KULIB TALK | EP.42 | การค้นพบกล้วยไม้ชนิดใหม่ของโลก

นางสาวอ้อพร เผือกคล้าย (น้ำ) นิสิตปริญญาเอก คณะวนศาสตร์ค้นพบกล้วยไม้ชนิดใหม่ของโลก

          สวัสดีครับ ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่รายการ Kulibtalk โดยผ่านการไลฟ์สดผ่านทาง facebook สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นะครับ และในวันนี้เองผมเฉลิมเดช เทศเรียน รับหน้าที่เป็นพิธีกรในวันนี้ครับ และในวันนี้เองเราก็มีเรื่องราวที่น่าสนใจเช่นเคยครับ ซึ่งในครั้งนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับนิสิตปริญญาเอก    สาขานิเวศวิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์

ที่ได้มีการวิจัยค้นพบกล้วยไม้ชนิดใหม่ของโลกซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากนะครับ และในวันนี้เองเราก็ได้คุณอ้อพร เผือกคล้าย (น้ำ) มาให้ข้อมูลในวันนี้นะครับ และในวันนี้นะครับคุณน้ำจะมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับการค้นพบกล้วยไม้ชนิดใหม่ของโลกครับ

คำถาม :  ในการค้นพบกล้วยไม้ชนิดใหม่ของโลกครั้งนี้ มีจุดเริ่มต้นจากอะไร ??

คำตอบ : เริ่มจาก น้ำเป็นคนทำวิจัยทบทวนอนุกรมวิธานเกี่ยวกับกล้วยไม้สกุลหวาย หมู่หวาย ชื่อวิทยาศาสตร์ก็คือ  สกุล Dendrobium sp.  พอทำงานเกี่ยวกับการทบทวนอนุกรมวิธาน จึงจำเป็นจะต้องหาข้อมูลเกี่ยวกับเอกสารต่างๆทางกลุ่มพืชที่เราต้องการจะศึกษา เพื่อที่จะแก้ปัญหาที่เราพบเจอในระยะของการวิจัย เสร็จแล้วก็จะศึกษาตัวอย่างพืชแต่ละชนิด ที่อยู่ในสกุลหวาย จากนั้นหาก็ลักษณะที่ไม่ต่อเนื่องกัน เพื่อที่จะแยกแต่ละชนิดออก ซึ่งการที่เจอกล้วยไม้ชนิดใหม่คือน้ำได้ดูเอกสารอ้างอิงต่างๆทางอนุกรมวิธาน ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง พรรณไม้ดองที่เก็บรักษาทั้งในประเทศไทยในพิพิธภัณฑ์ต่างๆ รวมทั้งของต่างประเทศด้วย พอมีการดูตัวอย่างเยอะๆ มีประสบการณ์แล้ว เราก็จะรู้ว่าตัวอย่างชนิดไหนมีลักษณะแตกต่างจากชนิดอื่น

คำถาม :  จากที่คุณน้ำอ้างอิงมาว่าศึกษาค้นคว้าจากเอกสารต่างๆ มีฐานข้อมูลที่ค้นคว้าจากแหล่งออนไลน์ร่วมด้วยไหมครับ ?

คำตอบ :  ใช่ค่ะ ก็จะเป็นข้อมูลทางด้านพืช อนุกรมวิธาน เราก็หาได้ตามเว็ปไซต์ ซึ่งปัจจุบันก็มีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า เราก็สามารถดูข้อมูลได้จากพวกข้อมูล data base อย่างทางของสำนักหอสมุดก็จะมีข้อมูลdata base , thesis  น้ำก็จะหาข้อมูลตามแหล่งข้อมูลนี้ค่ะ

คำถาม : เห็นว่านอกจากเอกสาร กับฐานข้อมูลต่างๆแล้วก็ยังมีการจะต้องดูตัวอย่างจริง เห็นว่ามีทั้งในและต่างประเทศด้วย อย่างในประเทศคุณน้ำก็ได้ไปศึกษาข้อมูลตัวอย่างจริง ?

คำตอบ :  ค่ะ… สำหรับตัวอย่างจริงในประเทศไทย หลักๆที่น้ำได้ศึกษาก็จะมี พิพิธภัณฑ์พืชกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช พิพิธภัณฑ์พืชของกรมวิชาการเกษตร แล้วก็ตามมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และก็ตามที่ต่างๆที่เค้าลงทะเบียนว่าเป็นพิพิธภัณฑ์พืช

คำถาม : แล้วอย่างต่างประเทศ คุณน้ำได้ไปดูพิพิธภัณฑ์ตัวอย่างของต่างประเทศด้วยไหมครับ ?

คำตอบ :  ค่ะ ได้ไปด้วยค่ะ …. แต่เดิมของเรา มีโครงการการสำรวจ นักวิทยาศาสตร์ไทย ก็จะสำรวจร่วมกับต่างประเทศ ฉะนั้นเวลาที่เค้ามาสำรวจ นักวิทยาศาสตร์ของต่างประเทศก็จะเก็บตัวอย่างพืชไปที่ต่างประเทศด้วย ก็เลยเป็นเหตุผลที่ว่าเราต้องไปดูตัวอย่างพืชที่ต่างประเทศด้วย

คำถาม : กล้วยไม้ชนิดใหม่ที่คุณน้ำค้นพบ มีลักษณะเด่นที่แตกต่างจากกล้วยไม้พันธุ์อื่นๆอย่างไรบ้างครับ ?

คำตอบ : ก่อนอื่นต้องขอบอกส่วนประกอบพื้นฐานของกล้วยไม้ก่อน คือส่วนประกอบของดอกกล้วยไม้จะมี กลีบเลี้ยง กลีบดอก และกลีบปาก คือ ลักษณะเด่นของกล้วยไม้ชนิดใหม่คือ ขอบของกลีบปากจะแตกต่าง คือจะมีลักษณะเด่นเลยคือ ขนขอบกลีบเป็นชายทุยและมีขนยาวนุ่มออกมา ซึ่งลักษณะดังกล่าวเป็นลักษณะเด่นของกล้วยไม้ชนิดนี้ และรูปทรงของกลีบปากจะขนานไปกับพื้นดินเวลาบาน จะเป็นทรงตรงขนานกับพื้นดิน

คำถาม : มีลักษณะอื่นๆที่แตกต่างอีกไหมครับ ?

คำตอบ : ที่ดูๆมา จะมีลักษณะที่เด่นชัดก็คือที่กล่าวไปค่ะ

คำถาม : ข้อมูลที่คุณน้ำสำรวจเจอ เคยมีท่านใดค้นพบมาก่อนหรือไม่ ในตัวอย่างพืชที่มีส่วนใกล้เคียงกับกล้วยไม้ชนิดนี้?

คำตอบ : กล้วยไม้ชนิดใหม่นี้ มีความคล้ายคลึงกับกล้วยไม้เอื้องคำน้อย Dendrobium fimbriatum Hook.  ลักษณะของกล้วยไม้2ชนิดนี้คือ สีมีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน (น้ำยังไม่เห็นกล้วยไม้ชนิดใหม่นี้ในธรรมชาติจริงๆ) แต่ตามคำบรรยายใน label สีของกล้วยไม้ชนิดใหม่ก็จะบอกไว้ว่า สีของกล้วยไม้มีสีเหลืองแกมส้ม แต้มจุดสีม่วง2จุด บริเวณกลางกลีบปาก ซึ่งลักษณะของสีดังกล่างจะไปคล้ายกับกล้วยไม้เอื้องคำน้อย แต่พอดูลักษณะที่ละเอียดจริงๆแล้วก็จะพบว่ามีลักษณะต่างกัน 10 ประการ        

คำถาม : ฉะนั้นการค้นพบครั้งนี้ไม่ได้ค้นพบตามธรรมชาติทั่วไป ? ก็คือเราดูจากข้อมูลอ้างอิง และดูจากข้อมูล label  ข้อมูลที่มีการเก็บตามพิพิธภัณฑ์ต่าง ?

          คำตอบ : ใน label ก็จะบอกลักษณะสีก่อนที่เค้าจะนำมาดอง alcohol 70% เค้าจะต้องมีการบันทึกลักษณะของสีไว้ก่อน และบอกถึงลักษณะสังคมพืชที่ค้นพบกล้วยไม้ชนิดนั้นๆ พอเค้าสำรวจพื้นที่มาแล้ว ก็จะมีการเก็บตัวอย่างเพื่อคงสภาพไว้โดยการดอง alcohol ไว้ เพื่อบ่งบอกว่าประเทศเรามีทรัพยากรอะไรบ้าง

          คำถาม : ซึ่งในการเก็บและดอง alcohol ไว้ มีการระบุสถานที่ที่พบเจอไหมครับ ?

          คำตอบ : มีค่ะ เค้าก็จะเขียนไว้เลยว่า location นี้พบที่ไหน อย่างชนิดที่ค้นพบนี้คือ พบที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ภูวัว จังหวัดบึงกาฬ ส่วนอีกที่หนึ่งพบที่ อุทยานแห่งชาติภูลังกา จังหวัด นครพนม

          คำถาม : แสดงว่าตอนนี้ที่พบข้อมูลมีอยู่2ที่ ?

          คำตอบ : ใช่ค่ะ … แต่ว่าช่วงที่มีการค้นพบ เทคโนโลยีด้าน GPS อาจจะยังไม่มีจึงไม่ได้แจ้งพิกัดไว้ จึงแจ้งไว้แค่ Location ที่พบ

          คำถาม :  แล้วอย่างนี้ คุณน้ำมีข้อมูลของสภาพแวดล้อม หรือสังคมพืชของกล้วยไม้ชนิดใหม่นี้หรือไม่ครับว่า กล้วยไม้ชนิดนี้จะเติบโตในสภาพแวดล้อมแบบไหน หรือสังคมพืชแบบใด?

          คำตอบ : ถ้าเป็นกล้วยไม้สกุลหวาย จะมีลักษณะเป็นพืชกล้วยไม้อิงอาศัยที่เกาะตามต้นไม้อยู่แล้ว แต่ในธรรมชาติน้ำยังไม่พบ  แต่ในสภาพในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ภูวัว(แหล่งที่ค้นพบ) ก็จะมีลักษณะสังคมพืชแบบ ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ลานหิน ทุ่งหญ้า น้ำเลยคิดว่า กล้วยไม้ชนิดนี้ถ้าพบก็จะเกาะอยู่ตามต้นไม้ที่มีลักษณะโปร่งแสง ก็คือมีแสงแดดส่องถึงแต่ไม่ได้แดดจัดมาก มีความชื้นจากเปลือกไม้ที่เกาะอาศัยอยู่ แต่ไม่ทราบว่าเกาะอยู่ตามต้นไม้ชนิดใด

          คำถาม : อันนี้เป็นข้อมูลที่เรามีอยู่แต่ไม่ได้เจาะลึกขนาดนั้น ?

          คำตอบ : ใช่ค่ะ แต่เป็นข้อมูลพื้นฐานที่ทำให้เราสามารถกำหนดจุดสำรวจได้

คำถาม : จากที่กล่าวมาว่ามีความคล้ายคลึงกับกล้วยไม้เอื้องคำน้อยคือสีที่คล้ายกัน แล้วมีส่วนอื่นอีกหรือไม่ครับ ?

คำตอบ : ถ้าเรามองลึกลงไปอย่างละเอียด จะพบว่า2ชนิดนี้มีความแตกต่างกัน อย่างแรกเลยรูปทรงของลำต้นจะแตกต่างกันมาก ถ้าเป็นกล้วยไม้ชนิด Dendrobium perplexum (กล้วยไม้ชนิดใหม่ที่ค้นพบ) ลำต้นจะเป็นทรงกระสวย โปร่งทางด้านฐาน ยอดจะเรียว ส่วนกล้วยไม้เอื้องคำน้อย ลำต้นจะเป็นทรงกระบอกและยาว รูปร่างและขนาดของใบก็ต่างกัน  ส่วนที่สามคือขนาดของกลีบเลี้ยงแตกต่างกัน รูปทรงของกลีบปากก็แตกต่างกัน ในส่วนกลีบปากของ Dendrobium perplexum ตรงฐานโคนกลีบปากจะโอบล้อมกับซอกเกสร โอบล้อมเป็นหลอด ส่วนกล้วยไม้เอื้องคำน้อยจะโอบล้อมเป็นรูปกรวย แล้วก็เวลาที่ดอกบาน Dendrobium perplexum จะบานไปกับพื้นดิน ส่วนของกล้วยไม้เอื้องคำน้อยปลายปากจะโค้งลงทางด้านล่าง ลักษณะดังที่กล่าวมาแตกต่างกันจึงสามารถแยก2ชนิดดังกล่าวออกจากกันได้

คำถาม : ในทีมที่ค้นพบ รู้สึกจะมีการร่วมจากหลายท่าน มีท่านใดบ้างที่มีผลในการวิจัยครั้งนี้ ?

          คำตอบ : ท่านแรกเลยคือเป็นที่อาจารย์ปรึกษาวิทยานิพนธ์ของน้ำเอง คือ รศ.ดร สราวุธ  สังข์แก้ว (ที่ปรึกษาด้านกล้วยไม้ , Thesis )  อีกท่านคือผู้เชี่ยวชาญด้านกล้วยไม้ประเทศไทย(อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม)   ดร.สมราน สุดดี จากกลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช  อาจารย์ที่ปรึกษาร่วมอีกท่านที่เป็นชาวต่างประเทศคือ  ศาสตราจารย์.ดร เทเวอร์ ฮอคินสัน   อีกท่านคือผู้เชี่ยวชาญด้านกล้วยไม้ของประเทศเดนมาร์ก รองศาสตราจารย์.ดร.เฮนริค พีเดอร์เซน

คำถาม : ซึ่งอันนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยใช่ไหมครับ ที่จะเจอสายพันธุ์ชนิดใหม่ของโลก ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญจากหลายหน่วยงาน หลายท่านด้วย ?

          คำตอบ : ใช่ค่ะ …. ก็ระยะเวลาที่ทำก็เกือบ2ปี เพราะต้องค้นคว้าเอกสารด้วยเพื่อดูว่ามีคนตีพิมพ์ไปแล้วหรือยัง แล้วก็ต้องหาข้อมูลจากเอกสารหลายๆที่ ในประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงเรามีใครเคยค้นพบแล้วตีพิมพ์แล้วหรือยัง จากนั้นก็หาข้อมูลจากทั่วโลกว่ามีคนเคยเจอกล้วยไม้ชนิดนี้แล้วหรือยัง และต้องดูตัวอย่างทั้งหมดเลยเพื่อทำให้เรามีประสบการณ์ในการทำงาน เพื่อระบุว่ากล้วยไม้นี้เป็นกล้วยไม้ชนิดใหม่จริงๆค่ะ ….

         

          คำถาม : พอเรามีข้อมูลค่อนข้างครบถ้วนแล้วว่าเป็นชนิดที่ไม่เคยเจอหรือมีการระบุมาก่อน พอมั่นใจแล้วดำเนินการอย่างไรต่อ ต้องแจ้งที่หน่วยงานไหนเพิ่มเติม ?

          คำตอบ : สิ่งแรกที่ต้องทำคือต้องดูให้แน่ชัดว่ามีคนไหนเคยตีพิมพ์แล้วหรือยัง(อันนี้สำคัญที่สุด) จากนั้นให้เรามาเขียนบรรยายลักษณะทางสัณฐานวิทยาของกล้วยไม้ชนิดนั้นอย่างละเอียด อาจจะมีภาพวาดลายเส้นหรือรูปถ่าย จากนั้นก็ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านอนุกรมวิธาน เพื่อให้เค้าช่วยในการยืนยันอีกทีเนื่องจากประสบการณ์ผู้เชี่ยวชาญมีมาก เสร็จแล้วให้หาวรสารทางอนุกรมพืชที่เป็นที่ยอมรับ ให้เราส่งเนื้อเรื่องของเราไปที่วารสารนั้นเพื่อทำการตีพิมพ์และเผยแพร่ออกมา

คำถาม : เมื่อสักครู่ได้ยินชื่อที่เกริ่นออกมาคร่าวๆคือ Dendrobium perplexum Phueakkhlai, Sungkaew & H.A.Pedersen, sp อันนี้เป็นชื่อกล้วยไม้ของชนิดใหม่นี้ใช่ไหมครับ ?

          คำตอบ : เราตั้งชื่อพฤกษศาสตร์ให้แก่กล้วยไม้ชนิดใหม่นี้คือ Dendrobium perplexum คำระบุชนิด  perplexum นี้เป็นคำละติน แปลว่า ทำให้สับสน ทำให้มึนงง ซึ่งน้ำตั้งจากคนที่ศึกษากล้วยไม้ชนิดนี้ก่อนหน้า เค้าไม่ได้ระบุชนิดนี้แน่ชัดว่าเป็นอะไรคล้ายชนิดนั้นบ้าง ชนิดนี้บ้าง น้ำเลยตั้งว่า perplexum และก็ตามด้วยนามสกุลของน้ำเองคือ Phueakkhlai แล้วก็ Sungkaew H.A.Pedersen ก็จะเป็นชื่อของทีมงานที่ค้นพบด้วยกัน

คำถาม : นอกจากชื่อภาษาอังกฤษแล้ว มีชื่อภาษาไทยไหมครับกล้วยไม้ชนิดใหม่นี้?

          คำตอบ : น้ำอยากจะเห็นกล้วยไม้ชนิดนี้ในธรรมชาติก่อนค่ะ จึงจะตั้งอีกทีค่ะ

          คำถาม : รอติดตามข่าวชื่อกล้วยไม้ชนิดใหม่นี้ที่เป็นภาษาไทยนะครับ ถ้ามีการอัพเดทยังไงเดี๋ยวคุณน้ำจะมีข้อมูลการอัพเดทเพิ่มเติมให้ อันนี้เป็นข้อมูลที่เรายังไม่ได้เจอกล้วยไม้ในธรรมชาติ ต้องรอดูผู้เชี่ยวชาญในการสำรวจ….

          คำตอบ :  ค่ะ….ต้องรอดูนักสำรวจที่มีโครงการในการสำรวจพันธุ์ไม้ในประเทศค่ะ ซึ่งข้อมูลตรงจุดนี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานให้เค้าในการสำรวจเส้นทางธรรมชาติ อาจจะพบกล้วยไม้ชนิดนี้ในธรรมชาติค่ะ ก็จะออกดอกช่วงเดือนเมษายนนะคะ

          คำถาม : กล้วยไม้ชนิดนี้มีกลิ่นแบบไหนครับ ?

          คำตอบ : ไม่ทราบเลยค่ะ เพราะตัวอย่างเค้าดองแอลกอฮอล์มาค่ะ น้ำเลยไม่ทราบว่ามีกลิ่นแบบไหน

          คำถาม : ในอนาคตคุณน้ำมีแผนในการต่อยอดงานวิจัยชิ้นนี้อย่างไรบ้างครับ?

          คำตอบ :  จากที่น้ำทำเรื่องอนุกรมวิธานของพืชกลุ่มนี้ ข้อมูลทางด้านนี้จะเอามาเสริมเป็นข้อมูลที่เพิ่มเติมให้กับหนังสือ  FLORA OF THAILAND ซึ่งเป็นหนังสือเกี่ยวกับโครงการพันธุ์พฤกษชาติของประเทศไทย ซึ่งหนังสือจะบอกเกี่ยวกับ ชื่อพฤกษศาสตร์ที่ถูกต้อง คำบรรยายลักษณะพืช แหล่งการกระจายพันทางด้านนิเวศวิทยาว่าพบในสภาพสังคมพืชใดบ้าง ออกดอกช่วงไหน ซึ่งในหนังสือจะบอกเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศเรา เพื่อบอกว่าประเทศเรามีทรัพยากรใดเป็นความก้าวหน้าของประเทศ ก็จะมีประโยชน์ทางด้านการเกษตรก็คือก่อนที่เราจะปรับปรุงพันธุ์พืชเราก็ต้องรู้ชื่อวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องก่อนเราถึงจะนำมาปรับปรุงพันธุ์พืชได้ ในทางด้านป่าไม้ถ้าเรารู้ชื่อวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องก็จะรู้ถึงจำนวนประชากรว่ามีเท่าไหร่ พอรู้ปริมาณแล้วเราก็สามารถนำข้อมูลมาจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อเป็นแนวทางในการอนุรักษ์พืชต่อไป ในด้านการแพทย์ เภสัช ก่อนอื่นต้องรู้ถึงชื่อพืชที่ถูกต้องเพื่อที่ว่าเวลาที่เราสกัดสารหรือสกัดเคมีเพื่อนำมาเป็นยารักษาโรค เราต้องรายงานผลว่าเจอกล้วยไม้ชนิดนี้ที่ไหน ข้อมูลตรงนี้จะบอกได้ทุกอย่างเลยในการนำไปต่อยอดทางด้านต่างๆทุกแขนง

พิธีกรพูด(ต่อจากข้อที่แล้ว) : อันนี้ก็จะเป็นแนวทางในอนาคตที่คุณน้ำจะใช้ในการต่อยอดพัฒนากล้วยไม้ชนิดใหม่นี้ ช่วงสุดท้ายแล้วอยากให้คุณน้ำช่วยฝากกับท่านผู้ชมซึ่งอาจเป็นนิสิตปริญญาเอก โท หรือตรี ที่มีความเกี่ยวข้องกับการสำรวจ อยากจะให้ฝากถึงท่านผู้ชมกลุ่มนี้ครับ

          คำตอบ : ในการทำงานด้านอนุกรมวิธานพืช คือว่าอยากให้นิสิตที่สนใจเริ่มต้นจากการเข้ามาดูในพิพิธภัณฑ์พืชก่อน ดูว่าเราชอบกลุ่มพืชไหนไม้ดอกไม้ชนิดไหน จากนั้นก็จะมีสาขาวิชาทางด้านพืชที่รองรับนิสิตสนใจอยากจะเป็นนักอนุกรมวิธานพืชในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เช่น คณะวิทยาศาสตร์ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวนศาสตร์ ภาควิชา ชีววิทยาป่าไม้ มีศาสตร์อีกหลายอย่างที่เราสนใจที่จะให้ศึกษา อยากฝากน้องๆว่า สาขาอนุกรมวิธานเป็นงานที่สนุกและทำให้เรามีความละเอียดและรอบคอบมากขึ้นและทำให้เราอยากสืบค้นข้อมูลต่อยอดไปเรื่อยๆค่ะ…..         

          พิธีกรกล่าว : ถือว่าเป็นสาขาหนึ่งที่น่าสนใจและก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการค้นพบกล้วยไม้ชนิดใหม่ของโลก วันนี้ก็ได้ข้อมูลค่อนข้างละเอียดจากคุณน้ำ ในการให้ข้อมูลตั้งแต่ในเรื่องของการค้นพบว่าค้นพบได้อย่างไร การเก็บข้อมูลเอกสารต่างๆ การศึกษารายละเอียดต่างๆว่ามีลักษณะเด่นที่แตกต่างจากสายพันธุ์อื่นๆ และเมื่อค้นพบเสร็จต้องทำอย่างไรต่อ และแนวทางการวิจัยในอนาคตที่มีประโยชน์ด้านการอนุรักษ์ ความหลากหลายทางชีวภาพ และการต่อยอดทางการแพทย์ที่จะนำข้อมูลนี้ไปใช้ในการรักษาโรค (คุณน้ำพูดแทรก)ด้านการเกษตรเองก็มีค่ะ ในวันนี้ขอขอบพระคุณคุณน้ำนะครับ คุณอ้อพร เผือกคล้าย นิสิตปริญญาเอก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวนศาสตร์นะครับ สำหรับท่านผู้ชมที่ติดตามรายการ kulibtalk ของเรานะครับ สามารถที่จะติดตามข่าวสารรายการผ่านทาง facebook สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นะครับ หรืออีกช่องทางหนึ่งนะครับทางไลน์ @kulibrary นะครับ ก็จะทำให้ทุกท่านสามารถติดตามข่าวสารของเราได้ และในวันนี้เองนะครัยต้องขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตามนะครับ แล้วพบกันใหม่เทปหน้านะครับ ขอบคุณครับ

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

รวมผลงานของ รองศาตราจารย์ ดร. สราวุธ  สังข์แก้ว ในคลังความรู้ดิจิตัล มก.

Flora of Thailand / Chote Suvatti

การประเมินความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมและการจำแนกกล้วยไม้สกุลหวาย หมู่แคลิสตา ด้วยลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีน rpoC1 และ matK

การคัดเลือกสายพันธุ์แอคติโนมัยซีทและการผลิตชีวภัณฑ์เพื่อควบคุมทางชีวภาพโรคเน่าและของกล้วยไม้ทางการค้า Dendrobium sonia โดยมีสาเหตุมาจากเชื้อ Erwinia carotovora / สุพัตรา แผ่นเงิน

เอกสารวิชาการคู่มือการจำแนกชนิดกล้วยไม้สกุลหวายโดยไม่ใช้ดอกสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 / เรียบเรียงโดย สุมาลี ทองดอนแอ, ดวงเดือน ศรีโพทา, วีรวิทย์ นิยากาศ

การศึกษาค้นคว้าประวัติการเก็บพรรณไม้แห้งในประเทศไทย / สุคิด อักษรรัตน์

ความหลากหลายของกล้วยไม้ภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา / นิรมล รังสยาธร...[และคนอื่น ๆ]

กล้วยไม้--คู่มือการปลูกและสายพันธุ์ยอดนิยม / กมลวรรณ เตชะวณิช

         


 
 
 
1xbet casino siteleri bedava bahis kaçak bahis superbetin yeni giriş casino siteleri