KULIB Talk No.20 รางวัลระดับนานาชาติ Outstanding Award จาก Citizen Innovation ประเทศสิงคโปร์ ในงานวันนักประดิษฐ์ประจำปี 2562 ทีมนิสิตวิศวกรรมการอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน


      วันนี้เราเดินทางมาที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ซึ่งเป็นหนึ่งในวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งกว้างขวางร่มรื่นและมีความสวยงาม ที่เรานั่งอยู่ตรงนี้คือสำนักหอสมุดกำแพงแสน วันนี้เราได้รับเกียรติจากน้อง ๆ ที่ไปสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย และประเทศไทย ในการเข้าร่วมแข่งขันและได้รับรางวัลระดับนานานชาติ Outstanding Award จากองค์กร Citizen Innovation ประเทศสิงคโปร์ ในงานวันนักประดิษฐ์ประจำปี 2562 ซึ่งจัดไปเมื่อวันที่ 2 - 6 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ในชื่อผลงานกระบวนการฆ่าเชื้อในอาหารเหลว ในสภาวะอุณหภูมิต่ำโดยการทำลายผนังเซลล์เชื้อโรคด้วย pulsed electric field และสลายสายพันธะ DNA ของเชื้อโรคด้วยรังสี UVC เข้มข้น ซึ่งรางวัลนี้เป็นรางวัลนักคิดสิ่งระดิษฐ์รุ่นใหม่ประจำปี 2562 ระดับอุดมศึกษา กลุ่มอาหารและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ

libtalk20 1

     ขอต้องรับน้อง ๆ กลุ่มนิสิตวิศวกรรมการอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนทั้ง 7 ท่านคือ นายภาณุวัฒน์ รอดคลองตัน (โจ) นายภาณุเดช นาคอ่วมค้า(แบงค์) นายวรพล โป๊ะแสง (พีท) นางสาวภัทรพร พุทธพรหม (แฟนต้า) นางสาวคณิศร ทรัพย์มาก (หยก) นางสาวธีริศรา มิคาระเศรษฐ์ (ปิ๊ง) นายคุณวุฒิ ขวาอุ่นหล้า (คุณ) ชั้นปีที่ 3 ภาควิชาวิศวกรรมการอาหาร
ช่วยบอกเล่าความเป็นมา ที่มารวมตัวกันเป็นทีม 7 คน และส่งผลงานเข้าประกวดได้อย่างไร


      เริ่มจากเราผู้หญิง 3 คน ก่อนคะ สนใจประกวด และเห็นว่าโครงงานที่เราคิดมันควรมีผู้ชายอยู่ด้วยเลยชักชวนผู้ชายในสาขามาร่วมทีม ที่ต้องมีผู้ชายด้วยเพราะต้องมีงานใช้แรงงานด้วยค่ะ
รางวัลของน้อง ๆ ที่ไปนำเสนอในงานวันนักประดิษฐ์ โดดเด่นและได้รับความสนใจจากองค์กร Citizen Innovation จากประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นองค์กรที่พัฒนาเอกชนหรือกลุ่มคนที่มีนวัตกรรมที่ประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ รวมถึงการให้ความรู้เชิงเทคนิคสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ประกอบการ สำหรับผลักดันที่จะทำผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมใหม่ ๆ เปิดสู่ตลาดโลก ซึ่งเขามอบรางวัล Outstanding Award ให้กับผลงานของเรา อยากให้น้อง ๆ เล่าถึงโอกาสในครั้งนี้ว่าพวกเราได้มีโอกาสได้เข้าไปร่วมการแข่งขันในครั้งนี้ได้อย่างไร มีขั้นตอนที่จะเข้าร่วมแข่งขันอย่างไรบ้าง


      อย่างแรกต้องขอบคุณ อาจารย์วรพจน์ ศตเดชากุล ที่แนะนำงานนักประดิษฐ์ให้ เราได้ส่งผลงานได้เข้าแข่งขัน ขั้นตอนในการเข้าร่วมแข่งขันคือเราส่งแนวคิดเข้าแข่งขัน เมื่อผ่านคัดเลือกก็สามารถนำผลงานเข้าไปโชว์ในงานนักประดิษฐ์ได้


เล่าให้ฟังนิดหนึ่งว่าบรรยากาศในการแข่งขัน การที่เรานำผลงานไปนำเสนอเป็นอย่างไรบ้าง คนเยอะแค่ไหน เราตื่นเต้นไหมในการนำเสนอผลงาน

      สำหรับรรยากาศในงานคือเขาจะมีบูทสำหรับจัดงาน คือจะมีระดับอุดมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และก็มีบูทของงานวิจัยของอาจารย์ที่ได้รับรางวัลดีเด่น และก็มีบูทสำหรับรางวัลที่เข้าร่วมแข่งขันทั้งชาวต่างชาติ และคนไทยที่ได้ไปแข่งในระดับนานาชาติ มาให้เราเข้าไปปรึกษาหาความรู้ได้ และบรรยากาศการแข่งขันสำหรับผมนะครับได้เดินงานเยอะมากบูทไม่ค่อยอยู่ก็จะเห็นว่าแต่ละบูทเขาพรีเซนต์อย่างไร เราก็เอามาปรับปรุงตัวเราว่าควรจะพรีเซนต์อย่างไรบ้างที่จะได้ขึ้นรับรางวัล

ผลงานที่ชื่อว่า “กระบวนการฆ่าเชื้อในอาหารเหลว ในสภาวะอุณหภูมิต่ำโดยการทำลายผนังเซลล์เชื้อโรคด้วย pulsed electric field และสลายสายพันธะ DNA ของเชื้อโรคด้วยรังสี UVC เข้มข้น” ช่วยอธิบายว่าโดยปกติกระบวนการทำลายเชื้อโรคในอาหารมีกี่แบบ แบบไหนบ้าง

      กระบวนการทำลายเชื้อโรคในอาหารหลัก ๆ จะแบ่งเป็น 3 อย่างก็คือ 1. พาสเจอร์ไรส์ (Pasteurization) 2. Sterilization 3. UHT ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีอุณหภูมิ ระยะเวลาที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ปัจจัยจะขึ้นอยู่กับอาหารของเราเป็นชนิดไหน หรือว่าภาชนะบรรจุอาหารของเราเป็นชนิดไหนด้วยครับ

ประเด็นสำคัญที่ผลงานของน้อง ๆ ทำให้ได้รับรางวัลก็คือ การรักษาคุณค่าทางอาหารของอาหารและประหยัดพลังงานในการฆ่าเชื้อ อันนี้คือจุดเด่นเป็นปัจจัยหลักของผลงานเราเลย น้อง ๆ มีแนวคิดการสร้างผลงานนี้มาจากไหน

     สำหรับแนวคิดเริ่มต้นคือ ได้มาจากอาจารย์ที่ปรึกษาคือ อาจารย์วรพจน์ ศตเดชากุล อาจารย์แนะนำให้พวกผมไปอ่านงานวิจัยของอาจารย์พานิช อินต๊ะ และได้พาพวกผมทั้ง 7 คน ไปศึกษาดูงานจริงและหลังจากศึกษาดูงานก็มาประชุมกันกับอาจารย์ที่ปรึกษาว่าเราจะต่อยอดอย่างไรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น


ได้ไปศึกษาดูงานที่ไหน

      มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

ได้มีการนำเอาเทคโนโลยีการฆ่าเชื้อในระดับพาสเจอร์ไรส์ด้วยวิธี pulsed สนามไฟฟ้ามาใช้ร่วมกับแสงอัลตราไวโอเลตและคลื่นอัลตร้าโซนิค ผลที่เราคาดว่าจะเกิดจากผลงานแนวคิดของเราคืออะไร ลองอธิบายเป็นแผนงาน ขั้นตอนองค์ประกอบว่ามีความเป็นมาอย่างไรบ้าง


      งานวิจัยที่นำไปแข่ง เป็นการนำเสนอแนวคิด ถ้านำไปสร้างจริงและสามารถใช้ได้จริง คาดว่าจะสามารถรักษาคุณค่าทางอาหารและช่วยลดพลังงานได้มากขึ้น ขั้นตอนแผนงานที่เราทำคือ เราเริ่มจากการศึกษาดูงานจากอาจารย์ท่านอื่นหรือว่าบุคคลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลงานของเราและเราก็นำมาปรับใช้ประยุกต์กับงานของเราให้มีประโยชน์ เมื่อเรามีความรู้มากเพียงพอก็จะนำไปสร้างออกแบบเครื่องให้มีประสิทธิภาพเหมือนที่เราคิดไว้ หลังจากนั้นเราก็จะทำการทดลอง เก็บผล สรุปผล


พิธีกร: ก็จะมีขั้นตอนในหลาย ๆ ขั้นแรกเริ่มก็จะเริ่มจากการศึกษาก่อน และดูว่าแนวคิดไหนที่เราจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ ออกแบบ ทดลอง จนออกมาเป็นแนวคิดที่เรามองว่าสมบูรณ์แบบที่สุดแล้ว และนำแนวคิดไปเสนอมีการแบ่งหน้าที่การทำงานอย่างไร


      เริ่มแรกเราก็ถามว่าใครอยากทำตรงไหน หรือสมัครใจ หรือชอบด้านไหนเป็นพิเศษเราก็จะให้คนนั้นได้ทำตรงนั้นก่อน ถ้ามีคนไหนทำไม่ได้ไม่เข้าใจเราก็จะลงไปช่วยกัน ส่วนงานตรงอื่น ๆ ที่เหลือเราก็จะเลือกว่าคนนี้มีประสิทธิภาพในด้านนี้หรือว่าเข้าใจในด้านนี้เราก็จะให้คนนั้นได้ทำตรงนั้นด้วยครับ

พิธีกร: ถามความสมัครใจก่อน ถือที่ว่าเราชอบอะไรก็จะทำได้ดี หลังจากนั้นเราก็มาดูว่าเพื่อนในกลุ่มเราใครมีความสามารถทางด้านไหนที่เฉพาะเราก็จะใช้คนให้ถูกกับงาน ทำให้งานสำเร็จออกมา เป็นผลงานที่น่าภาคภูมิใจ


 ได้รับบทเรียนอะไรบ้างจากการทำผลงานในครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำงานร่วมกัน หรือจะเป็นเรื่องความรู้ที่ได้จากผลงานในครั้งนี้


      เนื่องจากที่เราเป็นมือใหม่ เราก็จะมีปัญหาตั้งแต่ การหาข้อมูลถูกต้องไหม ลงมือทำถูกต้องไหม อย่างตอนที่เราสร้างเครื่องด้วยกันมันก็จะมีบางอย่างเสียบาง พังบาง ช็อตบาง ไม่เป็นไปตามที่เราคิด เราก็ได้ช่วยกันแก้ปัญหา ณ ตอนที่เราทำงานตอนนั้น


มีจุดไหนบ้างที่เราวางแผนไว้อย่างดีเลยแต่ว่ามันไม่เป็นไปตามแผน เกิดปัญหาระหว่างงานขึ้น แล้วเรามีการแก้ปัญหาอย่างไร


      ที่วางแผนไว้ตั้งแต่ต้นคือ เราจะใช้อัลตร้าโซนิคด้วยแต่ทีนี้ ปัญหาที่เราเจอตั้งแต่ข้างต้นเลยคือ เครื่องควบคุมมันเกิดความเสียหาย เราลองเปลี่ยนเครื่องใหม่มาแล้วก็ยังเสียหายอยู่ จริง ๆ เราอยากส่งเป็นตัวที่เราทำสำเร็จไปเลยไปแข่ง พอเราต้องแก้ปัญหาเราช่วยกันคิดว่าเราควรทำไงดี เราก็ส่งเป็นตัวต้นแบบไป ไปบอกเขาว่างานของเราเกิดปัญหาจริง ๆ เราจึงสร้างตัวต้นแบบ เพื่อช่วยให้เราพรีเซนต์ได้ดียิ่งขึ้น แบบว่าช่วยในการพรีเซนต์


พิธีกร: เครื่องจริงที่ตั้งใจไว้มีปัญหา ก็เลยสร้างต้นแบบนั้นแปลว่าเราต้องทำงานเยอะขึ้นอีก เพราะเราต้องสร้างต้นแบบเพื่อการอธิบาย นำเสนอที่มันชัดเจน เนื่องจากว่ามันไม่ใช่ของจริง


Project นี้รายละเอียดค่อนข้างเยอะ เรามีการศึกษาหาข้อมูลจากแหล่งไหนบ้าง เพื่อที่จะนำมาใช้อ้างอิงทำงานในครั้งนี้


      เราศึกษาหาข้อมูลจาก internet จากห้องสมุดจากฐานข้อมูล databases และได้ไปดูงานที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา


ผลงานในครั้งนี้ถือว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง เรามองไว้ว่าเราอยากจะต่อยอดผลงานนี้ต่อไปอย่างไรบ้าง
      ผลงานนี้เราก็มาทำต่อยอด ก็คือเราจะมาทำเป็น project ของผม (พีท) แบงค์ และโจ ซึ่ง project อันนี้เราต้องเข้าไปคุยกับอาจารย์ก่อนว่าเราสามารถทำได้ไหม เราก็เข้าไปคุยแนวโน้มก่อนว่าถ้าทำได้จริงแล้วผลจะออกมาเป็นอย่างไร อาจารย์ก็ได้พิจารณาแล้วว่า ความเป็นไปได้มันมี ก็ให้ทำเป็น project ต่อได้


จากที่เล่ามาเราผ่านทั้งการคิด วางแผน เก็บวิเคราะห์ข้อมูล เป็นประสบการณ์มากมาย อยากจะให้เราบอกนิดหนึ่งว่าประสบการณ์สูงสุดที่ตัวเราได้จากการส่งผลงานเข้าประกวดในครั้งนี้คืออะไรบ้าง ในแนวคิดของแต่ละคน

  • นายภาณุวัฒน์ รอดคลองตัน: การทำงานเป็นทีม ทำอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ การจัดการด้านเวลา การ manage คนให้ถูกกับงานเพื่อที่จะทำให้งานสำเร็จไปได้ด้วยดีครับ
  • นายภาณุเดช นาคอ่วมค้า: สำหรับตัวผมคือ การใส่ใจรายละเอียด การให้เวลากับงาน เพราะงานพวกผมเป็นงานด้านอาหารก็ต้องใส่ใจรายละเอียดให้มากขึ้นครับ
  • นายวรพล โป๊ะแสง: สำหรับผมคือ ก่อนอื่นเลยเราต้องวงแผนให้ดีและก็มีหน้าที่ของแต่ละคนชัดเจน ถ้าเราทำงานกันเป็นกลุ่มหรือว่าช่วยเหลือกันอย่างนี้ครับและก็ต้องดูความเป็นไปได้ของงานนี้ ใครมีหน้าที่ตรงไหนที่ทำได้ดีมากกว่ากัน ใครเหมาะกับงานอันไหน และต้องดูรายละเอียดด้วยว่า รายละเอียดมันมากน้อยแค่ไหน เราต้องใส่ใจกับรายละเอียดนั้นให้มากขึ้นกว่าเดิมครับ
  • นางสาวภัทรพร พุทธพรหม: ได้ไปแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคนในกลุ่มที่ส่งประกวดกลุ่มเดียวกันหรือต่างกลุ่ม แบบว่าได้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาหาร เกี่ยวกับด้านสุขภาพค่ะ
  • นางสาวคณิศร ทรัพย์มาก: ได้การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าค่ะ
  • นางสาวธีริศรา มิคาระเศรษฐ์: ได้ความรู้เกี่ยวกับการนำเสนอเป็นภาษาอังกฤษกับชาวต่างชาติค่ะ
  • นายคุณวุฒิ ขวาอุ่นหล้า: ได้เห็นผลงานการวิจัยที่เขาประสบความสำเร็จที่เรายังไม่ได้เคยเห็นจากที่ไหนมาก่อนในวันงานครับ


พิธีกร : เป็นประสบการณ์ที่ทุกคนได้รับ โดยหลัก ๆ ก็คือ เราต้องวางแผนให้ดี บริหารคนให้ถูกกับงาน บริหารเวลา ใส่ใจรายละเอียดรวมถึงประสบการณ์ที่คล้าย ๆ กับการทำงานจริง ได้นำเสนอผลงานจริง ได้แก้ปัญหาเมื่อเกิดปัญหาหน้างาน ได้เห็นประสบการณ์จากคนอื่นว่าเขาทำอย่างไรบ้างนำมาพัฒนาตัวเราต่อได้ เป็นประสบการณ์ที่มีค่ามาก
คำถามสุดท้าย เป้าหมายของแต่ละคนที่มองและตั้งใจไว้คืออะไร

  • นายคุณวุฒิ ขวาอุ่นหล้า: เป้าหมายที่จะทำต่อจากเรียนจบ ก็อาจจะทำงานหาประสบการณ์เราเรียนมา 4 ปี เราสามารถทำงานเลยได้ไหม เพียงพอสำหรับทำงานจริงเลยไหม เราค่อยไปดูอีกทีว่าเราจะเรียนต่อในสายไหน ถ้าเรียนต่อคงเป็นสายอาหารก็ต้องมาเรียนปรับปรุงนวัตกรรมอาหารให้มันดียิ่งขึ้นครับ
  • นางสาวธีริศรา มิคาระเศรษฐ์: ก็อยากทำงานในบริษัทใหญ่ ๆ ที่เกี่ยวกับสายงานที่เราเรียน
  • นางสาวคณิศร ทรัพย์มาก: ก็จะหาประสบการณ์จากการทำงานก่อน จากนั้นก็จะเรียนต่อค่ะ
  • นางสาวภัทรพร พุทธพรหม: อยากหาทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศ
  • นายวรพล โป๊ะแสง: สำหรับผมก็วางแผนเรียนต่อในระดับปริญญาโทถ้าจบปริญญาโทก็จะเรียนต่อไปด้วยครับ ในเรื่องของการทำงานก็อยากจะทำเป็นธุรกิจส่วนตัวช่วยที่บ้าน วางแผนขยายธุรกิจให้มีขนาดใหญ่ขึ้นด้วยครับ
  • นายภาณุเดช นาคอ่วมค้า: สำหรับผมก็คงทำงานในด้านที่เรียนจบเพื่อนำไปพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ครับ
  • นายภาณุวัฒน์ รอดคลองตัน: สำหรับผม หลังจากเรียนจบก็อยากจะทำงานก่อนเพื่อเก็บประสบการณ์ อาจจะมาเรียนต่อและศึกษาความรู้ด้านอาหารและนำไปใช้ประโยชน์ให้มากกว่านี้ครับ

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

 

 

 

 


 
 
 
1xbet casino siteleri bedava bahis kaçak bahis superbetin yeni giriş casino siteleri