Kulib Talk #11
เทคโนโลยีพลาสมาเย็น : เทคโนโลยีสะอาดสำหรับศตวรรษที่ 21
https://www.facebook.com/kulibpr/videos/1456101284523591/

สัมภาษณ์ : ผศ.ดร.ศิวพล ศรีสนพันธุ์
พิธีกร      : นางสาวศรัญญภรณ์ โชลิตกุล
     แขกรับเชิญในวันนี้อาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งได้คว้ารางวัลผลงานวิจัยระดับดีมาก ประจำปี 2560 สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมการวิจัย จากผลงานเทคโนโลยีพลาสมาเย็น จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

ขอต้อนรับ ผศ.ดร.ศิวพล ศรีสนพันธุ์

 รู้สึกอย่างไรที่ได้รับรางวัลนี้
        
     ถ้าพูดถึงรางวัล รางวัลนี้เป็นรางวัลจากสภาวิจัยแห่งชาติ รู้สึกดี รู้สึกดีมากๆ รู้สึกเป็นเกียรติ เพราะว่าการจะทำงานวิจัยแต่ละชิ้นออกมาได้ เราต้องเริ่มค่อยๆ คิดกระบวนการ โจทย์วิจัย โจทย์วิจัยอาจจะมีของเราเอง โจทย์ของส่วนร่วม แต่โจทย์นี้อาจจะตอบโจทย์ส่วนรวมได้มากหน่อย พอเราคิดไตร่ตรอง เราส่งงานวิจัยไปเราได้รางวัลมา เรารู้สึกเป็นเกียรติต่อตัวเราเอง ทั้งทีมงาน ภาควิชา คณะ และมหาวิทยาลัยเพราะว่าเรารู้สึกว่าเราสามารถสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยได้

อยากให้อาจารย์เล่าถึงรางวัลนี้ให้พวกเราฟังว่าเป็นรางวัลอะไรมีเกณฑ์ในการมอบรางวัลให้กับใคร ยังไงบ้าง

         In detail เลย รางวัลนี้เป็นรางวัลที่จัดโดยสภาวิจัยแห่งชาติ เมื่อเรามีผลงานวิจัยที่รู้สึกว่าพอใช้ได้ เราก็ทำการยื่นให้สภาวิจัยแห่งชาติพิจารณา เราก็โชคดีได้รางวัลในสาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมการวิจัยระดับดีมาก ปีนี้มีทั้งหมด 3 รางวัล แต่เราก็โชคดีได้มา2 รางวัล ใน 3 รางวัล ถือว่าโชคดีมากๆ เลย รางวัลนี้ไม่ใช่ของผมคนเดียว ผมมาพูดในฐานะของทีมงาน เพราะรางวัลนี้เป็นรางวัลที่เกิดจากการบูรณาการวิจัยจากหลายงานวิจัย อย่างผมเอง ผมเชี่ยวชาญทางด้านนาโนอิเล็กทรอนิกส์ ผมก็ต้องมีทีมงานทางด้านพาวเวอร์ อิเล็กทรอนิกส์อาจารย์นิธิพัฒน์ อาจารย์วีรวุฒิด้านไฟฟ้ากำลัง จนกระทั่งเราต้องบูรณาการใช้งานของเราเทคโนโลยีพลาสมาเย็น เราก็ได้รับการสนับสนุนร่วมมืออย่างดี จากภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อาจารย์ดำรงวุฒิ อ่อนวิมล ท่านกรุณาสนับสนุนเราเต็มที่ ท่านเห็นว่าโจทย์นี้สำคัญกับประเทศ พอเรายื่นไปผมก็เชื่อว่าสภาวิจัยแห่งชาติก็เห็นด้วยเช่นเดียวกัน เลยเป็นที่มา

ผลงานของทีมงานคือเทคโนโลยีพลาสมาเย็น มีความเป็นมาอย่างไร
        
     อย่างที่เกริ่นไปตัวผมเองถึงแม้จะเป็นหัวหน้าทีมงานวิจัยในตรงนี้ ผมมีความเชี่ยวชาญทางด้านนาโนอิเล็กทรอนิกส์ นาโนเทคโนโลยี ถ้านึกภาพไม่ออกลองนึกภาพถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ พวกคอมพิวเตอร์ มือถือ ผมเข้าไปอยู่ในนั้น พอเราทำงานวิจัยมาถึงจุดหนึ่งเรารู้สึกว่ามันเป็นความท้าทาย เรามีไอเดียมีความท้าทายว่าเราอยากสร้างงานวิจัยสักชิ้นที่เราสามารถตอบโจทย์ประเทศในวงกว้าง คือเป็นconcept big changeต้องมีการเปลี่ยนแปลงในวงกว้าง เพราะฉะนั้นเราจึงมานั่งคิด ตกผลึก มาหาโจทย์วิจัย งานวิจัยของเราถึงจะมีความซับซ้อนอะไรก็แล้วแต่ ผลลัพธ์สุดท้ายควรจะต้องใช้งานง่าย สร้างเองได้ พัฒนาง่าย และเข้าถึงคนได้ง่ายเวลาใช้งานแล้วส่งผลกระทบอย่างวงกว้าง สร้างimpactหรือยกระดับประเทศขึ้นมาได้ทำอะไรง่ายๆตรงนี้เองเราเริ่มค่อยๆ คิดผสมเล็กผสมน้อย ค่อยๆ คิดไตร่ตรอง ผมอาจจะศึกษาเรื่อง อิเล็กตรอนในไฟฟ้า ขยับจนมาเจอโจทย์หนึ่งเรียกว่าพลาสมาเย็น เรารู้สึกเราเข้าถึงได้ จริงๆตรงพลาสมาเย็นมีข้อจำกัดของมันอยู่เพียงแต่เดี๋ยวเราค่อยลงลึกdetail แล้วกัน ที่แน่ๆ เรารู้แล้วว่าพลาสมาเย็นมีประโยชน์มาก เพราะมันมีองค์ประกอบที่มีประโยชน์มากมาย งานวิจัยต่างประเทศคนที่เขาทำมาก่อนเรา เขาsupportเราว่ามีประโยชน์แต่การใช้งานอาจไม่ง่ายอย่างที่เราคิด นี่เป็นโจทย์วิจัยของเรา เป็นที่มาของงานวิจัยชิ้นนี้

พลาสมาเย็นคืออะไร

     ถ้าเราพูดถึงพลาสมาเย็นนึกถึง คิดว่าอุณหภูมิเท่าไรครับคุณหนึ่ง ความรู้สึกเป็นอย่างไร (พิธีกร ความเย็นน่าจะเป็นน้ำแข็ง) มันต้องเย็น แต่ในความเป็นจริงแล้ว มีความเข้าใจผิดเล็กน้อยเกี่ยวกับเรื่องของชื่อพลาสมาเย็นเทคโนโลยีนี้ พลาสมาเย็นนี้อุณหภูมิที่เราพูดถึงอุณหภูมิการทำงานจริงๆ ประมาณให้ดีเลยควรจะเท่ากับอุณหภูมิห้อง อุณหภูมิประมาณ 25 องศาที่ใช้งานแล้วมันเย็นได้อย่างไรก่อนจะพูดถึงพลาสมาเย็น เราอาจจะต้องมาทำความเข้าใจเรื่องของพลาสมาปกติก่อนว่า พลาสมาคืออะไร เราเกิดมาทุกคน เราชินกับ สถานะ 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซไม่ว่าจะจับต้องอะไร มีแต่ของแข็ง ของเหลว ก๊าซ เราไม่พูดถึงสถานะที่ 4 คืออีกสถานะหนึ่ง เราเรียกสถานะพลาสมาอาจจะนึกภาพไม่ออก นึกภาพน้ำแข็ง น้ำแข็งคือของแข็งให้อุณหภูมิ ให้ความร้อน พลังงานมีหลายแบบ แต่ว่าพลังงานความร้อนง่ายหน่อย ให้ไปมันก็ละลายเป็นของเหลว สักพักหนึ่งก็จะละเหยกลายเป็นไอออกมา ถามว่าเป็นไอแล้วสิ้นสุดไหม มันไม่สิ้นสุด จริงๆ แล้วพอสิ่งเหล่านี้เป็นก๊าซ เป็นไอ ได้รับพลังงานที่มากพอ มันจะเกิดการแตกตัว แตกตัวจะให้เป็น แสง สี เสียง บางอย่างมา แต่เราอาจไม่ได้สัมผัสกับมันมากนัก เป็นปรากฏการณ์ที่มีมายาวนานมาร้อยปีเราย่อปรากฏการณ์ธรรมชาติมาอยู่ในมือเราเพียงแต่เราจะย่อมันยังไงเท่านั้นเอง ถ้านึกภาพไม่ออก ลองนึกภาพปรากฏการณ์ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า เห็นแสง ได้ยินเสียง เราจะรู้สึกจะเห็นละอองสีม่วงกระจายเต็มท้องฟ้า สิ่งที่เราอยากไปเที่ยวกันมากที่สุดคือ แสงเหนือนั่นคือปรากฏการณ์หนึ่งของพลาสมา นั่นก็คือพลาสมาแตกตัวให้เป็นแสงออกมา แสงแต่ละสีอาจจะมีค่าไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับเขาเรียกว่าโมเลกุลในอากาศ อย่างเราเห็นแสงสีม่วงเวลาฟ้าผ่า ไนโตรเจนจะให้แสงสีนี้มาในแสงเหนือจะมีค่าสะท้อนมุมสะท้อนเราเห็นรุ้งมีหลายสีเราไม่พูดถึงแล้วกัน พลาสมาปกติอาจจะเกิดการคายประจุแต่มันเต็มไปด้วยไอออน ไอออนคือประจุไฟฟ้า เคยได้เรียนใช่ไหมครับ อะตอมมีโปรตอน อิเล็กตรอน ลองนึกภาพ ปกติมันอยู่เฉยๆ แต่ถ้ามันไม่อยู่เฉยๆ มีพลังงานเข้ามาแล้ว หลุดเป็นอิสระ แยกไปอยู่เดี่ยวๆ เรียกว่าประจุไฟฟ้า หรือไอออนพอมีสิ่งเหล่านี้ในอากาศมากๆ ก็จะเกิดปรากฏการณ์หลายๆ อย่างเกิดขึ้นเป็นที่มาที่ไปของพลาสมา พลาสมาปกติอุณหภูมิเท่าไร เวลาฟ้าผ่ามา เห็นไหมครับว่า เกิดความร้อน ไหม้ เกรียมเลย พลาสมาปกติเรานิยามเป็น normal oneเลย พลาสมาปกติอุณหภูมิสูงเป็นพันองศา อาจจะขอลงdetail นิดนึง ในทางการศึกษาอิเล็กตรอนจะมีพลังงานเยอะมันถ่ายทอดให้กับโมเลกุลรอบข้างแบบสมบูรณ์ มันก็จะเกิดพลังงานความร้อนตามไปด้วย สิ่งที่เราเห็นชัดก็คือเครื่องเชื่อมไฟฟ้าจริงๆ เครื่องเชื่อมไฟฟ้าเป็นปรากฏการณ์พวกพลาสมา แต่เราเรียกพวกนี้ว่าพลาสมาร้อน เพราะว่าอุณหภูมิจริงๆ เขาสูงมาก เป็นพันองศา เราจะทำอย่างไรที่จะเอาพวกนี้มาใช้งานโดยที่ทำอุณหภูมิให้ใกล้เคียงอุณหภูมิห้อง นี่คือเทคโนโลยีพลาสมาเย็น พลาสมาเย็นเหมือนเราจำลองฟ้าผ่ามา แต่เราไม่อยากให้เกิดฟ้าผ่าพลาสมาเย็นที่เราเห็นมีประโยชน์หลายอย่าง ใกล้ตัวมีขีดจำกัดในการสร้าง พลาสมานึกถึงอุปกรณ์ใกล้ตัว เราเคยได้ยินทีวีพลาสมา ทีวีพลาสมาใช้หลักการคล้ายๆ พลาสมาเย็นมีการแตกตัวของไอออนถามว่าขนาดมันเท่าไร ขนาดมันอยู่ในหลักนาโนมิเตอร์ ไมโครมิเตอร์ ขนาดเท่าไรนึกไม่ออก ลองนึกภาพเส้นผม ความกว้างของเส้นผม การที่จะเป็นทีวีได้ ก็จะประกอบด้วยจุดพลาสมาเป็นล้านพิกเซล มันแสดงถึงขีดจำกัดในการสร้างพลาสมาเย็นไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่มีมานานแต่ว่ามีข้อจำกัดหลายอย่างที่ไม่สามารถทำให้เดินหน้าต่อไปได้ เดี๋ยวนี้เราไม่ค่อยเห็นทีวีพลาสมาในท้องตลาด เพราะเรามีแอลอีดีเข้ามา ทีวีพลาสมาเราสร้างขนาดเล็กได้ เพราะว่าใช้ไฟฟ้าเยอะ กินกำลังไฟฟ้าเยอะเราเสียค่าไฟฟ้าเยอะเทียบกับแอลอีดี ขอกลับไปกลับมามาถึงพลาสมา ถ้าผมอยากจำลองฟ้าผ่ามาอยู่ในลูกบอลนี้ ที่เราเล่นกันตามห้องนอน ห้องนั่งเล่น หรือกิจกรรมต่างๆ นี่เรียกว่าพลาสมา เรานึกภาพว่าข้างในมีเหมือนประจุไฟฟ้า เกิดสนามไฟฟ้า ก๊าซแตกตัวจะเกิดเป็นแสง สีที่เห็นกันอยู่ ที่เห็นวิ่งหาเข้ามือผม มือผมอาจจะมีอิเล็กตรอนเยอะ เป็นเรื่องของไฟฟ้า จะมีการtransferส่งถ่ายพวกอิเล็กตรอน แต่ที่แน่ๆ สิ่งที่เห็นก็คือ แสง อาจจะยังไม่ได้ยินเสียง เสียงแนะนำให้ไปเดินตามสายไฟฟ้าแรงสูง จะสังเกตได้ยินเสียงซ่าๆ สิ่งเหล่านี้มักจะมีเสียงมาด้วย แสง เสียงและข้างในประกอบไปด้วยโมเลกุลต่างๆ มากมาย เห็นแสงแบบนี้ วิธีการให้เกิดแสงก็ไปใช้ในพลาสมาทีวี ขีดจำกัดที่เราเห็นข้างในมีก๊าซเฉพาะ ข้างในเป็นสุญญากาศก่อนแล้วค่อยใส่ก๊าซลงไป ปัญหาของพลาสมาเย็นมาแล้ว ที่ผ่านมาพลาสมาเย็นจำเป็นต้องใช้ระบบสุญญากาศพลาสมาอุณหภูมิปกติเราใช้มานานแล้ว แต่เราใช้ในอุตสาหกรรมเซมิคินดักเตอร์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คนทั่วไปเข้าไม่ถึง เพราะว่าต้องใช้ระบบสุญญากาศที่ดีระบบซีล หลายอย่าง ทำไมจึงใช้กับอุตสาหกรรมพวกนั้น แสง สี เสียง และองค์ประกอบของมัน มีอนุมูลอิสระ อิเล็กทริกสปีชีส์อิเล็กตรอน ประจุโปรตอน มีพลังงาน ซึ่งมันจะทำให้เกิดปรากฎการณ์หลายอย่าง ตั้งแต่ในระดับนาโน คราวนี้มาดูขีดจำกัดบ้าง ขีดจำกัดพลาสมาเย็น ถ้าจะทำตัวนี้ให้ใช้งานได้ขนาดใหญ่ขึ้น มันใช้สุญญากาศ ใช้พลังงานเยอะมันสร้างยาก มันยากที่คนจะเข้าถึงได้ในการใช้งาน ต้องย้อนไปที่มาของงานวิจัย เรารู้สึกว่าตรงนี้มีประโยชน์ สามารถใช้อะไรหลายอย่างมากมาย ถ้าเราดูองค์ประกอบใช้ได้ตั้งแต่วงการแพทย์รักษาโรค ทำได้ทุกอย่าง แต่การใช้เข้าถึงยาก concept ของงานวิจัยนี้ ที่เราตั้งเป้าไว้เลย ก็คือต้องไม่ใช้สุญญากาศต้องอุณหภูมิใกล้เคียงกับอุณหภูมิห้อง ต้องขยายสเกล หรือขยายขนาดได้ง่าย สามารถapply ประยุกต์ใช้ได้หลายๆ แอพพลิเคชั่น และที่สำคัญราคาต้องถูก ต้องสร้างเองในประเทศได้ นี่เป็นเกณฑ์ที่ตั้งเป้าไว้เลย
 
หลักการทำงานของเทคโนโลยีพลาสมาเย็นคืออะไร

         นั่นแหละครับ เลยย้อนกลับมาที่เราพูดถึงว่า ถ้าconditionถ้ามันconcurrentขีดจำกัดมันเยอะขนาดนี้เราจะทำอย่างไร ที่ทำให้เครื่องสามารถสร้างเครื่องขนาดเล็กได้ ใหญ่ได้แล้วแต่เราใช้พลังงานไม่มาก ใช้พลังงานไฟฟ้า จริงๆ พลาสมาเย็น หลักการทำงานเครื่องที่ทำเรียกว่าไฮบริด ก่อนจะพูดถึงไฮบริด อย่างที่ยกตัวอย่างไป มีวิธีการสร้างเยอะ ขอให้เราเข้าใจเขาสักนิดหนึ่งเข้าใจพลาสมาว่าเขาต้องการอะไรถึงจะเกิดเขาได้ เราอาจจะใช้อุปกรณ์ในตู้ไมโครเวฟ หลายอย่างสร้างได้ คลื่นวิทยุ เรารู้สึกว่าเราจะต้องใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นหลัก หรือใกล้เคียงกับพลังงานไฟฟ้า เรารู้จักเขาแล้วเราจะควบคุมเขาได้ ไม่ใช้ระบบสุญญากาศหลักการทำงานที่เราสร้างขึ้นมาใช้ร่วมกับไฮบริด เพราะว่าเรามีการรวมสองปรากฏการณ์เข้าด้วยกันเรียกว่าปรากฏการณ์โคโรน่า ในทางสายวิศวกรรมเรียกPartial Dischargeก็คือการคายประจุไฟฟ้าถ้าเราเดินไปตามหม้อแปลงไฟฟ้า เสาไฟฟ้าแรงสูงที่มีการฉนวนไม่ดี เราจะได้ยินเสียงซี่ เป็นเสียงการแตกตัวของอากาศ แนะนำว่าอย่าไปเดินใกล้มากเพราะว่าประจุหรืออิเล็กตรอนที่แตกตัวอยู่ตรงนั้น มีแกนนำจะมีการเคลื่อนtransfer ประจุ หรือช็อตมาหาเราได้ สังเกตว่าไฟฟ้าแรงสูงเราไม่จำเป็นต้องไปถึงเขาแต่ไปเฉียดเขา เขาก็สามารถส่งประจุมาหาเราได้ ไฟดูด เสียชีวิตได้ ตรงนี้อาจเป็นความรู้ไว้ว่าอาจต้องระมัดระวัง เพราะระบบไฟฟ้าแรงสูง โคโรนาเกิดจากที่เราสามารถสร้างให้มีความแตกต่างของประจุไฟฟ้าเกิดขึ้น คนเราอาจจะสงสัยเคยได้ยินประจุไฟฟ้างงไหมว่า คืออะไร เคยสัมผัสไหม (พิธีกร เคยเรียนมา มีประจุไฟฟ้าบวก ประจุไฟฟ้าลบ) ขออนุญาตใช้เครื่องมือ พื้นฐานเลยเราเรียนตั้งแต่เล็กจนโต เคยเห็นไหมที่เราเอาไม้บรรทัดมาถูตัวเราเอง เราเรียนทำไม เรียกปรากฏการณ์นี้ว่าTriboelectric Effectถ้าผมจำไม่ผิดนะครับ พอเราถูเราจะได้ยินเสียง เสียงเหมือนดีดของอากาศ บ้านเราความชื้นเยอะอาจไม่ค่อยมีปัญหา ต่างชาตินี่หนัก เพราะอากาศค่อนข้างแห้ง ยิ่งหนัก ยิ่งเยอะ ตรงนี้คืออะไร การที่ถูกันเกิดอะไรขึ้น ยกตัวอย่างง่ายๆ ผมtransfer energy ของผม พลังงานจากการที่ถูไปเข้าที่เทฟลอนหลอด พลังงานของผมทำให้เกิดการเหนี่ยวนำอิเล็กตรอน ในเคสนี้อาจมีอิเล็กตรอนก็คือประจุไฟฟ้าสะสมอยู่ในพื้นผิว ประจุไฟฟ้าสะสมอยู่ในพื้นผิวมากๆ จะได้ยินเสียงคายประจุ เปี้ยะเลย ผมเลือกวัสดุที่ให้เห็นชัดนิดหนึ่ง ขอโทษนะครับถ้าเอาไปใกล้คุณหนึ่งจะรู้สึกขนลุก สังเกตว่าประจุไฟฟ้าสะสมอยู่ตรงนี้ แต่คุณหนึ่งอยู่ใกล้ๆ ไม่ได้สัมผัส แต่จะรู้สึกว่าเหมือนมีแรงมากระทำกับคุณหนึ่ง สิ่งที่เรารู้จักไฟฟ้า ย้อนถึงหลักการพื้นฐานของไฟฟ้า วิศวกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เราพูดถึงอิเล็กตรอนหรือประจุไฟฟ้าก็แล้วแต่ ประจุพวกนี้โดยหลักแล้ว เขาจะสร้างแรงขึ้นมา เป็นที่มาของสนามไฟฟ้า เป็นที่มาของวิทยาศาสตร์หลายๆ อย่าง สังเกตที่ให้คุณหนึ่งสัมผัส รู้สึกว่าพอมีประจุไฟฟ้าเกิดขึ้นก็จะเกิดแรง พอมีแรงมากระทำอาจจะมองไม่เห็น แต่แรงเหล่านี้ที่เกิดจากการแตกตัว ถ้าสัมผัสใกล้หน่อย เคยโดนไฟฟ้าสถิตไหมโดนโลหะแล้วเปรี๊ยะ คือหลักการเดียวกัน ถ้าผมสัมผัสถ้ามันเยอะๆ จะรู้สึกแบบเดียวกับไฟฟ้าสถิต หรือถ้าขยายขนาดขึ้นมาคือฟ้าผ่านั่นเอง หลักการตรงนี้สังเกตว่า ถ้าเข้าใกล้คุณหนึ่งถ้าผมมีประจุไฟฟ้าเยอะจะเกิดการแตกตัว เรียกว่า โคโรน่า แต่ไม่จบแค่นี้ มีเรื่องของฉนวนเรื่องพวกนั้นเข้ามาด้วย ลองนึกภาพฟ้าผ่า เราเห็นฟ้าแลบ เราเห็นละอองพลาสมาเต็มเลย เราทนไม่ได้ถ้ามาก ถ้าฟ้าผ่าแล้วประจุไฟฟ้าเกิดจากไหนเมฆมันเสียดสีกันเหมือนที่ผมถูเมื่อกี้นี้ ประจุต่างกันนั่นคือมหาศาล แต่ถ้าไม่ให้เกิดฟ้าผ่า ยกตัวอย่างเป็นการเทียบเคียงเพียงแต่ให้เกิดการแตกตัว ในเมื่อเราเข้าใจเขามากนิดหนึ่ง คีย์หลักของผมก็คือสนามไฟฟ้า พอประจุมีสนามไฟฟ้า ประจุทำให้เกิดสนามไฟฟ้า พอสนามไฟฟ้ามากขึ้นเรื่อยๆ ไม่เพียงพอที่จะทำให้คายประจุได้เต็มที่ เกิดฟ้าผ่า ถ้าฟ้าผ่าจะกลายเป็นพลาสมาร้อน ถ้าผมไม่ทำให้มันเกิด มันอาจจะเกิดพลาสมาบริเวณนั้น แต่มันจะมีหลักการดีไซน์นิดหน่อย พอเรามารวมสองconditionเข้าด้วยกัน ทั้งโคโรน่าและเรื่องของฉนวน ผมเรียกว่าพลาสมาไฮบริด ตรงนี้เองที่ทำให้ผมสามารถสร้างมันขึ้นมาโดยที่บรรยากาศปกติ บางท่านอาจจะเห็นวีดีโอบ้างแล้ว สิ่งที่เห็นไม่ได้ใช้กับระบบสุญญากาศนะครับ อากาศธรรมดานั่นล่ะครับ หรือเราอาจจะมีการfeed ใส่ก๊าซบางอย่างเข้าไป ขึ้นอยู่กับการดีไซน์ผมขออนุญาตบอกก่อนว่า องค์ประกอบของมันมีทั้งแสงยูวี สนามแม่เหล็กไฟฟ้า สนามแม่เหล็ก ประจุบวก ประจุลบ อนุมูลอิสระ สิ่งเหล่านี้เราอย่าให้มาก อย่าให้น้อย เรารู้จักเขาเราcontrol ได้ เราสามารถเลือกใช้แอพพลิเคชั่นได้ตามความเหมาะสมของเรา นี่คือหลักการง่ายๆ อธิบายให้เข้าใจการทำงานของเครื่องนี้ แต่ถ้าเกิดในเชิงลึก อาจต้องเข้ามาคุยกันอีกทีว่า มันทำอย่างไร เป็นเรื่องทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่มันมากขึ้นไปนิดหนึ่ง

มีอีกคำที่สงสัยเทคโนโลยีพลาสมาเย็นกับนาโนเทคโนโลยีเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

     จริงๆ แล้วคำว่าเทคโนโลยีพลาสมาเย็นกับนาโนเทคโนโลยี มันทั้งเหมือนกันและแยกกันไม่ออกเลย ทุกอย่างของเราที่ใช้ชีวิตอยู่ทุกวันนี้ เรา base onคือเรามีพื้นฐานมาจากคำว่านาโนเทคโนโลยี บางคนอาจไม่เข้าใจคำว่านาโน เราอาจจะรู้จักสเกล เซนติเมตร มิลลิเมตร เรารู้แล้วว่ามิลลิเมตรซอยลงไป จาก 1 เมตร 1มิลลิเมตร ลดลงไปพันเท่าก็จะเป็นไมโครเมตรเริ่มนึกภาพยาก ลองดึงเส้นผมเรามา ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของผมเรา อยู่ประมาณ 60-100 ไมโครเมตร และถ้าลดจากไมโครเมตรไปพันเท่า นั่นคือระดับนาโน เริ่มจุดเริ่มต้นมาจากนาโน ปรากฏการณ์ที่เราใช้ส่วนใหญ่ เป็นปรากฏการณ์ที่เราobserveได้ สังเกตได้ด้วยตา เราเห็นแสงเราเห็นทุกสิ่งทุกอย่าง มันใหญ่พอที่ให้เราเห็น แต่จริงๆ ลึกๆ ลงไปประกอบด้วย นาโนมากมาย แต่งานนี้ในความเข้าใจของเรามันอยู่ในระดับนาโน เราเอามันขึ้นมาพูดถึงการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน ปรากฏการณ์ของเขาจนสามารถสร้างเป็นพลาสมา พลาสมามีขนาดใหญ่ขึ้นจนเราสามารถจับต้องได้ คือขนาดใหญ่ แต่ปรากฏการณ์ข้างในเกี่ยวข้องกับนาโนทั้งหมด นาโนเทคโนโลยีในการเกิด นาโนอิเล็กทรอนิกส์ในการสร้าง จนถึงเมื่อเรานำพลาสมาเย็นไปใช้งาน เรามีตัวอย่างเดี๋ยวเราจะได้คุยกัน ผมไปใช้ในข้าว การกระทำของsurfaceหรือพื้นผิว มันก็มีกระบวนการปฏิกิริยาในระดับนาโน ซึ่งเราต้องมองลึกอย่างนั้น เราถึงเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น ต้องบอกว่าเป็นส่วนหนึ่งของนาโนเทคโนโลยี

ทุกวันนี้อาจจะเห็นบ้างที่พลาสมาเย็นถูกนำไปใช้กับ วงการเสริมความงาม วงการแพทย์งานวิจัยของอาจารย์เป็นทางด้านนี้ด้วยไหมคะ

     จริงๆ ตั้งใจ มีความตั้งใจวันหนึ่งจะต้องถึงเทคโนโลยีพลาสมาเย็นเทคโนโลยีพลาสมาเย็นใช้มานานมาก ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย โอโซน อาจจะเข้าใจยากนิดหนึ่ง โอโซนเป็นsubset เป็นส่วนหนึ่งของพลาสมาเท่านั้นเอง พลาสมาสามารถสร้างโอโซนได้มากน้อยก็ได้อยู่ที่เราดีไซน์ ข้อจำกัดของเขาอยู่ที่เราสร้างขนาดใหญ่ จริงๆ เป็นข้อจำกัดที่มีมานาน ทุกวันนี้ยังเป็นปัญหาของเทคโนโลยีนี้ ไม่ใช่ของเราคนเดียว ทั้งโลกนี้ที่ทำงานวิจัยด้านนี้ ทำยังไงให้เป็นขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก จับต้องได้ง่ายสุด นึกภาพถ้าทำขนาดเล็กแบบนี้ได้ จริงๆ มีวิธีการเล่น เกี่ยวกับพลาสมาตัวนี้เล่นอย่างไร บางคนอาจเห็นในYouTubeตรงนี้อาจจะไม่สะดวกนัก ถ้าเราเอาเหรียญบาทวางไว้ แล้วเราเอานิ้วไปสัมผัสเราจะสู้สึกได้ว่าจะมีกระแสไฟฟ้าวิ่งเข้าหามือเรา ถ้าเราปิดไฟเราจะมองเห็น พลาสมาบอลอย่าไปประดับในห้องนอน ดูอาจจะไม่มีอะไร มีโลหะ ตรงนี้เดี๋ยวถ้ามีโอกาสจะโชว์ให้ดูนะครับ เอาโลหะวางแล้วเราไปใกล้ สังเกตว่ากระแสไฟฟ้าวิ่งผ่านมือเราโดยการเหนี่ยวนำ ที่ยกตัวอย่างให้ดูได้ มันสามารถเกิดขึ้นในสเกลเล็กๆได้ แอพพลิเคชั่นอย่างแรกที่เราอยากใช้ ตอนแรกไม่คิดใหญ่มาก อยากapply ในกระบวนการแพทย์และเสริมความงาม ที่ใช้ในการแพทย์และเสริมความงาม เรารู้ว่าเขาประกอบไปด้วยอนุมูลอิสระ แสงยูวี ศักย์ไฟฟ้า นี่คือองค์ประกอบยังไม่รวมถึงกระบวนการประกอบไปด้วยการกัดเซาะ เช่นกัดเซาะผิวหนัง กัดเซาะเชื้อ กัดเซาะอะไรก็แล้วแต่ นึกภาพตรงนี้ถ้าเรามีผิวเสีย ผมอาจไม่เข้าใจเรื่องการแพทย์มากนัก ต้องบอกตรงนี้ก่อน เราใช้สารเคมีในการล้างออกแต่เราก็สามารถใช้พลาสมาในการล้างออก ปัจจุบันเทรนของการวงการเสริมความงามใช้อยู่แล้ว เพราะว่าค่อนข้างจะปลอดภัย เทคโนโลยีนี้ไม่ใช้สารเคมีและไม่ทิ้งสารเคมีไว้รอบข้าง นี่คือสิ่งที่มันน่าชื่นชม อีกอย่างหนึ่งงานวิจัยที่ใช้หลักๆ ในการใช้ในวงการแพทย์ ก็คือ เบาหวานรักษาแผลเบาหวาน เคยปรึกษาแพทย์ แผลบางอย่างอาจจะไม่เหมาะสมกับกับการใช้สารเคมี หรือใช้อะไรราดลงไปเท่าไรนัก พลาสมาจะช่วยได้ อย่างเช่นในทางทันตกรรม ด้านฟัน ในการยิงเข้าไปเพื่อรักษารากฟันหรืออะไรก็แล้วแต่ ช่วยในการฆ่าเชื้อได้ ไปทำลายแบคทีเรียบางอย่างได้จนกระทั่งปัจจุบันวงการแพทย์ที่ใช้กันหนักๆ เลยกำลังโฟกัสกันหลักๆ เลยคือโรคมะเร็ง จริงๆ ผมมีความยินดีแพทย์ท่านไหนสนใจผมยินดีร่วมมืออย่างเต็มที่แต่โจทย์วิจัยของเราก็คือโอเคผมสร้างได้แต่ผมอยากขยายขนาดให้ ในเมื่อผมอยากให้มันราคาถูก ไม่อยากจะพูดว่าให้มันอยู่ในหลักพัน หลักหมื่น หรืออะไรประมาณนี้ด้านราคา แล้วมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น ใช้งานทั่วไป ผมก็เลยมาapplyทางการเกษตร พอดีเรามีทีมงานที่พร้อมอาจารย์คณะเกษตร ภาคพืชไร่ อาจารย์วรวุฒิ ท่านก็พร้อมบอกว่าอาจารย์ลองศึกษาเรื่องข้าวไหมครับ ข้าวมีเชื้อราติดมากับเมล็ดข้าว ไหนจะข้าวอินทรีย์ ถ้าprocess ของอาจารย์ช่วยได้ ก็เลยเป็นที่มาของงานวิจัยเราเอาพลาสมาเย็นที่เราทำ ที่เราขยายขนาด ก่อนที่เราจะขยายขนาดใหญ่ให้ดู เราdefineขนาดareaที่แน่นอน ทำการวิจัยที่ชัดเจน ก่อนที่เราจะทำอะไรลงไปเราต้องยืนยันให้ได้ว่ามีประโยชน์เราทดสอบกับเมล็ดข้าวขาวหอมมะลิ105 ข้าวที่ไม่ผ่านพลาสมา เมื่อเราทดสอบการงอก จะมีเชื้อราที่ปนมา เจริญเติบโตไปด้วย การที่ข้าวของเราที่ผ่านพลาสมา ค่อนข้างจะใสสะอาดมันเกิดจากกระบวนการกัดเซาะพื้นผิว นอกจากข้าวรวมถึงmaterialวัสดุต่างๆ เช่นอาจจะไม่ชอบเกาะน้ำ ไม่ซึมซับน้ำดี พอเราจัดพลาสมาในconditionในสถานะที่เหมาะสม มันสามารถดูดซับน้ำได้ไวขึ้น ได้ดีขึ้น เมล็ดข้าวเราลองหยดน้ำที่เท่ากันเล็กๆ เมล็ดข้าวธรรมดาใช้เวลา 20 นาที เมล็ดข้าวนี้อาจใช้เวลาไม่ถึง 2 นาที หรือ 1 นาที ขึ้นอยู่ในปริมาณที่เราcontrolแต่เรื่องของการซึมซับน้ำดีไม่ดีเดี๋ยวค่อยมาดูกัน บางอย่างเหมาะสม บางอย่างไม่เหมาะสม แต่ผลที่ออกมาก็คืออัตราการงอกที่สูงกว่าเกือบสิบเปอร์เซ็นต์ แล้วก็สะอาดกว่าแน่นอน แล้วก็มีการงอก เจริญเติบโตยาวกว่า นอกจากงานวิจัยของเราแล้ว งานวิจัยทั่วโลกก็supportเมื่อใช้งานแล้วเก็บอายุการใช้งานของอาหารได้มากขึ้น หลายสิ่งหลายอย่าง

ถ้าเรานำเทคโนโลยีพลาสมาเย็นไปใช้ได้จริงๆ จะเกิดประโยชน์อย่างไรกับประเทศชาติบ้างคะ


     จริงๆผมอยู่ในจุดที่เรียกว่าใหม่ในเรื่องของการapplyสถานะของผมที่ผ่านมา เราต้องยืนยันให้ได้ก่อนว่าเขาใช้ประโยชน์ได้จริง หนึ่ง สองpprocessกระบวนการของเราต้องอย่างที่ผมบอก ต้องขยายสเกลได้ ถึงคนได้ง่าย ราคาไม่แพง ตอนนี้ผมรู้สึกว่าผลงานวิจัยที่ออกมาsupport หมดแล้ว คราวนี้ถึงกระบวนการที่ต้องขยับในการใช้งาน จริงๆ ใช้งานได้หลายอย่าง เราคุยเรื่องข้าวแล้วกันนะครับ เพราะมันใกล้เคียงกับงานที่เราทำไป เรารู้สึกว่าการแข่งขันข้าวในตลาดโลกทุกวันนี้มีสูงมากแล้วก็ใช้ปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนการผลิต สารเคมี สารเคมีนี้อย่างที่เราทราบกันก็อาจจะหนักมากเลย ปัญหาสารเคมีมีแนวโน้มว่าใช้มากขึ้นทุกปี ต้นทุนการผลิตก็เพิ่มขึ้น และที่สำคัญคือไม่ได้ส่งผลกระทบแต่แค่ผู้บริโภค สารเคมีปนเปื้อนตั้งแต่พื้นดิน ถูกไหมครับ การเก็บรักษา ปนเปื้อนมากับผลิตภัณฑ์ ตลอดจนเกษตรกรที่ใช้งานเอง หรือแม้แต่ผู้บริโภคเพราะฉะนั้นสิ่งที่เราอยากจะทำ ถ้าเราเอาprocess นี้เข้าไปช่วยลดการใช้งานสารเคมีลงบ้าง หรือแม้แต่ในงานข้าวอินทรีย์อะไรแล้วแต่ หรือการเกษตรอินทรีย์ที่อยากได้อินทรีย์pureและprocess นี้ อย่างที่เรารู้ โอโซน หรือทุกอย่างเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ แน่นอนว่าผู้บริโภคก็สบายใจ ตลาดเราก็เปิดกว้างขึ้นเชื่อว่าการแข่งขันของเราตลาดเราก็จะสูงขึ้น ลดปัญหาสุขภาพอนามัย ทั้งเกษตรกรเอง ผู้บริโภค และที่ผมreport ไป มันช่วยเรื่องเพิ่มผลผลิตแน่นอน ในการทำงานที่ดีขึ้น ในงานวิจัยบางชิ้นก็supportแล้วว่า โดยเฉพาะพืชบางชนิดที่เติบโตยาก งอกยาก ตัวนี้มีบางอย่างสามารถไปช่วยเขาsupportได้ด้วยองค์ประกอบของเขา รวมทั้งกระบวนการนี้ยังสามารถช่วยในการเก็บรักษา บางครั้งอยากอินทรีย์ 100%ออร์แกนิค 100%หรือherbมีการลดใช้สารเคมีลงบ้าง หรือการจัดการหลังเก็บเกี่ยว คราวนี้มาดูในส่วนอื่น เช่น ในส่วนของการเก็บรักษาอาหาร จริงๆ มีงานวิจัยหลายชิ้นเริ่มมีการapply กระบวนการเก็บรักษาอาหารด้วยองค์ประกอบที่เขามี แต่ต้องบอกก่อนว่าในแต่ละแอพพลิเคชั่น มันอยู่ที่เราจะดีไซน์ ออกแบบให้เหมาะสมกับงาน ขอให้เราเข้าใจเขา อย่างตอนนี้ความรู้งานวิจัยเราพอสมควรแล้ว เราสามารถดีไซน์ออกแบบให้เหมาะกับการใช้งานได้ อย่างเกษตรกรใช้กับข้าวเราก็มีการดีไซด์อีกแบบหนึ่งขนาดใหญ่ที่ราคาไม่แพงมาก เข้าถึงง่าย ขณะที่ในส่วนการใช้งานในเรื่องการเก็บรักษาอาหารต่างๆ อาจต้องมีการออกแบบใหม่ให้เหมาะสมขึ้นอยู่กับการใช้งาน ตรงนี้ถ้าเราทำน่าจะเพิ่มคุณค่าให้กับผลผลิตของเรา การเกษตรของเราให้สู้กับตลาดโลกได้ แข่งขันกับตลาดโลกได้ เช่น ในช่วงปัจจุบันนี้เทรนออร์แกนิค เทรนสุขภาพมาแรงมาก อย่างที่เราทราบกัน

(พิธีกร ถ้าเรานำเทคโนโลยีด้านนี้มาใช้ในด้านการเกษตรก็จะเป็นการเพิ่มคุณภาพผลผลิตของเรา เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้บริโภค)

ข้อคิดแนวคิดนี้มีแรงบันดาลใจมาจากไหน ในการสร้างผลงานดีๆ ในระดับนี้

     จริงๆ แรกๆ ไม่ได้คิดเลย ดูเป็นคนไม่ดีเลยตอนเรียนทำงานวิจัยอยู่ พอกลับมาเริ่มเห็นหลายสิ่งหลายอย่าง เริ่มปรับสภาพ เริ่มรู้สึกว่าไม่ได้แล้ว งานวิจัยเราเดินหน้าได้แต่ทำอย่างไรงานวิจัยจะมีประโยชน์กับประเทศเรากับคนของเรามากขึ้น นี่คือแรงบันดาลใจ จุดเริ่มต้น ครั้งแรกผมก็คิดงานวิจัยของผมคนคงเข้าถึงยาก ทำให้คนจับต้องไม่ได้ พอถึงจุดจุดหนึ่งมันเริ่มจากความรู้สึกอยาก อยากทำอะไรให้กับประเทศบ้าง ทำให้เกษตรกร ปัญหาที่เกิดขึ้นที่ทำให้เรายกระดับประเทศขึ้นมาได้ แน่นอนไม่ได้สวยหรู ไม่ได้มาอย่างนี้แน่นอน การทำงานมีล้มเลิก มีผิดพลาด ได้แต่ยิ้มรับและหัวเราะไปกับเขากับปัญหาที่เกิดขึ้น ทำไม่ได้ผล เห็นอย่างนี้ไฟช็อตเองก็บ่อย ระบบนี้บอกไว้ก่อนเลยที่เราดีไซน์มาปลอดภัย การใช้งานดีไซน์ออกมาต้องปลอดภัยกับผู้ใช้งานเราสัมผัสมาแล้ว เรารู้ว่าอะไรคืออันตราย อะไรคือปลอดภัย แรงบันดาลใจตรงนี้ก็คือเกิดจากความอยาก สำหรับงานวิจัยที่จะให้แก่รุ่นน้อง จุดเริ่มต้นในการทำงาน คือมีการผสมเล็กผสมน้อย ไม่ได้ประสบความสำเร็จทุกครั้ง ในบางครั้งความสำเร็จของเราก็ไม่ได้เกิดจากตั้งใจของเรา ความตั้งใจคือคาดหวังเอาไว้จะได้ผลแบบนี้ บางครั้งผลลัพธ์ที่ออกมาก็ตรงข้ามกับสิ่งที่เราคิด เราต้องยอมรับเรียนรู้ไปกับเขา เรียนรู้ไปกับมันว่าบางครั้งประตูนี้ปิด อาจจะมีประตูอีกอย่างเปิด ความสำเร็จในบางครั้งเราต้องอดทน ตั้งใจ

ในฐานะที่เป็นอาจารย์สอนนิสิตด้วย แนวคิดในการสร้างงานวิจัยได้ถ่ายทอดให้นิสิตได้อย่างไรบ้าง

     นิสิตนักศึกษาก็จะพยายามโฆษณาเหมือนกัน ช่วงแรกอาจจะพูดได้ไม่เยอะ ช่วงนี้เริ่มมีนิสิตเข้ามาแล้ว มีนิสิตจากมหาวิทยาลัยเราเอง เริ่มมีอาจารย์มีความร่วมมือจากต่างมหาวิทยาลัย หรือแม้แต่จากหน่วยงานรัฐเริ่มเข้ามาสนใจ มีบางหน่วยงานให้เราทดสอบและชื่นชอบในผลการทดสอบของเรา โดยเฉพาะกับนิสิตรู้สึกว่ามันเป็นความรู้นะ สิ่งเหล่านี้นิสิตก็สนุก เพราะว่าได้ลงมือทำได้คิด ได้เล่น บางครั้งนิสิตเข้ามายังสงสัย อย่างที่คุยกันครั้งแรก พลาสมาเย็นคืออะไร สงสัยแปลกใจ แต่พอลองทำไปมาสนุก มันก็สนุกเพราะว่าเราเล่นกับปรากฏการณ์บางอย่าง งานวิจัยพลาสมาเย็นมันคือการบูรณาการหลายสาขาวิชา ไม่จำกัดแค่วิศวกรรมไฟฟ้า เพราะฉะนั้นตรงนี้ฝากถึงไม่ว่าจะเป็นนิสิตหรือผู้สนใจ โดยเฉพาะนิสิตนักศึกษาไม่จำกัดอยู่แค่นิสิตวิศวกรรมไฟฟ้า จะเป็นสาขาตรงข้ามเลย จะอยู่คณะเกษตร อยู่คณะอุตสาหกรรมเกษตร วิทยาศาสตร์ อะไรก็แล้วแต่ แม้แต่ชีววิทยา การทำงานตรงนี้ผมไม่ได้เก่งทุกด้าน และไม่ใช่คนที่รู้ทั้งหมด เราต้องอาศัยความรู้ทุกด้าน รู้หลายๆ ด้าน บางครั้งผมชื่นชอบ เด็กบางคนมีความสามารถทางชีวะมาเลย ชอบเลย เพราะเราสามารถapply งานหลากหลายมากขึ้น อยากบอกนิสิตที่มีความสนใจ อยากประยุกต์ใช้งานหรือเรียนรู้ ยินดีนะครับlab welcomeเข้ามาได้เลย ความรู้พื้นฐานสงสัยผมบอกได้เลย จริงๆ ใช้ความรู้แค่พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ก็พอ ประสบการณ์บอกได้เลยว่างานวิจัยคือการเรียนรู้ใหม่ สิ่งที่ผมทำอยู่เริ่มต้นอาจจะไม่รู้เลย บางอย่างต้องศึกษาใหม่ อาจจะศึกษาไปด้วยกัน อยากจะฝากนิสิตไว้ตรงนี้นะครับว่า ถ้ามีความสนใจก็ยินดีต้อนรับ ไม่ว่าจะสาขาไหนก็ตาม

ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีพลาสมาเย็นเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยใช่ไหม

     จัดว่าเป็นจุดขาย เพราะว่าพลาสมาเย็นบางคนจะได้ยินในลักษณะที่เรียกว่า Green เทคโนโลยี เทคโนโลยีสีเขียว เทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21 กำลังมา ด้วยองค์ประกอบของเขา อย่างที่ผมบอก แต่จำไว้บางคนอาจจะบอกโอโซนมากไปก็ไม่ดี น้อยไปก็ไม่ดี ถูกไหมครับ ขึ้นอยู่กับการดีไซน์ แต่ที่แน่ๆ ตัวนี้ไม่ทิ้งสารเคมีให้กับสิ่งแวดล้อม หรือแม้แต่ผู้ใช้งานเองก็ตาม และประโยชน์ของเขาในเมื่อเขาสามารถกำจัดเชื้อรา สามารถรักษาโรคได้โดยไม่ใช้สารเคมี เขาเลยติดชื่อว่าเป็นหนึ่งในgreen เทคโนโลยี นอกจากนั้นประโยชน์ของเขาเอง ถ้าออกแบบดีๆ เราสามารถใช้ได้ในพวกบำบัดน้ำเสียมีมานานแล้ว มลพิษทางอากาศ หรือแม้กระทั่งงานวิจัยใหม่ บำบัดน้ำแล้วเอาน้ำนั้นไปเพาะปลูกต้นไม้ แล้วต้นไม้เจริญเติบโตมากขึ้น บางคนอาจจะมีคำถามด้วยซ้ำไป ทำไมวัชพืชแถวๆ ไฟฟ้าแรงสูง จริงๆ เป็นคำถามมานานแล้ว ไฟฟ้าแรงสูงข้างล่างทำไมวัชพืชเจริญเติบโต สิ่งเหล่านี้ตอบท่านได้ ปรากฏการณ์นี้ตอบท่านได้ และที่สำคัญคือผมบอกไม่ทิ้งสารเคมีไว้ให้กับระบบสิ่งแวดล้อม นี่เลยเป็นที่มาของ green เทคโนโลยี

เวลาอาจารย์สร้างสรรค์ผลงานวิจัยแต่ละชิ้น อาจารย์ใช้แหล่งข้อมูลอะไรบ้างคะเพราะว่าเห็นจากหลายสาขาวิชาเลย

     เยอะเลยครับ สมัยตอนเรียนผมอ่านหนังสือสอบก็อ่านเยอะ สมัยไปเรียนต่างประเทศก็อ่านเยอะ ตอนทำงานอ่านหนักกว่าเดิมอีก ค่อนข้างใช้เยอะมาก เริ่มตั้งแต่หนังสือ ตำรา ต้องฝากถึงนิสิตนักศึกษา เรามีโอกาสอยู่ในมหาวิทยาลัยแล้ว เรามีแหล่งข้อมูลที่เมื่อเราออกจากมหาวิทยาลัยแล้ว เราเข้าไม่ถึง ผมอาจจะไม่เข้าใจเรื่องฐานข้อมูลมากนัก แต่พอดีผมอยู่ที่นี่ ผมหาได้เข้าจากaccount ที่นี่ เพราะฉะนั้นข้อมูลผมใช้หมดIEEE เกี่ยวกับวิศวกรรมไฟฟ้า พูดถึงเกี่ยวกับงานวิจัยอย่างเดียวwileyมีทั้งงานวิจัย มีทั้งหนังสือต่างๆ E-book ฐานข้อมูลacsงานวิจัยเราต้องทันโลกให้ทัน งานวิจัยขยับตลอดเวลา ในการทำงานวิจัยเราไม่ใช่คนเก่ง ไม่ได้ตอบปัญหาทุกอย่างได้ บางครั้งเราต้องพึ่งพาคนที่เขาทำมาก่อนเรา คนละแนวกับเราจะตอบเราได้ ฐานข้อมูลที่ผมใช้ค่อนข้างเยอะ มีspringer อีก มีเยอะแยะเลย เป็นฐานข้อมูลที่มีให้บริการในห้องสมุด

นอกจากผลงานพลาสมาเย็นแล้ว ผลงานเราสามารถสืบค้นงานของอาจารย์ได้ที่ไหนบ้างคะ

     จริงๆ ผลงานของผมเองมีในฐานข้อมูล ผมอาจจะโชคดีมีตีพิมพ์ในทุกฐานข้อมูล แต่ง่ายสุด ตรงๆ เลยก็คือ google ยุคสมัยนี้เราอยู่ด้วย google จริงๆ ถ้าสนใจงานผมพิมพ์ชื่อผมเข้าไปใน google จะ link ต่อไปเรื่อยๆ ผมยังคงแนะนำว่างานวิจัยผมไม่ใช่ทุกสิ่ง ผมอาจจะ reportแค่บางอย่างแต่อยากจะให้คนที่สนใจไปดูงานผมแล้วดูหน้า referenceงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ศึกษาไปเลยครับ เพราะจะเจออะไรที่ตอบโจทย์มากกว่า

ขอให้อาจารย์ฝากข้อคิดในการทำวิจัย เพื่อสร้างผลงานต่อยอดให้กับประเทศชาติต่อไป

     การทำงานวิจัยอาจจะไม่ได้คำตอบ หรือไม่ได้ผลที่เราคาดไว้ตั้งแต่แรก เราวัดที่ความอดทน เราต้องอดทนและต้องยอมรับ และเรียนรู้กับเขา งานวิจัยหลายชิ้นที่ประสบความสำเร็จ จุดเริ่มต้นอาจจะเริ่มต้นทำอีกแบบหนึ่ง แต่สุดท้ายผลลัพธ์ที่ออกมาอาจจะตอบโจทย์อีกอย่างหนึ่ง ที่impact มากกว่า หรือบางครั้งถ้าเรารู้สึกว่ายังไม่ได้ผลที่เราต้องการ เราต้องค่อยๆ อดทน ค่อยๆ ทำไป อยากจะฝากตรงนี้ไว้ว่าต้องอดทนและใจเย็น เปิดกว้าง

พลาสมาเย็นที่อาจารย์วิจัยนำไปใช้ด้านอื่นอีกไหม

     ด้านอื่นอีกได้ไหม ผมขอยกตัวอย่าง งานวิจัยปัจจุบัน พร้อมใช้ พร้อมดีไซน์ พร้อมออกแบบในด้านการเกษตรอย่างที่บอก เริ่มจากเมล็ดพันธุ์เรามีแนวโน้มที่เราจะใช้เพื่อการเก็บรักษาอาหาร การเก็บรักษาอาหารในที่นี้ ความตั้งใจเลย อาหารเราแพ็คในซีลในถุงเรียบร้อยแล้ว หรือพืชผักผลไม้โดยเฉพาะออร์แกนิคกระบวนการพลาสมา ผมสามารถเคลียร์พลาสมาให้เกิดขึ้นได้อย่างที่เห็น ลองนึกภาพข้างใน containประกอบด้วยไปด้วย ผักผลไม้ต่างๆ เราไม่ต้องไปแกะซีลออกมา ขอให้อยู่ในสภาพเดิมแต่เรารักษาอายุของอาหารให้นานขึ้น นี่คือเรื่องของเกษตรค่อยๆ ไล่ขึ้นไปจนขนาดใหญ่ขึ้น การดีไซน์ออกแบบ อาจจะคาบเกี่ยวกับเรื่องการแพทย์ ในลักษณะขนาดใหญ่มากขึ้น เราอาจใช้กระบวนการออกแบบดีไซน์ให้พลาสมาทรีตเม้นต์พลาสมาปกติเราใช้คำว่าทรีตเม้นต์เพราะเหมือนเป็นการรักษา เอาอะไรมาทาผิวเรียกทรีตเม้นต์หรือผ่านผิว นี่คือการเกษตร หลังจากนี้จะมีเรื่องมลพิษ ควัน เรารู้ว่าตัวนี้สามารถทำปฏิกิริยากับมลพิษ ควันพิษได้ โอโซนประกอบไปด้วยreactive oxygen speciesอนุมูลอิสระพวกนี้พร้อมจะจับกับโมเลกุลต่างๆ กลิ่น หรืออะไรก็แล้วแต่ และสุดท้ายสามารถapply ได้หลายแอพพลิเคชั่นสุดท้ายที่อยากให้ไปถึงคือวงการแพทย์ ผมก็ยินดีแต่ตัวผมเองอาจจะไม่ค่อยถนัดด้านการแพทย์ แต่เราพร้อมที่จะช่วยsupportดีไซน์เครื่องมือให้

พลาสมาเย็นช่วยในการเกษตรได้อย่างไรบ้าง

     นอกจากการเก็บเมล็ด การฆ่าเชื้อ เริ่มตั้งแต่การเก็บเมล็ดพันธุ์ ผมอาจจะพูดไม่เคลียร์ด้วย เมล็ดตั้งแต่เมล็ดพันธุ์ เราเก็บรักษาเขาปกติเราต้องคลุกสารเคมีบางอย่าง อาจารย์ท่านเองก็ไม่ชอบเท่าไรนัก เป็นโจทย์ให้เรามา เราก็ทดสอบ process นี้ให้ลดสารเคมีลงได้บ้าง เก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ ทำให้เมล็ดพันธุ์เติบโตได้ไวขึ้น หรือดูดซึมน้ำได้มากขึ้น การดูดซึมน้ำได้มากขึ้น ขึ้นอยู่กับการใช้งาน ในการเกษตรด้านอื่นนอกจากเก็บเมล็ดพันธุ์ส่งออกออร์แกนิค ยังมีแอพพลิเคชั่นที่เหนือกว่านี้คือ plasma activated waterเราเอาไปบำบัดน้ำ ฆ่าเชื้อในน้ำ บำบัดน้ำให้ความสะอาดมากขึ้น และในบางconditionเราสามารถบำบัดน้ำทำให้น้ำมีคุณลักษณะบางอย่าง เช่น ไนเตรท ไนไตรท์ให้มีคุณสมบัติบางอย่างที่มีประโยชน์ต่อพืชผักผลไม้มากขึ้น มีคนนำงานวิจัยไปเพาะปลูก ทำก็งอกงามมากขึ้นด้วย เป็นตัวอย่างหนึ่งของการเกษตร

เทคโนโลยีพลาสมาเย็นประยุกต์ใช้ได้กับผลิตภัณฑ์อะไรได้อีกบ้าง

     จริงๆ การฆ่าเชื้อไม่ได้จำกัดอยู่ที่เมล็ดพันธุ์ เครื่องมือต่างๆ หรือแม้แต่มือเรา มือเราต้องล้างมือ ทุกครั้งที่ผมใช้เจล ผมก็ไม่ได้รู้สึกดีทุกครั้ง รู้สึกไม่มีเชื้อโรคแต่มีเจลเกาะที่มือผม แต่พลาสมาเป็นละอองถ้าเรานำมากำจัดเชื้อ ในพื้นผิว เครื่องไม้เครื่องมือทางการแพทย์ อาจจะประยุกต์ถึงขั้นclean มือเรา อุปกรณ์บางอย่างรู้สึกว่ามีเชื้อโรคติดอยู่อาจจะผ่านพลาสมาได้

งานประยุกต์ผลิตภัณฑ์พวกนี้มีโอกาสได้ใช้ในเร็วๆ นี้ไหม

     ตัวผมเองก็ถือว่าช้าในระดับหนึ่ง ที่ผ่านมามัวแต่ไปfocus ว่า ที่มันใช้ได้ผลจริงๆ รึเปล่า ถามprocess นี้ทำได้นานไหม ทำได้พักใหญ่แล้ว สิ่งที่สำคัญสำหรับผม ผมต้องยืนยันให้ได้ว่าเรารู้ว่ามีอะไร เราต้องเข้าใจเขาด้วยว่า ใช้กับอะไรได้บ้าง แต่ตอนนี้ถึงจุดแล้ว ตอนนี้กำลังขยายสเกลที่ตั้งเป้าไว้เลยเราจะสร้างเครื่องขนาดใหญ่ งานวิจัยอยู่lab-scaleเรารู้ว่าหน่วยงานบางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เขาอยากทดสอบปลูกในระดับไร่นา หรือระดับใหญ่มากขึ้น เราอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านจาก improviseระดับเล็กเป็นขนาดใหญ่ ซึ่งคาดว่าเร็วๆ นี้ อาจจะได้เห็น ขอเวลาสักนิดหนึ่ง ใครสนใจลงทุนก็ดี

ผลงานวิจัยสามารถหาได้ที่ไหนในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

     มหาวิทยาลัยเราเป็นมหาวิทยาลัยดิจิตอลไปแล้ว งานทุกอย่างอยู่บนเว็บไซต์จากภาควิชา คณะ หาได้โดยส่วนใหญ่ เราเป็นดิจิตอลlink ถึงกันหมดแล้ว search google สิ่งที่ออกมาแรกๆ คือภาควิชา แล้วก็ไล่ไปตามนั้น

อาจารย์คิดว่าวงการวิทยาศาสตร์ในบ้านเราเป็นอย่างไร ควรจะผลักดันด้านไหนให้กับเยาวชนเพื่อเป็นนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่

     พูดตรงๆ เลยว่าตอนที่เป็นอาจารย์ใหม่ได้สัมผัสกับเด็ก นิสิตที่เข้ามาใหม่ ปี 1 แต่ละคนที่เข้ามา จบ ม.4 5 6 มา แต่ละคน fresh มาก และความรู้เขาเป็นความรู้ที่ผมรักมาก ผมชอบ เขามีไอเดียต่างๆ มากมาย สะท้อนถึงเด็กเหล่านี้คือเรียนสายวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่เล็กจนโต หรือเด็กบางคนอาจไม่ได้เรียนสายวิทยาศาสตร์มาโดยตรง พื้นฐานวิทยาศาสตร์ไม่ได้มาจากไหน มาจากการสังเกต ศึกษาความรู้เพิ่มเติมทำความเข้าใจ  ผมเองเพิ่งเข้าวงการวิทยาศาสตร์จริงๆ ตอนที่ผมเรียนปริญญาเอกนี่เอง เรากลับไปสัมผัสเด็กวงการวิทยาศาสตร์บ้านเรา เยาวชนเก่ง เพียงแต่ว่าปัญหาของเราในมุมกว้าง การผลักดันให้เขานำความรู้เหล่านั้นมาใช้งานจับต้องได้ง่าย ระบบการเรียนรู้ที่ที่เข้ามา บางครั้งผมเข้าใจ พอเข้ามาเรียนเรามีวิชาเฉพาะทางบางอย่างมากขึ้น ความรู้นั้นก็ใช้น้อยลง แต่ในปัจจุบันโลกของเราจะเข้าไปอยู่ในบูรณาการสหวิทยาการหลายสาขา ถ้าทำให้เขาเรียนในสาขาหลักของเขา และยังใช้ความรู้พื้นฐาน ความเข้าใจเก่าของเขาเข้าด้วยกันได้ โดยเฉพาะงานmergeหลายๆ ฟิวเข้าด้วยกัน บางครั้งหนีไม่พ้นเยาวชนอาจมีความถนัดทางวิทยาศาสตร์ไม่เหมือนกัน ยิ่งถ้าร่วมมือกันได้ แม้แต่ระดับในหน่วยงานของเราอาจเป็นส่วนผลักดันที่ดี จะทำให้ภาพนี้เห็นชัดว่าการใช้งานนี้เห็นชัดมาก

ทรัพยากรสารสนเทศของสำนักหอสมุดที่เกี่ยวข้อง

ชื่อเรื่อง

  1. การโมเดลวิเคราะห์และประยุกต์ใช้วัสดุอุปกรณ์โครงสร้างขนาดนาโนในอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์และพลาสมา [electronic resource] = Modeling and analysis of nanoscale materials and geometries in electronics and plasma applications / ศิวพล ศรีสนพันธุ์
  2. นาโนเทคโนโลยีขั้นต้น / เรียบเรียงโดย ศรัญญา พรหมโคตร์
  3. Nano science and technology : novel structures and phenomena / edited by Zikang Tang and Ping Sheng
  4. Atmospheric Plasma Jet: Effect of Inner Diameter Size to the Length of Plasma Discharge.
  5. Nanotechnology Inclusion in Pharmaceutical Sciences Education in Portugal.
  6. พลาสมาดีเอ็นเอในผู้ป่วยมะเร็ง / วชิราวุธ ใจหวัง ... [และคนอื่น ๆ]
  7. พลาสมาเทคโนโลยี : เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาผ้าไหมและสิ่งทอไทยสู่ระดับโลก / ประดุง สวนพุฒ
  8. นาโนเทคโนโลยี / ชัชฎา กมลเดชเดชา
  9. นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีแห่งศตวรรษ / วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล
  10. นาโน (10-9) เทคโนโลยีใกล้ตัว / วนิดา คูชัยสิทธิ์
  11. นาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม / พวงรัตน์ ขจิตวิชยานุกูล
  12. นาโนเทคโนโลยีกับการพัฒนาประเทศไทย / วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล, วัชรภ ชัยกิตติศิลป์
  13. Plasma–maser theory for magnetized electron–positron plasma 

 
 
 
1xbet casino siteleri bedava bahis kaçak bahis superbetin yeni giriş casino siteleri