reduced reproduction in an invasive ant species and altered competitive behavior for a native ant species
  9. Entomology
  10. Chapter5 - Forensic Entomology
  11. Ant-herbivore interactions in an extrafloral nectaried plant: are ants good plant guards against curculionid beetles?
  12. Preliminary list of the lepidopterous insects in the Arizona State University Hasbrouck Insect Collection
  13. The European fire ant (Hymenoptera: Formicidae) as an invasive species: impact on local ant species and other epigaeic arthropods
  14. Ant Bites Conjunctival Tissue: The ABCs of Removing an Ocular Ant Foreign Body
  15. แมลง การจำแนกและการเก็บตัวอย่าง / ศิริณี พูนไชยศรี และคณะ

KULIB Talk #9

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2561

Live จากห้อง Eco-Library สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

==============================================

ดร. พิศมัย ศรีชาเยช

นักวิจัย สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน กับผลงาน “การพัฒนากระบวนการผลิตแยมน้ำตาลต่ำเพื่อยืดอายุการเก็บ”

 

แยมน้ำตาลต่ำเพื่อยืดอายุการเก็บ ลดต้นทุน เพิ่มโอกาสทางการตลาดและผลกำไรให้ผู้ประกอบการ

สูตรลงตัว ตลาดเปิดรับ แต่ติดปัญหาเรื่องอายุการเก็บ คือที่มาของงานวิจัย

ดร. พิศมัย ศรีชาเยช หรือคุณกุ้ง เล่าถึงที่มาของงานวิจัย การพัฒนากระบวนการผลิตแยมน้ำตาลต่ำเพื่อยืดอายุการเก็บ ว่าผู้ประกอบการมีปัญหาด้านกระบวนการผลิตแยม สถาบันช่วยวิจัยและแก้ปัญหา โดยชวนเข้าโครงการ Innovation hub Thailand 4.0 ช่วยยกระดับของผู้ประกอบการ จึงเป็นที่มาของการทำงานวิจัยร่วมกัน จนออกมาเป็น แยมละมุน ในที่สุด “สูตรแยมผลไม้พัฒนาขึ้นโดยเชฟคอนราด อิงเฮลแรม เน้นใช้ผลไม้ไทย กวนด้วยสูตรหวานน้อย ไม่ใส่สารสังเคราะห์ใด ๆ แต่พบปัญหาว่าแยมเก็บได้ไม่นาน โครงการจึงเข้าไปช่วยพัฒนาการผลิต ใช้หลักการการแปรรูปด้วยความร้อน ทำให้สามารถเก็บแยมที่อุณหภูมิห้องได้โดยไม่เสีย”

กว่าจะมาเป็น “แยมละมุน” แยมน้ำตาลต่ำ ที่ปัจจุบันขยายตลาดจนพบเจอได้ในไลน์บุฟเฟต์อาหารเช้าของโรงแรมทั้งกรุงเทพและต่างจังหวัด

         สังเกตุได้ว่าน้ำตาลนั้นจำเป็นสำหรับการถนอมอาหาร เช่นการเชื่อม แยมน้ำตาลต่ำจึงมีความเสี่ยงในการเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ ทำให้เสียได้ง่าย จึงจำเป็นต้องควบคุมทุกกระบวนการผลิต ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนของการเตรียมวัตถุดิบ การบรรจุ สุขลักษณะในการผลิต ก็จะสามารถยืดอายุของแยมน้ำตาลต่ำได้

แยมทั่วไป ถ้าทำตามหลักพาสเจอร์ไรซ์ ในภาชนะปิดสนิท ถ้าไม่เปิดก็ไม่เสีย อาจมีการเสื่อมสภาพของเนื้อแยมไป เช่นสีเปลี่ยน กลิ่นเปลี่ยน เก็บได้ประมาณ 1 ปี ซึ่งแยมทั่วไปมีค่าความหวานที่ 65% แต่แยมน้ำตาลต่ำมีค่าความหวานอยู่ระหว่าง 35-65% ทำให้มีความเสี่ยงในการเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ที่มากกว่า

สิ่งสำคัญคือต้องเติมเพกทินในขั้นตอนสุดท้าย โดยต้องเคี่ยวผลไม้ให้มีความเข้มข้นระดับนึงก่อน แล้วค่อยเติมเพกทินลงไป และใช้หลักการบรรจุร้อน ก็จะช่วยยืดอายุการเก็บแยมได้

ขั้นตอนการผลิตแยมทั่วไปคือเอาผลไม้มาต้มให้เนื้อนิ่ม เติมน้ำตาล และเพกทิน เพื่อช่วยในการเซ็ตเจล หากไม่เติมเพกทินจะกลายเป็นผลไม้กวน คือเมื่อกวนไปเรื่อย ๆ เนื้อผลไม้ก็จะแห้งไปเรื่อย ๆ สิ่งสำคัญคือต้องเติมเพกทินในขั้นตอนสุดท้าย โดยต้องเคี่ยวผลไม้ให้มีความเข้มข้นระดับนึงก่อน แล้วค่อยเติมเพกทินลงไป เนื่องจากสภาวะของอาหารที่มีการย่อยด้วยกรด เช่นผลไม้ จะย่อยเพกทินด้วย จะทำให้เพกทินมีปริมาณไม่พอ แล้วทำให้ไม่เซ็ตเจลเป็นแยม

แล้วใช้หลักการบรรจุร้อน ไล่อากาศออกจากผลิตภัณฑ์ ทำให้ภายในบรรจุภัณฑ์เป็นสูญญากาศ ไม่มีอากาศอยู่ภายใน เก็บในภาชนะปิดสนิท ก็จะช่วยยืดอายุการเก็บแยมได้ โดยควบคุมอุณหภูมิในการบรรจุร้อนให้ไม่ต่ำกว่า 75 องศา

“การผลิตแยมละมุนนั้น เชฟพัฒนาสูตรมาเบื้องต้น เราเข้าไปช่วยพัฒนากระบวนการผลิต หาปริมาณเพกทินที่เหมาะสมกับสัดส่วนของผลไม้ เช่นเดิมเชฟจะใส่เพกทินลงไปพร้อมกับผลไม้ เคี่ยวไปเรื่อย ๆ  เพกทินจะถูกย่อยไปด้วย ทำให้ปริมาณเพกตินไม่เพียงพอ เราต้องช่วยปรับสัดส่วนและกระบวนการ เช่นเคี่ยวผลไม้ให้มีความเข้มข้นระดับนึงก่อน แล้วค่อยเติมเพกทินลงไป และกำหนดอุณหภูมิที่ใช้ในการบรรจุร้อน”

 

จุดสำคัญที่ทำให้ช่วยยืดอายุการเก็บแยมน้ำตาลต่ำ

         นอกจากหลักสำคัญในการกระบวนการผลิตข้างต้นแล้ว คุณกุ้งยังบอกจุดสำคัญที่ผู้ประกอบการมักทำผิดพลาดและเกิดความเสี่ยงในการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ ทำให้ไม่สามารถเก็บแยมไว้ได้นาน

  • การให้ความร้อนและการบรรจุ (บรรจุร้อน) ต้องควบคุมอุณหภูมิให้ดี เพราะจะเกิดการปนเปื้อนได้ง่าย
  • เมื่อควบคุมอุณหภูมิในการบรรจุเป็นอย่างดีแล้ว ต้องปิดฝาภาชนะทันที บางคนกลัวว่าปิดฝาทันที ความร้อนจะทำให้เกิดไอ แต่จริง ๆ ไอนั้นสะอาดแล้วแม้จะกลายเป็นหยดน้ำแต่มีปริมาณไม่มาก แล้วรีบลดอุณหภูมิลงโดยการแช่น้ำธรรมดา อย่าแช่น้ำแข็งเพราะขวดแก้วจะแตกได้
  • ระหว่างการบรรจุต้องระวังไม่ให้เกิดการเลอะบริเวณปากขวด จะทำให้ปิดฝาได้ไม่สนิท ทำให้เกิดการแทรกของอากาศเข้าไปได้ และเพิ่มความเสี่ยงในการปนเปื้อนเชื่อจุลินทรีย์

 

นอกเหนือจากการวิจัยการพัฒนากระบวนการผลิตแยมน้ำตาลต่ำเพื่อยืดอายุการเก็บแล้ว คุณกุ้งยังมีผลงานวิจัยอีกหลายชิ้นที่น่าสนใจ

         “ภารกิจของสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คือการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์การอาหาร ถ่ายทอดนวัตกรรมงานวิจัยให้กับเกษตรกรหรือผู้ประกอบการที่ผู้สนใจ และมีงานบริการวิชาการ ทำงานวิจัยร่วมกับเอกชน ได้เป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์และช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ”

 

เมื่อผู้ประกอบการมีปัญหา สถาบันฯ มีหน้าที่วิจัยและช่วยแก้ปัญหาเหล่านั้น รวมถึงถ่ายทอดองค์ความรู้งานวิจัยอื่น ๆ ให้กับเกษตรกรหรือผู้ประกอบการที่สนใจเพื่อนำไปเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ได้มากขึ้น และเกิดผลิตภัณฑ์ทางเลือกขึ้นในตลาด

 

“มีงานวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ น้ำมะขามป้อม พัฒนาผลิตภัณฑ์จากมะขามป้อมในเชิงการค้า เรานำวัตถุดิบที่เหลือมาพัฒนาเป็นน้ำมะขามป้อม ซึ่งได้ทดลองวางขายแล้วได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และจากการวิจัยยังพบว่าวิตตามินซีในมะขามป้อมเป็นวิตามินซีที่มีความคงตัวสูง และได้ให้ข้อมูลถ่ายทอดให้กับเกษตรกรที่สนใจเพื่อนำไปเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ได้มากขึ้น”

ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมันสำปะหลัง ช่วยลดปัญหาของคนที่แพ้กลูเตน

“เริ่มมาจากกรมการค้าภายในต้องการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ที่กินได้ จึงให้ มก. ช่วยแปรรูปผลิตภัณฑ์ เป็นโครงการร่วมระหว่างคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสถาบันฯ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมันสำปะหลัง

“จากการวิจัยในโครงการนี้ ได้มา 4 ผลิตภัณฑ์ คือ วาฟเฟิล มินิวาฟเฟิล มันอบกรอบ ไอศครีมจากมันสำปะหลัง” แต่คุณกุ้งเห็นว่ายังพัฒนาได้อีกจึงคุณกุ้งจึงพัฒนาได้ เม็ดขนุน ลูกชุบ และบราวนี่จากมันสำปะหลังอีกด้วย

“ปกติบราวนี่จะทำจากแป้งสาลี การใช้แป้งมันสำปะหลังทดแทน ช่วยลดปัญหาของคนที่แพ้กลูเตนซึ่งมีในข้าวสาลี นอกจากจะเป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือกแล้วยังช่วยเพิ่มมูลค่าให้มันสำปะหลังอีกด้วย” แล้วรสชาติต่างกันมากไหม “แป้งมันสำปะหลังจะมีความหนึบมากกว่า ทำให้บราวนี่ที่ได้จะมีความหนึบมากกว่า แต่ก็ไม่ต่างกันมาก”

 

พัฒนาต่อยอดทำเป็นมันสำปะหลังสำเร็จรูป

“ปกติแล้วการทำไส้ขนมไทย เช่นลูกชุบ จากแป้งมันสำปะหลังนั้นต้องใช้เวลาในการเตรียม หากเป็นในระดับอุตสาหกรรมซึ่งมีอุปกรณ์และสูตรพร้อมแล้วนั้น ก็ไม่ใช่เรื่องลำบากอะไร” แต่ในการทำขนมในครัวเรือนมีความยากลำบากกว่านั้น แป้งมันสำปะหลังสำเร็จรูปที่พัฒนาสูตรมาให้พร้อมใช้ จึงน่าจะตอบโจทย์ผู้ประกอบการรายย่อยและคุณแม่บ้านได้เป็นอย่างดี “แป้งมันสำปะหลังสำเร็จรูปสำหรับทำไส้ขนมไทยนั้นจะมีกะทิ น้ำตาล เรียบร้อยแล้ว พัฒนาสูตรและรสชาติมาแล้ว แค่เติมน้ำแล้วเข้าเวฟประมาณ 5 นาที ก็ปั้นเป็นไส้ขนมได้

การทำลูกชุบด้วยแป้งมันสำปะหลังสำเร็จรูปของสถาบันฯ ผู้ทำเพียงแค่เติมน้ำแล้วเข้าเวฟประมาณ 5 นาที ก็ปั้นเป็นไส้ขนมได้แล้ว

หรือหากใครคิดจะทำขนมบราวนี่ไว้กินเองที่บ้าน ก็ไม่ยากอีกต่อไป เพียงแค่เติมไข่กับเนยผสมลงไปในแป้งมันสำปะหลังสำเร็จรูป แล้วนำไปอบ ก็เสร็จเรียบร้อย

==============================================================

อ่านผลงานการวิจัยของดร. พิศมัย ศรีชาเยช หรือ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ที่ไหนบ้าง

ทรัพยากร

แนะนำทรัพยากร (ใช้ผ่านวิทยานิพนธ์และฐานข้อมูล กรุณาใช้ผ่านเครือข่าย Nontri หรือ login ezproxy)

ผลงานนวัตกรรมพาสเตอร์เส้นใยนาโน

KULIB TALK | EP.47 | ผลงานนวัตกรรมพาสเตอร์เส้นใยนาโน

Kulib talk พาทุกท่านมาที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ศรีราชา เรามีนัดกับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทองใส จำนงการ ผู้ซึ่งได้รับรางวัลบุคลากรสายวิชาการและนักวิจัยดีเด่นของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และเป็นเจ้าของผลงานนวัตกรรมพาสเตอร์ปิดแผลเส้นใยนาโน

พิธีกร : สวัสดีค่ะ ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่การไลฟ์ ผ่านการไลฟ์เฟสบุ๊คของสำนักงานหอสมุดในรายการ kulib talk ค่ะ ดิฉัน ศรัญญาภรณ์ โชลิตกุลค่ะ แล้ววันนี้นะคะเรามาอยู่กันที่คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ศรีราชาค่ะ เพื่อร่วมพูดคุยกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.ทองใส จำนงการ ค่ะ ซึ่งเป็นอาจารย์ที่มีผลงานวิจัยโดดเด่นและได้รับรางวัลค่ะ…ผลงานล่าสุดของท่านคือพาสเตอร์ปิดแผลเส้นใยนาโนค่ะ ขอต้อนรับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.ทองใส จำนงการค่ะ

พิธีกร: สวัสดีค่ะ อาจารย์

ผศ.ดร.ทองใส จำนงการ : สวัสดีครับคุณศรัญญาภรณ์ และสวัสดีผู้รับฟัง kulib talk ทุกท่านนะครับ

พิธีกร : อยากให้อาจารย์ได้แนะนำตัวให้กับพวกเราได้รู้จักอาจารย์อีกครั้งค่ะ

ผศ.ดร.ทองใส จำนงการ : สวัสดีครับ ผมอาจารย์ ทองใส จำนงการครับ จากคณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา ปัจจุบันก็เป็นอาจารย์ประจำสาขาเคมีของภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานและพลศึกษาครับ

พิธีกร : อยากทราบที่มาที่ไปของงานวิจัยชิ้นนี้ค่ะ

ผศ.ดร.ทองใส จำนงการ : ที่ไปที่มาคือ ทางผมเองได้พูดคุยกับทีมวิจัยของผมว่า สภาวะการปัจจุบันเราจะทำงานวิจัยอะไรบ้างที่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆของประเทศได้ ซึ่งก็พบว่าปัญหาหนึ่งของประเทศก็คือการนำเข้าเวชภัณฑ์ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นเวชภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ ซึ่งถ้าเราย้อนดูข้อมูลเราจะพบว่า ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมปรพเทศไทยเรานำเข้าเวชภัณฑ์หล่านี้เยอะ ก็เพราะว่าประเทศของเรากำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุครับ ซึ่งผมมองว่าจะเป็นกลุ่มบุคคลที่เป็นกลุ่มบุคลจำนวนมากที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ทางผมเองก็พยายามที่จะสู้ปัญหาเหล่านี้โดยการคิดการวิจัยที่จะสามารถช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ ซึ่งเราพบว่าหนึ่งในการนำเข้าของเวชภัณฑ์จำนวนมากก็คือผ้าปิดแผล เราก็เลยมีความคิดว่าเราจะมีงานวิจัยอะไรบ้างที่สามารถผลิตเป็นนวัตกรรมได้ และหนึ่งในนั้นที่เราสนใจมากก็เป็นในเรื่องของผ้าปิดแผล

พิธีกร: แล้วทำไมผ้าปิดแผลต้องเป็นเส้นใยนาโนด้วยคะ ?

ผศ.ดร.ทองใส จำนงการ : ผ้าปิดแผลโดยทั่วๆไปเราจะพบว่าผ้าปิดแผลของเรา เส้นใยที่เรานำมาทำจะมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่มากๆซึ่งอยู่ในระดับไมคอนหรือไมโครเมตรนั่นเอง ซึ่งเมื่อเราเปรียบเทียบกับเส้นใยนาโน หรือนวัตกรรมของผมก็จะมีขนาดเล็กมาๆ ถ้าทุกคนนึกภาพไม่ออกให้ลองจินตนาการถึงฝุ่น pm2.5 เราจะพบว่าเราพูดปัญหาเรื่องฝุ่น pm2.5มาก ซึ่งทุกคนเข้าใจว่าเป็นอนุภาคที่มีขนาดเล็กแล้ว แต่เมื่อเทียบกับเส้นใยนาโนที่ผมผลิตขึ้นมาก็มีความแตกต่างกันเยอะ เนื่องจากเส้นใยจะมีขนาดเล็กกว่า ผมมีภาพภาพนึงอยากนำเสนอเป็นภาพของงานวิจัยท่านหนึ่งของต่างชาติ อันนี้เค้าทำการวัดขนาดของเส้นใยเปรียบเทียบระหว่างเส้นผมมนุษย์กับอนุภาคฝุ่นที่มีขนาดเล็กในระดับไมคอน หรือว่าที่ผมยกตัวอย่างเมื่อกี้ก็คือเปรียบเทียบกับ pm2.5 จะเห็นว่าเส้นใยนาโนจะมีขนาดเล็กมาๆ

พิธีกร: เวชภัณฑ์ที่นำเข้ามามีขนาดใหญ่และแพงเลยเป็นที่มาของงานวิจัยของอาจารย์

ใช่ไหมคะ?

ผศ.ดร.ทองใส จำนงการ : ใช่ครับผม ต้องเรียนไว้ก่อนเลยครับว่าถึงแม้เราจะมีขาย…. แต่ในเรื่องของราคาค่อนข้างสูง ผู้ป่วยที่มีฐานะไม่ค่อยดี ก็จะเข้าไม่ถึงนวัตกรรมชุดนี้

พิธีกร : พอได้ที่ไปที่มาเรียบร้อยแล้ว กระบวนการใช้เวลาอย่างไรบ้างคะ ?

ผศ.ดร.ทองใส จำนงการ : กระบวนการเริ่มต้นเหมือนนักวิจัยท่านอื่นเลยครับ คือเริ่มจากปัญหา พอเราเจอปัญหาเราก็มาลองดูว่า สิ่งที่เรากำลังจะทำในตอนนี้มีใครทำแล้วหรือยัง ก็ปรากฏว่ามีนักวิจัยบางท่านก็ทำแล้วแต่นั่นไม่ใช่ปัญหาในการทำวิจัยของเรา แต่ว่าสิ่งที่เราต้องเทียบคืออะไรคือความแตกต่างจากสิ่งที่เค้าทำมาแล้ว ก็เลยเป็นที่มาว่าเราลองผลิตเส้นใยนาโนที่มันมีความแตกต่างจากนักวิจัยท่านอื่น ก็พยายามค้นหาในอินเทอร์เน็ตต่างๆดูว่าเค้าทำอะไรมาบ้างเพื่อหาความแตกต่างสร้างเป็นนวัตกรรมเกิดขึ้นครับ….

พิธีกร : ในกระบวนการของอาจารย์มีวัสดุตัวใดที่ใช้ขึ้นรูปได้บ้างคะ ?

ผศ.ดร.ทองใส จำนงการ :   สำหรับงานวิจัยชิ้นนี้นะครับ ผมใช้ตัวของ ไบโอ พอลิเมอร์นะครับ หรือพูดง่ายๆนะครับก็คือพอลิเมอร์ชีวภาพในการขึ้นรูปครับ เนื่องจากว่าผลิตภัณฑ์ที่เราใช้คือใช้กับมนุษย์ ฉะนั้นอันดับแรกที่เราต้องตระหนักคือเรื่องของ safety นอกจากเรื่อง safety แล้วสิ่งหนึ่งที่เราต้องพิจารณาคือ คุณสมบัติเชิงกล คือในเรื่องของความนิ่ม ความนุ่ม วัสดุต้องไม่ระคายเคืองต่อผิวหนังมนุษย์ สำหรับงานวิจัยชิ้นนี้ครับ ผมจะใช้ในตัวของ PLA นะครับ เนื่องจากว่าสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติและก็ไม่เป็นพิษต่อมนุษย์ด้วย แต่อย่างไรก็ตามไม่ใช่เฉพาะตัวของ PLA ที่จะสามารถขึ้นรูปด้วยเทคนิคนี้…โพลิเมอร์แทบทุกตัวสามารถขึ้นรูปด้วยกระบวนการนี้ได้หมดเลย ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับว่าแอพลิเคชั่น หรือปลายทางว่าเราจะนำไปใช้ประโยชน์ทางด้านไหน ถ้าเกิดว่าเรานำไปใช้ประโยชน์ด้านที่ไม่เกี่ยวกับมนุษย์เราอาจจะใช้โพลิเมอร์ชนิดไหนก็ได้ เพราะว่าอย่างที่ผมได้เรียนนะครับว่าในตัวของ nonwovensหรือผ้าแบบไม่ถักทอตัวนี้สามารถใข้ประโยชน์ได้หลายอย่างเลย ต้องเรียนตามตรงครับว่าไม่ใช่เฉพาะพาสเตอร์ปิดแผล ยังสามารถใช้เป็นพวกเมมเบรน ในเรื่องของเมมเบรนในแบตเตอร์รี่ หรือว่าใช้มากมายในผลิตภัณฑ์เลยครับ ผมมีตัวอย่างอย่างที่บอกครับว่าตัวของ nonwovens ใช้ได้หลายตัวเลยครับไม่ว่าในเรื่องของอุตสาหกรรมรถยนต์ใช้ได้หมดเลย หรือว่าเป็นผ้ากรอง แผ่นกรอง ใยกรองอากาศในเครื่องปรับอากาศ หรือว่าทำเป็นเทปผ้าปิดแผลพวกนี้ ด้วยลักษณะพื้นผิวของพวกนี้จะพบว่าพื้นผิวจะไม่เรียบ จะมีข้อดีตรงที่พื้นที่ผิวจะเยอะ พอพื้นที่ผิวเยอะโอกาสที่จะเกิดปฏิกิริยาหรือว่าโอกาสที่จะ รีริสสารที่มี functional หรือสารออกฤทธิ์ก็จะมีมากขึ้น อันนี้ก็เป็นข้อดีของมันครับ…

พิธีกร : ทราบมาว่าอาจารย์มีทีมทำวิจัยด้วยใช่มั้ยคะ ทีมงานวิจัยของอาจารย์มีกี่ท่านคะ ?

ผศ.ดร.ทองใส จำนงการ :   อย่างที่ผมได้เรียนไป เชื่อว่าผู้ชมทุกท่านจะรับทราบ การที่เราจะทำงานอะไรบางอย่างขึ้นมา เราไม่สามารถที่จะทำได้คนเดียวได้ เราต้องมีในส่วนของทีมงานหรือพาร์ทเนอร์ชิพ สำหรับงานชิ้นนี้ต้องเรียนตามตรงว่าผมมีผู้ร่วมงานทั้งในประเทศและต่างประเทศด้วย ช่วยกันพัฒนา…เพราะแต่ละท่านจะมีในส่วนของ specialist ต่างกัน ดังนั้นเราก็จะรวมนักวิจัยเพื่อที่จะผลิตตัวนวัตกรรมเส้นใยตัวนี้เกิดขึ้นครับ…

พิธีกร : ด้วยงานวิจัยที่เป็นเส้นใยนาโน …. เส้นใยนาโนดีกว่าเส้นใยที่เคยมีมาอย่างไรบ้างคะ?

ผศ.ดร.ทองใส จำนงการ :   ด้วยขนาดที่เป็นเส้นใยที่มีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับเส้นใยขนาดไมคอนหรือเส้นใยที่เค้าได้ผลิตพาสเตอร์ ในเรื่องนี้มีข้อดีในเรื่องของเราสามารถโหลดตัวยาเข้าไปในเส้นใยให้มีปริมาณมากขึ้น พอเส้นใยมีปริมาณตัวยามากขึ้น โอกาสที่ยาของเราจะถูกปลดปล่อยออกมาจากเส้นใยก็จะมีมากขึ้น และอีกประเด็นหนึ่งคือเนื่องจากเส้นใยมีขนาดเล็ก เวลาที่เราเกิดบาดแผล ปริมาณของเส้นใยก็จะมีโอกาสได้สัมผัสกับบาดแผลมากขึ้น ฉะนั้นโอกาสที่ยาของเราจะถูกรีรีสเข้าสู่บาดแผลเพื่อที่จะรักษาบาทแผลหรือฆ่าเชื้อก็จะมีปริมาณมากขึ้น … แล้วก็ด้วยนวัตกรรมของเส้นใยตัวนี้ผมผลิตตัวของเส้นใยนาโนมาและลักษณะของผ้าที่ผมทำจะเป็นในลักษณะของ Nonwovens หรือพูดง่ายๆคือผ้าแบบไม่ถักทอ ก็คือว่าลักษณะจะเป็นลักษณะแบบนี้ (โชว์รูปในคลิป) ด้วยลักษณะของโครงสร้างจะมีลักษณะแบบถักกันไปถักกันมา เราจะเรียกผ้าที่มีเส้นใยลักษณะนี้ว่าผ้าแบบไม่ถักทอ ซึ่งตรงนี้มีข้อดีคือ 1.ในเรื่องของการระบายอากาศ การระบายอากาศจะดี ฉะนั้นเราจะไม่เจอปัญหาว่าพอเราใช้กับผู้ป่วย แผลผู้ป่วยจะไม่เกิดการแห้งซีด เราเจอปัญหาหนึ่งเวลาที่เราใช้ผ้าปิดแผลทั่วไปแผลของเราจะเกิดลักษณะขาวซีด ซึ่งเกิดจากว่าอากาศไม่ถ่ายเท พออากาศไม่ถ่ายเทก็จะขาวซีดนะครับ แต่ด้วยนวัตกรรมของเส้นใยนาโนที่มีการขึ้นรูปแบบไม่ถักทอก็จะแก้ปัญหาส่วนนี้ด้วย….

พิธีกร : พาสเตอร์ปิดแผลอีกแบบหนึ่งเวลาลอกจะเป็นแบบกาว เส้นใยนาโนก็แก้ปัญหานี้ด้วยใช่ไหมคะ?

ผศ.ดร.ทองใส จำนงการ :   ใช่ครับ แต่ผมต้องเรียนก่อนว่า ที่คาบกาวไม่เกี่ยวข้องกับเส้นใยนาโนไม่ว่าจะเป็นของนาโนหรือตัวของที่มีขนาดใหญ่ แต่คาบกาวที่เกิดขึ้น เกิดจากกระบวนการผลิตในกรณีที่เรา Fabricate ให้มันเป็นผลิตภัณฑ์ขายตามท้องตลาด ถ้าให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้นตัวที่ทางคุณพูดถึงคือเป็นในตัวของคาบกาวในส่วนนี้(โชว์รูปในคลิป) แต่นวัตกรรมที่ผมทำอยู่ตอนนี้คือจะเป็นตัวที่อยู่ข้างใน (ชี้ไปที่รูป) และทีเป็นไมคอนคือเป็นตัวข้างใน (อธิบายรูป) คาบกาวที่เกิดขึ้นจะไม่เกี่ยวข้องกับเส้นใยตรงนี้ครับ…

พิธีกร: กระบวนการทำเส้นใยนาโนยากไหมคะ?

ผศ.ดร.ทองใส จำนงการ :   เทคนิคที่ผมใช้คือเทคนิคค่อนข้างง่ายและสะดวกสามารถที่จะทำได้…เป็นที่ทราบกันดีว่าการขึ้นรูปนาโน หรือเส้นใยขนาดเล็ก เราสามารถขึ้นรูปได้หลายชนิดเลยไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ flash spinning หรือว่าตัวของ โบรว์เมเวทติ้ง สามารถขึ้นรูปได้หมดเลย แต่เครื่องไม้เครื่องมือพวกนั้นราคาค่อนข้างสูง แต่กระบวนการที่ทางผมได้พัฒนาขึ้นมาที่เราเรียกกันว่าระบบ electrospinning เป็นกระบวนการในการผลิตเส้นใยที่มีขนาดเล็กในระดับนาโน

พิธีกร : อาจารย์ช่วยให้คำอธิบายกระบวนการ Electrospinning ได้ไหมคะ ?

ผศ.ดร.ทองใส จำนงการ : กระบวนการนี้นะครับ process หลักๆนะครับ …ผมขออนุญาตโชว์รูปนิดนึง (อาจารย์โชว์รูป) ซึ่งถ้าเกิดเราดูเราจะเจอ3ปัจจัยหรือองค์ประกอบหลักๆก็คือ ส่วนแรกตัวที่ควบคุมการไหลของ polymer ตัวที่สองคือ voltage ตัวที่สามคือตัวรองรับ จริงๆเรามีแค่3องค์ประกอบตรงนี้ และเราสามารถที่จะได้ nonwovens ภายในขั้นตอนเดียว อันนี้เป็นข้อดีของระบบ Electrospinning เหมือนกัน ฉะนั้นด้วย3ข้อที่ผมพูดถึง สิ่งที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการดังกล่าวหลักๆคือมาจาก 2 parameter.   parameter แรกคือ processing parameter หรือพูดง่ายๆก็คือปัจจัยที่มาจากกระบวนการผลิต อะไรบ้างครับ ก็คือ voltage ที่เราให้เข้าไปก็คือในเรื่องของการต่างศักย์ที่เราให้เข้าไป เนื่องจากเทคนิคนี้คือเทคนิคที่เราให้กระแสไฟฟ้าเข้าไปที่ความต่างศักย์สูงๆเพื่อที่จะเอาชนะแรงตึงผิวของสารละลาย และทำให้ดึงตึงเส้นใยออกมา และเส้นใยก็จะถูกทำให้เป็นของแข็งกลายเป็นเส้นใยบนตัวของตัวรองรับ อย่างที่ผมบอกในพารามิเตอร์แรกคือ processing parameter ฉะนั้นกระบวนการต่างศักย์นั้นมีความสำคัญมากซึ่ง polymer แต่ละตัวจะมีความต่างศักย์ในการ apply ที่แตกต่างกัน อันดับที่สองคือตัวของฉากรับ(คอแลกเตอร์) ตัวฉากรับก็จะมีหลายแบบครับ มีทั้งแบบที่เป็นแบบคงที่ก็คือไม่มีการขยับเขยื้อน หรือถ้าเกิดเราต้องการที่จะควบคุมการจัดเรียงตัวของนาโนเราอาจจะมีการดีไซน์ตัวของคอแลกเตอร์ได้ โดยอาจจะมีการหมุนเกิดขึ้นเพ่อที่จะให้เส้นใยของเราให้มีการจัดเรียงตัวเป็นระเบียบมากยิ่งขึ้น ซึ่งก็จะช่วยในเรื่องของสมบัติเชิงกลด้วย อีกตัวนึงคือในเรื่องของการควบคุมการไหล ซึ่งหลังจากที่เราเตรียมพอลิเมอร์ให้อยู่ในรูปสารละลายเสร็จ เราต้องมีการควบคุมอัตราการไหลด้วย เพราะอัตราการไหลก็จะมีผลต่อขนาดของเส้นใยด้วย ไหลมากไหลน้อยก็จะมีผลโดยตรงต่อขนาดเส้นใยที่เราจะได้รับ ฉะนั้นปัจจัยแรกคือในเรื่องของ processing parameter ที่พูดในเรื่องของความต่างศักย์ คอแลกเตอร์ อัตราการไหล ตัวที่สองถือว่ามีความสำคัญมากๆเหมือนกันคือในเรื่องของ solution parameterหรือพูดง่ายๆคือปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสารละลาย ผมขอยกตัวอย่างนะครับ จริงๆมีเยอะเลย แต่ผมขอยกตัวอย่างที่เป็น main หลัก อย่างแรกเลยคือความหนืดของสารละลาย ค่าความสามรถในการนำไฟฟ้าด้วยอันนี้ก็มีผล ฉะนั้นในเรื่องของความหนืดหรือการนำไฟฟ้าของสารละลายมีผลต่อขนาดเส้นใยหมด ฉะนั้นความยากอยู่ที่สองparameterตรงนี้ และอีกparameterหนึ่งที่มีความสำคัญเหมือนกันคือ parameterที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ในที่นี้ที่ผมพูดถึงคือบรรยากาศรอบๆของกระบวนการขึ้นรูปเช่น ความชื้นสัมพัทธ์และอุณหภูมิเพราะทั้งความชื้นสัมพัทธ์กับอุณหภูมิเกี่ยวข้องกับกระบวนการการระเหยของ solvent ซึ่งอย่างที่บอกครับ parameter ค่อนข้างที่จะมีหลากหลาย แต่กระบวนการผลิตค่อนข้างง่าย ราคาถูก สะดวก สามารถทำเองได้

พิธีกร : กระบวนการนี้สามารถทำได้เองในประเทศไทยใช่ไหมคะ?

ผศ.ดร.ทองใส จำนงการ : ใช่ครับ

พิธีกร : นอกจากคุณสมบัติที่ดีในการทำพาสเตอร์ปิดแผลแล้ว แนวทางในอนาคตจะต่อยอดไปเส้นทางอื่นได้ไหมคะ ?

ผศ.ดร.ทองใส จำนงการ :   ผมเชื่อว่าเป็นความฝันของการวิจัยหลายท่าน…ผมเองก็เป็นหนึ่งในนั้น ในการทำงานวิจัยของผม ผมต้องการสร้างอะไรก็ตาม หรืออะไรบางอย่างเพื่อให้ทุกคนยอมรับในงานวิจัยของผม หมายความว่าผมจะทำอะไรสักอย่างให้ทุกคนยอมรับและนำไปใช้งานได้ ผมค่อนข้างที่จะชอบทำงานในลักษณะนี้ คือผมมองว่ามันเป็นโอกาสที่ดีที่เวลาที่เราเดินไปไหนต่างๆแล้วเจองานวิจัยเราก็ได้คิดว่า เอ้อ…นี่เป็นงานวิจัยจากสิ่งที่เราคิดหรือจากกลุ่มวิจัยที่เราคิดและใช้งานได้จริง ส่วนแนวทางในอนาคตคือคาดหวังว่าสามารถที่จะผลิตออกมาในสิ่งที่เป็น commercial life ได้ ตอนนี้ต้องบอกว่าเทคโนโลยีหรือว่าตัวของเดโม หรือผลิตภัณฑ์ที่โชว์อยู่ตอนนี้ มีความพร้อมนะครับ แต่ตอนนี้เราพยายามที่จะหา partner ship ที่จะมาลงในส่วนของ commercial life ครับ

พิธีกร : ถ้าเกิดโครงการนี้สำเร็จก็จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยมากเลยนะคะอาจารย์ ในเรื่องของค่าใช้จ่ายด้วย และเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้เองด้วย …. ทราบมาว่าอาจารย์ได้รับบุคคลากรดีเด่นในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ด้านการวิจัยในรุ่นอายุต่ำกว่า40ปีด้วย อยากทราบความรู้สึกของอาจารย์ว่าเป็นอย่างไรบ้างคะ?

ผศ.ดร.ทองใส จำนงการ :   ก่อนอื่นคือผมต้องบอกก่อนว่าผมรู้สึกดีใจและผมขอขอบคุณผู้บริหารทุกท่านที่มีส่วนในการผลักดันรางวัลนี้ คือรางวัลนี้เป็นที่รู้อยู่แล้วว่ามหาวิทยาลัยของเราได้มอบรางวัลให้แก่นักวิจัยทุกปีอยู่แล้วนะครับ และเป็นรางวัลที่ได้รับการเสนอชื่อจากคณะแต่ละคณะของมหาวิทยาลัยของเราเพื่อที่จะเข้าไปยังคณะกรรมการพิจารณาผลงานเพื่อที่จะได้รับรางวัล ก่อนอื่นผมต้องขอขอบคุณคณะผู้บริหารของคณะผมเองนะครับที่ทางผู้บริหารได้มองเห็นผลงานวิจัยขอผมและส่งผลงงานวิจัยของผมซึ่งเป็นเหมือนตัวแทนของคณะเข้าไปร่วมลุ้นรางวัล และขอบคุณที่สองคือขอบคุณคณะกรรมการพิจารณารางวัล ทุกท่านที่มองเห็นผลงานของผมว่ามันจะสามารถที่จะตอบสนองหรือว่าแก้ปัญหา หรือว่าที่จะใช้ประโยชน์ในประเทศชาติได้ก็รู้สึกยินดีและดีใจมากๆ เพราะผมเชื่อว่ารางวัลเป็นเหมือนตัวของแอคซิเลติ้ง เอเจ้น อย่างหนึ่ง เนื่องจากผมมองว่ารางวัลเป็นตัวกระตุ้นให้นักวิจัยผลิตผลงานวิจัยให้ได้คุณภาพมากขึ้น ผลพ่วงจากรางวัลแต่ละตัวจะเป็นตัวการันตีผลงานของเราทำให้เราพัฒนาต่อไปเรื่อยๆด้วย เช่นผมได้รับรางวัลจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และในปีต่อมาผมก็ได้รับคัดเลือกให้ไปเข้าร่วมนักวิจัยรุ่นเยาว์ในประเทศญี่ปุ่นผมก็นำเอาผลงานชิ้นนี้ไปนำเสนอด้วย อย่างที่ผมบอกครับว่ารางวัลผมมองว่าเป็นจุดเริ่มต้นเป็นกำลังใจที่ดีแก่นักวิจัยทุกท่านเลย ยังไงก็ขอให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ของเรามีรางวัลแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆนะครับเพื่ออนาคคตของนักวิจัยและเพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่นักวิจัยด้วย

พิธีกร : อยากให้ฝากอะไรสักนิด แก่นักวิจัยรุ่นใหม่

ผศ.ดร.ทองใส จำนงการ : ผมเองก็เป็นนักวิจัยรุ่นใหม่ ในมุมของผมคือรุ่นใหม่ในที่นี้คือไม่เกี่ยวกับอายุ แต่รุ่นใหม่คือคนที่อาจจะประสบการณ์ไม่ค่อยมี สำหรับผมเองก็เป็นรุ่นใหม่ ผมอยากจะแชร์ความรู้สึกให้กับนักวิจัยรุ่นใหม่อย่างเรา สิ่งแรกที่ผมมองคือในเรื่องของ comment ต่างๆจากผู้ทรงคุณวุฒิหรือจากนักวิจัยอาวุโส ถือว่ามีประโยชน์มากๆสำหรับการพัฒนางานของเรา ก่อนหน้านี้ผมเคยคิดว่าการที่ผมไปนำเสนอผลงานทางวิชาการต่างๆแล้วได้รับ comment กลับมา ต้องเรียนตามตรงว่า ณ เวลานั้นความรู้สึกของเรามีความรู้สึกว่างานวิจัยของเราไม่ดีหรอทำไมต้อง commentแบบนี้ด้วย… แต่ถ้าเกิดเราคิดกลับกัน ผมเอาคำเสนอแนะหรือคำ cemment จากผู้ทรงคุณวุฒิเหล่านั้นมาปรับงานวิจัยของผมก็จะทำให้งานวิจัยของผมสมบูรณ์มากขึ้น ฉะนั้นอันดับแรกผมอยากจะฝากถึงนักวิจัยรุ่นใหม่เลยสิ่งที่ต้องยอมรับและปรับตัวให้ได้เลยคือเรื่องของ comment ครับ commentถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ ส่วนตัวผมเองผมชอบออกงานพวก research expo เนื่องจากว่างาน research expo จะมีความแตกต่างจากงานประชุมวิชาการตรงที่ user จะเดินมาหาเองหมายความว่า user จะเดินมาแล้วถามว่า productจุดนี้สามารถแก้จุดนี้ได้ไหม ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ real จริงๆ ซึ่งตรงนี้มีความสำคัญมากในมุมผมครับ กลับมาที่อันดับแรกข้อที่หนึ่งคือเราต้องยอมรับ cemment เราต้องปรับ comment ให้งานของเรามีประโยชน์มากยิ่งขึ้น สิ่งที่สองที่สำคัญผมมองว่าคือ room model หรือพูดง่ายๆคือ idol ซึ่งต้องบอกว่า idolมีทุกวงการ งานวิจัยของเราเองก็เหมือนกัน เราต้องมองว่ามีนักวิจัยท่านไหนบ้างที่เราถือว่าเป็น idol ในประเทศไทยต้องบอกว่าเรามีนักวิจัยเก่งๆที่เป็นแนวหน้าของโลกเยอะเลยครับ ฉะนั้นผมก็เริ่มต้นจากจุดนี้ครับผมมีไอดอลของผม เริ่มต้นง่ายๆครับก็คือว่าดูอาจารย์หรือไอดอลคนนั้นว่าเค้ามีหลักการทำงานอย่างไร หลักการคือ follow ตามเลยครับ แล้วก็พยายามปรับวิธีการวิธีคิดให้เหมือนกับนักวิจัยท่านนั้นที่ประสบความสำเร็จมากกว่า และต้องยอมรับว่าอาจารย์หรือนักวิจัยเหล่านั้นมีมุมมองที่เป็นประโยชน์มากๆ และอันดับที่สามก็คือโอกาส โอกาสมีค่ามากกว่าเงินเพราะว่าโอกาสจะสร้างรายได้ให้คุณได้ ผมมองว่าโอกาสถือว่ามีความสำคัญมากๆเพราะว่าอากาสมันทำให้เราได้แสดงถึงศักยภาพที่เรามีอยู่ และโอกาสจะเป็นสิ่งที่บ่งบอกได้ว่าเรามีศักยภาพหรือไม่มีศักยภาพ เราจะได้ยินบ่อยๆว่าโอกาสไม่ได้มีบ่อยๆถูกมั้ยครับ แต่ผมมองมุมกลับกันครับว่า โอกาสไม่ได้มีบ่อยๆก็จริงแต่โอกาสมีสำหรับคนที่พร้อมเท่านั้น หมายความว่าต่อให้คุณมีโอกาสแต่คุณไม่มีความพร้อม โอกาสนั้นก็จะหลุดไปจากคุณ ฉะนั้นคือ ณ วันนี้ผมอยากจะฝากนักวิจัยรุ่นใหม่อย่างผมคือ ทำตนเองให้พร้อมที่จะคว้าโอกาสที่จะมาถึง ซึ่งเราไม่รู้ว่าโอกาสจะมาถึงเมื่อไหร่ แต่พอมาถึงเราต้อง catch มันให้ได้และทำมันให้ดีที่สุด

พิธีกร : “สำหรับวันนี้นะคะต้องขอขอบคุณ ผศ.ดร.ทองใส จำนงการ ค่ะ ที่เป็นแขกรับเชิญของเราในวันนี้ค่ะ และในครั้งต่อไปจะเป็นแขกรับเชิญท่านใดนั้น ขอให้ท่านติดตามข่าวสารได้ผ่านทางช่องทางของสำนักหอสมุดที่ไลน์ @kulibrary ค่ะ ท่านก็จะไม่พลาดข่าวสารทางสำนักหอสมุดทุกข่าวเลยนะคะ วันนี้ต้องขอลาไปก่อนค่ะ สวัสดีค่ะ “

 

 แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

รวมผลงานของผศ.ดร.ทองใส จำนงการในคลังความรู้ดิจิตัล มก.

Bio-based plastics : materials and applications

Advances in natural polymers : composites and nanocomposites

วัสดุปิดแผลเส้นใยนาโนจากเอธิลเซลลูโลส / หัวหน้าโครงการ กอบศักดิ์ กาญจนาพงศ์กุล

ผลิตภัณฑ์สิ่งทอจากกระบวนการ Electrospinning

Electrospinning

Introduction to nanofiber materials

Handbook of nanoscale optics and electronics

Carbon and management oxide nanofibers for energy storage

Cellulose based composites : new green nanomaterials

ระบบการปั่นเส้นใยด้วยกระแสไฟฟ้าสถิตสำหรับผลิตเส้นใยนาโนจากพอลิแลคติกแอซิดเพื่อประยุกต์ใช้ในทางการแพทย์ 

 

KULIB Talk: เครื่องปลูกข้าวแบบหย่อนกล้า
อาจารย์ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าคณะวิศวกรรมศาสตร์วิทยาเขตบางเขน
ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Read more: ผลงานนวัตกรรมเครื่องปลูกข้าวแบบหย่อนกล้า
Page 1 of 2
 
 
 
1xbet casino siteleri bedava bahis kaçak bahis superbetin yeni giriş casino siteleri