KULIB Talk : “บ้านพึ่งพาตนเอง”
รายการ KULIB TALK ในวันนี้เองนะครับ ก็เป็นเนื้อหาที่น่าสนใจเช่นเคยนะครับ จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับโครงการบ้านพึ่งพาตนเองนะครับ ซึ่งเป็นโครงการของอาจารย์ภาควิชานวัตกรรมอาคาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ของเรานี่เองนะครับ ซึ่งอาจารย์เป็นหัวหน้าโครงการบ้านพึ่งพาตนเองและมีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างมากนะครับ ซึ่งจะเป็นใครไปไม่ได้เลยนะครับ ขอต้อนรับ รองศาสตราจารย์พาสินี สุนากร นะครับผม
พิธีกร : สวัสดีครับอาจารย์ ยินดีต้อนรับสู่รายการ KULIB TALK ครับผม แล้วก็ได้ยินข่าวมาว่า อาจารย์เป็นหัวหน้าโครงการบ้านพึ่งพาตนเองอยู่ อยากจะทราบความเป็นมาของ บ้านพึ่งพาตนเองว่า มีแนวคิดในการทำโครงการบ้านพึ่งพาตนเองอย่างไรบ้างครับอาจารย์
อาจารย์ : ทำตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 นะคะ แล้วก็เนื่องจากว่า เราเป็นพื้นที่ในเมือง เราก็เลยทำเพียงประมาณ 50 ตารางวา ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ทำต่างจังหวัด ซึ่งจะมีพื้นที่เยอะ ก็จะเป็น 15 ไร่ แล้วก็มีน้ำ 30% แล้วก็มี ปลูกพืช ผัก อีก 30% แล้วก็ปลูกข้าวอีก 30% แล้วเป็นบ้านอีก 10% นี่ของเราอยู่ในเมืองใช่ไหมคะ เราทดลองทำดู ใช้ 50 ตารางวา เท่ากับ 200 ตารางเมตร
พิธีกร : ครับ 50 ตารางวาใช่ไหมครับอาจารย์
อาจารย์ : ค่ะ หรือจะน้อยกว่านั้น จริงๆ พื้นที่น้อยกว่านั้น
พิธีกร : ครับผม ซึ่งอันนี้อาจารย์ทำในพื้นที่ ในตัวเมือง อาจารย์ทำที่ไหนบ้างครับอาจารย์
อาจารย์ : ทำตรงซอย 45 ด้านเหนือของหอพักนิสิตค่ะ
พิธีกร : ครับผม แล้วในมหาลัยมีทำพื้นที่ตรงนี้ด้วยไหมครับอาจารย์
อาจารย์ : ในมหาลัย ก็จะมีที่ดาดฟ้าคณะเรา ส่วนใหญ่ก็จะพอสำหรับอาจารย์และนิสิต ไม่พอสำหรับภายนอก แต่นี่อาจจะได้ผลิตผลเยอะพอที่จะมาขายที่ตลาด โรงอาหารกลางอะไรแบบนี้ค่ะ คิดว่าน่าจะได้อยู่
พิธีกร : ครับ แล้ววัตถุประสงค์ของตัวโครงการบ้านพึ่งพาตนเองนี่อะครับ คือจัดทำโครงการมาเพื่อวัตถุประสงค์อะไรเป็นหลักหรือเปล่าครับอาจารย์
อาจารย์ : อ๋อ เพราะว่าจริงๆ อยากจะทำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่น้อยๆ ค่ะ ลองดูว่าในเมืองเนี่ยจะทำพอไหม ทีนี้เราก็ได้แรงบันดาลใจจากเด็กๆ ปี 1 นะคะ ซึ่งเขาก็แบบว่า มีปลูกเห็ดซ้อนๆ กันได้หลายชั้น ปลูกต้นอ่อน แสงนิดหน่อย เพราะว่ามันมีอาหารอยู่ในเมล็ดอยู่แล้ว ไม่ต้องการการสังเคราะห์แสง ต้นอ่อน ซ้อนกันได้หลายๆ ชั้น เนี่ยคือนิสิตเขาทำ นิสิตเขาทำมา แล้วก็ทำให้เกิด เราคิดว่า ทำไมเรา เราลองมาทำเป็นวิจัยดู ทีแรกทำมาเป็นบ้านไม้ไผ่สวยงาม อาจจะเห็นในที่ส่งไปให้นะคะ ก็แล้วอันนี้พอดี บริษัท A & J BUILDERS ซึ่งก็เป็นนิสิตปริญญาโท เขาขาดทุนก็เลยไม่ได้ เราก็เลยซื้อ คอนเทนเนอร์ขนาดเล็ก แล้วก็มีห้องน้ำขนาดเล็ก แล้วก็มีพื้นที่ปลูกสวน ซึ่งตอนนี้มีคนมาทำแล้ว เลี้ยงไก่ เพราะว่าตอนนั้นเนี่ยเป็นหน้าหนาว คนที่ทำนาก็กลับไปทำนาหมด หน้าฝน กว่าจะกลับมานั้นก็อาจจะเดือนตุลาคม พฤศจิกายน ซึ่งก็รอไม่ได้ เพราะเราได้ทุนอันนี้ ตั้งแต่สิงหาคม 2561 อันนี้ สิงหาคม 2562 เพิ่งทำได้ครึ่งหนึ่งเอง เพิ่งหาคนมาเลี้ยงไก่ คนมาปลูกผักได้
พิธีกร : ครับผม อ๋อมีการเลี้ยงสัตว์ด้วย แล้วคราวนี้ในอันนั้นจะเป็นรอบ ๆ ตัวอาคารใช่ไหมครับที่มีการเลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ
อาจารย์ : ค่ะ
พิธีกร : แล้วคราวนี้ในตัวบ้านเองเนี่ยครับอาจารย์ ในตัวบ้านนี่จะต้องมีฟังก์ชันอะไรที่อยู่ภายในบ้านบ้างครับที่จะเรียกว่าบ้านพึ่งพาตัวเองครับอาจารย์
อาจารย์ : อ๋อ มีอะไรที่อยู่ในบ้านบ้าง ก็คือพื้นที่บ้านเนี่ย มันก็จะเป็นคอนเทนเนอร์ขนาดแบบน้อยที่สุดเลย ไม่มีแอร์ จะมีหน้าต่างเปิดสองข้างระบายอากาศได้ แล้วก็มีห้องน้ำขนาดเล็กมากเลย ซึ่งพวกนี้ทั้งหมดเนี่ยรวมกันประมาณสามแสน ซึ่งก็ถือว่าน้อยอ่ะใช่มั้ย น้อย ตอนนั้นถ้าเทียบจะสร้างบ้านนั้นน่ะล้านหนึ่ง ที่นี้บริษัทเค้าก็ทำไม่ได้ใช่มั้ย ก็ไม่เป็นไร ที่นี้คอนเทนเนอร์กับห้องน้ำอะไรงี้ มันก็ เนี่ยะ ราคามันก็น้อยก็เลยสร้างได้ พอได้ทุนจากสวพ. ของเราเอง ก็คือ ได้ทุนมาห้าแสน เหลืออ่ะจะเป็นพวกค่าวิจัย วัดลม วัดน้ำอะไรนี้อ่ะค่ะ พวกค่าวิจัย
พิธีกร: แล้วคราวนี้ ในตัว ในตัวบ้านเองที่อาจารย์กล่าวมาเนี่ย ประมาณห้าสิบตารางวาใช่มั้ยครับ
อาจารย์ : ใช่
พิธีกร: คราวนี้ห้าสิบตางวาเนี่ย เอ่อ ถ้าหากว่ามีจำนวนผู้เข้าอยู่อาศัยเนี่ย สามารถที่จะอยู่อาศัยได้ประมาณกี่คนครับอาจารย์
อาจารย์ : สองคน ค่อนข้างแน่น ก็ประมาณ พื้นที่มันจะประมาณ 1.5 คูณด้วย 3 ขนาดคอนเทนเนอร์โดยประมาณ
พิธีกร : ครับ คราวนี้ก็ได้ทราบมาว่าในการทดลองการพึ่งพาตนเองของบ้านนี่อ่ะครับ อาจารย์ได้อาศัยตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงนะครับอาจารย์ คราวนี้อยากจะให้อาจารย์ได้ เอ่อ เพิ่มเติมในเรื่องของแต่ละด้านของแนวคิดต่าง ๆ ครับ เห็นว่ามีหกด้านด้วยกัน อยากให้อาจาย์เพิ่มเติมในเรื่องของว่าทดลองไปแล้ว แล้วเกิดผลอะไร อย่างไรบ้างอ่ะครับ โดยเรามาเริ่มจากด้านที่หนึ่ง ด้านที่หนึ่งก็คือด้านการเพาะปลูกพืชผลและการเลี้ยงสัตว์ครับอาจารย์
อาจารย์ : เพาะปลูกพืชผลนี่ก็เพิ่งจะเริ่มค่ะ ก็มีพวกผักบุ้ง ถั่วฝักยาวแต่รู้สึกยังได้ทำร้าน แล้วมีฟักทอง ฟักทองซึ่งเอาเมล็ดลงดินไปแล้ว แต่ว่าฟักทองมันอยู่บนดิน เพราะมันหนักก็เลยไม่ได้ทำร้าน ที่นี้ก็ยังไม่ได้ทำร้านค่ะ แต่ว่าจริง ๆ จะใช้ตรงที่เป็นเพาะต้นอ่อนนี่ ให้ภายนอกก็น่าจะได้เหมือนกัน
พิธีกร: การเลี้ยงสัตว์นี่เลี้ยงสัตว์ เป็น กลุ่มสัตว์ประเภทไหนบ้างครับอาจารย์
อาจารย์ : เอ่อ เลี้ยงสัตว์ก็จะมีไก่ ตอนนี้มีสองตัว จะซื้อเพิ่มมาอีกห้าตัว แล้วก็รอมันฟักไข่นะคะ จะได้อีกสองตัว ก็ เอ่อ แล้วก็มีเลี้ยงปลา เลี้ยงปลาเนี่ยะ ก็พอดีว่าทางกทม. มาลอกคลองให้พอดี กามารถจะเลี้ยงได้ แล้วก็ทำเป็นตาข่ายกั้นไม่ให้ปลามันหลุดออกไปจากที่อื่นนะคะ
พิธีกร: แล้วทดลองเลี้ยงแล้วเป็นไงบ้างครับอาจารย์ ระหว่างการปลูกพืชกับการเลี้ยงสัตว์ มีพบปัญหาอะไรบ้างครับอาจารย์
อาจารย์ : อ๋อ ตอนนี้ก็ยังไม่ ยังไม่ถึงตรงนั้นน่ะ ยังไม่ ยังไม่เจอปัญหา แล้วก็จะปลูกพืชแบบออร์แกนิก แล้วก็อาจจะเอาดอกดาวเรืองไปปลูกด้วย ผสมผสานกันเพื่อให้มันช่วยไล่แมลง
พิธีกร: ครับอาจารย์ คราวนี้เรามาด้านที่สองนะครับ ด้านที่สองก็คือการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ก็อยากจะทราบว่า เอ่อ ในบ้านพึ่งพาตัวเองอ่ะครับต้องมีโซลาเซลล์รึเปล่า ก็ต้องติดตรงไหน อะไร อย่างไรครับอาจารย์
อาจารย์ : มีบนดาดฟ้า 4 อัน ซึ่งมันก็จะพอสำหรับ เอ่อ ปั้มน้ำ ไทม์เมอร์ที่ตั้งเวลารดน้ำต้นไม้ ไฟฟ้า แสงสว่างภายนอก ภายใน ภายในสองดวง ภายนอกสองดวง ก็ส่องดูรอบ ๆ เพื่อว่าเผื่อตัวอะไรเข้ามา แล้วก็มี เอ่อ ไม่มีตู้เย็นค่ะ ไม่มีทีวีค่ะ อันนั้นก็น่าจะพออยู่
พิธีกร: ครับ แล้วตัวแผง solar cell เนี่ยครับอาจารย์ ก็คือรวมอยู่ใน 300,000 แรกอาจารย์ได้กล่าวไว้หรือเปล่าครับ
อาจารย์ : อยู่ค่ะ
พิธีกร: อ๋ออยู่ รวมอยู่ใน 300,000 ด้วยใช่มั้ยครับ คราวนี้เรื่องของ solar cell ก็จะมีในเรื่องการป้องกันแสงแดดด้วยโดยการใช้แผงผักบุ้ง หรือว่าพืชพันธุ์ปลูกในการบังแสง อันนี้เราใช้พืชพันธุ์อะไรบ้างครับอาจารย์
อาจารย์ : ไม่ได้ปลูก เพราะว่าหลังคามันเล็ก หลังคามันค่อนข้างเล็ก เลยไม่ได้ปลูกอะไรพวกนั้น
พิธีกร: เพราะฉะนั้นบ้านที่อาจารย์ทำ ยังไม่ได้เอาพืชมาใช้ในการบังแดดอะไร หรือว่ามีใช้แล้วครับ
อาจารย์ : ยังไม่ได้ใช้เราจะปลูกพวกพืชรับประทานได้บนรั้ว อย่างแตงกวา ถั่วฝักยาว อะไรอย่างนี้ค่ะ มะระ ก็จะปลูกบนรั้ว อันนี้เพื่อให้ลมที่ผ่านพีชมีการคายน้ำ ก็จะเข้ามาในอาคารได้เย็น
พิธีกร: อันนี้เราก็ต้องปลูกตามทิศต้นลมเลยใช่ไหมครับอาจารย์
อาจารย์ : ใช่ค่ะ มันจะอยู่ทาง ด้านหน้าอยู่ทางทิศใต้ ด้านหลังทางทิศเหนือ ที่นี้เราเปิดหน้าต่างให้พีชผ่านอาคารมันก็จะเย็นลง
พิธีกร: คราวนี้เราก็มาถึงระบบน้ำกันบ้างครับอาจารย์ เห็นว่าบ้านพึ่งพาตัวเองมีระบบน้ำด้วยระบบน้ำหมุนเวียน ซึ่งอาจารย์ใช่ระบบน้ำหมุนเวียนนี้มีกี่ระบบ และก็มีระบบอะไรยังไงที่ใช่ในตัวบ้านกันบ้างครับ
อาจารย์ : แล้วก็มีน้ำฝนแท็งค์หนึ่ง ก็น้ำประปาแท็งค์หนึ่ง
พิธีกร: อันนี้ไว้ใช่ในตัวบ้านเลยใช่ไหมครับ แบบว่าอาบน้ำ หรือว่าใช้ทำอะไรบ้าง
อาจารย์ : ก็มีใช้อาบน้ำได้ แล้วก็ใช้สำหรับรดน้ำต้นไม้ ซึ่งเราก็จะทำทามเมอร์มาติดมาเป็นจุดๆ อาจจะสองแปลงที สามแปลงที ทั้งหมดจะมีหกแปลง แล้วก็ข้างในที่ปลูกเห็ดปลูกต้นอ่อนก็จะมีอีกสองอันเป็นทามเมอร์
พิธีกร: ซึ่งตัวระบบน้ำนี้มีปัญหาอะไรบ้างไหมครับ แบบกินไฟมากไหม หรือว่าแบบน้ำจะต้องมีการหมุนเวียนตลอดเวลาอะไรอย่างนี้ครับอาจารย์
อาจารย์ : อ้อ ไม่กินไฟค่ะ กินไฟน้อยมาก
พิธีกร: คราวนี้เรื่องน้ำผ่านไปแล้ว เรามาเรื่องลมบ้างครับอาจารย์ เห็นว่ามีการหมุนเวียนเป็นของกระแสลมด้วย โดยที่มีการเจาะช่องรับลม อยากจะทราบว่าในตัวบ้านเนี่ยเราต้องเจาะช่องลมอย่างไรอะครับ
อาจารย์ : เรามีช่องทางเข้ากับช่องทางออกแล้วเราก็จะวัดจริง แล้วก็จะทำ simulation เทียบกันค่ะ
พิธีกร: คราวนี้ในตัวช่องรับลมนี้อะครับอาจารย์ ก็คือตัวบ้านจะต้องมีช่องรับลมทางเข้าและทางออกหมดเลยใช่ไหมครับ
อาจารย์ : อ่า ใช่ค่ะ
พิธีกร: มันช่วยให้บ้านเย็นขึ้นหรือเปล่าครับอาจารย์
อาจารย์ : อ่า ก็ช่วยค่ะบ้านเย็นขึ้น แต่ถ้าตอนกลางคืนเปิดไว้มันก็อาจจะยุงเข้า
พิธีกร: อ่อ แปลว่าไอตัวช่องรับลม เราสามารถที่จะเปิดปิดได้
อาจารย์ : กลางคืนก็ปิดแต่ว่ามันก็จะร้อน แต่ถ้าติดมุ้งลวดมันก็จะดีหน่อย
พิธีกร: อันนั้นมันจะเป็นตัวการดูกระแสทิศลม เพื่อให้ลมเข้าบ้าน คราวนี้ในด้านถัดไปก็จะเป็นด้านการใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จะมีการเลือกวัสดุในการสร้างบ้าน ที่ใช้ในบ้านพึ่งพาตัวเองวิธีการเลือกเพื่อให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้างครับ
อาจารย์ : เดิมเราใช้ไม้ไผ่อย่างที่ทำในนี้อะค่ะ สวยๆ แต่ว่าตอนนี้เราก็ใช่คอนเทนเนอร์ที่เป็นรียูส คือเอากลับมาใช้ใหม่อะค่ะ ห้องน้ำก็เป็นรียูสเหมือนกัน
พิธีกร: ก็จะเป็นของที่ใช้แล้ว ละนำกลับมาใช้ใหม่
อาจารย์ : ค่ะใช่ค่ะ
พิธีกร: แล้วตัวโครงการบ้านพึ่งพาตัวเองเนี่ยครับอาจารย์มีระยะเวลาสิ้นสุดเนี่ยครับ แล้วตอนนี้คือสิ้นสุดโครงการไปแล้วรึยังครับ
อาจารย์ : อ่อก็อีกประมาณ 6 เดือนค่ะ
พิธีกร: 6 เดือนใช่ไหมครับอาจารย์
อาจารย์ : จะเผยแพร่ใน สวพ แล้วก็อาจจะมีการไปพรีเซ้นท์ต่างประเทศอะไรอย่างนี้อะค่ะ
พิธีกร: แล้วตัวบ้านต้นแบบเนี่ย มีอย่างนี้มีอ่าแพลนที่จะไปทดลองสร้างที่ไหนบ้าง หรือว่าขยายผลสร้างต่อที่ไหนรึป่าวครับอาจารย์
อาจารย์ : เออตอนนี้ก็ยังไม่มีค่ะ แต่ว่าถ้าแบบในเมืองอะถ้าสมมติว่าอยากจะเอาไปทำเนี่ยก็เอาไปทำได้ เพราะว่าคอนเทนเนอร์ที่แบบว่า เราก็ไม่ได้จดสิทธิบัตร สิทธิบัตรมันจะเป็นของคอนเทนเนอร์เขาใช่ไหมคะ ก็น่าจะเอาไปทำได้ในเมืองได้
พิธีกร: แล้วคำถามเพิ่มเติม ในส่วนของคอนเทนเนอร์ นี้มีอายุที่เรานำมาใช้ มีอายุระยะเวลาการใช้งานนานแค่ไหนครับอาจารย์
อาจารย์ : ก็น่าจะนานอยู่เพราะว่ามันเป็นเหล็ก เป็นเหล็กทั้งอันก็น่าจะซัก 100 ปี
พิธีกร: แล้วตัวนี้ เราสามารถคือถ้าสมมุติคนสนใจที่จะทำบ้านพึ่งพาตนเองแบบรูปแบบที่อาจารย์ทำอยู่นี้อ่ะครับก็สามารถติดต่ออาจารย์ได้โดยตรงเลยไหมครับหรือว่าต้องรอดูพวกผลงานวิจัยอะไรต่างๆ
อาจารย์ : เอ่อก็คิดว่า เอาให้สำเร็จเรียบร้อยก่อนว่าได้ผลออกมาว่าไม่ต้องออกไปทำงานเลย ไปทำอยู่แต่ในบ้านเนี่ยแล้วก็มีพืชผักทานตลอดทั้งปีนะคะ เพราะบ้านเรานี่แบบว่าตลอดทั้งปีจริงใช่ไหม ถ้าอย่างทางต่างประเทศเนี่ยมันก็จะมีฤดูหนาวซึ่งมีหิมะ เขาก็ไม่ได้ตลอดทั้งปีจะอิจฉาบ้านเราก็มีมีคนฝรั่งเศสมาทำบ้าน บ้านพอเพียงเนี่ยที่ที่หัวหินเขาก็บอกว่าเนี่ยเพราะว่าของเราในน้ำที่ดีที่สุดแล้วก็มีมีอากาศที่ดีที่สุดให้มาปลูกได้ตลอดทั้งปี
พิธีกร: ส่วนมากที่อาจารย์ปลูกก็มักจะเน้นเป็นพืชที่รับประทานได้ แล้วก็สัตว์ก็จะเป็นสัตว์ที่เล็กที่สามารถที่จะเลี้ยงแล้วก็ ใช้ทำอาหารประกอบอาหารได้ เท่านี้ในส่วนของที่อาจารย์ได้กลับไปเมื่อกี้ว่าถ้าผลงานเสร็จอาจารย์ก็จะมีการส่งตีพิมพ์ของสวพ. แล้วก็จะนำเสนอในต่างประเทศ ใช่ไหมครับ อย่างเช่นในฐานข้อมูลนานาชาติต่างๆ อันนี้ก็จะเป็นตัวงานวิจัยที่อาจารย์ทำเป็นแล้วซึ่งอาจารย์ได้กล่าวไว้ว่าเหลืออีก 6 เดือนใช่ไหมครับ อีก 6 เดือนก็จะปิดโครงการนี้สำเร็จ แล้วทำโครงการมากนี่มีปัญหาอะไรไหมครับ ในช่วงระยะเวลาการทำโครงการ
อาจารย์ : มีปัญหาเรื่องที่หาคนไม่ได้ เขาไปทำนากันหมดก็จะได้คุณจริยพร เขามาทำที่บ้านที่คณะและก็ลงที่เขาส่งรูปแล้วเขาก็มาทำที่บ้านเหมือนกันแล้วก็ทำที่คณะเหมือนกันลุงอยู่ทุกวันเฝ้าไก่ ก็ออกมาเลี้ยงข้างนอกกลัวว่างูกลัวก็เลยให้เอาเข้าไปในกรง แล้วมีไข่ค่ะ
พิธีกร: อันนี้ก็จะเป็นเรื่องราวของโครงการบ้านพึ่งพาตนเองนะครับที่ทางอาจารย์ได้จะทำโครงการมาแล้วก็ได้ทดลองต่างๆ แล้วก็นำหลักของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในบ้านพึ่งพาตนเองนะครับ อาจารย์มีอะไรอยากจะฝากเกี่ยวกับท่านผู้ชมบ้างว่าถ้าอยากเขาอยากจะมีเขาอยากจะมีบ้านเร็วๆ นี้เลยอยากจะทดลองนำหลักมาใช้เพื่อประยุกต์ใช้ในที่ดินที่อยู่อาศัยของตนเองนะครับอาจารย์จะแนะนำหรือว่ามีวิธีอะไรแนะนำให้ท่านผู้ชม
อาจารย์ :ก็อยากจะบอกประเทศไทยว่าเราแบบโชคดีมากที่ว่าเรามีอากาศตลอดปีตลอดทั้งปีเลยนะหน้าหนาวก็ไม่ค่อยจะหนาวอะไรหน้าก็ร้อนมากแล้วก็หน้าฝนมันก็ทำให้แบบว่าชุ่มชื้นพืชผักก็จะงอกในช่วงนั้นเราเป็นประเทศที่แบบโชคดีในสิงคโปร์เนี่ยถึงพื้นที่เขาเล็กเขาจะมีต้นไม้มากกว่าเราเพราะว่าในเอเชียเขาจะมี 66 ต่อตารางเมตรของเรามี 3.4 ต่อตารางเมตรเท่านั้นเอง เราน่าจะมีพื้นที่มากกว่านี้นะฮะก็คิดว่าเราเราทำได้แล้วทำได้แล้วก็ปลูกพืชในพื้นที่ขนาดเล็กในเมืองใหญ่แล้วก็สามารถทำได้สามารถจะเอาที่อาจารย์ทำเป็นตัวอย่างนั้นเอาไปใช้ได้เลย เพราะว่ามันก็ไม่มีลิขสิทธิ์อะไร เทรนเนอร์หาซื้อได้ทั่วไปห้องน้ำแบบนั้นก็หาซื้อได้ทั่วไป
พิธีกร: อยากให้ฝากตัวหนังสือที่เกี่ยวข้องกับ เห็นว่าอาจารย์มีหนังสือที่เกี่ยวข้องกับพวกบ้านพักอาคารและการปลูกพืชอะไรอยู่ในบ้านอาคารต่างๆ
อาจารย์ : อาจจะมีหนังสือเกษตรบนอาคารแพร่โดยสำนักหอสมุดก็เปิดดูได้ฟรีเป็นทีละหน้าทีละหน้าเลยอยู่ใน KU urban Agriculture
พิธีกร: อันนี้ก็จะเป็นข้อมูลที่อาจารย์เพิ่มเติมให้กับคนที่สนใจนะครับก็สามารถที่จะหาข้อมูลเพิ่มเติมได้เลยหรือว่าอาจจะโทรมาติดต่ออาจารย์ได้นะครับในการสอบถามข้อมูลความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องครับแล้วก็ไปวันนี้เองนะครับแล้วก็ได้ข้อมูลที่ค่อนข้างมีประโยชน์เลยเกี่ยวกับโครงการบ้านพึ่งพาตนเองซึ่งได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์พาสินี สุนากร นะครับในการนำมาให้ความรู้วันนี้ซึ่งเป็นความรู้ที่มีประโยชน์มากทุกท่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับที่พักของตัวเองแล้วบ้านของตัวเองได้นะครับคือมีการนำหลักการเศรษฐกิจพอเพียงทั้ง 6 ด้านมาทั้งเรื่องของกระแสลม
ปลูกผักปลูกอะไรก็เลี้ยงสัตว์แล้วก็มีเรื่องของระบบหมุนเวียนของน้ำแล้วก็การเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยอันนี้ค่อนข้างสำคัญเลยนะครับก็วันนี้เราก็ได้ข้อมูลค่อนข้างครบถ้วนพอสมควรต้องขอขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างยิ่งครับที่ให้ข้อมูลในวันนี้ครับผม
และสำหรับในครั้งหน้านะครับจะเป็นเรื่องอะไรในรายการ kulib talk นะครับก็สามารถที่จะติดตามผ่านทางแฟนเพจของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์หรือแอดไลน์แอดของสำนักหอสมุดได้นะครับโดยพิมพ์ KU Library นะครับผมก็สามารถติดตามข่าวสารของห้องสมุดได้และรายการ kulib talk ครับสำหรับในวันนี้ขอขอบพระคุณครับผมสวัสดีครับ
แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ
รวมผลงานของรองศาสตราจารย์ พาสินี สุนากร ในคลังความรู้ดิจิตัล มก.
รังสีอาทิตย์ / โดย เสริม จันทร์ฉาย
เศรษฐกิจพอเพียง เกษตรกรรมยั่งยืน ตามแนวโครงการพระราชดำริ 1-5 ไร่ พึ่งตนเอง / ผู้เรียบเรียง ทีมงานเฉพาะกิจ วี.ที.เอส.บุ๊คเซ็นเตอร์
เศรษฐกิจพอเพียง เกษตรประณีต 1 ไร่ พึ่งตนเอง / ณัฐภูมิ สุดแก้ว, ชูขวัญ ทรัพย์มณี, คมสัน หุตะแพทย์
เศรษฐกิจพอเพียงกับยุทธศาสตร์ Thailand 4.0 / ฝ่ายวิชาการ สถาพรบุ๊คส์ : เรียบเรียง