เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารสำหรับผู้สูงอายุและผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก

KULIB TALK เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารสำหรับผู้สูงอายุและผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก

“ผมว่าเดี๋ยวนี้ปัญหาสิ่งแวดล้อมมันรุมเร้าเรามาก อย่างเช่น ณ วันนี้เนี่ยเราเจอปัญหา PM2.5 ใช่ไหม ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าเราเจอปัญหาน้ำแล้ง น้ำเค็ม จะทำก็ก็ตามเนี่ยขอให้ผสมผสานเป็นโซเชี่ยวเอนเตอร์ไพรส์ เป็นเพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อผู้คนและโลก ไม่ใช่ทำเพื่อสุนทรียอย่างเดียว สุนทรียสำคัญไหม สำคัญมาก แต่ผมมองว่าอนาคตเนี่ย ต้องเน้นในเรื่องของสิ่งแวดล้อมให้มาก”

สวัสดีค่ะ ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่รายการ KULIB Talk live ค่ะ รายการไลฟ์ผ่านทางเฟสบุ๊คของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ค่ะ ซึ่งวันนี้นะคะ เป็นอีกหนึ่งไลฟ์ที่พลาดไม่ได้เลยเพราะว่าเรามีแขกรับเชิญที่พิเศษมาก อาจารย์เป็นอาจารย์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ค่ะ แล้วก็เรียกได้ว่าจะมีความผูกพันกับสำนักหอสมุดของเรามากทีเดียว เพราะว่าอาจารย์เป็นผู้ออกแบบห้อง ECO library location ที่เรา live อยู่ใน ณ ขณะนี้ค่ะ  ก็จะเป็นท่านใดไปไม่ได้เลย ดิฉันขอต้อนรับ รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโตค่ะ สวัสดีค่ะอาจารย์ สวัสดีครับ ค่ะก็นอกจากอาจารย์จะเป็นผู้ออกแบบห้อง ECO library แห่งนี้แล้วนะคะ อาจารย์เป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีทางอาคาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขนของเรา เป็นภาควิชานวัตกรรมอาคารนะคะ ของเกษตรศาสตร์บางเขนนะคะ และอาจารย์ยังเป็นผุ้อำนวยการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบด้านสิ่งแวดล้อมหรือว่า อีโคดีไซด์ด้วยนะคะ ซึ่งวันนี้เนี่ย เราไปชิงคิวทองของอาจารย์ให้มาร่วมรายการไลฟ์กับเราวันนี้นะคะ เพราะว่าเราทราบมาว่าอาจารย์มีผลงานวิจัยล่าสุดที่น่าสนใจและก็เรียกว่าเป็นเรื่องที่คนให้ความสนใจในยุคที่ไทยก้าวสู่สังคมของผู้สูงอายุ งานวิจัยที่เราจะเห็นวันนี้ก็มีอุปกรณ์เสริมมาด้วย เป็นเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารสำหรับผู้สูงอายุและผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกนะคะ

อันดับแรกเลย อยากจะให้อาจารย์เล่าให้ฟังนิดหนึ่งค่ะว่า อาจารย์มีแรงบันดาลใจยังไง มองจุดไหนถึงเป็นที่มาในการทำวิจัยเรื่องนี้คะ

            ตอนเริ่มต้นนะครับต้องการให้โรงพยาบาลมีสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทีนี้เวลาเราเข้าไปในโรงพยาบาล สิ่งแรกเลยที่ผมสนใจเป็นการส่วนตัวเนี่ยคือเรื่องเศษวัสดุที่เหลือจากการแพทย์ การพยาบาลและก็พบว่าจริง ๆ แล้วเนี่ย ถ้าเราสามารถคัดแยกของเหลือใช้ต่างๆในสถานพยาบาลจะพบว่า เกือบครึ่งหนึ่งหรือ 40 เปอเซ็น เป็นขยะจากการแพ็คเกจ การเปิดห่อต่างๆ เพราะฉะนั้นมันเป็นขยะสะอาด เมื่อเดินไปตามชั้นต่างๆก็ผ่านไปชั้นหนึ่งเป็นชั้นที่ดูแลผู้สูงอายุ แล้วก็เห็นว่าพยาบาลบ้าง ญาติบ้างเนี่ยพยายามที่จะป้อนข้าวผู้สูงอายุ ผมนั่งคิดว่าเอ๊ะ เราจะรู้ได้ไงว่าจังหวะนี้ควรจะป้อนหรือไม่ป้อน เร็วไปช้าไป และบางทีและบางทีผู้สูงอายุหงุดหงิดที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้หรือเป็นเพราะว่าถ้วยชามช้อนส้อมไม่เหมาะสม ส่วนใหญ่เป็นถาดหลุมซึ่งผู้ป่วยเด็ก วัยรุ่น ผู้สูงอายุเหมือนกันหมด หรือจานๆที่สวยหน่อยเด็ก วัยรุ่น ผู้สูงอายุเหมือนกันหมด ผมก็เลยมามองว่าจริงๆแล้วผู้สูงอายุมีปัญหาเรื่องข้อ เลยถามพยาบาลว่าจริงๆแล้วเค้าดูแลตัวเองไม่ได้จริงใช่ไหมถึงต้องป้อน พยาบาลบอกเปล่าแต่ของผู้สูงอายุต่างประเทศแพง และไม่เข้ากับสรีระกับผู้สูงอายุไทย ผลทำงานวิจัยเมลามีนที่เอาเส้นใยของปาล์มมาผสมกับเมลามีนเพื่อทำเป็นภาชนะต่างๆบนโต๊ะอาหารสำหรับอาหารญี่ปุ่น คิดว่าถ้าเราทำวิธีเดียวกันเราให้วัสดุเดียวกันเพื่อผู้สูงอายุ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเชิงวัสดุด้วยและผู้สูงอายุดูแลตัวเองได้ด้วย ที่สำคัญคือเราพบว่าจริงๆแล้วผู้สูงอายุจริงๆแล้วไม่ได้ชอบให้คนมาป้อนเพราะเค้าประสบความสำเร็จมาก่อน เค้าเป็นคนที่เคยเป็นอธิบดี เป็นอาจารย์ เป็นนู้นเป็นนี่ อยู่ๆให้คนมาป้อน

ในแง่จิตใจด้วยเหมือนเคยทำได้

ถ้างั้นผมจะลองทำดูเพื่อที่จะแก้ปัญหาสร้างความภูมิใจให้ผู้สูงอายุที่เค้าเศร้าอยู่แล้วที่สุขภาพร่างกายเค้าไม่ดีถ้าเค้าดูแลตัวเองได้บ้างจะเพิ่มกำลังใจก็เลยพัฒนาขึ้นมา โดยไม่ได้คิดว่ามันจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ขายในท้องตลาดเพื่อชาวบ้าน

นั่นก็เลยกลายเป็นจุดเริ่มต้นเช่นกันว่าอาจารย์ต้องมีการลงฟิวจริงๆทำงานวิจัยร่วมกับนักกายภาพบำบัด พยาบาล

คือเวลาเราทำผลิตภัณฑ์เพื่อผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยเนี่ยเราไม่สามารถทำในแลปได้เหมือนตามปกติ ถ้าในแลปผมเองเนี่ยก็จะเรียกเด็กๆเข้ามาแล้วมาลองนั่งเก้าอี้ มาลองวางชั้นหนังสือสิ ว่ามันแข็งแรงหรือไม่แข็งแรง ถ้าทำเพื่อผู้สูงอายุเราก็ไม่คุ้น ถึงผมจะดูแลคุณพ่อคุณแม่ของผมตลอดเวลาก็ตามแต่ผมก็ไม่ได้คุ้นกับการที่บอกว่า เค้ากินยังไง ติดตรงข้อไหน ข้อศอก ไหล่ หรือช้อน เราไม่เคยดูใกล้ขนาดนั้นและเราก็ไม่ได้เรียนรู้มาจาก คือผมไม่ได้เป็นproduct designerผมเป็นสถาปนิกออกแบบอาคารความละเอียดอ่อนเล็กๆน้อยๆพวกนี้เนี่ยมันต้องอาศัยคนที่อยู่หน้างาน ก็เลยเริ่มจับมือกับพยาบาลโรงพยาบาลกลางก่อนเพราะเรามี collaborationร่วมกันอยู่แล้วชื่อ ดร.ภัทรารัตน์ เราจับมือเป็นกลุ่มกัน เราหานักกายภาพบำบัด เราหาผู้มีความรู้ในการที่จะศึกษาทดลองการใช้งานก็เลยได้เริ่มเอาผู้สูงอายุที่อยู่ในโรงพยาบาลที่ต้องทานอาหารอยู่แล้วเป็นประจำทุกวันลองให้เค้าใช้ดู ทดลองดู

ซึ่งก็เลยเก็บข้อมูลมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ตัวนี้

มันเก็บข้อมูลนานมาก

นานขนาดไหนคะอาจารย์

เป็นปีนะครับ เพราเราไม่ได้หาคนที่สเปกเดียวกันตลอดเวลา อันที่สองคือตอนที่เราทำมาหนักไป ยกไม่ขึ้น ยกสามทีแล้วก็ต้องวาง วัสดุเนี่ยหนักเกินไป shape อาจจะดีเค้าชอบจับได้พอดี แต่ยกไม่ไหว หรือบางที่เราบอกว่าเราเบาลง เปลี่ยนเป็นสปริงที่จับได้มั้ยให้เค้าบีบออกกำลังกายมือได้ด้วย สุดท้ายล้างลำบาก เวลาของไปติด ก็เปลี่ยนมาหลายเวอร์ชั่นมาก แต่สิ่งเราพบอย่างนึงคือคนหลายคนถามว่าทำไมเราไม่ผลิตส้อม

นั่นสิคะอาจารย์มีแต่ช้อน

ผู้สูงอายุไม่จิ้ม ทีนี่เรามีทั้งหมดเลย สุดท้ายทดลองไปทดลองมา พอไปทดสอบแล้วส่องกล้องดูถ่ายวิดีโอดู เค้าจะตักอย่างเดียวไม่จิ้ม เราก็เลยบอกเราประหยัดงบไปแสนนึงที่ต้องทำโมสำหรับส้อม ก็เลยเปลี่ยนมาเป็นช้อนอย่างเดียว

เป็นการสังเกตจากพฤติกรรมจริงๆ

ใช้เราจะเห็นเลยว่าค้าใช้หรือไม่ใช้ยังไง เรื่องปกติมากที่ถ้าเราดูซักพักเราจะเห็นว่าเค้าทานอาหารแบบนี้หรือหรือว่าเค้าเอนจอยไหมกับสิ่งที่เราทำกับเค้าอยู่

จากการสังเกต คลุกคลีพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาจารย์มองว่าปัจจัยสำคัญที่สุดเลยในการที่จะทำผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุหรือว่าผู้ป่วยอัมภาพครึ่งซีก ปัจจัยนั้นคืออะไรคะ

ทีมเวิก เพราะอาศัยคนเยอะมาก เพราะเห็นแค่นี่เนี่ยเราใช้คนเยอะมากนะครับผู้ป่วยก็ไม่รู้กี่สิบ พยาบาลก็ไม่รู้กี่สิบ ผู้เชี่ยวชาญก็ไม่รู้กี่สิบแล้วก็ต้อง coordinate กันใครว่างใครไม่ว่างใครเข้าตอนไหน ใครออกตอนไหนตลอดเวลา ผมคิดว่าอย่างแรกเลยทำ innovation ต่างๆต้องใช้ Teamwork อย่างมหาศาลมาก เราแก้ไม่ได้เราก็ออกแบบมาให้เข้ามาในแลปแล้วก็มีน้อง ๆ เป็นทีมที่ปั้นดินน้ำมันบ้าง ปูนพลาสเตอร์บ้าง กระดาษบ้าง คือสารพัดหลายอย่าง ฉะนั้นเรามีทีมที่เบื้องหลังมาก ๆ คือออก แบบเบื้องหลังการเก็บข้อมูล เบื้องหน้าคือไปทดลองนะครับ เราทดลองเพื่อทรีปริ้นติ้งก่อน เป็นเชฟ ตอนทำทรีปริ้นติ้งเนี่ย มันกินจริงไม่ได้ เพราะว่าพลาสติกนั้นไม่ได้สำหรับทานอาหาร ทำได้แค่จับอย่างเดียว มีความเสี่ยงสูงมากในการที่เราจะทำโมขึ้นมาแล้วคาดหวังว่ามันจะใช้งานได้เพราะโมแพงมาก

ที่อาจารย์บอกว่าเป็นทีมเวิร์คก็คือทุกอย่างไม่ว่าเราจะเก็บข้อมูล ประสานงานในการปรับผลิตภัณฑ์ในหลาย ๆ เวอร์ชั่น และก็มีการทดลองใช้งานจริง เป็นปัจจัยที่สำคัญมากนะคะ มาถึงตอนนี้ทุกคนอยากเห็นอุปกรณ์ชัด ๆ แล้วค่ะอาจารย์ อธิบายได้ไหมคะว่าแต่ละอัน ตอนนี้เรามีช้อนมีชามมีจานมีแก้ว แต่ละอันมันเป็นฟังก์ชั่นอย่างไรคะ

            คือช้อนเนี่ย เราทำให้มันบรรจุอาหารได้เพียง 5 มิลลิลิตร เพื่อกันสำลัก ฉะนั้นบางที ผู้สูงอายุอาจจะรำคาญว่าทำไมชั้นตักได้น้อยจัง เราทราบดีครับว่ามันไม่ควรเกิน 5 มิลลิลิตร ส่วนตรงนี้โก่งขึ้นมาเพราะเพื่อการจับแน่นก็ให้มันกว้างขึ้น แต่ต้องให้พอดีอุ้งมือด้านล่าง และผิวข้างบนเนี่ยเราเลือกผิวที่เราให้ผู้สูงอายุปิดตาแล้วก็เลือกว่าผิวไหนที่เค้ารู้สึกว่ามันกระตุ้นปลายนิ้วได้มากที่สุด และจะเอาผิวนั้นมาแกะอยู่ข้างในโม

หมายถึงเพื่อที่จับถนัด

และกระตุ้นปลายนิ้ว คือจับถนัดนี่คือเซฟ และผิวสัมผัสคือกระตุ้น เพราะปลายนิ้วมีประสาทสัมผัสและมันจะเริ่มชาเมื่อมีอายุมาก เพราะเมื่อเวลากระตุ้นประสาทสัมผัส เค้าจะรู้สึกได้มากขึ้น ว่า อ่อ เค้าถือช้อนอยู่นะ นะครับ และถ้ากำแรงไม่แรงเนี่ย มันก็จะไม่หนักมาก เพราะเราคว้านข้างในไว้ ทีนี้มีผู้สูงอายุหลายคนที่บอกว่า กินไม่ทันใจ เค้าจะเริ่มอารมณ์เสียง่าย เค้าจะใช้ด้านนี้เลยฮะ ซึ่งต้องระวัง ไม่ควร แต่พอสรุปแล้วใช้ด้านนี้ก็ถนัดเหมือนกัน แต่ไม่ควรนะครับ แต่จริง ๆ แล้วมันคือด้านนี้ คือพอช้อนแบบนี้แล้วจะเห็นว่ามันเลี้ยวเข้าหาตัว เพราะไม่สามารถที่จะ หมุนข้อศอกแล้วมือได้มาก ฉะนั้นเราต้องช่วยเค้าในการที่หันช้อนเข้าหาตัว ถ้วยนี้ก็เช่นกัน เราจะเห็นว่ามันจะเทลงมาด้านหนึ่ง ด้านนี้จะลึก ด้านนี้ตื้น เราอาจจะมองเผินๆไม่เห็น

จะมีด้านที่มีที่จับจะลึกกว่า

ด้านที่เข้าตัวจะลึกกว่า เพราะเวลาเค้าตัก เค้าจะตักเข้าหาตัว แบบนี้ ส่วนด้านนี้จะเห็นเลยครับว่า เค้าประคองนะครับ ถ้ามีโต๊ะข้างหน้าจะเห็นเลยครับ จะได้เห็นก็คือว่า เค้าจะจับแบบนี้เลยครับ แล้วก็ตัก แล้วเวลามีซุปต่างๆเนี่ยมันจะไม่ต้องไปให้เค้ากวาด เค้าก็สามารถที่จะตักได้เลย ฉะนั้นเพื่อการช่วย

พื้นผิวมันเทเข้าด้านใน การเทอาหารเพื่อความสะดวกในการรับประทานมากกว่า

มือชวาเค้ากวาดไม่ไหวแล้ว เราจะเห็นนะครับว่า ถ้าดูด้านล่างจะเห็นว่า ด้านนี้ตื้นด้านนี้ตื้น เห็นไหมครับ มันจะเดขึ้นบนนี้เช่นกัน จานก็เช่นกันครับ ก็จะมีด้านที่ลึกกับตื้น ทีนี้ หลายนสงสัยว่า ชิ้นนี้ไว้เพื่ออะไร โอโห้ เราจะทราบนะครับว่าแขนนี้เค้าเอาไว้วางเฉยๆ ครับ แล้วก็ตัก เพราะฉะนั้นจานทุกอย่างก็จะไม่ลื่นไปไหนนะครับ แล้วก็ตัก แล้วก็ทาน เพราะฉะนั้นทุกอย่างจะเทมาที่ฝั่งนี้หมดและก็ทานแบบนี้ แก้วนะครับ ดูเหมือนแก้วคนปกติ ทุกอย่าง ความสูงต่างๆ เพื่อความสูงแบบนี้เค้าจะจับง่าย ในตรงนี้เกี่ยวนิ้วไว้นิดหน่อยนะครับ แต่จริง ๆ แล้วข้างในตื้นมากครับ เพราะข้างในข้างล่างนี่ลึก เพื่อให้น้ำไม่ลึกเกินไป เพราะให้เค้ายกนิดหน่อยเค้าก็สามารถที่จะดื่มได้แล้วไม่ต้องแบบหงายมากนะครับ เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็จะบรรจุน้ำแค่นี้เองนะครับ เพื่อกันการสำลักนะครับ ทั้งหมดนี้นะครับพอทำมาตอนแรกเนี่ยด้วยความเป็นนักออกแบบก็จะชอบขาวดำเทานะครับ แต่ในความเป็นจริงแล้วเนี่ย พอเราให้สาขาทำ ขาวดำเทาก็จะ ผู้สูงอายุเนี่ยจะไม่ชอบนะครับเค้ามองไม่เห็นว่าอาหารจะเป็นยังไงตาเค้าเริ่มมองไม่ค่อยชัดเพราะฉนั้นเราให้เค้าเลือกสีเอง แล้วก็เอาไปอีกรอบนึงว่าจะเอาสีอะไร ก็เอาสีเจ๋งๆไปรวมทั้งขาวดำเทา สุดท้ายเค้าเลือกเป็นสีนี้ออกมา

ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดมีสีเดียว สีเขียว

ใช่ครับ สีเดียวก็เค้าเลือกมาแบบนี้เราก็ ถามว่าเราชอบสีนี้มั้ยเราก็คงจะโอโห้ มันแจ๋นเสียงเหลือเกินจริงๆแล้วมันทำให้เค้ามองเห็นอาหารได้ชัดเจนที่สุด

ได้ค่ะ อันนี้เป็นรายละเอียดผลิตภัณฑ์ ที่นี้ขออนุญาตขยับ นิดนึงค่ะอาจารย์ เราจะได้เห็นบนโต๊ะนี้นอกจากจะมีผลิตภัณฑ์ 4 ชิ้นนี้แล้วนะคะเห็นว่านี่รางวัลอีก 2 อัน

ดีใจครับ รางวัลอันนึงชื่อว่า Design excellence awardหรือว่า Demark สำหรับช้อน จริงๆแล้วเนี่ยเราส่งไปแต่ช้อนนะครับ เพราะเรารู้สึกว่าช้อนมันเจ๋งมาก เหมือนใบไม้เลย ไม่เคยเห็นคนที่ออกแบบช้อนผู้สูงอายุแบบนี้มาก่อน คือถ้วยชามยังพอเห็นบ้างแต่ช้อนเป็นสิ่งที่แบบแม้แต่เราเองก็ตื่นเต้นกับเห้ยมันใช้งานได้จริงหรือแค่เนี่ย แล้วก็เบามากทำให้เค้ายกได้ตลอดเวลาเราก็ส่งอันนี้เข้าไปประกวดนะครับ อันที่สองคือ Good design award 2019 หรือ Gmarkอันนี้จากญี่ปุ่นนะครับซึ่งเป็นที่ภูมิใจของทีมงานเรามากว่าญี่ปุ่นให้รางวัลกับผลิตภัณฑ์ผู้สูงอายุซึ่งเค้าเป็น specialist ของการดูแลผู้สูงอายุ เวลาเค้าให้เรามาเป็นสิ่งที่เกินความคาดหมายก็ดีใจ

เป็นรางวัลที่น่าภูมิใจเหมือนเป็นรางวัลของคนไทยทั้งประเทศ ผลงานของอาจารย์สร้างชื่อเสียงประเทศไทยด้วย เมื่อกี้อาจารย์เกริ่นไปนิดนึงแล้วว่าคือถ้าพูดถึงอาจารย์สิงห์เนี่ยต้องมีเรื่องของการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมด้วยอยู่แล้วแปลว่าผลิตภัณฑ์อันนี้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีแนวคิดของการรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยไหมคะ

อันนี้ตอบยาก ประเทศไทยมีกฎหมายที่ไม่ให้ใช้วัสดุcompositeสำหรับ food contract คือไปหาอย.อะไรต่างๆเนี่ยมันจะไม่มีตัวเนี่ยที่อนุญาตให้เรา ฉะนั้นเราจึงไม่สามารถจะใช้พวก composite ที่เราพัฒนาไว้กับ fiber ได้ตัวเหล่านี้เป็นวัสดุธรรมดาของ Food grade ทั่วไป แต่ว่าข้อดีของสิ่งที่เราออกแบบนี่คือ Recycle ได้ทั้งอัน เพราเราไม่ได้ผสมอะไรเลย เราใช้ pure ของมันเลยทำให้การRecycle ง่ายขึ้น

อาจารย์อันนี้หนูถามความสงสัย อันนี้สำหรับมือขวา อาจารย์จะมีมือซ้ายออกมาไหมคะ

คือมีมือซ้ายได้ แต่ว่ามูลค่าของโม มันคือแสนหนึ่งฉะนั้นตอนนี้ก็อยากจะได้มีใครมาทอดพระป่าโมช้อนมือซ้าย เพื่อรวบรวมทุนซักแสนสองแสนเพื่อเอามือซ้ายให้เกิดขึ้น เกือบแสนนึงนะครับแค่โมอย่างเดียว ผมถนัดมือขวา ผู้ป่วยผู้สูงอายุ มือขวาที่เราทดลอง เราก็ใช้มือขวาก่อนเลย ส่วนมือซ้ายเนี่ยมีคนถามเยอะมากแต่ตอนนี้เนี่ย เราไม่งบแล้วครับ มหาวิทยาลัยเกษตรจะช่วยไหมครับ

อันนี้อาจจะลองพูดดังๆ ผ่านกล้องออกมาได้เลยนะคะ

ของบเพิ่มจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เพื่อทำโมช้อนมือซ้ายนะครับ

อันนี้เป็นงานวิจัยที่เรียกว่าน่าทึ่งนะคะน่าสนใจมาก ถ้าในมุมมองของอาจารย์เองเนี่ย นักออกแบบจะมองว่าเทรนในการออกแบบยุคปัจจุบัน ควรจะมองว่าเน้นเรื่องอะไรเป็นหลักคะ

เทรนในการออกแบบยุคปัจจุบันควรที่จะเน้นอะไรเป็นหลัก ผมว่าเดี๋ยวนี้ปัญหาสิ่งแวดล้อมมันรุมเร้าเรามาก อย่างเช่น ณ วันนี้เนี่ยเราเจอปัญหา PM2.5 ใช่ไหมครับ ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าเราเจอปัญหาน้ำแล้ง น้ำเค็ม แล้วก็ปีที่ผ่านมา ออสเตรเลียเจอไฟไหม้เพราะฉะนั้นตอนนี้ปัญหามันรุมเร้าเราไปทุกด้านเลย ผมอยากจะฝากนักออกแบบรุ่นใหม่ว่า จะทำก็ก็ตามเนี่ยขอให้ผสมผสานเป็นโซเชี่ยวเอนเตอร์ไพรส์ เป็นเพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อผู้คนและโลก ไม่ใช่ทำเพื่อสุนทรียอย่างเดียว สุนทรียสำคัญไหม สำคัญมาก แต่ผมมองว่าอนาคตเนี่ย ต้องเน้นในเรื่องของสิ่งแวดล้อมให้มากทั้งวัสดุที่ใช้ กฎหมายต้องปรับ เพราะว่าวัสดุที่ใช้ถ้าเราสามารถเทสได้ว่ามันไม่สิ่งเจือปนที่เป็นพิษก็ควรที่จะอนุญาตให้เอามาใช้ได้นะครับ อันนี้คือที่สิ่งที่ผมหวังว่า ตัดสูททีเดียวฟิตในทุกเรื่อง เช่นว่า ไม่ได้ พลาสติกรีไซเคิลไม่สามารถเอามาใช้กับ Food contact เนี่ยและปิดประตูไปเลยเนี่ย ผมว่าอันนี้มันผิด เพราะทรัพยากรมันมีอยู่แล้ว อยากจะฝากไว้ตรงนี้ครับ

นักออกแบบรุ่นใหม่อาจจะต้องมองไม่ใช่ว่าชั้นอยากไปอย่างนู่นอย่างนี้ ฉันมีแรงบัลดาลใจตรงจุดนู้นจุดนี้ แต่อยากจะให้มองถึงโลกของเราด้วย

ผู้คนและโลก ผมว่ามันเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดเลยครับ แต่ว่าผู้คนเนี่ยคือปัญหา เพราะว่าเราสามารถออกแบบให้คนเนี่ยได้จนพอใจ คนเรามีความต้องการไม่สิ้นสุด อะไรก็จะเอาเยอะขึ้นเยอะขึ้นเรื่อยเรื่อย ผมคิดว่าต้องไปพร้อมกันคือดีไซด์เพื่อผู้คนและโลก เพราะผู้คนเนี่ยไม่ยั้งเลยถ้าเราเลือกโลกมาบาลานซ์ไว้เนี่ย ยังไงก็โลกก็พังถ้าเราทำเพื่อผู้คนอย่างเดียว

อันนี้ที่น่าสนใจคือ กฎหมายต้องปรับด้วย ให้เราเอื้อต่อการที่จะออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม อีกหนึ่งคำถามที่อยากจะถามอาจารย์ให้เป็นข้อคิดทิ้งท้ายนิดหนึ่ง อาจารย์ว่าอุปสรรคในการออกแบบในประเทศไทยคืออะไร และอาจารย์อยากจะมองเห็นวงการดีไซด์เนอร์หรือการออกแบบในประเทศไทยเนี่ย ไปในแนวทางไหนคะ

อุปสรรคการออกแบบในประเทศไทยเนี่ย จริงๆแล้วไม่เชิงของการออกแบบแต่ว่าอุปสรรคหลักๆ เนี่ยคือ คนไม่ได้เห็นคำว่าประเทศไทยเนี่ยเป็นแหล่งผลิตดีไซต์ที่มีคุณภาพระดับโลก อาจจะมองเราแค่เป็น OEN เป็นผู้ผลิตตามแบบของต่างประเทศ และก็เมืองไทยเนี่ยไม่มีจำนวนยของนักออกแบบโรงงานต่างๆเนี่ย มากพอที่จะดึงดูดเทรนเนอร์หรือว่าคนที่จะช็อปปิ้งเรื่องผลิตภัณฑ์ออกแบบเนี่ยมาสู่ประเทศไทยได้

อาจารย์พูดเหมือนเป็นแง่ของภาพลักษณ์ว่าเรายังไม่ถูกมองว่าเป็นผู้มีศักยภาพมากพอในการออกแบบ

นั้นคืออันที่ 1 อันที่ 2 คือเราไม่สามารถดึงดูดจำนวนเทรดเนอร์หรือว่าผู้ซื้อต่างๆจากต่างประเทศเข้ามาเมืองไทยได้ เพราะเราดึงเข้ามาไม่ได้ ปัญหาต่อมาคือทำออกมาแล้วขายยาก พอขายยากนักออกแบบต่างๆ ก็จะค่อยๆ หลุดออกไปจากโลกของการออกแบบ จำนวนก็เล็กลงเรื่อย ๆ ต่างชาติก็ไม่เข้ามากลายเป็นไก่ไข่

เหมือนมันวนลูปไปเรื่อย ๆ

วนลูปไปเรื่อย ๆ เพราะฉะนั้นพอคนไม่มา อ่าวขายไม่ได้ ก็ย้ายอาชีพไปเปิดร้านกาแฟบ้าง ร้านอาหารบ้างกลับไปเรียนปริญญาโทบ้างอะไรอย่างนี้ ทำให้เราก็เลยเป็นปัญหาว่า ทำไปแล้วทำยังไงดีให้มันกระจายไปสู่ระดับโลกได้ถึงมีของดีแล้วก็ตามคนที่มาก็บอกว่า หู้ว มันดีมากเลย นี่ก็เป็นปัญหาหนึ่งครับ และผมก็คิดว่าเทคโนโลยีต่างๆเนี่ย เราไม่ค่อยลงทุนลงแรงกับงานวิจัย ในโลกของการออกแบบ ในโรงงานที่ผลิตแบบ เพราะงานวิจัยทำให้เราก้าวไปข้างหน้าโดยเร็วไปไกล แต่พอเราไม่มีเนี่ย เราก็ทำภาพลักษณ์ที่สวยงาม เทคนิคที่ดีขึ้นเล็กๆน้อยๆ แต่เราไม่มีวัสดุที่เจ๋งๆออกมา เพื่อไปสู่ในระดับแนวหน้า เราไม่มีอะไรที่คนมองแล้วมันเป็นfirst อันนี้มันเป็นอะไรที่เป็นปัญหาเพราะเราไม่มี R&D พอในโลกของการออกแบบ

ก็ประเด็นของอาจารย์ขขออนุญาตสรุปนิดหนึ่งค่ะ ก็จะมีปัญหาในแง่ของภาพลักษณ์ คนอาจจะไม่ค่อยมองว่าไทยเป็นศูนย์ของนักออกแบบที่มีศักยภาพมากพอ ซึ่งก็จะทำให้เราดึงดูดเทรดเดอร์ที่จะเข้ามา กำลังซื้อก็อาจจะมีไม่มากพอทำให้คนออกแบบก็อาจจะรู้สึกว่าพอทำออกมาปุ๊ป อาจจะไม่มีแหล่งสำหรับขาย รวมไปถึงอาจารย์พูดถึงเทคโนโลยีที่บางครั้งเรามองภาพการปรับปรุงตัวผลิตภัณฑ์ในการออกแบบออกมาแต่ R&D ยังก้าวไม่ทัน ไปไม่ถึง

ผมว่ามันอาจจะไม่ใช่ก้าวไม่ทัน แต่เราไม่ยอมลงทุน R&D ในประเทศเราเองเนี่ยทำให้เราไม่เจอวัตถุดิบที่มัน คาร์ดิเอท เราไม่มีนวัตกรรมที่ทำให้คนเค้ามองว่า ประเทศไทยมันเริ่มมาทาง High-Tech เพื่อที่จะแก้ปัญหาการออกแบบมีชั้นเชิงที่มากขึ้นที่มี imagine สูงขึ้น

อันนี้เป็นมุมมองจากอาจารย์สิงห์นะคะ สำหรับวันนี้งานวิจัยที่น่าสนใจอันนี้ก็ทราบว่าล่าสุดมีผู้ที่ขอใช้สิทธิบัตรในผลงานวิจัยสิทธิบัตรชิ้นนี้

ใช่ครับ ก็ขาย license ไปแล้ว

ผลิตเป็นcommercial จริงๆแล้วอาจารย์พอทราบมั้ยคะว่าราคาเนี่ยจับต้องได้ไหมคะ

เราทำมาเพื่อราคาถูกอยู่แล้ว ฉะนั้น ผมตอบไม่ได้ว่าเรา license ไปแล้วต้องถามผู้ประกอบการณ์เราจะไม่ไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการตั้งราคาของเค้า แต่เราเค้าทราบดีว่าเราทำขึ้นมาเพื่อให้ราคา available เมื่อเทียบกับสินค้าจากต่างประเทศ หรือราคาที่เค้าใช้จ่ายอยู่แล้วปัจจุบัน

สิทธิบัตรการออกแบบอันนี้ได้ถูกขอใช้สิทธิบัตรไปผลิตสู่ commercial แล้วก็เราคาดหวังว่าจะเป็นราคาที่จับต้องได้ในท้องตลาดทั่วไปจะได้เข้าถึงผู้สูงอายุ กับผู้ป่วยได้จริงๆ และนี่คือผลงานเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารสำหรับผู้สูงอายุและผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกจากรองศาสตราจารย์ ดร.สิงห์ อินทรชูโต ในวันนี้ขอบคุณอาจารย์มากที่สละเวลาให้มาร่วมรายการกับทางเราค่ะ        แล้วก็นี่นะคะนี่คือ live ของ KULIB talk ในวันนี้นะคะ ซึ่งแขกรับเชิญในเทปต่อไปของเราจะเป็นใครก็ขอให้กดติดตาม facebook ของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือ Line : @kulibrary เพื่อที่จะไม่พลาดข่าวสารที่น่าสนใจจากทางสำนักหอสมุดค่ะ สำหรับวันนี้ขอบคุณที่ติดตามชม สวัสดีค่ะ

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

คู่มือดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง

กายภาพบำบัดในผู้ป่วยภาวะวิกฤต 

คู่มือการดูแลผู้ป่วยทางอายุรศาสตร์

103 สูตรอาหารคาวสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง

คู่มือดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต และผู้ป่วยที่ต้องการความช่วยเหลือเบื้องต้น

ดูแลกันในวันลืมเลือน

เทคโนโลยีอุปกรณ์งานอาหาร

Fundamentals of care : a textbook for health and social care assistants

Intensive care of the surgical patient

Sustainability in fashion and textiles : values, design, production and consumption


 
 
 
1xbet casino siteleri bedava bahis kaçak bahis superbetin yeni giriş casino siteleri