A-Mate เกมกีฬาพัฒนาสมอง

วันนี้ได้รับเกียรติจากนิสิตคณะเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ระดับเหรียญทอง การแข่งขัน A-Math การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 45 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ระดับรางวัลประเภททีมหญิง ขอต้อนรับคุณวรรณรัตน์ สายสุวรรณ์

แนะนำตัว

สวัสดีค่ะ ชื่อนางสาว วรรณรัตน์ สายสุวรรณ์ เรียนอยู่คณะเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา

อยากให้ช่วยแนะนำเกี่ยวกับการแข่งขัน A-Math คืออะไร

สำหรับการแข่งขัน A-Math  A-Math ก็คือเป็นเกมต่อเลขคำนวณทางคณิตศาสตร์ จะเป็นการสร้างสมการง่ายๆ คือการบวก ลบ คูณ หารเลข โดยจบเกมถ้าคนไหนฝ่ายไหนได้คะแนนสูงสุดก็จะเป็นผู้ชนะ

การแข่งขัน A-Math จะต้องใช้ทักษะหรือความรู้ทางด้านไหนบ้าง

คิดว่าเราใช้ทักษะง่ายๆ เลย เพราะว่าสมัยนี้มีการจัดแข่งขันตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงรุ่นโอเพ่น ถ้าสมมติเราคิดสมการง่ายๆ เช่น การบวก ลบ คูณ หารเลขได้ เราก็สามารถเล่น A-Math ได้แล้ว

การแข่งขัน A-Math มีอุปกรณ์อะไรบ้าง

สำหรับอุปกรณ์ในการแข่งขัน ก็จะมี 1.กระดาน 2.ถุงเบี้ย 3.ที่วางเบี้ย 4.เพื่อความสนุกจะมีนาฬิกาจับเวลาในการแข่งขัน

(พิธีกร เรียกได้ว่าเป็นกีฬาที่ใช้อุปกรณ์หลากหลายชนิดมาก)

การแข่งขัน A-Math มีการแข่งขันหรือว่ามีเกณฑ์การคิดคะแนนอย่างไร

สำหรับในการแข่งขันก็จะมีหลายรุ่นหลายประเภท ตั้งแต่อย่างที่พูดไปแล้วก็คืออนุบาลถึงรุ่นโอเพ่นในปัจจุบัน และการคิดคะแนน ก็จะมีกระดาน กระดานจะประกอบไปด้วย 4 ช่องพิเศษ ช่องที่ 1 สีแดงก็คือ คูณ3 ทั้งสมการ ช่องที่ 2 สีเหลือง คูณ2 ทั้งสมการ ช่องที่ 3 สีฟ้า คูณเฉพาะตัวเบี้ยนั้นๆ แล้วก็ช่องที่ 4 สีส้ม คูณ 2 เฉพาะตัวเบี้ยนั้นๆ สำหรับการคิดคะแนนจะคิดว่า ถ้าสมมติว่ารอบแรกตาเราเล่น เราลงตัวเบี้ยไปทับช่องพิเศษจะคิดรอบนั้นแค่รอบเดียว ส่วนผู้อื่นหรือฝ่ายอื่นที่มาต่อสมการเราจะคิดแค่คะแนนบนตัวเบี้ย

ส่วนพิเศษในการเล่นของเรามีอะไรบ้าง

สำหรับส่วนพิเศษในการเล่น ข้อที่ 1 การขอเปลี่ยนตัว การขอเปลี่ยนตัวเราสามารถทำได้สูงสุด 8 ตัว แต่ว่าผู้เล่นฝ่ายไหนที่ขอเปลี่ยนตัวจะต้องเสียเกมตานั้นให้กับฝ่ายตรงข้าม แล้วก็มีกรณีพิเศษอีกอย่างหนึ่งก็คือ สมมติถุงเบี้ยเหลือไม่เกิน 5 ตัวไม่สามารถขอเปลี่ยนได้ แล้วก็ข้อที่ 2 การขอทำชาเลนจ์ การขอทำชาเลนจ์ก็คือ ถ้าเราเห็นว่าฝ่ายตรงข้ามลงสมการผิด แล้วเราทักท้วงไป มันผิดจริงๆ ตานั้นจะเป็นฝ่ายเราที่ได้เล่น แล้วเขาจะเสียตานั้นไป แล้วข้อที่ 3 คือการทำบิงโก การทำบิงโกก็คือสมมติฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งลงตัวเบี้ยได้ครบ 8 ตัวก็จะได้บวก 40 คะแนนในตานั้นๆ เลย ประมาณนี้

การที่จะเข้าไปแข่งขันก็คงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ขอทราบได้ไหมว่าได้เข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้อย่างไรบ้าง

สำหรับการเข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้ เกิดจากการชักชวนของพี่ในวิทยาเขตศรีราชาก่อน คนแรกก็คือ พี่กานต์แล้วพี่กานต์ติดต่อกับพี่เมฆให้ว่ามีน้องในคณะสามารถเล่น A-Math ได้ เขาก็เลยไปชักชวนมาฝึกซ้อมที่บางเขน และก็ได้เป็นตัวแทนร่วมกับบางเขนไปแข่งในกีฬามหาวิทยาลัย

อยากให้ช่วยเล่าถึงบรรยากาศ รวมถึงว่าในช่วงการแข่งขันจะต้องใช้เวลาการแข่งขันกี่วัน แล้วทีมอื่นๆ เป็นอย่างไรบ้าง

สำหรับบรรยากาศในการแข่งขัน วันแรกๆ ก็จะรู้สึกตื่นเต้น เพราะว่าเราเจอแบบสถาบันที่เก่งๆ แล้วก็ส่วนระยะเวลาในการแข่งขันก็จะประมาณ 7 วัน เพราะมันมีหลากหลายประเภทในการแข่งขัน A-Math เช่น ประเภททีม ประเภทเดี่ยว ประเภทผสม หรือประเภทคู่

ข้อดีหรือข้อคิดที่ได้จากการแข่งขันครั้งนี้คืออะไร

สำหรับข้อดีพี่คิดว่า ถ้าเราได้ทำในสิ่งที่เรารัก มันจะสร้างกำลังใจให้กับเราและรู้สึกว่าเราทำแล้วสนุกไปกับมัน แล้วก็ถ้าเป็นข้อคิดก็คือพี่คิดว่าถึงแม้ว่าพอเราแข่งกีฬาจบไปแล้ว ผลจะเป็นยังไงสุดท้ายทุกมหาวิทยาลัยก็มีน้ำใจนักกีฬาให้แก่กันอยู่เสมอ

ถือว่าเป็นข้อดีของกีฬาชนิดนี้และยังเป็นข้อดีของกีฬาชนิดอื่นๆ เช่นกัน และในครั้งนี้ที่ได้รับรางวัลอันดับ 1 เป็นการแข่งขันประเภททีมได้เรียนรู้อะไรจากการแข่งขันประเภททีม รวมถึงมีกติกาพิเศษอะไรเกี่ยวกับการแข่งขันประเภททีมไหม

สำหรับสิ่งที่ได้จากการแข่งขันประเภททีม ก็คือ ทีมเกษตรของเรา เราจะสร้างกำลังใจให้กันเสมอ สมมติว่าทุกคนไปแข่งมาตานั้นผลจะออกมาแพ้หรือชนะอย่างไร เรารีเซตตัวเองในเกมนั้นเพื่อจะเตรียมพร้อมในการแข่งขันในเกมต่อไปทันที แบบว่าเราจะไม่มานั่งโทษกันว่าคนนี้แพ้มานะ หรือชนะมานะ คือเราจะแบบสร้างกำลังใจให้กันและให้กำลังใจกันเสมอ

แล้วก่อนหน้านี้ ได้เคยไปร่วมเข้าการแข่งขันเกี่ยวกับประเภทอื่นๆ มาบ้างไหม

สำหรับการแข่งขัน เริ่มเล่น A-math ตั้งแต่ ม.1 แต่ว่าโรงเรียนส่งแข่งขันประมาณ ม.3 ถึง ม.6 แล้วก็รางวัลที่คิดว่าภาคภูมิใจที่สุดเป็นช่วง ม.4 ม.4 ได้รับเป็นตัวแทนภาคตะวันออกเฉียงเหนือไปแข่งขันที่เมืองทองธานีระดับประเทศ ได้ที่ 6 ระดับประเทศ และจากนั้นมาก็เริ่มเข้ากีฬามหาวิทยาลัย เริ่มแข่งตั้งแต่ปี 2 ถึงปี 4 ก็ประเภททีมของเกษตรได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่งทุกปี

เล่น A - math เก่งขนาดนี้ต้องสอนเล่นบ้าง

ได้ค่ะ

ในฐานะที่เป็นคนรุ่นใหม่ คิดว่าเด็กยุคใหม่ควรจะมีทักษะหรือว่าด้านใด ที่สามารถจะประสบความสำเร็จได้บ้าง

เด็กยุคใหม่ คือ อยากให้มีความอดทนมากๆ แล้วก็หมั่นฝึกฝนตัวเองอยู่เสมอ ถ้าเราตั้งใจอยากทำอะไรก็ทำให้มันเต็มที่ แล้วก็เป็นผู้แบบเรียนรู้ตัวเอง หาความรู้ใส่ตัวหรือเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ถ้าสมมติมีใครติชมหรือให้คำปรึกษาเราก็น้อมรับฟังไว้ แล้วก็ไปปรับปรุงตัว พัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น

สุดท้ายนี้ก็อยากจะให้ช่วยแนะนำกับรุ่นน้องๆ รวมถึงนิสิตท่านอื่นๆ สำหรับใครที่อยากจะสร้างสรรค์ผลงานดีเด่น หรืออยากจะเข้าร่วมการแข่งขันจะต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง

สำหรับคนที่สนใจจะเล่นกีฬา A - math ตอนนี้ชมรมก็มีเปิดรับสมัครอยู่ ก็ให้สมัครที่น้องไอซ์ เป็นประธานชมรมอยู่ชั้นปีที่ 3 อยู่คณะเศรษฐศาสตร์ และก็ถ้าสมมติใครสนใจให้เดินเข้าไปที่ชมรมและก็เข้าไปเล่นได้ ทุกคนแบบเป็นกันเอง แล้วเราอยู่แบบสังคมพี่น้อง

พิธีกร ก็เชื่อว่าทุกท่านก็คงจะได้รับข้อคิดดีๆ รวมถึงความรู้เกี่ยวกับ A-math ก็อยากจะให้ทุกท่านสำหรับใครที่มีความฝัน หรืออยากที่จะประสบความสำเร็จเหมือนพี่ไอซ์ เชื่อว่าทุกคนมีความฝันและก็กล้าที่จะลงมือทำ เชื่อว่าความสำเร็จอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมแน่นอน และสำหรับวันนี้นะคะ ทางรายการ KULib Talk ของเราก็ต้องขอขอบคุณพี่ไอซ์ค่ะ หรือว่า คุณวรรณรัตน์ สายสุวรรณ์ มากๆ ที่มาร่วมแชร์ประสบการณ์ดีๆ เกี่ยวกับการแข่งขัน A - math

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

 

 


 
 
 
1xbet casino siteleri bedava bahis kaçak bahis superbetin yeni giriş casino siteleri