การพัฒนาระบบตรวจจับปูม้าลอกคราบอัตโนมัติ
การพัฒนาระบบตรวจจับปูม้าลอกคราบอัตโนมัติ
วันนี้ เราได้รับเกียรติจาก อาจารย์.ดร.สุขกฤช นิมิตกุล อาจารย์ประจำภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งอาจารย์เป็นผู้ที่พัฒนาระบบตรวจจับปูม้าลอกคราบอัตโนมัติ เป็นระบบที่ทำให้เราสามารถกินปูม้านิ่มได้ง่ายขึ้น ซึ่งปูม้านิ่ม เป็นอาหารทะเลที่มีความต้องการในตลาดสูง ทั้งในและต่างประเทศ เนื่องจากกินได้ทั้งตัว แล้วก็ไม่ต้องเสียเวลาแกะเปลือกแกะกระดอง มีปริมาณเนื้อส่วนที่รับประทานได้มากกว่าปูที่มีเปลือกแข็ง 3-4 เท่า
วันนี้รบกวนอาจารย์ให้ความรู้เกี่ยวกับปูม้านิ่มหน่อยครับอาจารย์ คำถามแรกเลย ผมอยากรู้ว่า ปูนิ่มกับปูธรรมดามีความแตกต่างกันอย่างไรครับ
ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณทางสำนักหอสมุดนะครับที่ได้มาสัมภาษในวันนี้ ก่อนอื่นก็ต้องอธิบายว่าปูนิ่มไม่ได้เป็นปูชนิดใหม่ หรือไม่ได้เป็นปูอีกชนิดนึง ตามที่หลายคนเข้าใจกัน ปูนิ่มก็คือปูปกติ เพียงแต่ว่า ในช่วงชีวิตนึงของปู กุ้ง ไม่สามารถขยายร่างกายได้เหมือนมนุษย์ เพราะมนุษย์มีผิวที่อ่อนนุ่มยืดหยุ่นขยายได้ เหมือนเวลาอ้วน ท้องเราก็จะยื่นออกมา พอผอม ท้องก็ยุบไป แต่สัตว์พวกนี้มีข้อเสียอย่างนึงคือ เปลือกเขาแข็ง เพราะฉะนั้นเปลือเขาไม่สามารถยืดหยุ่นได้เหมือนเราที่มีเนื้อหนัง เขาก็ต้องใช้วิธี ทิ้งเปลือกเก่า แล้วก็สร้างเปลือกใหม่ที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิม คือกระบวนการนี้เขาเรียกว่า กระบวนการลอกคราบ เพราะฉะนั้น ในระหว่างที่เขาสลัดเปลือกเก่าออกไป เปลือกที่กำลังจะขึ้นมาใหม่มันยังอ่อนนุ่มอยู่ แค่ระยะเวลาสั้นๆ พอผ่านไปชั่วโมงนึง หรือสาม-สี่ชั่วโมง เปลือกจะค่อยๆแข็งขึ้น จนกระทั่งแข็งเป็นเปลือกใหม่ที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิม มนุษย์ก็ไปค้นพบว่า ถ้าเราจับปูหรือกุ้งตอนที่เพิ่งลอกคราบใหม่ๆ เปลือกยังอ่อนนุ่มอยู่ เอามาแช่แข็ง เปลือกก็จะยังอ่อนนุ่มอยู่ ก็เลยเป็นที่มาของปูนิ่ม เพราะว่า ข้อหนึ่งของการกินปูคือ ไม่ค่อยมีใครอยากแกะปู เพราะลำบาก มือเลอะเปอะเปื้อน ก็เลยกินปูนิ่ม ปูนิ่มในที่นี้คือปูที่เพิ่งลอกคราบใหม่ ที่จับมาแช่เย็นก่อนที่คราบใหม่จะแข็ง ก็เลยเป็นที่มาของปูนิ่ม ทีนี้ ปูที่เรานิยมเอามาทำเป็นปูนิ่มในปัจจุบัน คือปูทะเลหรือพวกปูดำทั้งหลาย ก็คือปูที่จับได้ทางป่าชายเลน ก้ามใหญ่ๆตัวสีดำออกเขียว เพราะอยู่บนบกได้หลายวัน แค่นำผ้าเปียกมาคลุมไว้ ตัวนี้หละครับที่เรานิยมนำมาทำปูนิ่ม ก็แสดงให้เห็นว่า ปูนิ่มไม่ใช่สัตว์ชนิดใหม่ เป็นแค่ เราอาศัยช่วงที่เขากำลังเจริญเติบโตเอามาเป็นประโยชน์กับมนุษย์ คือการกินโดยไม่แกะเปลือก
ปูนิ่มที่อาจารย์พัฒนา ศึกษาอยู่ เป็นสายพันธ์อะไรครับ
คือต้องย้อนไปก่อนนะครับ ว่า ปูนิ่มเนี่ยเราเป็นคนคิดค้นรึเปล่า เปล่าครับ เขาทำกันมาหลายสิบหลายร้อยปีแล้ว เพียงแต่ว่า ปัญหาในปัจจุบันที่เกิดขึ้นกับธุรกิจปูนิ่มในไทย หรือเอเชีย คือการขาดแคลนลูกพันธ์ แล้วทำไมถึงขาดแคลน ก็ต้องอธิบายว่า กระบวนการผลิตปูนิ่มเนี่ย ทำยังไง ขั้นแรกเลย ก็คือต้องเอาปูตัวเล็กๆมาใส่กระบะพลาสติก1ตัว ต่อ1กระบะ เพื่อแยกไม่ให้อยู่รวมกัน เพราะปูมีนิสัยกินกันเองเมื่ออีกตัวลอกคราบ ปรากฏว่า กระบวนการนี้ต้องใช้ปูเยอะ เพราะฟาร์มๆนึงมีปู2หมื่น-7หมื่นตะกร้า นั่นหมายความว่า เราต้องเอาปูใส่ตะกร้า7หมื่นกระดอง ก็ต้องใช้ลูกปูเยอะ ลูกปูก็ต้องดักจับ ไม่มีฟาร์มเพาะเลี้ยง ก็ต้องดักจับตามธรรมชาติ ปูพวกนี้อาศัยตามป่าชายเลน เพราะฉะนั้น ป่าชายเลนเราพื้นที่เหลือน้อยลงจากการทำนากุ้ง การบุกรุก ทำให้ลูกพันธ์พวกนี้หายไป วิธีการแรกๆก็ไปหาประเทศเพื่อนบ้านที่ยังมีป่าชายเลน ไม่ว่าจะเป็นพม่า อินเดีย บังคลาเทศ ทำไปมาประเทศเหล่านั้นก็คงคิดว่า ปูก็ของเรา แรงงานในฟาร์มก็แรงงานประเทศเรา แล้วทำไมเราไม่ทำเอง เขาก็เลยมีการทำฟาร์มของประเทศเขาเยอะ บางส่วนเรานำเข้าลูกปูมา โดยที่เขาคัดลูกปูตัวที่ดีๆไว้เรียบร้อย ตัวที่ไม่ดีก็ส่งมาขายเรา ฟาร์มเราก็คือ มีปัญหาเรื่องลูกพันธ์ที่ไม่ดี กระท่อนกระแท่นมาเรื่อย บางครั้งโชคดี มีลูกพันธ์ก็ดีไม่มีก็ไม่รู้จะทำยังไง อันที่สอง อันนี้น่าสนใจ ก็คือ อย่างเมื่อกี้ที่บอกไปว่าถ้าทิ้งเวลาไว้นานกระดองมันจะแข็ง นั่นหมายความว่าหลังจากปูลอกคราบแล้วต้องเอาไปแช่เย็นให้เร็วที่สุด นั่นหมายความว่าทุกสี่ชั่วโมงต้องมาคอยเช็ค ถ้าฟาร์มนึงมี7หมื่นตะกร้า ก็ไล่เช็คไปทุกๆสี่ชั่วโมง เพราปูเขาไม่ได้มาเลือกวัน ว่าวันนี้จะไม่ลอกคราบ เขาก็ลอกตามธรรมชาติของเขา เราก็จะคิดว่า ปูส่วนใหญ่ลอกกลางคืน ทำไมต้องเลือกกลางคืน เพราะความมืดอำพรางตัว เป็นช่วงเวลาที่ตัวเองอ่อนแอที่สุด เพราะถ้าลอกตอนกลางวันก็จะโดนเพื่อนจับกิน นอกจากจะต้องคอยเช็คทุกสี่ชั่วโมง มันยังลอกคราบมากช่วงเที่ยงคืน-6 โมงเช้า มนุษย์ชอบไหมอะ เราไม่ได้นอนอะ คงไม่ไหว ก็เลยเป็นที่มาของกระบวนการทำปูนิ่ม เป็นกระบวนการที่ หนึ่ง เลือกลูกพันธ์ สอง มีปัญหาเรื่องแรงงาน แรงงานต้องอดทน เพราะไปไหนไม่ได้ 4 ชั่วโมง เช็คครั้งนึงไม่ได้ใช้5-10นาที ต้องนั่งไล่ดูไปเรื่อย ดีไม่ดีหมดครึ่งชั่วโมง พอหมดครึ่งชั่วโมงก็ไปนอน อีกสามชั่วโมงตื่นมาเช็คใหม่ ช่วงตี4-ตี5ตาเบลอๆ อาจจะหลุดตัวที่ลอกคราบไปได้ และยังไม่นับการให้อาหาร ต้องมานั่งหยอดอาหาร เพราะฉะนั้นก็จะกลายมาเป็นปัญหาของธุรกิจปูนิ่มในประเทศไทย ทั้งเรื่องการใช้แรงงาน หลักๆก็เรื่องนี้ ส่วนเรื่องตลาดไม่มีปัญหา มีขายหมด มีไม่พอ ซึ่งพูดได้น้อยมากกับสินค้าประมง อย่างปลา ปลานิล จะมีปัญหาเรื่องราคาตกต่ำบ้าง ปูนิ่มเป็นสินค้าที่มีความต้องการของตลาด แต่ไม่สามารถผลิตได้เต็มที่ เพราะติดปัญหาเล็กๆน้อยๆพวกนี้ การผลิตปูนิ่มในอดีตก็จะเป็นแบบนี้ ใช้ปูทะเลดำ และใช้แรงงานในการสาว ซึ่งผมมีวิดิโอ แต่จะเปิดให้ดูทีหลัง ว่ามันต้องใช้คนสาวจริงๆ แล้วคนก็ต้องเก่งมากๆ เพราะว่า ผมเองยังไม่สามารถมองได้ไวเท่าเขาเลย คือเราไปยืนมองตามเขา ตะกร้าผ่านไปไวมาก แต่เขามองเห็นทัน แบบนี้เขาเรียกว่าแรงงานมีทักษะ ซึ่งหายาก เพราะฉะนั้น ก็เกิดความไม่แน่นอนในธุรกิจ นี่ก็เป็นปัญหาในการผลิตปูนิ่มในปัจจุบัน ทีนี้ ทางคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีสถานีวิจัยอยู่5แห่งทั่วประเทศไทย ไม่มีภาคเหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะว่าสถาบันวิจัยเราจะอยู่ภาคกลาง ตะวันออก และใต้ ทีนี้ หนึ่งในสถานีวิจัยนั้นคือสถานีวิจัยประมง คลองวาน ที่ประจวบคีรีขัน ซึ่งสถานีวิจัยนี้เป็นสถานีวิจัยที่วิจัยเรื่องปูม้ามานาน แล้วก็ผลิตปูม้าได้ ผลิตในที่นี้คือ แม่ปูม้าในทะเลมาฟักไข่ แล้วก็มาเพาะเลี้ยงต่อในบ่อดิน ทีนี้ ผมเลยร่วมมือกับทางสถานีวิจัยคลองวาน โดย ดร.วุฒิชัยเป็นหัวหน้าสถานี ท่านก็จบคณะประมงเหมือนกัน เป็นรุ่นพี่ผม ดร.วุฒิชัยหรือพี่เต้ยเนี่ย ก็จะเป็นนักเพาะปูของคณะประมง พี่เต้ยก็ทำเรื่องเพาะปูมานานแล้ว ผมเอง ตอนนั้นก็เพิ่งเรียนจบกลับมา ต้องเล่าย้อนกลับไปนิดนึงว่า ตอนที่ผมเรียน ผมทำงานวิจัยเกี่ยวกับปู แต่ไม่ได้ทำเรื่องปูนิ่ม ผมทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องฮอร์โมนการลอกคราบของปู นั่นหมายความว่า ผมเป็นคนรีดเลือดกับปู ผมทำ ไม่ใช่ปูไม่มีเลือดนะครับ มีเยอะมาก ประมาณ30%ของน้ำหนักตัวเป็นเลือด เพราะฉะนั้น ผมเนี่ย เอาเข็มฉีดยาดูดเลือดปูทั้งวัน นี่คือชีวิตตอนเรียน แล้วกลางคืนก็ต้องออกไปจับปูเอง อาจารย์เขาไม่ทำอะไรให้ เราก็ต้องทำทุกอย่าง มีอยู่วันนึง ผมคิดว่า ผมน่าจะซื้อกล้องNight vision ก็เลยซื้อมา ปรากฏว่า เห็นกระดองปูชัดมาก เพราะแสงอินฟาเรตมันสะท้อนกระดองปู พอมันเห็นชัดเราก็จับปูได้เยอะ เห็นปู แต่ปูไม่เห็นเรา ก็จับมาตั้งแต่สมัยนั้น เมื่อห้าปีที่แล้ว ผมเป็นอาจารย์ใหม่ ก็ได้มีโอกาส เล่าเรื่องนี้ให้ รศ.ดร.วรา ฟัง ท่านก็เสนอไอเดียมาว่า เอาความรู้ตรงนี้มาพัฒนาระบบตรวจจับปูลอกคราบได้ เราก็เลยปิ๊งไอเดีย ตอนแรกก็จะเขียนขอทุน แต่ท่านก็บอกว่าเราเปลี่ยนไม่ใช่ปูดำแล้วมาใช้ปูม้าได้ไหม เพราะสถานีเราผลิตปูม้าได้ ทำไมไม่มีคนใช้ปูม้าเลยในไทย ก็ไปศึกษาเพิ่มเติม ผลออกมาว่า ที่ยังไม่มีใครทำปูม้า เพราะหนึ่ง ยังไม่มีคนเพาะปูม้าในไทย สอง ปูม้าที่ถูกจับจากทะเลมันไม่ทน เอามาใส่กล่องแบบปูดำแล้วมันตาย สาม ปูม้ากระดองแข็งเร็วมาก 1ชั่วโมง นั่นหมายความว่า แรงงานจะหยุดเช็คไม่ได้ ต้องเช็คตลอด มันก็ติดปัญหาเรื่องเทคโนโลยีกับชีววิทยาแล้ว งานนี้ประมงก็เลยทำคนเดียวไม่ได้แล้ว เราก็ไปปรึกษาว่าจะเอาใครมาช่วยดี คิดไปคิดมาก็นึกได้ว่ามก. มีคณะวิศวะ แต่วิศวะอยู่กลางมหาลัย เราอยู่ตรงนี้ ปกติไม่ค่อยเจออาจารย์วิศวะ เราจะทำยังไงดี เราก็สอบถามอาจารย์ผู้ใหญ่หลายๆท่าน ก็ได้คำแนะนำว่า ให้ไปหาอาจารย์ที่คณะวิศวะ ผมก็โทรถามเรื่อยๆ จนวันนึงก็ได้โทรสอบถามอาจารย์วุฒิพงศ์ ท่านก็ให้ความกรุณา ให้ผมเข้าพบเพื่อรับคำปรึกษา แล้วมันก็สนุกมาก เพราะใช้เวลาสองชั่วโมงแรก อธิบายเรื่องปูนิ่ม เพราะว่าอาจารย์วิศวะก็จะไม่เข้าใจทางชีวะ อาจารย์ทางชีวะก็จะไม่เข้าใจทางกลไกวิศวะ ก็อธิบายไป พออธิบายเสร็จท่านก็บอกโอเค เข้าใจคอนเซปแล้วว่าต้องการทำอะไร ผมก็เลยอธิบายว่า กระดองปูมันสะท้อนแสงอินฟาเรตเป็นสีขาว ในขณะที่กะบะไม่สะท้อนเป็นสีดำ เพราะฉะนั้น ถ้าปูลอกคราบ สัดส่วนของพื้นที่สีขาวก็จะเพิ่มมากขึ้น คืแปกติ ถ้าเรามีกะบะ แล้วในหนึ่งกะบะมีปูตัวเดียว แสงสีขาวก็จะเกิดแค่ตรงนี้ แต่ถ้ามีสองตัว กระบะเท่าเดิม มันก็ต้องมีสีขาวมากขึ้นอีก ก็ใช้หลักการแค่นี้มาตรวจจับ ท่านบอกว่า ง่ายมาก ทางวิศวะสอนเด็กป.ตรีเรื่องนี้ แต่สำหรับเรานี่ยากมาก ทีนี้เราก็ขออาจารย์เขียนโครงการร่วมกัน ก็ได้งบมาก้อนนึง ก็เลยมาทำ หลักการก็คือว่า 1.ปูม้าเราผลิตได้ ไม่มีปัญหาเรื่องลูกพันธ์ ไม่ต้องนำเข้า แถมเรายังค้นพบด้วยว่า ปูม้าที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงอยู่ในตะกร้าแล้วไม่ตาย ไม่ช้ำ แต่ปูม้าที่เกิดจากธรรมชาติ เอามาใส่ตะกร้าแล้ว ตายสูงมาก คิดภาพอย่างนี้ครับ เราอยู่ข้างนอก วันหนึ่ง ถูกจับติดคุก เราก็คงเศร้า เฉาตายในคุก เหมือนกับปูม้า ที่อยู่ในทะเล วันนึง ถูกจับมาขังใส่กระป๋องเล็กๆ เกิดมาเป็นปูอิสระ กินอะไรก็ได้ วันนึงมาโดนแบบนี้ก็คงเฉาตาย แต่ถ้าปูที่เกิดในบ่อดิน เขาคุ้นเคย เกิดมาก็เจอแบบนี้แล้ว โตในสภาพแวดล้อมแบบนี้ เอาเขาไปจับขังเขาก็สบายๆ คุ้นแล้ว ก็ไม่มีการตาย เพราฉะนั้น ปูที่เกิดจากการเพาะเลี้ยง ความทนทานที่จะอยู่ในการขังมีมากกว่า มันก็เข้าทางเราเลย เพราะปูม้าเราเพาะได้ ลูกปูมีความแข็งแรงมากขึ้น แล้วก็การที่มันลอกคราบเร็ว ทางคณะวิศวะ โดยท่านศาสตราจารย์....... อารีกุล กับลูกศิษย์ป.เอกของท่าน คุณอู๊ด ก็ช่วยกันเขียน เราก็ให้คำปรึกษาด้านชีวะวิทยา อาจารย์กับคุณอู๊ดก็ช่วยกันเขียนโปรแกรมวิศวะ ก็ได้ต้นแบบ เพื่อที่จะทดสอบดูว่า สิ่งที่เราคิดนี่สามารถตรวจจับได้จริงมั้ย เราก็เอาไปประกอบกับปูม้าที่เราผลิตได้จากสถานีวิจัยคลองวาน เราก็ทดสอบ ก็ปรากฏว่า ไม่ได้แปลกใจหรอกครับ ปัญหาร้อยแปดพันเก้าแน่นอน ที่เราไม่เคยคิดจะเจอก็เจอ ยกตัวอย่างเช่น ปูปกติมันอยู่อย่างนี้ กล้องก็ตรวจเจอ บางทีปูขี้เล่นนอนแบบตะแคงกล้องก็จับไม่ได้ เจอพื้นที่น้อย หรือตรวจเจอว่าลอกคราบทั้งที่ไม่ได้ลอกคราบ อีกอย่างก็คือมุมแสง แสงไฟมันเป็นแสงอินฟาเรตสะท้อนกระดองปู พอลงต่ำแสงมันสะท้อนเข้ากล้อง เบลอไปหมดเลย หรือปัญหาแปลกๆ ทุก6โมงเย็น-2ทุ่ม บางกล้องจะมีแสงสีขาวเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุก็มี ความชื้นก็ไม่ใช่ ฝุ่นก็ไม่ใช่ มาเองตั้งแต่6โมง-2ทุ่ม หลังจากนั้นก็หายไป เราก็ไม่เข้าใจ เป็นแค่บางกล้องบางตำแหน่ง แสงไฟก็ไม่ใช่ ความชื้นไม่ใช่ เอาคนไปเช็ดก็ไม่หาย ก็ไม่รู้ว่าเพราะอะไร จะไสยศาสตร์หรืออะไรก็แล้วแต่ ไม่สามารถอธิบายได้ ปัจจุบันก็ยังอธิบายไม่ได้ คือคอนเซปมันง่าย แต่ตอนปฏิบัติจริงรายละเอียดเยอะ หลังจากนั้นหนึ่งปีก็ได้โครงการ ทำเป็นWorking Prototype ได้สำเร็จ ก็คือสามารถตรวจจับการลอกคราบได้ แต่ก็ยังมีการผิดพลาดบ้าง โปรแกรมก็ต้องพัฒนาต่อไป อันนี้ก็คือประวัติคร่าวๆของโครงการนี้
อยากจะให้อาจารย์เล่าถึงกระบวนการทำงานของเครื่อง ที่เรียกว่า เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์วิชั่น
คือ เป็นตัวที่สามารถแปลงผลจากภาพแล้วตัดสินได้ว่า ตัวนี้จะลอกคราบหรือไม่ มันเป็นโปรแกรมที่ อันนี้ผมอาจจะอธิบายได้ไม่ดีเท่าคนเขียนนะ เพราะว่าทางประมงเองก็จะบอดๆนิดนึงทางวิศวะ เพราะฉะนั้นหลักการคือว่า พอกล้องจับภาพได้ ภาพต่างๆเป็นขาวกับดำ ปูจะเป็นสีขาว พื้นหลังจะเป็นสีดำ โปรแกรมจะคอยมอนิเตอร์ตลอดเวลาว่า การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่สีขาวเมื่อเทียบกับที่ทั้งหมดของกล่อง เช่น ถ้าพื้นที่ของกล่องเป็น100% อันนี้15% ถ้าปูขยับก็จะบวก ลบ ซัก17%12% 10% แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ทะลุจาก15% เป็น30% คือลอกคราบ แน่นอน เพราะงั้น เครื่องก็จะตรวจพบแบบนี้ให้เราโดยอัตโนมัติ ถ้าทำแบบนี้ เมื่อกี้ที่เราคุยกันว่าต้องเอาคนไปนั่งเช็ค ก็ไม่ต้องแล้ว แล้วเวลาเราออกแบบเรื่องนี้ สมาชิกในโครงการคุยกันตั้งแต่ต้นเลยว่า เวลาเราออกแบบตรงนี้ มีสามหลักตั้งแต่ต้น 1.ต้องไว้ใจได้ ทำงานไม่เสีย 2.ต้องไม่แพง 3.ต้องเป็นมิตรต่อผู้ใช้ ไม่ใช่ว่าโผล่ขึ้นมางงตั้งแต่บรรทัดแรก แบบนี้ไม่ไหว เพราะฉะนั้นนั่นหมายความว่า เราพยายามใช้อุปกรณ์ที่มีในท้องตลาด ที่มีราคาถูก เพื่อให้ตรงกับความไม่แพง กล้องวงจรปิดเราใช้ตัวที่ติดอยู่ตามบ้าน ตัวละ4-500บาท สายก็ลากสายแลนปกติเข้าเลาน์เตอร์ที่เราใช้ที่บ้าน เพราะฉะนั้นตัวฮาร์ดแวร์จริงๆไม่ได้สิ้นเปลือง หาได้ทั่วไป หลักการคือ ถ้าเราจะทำให้สำเร็จ จะไปสั่งกล้องที่มี10ตัวในไทยคงเป็นไปไม่ได้ ก็ต้องสั่งกล้องที่คนอื่นมีอยู่แล้ว สามารถซื้อได้ง่าย เพราะว่าวัตถุประสงค์หลักของโครงการคือ เพื่อให้ธุรกิจนี้เกิดขึ้นในอนาคต ผมต้องย้ำนิดนึงนะ ว่าธุรกิจนี้เกิดขึ้นแล้วในไทย อันนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เป็นเรื่องเก่า แต่สิ่งที่ผมอยากให้มันเกิดกับโครงการนี้คือ ธุรกิจปูม้านิ่ม ซึ่งตอนนี้มันยังไม่เกิด ต้องเรียนตามตรงว่ายังไม่เกิด เพราะหนึ่ง เป็นการผลิตลูกปู สอง เป็นปัญหาเรื่องการใช้แรงงานตรวจจับการลอกคราบของปู มันชั่วโมงเดียว แล้วตอนนี้ปูจับได้ก็ขายเป็นปูเนื้อหมด ถ้าตัวเล็กหน่อยก็เป็นปูแกะ แกะเอาเนื้อ ปูทอดกรอบตัวเล็ก เพราะฉะนั้นตอนนี้เรากินปูม้าตั้งแต่เล็กจนโต ทุกไซส์มีตลาดหมด โตขึ้นมาหน่อยก็จับมาทำส้มตำ เดี๋ยวนี้ส้มตำก็เป็นส้มตำปูม้า สมัยก่อนใช้ปูแสม ปูนา ปัจจุบันเป็นปูม้าแล้ว เพราะฉะนั้นมันมีตลาดของมันทุกช่วง เราก็เลยคิดว่า ทำไมปูม้าเอามาทำปูนิ่มไม่ได้ ทำไมเราจะสร้างห่วงโซ่ของธุรกิจปูม้านิ่มไม่ได้ ตอนนี้ปัญหาหลักๆที่เกิดคือ เทคโนโลยีกับลูกพันธ์ ซึ่งลูกพันธ์เนี่ย เราเพาะพันธ์ได้ แต่ติดที่เทคโนโลยี เราก็เลยมาทำทั้งลูกพันธ์และเทคโนโลยี ในอนาคตก็หวังว่าหากเทคโนโลยีนี้พัฒนาไปถึงจุดนึงที่สามารถส่งต่อไปในการค้าขายได้แล้ว มันก็จะเกิดห่วงโซ่อุปทาน คือมันจะมีคนผลิตลูกปูม้าจากบ่อดิน มีคนที่เอาลูกปูม้าไปชำ เพื่อให้ได้ขนาดที่ต้องการ มีคนซื้อลูกปูม้ามา ใช้ระบบนี้ตรวจจับ แล้วก็มีห้องเย็นมาซื้อ ทำตลาดต่อไปในอนาคต นี่คือสิ่งที่โครงการนี้โดยเฉพาะผมและทีมงาน อยากจะทำให้มันเกิด เพราะว่ามันยังไม่เกิด และปูม้าเป็นสินค้าที่ยังไม่มีตัวเปรียบเทียบในตลาด หมายความว่า เนื่องจากไม่เคยมีปูม้านิ่มในตลาดมาก่อน เพราะงั้นราคาเนี่ย ไม่รู้เริ่มต้นเท่าไหร่ ทางการตลาดจึงเป็นโอกาสที่ดีที่จะตั้งราคา แล้วก็เป็นปูที่มีสตอรี่สวย หมายความว่า ไม่ได้จับจากทะเลมา แต่ต้องผ่านการเพาะมาตั้งแต่ไข่ ตัวเล็ก จนตัวโต เอามาใส่และนำกล้องที่มีเทคโนโลยีไปตรวจจับ เสร็จแล้วนำมาแช่น้ำให้ปูมีความสดมากที่สุด ล้างความเค็ม แล้วก็ออกมาในจานตรงหน้าท่าน ผมมองว่า อย่างนี้ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจ อีกอันนึงที่ผมมองว่าเป็นสิ่งที่น่าให้ความสำคัญมาก ก็คือการผสมเทคโนโลยี ของทางด้านชีวะ กับวิศวกรรม เพราะว่าปกติประมงก็ทำแต่หน้าที่ประมง ประมงก็จะเลี้ยงปลา ใช้ความรู้ทางวิศวะน้อยมาก ในขณะเดียวกันวิศวะก็ทำหน้าที่ของเขาไป ไม่ได้เอาความรู้ทั้งสองมาผสมกัน ซึ่งถ้ามาผสมกันแล้วจะทำให้เกิดสิ่งดีๆ คือสิ่งที่ยากของเขาคือสิ่งที่ง่ายของเรา และสิ่งที่ง่ายของเรามันก็คือสิ่งที่ยากของเขา เพราะฉะนั้นถ้านำทั้งสองมารวมกันแล้วก้จะง่ายทั้งคู่ ก้จะสามารถที่จะไปได้สวยในอนาคต ทีนี้ถามว่า ปูม้านิ่มมีคนเคยได้กินยัง มีแล้ว ผมก็เคยกิน แต่มันไม่ได้มาง่ายๆ มันมายังไงรู้ไหม มันมาจาก ร้านค้าปูที่เอาปูเป็นๆไปสต๊อกไว้ ไปร้านอาหารทะเลก็จะมีตู้ปู ปูพวกนั้นก็จะลอกคราบ เจ้าของร้านก็เห็น ก็เอามาแช่เย็นแล้วก็ทำอาหารให้ลูกค้ากิน แต่เป็นสเปเชียลเมนู มีก็ได้กิน ไม่มีก็ไม่ได้กิน เพราะว่าต้องรอลอกคราบ ก็ไปลองกินมา ก็มีรสชาตที่อร่อย แล้วจากการที่ไปสอบถามร้านค้าต่างๆ เขาก็ยืนยันว่าปูม้านิ่มอร่อยกว่า อีกทั้งคงรูปร่างได้มากกว่าเวลาทำกับข้าว ทำให้เห็นรูปร่างปู คนนิยมมากกว่า อันนี้คือได้จากการฟังความคิดเห็นการทำโครงการที่ผ่านมา แล้วเขาก็ยังบอกอีกว่า น่าจะทำราคาได้ดีกว่าปูทะเลนิ่ม แล้วตอนที่อาจารย์ไปทานสเปเชียลเมนูนี่ เขาคิดราคาอาจารย์เท่าไหร่ครับ ก็เหมือนเดิม คิดเท่าเดิม แต่ส่วนตัวผมไม่ได้เห็นความแตกต่าง ระหว่างปูดำนิ่ม ปูม้านิ่ม เวลากิน ในความคิดของผม เนื่องจากการทำกับข้าวของไทย เช่นปูผัดผงกะหรี่รสชาตของเครื่องแกงมันกลบปูหมด เพราะฉะนั้นไม่ได้ด้อยกว่าปูนิ่มปกติ แต่ถามว่าดีกว่ามากมั้ย ถ้าหลับตาผมก็อาจจะมองไม่ออก แต่รูปร่างดีกว่า อันนี้คือสิ่งที่ผมรู้สึก แต่ไม่ได้หมายความว่า ลูกทีมรู้สึกไม่เหมือนกันนะบางคนไปกินแล้วว่าปูม้าอร่อยกว่า บางคนก็บอกปูดำอร่อยกว่า มันก็แล้วแต่คนกิน แต่ผมมองว่า ถ้ามองในแง่ของความยั่งยืนของการใช้ทรัพยากร ปูม้ายังไงก็กินขาดแน่นอน เพราะว่าเราไม่ต้องซื้อลูกพันธ์ แล้วลูกพันธ์ปูทะเลในปัจจุบัน ที่บอกว่านำเข้าจากอินเดีย บังคลาเทศ บินเครื่องบินมา นะครับ ขึ้นเครื่องบินมา แล้วมาลงสุวรรณภูมิ มีรถไปรับ แล้วก็กระจายไปตามฟาร์มต่างๆ บางครั้งตายครึ่งนึง คิดภาพครับ เมื่อกี้เป็นปูม้าธรรมดาเกิดในทะเลใช่มั้ย อยู่ดีๆถูกคนจับใส่กล่องก็เฉาตาย อันนี้เลวร้ายกว่านั้นอีกนะ เป็นปูดำอยู่ดีๆในอินเดีย เดินเข้ารอบ โดนจับแพ็กใส่กล่องขึ้นเครื่องบินมากรุงเทพ จากกรุงเทพนั่งรถไปไหนก็ไม่รู้ เราจะรอดหรอครับ เป็นเราก็คงเฉาตาย นี่คือการใช้ปูที่ไม่ได้เป็นลูกพันธ์ที่เกิดจากการเพาะเองในพื้นที่ มันมีความเสี่ยงเรื่องอัตรารอด เพราะฉะนั้น จะมีปัญหา อีกอันนึงคือ เวลาแพ็คปูเนี่ย คือเขาเอาใส่กล่องกล่องนึงตัวนึง เขาก็ต้องนั่งดูทีละกล่อง แล้วคิดภาพ อยู่ในกล่องสีดำ แดดเปรี้ยงตอนกลางวัน แล้วอยู่ที่ผิวน้ำ ร้อนนะ แล้วมันใช่ที่อยู่ตามธรรมชาติของปูไหม เครียดไหม เครียด เวลาคนเราเครียดๆอยากทำอะไรไหม ก็ไม่ อยากอยู่เฉยๆ ปูก็เหมือนกัน สัตว์น้ำสัตว์ทะเลเหมือนกัน จะมีพฤติกรรมผิดไปจากปกติ พอมีความเครียดปั๊บ ก็ตายง่าย เหมือนเราตรอมใจ เครียดมาก ฉะนั้นเหมือนกัน เอาเขามาอยู่ในนี้ก็เครียด เพราะงั้นนี่คือปูที่จับมาจากป่ามาใส่ ถ้าเอาปูที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงมาใส่ ก็คงเครียดเหมือนกัน แต่เครียดน้อยลง เพราะเขาคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อม ตัวอย่างเช่น เอาหมาป่ามาล่ามโซ่ ขังไว้ที่บ้าน มันจะอยู่กับเราไหม มันก็คงพยศนะ แต่หมาของเราที่เราซื้อมาอยู่ตามสวนจตุจักรเนี่ยอันนี้ไม่ต้องล่ามโซ่ก็ไม่ไปไหน
อยากทราบว่าผลงานที่อาจารย์ทำเนี่ยครับ มันช่วยเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจ เราจะสามารถเผยแพร่ออกไปต่างประเทศได้ไหม
คืออย่างนี้ครับ เฟสหนึ่งเนี่ยWorking prototype เฟสสองเนี่ย สนุกกว่าอีก เพราะว่าเราได้เชิญผู้ประกอบการมาร่วม ซึ่งอันนี้ก็เป็นเรื่องที่สนุกดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีวิทยาลัยใหม่ ทางสำนักหอสมุดคงทราบ เรามีวิทยาลัยบูรณาการศึกษาศาสตร์ใหม่ แต่ตอนนั้นเป็นหลักสูตร ก็ เปิดการเรียนการสอนแบบใหม่ เป็นชุดวิชา นะ อันนี้เล่าพื้นฐานนิดนึง ทางชุดวิชานี้ก็เชิญทุกคณะไปช่วยกันเขียน ผมก็เป็นตัวแทนของคณะประมงไปเปิดชุดวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ พี่เขาก็เป็นนักเรียนรุ่นแรกของคลาสแรกของหลักสูตรมาเรียน เรียนไปเรียนมาผมก็อธิบายฝันของผมเกี่ยวกับพวกนี้ พอเขาจบไป เขาก็ขอกลับมาทำงานวิจัยร่วมด้วย เป็นคอนเนคชั่นที่ดีมาก เราก็เลยเขียนโครงการที่สอง โครงการที่สองก็เลยมีเรื่องของธุรกิจประกบ ผมก็ออกสำรวจว่าราคาต้องอยู่ประมาณเท่าไหร่ต่อกิโล ถึงจะคุ้มทุน ฟาร์มๆนึงควรจะมีกี่ตัวเป็นอย่างต่ำ คือถ้าผลิตสองตัว ห้าสิบตัวอย่าผลิตเลย มันเปลือง ยิ่งผลิตมากต้นทุนยิ่งถูกลง เพราะกล้องก้ใช้ตัวเดียว แรงงานก็ใช้คนเดียว พี่เขาก็กำลังทำเรื่องนี้อยู่ ชื่อพี่แซน ก็จะทำตรงนี้ให้ เพราะฉะนั้น ในโครงการก็จะมีแง่มุมเศรฐศาสตร์ จับ ไปตลอด ตั้งแต่ต้นจนจบ ทีนี้ถามว่ามีประโยชน์ต่อเกษตรกรยังไง ผมมองว่ายังงี้ คือผมฝันไว้ว่า หลังจากที่เรามั่นใจว่าโปรแกรมเราใช้ได้จริง เราจะสร้างโรงเรือนต้นแบบที่คลองวาน การที่จะชักจูงให้คนทำอะไรใหม่ๆต้องให้เขาเห็นกระบวนการทั้งหมด นั่นหมายความว่าเราจะต้องให้เขาเห็นว่า โรงเรือนต้องออกแบบแบบนี้นะ ประหยัดสุดนะ ได้ผลประโยชน์สุดนะ แล้วกำไร ต้นทุน ผลตอบแทนมันต้องชัด ใครจะให้เราทำอะไรเนี่ยต้องถามละเอียด ต้องจ่ายตังค์ ต้องลงทุน คือหลังจากเทคโนโลยีสุกงอมจะต้องสร้างโรงเรือนต้นแบบ พร้อมกับผลิตขายให้ได้ ไม่ต้องได้กำไรเยอะแยะ ไม่ต้องทำเป็นสิบบ่อ ร้อยไร่ พันไร่ เอาแค่นิดหน่อย เพื่อให้สามารถที่จะเห็นได้ว่าได้กำไร ทำได้จริง และให้คำปรึกษาได้ จากนั้น เทคโนโลยี รับรองครับไม่ต้องทำอะไร มีคนเอาไปใช้ โดยที่เราไม่ต้องไปโฆษณา แล้วพอหลังจากที่มันใช้ได้แล้ว เดี๋ยวก็จะมีคนผลิตลูกปูมาขาย เดี๋ยวก็จะมีคนทำลูกปูมาขาย ผมไม่ห่วงเลยเรื่องตลาด เพราะเท่าที่ฟังมามีแต่คนอยากซื้อแต่ไม่มีคนขาย ตอนนั้นออกรายการไปเนี่ย มีคนมาขอซื้อปูม้านิ่มกับผมเนี่ย ผมไม่มีนะครับ เพราะว่าผมไม่ได้มีความสนใจในการผลิตขาย ผมสนเทคโนโลยีในการผลิต เพื่อที่จะให้โอกาสนี้มันเกิดกับทุกคนในอนาคต ท่านนั่นแหละเอาไปผลิตเอง มหาลัยเกษตรศาสตร์ คณะประมงและวิศวกรรมศาสตร์เป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีและพัฒนาปรับปรุงเพื่อให้ธุรกิจ ความเป็นดีอยู่ดีของเกษตรกรในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ไม่ใช่เราทำขายเอง เพราะงั้นไม่ต้องห่วงหรอกครับ เพราะว่าเดี๋ยวอีกหน่อยพอเวอร์ชั่นแรกหลุดไปในตลาด เดี๋ยวเราก็วิจัยและพัฒนา เดี๋ยวอีกหน่อยผมก็อาจจะมีโปรแกรมปูม้าเวอร์ชั่นสิบสอง ประมาณนี้ แล้วที่มันดีกว่านี้ก็คือว่า โปรแกรมนี้ที่เราใช้เนี่ย มันสามารถไปใช้กับปูดำ การผลิตปัจจุบันได้ด้วย เพราะมันก็สะท้อนกระดองปูดำ เพราะฉะนั้นถ้าไม่อยากเสี่ยงทำทั้งหมดในระบบ ก็ไม่เป็นไร เอาเทคโนโลยีไป แล้วไปปรับใช้กับรูปแบบการผลิตที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน อันนี้ผมมองว่า น่าจะเป็นผลงานนึงในการ เขาเรียกว่าแนวทางการนำไปใช้ประโยชน์ในอนาคต แต่ตอนนี้ก็เรียนตามตรง จาก1-9 ว่า เราอยู่ประมาณ4-5เอง ผมยังไม่อยากเอาไปใช้ เพราะผมคิดว่า เรายังเจอปัญหาไม่หมด ผมอยากจะให้เราเจอปัญหาให้หมด หาทางแก้ให้เรียบร้อย จากนั้นพอออกไปสู่ตลาดมันจะได้ไม่มีปัญหา
ในอนาคตเนี่ย อาจารย์มีการคิดแล้วก็พัฒนานวัตกรรมพวกนี้ไปทางด้านไหนบ้างครับ จะเอาไปต่อยอดทางไหน
ครับ ผมว่าอีกหน่อย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์หรือทางการเกษตร ประมงไปคนเดียวไม่ได้ ผมจะต้องแนบเพื่อนสังคมไปด้วย แนบเพื่อนวิศวะไปด้วย แนบเพื่อนเศรฐศาสตร์ไปด้วย ผมไปดูประมงอีกคนดูเศรฐศาสตร์ เขาบอก สุขกฤช เอาเทคโนโลยีมาใช้ดีๆนะ แต่ถ้าสุขกฤชใช้ไม่ดีเนี่ย รับรอง เจ๊ง วิศวะไป ก็จะแบบ ต้องให้เป๊ะทุกอย่าง ก็จะไม่ได้ดูราคา ประมงไปถึงก็ไม่รู้ เอาปลาสุงสุดเศรฐศาสตร์ไปถึง ห้ามทุกคนเลย บอกว่า เฮ้ยๆ ไม่คุ้ม อย่างนี้ ผมว่าอย่างนี้เป็นการทำงานที่สนุกนะครับ เพราะงั้น ในอนาคตผมมองว่า ผมไม่ห่วงว่าจะไม่มีงานทำเรื่องนี้ มีแต่จะต้องเลือกทำ เพราะว่า เช่น ปลานิล ปัจจุบันเราเลี้ยงแบบบ่อดั้งเดิม คือขุดบ่อ ใส่น้ำ ปล่อยปลา ไม่มีการใช้เทคโนโลยี เพราะ 1.ราคาปลานิลถูก การลงทุนไม่คุ้ม เครื่องให้อาหารมีแล้ว แต่ไม่สามารถที่จะกระจายทั่วไทยได้ เพราะ 1.มันช่วยได้จริง แต่ก็ยังใช้คนบังคับอยู่ดี มันยังไม่สมาร์ทเต็มที่ เพราะฉะนั้น แต่ผมก็ดีใจนะ ที่มีการเริ่มเอาเทคโนโลยีนี้เข้ามา ดีนะครับ เครื่องวัดอากาศ เลี้ยงปลาอย่านึกว่าเราไม่ต้องการอุณหภูมินะ ผมต้องการด้วยนะ ว่าวันนี้แดดออกกี่ชั่วโมง ลมพัดเท่าไหร่ ฝนตกรึปล่าว แต่ไม่เคยใช้ข้อมูลในการเลี้ยงปลาเลย เพราะความเคยชิน เกษตรกรเลี้ยงปลาด้วยความเคยชิน เพราะงั้นความสนใจเทคโนโลยีของผมคือ ผมคิดว่า ปูยังไม่อิ่มตัว ผมจึงเชิญชวนพี่ น้อง อาจารย์ช่วยกัน ผมคนเดียวไม่ไหว เพราะมีหลายมุมมอง ความจริงที่ผมเรียนมานะ ดีที่สุดคือการตัดตาปู โหดร้าย ขายของไม่ได้ เดี๋ยวนี้เลิกทรมานสัตว์ เพราะฉะนั้นวิธีการง่ายๆของผมคือตัดตา เพราะในตาเป็นเซลล์ที่สร้างฮอร์โมนยับยั้งการลอกคราบ ตัดมันซะ ก็จะลอกคราบ แต่ นั่นคือวิทยาศาสตร์ ทำจริงไม่ได้ เพราะสังคมไม่ยอมรับ เห็นมั้ย ต้องมองอีกด้านนึงก็ต้องหาวิธีอื่น อันนี้เราก็พยามทำอยู่ อยู่ในโครงการนี้แหละ ครับ วันนี้เราก็ได้พาทุกท่านมาพบกับอาจารย์สุขกฤช และระบบตรวจจับปูนิ่มลอกคราบอัตโนมัติ แล้วก็ให้คนไทยได้กินปูนิ่มมากขึ้นในอนาคต ครับ ก็ต้องขอขอบคุณอาจารย์สุขกฤช มากครับ
แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ
รวมตำรับ--เมนูปูม้านิ่ม : อาหารทะเลจานใหม่ สำหรับผู้ห่วงใยสุขภาพ / บรรณาธิการ พงษ์เทพ วิไลพันธ์
การเลี้ยงปูทะเล,Scylla serrata (Forskal),ให้เป็นปูนิ่มในบ่อซีเมนต์ / วิวรรธน์ สิงห์ทวีศักดิ์