ผลงานนวัตกรรมพาสเตอร์เส้นใยนาโน

KULIB TALK | EP.47 | ผลงานนวัตกรรมพาสเตอร์เส้นใยนาโน

Kulib talk พาทุกท่านมาที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ศรีราชา เรามีนัดกับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทองใส จำนงการ ผู้ซึ่งได้รับรางวัลบุคลากรสายวิชาการและนักวิจัยดีเด่นของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และเป็นเจ้าของผลงานนวัตกรรมพาสเตอร์ปิดแผลเส้นใยนาโน

พิธีกร : สวัสดีค่ะ ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่การไลฟ์ ผ่านการไลฟ์เฟสบุ๊คของสำนักงานหอสมุดในรายการ kulib talk ค่ะ ดิฉัน ศรัญญาภรณ์ โชลิตกุลค่ะ แล้ววันนี้นะคะเรามาอยู่กันที่คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ศรีราชาค่ะ เพื่อร่วมพูดคุยกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.ทองใส จำนงการ ค่ะ ซึ่งเป็นอาจารย์ที่มีผลงานวิจัยโดดเด่นและได้รับรางวัลค่ะ…ผลงานล่าสุดของท่านคือพาสเตอร์ปิดแผลเส้นใยนาโนค่ะ ขอต้อนรับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.ทองใส จำนงการค่ะ

พิธีกร: สวัสดีค่ะ อาจารย์

ผศ.ดร.ทองใส จำนงการ : สวัสดีครับคุณศรัญญาภรณ์ และสวัสดีผู้รับฟัง kulib talk ทุกท่านนะครับ

พิธีกร : อยากให้อาจารย์ได้แนะนำตัวให้กับพวกเราได้รู้จักอาจารย์อีกครั้งค่ะ

ผศ.ดร.ทองใส จำนงการ : สวัสดีครับ ผมอาจารย์ ทองใส จำนงการครับ จากคณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา ปัจจุบันก็เป็นอาจารย์ประจำสาขาเคมีของภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานและพลศึกษาครับ

พิธีกร : อยากทราบที่มาที่ไปของงานวิจัยชิ้นนี้ค่ะ

ผศ.ดร.ทองใส จำนงการ : ที่ไปที่มาคือ ทางผมเองได้พูดคุยกับทีมวิจัยของผมว่า สภาวะการปัจจุบันเราจะทำงานวิจัยอะไรบ้างที่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆของประเทศได้ ซึ่งก็พบว่าปัญหาหนึ่งของประเทศก็คือการนำเข้าเวชภัณฑ์ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นเวชภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ ซึ่งถ้าเราย้อนดูข้อมูลเราจะพบว่า ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมปรพเทศไทยเรานำเข้าเวชภัณฑ์หล่านี้เยอะ ก็เพราะว่าประเทศของเรากำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุครับ ซึ่งผมมองว่าจะเป็นกลุ่มบุคคลที่เป็นกลุ่มบุคลจำนวนมากที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ทางผมเองก็พยายามที่จะสู้ปัญหาเหล่านี้โดยการคิดการวิจัยที่จะสามารถช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ ซึ่งเราพบว่าหนึ่งในการนำเข้าของเวชภัณฑ์จำนวนมากก็คือผ้าปิดแผล เราก็เลยมีความคิดว่าเราจะมีงานวิจัยอะไรบ้างที่สามารถผลิตเป็นนวัตกรรมได้ และหนึ่งในนั้นที่เราสนใจมากก็เป็นในเรื่องของผ้าปิดแผล

พิธีกร: แล้วทำไมผ้าปิดแผลต้องเป็นเส้นใยนาโนด้วยคะ ?

ผศ.ดร.ทองใส จำนงการ : ผ้าปิดแผลโดยทั่วๆไปเราจะพบว่าผ้าปิดแผลของเรา เส้นใยที่เรานำมาทำจะมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่มากๆซึ่งอยู่ในระดับไมคอนหรือไมโครเมตรนั่นเอง ซึ่งเมื่อเราเปรียบเทียบกับเส้นใยนาโน หรือนวัตกรรมของผมก็จะมีขนาดเล็กมาๆ ถ้าทุกคนนึกภาพไม่ออกให้ลองจินตนาการถึงฝุ่น pm2.5 เราจะพบว่าเราพูดปัญหาเรื่องฝุ่น pm2.5มาก ซึ่งทุกคนเข้าใจว่าเป็นอนุภาคที่มีขนาดเล็กแล้ว แต่เมื่อเทียบกับเส้นใยนาโนที่ผมผลิตขึ้นมาก็มีความแตกต่างกันเยอะ เนื่องจากเส้นใยจะมีขนาดเล็กกว่า ผมมีภาพภาพนึงอยากนำเสนอเป็นภาพของงานวิจัยท่านหนึ่งของต่างชาติ อันนี้เค้าทำการวัดขนาดของเส้นใยเปรียบเทียบระหว่างเส้นผมมนุษย์กับอนุภาคฝุ่นที่มีขนาดเล็กในระดับไมคอน หรือว่าที่ผมยกตัวอย่างเมื่อกี้ก็คือเปรียบเทียบกับ pm2.5 จะเห็นว่าเส้นใยนาโนจะมีขนาดเล็กมาๆ

พิธีกร: เวชภัณฑ์ที่นำเข้ามามีขนาดใหญ่และแพงเลยเป็นที่มาของงานวิจัยของอาจารย์

ใช่ไหมคะ?

ผศ.ดร.ทองใส จำนงการ : ใช่ครับผม ต้องเรียนไว้ก่อนเลยครับว่าถึงแม้เราจะมีขาย…. แต่ในเรื่องของราคาค่อนข้างสูง ผู้ป่วยที่มีฐานะไม่ค่อยดี ก็จะเข้าไม่ถึงนวัตกรรมชุดนี้

พิธีกร : พอได้ที่ไปที่มาเรียบร้อยแล้ว กระบวนการใช้เวลาอย่างไรบ้างคะ ?

ผศ.ดร.ทองใส จำนงการ : กระบวนการเริ่มต้นเหมือนนักวิจัยท่านอื่นเลยครับ คือเริ่มจากปัญหา พอเราเจอปัญหาเราก็มาลองดูว่า สิ่งที่เรากำลังจะทำในตอนนี้มีใครทำแล้วหรือยัง ก็ปรากฏว่ามีนักวิจัยบางท่านก็ทำแล้วแต่นั่นไม่ใช่ปัญหาในการทำวิจัยของเรา แต่ว่าสิ่งที่เราต้องเทียบคืออะไรคือความแตกต่างจากสิ่งที่เค้าทำมาแล้ว ก็เลยเป็นที่มาว่าเราลองผลิตเส้นใยนาโนที่มันมีความแตกต่างจากนักวิจัยท่านอื่น ก็พยายามค้นหาในอินเทอร์เน็ตต่างๆดูว่าเค้าทำอะไรมาบ้างเพื่อหาความแตกต่างสร้างเป็นนวัตกรรมเกิดขึ้นครับ….

พิธีกร : ในกระบวนการของอาจารย์มีวัสดุตัวใดที่ใช้ขึ้นรูปได้บ้างคะ ?

ผศ.ดร.ทองใส จำนงการ :   สำหรับงานวิจัยชิ้นนี้นะครับ ผมใช้ตัวของ ไบโอ พอลิเมอร์นะครับ หรือพูดง่ายๆนะครับก็คือพอลิเมอร์ชีวภาพในการขึ้นรูปครับ เนื่องจากว่าผลิตภัณฑ์ที่เราใช้คือใช้กับมนุษย์ ฉะนั้นอันดับแรกที่เราต้องตระหนักคือเรื่องของ safety นอกจากเรื่อง safety แล้วสิ่งหนึ่งที่เราต้องพิจารณาคือ คุณสมบัติเชิงกล คือในเรื่องของความนิ่ม ความนุ่ม วัสดุต้องไม่ระคายเคืองต่อผิวหนังมนุษย์ สำหรับงานวิจัยชิ้นนี้ครับ ผมจะใช้ในตัวของ PLA นะครับ เนื่องจากว่าสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติและก็ไม่เป็นพิษต่อมนุษย์ด้วย แต่อย่างไรก็ตามไม่ใช่เฉพาะตัวของ PLA ที่จะสามารถขึ้นรูปด้วยเทคนิคนี้…โพลิเมอร์แทบทุกตัวสามารถขึ้นรูปด้วยกระบวนการนี้ได้หมดเลย ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับว่าแอพลิเคชั่น หรือปลายทางว่าเราจะนำไปใช้ประโยชน์ทางด้านไหน ถ้าเกิดว่าเรานำไปใช้ประโยชน์ด้านที่ไม่เกี่ยวกับมนุษย์เราอาจจะใช้โพลิเมอร์ชนิดไหนก็ได้ เพราะว่าอย่างที่ผมได้เรียนนะครับว่าในตัวของ nonwovensหรือผ้าแบบไม่ถักทอตัวนี้สามารถใข้ประโยชน์ได้หลายอย่างเลย ต้องเรียนตามตรงครับว่าไม่ใช่เฉพาะพาสเตอร์ปิดแผล ยังสามารถใช้เป็นพวกเมมเบรน ในเรื่องของเมมเบรนในแบตเตอร์รี่ หรือว่าใช้มากมายในผลิตภัณฑ์เลยครับ ผมมีตัวอย่างอย่างที่บอกครับว่าตัวของ nonwovens ใช้ได้หลายตัวเลยครับไม่ว่าในเรื่องของอุตสาหกรรมรถยนต์ใช้ได้หมดเลย หรือว่าเป็นผ้ากรอง แผ่นกรอง ใยกรองอากาศในเครื่องปรับอากาศ หรือว่าทำเป็นเทปผ้าปิดแผลพวกนี้ ด้วยลักษณะพื้นผิวของพวกนี้จะพบว่าพื้นผิวจะไม่เรียบ จะมีข้อดีตรงที่พื้นที่ผิวจะเยอะ พอพื้นที่ผิวเยอะโอกาสที่จะเกิดปฏิกิริยาหรือว่าโอกาสที่จะ รีริสสารที่มี functional หรือสารออกฤทธิ์ก็จะมีมากขึ้น อันนี้ก็เป็นข้อดีของมันครับ…

พิธีกร : ทราบมาว่าอาจารย์มีทีมทำวิจัยด้วยใช่มั้ยคะ ทีมงานวิจัยของอาจารย์มีกี่ท่านคะ ?

ผศ.ดร.ทองใส จำนงการ :   อย่างที่ผมได้เรียนไป เชื่อว่าผู้ชมทุกท่านจะรับทราบ การที่เราจะทำงานอะไรบางอย่างขึ้นมา เราไม่สามารถที่จะทำได้คนเดียวได้ เราต้องมีในส่วนของทีมงานหรือพาร์ทเนอร์ชิพ สำหรับงานชิ้นนี้ต้องเรียนตามตรงว่าผมมีผู้ร่วมงานทั้งในประเทศและต่างประเทศด้วย ช่วยกันพัฒนา…เพราะแต่ละท่านจะมีในส่วนของ specialist ต่างกัน ดังนั้นเราก็จะรวมนักวิจัยเพื่อที่จะผลิตตัวนวัตกรรมเส้นใยตัวนี้เกิดขึ้นครับ…

พิธีกร : ด้วยงานวิจัยที่เป็นเส้นใยนาโน …. เส้นใยนาโนดีกว่าเส้นใยที่เคยมีมาอย่างไรบ้างคะ?

ผศ.ดร.ทองใส จำนงการ :   ด้วยขนาดที่เป็นเส้นใยที่มีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับเส้นใยขนาดไมคอนหรือเส้นใยที่เค้าได้ผลิตพาสเตอร์ ในเรื่องนี้มีข้อดีในเรื่องของเราสามารถโหลดตัวยาเข้าไปในเส้นใยให้มีปริมาณมากขึ้น พอเส้นใยมีปริมาณตัวยามากขึ้น โอกาสที่ยาของเราจะถูกปลดปล่อยออกมาจากเส้นใยก็จะมีมากขึ้น และอีกประเด็นหนึ่งคือเนื่องจากเส้นใยมีขนาดเล็ก เวลาที่เราเกิดบาดแผล ปริมาณของเส้นใยก็จะมีโอกาสได้สัมผัสกับบาดแผลมากขึ้น ฉะนั้นโอกาสที่ยาของเราจะถูกรีรีสเข้าสู่บาดแผลเพื่อที่จะรักษาบาทแผลหรือฆ่าเชื้อก็จะมีปริมาณมากขึ้น … แล้วก็ด้วยนวัตกรรมของเส้นใยตัวนี้ผมผลิตตัวของเส้นใยนาโนมาและลักษณะของผ้าที่ผมทำจะเป็นในลักษณะของ Nonwovens หรือพูดง่ายๆคือผ้าแบบไม่ถักทอ ก็คือว่าลักษณะจะเป็นลักษณะแบบนี้ (โชว์รูปในคลิป) ด้วยลักษณะของโครงสร้างจะมีลักษณะแบบถักกันไปถักกันมา เราจะเรียกผ้าที่มีเส้นใยลักษณะนี้ว่าผ้าแบบไม่ถักทอ ซึ่งตรงนี้มีข้อดีคือ 1.ในเรื่องของการระบายอากาศ การระบายอากาศจะดี ฉะนั้นเราจะไม่เจอปัญหาว่าพอเราใช้กับผู้ป่วย แผลผู้ป่วยจะไม่เกิดการแห้งซีด เราเจอปัญหาหนึ่งเวลาที่เราใช้ผ้าปิดแผลทั่วไปแผลของเราจะเกิดลักษณะขาวซีด ซึ่งเกิดจากว่าอากาศไม่ถ่ายเท พออากาศไม่ถ่ายเทก็จะขาวซีดนะครับ แต่ด้วยนวัตกรรมของเส้นใยนาโนที่มีการขึ้นรูปแบบไม่ถักทอก็จะแก้ปัญหาส่วนนี้ด้วย….

พิธีกร : พาสเตอร์ปิดแผลอีกแบบหนึ่งเวลาลอกจะเป็นแบบกาว เส้นใยนาโนก็แก้ปัญหานี้ด้วยใช่ไหมคะ?

ผศ.ดร.ทองใส จำนงการ :   ใช่ครับ แต่ผมต้องเรียนก่อนว่า ที่คาบกาวไม่เกี่ยวข้องกับเส้นใยนาโนไม่ว่าจะเป็นของนาโนหรือตัวของที่มีขนาดใหญ่ แต่คาบกาวที่เกิดขึ้น เกิดจากกระบวนการผลิตในกรณีที่เรา Fabricate ให้มันเป็นผลิตภัณฑ์ขายตามท้องตลาด ถ้าให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้นตัวที่ทางคุณพูดถึงคือเป็นในตัวของคาบกาวในส่วนนี้(โชว์รูปในคลิป) แต่นวัตกรรมที่ผมทำอยู่ตอนนี้คือจะเป็นตัวที่อยู่ข้างใน (ชี้ไปที่รูป) และทีเป็นไมคอนคือเป็นตัวข้างใน (อธิบายรูป) คาบกาวที่เกิดขึ้นจะไม่เกี่ยวข้องกับเส้นใยตรงนี้ครับ…

พิธีกร: กระบวนการทำเส้นใยนาโนยากไหมคะ?

ผศ.ดร.ทองใส จำนงการ :   เทคนิคที่ผมใช้คือเทคนิคค่อนข้างง่ายและสะดวกสามารถที่จะทำได้…เป็นที่ทราบกันดีว่าการขึ้นรูปนาโน หรือเส้นใยขนาดเล็ก เราสามารถขึ้นรูปได้หลายชนิดเลยไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ flash spinning หรือว่าตัวของ โบรว์เมเวทติ้ง สามารถขึ้นรูปได้หมดเลย แต่เครื่องไม้เครื่องมือพวกนั้นราคาค่อนข้างสูง แต่กระบวนการที่ทางผมได้พัฒนาขึ้นมาที่เราเรียกกันว่าระบบ electrospinning เป็นกระบวนการในการผลิตเส้นใยที่มีขนาดเล็กในระดับนาโน

พิธีกร : อาจารย์ช่วยให้คำอธิบายกระบวนการ Electrospinning ได้ไหมคะ ?

ผศ.ดร.ทองใส จำนงการ : กระบวนการนี้นะครับ process หลักๆนะครับ …ผมขออนุญาตโชว์รูปนิดนึง (อาจารย์โชว์รูป) ซึ่งถ้าเกิดเราดูเราจะเจอ3ปัจจัยหรือองค์ประกอบหลักๆก็คือ ส่วนแรกตัวที่ควบคุมการไหลของ polymer ตัวที่สองคือ voltage ตัวที่สามคือตัวรองรับ จริงๆเรามีแค่3องค์ประกอบตรงนี้ และเราสามารถที่จะได้ nonwovens ภายในขั้นตอนเดียว อันนี้เป็นข้อดีของระบบ Electrospinning เหมือนกัน ฉะนั้นด้วย3ข้อที่ผมพูดถึง สิ่งที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการดังกล่าวหลักๆคือมาจาก 2 parameter.   parameter แรกคือ processing parameter หรือพูดง่ายๆก็คือปัจจัยที่มาจากกระบวนการผลิต อะไรบ้างครับ ก็คือ voltage ที่เราให้เข้าไปก็คือในเรื่องของการต่างศักย์ที่เราให้เข้าไป เนื่องจากเทคนิคนี้คือเทคนิคที่เราให้กระแสไฟฟ้าเข้าไปที่ความต่างศักย์สูงๆเพื่อที่จะเอาชนะแรงตึงผิวของสารละลาย และทำให้ดึงตึงเส้นใยออกมา และเส้นใยก็จะถูกทำให้เป็นของแข็งกลายเป็นเส้นใยบนตัวของตัวรองรับ อย่างที่ผมบอกในพารามิเตอร์แรกคือ processing parameter ฉะนั้นกระบวนการต่างศักย์นั้นมีความสำคัญมากซึ่ง polymer แต่ละตัวจะมีความต่างศักย์ในการ apply ที่แตกต่างกัน อันดับที่สองคือตัวของฉากรับ(คอแลกเตอร์) ตัวฉากรับก็จะมีหลายแบบครับ มีทั้งแบบที่เป็นแบบคงที่ก็คือไม่มีการขยับเขยื้อน หรือถ้าเกิดเราต้องการที่จะควบคุมการจัดเรียงตัวของนาโนเราอาจจะมีการดีไซน์ตัวของคอแลกเตอร์ได้ โดยอาจจะมีการหมุนเกิดขึ้นเพ่อที่จะให้เส้นใยของเราให้มีการจัดเรียงตัวเป็นระเบียบมากยิ่งขึ้น ซึ่งก็จะช่วยในเรื่องของสมบัติเชิงกลด้วย อีกตัวนึงคือในเรื่องของการควบคุมการไหล ซึ่งหลังจากที่เราเตรียมพอลิเมอร์ให้อยู่ในรูปสารละลายเสร็จ เราต้องมีการควบคุมอัตราการไหลด้วย เพราะอัตราการไหลก็จะมีผลต่อขนาดของเส้นใยด้วย ไหลมากไหลน้อยก็จะมีผลโดยตรงต่อขนาดเส้นใยที่เราจะได้รับ ฉะนั้นปัจจัยแรกคือในเรื่องของ processing parameter ที่พูดในเรื่องของความต่างศักย์ คอแลกเตอร์ อัตราการไหล ตัวที่สองถือว่ามีความสำคัญมากๆเหมือนกันคือในเรื่องของ solution parameterหรือพูดง่ายๆคือปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสารละลาย ผมขอยกตัวอย่างนะครับ จริงๆมีเยอะเลย แต่ผมขอยกตัวอย่างที่เป็น main หลัก อย่างแรกเลยคือความหนืดของสารละลาย ค่าความสามรถในการนำไฟฟ้าด้วยอันนี้ก็มีผล ฉะนั้นในเรื่องของความหนืดหรือการนำไฟฟ้าของสารละลายมีผลต่อขนาดเส้นใยหมด ฉะนั้นความยากอยู่ที่สองparameterตรงนี้ และอีกparameterหนึ่งที่มีความสำคัญเหมือนกันคือ parameterที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ในที่นี้ที่ผมพูดถึงคือบรรยากาศรอบๆของกระบวนการขึ้นรูปเช่น ความชื้นสัมพัทธ์และอุณหภูมิเพราะทั้งความชื้นสัมพัทธ์กับอุณหภูมิเกี่ยวข้องกับกระบวนการการระเหยของ solvent ซึ่งอย่างที่บอกครับ parameter ค่อนข้างที่จะมีหลากหลาย แต่กระบวนการผลิตค่อนข้างง่าย ราคาถูก สะดวก สามารถทำเองได้

พิธีกร : กระบวนการนี้สามารถทำได้เองในประเทศไทยใช่ไหมคะ?

ผศ.ดร.ทองใส จำนงการ : ใช่ครับ

พิธีกร : นอกจากคุณสมบัติที่ดีในการทำพาสเตอร์ปิดแผลแล้ว แนวทางในอนาคตจะต่อยอดไปเส้นทางอื่นได้ไหมคะ ?

ผศ.ดร.ทองใส จำนงการ :   ผมเชื่อว่าเป็นความฝันของการวิจัยหลายท่าน…ผมเองก็เป็นหนึ่งในนั้น ในการทำงานวิจัยของผม ผมต้องการสร้างอะไรก็ตาม หรืออะไรบางอย่างเพื่อให้ทุกคนยอมรับในงานวิจัยของผม หมายความว่าผมจะทำอะไรสักอย่างให้ทุกคนยอมรับและนำไปใช้งานได้ ผมค่อนข้างที่จะชอบทำงานในลักษณะนี้ คือผมมองว่ามันเป็นโอกาสที่ดีที่เวลาที่เราเดินไปไหนต่างๆแล้วเจองานวิจัยเราก็ได้คิดว่า เอ้อ…นี่เป็นงานวิจัยจากสิ่งที่เราคิดหรือจากกลุ่มวิจัยที่เราคิดและใช้งานได้จริง ส่วนแนวทางในอนาคตคือคาดหวังว่าสามารถที่จะผลิตออกมาในสิ่งที่เป็น commercial life ได้ ตอนนี้ต้องบอกว่าเทคโนโลยีหรือว่าตัวของเดโม หรือผลิตภัณฑ์ที่โชว์อยู่ตอนนี้ มีความพร้อมนะครับ แต่ตอนนี้เราพยายามที่จะหา partner ship ที่จะมาลงในส่วนของ commercial life ครับ

พิธีกร : ถ้าเกิดโครงการนี้สำเร็จก็จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยมากเลยนะคะอาจารย์ ในเรื่องของค่าใช้จ่ายด้วย และเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้เองด้วย …. ทราบมาว่าอาจารย์ได้รับบุคคลากรดีเด่นในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ด้านการวิจัยในรุ่นอายุต่ำกว่า40ปีด้วย อยากทราบความรู้สึกของอาจารย์ว่าเป็นอย่างไรบ้างคะ?

ผศ.ดร.ทองใส จำนงการ :   ก่อนอื่นคือผมต้องบอกก่อนว่าผมรู้สึกดีใจและผมขอขอบคุณผู้บริหารทุกท่านที่มีส่วนในการผลักดันรางวัลนี้ คือรางวัลนี้เป็นที่รู้อยู่แล้วว่ามหาวิทยาลัยของเราได้มอบรางวัลให้แก่นักวิจัยทุกปีอยู่แล้วนะครับ และเป็นรางวัลที่ได้รับการเสนอชื่อจากคณะแต่ละคณะของมหาวิทยาลัยของเราเพื่อที่จะเข้าไปยังคณะกรรมการพิจารณาผลงานเพื่อที่จะได้รับรางวัล ก่อนอื่นผมต้องขอขอบคุณคณะผู้บริหารของคณะผมเองนะครับที่ทางผู้บริหารได้มองเห็นผลงานวิจัยขอผมและส่งผลงงานวิจัยของผมซึ่งเป็นเหมือนตัวแทนของคณะเข้าไปร่วมลุ้นรางวัล และขอบคุณที่สองคือขอบคุณคณะกรรมการพิจารณารางวัล ทุกท่านที่มองเห็นผลงานของผมว่ามันจะสามารถที่จะตอบสนองหรือว่าแก้ปัญหา หรือว่าที่จะใช้ประโยชน์ในประเทศชาติได้ก็รู้สึกยินดีและดีใจมากๆ เพราะผมเชื่อว่ารางวัลเป็นเหมือนตัวของแอคซิเลติ้ง เอเจ้น อย่างหนึ่ง เนื่องจากผมมองว่ารางวัลเป็นตัวกระตุ้นให้นักวิจัยผลิตผลงานวิจัยให้ได้คุณภาพมากขึ้น ผลพ่วงจากรางวัลแต่ละตัวจะเป็นตัวการันตีผลงานของเราทำให้เราพัฒนาต่อไปเรื่อยๆด้วย เช่นผมได้รับรางวัลจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และในปีต่อมาผมก็ได้รับคัดเลือกให้ไปเข้าร่วมนักวิจัยรุ่นเยาว์ในประเทศญี่ปุ่นผมก็นำเอาผลงานชิ้นนี้ไปนำเสนอด้วย อย่างที่ผมบอกครับว่ารางวัลผมมองว่าเป็นจุดเริ่มต้นเป็นกำลังใจที่ดีแก่นักวิจัยทุกท่านเลย ยังไงก็ขอให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ของเรามีรางวัลแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆนะครับเพื่ออนาคคตของนักวิจัยและเพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่นักวิจัยด้วย

พิธีกร : อยากให้ฝากอะไรสักนิด แก่นักวิจัยรุ่นใหม่

ผศ.ดร.ทองใส จำนงการ : ผมเองก็เป็นนักวิจัยรุ่นใหม่ ในมุมของผมคือรุ่นใหม่ในที่นี้คือไม่เกี่ยวกับอายุ แต่รุ่นใหม่คือคนที่อาจจะประสบการณ์ไม่ค่อยมี สำหรับผมเองก็เป็นรุ่นใหม่ ผมอยากจะแชร์ความรู้สึกให้กับนักวิจัยรุ่นใหม่อย่างเรา สิ่งแรกที่ผมมองคือในเรื่องของ comment ต่างๆจากผู้ทรงคุณวุฒิหรือจากนักวิจัยอาวุโส ถือว่ามีประโยชน์มากๆสำหรับการพัฒนางานของเรา ก่อนหน้านี้ผมเคยคิดว่าการที่ผมไปนำเสนอผลงานทางวิชาการต่างๆแล้วได้รับ comment กลับมา ต้องเรียนตามตรงว่า ณ เวลานั้นความรู้สึกของเรามีความรู้สึกว่างานวิจัยของเราไม่ดีหรอทำไมต้อง commentแบบนี้ด้วย… แต่ถ้าเกิดเราคิดกลับกัน ผมเอาคำเสนอแนะหรือคำ cemment จากผู้ทรงคุณวุฒิเหล่านั้นมาปรับงานวิจัยของผมก็จะทำให้งานวิจัยของผมสมบูรณ์มากขึ้น ฉะนั้นอันดับแรกผมอยากจะฝากถึงนักวิจัยรุ่นใหม่เลยสิ่งที่ต้องยอมรับและปรับตัวให้ได้เลยคือเรื่องของ comment ครับ commentถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ ส่วนตัวผมเองผมชอบออกงานพวก research expo เนื่องจากว่างาน research expo จะมีความแตกต่างจากงานประชุมวิชาการตรงที่ user จะเดินมาหาเองหมายความว่า user จะเดินมาแล้วถามว่า productจุดนี้สามารถแก้จุดนี้ได้ไหม ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ real จริงๆ ซึ่งตรงนี้มีความสำคัญมากในมุมผมครับ กลับมาที่อันดับแรกข้อที่หนึ่งคือเราต้องยอมรับ cemment เราต้องปรับ comment ให้งานของเรามีประโยชน์มากยิ่งขึ้น สิ่งที่สองที่สำคัญผมมองว่าคือ room model หรือพูดง่ายๆคือ idol ซึ่งต้องบอกว่า idolมีทุกวงการ งานวิจัยของเราเองก็เหมือนกัน เราต้องมองว่ามีนักวิจัยท่านไหนบ้างที่เราถือว่าเป็น idol ในประเทศไทยต้องบอกว่าเรามีนักวิจัยเก่งๆที่เป็นแนวหน้าของโลกเยอะเลยครับ ฉะนั้นผมก็เริ่มต้นจากจุดนี้ครับผมมีไอดอลของผม เริ่มต้นง่ายๆครับก็คือว่าดูอาจารย์หรือไอดอลคนนั้นว่าเค้ามีหลักการทำงานอย่างไร หลักการคือ follow ตามเลยครับ แล้วก็พยายามปรับวิธีการวิธีคิดให้เหมือนกับนักวิจัยท่านนั้นที่ประสบความสำเร็จมากกว่า และต้องยอมรับว่าอาจารย์หรือนักวิจัยเหล่านั้นมีมุมมองที่เป็นประโยชน์มากๆ และอันดับที่สามก็คือโอกาส โอกาสมีค่ามากกว่าเงินเพราะว่าโอกาสจะสร้างรายได้ให้คุณได้ ผมมองว่าโอกาสถือว่ามีความสำคัญมากๆเพราะว่าอากาสมันทำให้เราได้แสดงถึงศักยภาพที่เรามีอยู่ และโอกาสจะเป็นสิ่งที่บ่งบอกได้ว่าเรามีศักยภาพหรือไม่มีศักยภาพ เราจะได้ยินบ่อยๆว่าโอกาสไม่ได้มีบ่อยๆถูกมั้ยครับ แต่ผมมองมุมกลับกันครับว่า โอกาสไม่ได้มีบ่อยๆก็จริงแต่โอกาสมีสำหรับคนที่พร้อมเท่านั้น หมายความว่าต่อให้คุณมีโอกาสแต่คุณไม่มีความพร้อม โอกาสนั้นก็จะหลุดไปจากคุณ ฉะนั้นคือ ณ วันนี้ผมอยากจะฝากนักวิจัยรุ่นใหม่อย่างผมคือ ทำตนเองให้พร้อมที่จะคว้าโอกาสที่จะมาถึง ซึ่งเราไม่รู้ว่าโอกาสจะมาถึงเมื่อไหร่ แต่พอมาถึงเราต้อง catch มันให้ได้และทำมันให้ดีที่สุด

พิธีกร : “สำหรับวันนี้นะคะต้องขอขอบคุณ ผศ.ดร.ทองใส จำนงการ ค่ะ ที่เป็นแขกรับเชิญของเราในวันนี้ค่ะ และในครั้งต่อไปจะเป็นแขกรับเชิญท่านใดนั้น ขอให้ท่านติดตามข่าวสารได้ผ่านทางช่องทางของสำนักหอสมุดที่ไลน์ @kulibrary ค่ะ ท่านก็จะไม่พลาดข่าวสารทางสำนักหอสมุดทุกข่าวเลยนะคะ วันนี้ต้องขอลาไปก่อนค่ะ สวัสดีค่ะ “

 

 แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

รวมผลงานของผศ.ดร.ทองใส จำนงการในคลังความรู้ดิจิตัล มก.

Bio-based plastics : materials and applications

Advances in natural polymers : composites and nanocomposites

วัสดุปิดแผลเส้นใยนาโนจากเอธิลเซลลูโลส / หัวหน้าโครงการ กอบศักดิ์ กาญจนาพงศ์กุล

ผลิตภัณฑ์สิ่งทอจากกระบวนการ Electrospinning

Electrospinning

Introduction to nanofiber materials

Handbook of nanoscale optics and electronics

Carbon and management oxide nanofibers for energy storage

Cellulose based composites : new green nanomaterials

ระบบการปั่นเส้นใยด้วยกระแสไฟฟ้าสถิตสำหรับผลิตเส้นใยนาโนจากพอลิแลคติกแอซิดเพื่อประยุกต์ใช้ในทางการแพทย์ 

 


 
 
 
1xbet casino siteleri bedava bahis kaçak bahis superbetin yeni giriş casino siteleri