การตรวจ DNA ข้าวเพื่อรับรองข้าวก่อนที่จะส่งออก
“การตรวจ DNA ข้าวเพื่อรับรองข้าวก่อนที่จะส่งออก”
DNA ทำหน้าที่อะไร เป็นเรื่องที่น่าแปลก ในเมื่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิดประกอบไปด้วย DNA และ DNA ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดก็ประกอบไปด้วยนิวคลีโอไทด์ 4 ชนิด คือ A C G T แต่ทำไมสิ่งมีชีวิตจึงได้แตกต่างกันมาก ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวเช่น อะมีบา มาจนกระทั่ง หญ้า พืชล้มลุก ไม้ยืนต้น แมลงเล็กๆ พวก มด ปลวก สัตว์น้ำต่างๆ สัตว์ปีกพวก นก เป็ด ไก่ พวกสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ใหญ่ต่างๆ จนถึงคน
ห้องปฏิบัติการดีเอ็นเอเทคโนโลยี ได้ตระหนักถึงการสูญเสียประโยชน์ของประเทศชาติ จึงได้พัฒนาชุดสำเร็จสำหรับใช้ในการวิเคราะห์ดีเอ็นเอขึ้นโดยมีประสิทธิภาพเท่าเทียมกับชุดสำเร็จจากต่างประเทศ และที่สำคัญคือการลดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าครึ่ง
DNA preservation matrix ถูกพัฒนาสำหรับใช้ในการเก็บรักษาตัวอย่างของเหลวจากสิ่งมีชีวิต เช่น เลือด น้ำเหลือง ฯลฯ ที่มีปริมาณน้อย ณ อุณหภูมิห้อง โดยไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีอื่นในการเก็บรักษาตัวอย่าง ใช้พื้นที่น้อย ง่ายต่อการขนส่งเพราะไม่จำเป็นต้องรักษาสารพันธุกรรมในสภาพแช่แข็ง ชุดเก็บตัวอย่างของเหลวนี้ มีคุณสมบัติในการแยกสารพันธุกรรมออกจากเซลล์และจับ DNA ไว้ได้นานกว่าสามเดือนในสภาพแห้ง ก่อนที่จะนำมาทำการสกัดสารพันธุกรรมเพื่อวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ โดยชุดเก็บรักษาตัวอย่างถูกพัฒนาขึ้นมา 2 แบบด้วยกัน ได้แก่ แบบหลอดทดลอง (1 ตัวอย่าง) และ แบบจานหลุมขนาด 96 ตัวอย่าง
DNA Trap เป็นชุดสกัดสารพันธุกรรมจากเซลล์พืชและสัตว์ ที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงเทียบเท่ากับชุดสกัดสารพันธุกรรมจากต่างประเทศ แต่ราคาต่ำกว่า ชุดดังกล่าวสามารถนำมาสกัดได้ทั้งชิ้นส่วนของพืชที่เป็นของแข็งหรือตัวอย่างที่เป็นของเหลว ซึ่ง DNA Trap นี้ใช้หลักการตกตะกอนโปรตีนและโพลีแซคคาไรด์ด้วยเกลือ โดยไม่ใช้ Phenol หรือ chloroform ซึ่งเป็นสารอันตราย ดังนั้นสารพันธุกรรมจึงถูกทำให้บริสุทธิ์ มีคุณภาพเพียงพอที่จะนำไปใช้ในการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ
ข้อกำหนดของกระทรวงพาณิชย์ ข้าวหอมไทย ต้องมีความบริสุทธิ์ไม่ต่ำกว่า 92 เปอเซ็น เพราะนั้นผู้ที่จะส่งออกข้าว จะต้องผ่านการตรวจ DNA ก่อน
โดยในขั้นตอนแรกเป็นการสุ่มตัวอย่างข้าว 1 กิโลกรัม และมาใช้เครื่องแบ่งเมล็ดพันธุ์ 192 เมล็ดเป็นตัวแทนในการตรวจ DNA และเทียบกับ DNA มาตรฐาน เช่นหอมมะลิ
1 เมล็ดคือการสกัด DNA 1 หลุม และตรวจตามระบบ เพื่อให้ได้คำตอบว่าข้าวล็อตนี้บริสุทธ์เท่าไหร่ โดยมีขั้นตอนดังนี้
- การสุ่มเมล็ดในบล็อกพลาสติก และใช้ลูกเหล็กเพื่อใส่เครื่องบด ให้เมล้ดข้าวกลายเป็นผงแป้ง
- เติม Affection buffer
- จากนั้นจะได้ DNA ข้าวในแต่ละหลุม โดย1หลุมต่อ1เมล็ด
- ใช้เครื่อง Genespin ช่วยในการย้ายตัวอย่าง DNA
- ตัวอย่างข้าวจะมีการติดบาร์โค้ดเพื่อทวนสอบว่าเป็นตัวอย่างของใคร รับมาเมื่อไหร่
- บันทึกข้อมูลชื่อตัวอย่างบาร์โคดลงใน Server
- เมื่อได้ DNA ข้าวแล้ว เราจะไปจำเพาะ DNA ต้นแบบเพื่อวิเคราะห์พันธุ์ โดยใช้เครื่อง Meridian
- จากนี้ก็ไปใส่ DNA เครื่องหมาย และปิดซีลเพจ เพราะเครื่องไฮโดรไซเคิล คือการแช่ลงไปในน้ำ ความรวดเร็วของเครื่องเราสามารถทำพร้อมกัน 14 เพจ ซึ่งจะรวดเร็วกว่าแบบเดิม
- อ่านค่าผล
ข้าวหอมมะลิ 80 : จุดประกายการใช้ความหลากหลายทางชีวภาพแบบก้าวหน้า
รายงานการวิจัยโครงการบูรณาการเทคโนโลยีชีวภาพในการสร้างพันธุ์ข้าวเพื่อเพิ่มมูลค่าและคุณค่าสูง
การศึกษายีนควบคุมลักษณะสำคัญทางเศรษฐกิจในข้าวโพด
"ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว" กับผลงานด้านนวัตกรรม
KU สร้างสรรค์ข้าวไทย "ศาสตร์แห่งแผ่นดิน เพื่อความกินดีอยู่ดี"
ไรซ์เบอร์รี่ ข้าวหอมสายพันธุ์ใหม่ พลิกชีวิตชาวนาไทย
Thai Hom Mali Rice: Origin and Breeding for Subsistence Rainfed Lowland Rice System
Dissection of broad-spectrum resistance of the Thai rice variety Jao Hom Nin conferred by two resistance genes against rice blast
Assessment of genetic variation of 15 Thai elite rice cultivars using InDel markers.
Phylogenetic relationship of Diospyros kaki (persimmon) to Diospyros spp. (Ebenaceae) of Thailand and four temperate zone Diospyros spp. from an analysis of RFLP variation in amplified cpDNA