KULIB TALK | EP.51 | เครื่องลอกเยื่อเมล็ดมะละกอ

“เครื่องลอกเยื่อเมล็ดมะละกอ ภาควิชาวิชาวิศวกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน”

พิธีกร : สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่รายการ Kulib talk ครับผม ผมเฉลิมเดช เทศเรียนรับหน้าที่พิธีกรในวันนี้นะครับ และในวันนี้เองเราก็ได้พาทุกท่านเข้ามาที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนนะครับ และวันนี้เราจะพาทุกท่านมารู้จักผลงานที่มีชื่อว่า เครื่องลอกเยื่อเมล็ดมะละกอซึ่งเป็นผลงานจากภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสนนะครับ และวันนี้เราก็อยู่กับอาจารย์ผู้ที่คิดค้นผลงานนี้ขึ้นมานั่นก็คือ ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัตินะครับ ซึ่งตอนนี้ท่านอาจารย์ก็อยู่กับเราแล้วนะครับ ขอต้อนรับอาจารย์ครับผม

“สวัสดีครับอาจารย์ ยินดีต้อนรับเข้าสู่รายการ kulib talk ครับ“

คำถาม : ผลงานที่ชื่อว่าเครื่องลอกเยื่อหุ้มเมล็ดมะละกอ อยากจะทราบแนวคิดในการพัฒนาผลงานชิ้นนี้ขึ้นมาครับ

ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ : ก็ได้โจทย์มาจากเกษตรกรที่ทำการเพาะต้นมะละกอ คือว่ากรรมาวิธีในการเพาะค่อนข้างยุ่งยากและใช้เวลานานครับ เกษตรกรเลยให้โจทย์มาว่าอยากให้พัฒนาเครื่องลอกเยื่อให้ใช้งานได้และลดเวลาในการปลูก…โดยปกกติแล้วเวลาเกษตรกรปลูกถ้าใช้ในการทำเป็นต้นกล้าจะใช้เวลา 2 วัน ก็คือนำเมล็ดไปแช่น้ำอุ่นเพื่อให้เยื่อที่หุ้มเมล็ดเปื่อยและเน่า และใช้มือขยี้ให้ตัวเยื่อหลุด ซึ่งเยื่อตัวนี้ก็มีผลต่อการงอกเมล็ดมะละกอครับ เราก็เลยนำแนวคิดนี้มาพัฒนาเป็นเครื่องดังกล่าวคือทำให้มันสามารถลอกเยื่อได้เลยโดยที่ไม่ต้องแช่น้ำ 48 ชั่วโมงครับ

คำถาม : ซึ่งก็แปลว่าเครื่องนี้ช่วยเกษตรกรในการลดระยะการปลูกต้นมะละกอใช่ไหมครับ ?

ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ : ใช่ครับ

คำถาม : อยากทราบข้อแตกต่างนอกเหนือจากการย่นระยะเวลาการลอกเยื่อเมล็ดระหว่างวิธีแบบดั้งเดิมและแบบใหม่ มีอะไรที่ช่วยเกษตรกรอีกครับ…

ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ : ในส่วนของแรงงาน แรงงานที่จะมาใช้ในการทำการขยี้เยื่อออกครับ และเปลี่ยนมาใช้เครื่องจักรเลยคือใช้คนแค่คนเดียวก็เสร็จเลยครับ

คำถาม : นำเอาเมล็ดที่จะลอกใส่ได้เรื่อยๆเลยไหมครับ ?

ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ : ตัวเครื่องนี้จะเป็นตัวเครื่องที่ทำงานแบบต่อเนื่อง คือพอเราใส่เมล็ดแล้ว เครื่องก็จะทำการขัดและออกมาทาง2ช่องนี้ (ชี้ไปที่ช่องเครื่องจักร) คือเราก็สามารถป้อนเมล็ดได้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆเลยครับจนกว่าเมล็ดที่เราต้องการเตรียมจะเสร็จครับ…

คำถาม :  “เรียกว่าใส่ได้เรื่อยๆเลย น่าจะช่วยทุ่นแรงให้กับเกษตรกรเพราะว่าปริมาณเมล็ดมะละกอมีจำนวนมากต่อการผลิตครั้งหนึ่ง”

ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ : ใช่ครับ

คำถาม : ระยะเวลาการทำก่อนที่จะได้เครื่องนี้มา ใช้ระยะเวลาเท่าไหร่ครับ ?

ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ : คร่าวๆก็ประมาณหนึ่งปีครับ เป็นโปรเจคที่ให้แก่นิสิตปริญญาตรีในการค้นคว้าหาข้อมูลและพัฒนาเครื่องตัวนี้ขึ้นมา โดยในเทอมแรกเค้าก็หาข้อมูลว่าวิธีการลอกเยื่อต่างๆที่เหมาะสม และทำการออกแบบเป็นตัวเครื่องขึ้นมา ส่วนในเทอมที่สองเค้าก็จะเริ่มลงมือทำและพัฒนาสร้างเครื่องขึ้นมาและทำการทดสอบครับ

คำถาม : สมมุติว่ามีแบบเรียบร้อยแล้ว จะใช้เวลาผลิตนานไหมครับ

ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ : ประมาณเดือนเดียวก็สามารถสร้างเสร็จได้ครับ…

คำถาม : “จากที่ดูก็จะมีส่วนประกอบของมอเตอร์ โครงสร้างเหล็กต่างๆ อันนี้รู้สึกจะเป็นโปรเจคของนิสิตปริญญาตรี “  ที่นี่โปรเจคปริญญาตรีเป็นเดี่ยวหรือกลุ่มครับ ?

ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ : เป็นกลุ่ม หรือเดี่ยวมีหมดครับ แล้วแต่ว่านิสิตอยากทำเดี่ยวหรือกลุ่ม ที่ภาควิชากำหนดให้หนึ่งกลุ่มมีสองคน คือสามารถทำคนเดียวก็ได้หรือว่าทำเป็นคู่ก็ได้…

คำถาม : เครื่องนี้มีการทดลองอย่างไรบ้างครับว่า เห็นในผลงานอาจารย์จะมีเรื่องของตัวกรอง ขนาดครับ ?

ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ : เงื่อนไขจริงๆถ้าเราดูก็จะเริ่มจาก ลูกกลิ้ง ลูกกลิ้งตัวนี้เราก็จะใช้สองตัวครับ เงื่อไขของเราตัวแรกคือวัสดุที่ห่อหุ้มลูกกลิ้ง ที่ทดสอบก็จะมีหลายแบบมีทั้งเป็นผ้าดิบ ผ้ายีนส์และเป็นตัวของแปรงขัดล้างจานตัวนี้ครับ เงื่อนไขที่สองคือระยะห่างระหว่างลูกกลิ้ง ซึ่งก็จะแปลผันกับตัวเมล็ด ส่วนต่อไปนะครับพอมันโดนขัดจากชุดนี้เสร็จแล้ว เราสังเกตุว่าลูกกลิ้งนี้มีการหมุนเพราะฉะนั้นทิศทางการหมุนก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง อาจจะหมุนทิศทางเดียวกันหรือตรงข้ามกันก็ได้ นอกจากนี้แล้วยังมีในส่วนของความเร็วที่ใช้ของลูกกลิ้งครับ

คำถาม : ความเร็วลูกกลิ้งเราสามารถปรับระดับได้ไหมครับ หรือเราตั้งไว้เหมาะสมแล้ว ?

ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ : ในส่วนขั้นทดลองเราสามารถปรับความเร็วลูกกลิ้งได้จนได้ความเร็วที่เหมาะสม พอได้ความเร็วที่ต้องการแล้วก็ทำการออกแบบ ดีไซน์ ระบบส่งกำลังต่างๆให้ได้ระบบตามที่เราต้องการ ก็คือตอนนี้อยู่ในขั้นที่ทดสอบโดยใช้มอเตอร์ที่สามารถปรับความเร็วได้อยู่ครับ

คำถาม : รูนี้คือรูไว้สำหรับกรองหรือเปล่าครับอาจารย์ (รูของเครื่องจักร)

ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ : ตัวรูนี้เป็นตัวสุดท้ายนะครับ ที่เป็นตะแกรงรู…. ในส่วนที่เราออกแบบไว้ก็คือตัวรูจะสัมพันธ์กับเมล็ดที่เป็นเมล็ดที่ลอกเยื่อแล้ว ก็คือเราจะให้มีขนาดใกล้เคียงกับเมล็ดที่ลอกเยื่อแล้วเพื่อที่…พอลูกกลิ้งตัวนี้วิ่งมาขัดหรือสัมผัสกับเมล็ดมะละกอแล้วมันก็จะดันเมล็ดมะละกอลงรูไป…และอีกส่วนหนึ่งถ้ามันไม่ลงรูไป มันก็จะถูกขัดกับผิวขรุขระครับ ก็จะวิ่งออกมาทางฝั่งนี้อ่ะครับ…เพราะฉะนั้นรูตรงนี้ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่เราต้องศึกษาครับ…

คำถาม : จากการศึกษาขนาดรูแล้ว ได้ขนาดที่เหมาะสมเท่าไหร่ครับ?

ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ : อยู่ที่เส้นผ่าศูนย์กลาง 6 มิลลิเมตรครับ

คำถาม : ขอสอบถามในเรื่องของมะละกอบ้างนะครับ มะละกอแต่ละสายพันธุ์มีขนาดเมล็ดและเยื่อหุ้มแตกต่างกันไหมครับ?

ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ : มีความแตกต่างกันครับ ตัวนี้ก็เป็นอีกตัวปัจจัยที่เราต้องศึกษาครับ ก็คือโปรเจคนี้ก็เลยทำการปรับขนาดระยะลูกกลิ้งเข้าออกได้ครับ และแผ่นตะแกรงจริงๆก็มีการทำเพิ่มเติมไว้หลายขนาดเพื่อให้ปรับเปลี่ยนไปใช้ได้ครับ…

คำถาม : ก็คือผู้ที่ใช้เครื่อง สามารถที่จะปรับระยะห่างได้ด้วยตนเอง และเปลี่ยนแผ่นกรองได้ แสดงว่าเครื่องนี้ก็จะซัพพอร์ทมะละกอสายพันธุ์ต่างๆที่มีรูปร่างและเมล็ดแตกต่างกัน…. คราวนี้ก็ทราบถึงรายละเอียดและความเป็นมาของตัวเครื่องแล้ว ตอนนี้อยากเห็นขั้นตอนการทำงาน สามารถที่จะโชว์ตรงนี้ได้ไหมครับ ?

ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ : ได้ครับ ขอเชิญทีมงานครับ

ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ : ก็คือส่วนของตัวเมล็ดก็จะใส่เข้าไปในช่องนี้ครับ (ชี้ไปที่ช่องเครื่องจักร) เมล็ดก็จะไหลผ่านเข้าสู่ตัวป้อนนะครับ แล้วก็วิ่งผ่านช่องตัวลูกกลิ้งสองลูก พอผ่านลูกกลิ้งตัวนี้ก็จะมีการผลัดตัวเยื่อหนึ่งครั้ง และก็วิ่งไหลลงมา ชุดที่สองก็จะมีการผลัดที่เป็นแผ่นตะแกรงตรงนี้อ่ะครับอีกรอบหนึ่งครับ….

 “ซึ่งทางด้านนี้เองก็จะเป็นตัวเมล็ดที่มีขนาดเล็กกว่ารูที่เราใส่ในเครื่องกรองไว้ (ฝั่งด้านซ้ายของภาพ) แต่ก็เมล็ดหลักๆก็จะออกทางด้านอาจารย์นะครับ …. ก็ค่อนข้างออกมาไวนะครับอาจารย์ใส่ไปสักพักเมล็ดก็ออกมาเลย ฝั่งทางอาจารย์ (ฝั่งทางขวาในภาพ) คือเป็นฝั่งที่มีการปลอกเยื่อหุ้มเมล็ดออกไปแล้วนะครับ ส่วนทางฝั่งผมเองก็เป็นเมล็ดที่มีขนาดเล็กกว่ารูเครื่องกรองครับ “

“อันนี้ก็จะเป็นตัวอย่างกระบวนการของเครื่องที่ปลอกเยื่อหุ้มเมล็ดมะละกอนะครับ “

คำถาม : จากที่อาจารย์บอกว่าไปซึกษาดูในเครื่องโรงสี ไอเดียมาจากส่วนนั้นหรือเปล่าครับ ?

ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ : จริงๆไอเดียมาจากหลายส่วนมากครับ ก็คือส่วนแรกผมก็ได้ไปดูจากข้อมูลที่เค้าเคยพัฒนาเครื่องมา เค้าก็ใช้หลักการที่เป็นแผ่นเหล็กแล้วก็เจาะรูให้มีชนาดเท่าตัวเมล็ดแล้วใช้ลูกกลิ้งเหล็กบดให้ตัวเมล็ดผ่านรูไป โดยมีข้อเสียคือตัวเมล็ดมันอาจจะถูกบดแล้วไม่ได้ผ่านรูคือไปผ่านตัวเนื้อเหล็กเองทำให้เมล็ดเสียหายได้ ส่วนที่สองก็คือลูกกลิ้งหมุนสองตัวคือผมได้ไปศึกษาข้อมูลจากเครื่องสีข้าว คือเค้าใช้ลูกกลิ้งในการสีเปลือกข้าวให้หลุด ก็เลยนำมาพัฒนาร่วมกันให้เป็นสองส่วนเพื่อที่จะได้ทำการคัดเยื่อให้มันมีสองระบบเกิดขึ้น ให้มันขัดได้สะอาดมากขึ้นครับ…

คำถาม : สำหรับในส่วนของการต่อยอดเราก็ได้ทราบจากที่อาจารย์กล่าวไปแล้วนะครับ คราวนี้อยากจะสอบถามอาจารย์ในเรื่องของ เครื่องนี้เคยมีใครเคยคิดค้นมาก่อนหรือเปล่าครับ?

ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ : มีครับ คืออย่างที่ผมกล่าวไปคือเค้าก็ได้มีการพัฒนามาหลายเครื่องเหมือนกันครับ แต่ว่าเค้าใช้เป็นอย่างที่บอกครับเป็นแผ่นเหล็กตรงๆแล้วก็มีรู แล้วก็ใช้ลูกกลิ้งเหล็กบด ผมก็คิดว่าตัวนั้นก็ใช้ได้จริงแต่มีเปอร์เซ็นต์ที่เมล็ดเสียหายเยอะก็เลยเปลี่ยนครับ ก็เท่าที่ศึกษามาก็มีประมาณนี้ครับ

คำถาม : ในส่วนของตัวเครื่องเมื่อเรามีการผลิตจัดทำแล้ว ต้องมีการจดลิขสิทธิ์ไหมครับ ?

ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ : ถ้าเครื่องสมบูรณ์แล้วอาจจะมีการจดอนุสิทธิบัตรครับ เพื่อเป็นผลงานของทางคณะครับ และก็อาจจะมีการเผยแพร่ให้เกษตรกรทั่วไปได้ชมตามงานเกษตรต่างๆครับ

คำถาม : ในเชิงพาณิชย์ต่อไปล่ะครับ ?

ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ : เราเป็นหน่วยงานของราชการเรายังไมได้คิดส่วนนี้ไว้ครับ ก็คือในส่วนของภาควิชาก็อาจจะแค่เผยแพร่ความรู้ให้แก่ผู้ที่สนใจ หรือเกษตรกรครับ

คำถาม : ณ ปัจจุบันต้นทุนเครื่องนี้เท่าไหร่ครับ

ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ : จริงๆผมยังไม่ได้รวมข้อมูลมาครับ แต่คร่าวๆก็คือไม่น่าจะเกินหนึ่งหมื่นบาทต่อเครื่องครับ

คำถาม : อายุการใช้งานล่ะครับ ?

ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ :  อายุการใช้งานในส่วนนี้เรายังทดสอบพัฒนาเรื่อยๆครับ เรายังไม่ได้รันเครื่องทิ้งไว้นานๆครับ ก็เลยยังไม่ทราบข้อมูลในส่วนนี้ครับ…

คำถาม : เบื้องต้นที่อาจารย์แจ้งก็คือาจจะต้องเปลี่ยนในส่วนของตัวนี้ พอใช้งานไปก็อาจจะต้องเปลี่ยนคือตัวครอบวงล้อ

ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ : คือมันมีข้อเสียตรงตัวเยื่อตัวนี้อ่ะครับ (ชี้ไปที่เครื่อง) คือแผ่นล้างครับ …. เยื่อมะละกอเวลาขัดไปเรื่อยๆมันก็จะมาติดอยู่แผ่นล้าง พอแผ่นขัดมีเยื่อติดเยอะๆมันจะทำให้การลอกเยื่อเป็นไปได้ต่ำครับ….

คำถาม : อันนี้เป็นข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับผลงานที่ชื่อว่า เครื่องลอกเยื่อหุ้มเมล็ดมะละกอ ที่อาจารย์ได้ร่วมกับนิสิตคณะตัวเองเนี่ยได้ร่วมกันพัฒนาออกแบบขึ้นมานะครับ… ทีนี้อยากจะให้อาจารย์ฝากสำหรับเด็กๆรุ่นใหม่ที่อยู่ในช่วงของมัธยมปลายที่จะต้องเข้ามหาลัย สำหรับเด็กที่สนใจอยากจะเรียนในภาควิชาวิศวกรรมเกษตร อาจจะต้องเตรียมข้อมูลอะไรที่จะเข้ามาเรียนคณะนี้ คือบางคนอาจจะดูรายการนี้และอาจจะได้ไอเดียว่ามันเป็นทางของเราและอยากจะมาออกแบบเครื่องเพื่อพัฒนาให้แก่เกษตรกรครับ…. เรียนให้อาจารย์ฝากน้องๆครับ

ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ : สำหรับภาควิชานะครับ ภาควิชาก็เป็นภาควิชาวิศวกรรมเกษตรนะครับ ก็เป็นภาควิชาพี่พัฒนาเครื่องจักรกลไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักรที่ทำงานก่อนเตรียมแปลง ก่อนเก็บเกี่ยว หรือหลังการเก็บเกี่ยวครับ ซึ่งตัวภาควิชาเองก็เรียนเป็นวิศวะครับ จริงๆก็ได้ใบประกอบเป็นวิซวะ กว.ครับ ก็คือได้ใบประกอบวิชาชีพของเครื่องกล แต่ว่าเราจะเน้นพัฒนาในด้านของการเกษตรครับ ถ้าน้องๆคนไหนสนใจที่จะร่วมมือ พัฒนาเครื่องจักรการเกษตรบ้านเราให้เจริญและมีเครื่องจักรเครื่องมือให้พร้อมก็เรียนเชิญมาเรียนที่ภาควิชาได้ครับ

คำถาม : ก่อนจบรายการขอทิ้งทวนอีกคำถามนะครับ ตัวเครื่องที่ได้กล่าวไปเบื้องต้นเป็นโปรเจคที่ทางคณะและอาจารย์พัฒนาขึ้นมา อยากทราบว่ามีหน่วยงานอื่นที่มีการเชื่อมโยงหรือว่าการทำงานร่วมกันไหมครับ ?

ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ : ในส่วนของหน่วยงานอื่น ….จริงๆเราได้โจทย์เครื่องนี้มาจากภาควิชาพืชสวนครับ คือเค้าแจ้งมาที่ภาควิชาพืชสวน และภาควิชาพืชสวนก็ได้แจ้งมาที่เราอีกที เราก็ร่วมมือกับภาควิชาพืชสวนและพัฒนาขึ้นมาครับ และอาจจะมีหน่วยงานอื่นที่แจ้งเข้ามาก็จะเป็นการพัฒนาเครื่องหลายๆเครื่องของภาควิชาเหมือนกันครับผม

พิธีกร : เพราะฉะนั้นหลายๆเครื่องที่พัฒนาขึ้นมาก็จะได้รับโจทย์มาจากเกษตรกรที่ประสบปัญหาจริง และก็อาจจะมาจากภาควิชาพืชสวนหรือภาควิชาที่เกี่ยวข้องกับคณะเกษตรกำแพงแสนเองนะครับ…และทางที่คณะวิศวกรรมเกษตรเองก็จะดูโจทย์และออกแบบพัฒนาเครื่องจักรกลที่ทุ่นแรง ลดระยะเวลาให้เกษตรกรเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตทางการเกษตรของประเทศเรานะครับผม วันนี้เราก็ได้รับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเครื่องลอกเยื่อเมล็ดมะละกอนะครับ ในเครื่องนี้เองดูแล้วก็ค่อนข้างที่จะช่วยเกษตรกรได้เป็นอย่างดีนะครับในเรื่องของการเกษตร การผลิต การเตรียมเมล็ดพันธุ์ที่จะนำไปเพาะปลูกต่อ ซึ่งมีปัญหาดังที่อาจารย์กล่าวมา อันนี้ก็จะเป็นปัญาที่เกษตรกรเจอและอาจารย์ได้คิดค้นแบบมาเพื่อแก้ปัญหาให้เกษตรกร  ท่านผู้ชมที่ชมรายการเราหากสนใจเครื่องนี้นะครับก็สามารถที่จะติดต่อได้ที่ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์กำแพงแสนได้นะครับ โดยติดต่อผ่านทาง ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ นะครับ วันนี้เองก็ขอขอบพระคุณอาจารย์มากครับที่ให้ความรู้แก่เราครับ…

“สำหรับท่านผู้ชมที่ติดตามรายการ KULIB talk นะครับ ในวันนี้ก็ขอขอบพระคุณทุกท่านมากครับ หากอยากทราบว่าในเทปหน้าจะเป็นเรื่องอะไรก็สามารถติดตามได้ทาง fanpage สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นะครับผม สำหรับวันนี้ก็ขอขอบคุณทุกท่านมากนะครับผม สวัสดีครับ….

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

รวมผลงานของผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ ในคลังความรู้ดิจิตอล มก.ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ ในคลังความรู้ดิจิตอล มก.

ผลของ ABA ต่อการยับยั้งการงอกในผลของเมล็ดมะละกอ/ ปุณิกา กุลพงค์

ผลของสภาพการเก็บรักษาต่อคุณภาพของเมล็ดมะละกอพันธุ์แขกดำ / ทรงศิลป์ พจน์ชนะชัย

ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเมล็ดมะละกอ / อภิญาณ์ หทัยธรรม

การออกแบบเครื่องจักรกลเกษตร / พยุงศักดิ์ จุลยุเสน
เครื่องจักรกลเกษตรและการจัดการผลิตพืช / สุรเวทย์ กฤษณะเศรณี

การออกแบบเครื่องจักรกลเกษตร 1 / ธัญญา นิยมาภา

Advances in agricultural machinery and technologies / edited by Guangnan Chen

Agricultural machinery design and data handbook : seeders and planters

Japan agricultural machinery and engines

Development status and prospect of intelligent agricultural machinery equipment.

Research on intelligent agricultural machinery control platform based on multi-discipline technology integration.

Risk analysis of highly automated agricultural machinery and development of safety requirements for machine and use.

Effect of cryo-storage on germinability and biochemical changes in papaya (Carica papaya L.) seeds.

 

 


 
 
 
1xbet casino siteleri bedava bahis kaçak bahis superbetin yeni giriş casino siteleri