KULIB Talk: เครื่องปลูกข้าวแบบหย่อนกล้า
อาจารย์ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าคณะวิศวกรรมศาสตร์วิทยาเขตบางเขน
ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ได้มาร่วม Live ผ่านทาง facebookของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ www.facebook.com/kulibprโดยพูดถึงเครื่องปลูกข้าวแบบหย่อนกล้า ซึ่งปัจจุบันได้พัฒนาเป็นรุ่นที่ 16 ชื่อรุ่น I-KIAM Transformer 16
เครื่องปลูกข้าวแบบหย่อนกล้าสำหรับทำนาแบบประณีตช่วยประหยัดเมล็ดพันธุ์ต้นข้าวเติบโตได้เร็วและวัชพืชเกิดได้ช้าไม่มีการทำลายรากช่วงย้ายต้นกล้าลงแปลงนาทำให้ต้นข้าวไม่อับเฉาตอนปลูกและไม่ต้องเสียเวลาพักตัวต้นข้าวแข็งแรงรากอยู่ใกล้ผิวดินทำให้กินปุ๋ยได้ดีกว่าใช้ปุ๋ยน้อยลงข้าวโตเร็วได้ผลผลิตสูงกว่าปลูกเป็นระเบียบไม่แน่นเกินไปมีช่องว่างให้แสงแดดส่องถึงพื้นนาทำให้ลดการวางไข่ของแมลงและฆ่าเชื้อราโดยวิธีธรรมชาติทำให้ลดการใช้ยาปราบศัตรูพืชสามารถกำจัดพันธุ์ข้าวปลอมปนหรือข้าววัชพืชได้ง่ายตั้งแต่ช่วงเพาะกล้าในถาดเพาะการดูแลและจัดการนาข้าวทำได้ง่ายไม่ว่าจะเป็นการทำนาแบบใช้ปุ๋ยเคมีหรือทำนาแบบอินทรีย์เพื่อการผลิตข้าวที่มีคุณภาพและเพื่อสุขภาพที่ดีให้กับชาวนาไทย
เครื่องปลูกข้าวแบบหย่อนกล้าใช้หลักการง่ายๆคือ “การทำนาแบบโยนกล้าแต่โยนกล้าอย่างไรให้เป็นระเบียบแบบนาดำ” มีข้อดีคือประหยัดเมล็ดพันธุ์ลงทุนต่ำต้นกล้ามีความแข็งแรงเจริญเติบโตเร็วใช้แรงงานคนน้อยสามารถปลูกต้นกล้าได้อย่างเป็นระเบียบทำงานได้รวดเร็วตัวเครื่องไม่มีการสัมผัสดินทนทานและต้นทุนการซ่อมบำรุงต่ำกว่าเครื่องดำนาโดยทั่วไปมีวิธีการทำงานคือการหนีบต้นข้าวจากถาดเพาะซึ่งต้นข้าวจะมีรากที่ห่อหุ้มด้วยตุ้มดินติดไปด้วยแล้วหย่อนลงไปในนาทำให้ต้นกล้ามีความบอบช้ำน้อยในขณะที่เครื่องดำนาแบบถาดเพาะแผ่นกล้าใช้การถอนต้นกล้าออกจากแผงกล้าโดยวิธีฉีกรากออกจากแผ่นเพาะต้นกล้าที่เกาะตัวเป็นแผ่นจึงทำให้เกิดความบอบช้ำรากขาดและต้องใช้เวลา 1 สัปดาห์ในการฟื้นตัวและสร้างรากใหม่มาทดแทนรากที่ฉีกขาดไปซึ่งช่วงนี้เป็นช่วงที่ต้นข้าวอ่อนแอโรคเข้าแทรกได้ง่ายจึงทำให้ต้องใช้ยาตลอดอายุของต้นข้าว
ผลงานของอาจารย์ปัญญา ในคลังความรู้ดิจิตอล มก.
-
โครงการเกษตรช่วยภัยแล้ง พัฒนาเทคโนโลยีหาแหล่งน้ำบาดาลให้ชุมชน
-
งานเสวนา แล้งนี้เผาหลอก แล้งหน้าเผาจริง ชาวนาเสี่ยง เจ๊งแสนล้าน
-
เกษตรแฟร์ ประจำปี 2558 "72 ปี เกษตรศาสตร์สั่งสม ความอุดมแห่งแผ่นดิน"
-
รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น เรือกู้ภัยสะเทินน้ำสะเทินบก
-
วิศวฯ มก. ร่วมพัฒนาต่อยอดเรือกู้ภัยสะเทินน้ำ สะเทินบก ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม
ผลงานของอาจารย์ปัญญา ในฐานะผู้ร่วมทีมวิจัย