Kulib Talk #10
สัมภาษณ์ : นางสาวพฤฒาภรณ์ เมาลานนท์ นิสิตปริญญาโท ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
พิธีกร : นางสาวปาณิสรา ปานแก้ว นิสิตคณะเศรษฐศาสตร์ พิธีกร
วันนี้เราได้รับเกียรติจากนิสิตระดับปริญญาโท ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นตัวแทนจากทีมSKUBA – Jr ซึ่งได้ไปรับรางวัลรองชนะเลิศระดับโลกกันเลยทีเดียว จากการแข่งขันในครั้งนี้ เป็นการแข่งขัน RoboCup@Home ในรุ่นRoboCup@Home Education Challengeในงาน World RoboCup 2018 ที่เมือง มอลทรีออล (Montreal) ประเทศแคนนาดา จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 16-22มิถุนายน 2561 จัดโดย RoboCup Federation, FESTO, J.P. Morgan, Mathworks และ Softbank Robotics ซึ่งการแข่งขันในครั้งนี้มีการแข่งขันมากกว่า 3,000 คน จาก 50 ประเทศทั่วโลก ซึ่งสมาชิกในทีม SKUBA – Jrประกอบด้วย
- นางสาวพฤฒาภรณ์ เมาลานนท์ นิสิตปริญญาโท ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
- นางสาวพัชรีพร จึงสุทธิวงษ์ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
- นางสาวแพรพิรุณ อุทัยสาง นิสิตระดับปริญญาตรี ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
- นางสาวเบญจรัตน์ ศรีเพ็ชรดานนท์ บัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- โดยมี อ.ดร.กาญจนพันธุ์ สุขวิชชัย ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
ตอนนี้เราก็ได้อยู่กับหนึ่งสมาชิก เป็นตัวแทนสาวสวยจากทีม SKUBA – Jr ยินดีต้อนรับนางสาวพฤฒาภรณ์ เมาลานนท์หรือพี่ทรายค่ะ
แนะนำตัว
ชื่อพฤฒาภรณ์ เมาลานนท์ ชื่อเล่น ทราย ตอนนี้เรียนอยู่ระดับปริญญาโท วิศวกรรมไฟฟ้า สาขา Information and Communication Technology forEmbedded system เป็นนิสิตปริญญาโทแล้ว อย่างที่เราได้กล่าวไปแล้วสักครู่ เป็นตัวแทนจากทีม SKUBA – Jr ได้ไปรับรางวัลระดับโลก ในการแข่งขันครั้งนี้สมาชิกในทีมมารวมตัวกันได้อย่างไร แต่ละคนมีหน้าที่อะไรบ้าง
ในคณะวิศวกรรมจะมีlabเป็น lab เกี่ยวกับงานวิจัยแต่ละอย่าง อย่าง lab ที่พี่ไปอยู่จะเกี่ยวกับการทำหุ่นยนต์ วิจัยเกี่ยวกับหุ่นยนต์ คนที่สนใจในหุ่นยนต์จะเข้ามาร่วม lab นี้อยู่แล้ว รวมตัวไปแข่งคนที่อยู่ใน labด้วยกันไปแข่ง เพราะเป็นคนที่มีความสนใจด้านหุ่นยนต์เหมือนกันอยู่แล้วเห็นเป็นผู้หญิงตัวเล็กๆ อย่างนี้ สนใจทำหุ่นยนต์ได้อย่างไร
เริ่มจากความคิดตั้งแต่เด็ก ม.ปลาย รู้สึกว่าคนที่เรียนวิศวกรรมเขาเก่งจัง เขาเหมือนสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ได้ พอได้มีโอกาสเข้ามาเรียน ก็อยากเป็นส่วนหนึ่งที่ได้ทำ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ คิดว่าเทคโนโลยีที่น่าสนใจที่สุด หุ่นยนต์น่าสนใจที่สุด เพราะว่าเป็นเทรนในระดับโลกที่หุ่นยนต์มีบทบาทเข้ามาสำคัญในปัจจุบันและอนาคตก็น่าจะสำคัญมากขึ้น ก็เลยสนใจด้านนี้
ในการประดิษฐ์หุ่นยนต์แต่ละตัว จะต้องมีพื้นฐานหรือความรู้ในเรื่องใดบ้าง ที่ต้องศึกษาเป็นพิเศษ
หุ่นยนต์แต่ละตัวจะมีฟังก์ชั่น หรือการทำงานที่ไม่เหมือนกัน แล้วแต่ว่าเราต้องการเอาไปทำเพื่อสิ่งใด เช่น หุ่นยนต์ทางด้านอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมด้านอะไร อย่างประกอบรถยนต์อุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ก็ต้องยกของหนักได้ รถก็หนักตำแหน่งล็อก เชื่อม เป็นหุ่นยนต์เพื่อการเชื่อมก็จะเชื่อมจะยกของไม่ได้ จะออกแบบเพื่อเชื่อมเหล็ก ยกของต้องแข็งแรงต้องมีแรงยกเยอะ ถ้าหุ่นยนต์แข่งฟุตบอล ก็ต้องเตะบอลได้ ร่วมกับทีมได้ อะไรได้ วิ่งเร็วไหม แข็งแรงในระดับหนึ่งก็พอ แต่ต้องเน้นความเร็วเป็นหลัก แต่ถ้าหุ่นยนต์รับใช้ภายในบ้าน ต้องเซอร์วิสมนุษย์ได้ต้องคุยกับมนุษย์ได้ เหมือนเป็นคนคนหนึ่งเหมือนกัน แล้วแต่ฟังก์ชั่นการทำงาน การใช้งาน ความรู้พื้นฐานที่เอามาใช้ก็ถอดมาจากการทำงานนั้น อย่างที่บอกไปว่าอยากจะยกของหนัก อะไรมันยกได้ ใช้วัสดุอะไร เหล็กยกเหล็กก็ได้ พลาสติกยกเหล็กไม่ได้แล้ว ใช้พื้นฐานของเราและต่อยอดไปเรื่อยๆ กลไกในการยกจะเป็นอะไรดีใช้ไฟฟ้าคุมมอเตอร์อีกทีหรือว่าใช้ระบบ Hydraulic มันเหมาะสมกับงานนั้นมากกว่ากัน (พิธีกร เป็นเรื่องจุดประสงค์ของการใช้ เราจะประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อที่จะไปใช้งานอย่างไร ดูว่าแต่ละกลไกใช้อะไรบ้างแล้วศึกษาในเรื่องนั้นๆ)
ในการแข่งขันครั้งนี้ ใครเป็นผู้ชักชวนส่งผลงานเข้าประกวด
ถ้าในงานนี้นะคะ ที่ของ มอลทรีออล แคนาดา ที่ไปแข่งมา เป็นProfessorDr Jeffrey Tanค่ะ เป็นprofessor จาก University of Tokyoแล้วก็ของnankai universityเป็นคนชักชวนให้มาแข่ง เนื่องจากตอนปริญญาตรีก็เรียนที่นี่ เกษตรศาสตร์ วิศวกรรมไฟฟ้า เคยไปแข่ง RoboCupมาแล้ว japan open robocup worldตอนอยู่ปี 3 ก็รู้จัก professor ท่านนี้เห็นว่าทีม scuba มีความสามารถที่จะไปแข่งในลีกของ education ได้ เขาก็เลยชักชวนมาแข่งลีกนี้ไหม เขาสนับสนุนให้ใช้หุ่นยนต์ มีช่วยจัดอบรมที่ญี่ปุ่นให้ไปอบรมก่อนเกี่ยวกับหุ่นยนต์นี้เป็นอย่างไร ให้เรามีความพร้อมมาแข่งที่ผ่านมามอลทรีออล แคนาดา
หุ่นยนต์ที่นำเข้าแข่งขันชื่อรุ่นอะไร ว่ามีคุณสมบัติอะไรบ้าง
ในลีก @Homeรอบนี้ที่ไปแข่งใช้เป็นstandard platform หมายความว่าเป็นหุ่นยนต์มาตรฐาน ก็คือ หุ่นยนต์ turtlebot2 ความสามารถในการทำงานของเขาก็คือ เขาจะมีส่วนฐานมาให้ ส่วน sensorสร้างแผนที่มาให้ supportทางด้าน hardwareต่างๆเราไม่ต้องไปทำส่วนของล้อเอง ส่วนของdriverคือเขาทำสำเร็จรูปตรงนี้มาให้เราแล้ว เรามีหน้าที่เขียนสมองให้เขา เราได้ร่างกายเขามา มีหน้าที่เขียนสมองให้เขา ช่วยย่นระยะเวลาในการซ่อมบำรุง maintenanceอะไรเกี่ยวกับหุ่นยนต์ภายนอกนี้ คุณสมบัติหลักๆ สามารถเคลื่อนที่ได้ในมิติที่ค่อนข้างแคบ ไม่เหมือนรถยนต์ที่มีตีวง หักออกได้เลยทันที ไปเฉียงกี่องศาก็ได้โดยที่หน้าไม่จำเป็นต้องหัน จะวิ่งแบบนี้ได้ สามารถสร้างแผนที่ได้ เห็นรูปของห้อง เห็นกำแพงห้อง สามารถเห็นสิ่งของได้ในระดับที่ตัวsensor อยู่
ทำไมถึงมีแนวคิดที่จะประดิษฐ์หุ่นยนต์แม่บ้าน
เป็นเทรนของโลกที่ประชากรผู้สูงอายุจะมีอัตราประชากรมากขึ้นในทุกปี เพราะว่าวัยทำงานลดน้อยลง คนรุ่นใหม่จะไม่นิยมมีลูกแล้ว ทำให้อัตราประชากรในอนาคต รุ่นพ่อแม่หรือรุ่นพวกเราจะกลายเป็นผู้สูงอายุ จะมีวัยทำงานมาดูแลพวกเขาน้อยลง หมายความว่าประชากรผู้สูงอายุเหล่านี้ต้องการใครสักคน อะไรสักอย่างมาดูแล หุ่นยนต์จะตอบโจทย์ได้ในกรณีที่ลูกหลานไปทำงาน ไม่มีเวลาดูแล หุ่นยนต์จะดูแลคร่าวๆ ได้ เช่น อยู่ในบ้านช่วยเตือนว่า กินยารึยัง กินข้าวด้วยนะ ถ้าล้มจะได้แจ้งเตือนญาติลูกหลาน หรือว่าแจ้งรถพยาบาลได้เป็นพื้นฐานเหล่านี้ ที่เราไม่อยู่ตรงนั้น ไม่ได้ดูแล ณ ตอนนั้น หุ่นยนต์ก็จะดูแลให้เรา ณ ตอนนั้นให้เราได้ (พิธีกร ถือว่าเป็นนวัตกรรมที่น่าสนใจมากๆ เลย)
สำหรับเจ้าตัวหุ่นยนต์แม่บ้านมีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง
อย่างที่บอกตอนแรกการที่ให้หุ่นยนต์ทำยังไงเราต้องดูว่าเราต้องการให้มันทำงานอะไรได้ ในการแข่งขัน หุ่นยนต์ต้องสื่อสารกับมนุษย์ได้ เหมือนเราสามารถใช้เขาให้ไปทำความสะอาดได้ ไปหยิบจับของส่งของให้เราได้ หรือพูดคุยกับเราได้ เพราะฉะนั้นหุ่นยนต์รับใช้ภายในบ้าน จะไม่เหมือนกับหุ่นยนต์อื่นที่บอกมา หุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรม ทำโปรแกรมไว้ ทำหน้าที่ก็ทำ ทำไป หุ่นยนต์รับใช้ในบ้านต้องเหมือนคนในระดับหนึ่ง ต้องสื่อสารกับมนุษย์ได้ และวิธีการสื่อสารกับมนุษย์คือการพูดคุย อย่างที่เราพูดกันอยู่ เพราะฉะนั้นหุ่นยนต์ต้องฟังเราได้ และตอบเราได้เหมือนกัน เป็นขั้นแรกในการทำงานของหุ่นยนต์นี้ ต้องมีไมโครโฟน ต้องมีระบบประมวลผล ตอนแข่งในระดับโลกเป็นภาษาอังกฤษในการรับฟัง คำสั่งgo to the kitchen andbring me the bottleเขาก็ต้องแปลได้ว่าสิ่งที่พูดมา พูดอะไรออกมา ต้องแปล kitchen เป็นอะไร เป็นสถานที่ สถานที่ก็ต้อง merge กับ mapเหมือนแผนที่ในหัวของเรา ต้องรู้ว่าห้องครัวในบ้านเราอยู่ตรงไหน ต้องรู้ว่าขวดน้ำหน้าตาเป็นอย่างไร แล้วก็หา พอเจอแล้วจะbring มาให้เจ้าของอย่างไร ก็ต้องมีแขนไปคีบขวดน้ำนั้นได้ ต้องจำตำแหน่งที่เจ้าของสั่งได้ว่าให้เอากลับมาตรงไหน สมมุติกลับมาให้ที่เดิมแล้ว สมมุติอยู่ในห้องนั่งเล่น เจ้าของไม่อยู่ เดินไปไหน จะรอหรือหาเจ้าของ ถ้าหุ่นยนต์จะหาเจ้าของสิ่งต่อมาที่จะต้องทำได้คือ รู้จักหน้าเจ้าของ มองหน้าแล้วยื่นให้ ก็คือหน้าที่ฟังก์ชั่นเหมือนมนุษย์เลย ถอดแบบมาว่าอยากให้เขาทำงานยังไง ค่อยๆ ถอดส่วนประกอบออกมาเรื่อยๆ มนุษย์มีหูก็ติดไมโครโฟนแทน ถ้าอยากให้หุ่นยนต์พูด รับทราบ เดี๋ยวจะไปเอามาให้ ก็ต้องมีคำสั่งถูกต้องใช่ไหม ต้องมีลำโพงบอก พูดสื่อสารกับเราต่อได้ มีกล้องเพื่อมอง วัตถุมองหน้าเราได้ ค่อยๆ ถอดมามีแขนเพื่อหยิบจับของได้ ฟังก์ชั่นการทำงานคร่าวๆ จะเป็นประมาณอย่างที่เล่า เป็นเรื่องราวเราสั่งเขาทำมาหาเรา (พิธีกร กระบวนการทำงานยาวนานมาก จะต้องถอดทีละส่วน ไม่ว่าจะเป็นการมองเห็น การหยิบจับ)
อยากให้เล่าบรรยากาศวันที่ไปแข่งขันเป็นอย่างไรบ้าง
ก่อนอื่นไปแข่ง บินไปแคนาดา ไกล พอไปถึงก็ต้องเตรียมตัวเข้าสนามแข่ง วันแข่ง 16-22 ตามตาราง เขาจะมีเวลาให้ผู้แข่งขันเข้าไปในสนามก่อน เราต้องไปถึงก่อน วันที่ 12, 13แล้ว เพราะว่าสนามจะเปิด 3 วันก่อนการแข่งขันเข้าไปset up สถานที่ หุ่นยนต์ หรือโต๊ะทำงานของเรา สถานที่ทำงานเราอยู่ตรงไหน 3 วันก่อนค่อยเริ่มแข่ง คล้ายๆเตรียมตัวนักกีฬา ไปถึงก่อนรีบจัดการลองเช็คดูว่า ที่เตรียมมาที่ไทย พอไปถึงที่นั่นสิ่งแวดล้อมเปลี่ยน เช่น อุณหภูมิหนาวกว่าที่นี่ มีปัญหากับsensorหรือcomputerเรารึเปล่า ก็ต้องเช็คว่ามีปัญหาไหม เคยไปแข่งครั้งหนึ่ง มันหนาวเกินไปทำให้มีปัญหา ตอนที่เคยออกกลางแจ้งแล้วร้อนเกินไป หุ่นยนต์ก็มีปัญหา เราก็ต้องลอง test ดูว่าสิ่งที่เตรียมมาใช้ได้จริงรึเปล่า ถ้าไม่ได้เราต้องแก้ไข ภายใน 3 วันนั้นให้สมบูรณ์ที่สุด เริ่มแข่งขันเขาก็จะบอกมาเป็นกฎ มาให้เราดาวน์โหลดเป็นเล่มในเว็บ ให้ทำอะไรในแต่ละวัน วันนี้ทำอะไรบ้าง ภารกิจทำอะไรบ้าง ให้ทำอะไรบ้าง เขาจะมาอธิบายหน้างานอีกที สถานที่จริง อันนี้เรียกห้องครัวนะ เพื่อไม่ให้เราผิดพลาดได้ พอเริ่มแข่งตอนที่ไปถึงค่อนข้างเครียด มีจาก 50 ประเทศ 3,000 กว่าทีม คือแบบ 3,000 คน มีหลายลีก football ลีก industrial ลีก @home ลีก rescueกู้ภัย ทุกคนจะเครียดกับงานตัวเอง บรรยากาศค่อนข้างกดดัน ทุกคนตั้งใจมาที่นี่อยากจะแข่ง อยากจะได้รางวัลอยู่แล้ว ก็ค่อนข้างกดดัน พอเห็นทำได้เราก็จะรู้สึกดีใจ พอเห็นว่าทีมอื่นเขาทำได้ดีกว่า อย่างเช่น วิธีเดียวกันเราทำซับซ้อนมาก สมมุติน่าจะเข้าใจง่ายสุด เช่น หยิบของ ท่าหยิบมนุษย์เราควรจะหยิบแค่ง่ายๆ หุ่นเราหยิบแบบท่ายาก อีกทีมเขาทำง่ายจัง หยิบได้เหมือนกัน Successวิธีเขาง่ายจังเลย ดูว่าเขาทำอย่างไรได้ความรู้ด้วย คุยกับเขาด้วยก็ได้ แลกเปลี่ยนความรู้ เพราะว่าถือว่าลีกนี้เป็น @Home Education เพื่อการศึกษา ทุกคนก็จะแชร์องค์ความรู้กันว่าเราได้สิ่งนี้ เราทำอย่างนี้มา หลังแข่งไปแล้วเราถึงไปถามเขาไม่ใช่ว่าแข่งอยู่มันจะเหมือนโกง ทำอย่างนี้ได้อย่างไรเขาก็จะสอน ผู้เข้าแข่งขันทุกคนใจดีมากเป็นเด็กนักศึกษาด้วยกัน ทุกคนก็เน้นนำความรู้เป็นหลัก ในการแชร์แลกเปลี่ยนความรู้กัน อย่างปีที่แล้วเราไปแข่ง ปีนี้เรามาเราอาจจะได้วิธีจากปีที่แล้วมาต่อยอด ข้อผิดพลาดจากปีที่แล้วมาต่อยอด ทำให้เกิดการพัฒนาที่ดีขึ้นสำหรับทุกคน ไม่ใช่แค่ว่าองค์ความรู้ของทีมเราจะอยู่กับทีมเราทีมเขาอยู่ทีมเขา ค่อนข้างมีบรรยากาศที่ดี ชอบตรงนี้มาก ทุกคนแชร์กันมันไม่ดูแบบเครียดมาก เครียดด้วยบรรยากาศกดดันเอง อยากเอาชนะ พอวันสุดท้ายแข่งเสร็จก็จะเป็นงานประกาศรางวัล หลังจากประกาศรางวัลเป็นงานเลี้ยง เรียกว่า เบ็นเค็ส งานเย็น งานเลี้ยงมีโอกาสได้พูดคุยกับทีมอื่น มีโอกาสสังสรรค์กันในวงการ ค่อนข้างสนุกนะคะ แต่จะเครียดตอนเตรียมตัวก่อนจะไปมากกว่า อยู่ที่ไทยทำงานกันหนักอยู่ (พิธีกร เป็นประสบการณ์ดี เป็นความรู้สึกที่เราประทับใจที่เราไปแข่งขัน)
ทราบมาว่าเรียนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มาตั้งแต่ปริญญาตรีเลย จนปริญญาโทก็เลือกเรียนที่นี่อยู่ ในฐานะที่เราเป็นนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คิดว่านวัตกรรมนี้สามารถให้อะไร มาช่วยอะไรประเทศของเราได้บ้าง
อย่างที่บอกที่อธิบายมาตั้งแต่แรก หุ่นยนต์ไม่ใช่ทำสิ่งนี้เพื่อสิ่งนี้ เราเอาความรู้นั้นมาใช้เราไม่จำเป็นต้องอยู่กับความรู้นี้ เราก็ถอดความรู้มาใช้ได้ เช่น เรื่องจากใบหน้าคน เราต้องรู้จักใบหน้าเจ้าของ เจ้าของบ้านคือใคร คนแปลกหน้าคือคนนี้อยู่ในบ้านเรา ก็แจ้งเตือน แค่ถอดส่วนนี้ออกจากหุ่นยนต์ แล้วไปติดกับกล้องวงจรปิดได้ ทำให้ securityในตึกเราสูงมากขึ้น แทนที่จะต้องให้ยามมาดูกล้องวงจรปิดอีกทีซึ่งมีเยอะมาก เราทำให้กล้องวงจรปิดรู้จักเลยว่าเป็นคนที่เข้าตึกนี้ได้จริงๆ รึเปล่าจะบอกไปเลยแค่ตีกรอบคนที่ไม่ควรจะเข้า ยามจะได้ focus กับคนนี้เป็นพิเศษว่าใครเนี่ย เข้ามาได้อย่างไร ทำอะไรอยู่ เดินไปไหนนี่ เอาเทคโนโลยีนี้มาใช้ได้เราจะมีระบบความปลอดภัยที่ดีขึ้น หรือว่าเป็นเรื่องอื่นที่ญี่ปุ่นหุ่นยนต์มีบทบาทสำคัญมากในชีวิตประจำวัน อย่างเช่นร้านสะดวกซื้อ เขาไม่ใช้มนุษย์ในการเก็บเงินแล้ว ใช้หุ่นยนต์ในการเก็บเงิน เพราะว่าแม่นยำกว่า ลดเรื่องการโกหกของพนักงาน หรือว่าคนอาจจะเหนื่อย เข้าห้องน้ำ บางทีไม่อยู่ หุ่นยนต์พร้อมตลอด เพื่อทำให้ชีวิตประจำวันเราดีขึ้น พัฒนาเศรษฐกิจเราได้ เช่น อาจจะเอาเรื่องเกี่ยวกับการหยิบจับของ พัฒนาให้หุ่นแขนกลอุตสาหกรรมเราผลิตงานได้ดีขึ้น สามารถนำเทคโนโลยีพวกนี้ทั้งหมด แต่ละชิ้นส่วนกับไปจับไปmergeกับสิ่งของอื่นๆ เพื่อให้พัฒนารอบๆ เราได้อยู่แล้ว เพราะว่าประเทศของเราพัฒนาเติบโตอยู่ในทางด้านนี้ ถ้าเราเอาเทคโนโลยีมาใช้ เชื่อว่าประเทศเราน่าจะเติบโตได้เร็วมากขึ้นยิ่งกว่าเดิม (พิธีกร ถือเป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ)
ผลงานการแข่งขันในรุ่นต่อๆไป สนใจจะเข้าร่วมแข่งขันต่อไปไหมคะ
ก็คือว่าที่รวมตัวกันได้เป็นคนที่สนใจหุ่นยนต์มาเข้าlabscuba นี้ scuba เป็นชื่อทีมในlapส่วนชื่อ lab ที่คณะวิศวกรรม จะชื่อว่าrobot Citizensชุมชนของหุ่นยนต์ จะมีรุ่นน้องอยู่ใน lab ด้วย ตอนนี้ก็มีรุ่นน้องหลายคน กำลังจะไปRoboCup Japanopen ตอนเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้ก็มีทีมของรุ่นน้องไปแข่ง ตอนนี้พี่เรียนปริญญาโทปีสองแล้ว พี่อยากจะเร่งทำงานวิจัยของพี่มากกว่า ถ่ายทอดความรู้ให้น้องต่อ ต่อยอดกับรุ่นน้องไปเรื่อยๆ ไปช่วยดูหน้างาน แต่ไม่ได้เป็นคนเข้าแข่งขันหลักแล้ว อาจจะแนะนำประสบการณ์ได้ว่า เจอปัญหาอย่างนี้ ควรจะแก้ยังไง เพื่อบอกเพื่อต่อยอดให้รุ่นน้อง ถ่ายทอดกับรุ่นน้องสู่รุ่นไปเรื่อยให้มีคนรับช่วงต่อ ตอนนี้ส่งไม้แล้ว ไม่ไหวแล้ว ต้องขอทำงานตัวเองบ้างแล้ว (พิธีกร เป็นการถ่ายทอดความรู้ให้กับน้องๆ รุ่นต่อไปมาสานต่อ)
ตอนนี้เรานั่งอยู่ในบรรยากาศของห้องสมุดเคยใช้บริการใดบ้างของห้องสมุด
ตอนอยู่ ป.ตรี เข้ามาบ่อยมาดูหนังสือ ติวหนังสือกัน ที่นี่ชอบเกี่ยวกับมีคอมพิวเตอร์ใช้งานได้ ห้องประชุมช่วยสอนlectureได้ค่อนข้างได้ใช้งาน สิ่งที่ใช้งานบ่อยที่สุดคือ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักหอสมุด ของวิศวกรรมเราจะหาผลงานวิจัยของระดับโลก ต้องมี idเข้า เพราะฉะนั้นจะเข้าใช้ไม่ได้ ใช้ id ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ผ่านสำนักหอสมุดในการหาข้อมูลบทความตีพิมพ์ทางวิชาการ ในเว็บ ieeeของคณะวิศวกรรม จะใช้ส่วนนี้บ่อยมากเพื่อดูว่าเขาทำงานวิจัยอะไรบ้าง เอามาใช้ได้ไหม search หา เหมือนคล้ายๆ อ่านหนังสือ แต่อ่านใน e-book มากกว่า (พิธีกร ถือเป็นความสะดวกสบายอย่างหนึ่งในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้)
ชอบอ่านหนังสือเรื่องไหนบ้าง หรือมีเล่มไหนเป็นเล่มโปรดของเราบ้าง
ที่พูดมาเหมือนเป็นสายวิชาการ จริงๆ ถ้าเลือกอ่านได้เลือกอ่านนิยายมากกว่าค่ะ คือแบบว่าถ้าอ่านหนังสืออ่านเรียน อ่าน text เพื่อทำงานก็ต้องอ่าน ถ้าเพื่อการบันเทิงก็อ่านนิยาย อ่านการ์ตูน ถ้านิยายที่ชื่นชอบเป็นพิเศษ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับ เพอร์ซีย์ แจ็คสัน ดูแปลกดีอันนี้จะดูสายวิทย์ วิศวะเลย ดูวิทย์วิทย์ทำไมถึงชอบแฟนซีขนาดนี้ มันก็ถ่วงดุลกัน ฝึกจินตนาการชอบเกี่ยวกับเวทมนต์ ความแฟนซีจะชอบแนวนี้มากเป็นพิเศษ (พิธีกร ถือเป็นอีกมุมมองหนึ่ง เราจะได้อ่านหนังสือหลากหลายแนว)
ในการแข่งขันเราได้ประสบการณ์ในเรื่องใดบ้าง
อย่างที่บอก รับรู้ว่าทำไมคนอื่นเขาถึงใช้วิธีอย่างนี้ในการทำknowledgeของคนอื่นเขาคืออะไรในการทำวิธีเดียวกัน เราสามารถได้แลกเปลี่ยนความรู้ในตอนนั้นได้ ได้รับรู้ว่าประเทศอื่นเขาพัฒนาเจริญกว่าเราขนาดไหน เราควรจะมีเทคโนโลยีอะไรแบบนี้บ้าง ของเขาเห็นเป็นปกติแล้ว เราเห็น wowเรื่องใหม่จังเราช้าไปแล้วส่วนนี้ เราน่าจะทำให้เหมือนเขาได้ ด้วยความที่เป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยมีโอกาสได้ไปดูงานต่างประเทศ ได้แข่งขันระหว่างประเทศ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรงนี้ก็ช่วยนำมาถ่ายทอดมาพัฒนางานวิจัยของเรา จะนำส่วนตรงนี้มาใช้ (พิธีกร ได้ทั้งความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ)
ทำไมถึงสนใจในการทำหุ่นยนต์
ประมาณว่าคิดว่าหุ่นยนต์มันมีความสำคัญมากในอนาคต เรียนด้านนี้อยู่แล้วก็อยากจะช่วยพัฒนาอยากรู้ว่าทำยังไง ทำให้ดีขึ้นกว่าที่มีได้ไหม มีองค์ความรู้อะไรบ้าง ตอนแรกอยากจะลองดูในระดับหนึ่งเหมือนลองของว่ามันใช้อะไร ยากแค่ไหน กลายเป็นว่าสนุกดี มันรู้แล้วมันไม่มีทางพอ พัฒนาต่อยอดไปเรื่อยๆทำไปทำมามันเพลิน สนุก เหมือนวาดรูปมีวิธีนี้ด้วยเหรอ เปลี่ยนวิธีวาดคล้ายๆ กันทุกอย่างมันมีสิ่งที่ต่อยอดไปได้ เราทำแล้วรู้สึกสนุก อย่างของพี่รู้สึกว่าทำหุ่นยนต์แล้วสนุก เห็นมันฉลาดขึ้น ภูมิใจ
ในอนาคตอยากประกอบอาชีพอะไร หรือทำอะไรเป็นพิเศษ
ก็เรียนวิศวกรรมมาก็คงต้องประกอบอาชีพวิศวกรรมค่ะ แต่ว่าทำอะไรเป็นพิเศษไหม อยากจะเอางานพวกนี้ เทคโนโลยีมาให้มันใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันของเรา ไม่ใช่มีอะไรอยู่ก็ใช้ไปเถอะ อยากนำพวกนี้มาใช้ได้ ไม่รู้ว่าบริษัทเขาจะโอเคด้วยรึเปล่า ก็ต้องดูกันไป
ในฐานะที่เราเป็นตัวแทนที่ดีของเยาวชน มีอะไรจะฝากบอกกับเยาวชนรุ่นใหม่บ้างคะ
สำหรับพี่ว่าน้องๆ ทุกคนไม่จำเป็นต้องมาทำหุ่นยนต์เหมือนพี่ ต้องทำอะไรเหมือนพี่ น้องต้องหาสิ่งที่น้องชอบ น้องอยากจะเป็นอะไรจริงๆ หาตัวเองให้ได้จริงๆ เอาตรงๆ พี่เข้าใจว่าสังคมบ้านเรา พ่อแม่มีผลกับเรามาก ประมาณว่าเป็นหมอสิลูก เป็นวิศวะสิลูก เป็นอันนี้สิลูก ถ้าน้องอยากเรียนศิลปะ ถ้าเป็นสิ่งที่น้องเป็นจริงๆ ชอบจริงๆ น้องไปเป็นสิ่งที่น้องชอบเถอะ ค้นหาตัวเองให้เจอ เราชอบสิ่งไหนเป็นตัวตนของเราจริงๆ เราจะทำสิ่งนั้นได้ดี เราจะสนุกกับมัน แล้วจะทำได้ดีด้วย มีแต่ได้กับได้ ไม่มีการบังคับ ค้นหาตัวเองให้เจอ และนำสิ่งนั้นมาเป็นแรงบันดาลใจ แรงผลักดันให้เราให้ทำสิ่งใหม่ๆ สิ่งต่างๆแปลกขึ้นหรือดีขึ้น หรือมีความสุขขึ้น ไม่ใช่ว่าด้านวิทยาศาสตร์เท่านั้น ด้านศิลปกรรมก็ได้ วาดรูปทำให้ดีเป็นผลงาน อย่างพี่ก็ชอบวาดรูป ถ้าเครียดๆ ก็ชอบวาดรูป ช่วยรู้สึกจรรโลงใจมากขึ้น เป็นคนจินตนาการสูงก็เขียนนิยาย เพื่อแบ่งปันจินตนาการของตัวเองให้กับคนอื่นได้ อย่างพี่ก็ชอบจินตนาการแฟนตาซี มันคือสิ่งที่น้องเป็น บางทีทำให้คนอื่นมีชีวิตที่ดีขึ้น มีความสุขมากขึ้นได้ จากตัวตนของน้องได้ (พิธีกร ค้นหาในทางที่ตัวเองชอบแล้วพัฒนาในสิ่งที่เราชอบ มันอาจจะทำให้คนอื่นได้รับประโยชน์จากสิ่งที่เราชอบด้วย)
ระยะเวลาในการประดิษฐ์คิดค้นหุ่นยนต์ TurtleBotนานไหมกว่าจะออกมาใช้งานได้แบบนี้
หุ่นยนต์ TurtleBotเป็นหุ่นยนต์standard platform มี hardwareมาให้แล้ว ซื้อ hardware มา การจะทำคือการเขียนสมองให้กับเขา เพราะฉะนั้นนานไหม เตรียมตัวค่อนข้างนานประมาณ 2 ปีกว่าเลยค่ะ เกือบจะจบปี 3 จนถึงปัจจุบันนี้ ก็เกือบ 3 ปี ตอนแรกเพิ่งได้มาไม่รู้จักว่ามันคืออะไร เขาก็จัดอบรมเรียนที่มหาวิทยาลัยKanagawaไปเรียนที่นั่นเกี่ยวกับหุ่นยนต์ TurtleBotระบบที่มันใช้โปรแกรมที่มันใช้พื้นฐาน มันคืออะไรเขาก็จะสอนให้ พอสอนให้เราก็เอากลับมาลองทำ ลองทำ ไปแข่งครั้งแรก ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งก็ยังมีอะไรมาแก้ไข อย่างนี้ไปเรื่อยๆ ตอนนี้ส่งไม้ต่อให้กับรุ่นน้อง มีไม้มาจากรุ่นพี่อีกทีเหมือนกัน นานหลายปี ไม่ใช่แค่คนคนเดียว ความรู้ถ่ายทอดประสบการณ์รุ่น ต่อรุ่น ต่อรุ่นไปเรื่อยๆ ก็อาจจะต่อไปได้อีกนานก็ได้ แล้วแต่ว่ารุ่นน้องจะทำต่อไหม หรือรับจากเรามาต่อรึเปล่า (พิธีกร ค่อยๆ พัฒนาแก้ไขไปเรื่อยๆ ใช้ระยะเวลานานเหมือนกันและจะส่งต่อไปเรื่อยๆ)ในอนาคตมีโอกาสจะพัฒนาหุ่นยนต์ให้มีรูปลักษณ์เหมือนคนจริงไหม
คือก่อนหน้า TurtleBotทำมาแล้ว คือหุ่นยนต์openplatformคือทำอะไรก็ได้ ชื่อหุ่นยนต์คุณลำไย เป็นหุ่นยนต์ของที่lab พี่เหมือนกัน ทำก่อนหน้านี้ หน้าตาคล้ายคน มีสองแขน ใส่ชุดเหมือนแม่บ้าน มีกระโปรงมีหน้าตาจะค่อนข้างทำให้เหมือนคน เพราะว่าจะได้ดูเป็นมิตร คล้ายๆ friendlyเป็นการใช้เกี่ยวข้องกับมนุษย์ไม่ควรจะเป็นเหมือนเครื่องจักรมากเกินไป ถ้าทำให้มันเหมือนคนได้ก็จะดูเป็นมิตรกับมัน เข้าถึงกับมันมากกว่า
ในอนาคตมีโอกาสคิดค้นหุ่นยนต์พิเศษ หรือทำงานแบบต่างๆ แบบไหนได้บ้างไหม
มีโอกาสอย่าง labพี่ robot Citizensไม่ได้บอกว่าเข้ามาต้องทำหุ่นยนต์รับใช้ภายในบ้านอย่างเดียว ตอนนี้ที่ labมีหุ่นยนต์เยอะมาก น้องคนไหนสนใจทำหุ่นยนต์ด้านอะไรมีเครื่องไม้เครื่องมือ และsupport ในการทำได้เยอะ ถ้าผลงานวิจัยของรุ่นพี่ทั้งหมดที่รวมกันมาและไม่นับหุ่นยนต์ที่ใช้แข่งคือ หุ่นยนต์เตะฟุตบอลกับหุ่นยนต์รับใช้ในบ้าน มีหุ่นยนต์ใต้น้ำเป็นอัตโนมัติใต้น้ำเหมือนกัน พี่เขาจะสนใจทำหุ่นยนต์ดำน้ำเขาก็ทำคนเดียว หรือจะรวมกันใน lab ทำด้วยกันก็ได้ มีหุ่นยนต์ทรงตัวบนลูกบอลคือ มีลูกบาสอยู่ หุ่นยนต์วางลงไปข้างบนแล้วก็วิ่งบนลูกบาส เขาก็ไปพัฒนาต่อยอดเรื่อยๆ เช่น อาจารย์ทำหุ่นยนต์ทรงตัวบนลูกบอล เอาลูกบอลวางไว้ หุ่นยนต์วางบนลูกบอล ลูกบอลวางบนหัวหุ่นยนต์อีกที วางสองชั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับการทรงตัว มีหุ่นยนต์ไต่กำแพง งานนี้ทำเองเป็นproject ตอนปี 4 หุ่นยนต์ไต่กำแพง ใช้เป็นระบบลม เพราะลมอากาศมีทุกที่ ไต่ได้ทุกพื้นผิวไม่ว่าจะไม้หรือเหล็ก ถ้ากระจกก็สุญญากาศ สุญญากาศใช้กับไม้หรือซีเมนต์ไม่ได้ ใช้แรงแม่เหล็ก แม่เหล็กต้องใช้กับเหล็กอย่างเดียว ใช้ไม้กับอย่างอื่นๆ ไม่ได้ เลยอยากหาหุ่นยนต์ไต่กำแพงที่ทำได้กับทุกระบบ ยังมีหุ่นยนต์นี่นั้นอีกเยอะมาก ถ้าเกิดในการจะทำหุ่นยนต์อย่างอื่นๆ ไหมมีโอกาสก็คือว่าน้องคนไหนที่สนใจอยากจะมาทำ เข้ามาที่ labสร้างหุ่นยนต์แบบใหม่ได้เลย ไม่ได้จำกัด labไม่ได้จำกัด จะต้องทำเพียงเท่านี้เท่านั้น ยินดีมากยิ่งมีหุ่นยนต์แบบใหม่ยิ่งได้ความรู้มากขึ้น (พิธีกร เป็นในแบบทีเราสนใจ)
แรงบันดาลใจในการสร้างหุ่นยนต์แต่ละตัว
การที่งานด้านวิศวกรรมเราต้องเห็นว่ามันมีปัญหาอะไรก่อน เราถึงจะสร้างสิ่งอะไรบางอย่างมาแก้ปัญหาของเรา เช่น อยากได้ความสะดวกสบายมากขึ้น เช่นประกอบรถยนต์ คนมันยกไม่ได้ เราจะทำอย่างไรดี ให้ใช้คน 20 คน ในการยกประตูอันหนึ่งในการไปประกอบมันเปลืองหรืออะไรมากขึ้น ทำได้เร็วขึ้นสร้างหุ่นยนต์ขึ้นมา เพราะฉะนั้นแรงบันดาลใจในการสร้างหุ่นยนต์คือเราเห็นปัญหาเราอยากจะแก้ไขปัญหาในจุดนี้ เราค่อยสร้างสิ่งประดิษฐ์นั้นขึ้นมา อย่างพี่ตอนปี 4สร้างหุ่นยนต์ไต่กำแพงด้วยระบบลม เพราะว่าพี่เห็นว่าปัญหาของหุ่นยนต์ไต่กำแพงมันเฉพาะเจาะจงกับเนื้อของวัสดุกับกำแพงมากเกินไป สุญญากาศต้องกระจก หรือพื้นเรียบเท่านั้น พื้นซีเมนต์หรือไม้ที่ขรุขระไม่ได้เลย หรือว่าเหล็กต้องแม่เหล็กเท่านั้น มันไม่มีหุ่นยนต์ที่ปีนได้ทุกพื้นผิวหรือ ก็สร้างขึ้นมา เพราะฉะนั้นแรงบันดาลใจ คือ เห็นสิ่งนี้น่าจะมีสิ่งที่แก้ไขได้ หรือว่ามันทำให้ดีกว่านี้ได้เอามาเป็นแรงบันดาลใจในการทำสิ่งต่างๆ ไม่เฉพาะกับหุ่นยนต์หรือเรื่องอะไรก็ตาม
หุ่นยนต์ที่สร้างใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมได้ไหม
ได้ค่ะ ถ้าหุ่นยนต์แบบนี้จะมีหน้าตาฐานแบบนี้ ใช้ได้จริงแล้วตอนนี้ ที่ห้องเก็บstock ของAmazonที่เขาบอกว่าเป็นหุ่นยนต์ส่งของ เก็บ stock ของ หยิบจาก shelf มา หุ่นยนต์ตอนนี้ใช้ในอุตสาหกรรมเยอะแล้ว แต่ว่าเราจะยังไม่เห็นมาก เพราะว่าเราอาจไม่ได้เรียนสายนี้ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทางนี้โดยตรง อย่างที่เห็นใช้ได้มาเยอะแล้ว อย่างแขนกลอุตสาหกรรมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมเยอะ หลากหลายมาก หุ่นยนต์ทอผ้าก็มีไม่ได้ใช้คนทอผ้าอย่างเดียว ใช้หุ่นยนต์ทอผ้า ใช้หุ่นยนต์ในการตรวจสอบว่าผ้าถูกต้องรึเปล่า แล้วใช้ในการดูประกอบรถยนต์ เชื่อมเหล็ก เราเห็นภาพคนเชื่อมตามตึก แต่ในโรงงานจริงเป็นหุ่นยนต์หมดแล้ว ถ้ารับใช้ภายในบ้าน ตอนนี้เราเห็นชัดๆ เลย หุ่นยนต์ดูดฝุ่น มันเข้ามาแล้ว เราเรียกหุ่นยนต์ มันคือหุ่นยนต์แล้ว อันนี้มันคล้ายกันเราเริ่มมีตัวให้หุ่นยนต์ดูดฝุ่นแล้ว ฐานก็ดูดฝุ่นได้ ตัวก็ส่งของ หยิบจับ หรือเช็ดบนตู้ได้แล้ว เริ่มพัฒนาต่อยอดเข้าใกล้ชีวิตเรามากขึ้นกว่าเดิม
ในการที่หุ่นยนต์เริ่มเข้ามามีบทบาท รวมไปถึงสามารถทำอะไรได้หลายๆอย่าง การที่เป็นแบบนี้เราควรที่จะกลัวไหม ว่าหุ่นยนต์เข้ามาแทนที่ในเรื่องหรือสิ่งที่มนุษย์สามารถทำได้
เป็นคำถามที่ทุกคนต้องถามจริงๆ ในมุมมองของพี่ เราน่าจะปรับตัวมากกว่ากลัว เราไม่ควรจะกลัวสิ่งใหม่ๆ เพราะว่าสิ่งใหม่ๆ มันมาอยู่แล้ว คนที่กลัวสิ่งใหม่ๆ คือคนที่ไม่อยากจะเปิดรับสิ่งใหม่หรือว่าประมาณว่ากลัวตัวเองอยู่ในโลกเก่า เรียกว่าโลกเก่าแล้วกัน ไม่อยากจะขึ้นมาโลกใหม่เลย ใช้ชีวิตได้ในโลกของตัวเองอยู่เท่านั้น ไม่อยากจะปรับตัวเองในการใช้ชีวิต มนุษย์เราปรับตัวในการใช้ชีวิตมาหลายยุคหลายสมัย นี่ก็เป็นอีกยุคหนึ่งที่ทุกคนควรจะปรับตัวมากกว่าที่จะกลัวและต่อต้านมัน เพราะว่าอย่างที่บอกว่าในตอนนี้ ประชากรลดน้อยลงในวัยทำงาน แต่ว่าเราต้องการแรงงานเท่าเดิม เราไม่มีคนจะมาจ้างแล้ว หุ่นยนต์มาแก้ปัญหาตรงนี้ ไม่ได้มาแย่งงานของเรา แต่ถ้าคนทั่วไปมีความสามารถที่ต่ำกว่าหุ่นยนต์ ใช่หุ่นยนต์จะมาแย่งงานคนที่มีความสามารถน้อยกว่าหุ่นยนต์แน่นอน แต่แทนที่เราจะเป็นอย่างนั้น เราพัฒนาตัวเองให้เราคุมมันดีกว่าไหม ไม่ใช่ว่าให้มันมาคุมเรา เราควรจะปรับตัว อย่างยุคหนึ่งที่ หลักๆ เลย ที่ปรับตัวมาแล้วคือเรื่องโทรศัพท์มือถือ ถามว่าทุกวันนี้เราใช้ไหม ใช้ ขาดไปวันหนึ่งเหมือนขาดอะไรไป หายไป ใจมันโหว่งๆ คนอื่นกดได้ ทำไมเรากดไม่ได้ แต่ว่ามียุคหนึ่งเขาต่อต้านกันมากโทรศัพท์มือถือ เรียนวิศวกรรมมา เขาจะเรียนประวัติศาสตร์เกี่ยวกับโทรคมมาคม เป็นยุคที่นักวิชาการหรือระดับคล้ายๆ ดร.แนวหน้าเขาต่อต้านกันสูงมาก เขาบอกว่าโทรศัพท์มือถือเป็นแค่เหมือนของเล่นใหม่ คนเห่อ แล้วเดี๋ยวก็เลิกเห่อ เป็นอย่างไรผ่านมา 50 ปี โทรศัพท์มีแต่บูมๆ ขึ้นเรื่อยๆ ตอนนั้นใช้อะไร ถ้าไม่ใช้โทรศัพท์ใช้รหัสmorseหรือโทรเลข ถามว่ามันพัฒนาจากจุดนั้นไหม ใช่ เราทุกคนก็ปรับตัวได้ มันก็เหมือนกัน Generationต่อไป เราก็น่าจะมีคนต่อต้าน สุดท้ายมันก็มาจริงๆ บอกเลยที่confirmมันมาแน่หุ่นยนต์ เราควรปรับตัวมากกว่า เราควรจะรู้ว่าในอนาคตเราจะเจออะไร เราเตรียมพร้อมก่อน เราก็จะพร้อมมากกว่าคนอื่นด้วย มันจะดีกว่าสำหรับพวกเรามากกว่า ที่จะปรับตัวไม่ใช่กลัวการเปลี่ยนแปลง ในความคิดเห็นส่วนตัวของพี่ทราย คิดว่ามนุษย์เราต้องปรับตัวอะไรไหม ถ้าสมมุติมีหุ่นยนต์เข้ามาแทนที่ก็ต้องปรับตัว เช่น ในเรื่องโทรศัพท์ก่อนที่จะเป็นโทรศัพท์มือถือ เราต่อต้านโทรศัพท์ครั้งแรก พอเปลี่ยนจากโทรสารเป็นโทรศัพท์บ้านก่อน มันจะมีสิ่งที่เรียกว่าชุมสายโทรศัพท์ โทรเข้าไปเหมือนcall centerในเขต ติดต่อบ้านเลขที่นี้ เขาจะดึงสายจากบ้านเราไปเสียบที่สายบ้านเลขที่นั้นแล้วกดต่อสายไปอีกที นั่นใช้มือคนในการทำ แล้วสุดท้ายตอนนี้ไม่มีอาชีพนี้อีกแล้ว หมายความว่าสุดท้าย บางอาชีพจะหายไป อันนี้จริงเพราะว่าเทคโนโลยีหรืออะไรบางอย่างมันเข้ามาแทนที่ เราควรปรับตัว คนที่สามารถสร้างระบบนั้นมาก่อน อย่างเช่นคนเสียบชุมสาย คนที่พัฒนาระบบนี้มา ก็คือทำให้อาชีพนี้หายไปอันนี้ก็ต้องยอมรับ มันสะดวกสบายกว่า แทนที่จะมารอคนชุมสายคนเดียวมาเสียบ เราก็ถือสายโทรศัพท์รอ3-4นาที ตอนนี้มันทีเดียวไปเลย มันก็สะดวกสบายกว่า เราก็น่าจะปรับตัวเตรียมตัวรู้แนวทางของโลกในอนาคต ว่าสิ่งไหนมันจะคงอยู่เหมือนเดิมหรือว่าตรงไหนมันกำลังจะตายลงไปเรื่อยๆ หรือสิ่งไหนกำลังจะเติบโต แนะนำก็คือ ให้ไปอยู่ในสิ่งที่เติบโตดีกว่า สิ่งที่กำลังจะตายลงไป เราไปอยู่คือโดนแย่งงานแน่ๆ เราไม่ควรจะไปอยู่ในสิ่งนั้นอยู่แล้ว อย่างคนประกอบรถยนต์ตอนนี้ไม่มีแล้ว มีแต่คนคุมเครื่องจักร เราไปเป็นคนคุมหุ่นยนต์ดีไหมไม่ใช่ให้หุ่นยนต์มาคุมเรา หรือว่าหนักที่สุดคือเป็นคนขับหุ่นยนต์อะไรอย่างนี้ ยังต้องมีคนสร้างหุ่นยนต์อยู่ เป็นคนสร้างหุ่นยนต์ดีกว่าไหม หรือว่าคิดค้นสิ่งใหม่ๆ หรือว่าเป็นอาชีพที่อยู่ร่วมกับมัน ไม่ใช่อาชีพที่โดนมันแย่ง อาจจะต้องปรับตัวจุดนี้หน่อย
สุดท้ายอยากให้พี่ทรายแนะนำนิสิต น้องๆ รุ่นต่อๆ ไปในการส่งผลงานเข้าประกวดอย่างไรให้ประสบความสำเร็จแบบนี้
ถ้าเกี่ยวกับเรื่องการแข่งหรือการประกวดอยากจะส่งผลงานหรืออะไรแล้วจะได้รางวัล ขั้นแรกเลยทุกอย่างคือจะทำอะไร จะมีใบมาหรืออะไร จะมีคะแนนแต่ละอย่างคืออะไร คิดง่ายๆ สำหรับพี่ทำให้ได้เต็มทุกข้อ เหมือนทำข้อสอบ ถ้ามันถูกทุกข้อ เต็มทุกข้อ อย่างไรก็ที่หนึ่ง หรือยังไงก็แชมป์เราก็ทำเตรียมตัวเพื่อสำหรับสิ่งนั้น ไม่ใช่ว่าได้อันนี้ก็ดีแล้ว ไปหวังว่าคนอื่นจะทำสิ่งนี้ไม่ได้ ไม่ได้เราควรจะทำให้ได้ทุกสิ่ง ให้ได้มากที่สุดที่เราจะทำได้ ไม่ใช่ว่าคนอื่นทำไม่ได้หรอกข้อนี้ แล้วไปถึงทำได้ ทำยังไงล่ะ แพ้สิ เราทำให้ได้ทุกอย่างก่อนดีกว่า ทำให้ได้เยอะที่สุด ถ้ามันเต็ม เดี๋ยวก็ชนะเอง แต่ในความเป็นจริงเต็มไม่ได้หรอก ก็มีหักๆ คะแนน ก็จะยังอยู่ใน rangeที่ค่อนข้างสูงอยู่จะต้องเตรียมตัวมากหน่อยในระดับหนึ่ง พี่เน้นการเตรียมตัว พวกพี่ใช้เวลา 3 ปีในการเตรียมตัวไปแข่งครั้งนี้ เพราะฉะนั้นเวลาและความตั้งใจในการทำสิ่งต่างๆ คือสิ่งสำคัญkeywordเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมของการจะลงไปแข่ง ทำอะไรคือต้องมีความพร้อม ไม่ใช่เร่งให้พร้อมตอนนี้เป็นไปไม่ได้ ต้องอดทนหน่อยให้ตัวเราพร้อมจริงๆ แล้วเดี๋ยวเราจะสำเร็จเอง ยิ่งถ้าเกิดเราอยากจะสำเร็จเร็ว เราวิ่งเร็ว สุดท้ายมันล้ม เราเจ็บมาก อันนี้ยืนยัน จะเจ็บมาก คล้ายๆ กัน นักกีฬาวิ่ง วิ่งทุกวัน ค่อยๆ เพิ่มระยะ เพิ่มความเร็ว เพิ่มระยะ เพิ่มความเร็ว เพิ่มระยะ เพิ่มความเร็วแล้วค่อยลงแข่ง ไม่ใช่ไม่เคยซ้อมเลยแล้วไปลงแข่ง มันล้มเหลวอยู่แล้ว การเตรียมตัวสำคัญมาก ให้เตรียมตัวจนเราคิดว่าเราพร้อมแล้วจริงๆ ที่จะไปเอาแชมป์มา อย่างพี่ก็พลาดสามคะแนน คือทีมที่หนึ่งได้ 93 คะแนน พี่ได้ 90 คะแนน เป็นสามคะแนนที่เจ็บใจจริงๆ มันนิดเดียวเอง คือต้องยอมรับหมายความว่าเขาเตรียมตัวพร้อมกว่าเรา อันนี้เรายังเตรียมความพร้อมไม่พอ หวังว่ารุ่นน้องจะเตรียมตัวพร้อมกว่าพี่ ในการจะเอาแชมป์มาแทนพี่
นี่คือสาวสวยคนเก่งของเรา วันนี้ต้องขอบคุณพี่ทรายมากๆ เลย ที่มาร่วมแชร์ประสบการณ์ดีๆ รวมไปถึงคำแนะนำดีๆ และมาสร้างแรงบันดาลใจให้กับน้องๆ ด้วยนะคะ
ทรัพยากรสารสนเทศของสำนักหอสมุดที่เกี่ยวข้อง
ชื่อเรื่อง
- สู่โลกการสร้างหุ่นยนต์ / ทีมงานสมาร์ทเลิร์นนิ่ง
- หุ่นยนต์ในเมืองไทย / สุเจน กรรพฤทธิ์
- THE Microcontroller: A PARADIGM FOR A ROBOT BUILDING BLOCK.
- คัมภีร์การใช้งานหุ่นยนต์ (Robot) / เดชฤทธิ์ มณีธรรม
- การควบคุมแขนหุ่นยนต์ / อำนาจ ภู่สิทธิศักดิ์
- Robot C Programming for beginner การเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์สำหรับผู้เริ่มต้น / ทีมงานสมาร์ทเลิร์นนิ่ง
- Robot companions : MentorBots and beyond
- Robot control : the task function approach / Claude Samson, Michel Le Borgne and Bernard Espiau
- Robot brains : circuits and systems for conscious machines / Pentti O. Haikonen
- Robot dynamics and control / Mark W. Spong, M. Vidyasagar
- วิศวกรรมหุ่นยนต์ / สถาพร ลักษณะเจริญ
- Robot modeling and control / Mark W. Spong, Seth Hutchinson, M. Vidyasagar
- Robot motion : planning and control / edited by Michael Brady ... [et al.]
- เปิดโลกหุ่นยนต์--สำหรับนักประดิษฐ์รุ่นใหม่ / โดย KatsuhitoKiida ; แปลโดย อรรณพ เรืองวิเศษ และกฤษดา วิศวธีรานนท์ ; บรรณาธิการโดย กฤษดา วิศวธีรานนท์
- หุ่นยนต์ ดาวเด่นยุคใหม่ / เจน วราหะ