KULIB Talk No.28 “คิดนวัตกรรมภายใน 24ชม.”
สวัสดีค่ะ ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่การ live ผ่านทาง facebook live ของสำนักหอสมุด
ดิฉันนางสาวศรัญญาภรณ์ โชลิตกุล รับหน้าที่เป็นพิธีกรในวันนี้ สำหรับวันนี้นะคะ เราได้รับเกียรติจากนิสิตคณะเศรษฐศาสตร์ศรีราชา ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ1 การแข่งขันระดับภูมิภาค 24 Hours of innovation: Regionalcompetition (Eastern Region)และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ1 รายการแข่งขัน 24 Hours of innovation special competition ณ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยขอต้อนรับ น้องศิริฤทัย ปรีชาจารย์ ค่ะ
ทางเราทราบมาว่าได้รับรางวัลการแข่งขัน 24 Hours of innovation: Regionalcompetition แล้วก็รางวัลในระดับประเทศด้วย อยากจะให้ช่วยเล่าถึงรางวัลนี้ว่ามันเป็นการแข่งขันอะไร มีระยะเวลามีเกณฑ์การตัดสินอย่างไรบ้าง
ในรายการ 24 Hours of innovation เป็นการแข่งขันที่จะให้นักศึกษาได้มาคิดค้นนวัตกรรม คือเขาจะให้โจทย์มา แล้วเราก็คิดค้นนวัตกรรมภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งในรายการนี้เป็นรายการแข่งขันระดับภาคตะวันออก ก็จะมีหลายๆมหาวิทยาลัยที่จะเข้าร่วมแข่งขันด้วยกัน
รู้จักโครงการนี้ได้ยังไงบ้าง ทำไมถึงสนใจจะเข้าร่วมโครงการนี้
คือโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของ สวทน. ก็ได้มีการมาประชาสัมพันธ์ที่มหาวิทยาลัย ได้ร่วมเข้าไป workshop แล้วก็ได้จับกลุ่มกับเพื่อนๆ
กลุ่มหนึ่งมีกี่คน
กลุ่มหนึ่งมี 8 คนค่ะ
ใช้เกณฑ์อะไรในการรวมกลุ่มคัดกัน
ก็อย่างที่บอกว่ามันมีการที่ให้เราเข้าไป workshop แล้วเราก็จะเจอเพื่อนๆต่างคณะ แล้วก็ต่างสาขากัน เราก็เลยได้รวมกลุ่มกัน
เวลาเข้ามา workshop ด้วยกัน เราเลือกเพื่อนๆที่จะเข้ามารวมกลุ่มเลือกยังไงบ้าง เลือกตามความสนใจเหมือนกัน หรือว่าเลือกตามอย่างไร
จริงๆคือในรายการนี้เป็นการแข่งขัน innovation ดังนั้นเราก็เลยคัดเลือกคนที่ค่อนข้างที่จะเหมาะกับ innovation อย่างเพื่อนที่เลือกมาต่างสาขาก็จะเรียนทางด้าน IT ทางด้านคอมพิวเตอร์ คืออยากให้ด้านนี้มันเป็นจุดเด่นของกลุ่มเรา เราก็เลยเลือกคนที่อยู่ในสาขานี้
รายการนี้คือ 24 Hours of innovation ก็คือต้องคิดค้นนวัตกรรมภายใน 24 ชั่วโมง เป็นการเข้าแข่งขันครั้งแรกหรือเปล่า
จริงๆการแข่งขันครั้งแรกได้แข่งขันในระดับมหาวิทยาลัยก่อน เพราะว่าเขามีการจัดการแข่งขันเล็กๆก่อน เหมือนเป็นการเริ่มต้น ในรอบนั้นได้รองชนะเลิศอันดับ2 แต่ว่าก็มีการแข่งขันอีกเรื่อยๆ อย่างรอบนี้ก็เป็นการแข่งขันระดับภาค ก็ได้เข้าร่วมอีก
เรามาพูดถึงการแข่งขันในระดับภูมิภาค โจทย์ที่เราได้รับคืออะไร
โจทย์ที่ได้รับก็คือ เป็นปัญหาของขยะ electronic อย่างในปัจจุบันนี้เรามีการใช้โทรศัพท์มือถือ เรามี smartphone ในหลายรุ่น ดังนั้นเมื่อรุ่นใหม่ออกมา คนก็จะเปลี่ยนกันใช่ไหมคะ แล้วมันก็จะเกิดเป็นขยะ electronic หรือเรียกว่า e-waste
ในกลุ่มคิดค้นนวัตกรรมเพื่อจะแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างไงบ้าง
เราทำในส่วนของ process มากกว่า เพราะว่าเรามีคนที่อยู่คณะเศรษฐศาสตร์ 4 คนด้วยกัน ดังนั้นเราอยากจะให้มันออกมาเป็นภาพรวมใหญ่ๆ เราจึงคิดค้น application ขึ้นมา ชื่อว่า How waster เราได้รับแรงบันดาลใจมาจากพวก line man ต่างๆที่มีคนไป service ถึงหน้าบ้านใน application เรามีการทำ application ให้เป็นรูปแบบที่สามารถเข้าใจง่าย มีการถ่ายรูปสิ่งของก่อนที่จะไปรับ เพราะว่าของ electronic มันอาจจะเป็น ทีวีเครื่องใหญ่ หรือโทรศัพท์เครื่องเล็ก ดังนั้นเพื่อให้คนที่ไปรับได้เตรียมตัวก่อน เราก็เลยจะต้องมีการถ่ายรูปไว้ก่อน แล้วก็มีการสะสมแต้มต่างๆอะไรอย่างนี้
นวัตกรรมที่น้องแป้งและทีมงานคิด ก็คือเป็น application ใช่ไหมคะ ชื่อ How waster โดยการไปรวบรวมหรือว่าไปเก็บขยะ electronic ที่มีผู้สนใจต้องการจะกำจัด โดยใช้วิธีการนี้ พอดีในโจทย์ก็จะมีเรื่องของการคิดค้นเป็น prototype อยากจะให้อธิบายความหมายของ prototype ให้เข้าใจได้ง่ายๆว่ามันเป็นอะไรอย่างไร เพราะเป็นโจทย์ที่เราได้รับตรงนี้ด้วยใช่ไหม
ในส่วนของ prototype มันก็คือโมเดลต้นแบบ ซึ่งมันอาจจะสามารถใช้ได้จริง หรือว่าจะใช้ไม่ได้จริง เราใช้ 3D printing ทำมาก็ได้ คือมันเป็นแค่ต้นแบบ อย่างของเรายังไม่ได้ออกมาเป็น application จริงๆ เราใช้เป็นตัวดัมมี่ทำก่อน
ในกลุ่มมี 8 คน มีทั้งเศรษฐศาสตร์ แล้วก็มีทั้งวิศวะด้วยใช่ไหมคะ ในการแบ่งงานมีการระดมความคิดกัน หรือว่าแบ่งงานกันอย่างไร
คือก่อนอื่นเลยเริ่มแรกเราทำเป็น Process ดังนั้น คือมันจะเริ่มที่เศรษฐศาสตร์ก่อน ว่าเราอยากให้มันออกมาเป็นมุมนี้นะ มุมนี้นะ แล้วก็จะต้องมีการพูดเพื่อที่จะให้เพื่อนต่างสาขาให้เขาเข้าใจได้ แล้วก็สามารถเอาไปตีความ และเอาไปทำให้เราดูได้ว่าอันนี้ทำได้แบบนี้นะ
หลังจากแข่งขันในระดับภูมิภาคเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราก็ไปต่อกันในระดับประเทศ ในการแข่งขัน 24 Hours of Innovation Special Competition ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในครั้งนี้ทีมของน้องแป้งก็ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง ในการแข่งขันทั้งสองแห่ง สองอย่างนี้มีความแตกต่าง ความเหมือนกันอย่างไร ความยากง่ายต่างกันไหม
ความแตกต่างน่าจะเป็นความกดดัน คือในเมื่อเราได้ผ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ดังนั้นแน่นอนว่าความคาดหวังทั้งกับตัวเรา ทั้งกับเพื่อนเรา อย่างแป้งเป็นคนที่ต้อง Pitching หรือเป็นการ Present ดังนั้นทุกครั้งที่พูดทุกครั้ง เหมือนเราได้แบกความหวังของเพื่อนทั้ง 7 คนเอาไว้ แล้วเรายืนอยู่ข้างหน้าทุกคน คือมันกดดันมากกว่าเดิม แน่นอน แต่ว่าความเหมือนก็คือตอนที่เราได้รับโจทย์ คือเราไม่สามารถจะคาดเดาได้เลยว่าโจทย์จะออกมาในรูปแบบไหน มันเหมือนกับการที่เราคิดใหม่ทุกครั้ง นั้นมันคือ Innovation
โจทย์ง่ายหรือว่ายากกว่าเดิม
คิดว่ามันมีความยากง่าย แบบว่าต่างกัน เพราะว่ามันคนละโจทย์กัน
ช่วยแชร์ประสบการณ์ว่าโจทย์ในครั้งนี้ ที่ในการแข่งระดับชาติโจทย์ที่ได้รับคืออะไร
โจทย์ที่ได้รับมันปัญหาของปริมาณเส้นผม ที่มีผู้บริจาคมาที่สถาบันมะเร็ง ที่เราได้เห็นตามข่าว ตาม Facebook ต่างๆมีการรับบริจาคเส้นผม แต่ว่าสิ่งที่หลายๆคนไม่รู้ คือว่าเส้นผมนี้มันมีการ Over Supply หรือว่ามีปริมาณที่มากเกินไป ดังนั้นทางสถาบันมะเร็งต้องเสียค่าใช้จ่ายที่จะต้องทำลายเส้นผม และอีกอย่างที่หลายๆคนไม่รู้ว่า การทำสีผม ดัดผม หรือว่าผมที่ไม่ได้ตรง ก็ไม่สามารถที่จะบริจาคได้ ดังนั้นการให้ไปก็สูญเปล่า อีกอย่างผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งบางท่านก็ไม่ได้อยากจะได้ผมจริง ก็คือความกลัว กลัวว่า เอ๊ะ เส้นผมนี้ มันเป็นเส้นผมใคร คือเขาก็ไม่กล้าใช้ ถ้าเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์แล้วน่าจะมีประมาณ 30 % ที่ใช้เส้นผมจริงๆ
(พิธีกร : ทางสถาบันมะเร็งต้องกำจัดถึง 70 % เลยใช่ไหมคะ) ใช่ค่ะ ประมาณนั้น
แล้วทางน้องแป้งคิดค้นนวัตกรรม ที่จะช่วยในส่วนนี้ยังไงบ้าง
คือเราคิดมาเป็นตู้ค่ะ ตอนที่คิดนะคะ ถ้ามันเป็นตู้ เราสามารถที่จะบริจาคที่ไหนก็ได้ ตอนไหนก็ได้ เราคิดว่ามันควรไปตั้งอยู่ในจุดที่สำคัญต่างๆ เช่น แถวๆบีทีเอส หรือว่าตามห้างดังๆ แล้วก็เพื่อให้ได้เส้นผมที่มีคุณภาพ เราใช้นวัตกรรม ที่เรียกว่า Image processingก็คือการตรวจจับ คือเราก็ตั้งค่าไว้ว่าเราอยากได้ แบบนี้ แบบนี้ ผมแบบนี้ อะไรอย่างนี้ มันก็จะสามารถคัดกรองเส้นผมได้
(พิธีกร : น่าสนใจมากเลยค่ะ วันหนึ่งพี่ก็อยากฝัน อยากจะเห็นตู้ที่เป็นตู้รับบริจาคเส้นผม อยู่ตามที่สาธารณะบ้าง)
ในการแข่งขันแต่ละครั้ง คิดว่าจากประสบการณ์ในการเข้าแข่งขัน เรื่องไหนที่เราควรเป็นคุณสมบัติของผู้ที่เข้าแข่งขัน
คุณสมบัติของผู้เข้าแข่งขัน ต้องเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีความสนใจในเรื่องของInnovation ต่างๆ คือเรื่อง Innovation มันไม่ใช่เรื่องยากเสมอไป มันอาจจะเป็นเรื่องที่ง่ายๆ เช่น ถ้าเราขี้เกียจทำสิ่งนี้ เราอยากจะคิดอะไร ทำอะไรที่ทำให้มันง่ายกว่านี้ และมันไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งของเสมอไป มันอาจจะเป็นกระบวนการใหม่ๆที่เราคิดขึ้นมา แล้วก็อีกอย่างหนึ่งก็คือการที่เราจะสามารถสื่อสาร อย่างที่เราคิดมาแล้ว คือเราไม่สามารถทำให้คนอื่นเขาเข้าใจ หรือเขาอินในสิ่งที่เราทำได้ มันก็สูญเปล่า
นอกเหนือจากความรู้จากทางเรื่อง Innovation ความรู้ทักษะในเรื่องการสื่อสารก็ถือเป็นเรื่องจำเป็นด้วยใช่ไหมคะ ในการแข่งระดับนี้ จากการเข้าแข่งขันมาทั้งหมด คิดว่าสิ่งที่เราได้เรียนรู้จากการเข้าแข่งขันในระดับนี้มีอะไรบ้างที่อยากจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ชม
สิ่งที่ได้จากการแข่งขันนี้ มันคือการเปิดโลกใหม่ๆ คือสำหรับแป้งนะคะ มันคือการเปิดโลกเลยคือจากที่เรานั่งเรียนอยู่เฉยๆเราไม่สามารถรู้ได้ว่าคนอื่นที่เขาเรียนต่างสาขากันเขาเก่งแค่ไหนเขามีความรู้เรื่องอะไรกันและการที่เราคิด innovation มา มันจะต้องมา present ให้คนอื่นดู ดังนั้นแน่นอนว่ามันจะต้องมีการcommentมีการติในสิ่งที่เราทำดังนั้นมันทำให้เราได้อะไรใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเยอะเลยค่ะ
เป็นนิสิตที่เพิ่งจบเลย มองภาพหรือว่าวางแผนอนาคตตัวเองไว้ว่าอย่างไรบ้าง
จากการที่ได้แข่งมาหลายๆครั้ง ก็คิดว่าอยากจะมีความรู้ในหลายๆ สาขา คือเริ่มที่จะมีความสนใจในด้าน innovation อะไรอย่างนี้ จากเดิมเราเรียนเศรษฐศาสตร์แต่ว่าเดี๋ยวนี้เราก็เริ่มติดตามข่าวสารติดตามเทคโนโลยีต่างๆแล้วก็มีความคิดว่าอยากเรียนรู้เรื่อยๆถ้ามีโอกาสเรียนต่อก็จะเรียนในสาขาที่ต่างกันบ้างเพื่อเอามาบูรณาการกัน
เป็นเด็กรุ่นใหม่ที่มีความคิดดีมากเลยในช่วงเวลาเรียนในช่วงที่เรียนหนังสือนอกเหนือจากการเรียนใช้เวลาว่างทำอะไรบ้าง
ถ้าเป็นเวลาว่าง คือตอนที่อยู่มหาวิทยาลัย ก็เป็นTAด้วย มีการช่วยทางคณะทำอะไรอย่างนี้ แล้วก็เป็นคนที่ชอบจดlectureมากคือเดี๋ยวนี้มันจะมี ipadใช่ไหมคะมันก็จะสามารถแต่งlectureเราได้ เราก็จะมีความสุขในการทำจริงๆมันก็ไม่ได้ใช้เวลานานหรอกแต่ว่าเราก็ชอบและเราก็ทำตรงนี้นานๆ แล้วก็ชอบฟัง content ที่เป็นเรื่องทัศนคติต่างๆ
แล้วพวกนี้สามารถหาอ่านได้จากที่ไหน เป็นอินเตอร์เน็ตหรือว่าเป็นหนังสือ
ถ้าชอบภาษาอังกฤษมันมี app ค่ะ TED ที่แบบเป็นคนมาพูดอะไรอย่างนี้แล้วเราก็แบบฟังมันก็ได้หลายมุมมอง
ชอบอ่านหนังสืออื่นที่นอกเหนือจากตำราเรียนไหมคะ
จริงๆคือเป็นคนไม่ค่อยชอบอ่านหนังสือเลย จะชอบฟังคนอื่นพูดชอบเรียนรู้จากสิ่งที่เห็นหรือว่าได้ทำจริงๆ
นอกเหนือจากสนใจทางด้าน innovation ทราบว่าสนใจทางด้าน financeด้วย ใช่ไหมคะ
ใช่ค่ะ
แล้วมีสิ่งอื่นๆเรื่องอื่นๆที่สนใจด้วยอีกไหมคะ
ก็ยังชอบ financial แต่ว่าเพิ่งมารู้ตัวตอน ปี3 ปี 4
สุดท้ายนี้ก็อยากจะให้ช่วยแนะนำกับรุ่นน้องหรือว่านิสิตท่านอื่นๆในการสร้างสรรค์ผลงานหรือว่าการเข้าแข่งขันในระดับภูมิภาคหรือว่าระดับชาติ ช่วยให้คำแนะนำกับน้องๆ
จริงๆแล้วมีความเชื่อว่าโอกาส มันเข้ามาหาเราเสมอดังนั้นถ้าเราลองคว้ามันไว้สักครั้งหนึ่ง มันก็จะเหมือนกฎของแม่เหล็ก มันก็จะมีแรงดึงดูดเกี่ยวกับด้านนี้ดังนั้นมันก็จะเจอคนที่อยู่ในด้านนี้เรื่อยๆเราก็จะได้เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่เราชอบเราต้องลองเปิดใจเข้าไปแข่งขันดูสักครั้งหนึ่ง
เราสามารถติดตามข่าวสารการแข่งขันประมาณนี้ได้จากที่ไหนบ้าง
เขามี page ที่อยู่ใน fanpagefacebook ชื่อว่า 24 hours of innovation ลองsearchดู
(พิธีกร : เป็น facebook24hour of innovation ผู้ชมรายการสามารถไปกดไลค์ได้นะคะ เพื่อจะได้ติดตามข่าวสารต่างๆ)
พิธีกร : วันนี้นะคะทางรายการ KULIB talk ต้องขอขอบคุณน้องแป้ง ศิริฤทัย ปรีชาจารย์ มากเลยนะคะ แล้วก็ขอแสดงความยินดีที่เรียนสำเร็จเป็นบัณทิตขอขอบคุณที่มาแชร์ประสบการณ์ต่างๆแล้วก็ idea ความคิดต่างๆให้กับผู้ชมของเราด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ
แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ
e-wasteการรีไซเคิลซากแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีทางกายภาพ
โครงการจัดทำระบบติดตามวงจรชีวิตของซากอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
- คุณภาพการใช้งานแอปพลิเคชั่นร้านอาหารจากมุมมองของลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร / ธนสิทธิ์ สุขสุทธิ์
- แนวโน้มการใช้โมบายแอพพลิเคชั่น / สุชาดา พลาชัยภิรมย์ศิล
- พฤติกรรมการใช้ไลน์แอพพลิเคชั่นของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร / ศิริพร แซ่ลิ้ม, พีรยุทธ โอรพันธ์
- Read for the blind จิตอาสา+เทคโนโลยี = แอปฯ หนังสือเสียงเพื่อคนตาบอด / ธัชชัย วงศ์กิจรุ่งเรือง
- ทำตลาดบน -- facebook : ฉบับประยุกต์ใช้แอพพลิเคชั่น / ผู้เขียน อรภัค สุวรรณภักดี
- การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา / รัตนะ บัวสนธ์
- สร้างชาติด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม / ศันสนีย์ ชีระพันธ์
-ศูนย์นวัตกรรม Global innovation incubator (Gii) สร้างความแตกต่างด้วยนวัตกรรม / กองบรรณาธิการ
- การจัดการนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ / ขวัญฤดี ตันตระบัณฑิตย์
- นวัตกรรมนำสู่อนาคตประเทศไทย / จิตรลดา พิศาลสุพงศ์
- นวัตกรรมต่อยอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาไทย / สมปอง สมญาติ
- มุ่งสู่อุตสาหกรรม 4.0 "นวัตกรรมพาร์ค (EECi)" "ดิจิทัลพาร์ค (EECd)" / อุไรพร ใจมูลวงศ์
- นวัตกรรมการสื่อสารด้วยอินโฟกราฟิก / ณัฏฐพงษื สายพิณ
- นวัตกรรม 6.0--platform--เปลี่ยนอนาคต / สมคิด ลวางกูร
- เมืองนวัตกรรมอาหาร Food Innopolis เพื่อการสร้าง “มูลค่าเพิ่ม” ในอุตสาหกรรมอาหาร / กฤชชัย อนรรฆมณี
- Innovative cement and concrete in modern construction / Pusit Lertwattanaruk, Natt Makul
- Innovation ecosystems : increasing competitiveness / Martin Fransman
- Innovation and application of green building materials / chief editor, Song Jia
- การสร้างนวัตกรรม : เปลี่ยนผู้เรียนให้เป็นผู้สร้างนวัตกรรม / เนาวนิตย์ สงคราม
- นวัตกรรมเทคโนโลยีสนับสนุนการดำเนินงานแห่งสหัสวรรษ / [โกศล ดีศีลธรรม]
- Technological innovation in oil processing / edited by Giancarlo Barbiroli
- นวัตกรรมของเทคโนโลยีในกระบวนการแปรรูปและถนอมอาหาร / นิพัฒน์ ลิ้มสงวน
- สร้างชาติด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม / ศันสนีย์ ชีระพันธ์