KULIB Talk #15
การค้นพบมดชนิดใหม่ของโลก
ผศ.ดร.วัฒนชัย ตาเสน จากภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กับผลงานชิ้นโบว์แดงด้วยการค้นพบมดชนิดที่พบใหม่ (new record) ของประเทศไทยและชนิดใหม่ของโลก (new species)

     สำนักหอสมุดได้รับข่าวการค้นพบมดใหม่ในสกุลMyopias โดย ผศ.ดร.วัฒนชัย ตาเสน จากภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ จากคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบบทความงานวิจัย มี ดร. วียะวัฒน์ ใจตรง พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติDr. Guenard  School of Biological Sciences, University of Hong Kongซึ่งได้รายงานการค้นพบมดสกุลนี้ในประเทศไทย 7 ชนิดด้วยกัน ซึ่งเป็นการค้นพบครั้งแรกในประเทศไทย 4 ชนิด เป็นการค้นพบครั้งแรกหรือ new record ชนิดแรกคือ Myopias bidensชนิดที่ 2 คือ crawleyiชนิดที่ 3 punctigera ชนิดที่ 4 mandibularisซึ่งบรรยายลักษณะวรรณะราชินีของมดชนิดนี้เป็นครั้งแรกของโลก และผู้ที่จะมาให้ความรู้กับเรา ขอต้อนรับ ผศ.ดร.วัฒนชัย ตาเสน จากภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วันนี้เราจะมาพูดคุยเรื่องมดๆ กันซึ่งเป็นสัตว์ตัวเล็กแต่งานวิจัยไม่เล็กเลย

งานวิจัยชิ้นนี้เริ่มต้นอย่างไร

     เริ่มต้นการวิจัย ทางภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ร่วมมือทำงานวิจัยกับหลายหน่วยงาน แต่การสำรวจและการศึกษาความหลากชนิดของมด เราได้ร่วมมือกับองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติโดยการร่วมมือของ ดร.วียะวัฒน์ ใจตรง ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านมดในประเทศไทยผู้หนึ่ง หลังจากนั้นมีการเข้าไปสำรวจในพื้นที่ ทั้งในพื้นที่เกษตร สวนป่า ในพื้นที่ป่าธรรมชาติที่ได้รับอนุญาติแล้วจึงเข้าไปสำรวจได้ หลังจากนั้นทางทีมงานจะเข้าไปสำรวจแต่ละจุดแต่ละพื้นที่ จากนั้นก็เอาตัวอย่างมดที่ได้มาใส่แอลกอฮอล์ เอามาไว้ในห้องปฏิบัติการเพื่อรอรับการจำแนกในระดับสกุล ระดับชนิดต่อไป (พิธีกร การเก็บตัวอย่างมดไว้ในแอลกอฮอล์ มดยังมีชีวิตอยู่ หรือโดนแอลกอฮอล์มดก็ตาย)ตายแล้ว เป็นการเก็บแบบเปียก (พิธีกร มีแบบการเก็บแบบเปียก และแห้ง)การเก็บแบบแห้งจากที่เปียกแล้ว เราเอามาทำการ set หรือจัดให้อยู่ในรูปแบบมาตรฐาน ลักษณะการ set มดใส่ในกระดาษสามเหลี่ยม ใช้กาวแปะที่ตัวของมด (พิธีกร การ set มดต้องมีลักษณะพื้นฐาน จะต้องเป็นลักษณะท่าทางแบบไหน)จะ set ระหว่างขาคู่หน้า และขาคู่กลางใช้กระดาษสามเหลี่ยมแปะด้วยกาวลาเท็กซ์ วางไว้ set ในกล้องจุลทรรศน์ (พิธีกร มือก็ต้องนิ่งพอสมควร ค่อนข้างเล็กด้วย ใช้เวลานานแค่ไหน ในการ set มด)มดตัวหนึ่งถ้าผู้เชี่ยวชาญไม่นาน ประมาณ 1 นาที ถ้าเกิดไม่ชำนาญก็ 10 นาที ครึ่งชั่วโมงก็มี เพราะว่า set ให้ขาหรือรูปทรงของหนวดให้มันได้ระดับที่เป็นมาตรฐาน

การสำรวจพื้นที่ มีวิธีหลักการอย่างไรในการเลือกพื้นที่สำรวจมด

     แล้วแต่ชนิดมดที่เราจะศึกษาด้วยเหมือนกัน ถ้าศึกษามดที่อาศัยอยู่ตามพื้นดิน หรือในดิน เราต้องดูว่าลักษณะของดิน พื้นที่มีแนวโน้มมีตัวอย่างของมดที่เราจะศึกษาหรือเปล่า หรือในพื้นที่ที่เป็นแหล่งศึกษามดที่อยู่ตามเรือนยอด เราก็ต้องดูต้นไม้หรือว่าต้นไม้แบบไหนที่สนใจจะศึกษา ต้องดูระบบนิเวศวิทยาของมดด้วยเช่นกัน มีข้อมูลพื้นฐานของมด
 
หลักในการเลือกตัวมด อยากจะสำรวจสกุลใด

     มันค่อนข้างจะลำบาก เพราะมดมันมีเยอะมาก สกุลนี้อยู่ตรงนี้ ตรงไหน สำรวจอาจมีการสำรวจทั้งพื้นที่หรือว่าในพื้นฐานของต้นไม้นั้น ค่อยเอามาเลือกหรือมาเช็ค คัดแยกว่ากลุ่มนี้อยู่กลุ่มไหน สปีชี่ส์ไหน สกุลไหน
 
ผลงานมดชนิดใหม่ที่ได้กล่าวไปเบื้องต้น ในสกุล Myopiasมีความพิเศษหรือมีความเฉพาะอย่างไร

     มดสกุล Myopias ลักษณะเด่นของกลุ่มพวกนี้จะแตกต่างจากกลุ่มสกุลอื่นชัดเจนคือ ลักษณะของกรามหรือ  Mandibles ค่อนข้างจะห่าง มดชนิดอื่นจะชิดกัน แต่มดชนิดนี้จะเห็นเป็นช่องว่างเหมือนกับมีปากเป็นร่องอยู่ตรงกลาง ถ้าเกิดเรามองจากด้านบนลงมามันก็จะเป็นช่องว่างเหมือนฟันหลอ เรียกสกุลนี้เป็นมดสกุลปากห่าง เพราะลักษณะปากจะห่าง Mandibles หรือกรามห่าง ส่วนฐานของริมฝีปากบนหรือ Clypeus จะเป็นรูปประมาณสี่เหลี่ยม อาจจะเป็นสี่เหลี่ยมคางหมูหรือสี่หลี่ยมจตุรัส ลักษณะเด่น ส่วนของเอวมี 1 ปล้อง ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของ ซัพวงศ์ย่อยของ Ponerinae ที่มีเคียวปล้องเดียว (พิธีกร ปกติมดทั่วไปจะกี่ปล้อง)มี 1 - 2 ปล้อง เป็นลักษณะที่แตกต่างจากแมลงกลุ่มอื่นเหมือนกัน ปล้องท้องอันนี้

ลักษณะอื่นทั่วไปของตัวมด มดมีความพิเศษช่วยให้ระบบนิเวศดีขึ้น หรือเป็นตัวบ่งบอกบ่งชี้อะไร

     มดปกติแล้วจะมีบทบาททางนิเวศคือเป็นผู้ล่า กินสัตว์เป็นอาหาร แต่กลุ่มนี้จะอาศัยอยู่ตามขอนไม้ผุ คิดว่ากระบวนการของมันคือจะอยู่ในขอนไม้ผุจะกัดกินหรือว่าสร้างรังในขอนไม้ทำให้การย่อยสลายของขอนไม้ไวขึ้น ช่วยย่อยสลายด้วยในกลุ่มสกุลนี้ (พิธีกร ถ้าพวกใบไม้ทับทมพวกนี้ย่อยสลายได้ไหม)เราเจอเฉพาะในขอนไม้ใหญ่หรือขอนไม้ผุ ทำรัง protect ตัวเองสร้างรังในขอนไม้จะดีกว่าในใบไม้

ในประเทศไทยสกุลMyopias มีค่อนข้างเยอะไหม

     ในทั่วโลกจากการศึกษาจะทราบชื่อชนิดแล้วประมาณ 40 ชนิด ในประเทศไทยพบอยู่ 7 ชนิด ซึ่งเป็นรายงานครั้งแรกใน Zootaxa ประเทศไทยปกติยังไม่มีคนรายงานระดับชนิดว่ามีกี่ชนิด รู้ว่ามีระดับสกุล Myopiasไม่ระบุชนิดได้ ยังไม่มีคนระบุชนิดเป็นทางการ อันนี้เป็นรายงานแรกที่ค้นพบว่ามันมีอยู่ 7 ชนิดในประเทศไทยซึ่ง 4 ชนิดเป็น new record เป็นค้นพบใหม่ในประเทศไทย ส่วนอีก 3 ชนิดเป็น new speciesหรือว่าการค้นพบชนิดใหม่ของโลก
 
 
มีการตั้งชื่อ มดสกุล Myopias

         มีแล้วครับ ในกลุ่มของมดสกุลนี้ที่บอกว่าเป็นการระบุชนิดแรก ครั้งแรกของประเทศไทยที่บอกว่าพบ 7 ชนิด เป็น 4 new record 3 new species ซึ่ง 3 new species  เขาดูลักษณะของส่วนต่างๆ ที่แตกต่างกัน พบว่าชนิดแรกเป็นมดปากห่างเล็ก หรือเป็น Myopias minima ลักษณะจะเล็กที่สุดในบรรดามดปากห่างในสกุลนี้ พบในทางภาคใต้ของประเทศไทยซึ่งมีขนาดเล็ก แถวนครศรีธรรมราช ชนิดที่ 2 เป็น Myopias sakaeratensis เจออยู่ทางนครราชสีมา ในพื้นที่สะแกราช ตั้งชื่อให้เป็นเกียรติกับสถานที่  sakaeratensis หรือมดปากห่างสะแกราช ตั้งชื่อภาษาไทยให้เลย เจอแถวๆ ทานครราชสีมาและทางภาคตะวันออกของประเทศไทย ส่วนอีกชนิดหนึ่งคือ Myopias sonthichaiae เป็นมดที่เจอทางภาคเหนือและทางภาคตะวันตกของประเทศไทย เราตั้งชื่อให้เพื่อเป็นเกียรติกับอาจารย์เสาวภา สนธิชัย ซึ่งเป็นอาจารย์ในยุคแรกๆ ที่มีการศึกษามดในประเทศไทย ตั้งชื่อให้เป็นเกียรติกับท่าน


อยากให้อาจารย์เล่าถึงขั้นตอนการศึกษาวิจัย มีขั้นตอนอย่างไร ตั้งแต่เริ่มลงพื้นที่ต้องมีขั้นตอนอย่างไร

     ในขั้นตอนการศึกษาส่วนใหญ่จะมีการทำงานเป็นทีม ทราบว่ามดชนิดนี้ปกติจะอาศัยอยู่ตามขอนไม้ผุ โดยส่วนใหญ่มดมีหลายชนิด แต่ละชนิดจะมีแหล่งที่อยู่อาศัย หรือการหาอาหารต่างกันค่อนข้างมาก บางชนิดอาศัยอยู่ในดิน ตามพื้นดิน ตามต้นไม้ กิ่งไม้ ยอดไม้ต่างๆ มีความแตกต่างกัน ส่วนมดชนิดนี้เป็นมดที่อาศัยอยู่ตามขอนไม้ผุ เราก็เลยต้องเข้าไปสำรวจทั่วพื้นที่ถ้าเจอขอนไม้ที่ผุใหญ่ๆ จะค่อยพลิกดู ค้นดู เก็บดู วิธีการเก็บมีการร่อนคือมีตะแกรงร่อน มดขนาดเล็กมาก มองไม่เห็น ถ้าจับเหมือนตัวอื่นๆ จับไม่ได้ ร่อนๆ แล้วใช้ forceps ในการคีบเก็บในขวดแอลกอฮอล์ ระบุพิกัดว่าขวดนี้เก็บที่ไหน วันที่เท่าไร ผู้เก็บชื่ออะไร ลักษณะการเก็บ เก็บตามขอนไม้หรือตามยอดไม้ ลักษณะพื้นที่ที่เก็บด้วย แล้วเอาขวดนั้นมาปฏิบัติงานต่อในห้องปฏิบัติงาน (พิธีกร ในขั้นตอนการเก็บไปตามขอนไม้ ตัวมดค่อนข้างเล็ก เราต้องสุ่มเก็บตัวอย่างมาก่อนแล้วค่อยมาดูในห้องแล็บ)ใช่ครับ (พิธีกร เราไม่สามารถจะแยกตรงนั้น)ไม่สามารถต่อให้เป็นผู้เชี่ยวชาญก็ไม่สามารถแยกในพื้นที่นั้นได้ เพราะว่ามันค่อนข้างจะเล็กมาก เราต้องดูใต้กล้องเท่านั้น ดูใต้กล้องยังไม่พอ เราต้องถ่ายรูปในลักษณะ Morphologyหรือลักษณะโครงสร้างภายนอกที่ชัดเจน มีขนเป็นอย่างไร มีลักษณะหนวดเป็นอย่างไร ตาเป็นอย่างไร การเก็บในพื้นต้องเก็บสุ่มเก็บทั้งหมด ยิ่งเป็น colony เป็นลักษณะอาณาจักรเล็กๆ ย่อยๆ เราต้องเก็บในส่วนของมดงาน มดทหาร และในส่วนของวรรณะราชินี ถ้าเกิดเจอ ยากมากในการเก็บวรรณะราชินี ซึ่งมีชนิดหนึ่งที่สามารถเก็บวรรณะราชินีได้ Myopiasmandibularisเราเอามาบรรยายเป็นครั้งแรกของโลกในสกุลนี้ที่ใช้วรรณะราชินีในการบรรยายลักษณะใน Zootaxa

ลักษณะในวรรณะราชินี มีลักษณะเด่นอะไรเป็นพิเศษ

     ปกติเวลาเราเห็นราชินีต้องตัวใหญ่ มดบางชนิดอาจตัวเท่ากัน แต่ว่าเขาดูตรงตุ่มปีกข้างหลัง จะมีปุ่มปีกแสดงว่าเคยมีปีกมาก่อน มีการผสมพันธุ์กับตัวคิง สลัดปีกออก ดำรงชีวิตอยู่ในรังของมัน ใน colony ของมัน ส่วนใหญ่ท้องจะใหญ่กว่ามดงาน หรือมดทหารปกติทั่วๆ ไป (พิธีกร อาจารย์กล่าวถึงมีควีน มีคิงด้วย มีการ record ควีน และตัวคิงมีการระบุวรรณะอะไร)ส่วนใหญ่เราจะไม่ค่อยเจอ ตัวเหมือนมดงานทั่วไป (พิธีกร ไม่ได้มีลักษณะที่ชัดเจนจะแยกได้เหมือนราชินี)

มีพิษภัยกับคนอย่างไร

     ดูการจำแนกก่อน พื้นฐานการจำแนกในส่วนของกีฏวิทยา ลักษณะของแมลงโดยทั่วไปจะมีส่วนประกอบอยู่ 3 ส่วนที่ชัดเจน ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง แมลงทั่วๆ ไป แต่ในมดมีพิเศษอีกอย่างหนึ่งคือ มีเอว แมลงอื่นมีหัว อก ท้อง ส่วนของมดจะมีเอว มดจะมีเอวอยู่ 1-2 ปล้อง บางกลุ่มมี 2 ปล้อง บางกลุ่มมี 1 ปล้อง สามารถจำแนกเป็นมดได้ ลักษณะหนวดแบบหักข้อศอกหรือ geniculate(พิธีกร ถ้าเป็นแมลงอื่น จะเรียกว่าอะไร)มีหลายแบบอาจจะมีหักข้อศอกเหมือนกัน ในพวกต่อ แตน แต่ลักษณะโครงสร้างภายนอกจะไม่เหมือนมด  2 ลักษณะนี้รู้ว่าเป็นมด จะเอามาเข้าในกลุ่มจำแนก เช่น มดมีเอวกี่ปล้อง ถ้ามี 2 ปล้อง เป็นกลุ่มนี้ เอว 1 ปล้อง ไปกลุ่มนี้ เอว 1 ปล้อง ลักษณะเอวปล้องเดียวมีปากแบบไหน สกุล Myopias ลักษณะปากห่าง อยู่ในสกุล Myopias แน่นอน อย่างอื่นไม่ใช่ ก็เอามาเข้า Myopiasแต่ละชนิดแต่ละสกุลมีหลายชนิดหน้าตาแตกต่างกันเอามาแยกชนิด โดยการเปรียบเทียบจากต้นแบบหรือในหนังสือ ปัจจุบันเราใช้ฐานข้อมูลของ antweb กับ antwiki เพื่อเปรียบเทียบดูว่าลักษณะนี้ สกุลนี้หน้าตาเป็นอย่างไร เขาจะระบุไว้ซึ่งใช้ตรงนี้ เป็นพื้นฐานใช้ antweb antwiki ดูเบื้องต้นเป็นกลุ่มไหน หลังจากนั้นส่งไปให้ผู้เชี่ยวชาญดู เพื่อยืนยันเป็นชนิดใหม่หรือเป็นชนิดที่เจอเป็นแบบไหน ได้ผู้เชี่ยวชาญ Dr. Guenardจากฮ่องกง เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนี้มา confirm ให้ ปกติ ดร.วียะวัฒน์ก็สามารถ confirm ได้ในระดับหนึ่ง ยืนยันอีกทีก็ Dr. Guenardดูสปีชีส์เสร็จแล้วเขียนรายละเอียดต่างๆ ส่งไปให้ผู้เชี่ยวชาญดูอีกครั้ง แล้วก็ส่งไป Zootaxaหรือในวารสารต่างๆ เพื่อตีพิมพ์ต่อไป
 
ในการประกาศค้นพบมดชนิดใหม่จะต้องมีการตีพิมพ์ ต้องประกาศอะไรก่อนที่มีการตีพิมพ์

     ต้องตีพิมพ์ก่อน ถึงจะนำมาประกาศได้ ไม่ใช่เจอ new species10 ชนิด ยังไม่ตีพิมพ์เขาก็อ้างอิงไม่ได้ ซึ่ง Zootaxaเป็นวารสารหนึ่งที่ให้ความสำคัญในด้านอนุกรมวิธานของพวกแมลงและสิ่งมีชีวิตต่างๆ
 
ในการจำแนกจะดูส่วนต่างๆ ของมด ในเรื่อง หัว อก ท้อง เอว มีลำดับขั้นไหมว่าลำดับแรกจำแนกง่ายๆ ก่อน ดูที่ส่วนนี้แรกก่อน

     ในส่วนแรกดูแตกต่างจากแมลงอื่นหรือในกลุ่มเดียวกัน (พิธีกร ในกลุ่มเดียวกัน)ที่บอกว่าดูสัดส่วนของปากที่ชัดเจน และในส่วนของเอว จริงๆ กลุ่มพวกนี้ต้องดูที่เอวก่อนเพราะมีปล้องเดียว บางครั้งดูในส่วนของหนวด ปาก ประกอบกันหลายๆ ส่วนได้ในส่วนของสกุล เริ่มแคบตีวงล้อมมา จำแนกชนิดต่างๆ ออกมา 
 
ในเรื่องพิษของมด

     มีในบางชนิด มดมี 2 กลุ่ม มีเหล็กในและไม่มีเหล็กใน แต่ว่าเหล็กในไม่เหมือนผึ้ง ผึ้งจะมีเหล็กในที่เป็นปากฉลามหรือเป็นตะขอ ต่อยครั้งเดียว มดจะเป็นลักษณะแหลม ต่อยได้หลายครั้ง มดแดงไม่มีเหล็กใน แต่มีปาก มีกลิ่น มีกรดฟอร์มิก กลิ่นส้มๆ (พิธีกร มีพิษมากน้อยแค่ไหน) ไม่มีปัญหาเป็นพิษกับเรา นอกจากไปอยู่ตามถังขยะต่างๆ เป็นพาหะในการนำเชื้อโรค แต่อยู่ในพื้นที่โอเคหน่อย จะคันเฉยๆ ในกลุ่มของพวกมดตะนอย มีข่าวหลายปีก่อนที่ว่ากัดแล้วทำให้คนโดนกัดแพ้ เป็นแผล มีพิษค่อนข้างจะสูง มดตะนอย (พิธีกร มดตะนอยตัวใหญ่ไหม)ตัวใหญ่นะ อยู่ตามสวน ตามสวนสาธารณะ ตัวใหญ่หน่อย เอวสีแดงๆ ตรงก้นเป็นสีดำๆ (พิธีกร มดที่เป็นสีดำ เป็นมดเหมือนกัน มีพิษไหม)ไม่มีพิษตัวนั้น แล้วแต่คนแพ้แล้วกัน การอ่อนแอของคนโดนต่อย หรืออายุของคนโดนต่อย อาจเป็นเด็กหรือคนแก่ อันนั้นจะมีผลหน่อย แต่ไม่มีผลมากเท่ากับมดตะนอย พิษเยอะสุดในบรรดามดในประเทศไทย
 
มาพูดถึงเรื่องภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ ครั้งก่อนสัมภาษณ์ หัวหน้าวิเชียรไป ก็ได้เรียนของภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ และเปลี่ยนเป็นสาขาการจัดการสัตว์ป่า ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้จะต้องศึกษาเกี่ยวกับอะไร สำหรับนักเรียนที่อยากเข้ามหาวิทยาลัย อยากเข้ามาเรียนในภาควิชานี้ต้องมีความรู้พื้นฐานอะไรบ้างเป็นพิเศษ

     ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ ถ้าเกิดในระดับปริญญาตรี แยกเป็นสองสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพป่าไม้ และการจัดการสัตว์ป่าและทุ่งหญ้า ที่หัวหน้าวิเชียรจบสาขานี้ ในสาขาย่อยวิทยาศาสตร์ชีวภาพป่าไม้แบ่งเป็น อนุกรมวิธานพืช, การจำแนกลักษณะพืช new species ปีที่แล้วเจอ new species หลายชนิดเหมือนกัน, นิเวศวิทยาป่าไม้, โรคพืชและกีฏวิทยาป่าไม้ ซึ่งผมอยู่ในกลุ่มสาขาย่อยนี้, เทคโนโลยีอนุกรมป่าไม้, สรีระวิทยาของพืชป่า ทางชีวของป่าไม้จะเน้นในกลุ่มของป่าไม้ การที่มาเรียนในภาควิชานี้ต้องมีการเรียนทั่วๆ ไปก่อน ปี 1 ปี 2 ปี 3 ถึงเลือกเรียนภาควิชา (พิธีกร ตัว bio เรียนกี่ตัว ในภาคชีววิทยาป่าไม้)จริงๆ เดี๋ยวนี้เรียนหน่วยกิตน้อยลง ประมาณ 3-4 วิชาก็โอเคแล้วของภาควิชานี้ แต่ภาควิชานี้จะฝึกงานเยอะหน่อย การเก็บข้อมูลส่วนใหญ่เป็นการเก็บข้อมูลในภาคสนาม การเดินป่า การวัดต้นไม้ต่างๆ ทำงานในป่าเป็นส่วนใหญ่
 
สถานที่ฝึกงานของนิสิต มีที่ไหนบ้าง

     ในคณะวนศาสตร์สถานีมีอยู่เยอะเหมือนกัน มีที่วังน้ำเขียว นครราชสีมา ที่ลำปาง ห้วยทาก ที่เชียงใหม่ ดอยสุเทพปุย ที่หาดนวกร ประจวบคีรีขันธ์ ติดทะเล ที่ชุมพร ตะกั่วป่า
 
ผลงานวิจัยของอาจารย์มีค่อนข้างเยอะมาก ผู้สนใจอยากจะสืบค้นข้อมูลสามารถสืบค้นผลงานของอาจารย์ได้ที่ไหน

     ปัจจุบันการค้นหาข้อมูลในฐานข้อมูลค่อนข้างง่ายขึ้น เราค้นจากอินเตอร์เน็ต google แล้วพิมพ์ชื่อผม วัฒนชัย ตาเสน หรือตาเสน หรือชื่อผลงานวิจัยที่สนใจ search ใน google จะมี link ต่างๆ เราเจอค่อย save หรือ copy ไว้ หากสนใจข้อมูลไหน ไม่สามารถเข้าถึงได้ ส่ง email มาโดยตรงที่ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. มาอยากได้อันไหน ส่งให้ได้ไม่มีปัญหา
 
งานวิจัยมีเฉพาะเรื่องมด หรือมีสัตว์ชนิดอื่นๆ

     จริงๆ ศึกษาทางด้านกีฏ หรือแมลงป่าไม้ แมลงป่าไม้มีเยอะแยะมากมายหลายชนิดหลายกลุ่ม มดเป็นส่วนหนึ่งของแมลงที่อยู่ในป่าไม้ ศึกษาผีเสื้อ ผึ้ง ก็มีศึกษา เข้าไปในป่าอย่างแรกเจอต้นไม้ อย่างที่สองเจอแมลง แมลงก็สำคัญในระบบนิเวศ การศึกษาความหลากหลายทางชนิด หรือทางประชากร หรือบทบาททางนิเวศเป็นส่วนสำคัญในการศึกษาอยู่ตลอดเวลา
(พิธีกร ก่อนสัมภาษณ์อาจารย์ ลองสืบค้นคลังความรู้ดิจิตอลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีข้อมูลค่อนข้างเยอะ ในคลังความรู้ได้รับความอนุเคราะห์จากอาจารย์ ในการขออนุญาติเผยแพร่ผลงาน อาจารย์เปิดเป็นสาธารณะเพื่อเป็นการศึกษา หรือการต่อยอดผลงานงานวิจัยของอาจารย์ต่อไป ขอขอบพระคุณอาจารย์ที่ได้ให้รวบรวมผลงานที่คลังความรู้ของเรา)
 
ในการหาข้อมูลในการทำวิจัย ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับมด มีแหล่งข้อมูลประจำจากแหล่งใดบ้าง

     การอ้างอิงผลงาน อาจจะแบ่งเป็น 3 ประเภท 1. เอกสารในการเผยแพร่ 2.paper หรือวารสารต่างๆ 3. Text book ในหนังสือต่างๆ การตรวจเอกสารเป็นสิ่งสำคัญ ถ้านักวิจัยรุ่นใหม่แนะนำในส่วนของการตรวจเอกสารหรือ การ keep การเก็บวารสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเราไว้เยอะๆ แล้วนำมาอ่าน อ่านเยอะๆ และนำมาผสมผสานศึกษาวิจัยต่างๆ เป็นประโยชน์ต่อผู้วิจัยเอง และการร่วมมือกันระหว่างหน่วยงาน เพราะเราไม่ได้เก่งคนเดียว มีคนเก่งกว่าเราอีก มีการร่วมมือกัน แชร์ข้อมูลต่างๆ กัน ก็สามารถที่จะประสบความสำเร็จในการตีพิมพ์ผลงานวิจัยต่อไป ส่วนฐานข้อมูลใน ม.เกษตร มีฐานข้อมูลเยอะ ได้รับการ support จากสำนักหอสมุด เข้ามาจะ link มาที่ฐานข้อมูลของหอสมุด ไม่รู้ว่าฐานข้อมูลของหอสมุดมีอะไรบ้าง ใช้หลักๆ sciencedirect (พิธีกร สหสาขาวิชา ก็มี sciencedirect, scopus, web of science ถ้าเป็นสาขาเกษตรเป็น cabdirect)แมลงกลุ่มอื่นๆ ผึ้ง การผสมเกสร การทำลายแมลงต่างๆ แต่ละฐานก็มีความแตกต่างกัน
 
textbook ด้านใดในการอ้างอิง

     จะมี ของทาง anthropology  ecologyจะเน้น forest  ecologyนิเวศวิทยาป่าไม้ หรือการจัดการมาผสมผสานกัน หรือ biodiversityความหลากหลายทางชีววิทยา
 
วันนี้ค่อนข้างได้ข้อมูลที่เป็นความรู้มาก เกี่ยวกับเรื่องมดที่เป็นสัตว์ชนิดเล็ก แต่งานวิจัยไม่เล็ก เป็นการค้นพบ New Record บ้าง New species ซึ่งอาจารย์ได้กล่าวมาก่อนหน้านี้ New species ค่อนข้างสำคัญกว่า New Record

     ใช่ ส่วนใหญ่แล้ว เราคิดว่า New Record ดูตื่นเต้น แต่ New species สำคัญ ค่อนข้างจะยากกว่าในการระบุ New species ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ New species มากกว่า (พิธีกร ปกติมีการค้นพบ species ใหม่ แล้วค่อยไป New Record)ใช่ (พิธีกร ถ้าไม่มีการ New species มาก่อน ก็ไม่สามารถเป็น New Record ได้)New Record เอาข้อมูลที่เจอที่อื่น มารายงานให้คนอื่นรู้ว่าในพื้นที่เราก็มีนะ เจอนะ

ทรัพยากรสารสนเทศของสำนักหอสมุดที่เกี่ยวข้อง

ชื่อเรื่อง

  1. เรื่องของมด/ อวบ สารถ้อย
  2. พิพิธภัณฑ์มด / เดชา วิวัฒน์วิทยา
  3. พิพิธภัณฑ์มด / เดชา วิวัฒน์วิทยา ; ถ่ายภาพ เดชา วิวัฒน์วิทยา และ วีระวัฒน์ ใจตรง
  4. Separating effects of species identity and species richness on predation, pathogen dissemination and resistance to invasive species in tropical ant communities.
  5. Diverse stochasticity leads a colony of ants to optimal foraging
  6. Plant chemical mediation of ant behavior
  7. The role of ants in vertebrate carrion decomposition
  8. Selenium exposure results in reduced reproduction in an invasive ant species and altered competitive behavior for a native ant species
  9. Entomology
  10. Chapter5 - Forensic Entomology
  11. Ant-herbivore interactions in an extrafloral nectaried plant: are ants good plant guards against curculionid beetles?
  12. Preliminary list of the lepidopterous insects in the Arizona State University Hasbrouck Insect Collection
  13. The European fire ant (Hymenoptera: Formicidae) as an invasive species: impact on local ant species and other epigaeic arthropods
  14. Ant Bites Conjunctival Tissue: The ABCs of Removing an Ocular Ant Foreign Body
  15. แมลง การจำแนกและการเก็บตัวอย่าง / ศิริณี พูนไชยศรี และคณะ

 
 
 
1xbet casino siteleri bedava bahis kaçak bahis superbetin yeni giriş casino siteleri