KULIB TALK | EP.54 | นวัตกรรมบริหารพลังงานแบตเตอรี่แบบแยกกลุ่ม
“กลุ่มวิจัย G-set คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา มก. ได้รับรางวัลนวัตกรรมที่น่าสนใจเป็นพิเศษ จากโครงการประกวดเพิ่มประสิทธิภาพด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนโดยเทคโนโลยีและนวัตกรรม 4.0”
พิธีกร คือ คุณวิภานันท์ สิงห์นันท์
วิทยากร 1) ผศ.ดร.อุมารินทร์ แสงพานิช
2) ผศ.ดร.กุลวดี สมบูรณ์วิวัฒน์
พิธีกร : สวัสดีค่ะขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่รายการ KULIB Talk นะคะ เป็นรายการไลฟ์ผ่านทางเฟซบุ๊คไลฟ์เพจสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีดิฉัน วิภานันท์ สิงห์นันท์ รับหน้าที่พิธีกรในวันนี้ค่ะ KULIB Talk วันนี้เราอยู่กันที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชานะคะ โดยหัวข้อที่เราจะมาพูดคุยกันในวันนี้คือ “นวัตกรรมการบริหารพลังงานแบตเตอร์รี่แบบแยกกลุ่ม DBEM” นะคะ เป็นผลงานของกลุ่มวิจัยเทคโนโลยีพลังงานสีเขียวอัจฉริยะ G-SET นะคะ ซึ่งได้รับรางวัลนวัตกรรมน่าสนใจเป็นพิเศษจากโครงการประกวดเพิ่มประสิทธิภาพด้านการอนุรักษ์พลังงาน และพลังงานทดแทนโดยเทคโนโลยีและนวัตกรรม 4.0 ของกระทรวงพลังงาน และในวันนี้เราก็ได้รับเกียรติจากหัวหน้ากลุ่มวิจัยเทคโนโลยี G-SET นะคะ ที่จะมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับนวัตกรรมการบริหารพลังงานแบตเตอร์รี่แบบแยกกลุ่ม DBEM ขอต้อนรับ ผศ.ดร.อุมาริน แสงพานิชย์ และ ผศ.ดร.กุลวดี สมบูรณ์วิวัฒน์….. สวัสดีค่ะ…
พิธีกร : อาจารย์เข้าร่วมโครงการประกวดเพิ่มประสิทธิภาพด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนโดยเทคโนโลยีและนวัตกรรม 4.0 นี้ได้อย่างไรคะ ?
ผศ.ดร.อุมารินทร์ แสงพานิช : นวัตกรรม DBEM เราได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงพลังงาน และพอดีเห็นว่ากระทรวงพลังงานเองได้จัดโครงการประกวดนวัตกรรมทางด้านพลังงานทดแทนและก็ทางด้านการเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้พลังงานทดแทน ก็คิดว่าตัวนวัตกรรมของเราก็ตอบโจทย์สำหรับหัวข้อตรงนี้ด้วย ก็เลยส่งผลงานเข้าประกวดค่ะ
พิธีกร : อยากให้อาจารย์ช่วยอธิบายว่า นวัตกรรมการบริหารพลังงานแบตเตอร์รี่แบบแยกกลุ่มนี่เป็นอย่างไรคะ ?
ผศ.ดร.อุมารินทร์ แสงพานิช : ตัวของนวัตกรรม DBEM ตัวนี้เราพัฒนาขึ้นมาเพื่อที่จะช่วยในระบบของตัวโซลาร์เซลล์ที่ไม่ว่าจะต่อแบบอิสระหรือต่อในลักษณะต่อในระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าให้สามารถบริหารจัดการตัวแบตเตอร์รี่ให้มีประสิทธิภาพให้ได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งสืบเนื่องจากในอดีตที่ผ่านมาในส่วนของระบบโซลาร์เซลล์หรือระบบกังหันลมที่เป็นระบบของพลังงานสะอาดก็จะมีปัญหาในเรื่องของการออกแบบระบบ ทำยังไงให้เหมาะสมในเรื่องของตัวแบตเตอร์รี่ให้สามารถที่จะใช้ตัวของแบตเตอร์รี่จ่ายให้กับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าได้ตลอดทั้งปี ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะติดกันในช่วงของฤดูฝนที่ว่าพลังงานในแบตเตอร์รี่ไม่เพียงพอเนื่องจากมีเมฆในช่วงนั้น ก็ทำให้ตัวของผู้ใช้งานระบบโซลาร์เซลล์ช่วงนั้นไม่มีไฟฟ้าใช้เนื่องจากว่าตัวพลังงานของแบตเตอร์รี่ไม่มีพลังงานจากแสงอาทิตย์มาบรรจุให้แบตเตอร์รี่ เนื่องจากว่าระบบแบบเดิมเป็นระบบของกลุ่มใหญ่กลุ่มเดียว แล้วก็จะต้องมีการเมื่อไฟจากโซลาร์เซลล์มาน้อย ตัวระบบที่เป็นกลุ่มใหญ่ก็จะมีการจ่ายกระแสไฟฟ้ามาตามแบตเตอร์รี่ ลูกต่างๆ มันก็จะแยกกัน ก็ทำให้ตัวแบตเตอร์รี่เองมันมีลิมิตของกระแสที่จะไหลเข้า คือถ้าเกิดน้อยเกินไปมันก็จะไม่สามารถที่จะชาร์ตไฟได้ ถ้าเกิดมากเกินไป ลิมิตของแบตเตอร์รี่ก็จะมีอีกว่าไม่สามารถชาร์ตไฟอีกได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นเราต้องออกแบบระบบโซลาร์เซลล์กับระบบแบตเตอร์รี่ให้เหมาะสมกันนะคะ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ก็จะเผื่อระบบเอาไว้ ทำให้มีต้นทุนทางด้านของพลังงานที่สูงขึ้นไปอีก เพราะว่าบางทีตัวของโหลดก็ไม่ได้ใช้เยอะขนาดนั้น ทีนี้อาจารย์ก็มองเห็นว่าจากตรงนี้คือปัญหาว่าเราจะทำยังไงเพื่อที่เราจะบริหารจัดการแบตเตอร์รี่ได้ดีขึ้น อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญคือเรื่องอายุการใช้งานของแบตเตอร์รี่ เมื่อช่วงฤดูฝนมันมีแดดน้อย พอฤดูฝนมีแดดน้อยก็ทำให้ตัวของพลังงานที่บรรจุเข้าแบตเตอร์รี่มีน้อยหรือบรรจุเข้าไม่ได้เลยก็จะทำให้แบตเตอร์รี่เสื่อมเร็วเพราะไม่ได้มีการชาร์ตไฟ เมื่อแบตเตอร์รี่เสื่อมแล้ว ตัวของแบตเตอร์รี่ถ้ามีลูกใดลูกหนึ่งเสียเวลาเปลี่ยนต้องเปลี่ยนยกเซ็ตทั้งระบบ ซึ่งตรงนี้ก็เป็นต้นทุนทางด้านพลังงานอีกเช่นเดียวกัน แต่ว่าตัว DBEM ของเรา เมื่อเราแยกกลุ่มแบตเตอร์รี่เราสามารถเปลี่ยนเฉพาะกลุ่มของแบตเตอร์รี่ได้ ตัวของแบบเดิมถ้าเปลี่ยนแค่ลูกสองลูกจะไม่ได้เพราะว่าตัวของระบบแบตเตอร์รี่มันจะมีในเรื่องของคุณลักษณะ คุณสมบัติของแบตเตอร์รี่ แต่ว่าตัวนี้มันจะสามารถที่จะเปลี่ยนเฉพาะกลุ่มได้ และก็สามารถที่จะเอาชนิดอื่นเข้ามาผสมได้เช่นเดียวกันค่ะ….
พิธีกร : อยากให้อาจารย์อธิบายให้ทราบหน่อยค่ะว่านวัตกรรมการบริหารพลังงานแบตเตอร์รี่แบบแยกกลุ่ม DBEM 8 ว่าเป็นอย่างไร ?
ผศ.ดร.อุมารินทร์ แสงพานิช : เดี๋ยวอาจารย์ขอให้ดูแผนภาพด้านหลังนะคะซึ่งเป็นหลักการของ DBEM ซึ่งอันนี้จะเป็นระบบที่ดั้งเดิมที่เราใช้กันอยู่ทั่วไปนะคะ ก็จะมีตัว โซลาร์เซลล์ ตัวกังหันลม หรืออย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ซึ่งตัวระบบแบบเดิมโดยทั่วไป แล้วเค้าก็จะมีระบบตัวกลุ่มแบตเตอร์รี่แบบกลุ่มเดียวกลุ่มใหญ่ต่ออยู่ร่วมกัน แล้วก็ตรงนี้ก็จะมีปัญหาในเรื่องของการออกแบบตัวระบบเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้าโดยเฉพาะบางช่วงที่หน้าฝน ที่มีไม่มีแสงแดด หรือว่าบางทีไม่มีลมก็ทำให้การชาร์ตพลังงานเข้ามาในแบตเตอร์รี่ในกลุ่มใหญ่ กระแสก็ไหลมาน้อย และในตัวของแบตเตอร์รี่เองก็มีข้อจำกัดของลิมิตของกระแสที่จะไหลเข้าแบตเตอร์รี่มันจะแบตเตอร์รี่กระแสแยกไหลอยู่ค่ะ ซึ่งตรงนี้ก็ทำให้ชาร์ตไฟไม่เข้า ซึ่งตรงนี้ก็จะทำให้ชาร์ตไฟไม่เข้า ผลก็คือผู้ใช้ไฟฟ้าในส่วนใหญ่ก็จะใช้กันในช่วงพลบค่ำไม่มีไฟฟ้าใช้ ซึ่งตรงนี้ถ้าเกิดแบตเตอร์รี่เองมีปัญหาก็จะทำให้ต้องเปลี่ยนยกทั้งกลุ่มเลย ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นค่าใช้จ่ายที่สูง ในส่วนการพัฒนาตัว DBEM ขึ้นมา เราจะทำในลักษณะของการแย่งกลุ่มแบตเตอร์รี่ อาจจะเป็น 2กลุ่ม หรือ 3กลุ่ม หรือมากกว่านี้ก็ได้ แต่อาจารย์ได้ทำการวิจัยมาโดยการจำลองในโปรแกรมคอมพิวเตอร์พบว่า 3กลุ่มจะเหมาะสมที่สุด ตัวDBEM เลยมีการพัฒนาออกมาแบ่งออกมาเป็น3กลุ่มใหญ่ๆ และก็ตัวแบตเตอร์รี่เมื่อมีไฟน้อยจากโซลาร์เซลล์หรือกังหันลม มันก็จะไปชาร์ตเข้ากับแบตเตอร์รี่กลุ่มเล็กได้ เมื่อมีพลังงานจากโซลาร์เซลล์มากก็สามารถที่จะไปชาร์ตในกลุ่มใหญ่ได้ ตรงนี้ก็จะตอบโจทย์ในไม่ว่าจะเป็นช่วงของที่ฤดูฝนที่ฝนตกติดต่อกันหลายวันยังไงก็มีพลังงานไว้สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้า และเมื่อเวลาที่ตัวของแบตเตอร์รี่เสื่อใ เราไม่จำเป็นต้องไปเปลี่ยนยกเซ็ตใหญ่เราสามารถที่จะเปลี่ยนบางกลุ่มได้ และก็สามารถที่จะเอาแบตเตอร์รี่ชนิดอื่นมาต่อเข้าระบบนี้ได้ด้วยเหมือนกัน
พิธีกร : แล้วในการพัฒนานวัตกรรมอาจารย์เจอปัญหาหรืออุปสรรคอะไรอย่างไรบ้างคะ ?
ผศ.ดร.อุมารินทร์ แสงพานิช : ปัญหาและอุปสรรคของเราที่ผ่านมาเราจะเป็นในลักษณะของ ทำยังไงที่จะให้ออกแบบตัว DBEM ในเวอร์ชั่นแรกให้คนสามารถที่จะเข้าใจว่ามันทำงานอย่างไร และก็ตัวของประโยชน์ที่ได้จากตัวของ DBEM ฉะนั้นเริ่มต้นมาอาจารย์ก็เลยเอาตัว DBEM ไปใส่ไว้ในระบบที่มีระบบโซลาร์เซลล์กันอยู่แล้ว ก็คืออาจจะเป็นอินเวอร์เตอร์หรือชาร์จเจอร์ของยี่ห้ออื่นก็เอาตัว DBEM เข้าไปใส่แล้วก็ลองทดสอบระบบเปรียบเทียบกันเพื่อให้คนยอมรับในจุดนี้ว่าประสิทธิภาพพลังงานที่ได้จาก DBEM จะเพิ่มขึ้นมากกว่เดิมนะคะ…
พิธีกร : เราก็ได้ทราบถึงตัวนวัตกรรมกันแล้วนะคะ ต่อไปเราอยากจะทราบเกี่ยวกับกลุ่ม G-SET ว่ามีบทบาทอย่างไรบ้างคะ ?
ผศ.ดร.อุมารินทร์ แสงพานิช : กลุ่ม G-SET เรามีวัตถุประสงค์ในเรื่องของการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับพลังงานสะอาดหรือคำว่าสีเขียวก็คือเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนะคะ ตรงนี้เน้นไปทางด้านของตัวพลังงาน ตัวนวัตกรรม DBEM ก็จะเป็นผลงานชิ้นหนึ่งในผลงานที่เราได้พยายามทำขึ้นมานะคะ ซึ่งนอกจากตัว DBEM แล้วก็จะมีงานวิจัยในส่วนของที่เรารับจากกรมการทางพิเศษแห่งประเทศไทยนะคะ แล้วก็ในส่วนของจุฬาเราก็ได้ร่วมมือกับทางมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ในการทำงานวิจัยในด้านของการพัฒนา…เป็นระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการข้อมูลของทางด่วน ซึ่งจะเป็นการตอบโจทย์เกี่ยวกับการบำรุงรักษาทางด่วนของกรมการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในส่วนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเราร่วมมือกับศูนย์วิจัยจีโนมกุ้ง ซึ่งปัญหาของศูนย์วิจัยก็คือการทำวิจัยในด้านกุ้ง เค้าต้องการพัฒนากุ้งที่ต้านทานโรค จึงจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับจีโนมกุ้ง เพื่อระบุเชื้อโรคและตัวของวัคซีนเพื่อสร้างวัคซีนป้องกันโรคได้ ทีนี้เทคโนโลยีที่เราพัฒนาก็คือเป็นส่วนของวิศวกรรมข้อมูลซึ่งนอกจากจะเอาไปใช้ในการพัฒนาตัวระบบ DBEM ที่เน้นทางด้านของพลังงานแล้ว เรายังเอาไปประยุกต์ใช้ในเรื่องช่วยของการบริหารจัดการข้อมูลให้กับทั้งในส่วนขององค์กรเช่น กรมการทางพิเศษและในส่วนของเชิงวิทยาศาสตร์คือศึกษาเกี่ยวกับกุ้งต้านทานโรคด้วยค่ะ…
พิธีกร : แล้วในคณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา มีกลุ่มวิจัยอื่นๆอีกไหมคะ ?
ผศ.ดร.อุมารินทร์ แสงพานิช : ก็มีทางด้านพลังงาน และก็มีทั้งด้านการแพทย์และตอบโจทย์ด้านอุตสาหกรรมก็คือมีกลุ่มวิจัยทางด้านอุตสาหกรรมและก็คอมพิวเตอร์พวกนี้ค่ะ
พิธีกร : สุดท้ายนี้หากใครรับชมอยู่แล้วเกิดสนใจนวัตกรรมของอาจารย์สามารถติดต่ออาจารย์ได้ที่ไหนคะ ?
ผศ.ดร.อุมารินทร์ แสงพานิช : ในส่วนของนวัตกรรม DBEM เรามีระบบสาธิตที่ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนอนุรักษ์พลังงานของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานกระทรวงพลังงาน ก็มีเป็นระบบสาธิตด้วยกันสามระบบ ซึ่งตรงนี้ก็สามารถที่จะมาเยี่ยมชมได้ที่อาคารสองปฏิบัติการณ์วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา นอกจากนี้เราก็ไม่ได้หยุดแค่ตัว DBEM นะคะ เรามีการพัฒนาต่อไปด้วยที่เราจะนำระบบ IOT และก็ Big DATA ซึ่งอาจารย์กุลวดีก็มีประสบการณ์ในส่วนนี้เยอะ ก็จะมาพัฒนาระบบตรงนี้ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นจากเดิมค่ะ แล้วก็เราจะพัฒนาโดยที่ทำให้เครื่องจากตัวใหญ่ๆ…เนื่องจากในช่วงแรกของเรา เราต้องการที่วัด วิเคราะห์ในส่วนอื่นด้วย เลยเป็นเครื่องขนาดใหญ่ เราก็จะทำให้มันเล็กลงมาเพื่อตอบโจทย์ในการเคลื่อนย้าย เวลาไปติดตั้งในที่ชุมชนหรือชนบทหรือที่ห่างไกล ก็สามารถที่จะติดตั้งระบบนี้ได้ง่ายและก็สะดวกค่ะ อีกอันที่สำคัญก็คือเวลาที่เราจะต้องเดินทางไป…ถ้าเกิดระบบมีปัญหาเราก็สามารถที่จะรีโมท…ตรงนี้เรามีระบบรีโมทที่จะคอยควบคุมและก็สั่งงานทางไกลได้โดยที่เราไม่ต้องเดินทางไปยังสถานที่นั้นๆ ในช่วงของการบำรุงรักษาค่ะ….
พิธีกร : สำหรับวันนี้นะคะเราก็ได้รู้จักนวัตกรรมการบริหารพลังงานแบตเตอร์รี่แบบแยกกลุ่ม DBEM กันไปแล้ว ต้องขอขอบคุณ ผศ.ดร.อุมารินทร์ แสงพานิช และ ผศ.ดร.กุลวดี สมบูรณ์วิวัฒน์ เป็นอย่างสูงนะคะ ขอขอบคุณมากค่ะ
สำหรับครั้งหน้าจะเป็นใครนั้นสามารถติดตามรายการของเราได้ที่แฟนเพจสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นะคะ หรือ line@kulibrary นะคะ สำหรับวันนี้สวัสดีค่ะ…..
แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ
ทำเนียบผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีเพื่อการประหยัดไฟฟ้าและพลังงาน / สถาบันวิศวกรรมพลังงาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โครงการติดตามและประเมินผลเพื่อการพัฒนาการใช้ระบบประจุแบตเตอรี่ด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ / โดย ศูนย์ปฏิบัติการวิศวกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
การอนุรักษ์พลังงานในระบบปรับอากาศแบบแยกส่วน / สถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ชุดควบคุมชาร์จประจุแบตเตอรี่ solar charger จากแผงโซลาร์เซลล์แบบประหยัด / ปัญญา มัฆะศร
ตรวจวัดการใช้พลังงานให้ถูกต้องและถูกใจ ตอน: เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน / วัชระ มั่งวิทิตกุล