Blockchain บริการแห่งอนาคต
ขวัญชนก พุทธจันทร์*
บรรณารักษ์ชำนาญการ
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เทคโนโลยีดิจิตอลมีบทบาทสำคัญมากในการดำเนินชีวิตประจำวัน นวัตกรรมล้ำยุคนำพาไปสู่การเปลี่ยนแปลงงานด้านบริการให้สามารถเชื่อมโยงได้จากทั่วโลก ลดต้นทุน อำนวยความสะดวก รวดเร็ว ง่ายดาย โดยไม่ต้องผ่านคนกลางแต่ใช้เทคโนโลยีทดแทน ในยุคแห่งการทำธุรกรรมการเงิน การใช้ Mobile Banking กลายเป็นส่วนหนึ่งใน เทคโนโลยี Blockchain จึงเข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนโลกธุรกิจ พลิกโฉมธุรกรรมการเงิน เป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อไปในอนาคต
Block chain คือ เทคโนโลยีแห่งอนาคต ที่วงการ FinTech กำลังจับตามอง เพื่อเตรียมความให้ก้าวทันนวัตกรรมของโลก และรองรับกับการเปลี่ยนแปลงของเทรนด์ทางด้านการเงิน และผลักดันให้ประเทศพร้อมเดินหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นระบบโครงข่ายในการเก็บบัญชีธุรกรรมออนไลน์ ซึ่งมีลักษณะเป็นเครือข่ายใยแมงมุมที่เก็บสถิติการทำธุรกรรมทางการเงินและสินทรัพย์ชนิดอื่นๆ โดยไม่มีตัวกลาง ทำให้ต้นทุนการทำธุรกรรมลดราคาลงและอาจจะส่งผลให้สถาบันการเงินที่เป็นตัวกลาง รวมไปถึงสำนักชำระบัญชีต่างๆ อาจไม่จำเป็นต้องมีอีกต่อไปในอนาคต หากเทคโนโลยีนี้เข้ามาแทนที่ได้อย่างสมบูรณ์ โดยเทคโนโลยี Blockchain เป็นแนวทางเพิ่มเสถียรภาพให้ระบบและลดต้นทุนในการขยายระบบได้อย่างมหาศาล ปัจจุบันงานด้านการให้บริการได้นำ Block chain ไปประยุกต์ใช้กับการทำงาน เช่น
- งานด้านธุรกรรมหรือสัญญา เช่น การเงินโดยสามารถใช้งานแทนเอกสารในรูปแบบเดิมๆ ปลอดภัย และลดค่าใช้จ่าย และในอุตสาหกรรมประกันภัย Blockchain จะเข้ามาช่วยเพิ่มความโปร่งใสและป้องกันปัญหาการทุจริตในวงการประกันภัย
- งานในธุรกิจที่ต้องการความโปร่งใส เช่น การบริจาคเงินให้กับองค์กรหรือบุคคลต่างๆ ทำให้ทราบข้อมูลการบริจาคเงินตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง และลดค่าใช้จ่าย
- งานติดตามสินค้าต่างๆ เช่น การติดตามเส้นทางขนส่งของอาหารสด ตั้งแต่วัตถุดิบออกจากฟาร์มไปสู่ลูกค้า กำหนดวันหมดอายุ การสืบสวนปัญหาต่างๆ
- งานที่ต้องการความปลอดภัยสูง เช่น บริษัทรถยนต์ ได้นำ Blockchain มาพัฒนาการเก็บข้อมูลที่ได้จากผู้ผลิตรถยนต์และผู้ใช้งานรถยนต์กว่าพันล้านข้อมูลมาวิเคราะห์และปรับปรุงความปลอดภัยของเทคโนโลยีไร้คนขับให้มีประสิทธิภาพ
- งานสำรองข้อมูลย้อนหลัง ให้มั่นใจว่าจะไม่ถูกทำลายหรือไม่ถูกเปลี่ยนแปลง สามารถใช้ Blockchain ในการบันทึกข้อมูลที่ต้องการสำรองเอาไว้ได้ หรือ บริการการจัดเก็บเอกสารสำหรับใช้ทำสัญญาโดยเฉพาะ
- งานที่มีลิขสิทธิ์ เช่น Muse Blockchain ได้สร้างแพลตฟอร์ม Streaming ชื่อว่า Peer Tracks ที่ผู้ฟังสามารถจ่ายเงินโดยตรงไปยังศิลปินได้ นอกจากจะช่วยเรื่องลิขสิทธิ์แล้ว ยังช่วยตัดคนกลางออกไป ทำให้ศิลปินได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้น
- งานด้านการแพทย์ ใช้ Blockchain เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลข้ามหน่วยงานและแพลตฟอร์มที่ต่างกันได้ เพิ่มความถูกต้องแม่นยำในการนำข้อมูลมาวินิจฉัยและรักษาโรค แทนการเช็คแฟ้มประวัติคนไข้หรือโทรศัพท์ไปขอข้อมูลผู้ป่วย
Blockchain ประกอบด้วย 4 ส่วนหลักสำคัญ คือ
- กล่องเก็บข้อมูล หรือ Block ทำหน้าที่กระจายไปให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องเก็บเอาไว้ โดยข้อมูลเหล่านั้นไม่สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้ และทุกๆ ครั้งที่มีการทำธุรกรรมใหม่เกิดขึ้นจะมีการสร้างกล่องใหม่ขึ้นมา
- กล่องเชื่อมต่อ หรือที่เรียกว่า Chain โดยการผูกด้วยวิธี Hash Function ซึ่งเปรียบเสมือนลายนิ้วมือของไฟล์ที่ใช้ในการ Verify หรือยืนยันความถูกต้องจากข้อมูลที่แต่ละคนถือเอาไว้ ถือเป็นตัวแทนของข้อมูลต้นฉบับ ซึ่งค่าที่ได้จากการ Hash นี้มีโอกาสที่ซ้ำกันยากมาก จึงเป็นคุณสมบัติที่เชื่อมั่นได้ในการนำมาใช้ยืนยัน (Verify) ข้อมูลที่แต่ละบุคคลถือไว้
- การตกลงร่วมกัน หรือ Consensus เพื่อกำหนดข้อตกลงที่ต้องเห็นพ้องร่วมกันด้วยอัลกอริทึมต่างๆ แล้วแต่การตกลง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันในเรื่องกฎและเครื่องมือที่ใช้ในเครือข่ายของผู้ใช้บริการ
- ขั้นตอนการตรวจสอบ หรือ Validation เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นร่วมกัน ซึ่งกระบวนการตรวจสอบต้องเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นเมื่อมีการทำธุรกรรมใดๆเกิดขึ้นจะสร้างกล่องใหม่ขึ้น จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการเชื่อมโยงกล่องนั้นเข้ากับห่วงโซ่เดิมที่ผูกรวมกัน โดยมีการยืนยันตัวเองของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกรรมนั้น ซึ่งข้อมูลธุรกรรมที่สร้างใหม่จะต้องได้รับการเห็นชอบจากผู้ใช้คนอื่นๆในห่วงโซ่ผ่านข้อตกลงที่มีร่วมกันก่อนหน้านี้ และระบบจะทำการตรวจสอบ กระนั้นจึงทำให้เทคโนโลยี Blockchain ได้รับความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยและความถูกต้องสูง
สามารถศึกษาเพิ่มเติมจากบทความออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับ Blockchain ได้ดังนี้
- Integrated Technologies of Blockchain and Biometrics Based on Wireless Sensor Network for Library Management.
Meng-Hsuan Fu. (2020). Integrated Technologies of Blockchain and Biometrics Based on Wireless
Sensor Network for Library Management. Information Technology & Libraries, 39(3), 1–13.
https://doi.org/10.6017/ital.v39i3.11883
- Blockchain Technology and Business Transaction: From Security and Privacy Perspectives.
Chih-Ming Chen, Di-Yu Lei, Jui-Hsi Cheng, & Kai-Ping Huang. (2020). Blockchain Technology and
Business Transaction: From Security and Privacy Perspectives. International Journal of
Organizational Innovation, 13(2), 145–155.https://www.infosys.com/Oracle/white-
papers/Documents/integrating-blockchain-erp.pdf
- Using Blockchain Technology in Smart University.
STOICA, M., MIRCEA, M., & GHILIC-MICU, B. (2020). Using Blockchain Technology in Smart University.
ELearning & Software for Education, 3, 134–141. https://doi.org/10.12753/2066-026X-20-187
- Blockchain technology and its relationships to sustainable supply chain management.
Saberi, S., Kouhizadeh, M., Sarkis, J., & Shen, L. (2019). Blockchain technology and its relationships to
sustainable supply chain management. International Journal of Production Research, 57(7),
2117–2135. https://doi.org/10.1080/00207543.2018.1533261
- Blockchain Technology for Cloud Storage: A Systematic Literature Review.
SHARMA, P., JINDAL, R., & BORAH, M. D. (2020). Blockchain Technology for Cloud Storage: A
Systematic Literature Review. ACM Computing Surveys, 53(4), 89–89:32.
https://doi.org/10.1145/3403954
- Blockchain technology - support for collaborative systems.
MATEI, G. (2020). Blockchain technology - support for collaborative systems. Informatica Economica,
24(2), 15–26. https://doi.org/10.24818/issn14531305/24.2.2020.02
- Applied Learning of Emerging Technology: Using Business-Relevant Examples of Blockchain.
Milovich Jr., M., Nicholson, J. A., & Nicholson, D. B. (2020). Applied Learning of Emerging Technology:
Using Business-Relevant Examples of Blockchain. Journal of Information Systems Education,
31(3), 187–195.
- Blockchain Technologies and Microservices for Open Learning Communities.
STEFAN, L. (2020). Blockchain Technologies and Microservices for Open Learning Communities. A
Software Architecture Perspective. ELearning & Software for Education, 3, 126–133.
https://doi.org/10.12753/2066-026X-20-186
- Research on a Shared Bicycle Deposit Management System Based on Blockchain Technology.
Zhao, D., Wang, D., & Wang, B. (2020). Research on a Shared Bicycle Deposit Management System
Based on Blockchain Technology. Journal of Advanced Transportation, 1–14.
https://doi.org/10.1155/2020/8854082
- Recent Development Trend of Blockchain Technologies: A Patent Analysis.
Yann-Jy Yang, & Jiann-Chyau Hwang. (2020). Recent Development Trend of Blockchain Technologies:
A Patent Analysis. International Journal of Electronic Commerce Studies, 11(1), 1–12.
https://doi.org/10.7903/ijecs.1931
บรรณานุกรม
Jeerichuda Juntrabut. (2563).เทคโนโลยี Blockchain คืออะไร และมันจะมาเปลี่ยนโลกได้อย่างไร? Retrieved
from https://siamblockchain.com/2017/06/04/blockchain-คืออะไร/
TechTalkThai. (2563). รู้จัก Blockchain เบื้องต้นฉบับคนทั่วไปเข้าใจง่าย อ่านได้ใน 5 นาที. Retrieved from
https://www.techtalkthai.com/introduction-to-blockchain-for-everyone-in-5-minutes/
ริเวอร์พลัส. (2563). 4 ตัวอย่างในการนำเทคโนโลยี Blockchain ไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม. Retrieved from
https://riverplus.com/blockchain-to-industry/
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. (2563). การบูรณาการ Blockchain กับการประยุกต์ใช้ในระดับองค์กร.
Retrieved from https://www.depa.or.th/th/article-view/blockchain-work