Circular Economy

ดวงพร อรัญญพงษ์ไพศาล

บรรณารักษ์ชำนาญการ

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

        ในปัจจุบันนี้ปัญหาที่สำคัญของโลกอย่างหนึ่งนั่นคือปัญหามลพิษด้านสิ่งแวดล้อม ปริมาณขยะที่มีจำนวนมากขึ้น ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลายเนื่องจากประชากรโลกเพิ่มมากขึ้นทำให้แนวโน้มความต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและของเสียที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุดซึ่งสวนทางกับทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากโรงงานอุตสาหกรรมที่มีกระบวนการผลิตไม่มีประสิทธิภาพทำให้สูญเสียทรัพยากรเกินความจำเป็น การนำ Circular Economy หรือระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้จึงเป็นการส่งเสริมการทำธุรกิจโดยใช้วัตถุดิบพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าที่สุด ตั้งแต่ภาคการผลิต การบริโภค ไปจนถึงการจัดการของเสียด้วยกระบวนการใช้ซ้ำ (Reuse) หมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) และการผลิตใหม่ (Re-material) อันจะนำไปสู่ความยั่งยืนของทั้งระบบเศรษฐกิจ ช่วยลดปริมาณขยะและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบนี้คือ การทำให้ต้นทุนสินค้าต่ำลง การได้มาของวัตถุดิบที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดปัญหาการขาดแคลนสินค้า สร้างงานได้มากขึ้นและการสร้างมลภาวะน้อยลงถือเป็นการสร้าง Carbon Footprint ที่น้อยลงจากระบบเศรฐกิจแบบเดิมที่พึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติโดยตรงทำให้เกิดการทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ การเพิ่มขึ้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์​และมีเทน ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนช่วยกระตุ้นให้เกิดกระบวนการนิเวศวิทยาและการพัฒนาอย่างยั่งยืนประกอบไปด้วยองค์ประกอบสองส่วนคือ ผลิตภัณฑ์สำหรับการบริโภคอุปโภคกับผลิตภัณฑ์ในภาคบริการ

eco

ที่มา : https://www.allaroundplastics.com/article/sustainability/2151

 

หลักเศรษฐกิจหมุนเวียนมีแนวคิดดังนี้

  • วัสดุที่สร้างทดแทนใหม่ Renewability การนำวัสดุที่ประกอบด้วยชีวมวลจากสิ่งมีชีวิตหรือที่สามารถสร้าง

ทดแทนได้อย่างต่อเนื่องมาใช้ในการผลิต

  • วัสดุใช้ซ้ำได้หลายครั้งตลอดอายุการใช้งาน Reuse ผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้ซ้ำได้หลายครั้งตลอดอายุการใช้งานของ

ผลิตภัณฑ์

  • วัสดุที่สามารถบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมได้ตลอดอายุการใช้งาน Repair ผลิตภัณฑ์ที่สามารถบำรุงรักษาหรือซ่อมแซม

ได้เมื่อเกิดความเสียหายเพื่อยืดอายุการใช้งาน

  • วัสดุเปลี่ยนหรือทดแทนการใช้วัสดุแบบเดิม Replacement การเปลี่ยนหรือทดแทนการใช้วัสดุแบบเดิมที่ใช้ได้ครั้งเดียวด้วยการใช้วัสดุทางเลือกหรือการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการผลิต
  • วัสดุทนทานที่ใช้งานได้นานขึ้น Durability การผลิตวัสดุที่เพิ่มความคงทนซึ่งจะส่งผลให้เกิดการลดใช้ทรัพยากรหรือลดของเสียจากซากเหลือทิ้ง
  • เพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน Upgrade การเพิ่มประสิทธิภาพของซอฟต์แวร์หรืออุปกรณ์โดยไม่ต้องซื้อผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่
  • ปรับปรุงเป็นของใหม่ Refurbishment การซ่อมแซมสินค้าที่ได้รับความเสียหายหรือเกิดตำหนิโดยส่งคืนกลับไป

ยังผู้ผลิตพร้อมตรวจสอบตามมาตรฐานของโรงงานแล้วกลับมาวางจำหน่ายอีกครั้ง

  • ลดปริมาณวัสดุที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบ Reduced Material Use การลดปริมาณวัสดุที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต การจัดจำหน่าย การกระจายสินค้าและบรรจุภัณฑ์

        สำหรับประเทศไทยรัฐบาลได้นำแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจแบบ “BCG Model” ซึ่งเป็นการบูรณาการแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจใน 3 มิติ ได้แก่ Bio Economy, Circular Economy และ Green Economy มาใช้วางแนวทางในการพัฒนาประเทศ เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า สามารถนำทรัพยากรที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่และปล่อยของเสียออกสู่สภาพแวดล้อมให้น้อยที่สุดตามนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรมและนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการนำ BCG Economy Model มาใช้เพื่อผลักดันให้ประเทศมีการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบก้าวกระโดดบนฐานการพัฒนายั่งยืน โดยหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนประกอบด้วย 6 ข้อดังนี้

  1. การคิดเชิงระบบ (Systems Thinking)ทำความเข้าใจผลกระทบในวงกว้าง ความซับซ้อน ความเชื่อมโยงกันของระบบต่างๆ เกี่ยวกับธุรกิจที่กำลังทำอยู่ เพื่อตัดสินใจรับมือความเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและคาดการณ์ผลกระทบในระยะยาวได้
  2. นวัตกรรม (Innovation)การพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่องโดยคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนตั้งแต่การออกแบบกระบวนการผลิต การวิจัยและพัฒนา ผลิตภัณฑ์/บริการและรูปแบบธุรกิจ
  3. การดูแลรับผิดชอบ (Stewardship)การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมทุกอย่างตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดกระบวนการ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมและการจัดการหลังการใช้งาน
  4. ความร่วมมือ (Collaboration)การสร้างความเชื่อมั่นและไว้วางใจซึ่งกันและกัน การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ วิสัยทัศน์ และการกำหนดวัตถุประสงค์ร่วมกัน
  5. คุณค่าที่เหมาะสม (Value Optimization) การทำให้วัตถุดิบ ส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์เกิดคุณค่าสูงสุด พิจารณาปัจจัยหรือความเสี่ยงที่อาจสร้างผลกระทบหรือความสูญเสียต่อระบบในอนาคต
  6. ความโปร่งใส (Transparency)การเปิดเผยแนวคิด การตัดสินใจหรือกระบวนการทำงานต่างๆ รวมถึงการสื่อสารที่ชัดเจน ถูกต้อง ตรงเวลา ซื่อสัตย์และครบถ้วน       
        

ภาคธุรกิจสามารถปรับรูปแบบการดำเนินงานแบบเส้นตรงมาสู่ Circular Economy ได้โดยเริ่มจากการกำหนดวิสัยทัศน์ของธุรกิจและการนำโมเดลธุรกิจและเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับองค์กร ซึ่งโมเดลธุรกิจมี 5 รูปแบบ ได้แก่

  1. การสนับสนุนวัสดุทดแทน/หมุนเวียน (Circular Supplies) การนำวัสดุจากการรีไซเคิล วัสดุชีวภาพมาใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตเพื่อลดการใช้ทรัพยากรในการผลิตและลดการเกิดของเสียตลอดจนการใช้พลังงานหมุนเวียนในกระบวนการผลิต
  2. การขายสินค้าพร้อมบริการ (Product as a Service) การนำผลิตภัณฑ์มาให้บริการในรูปแบบการเช่าหรือการจ่ายเมื่อใช้งาน แทนการซื้อขาดและการบริการด้านอื่นๆ เพื่อช่วยให้สินค้ามีอายุการใช้งานนานขึ้น
  3. การนำทรัพยากรกลับมาผลิตใหม่ (Resource Recovery) การออกแบบให้มีระบบนำกลับในกระบวนการเพื่อนำวัตถุดิบเหลือใช้ ผลิตภัณฑ์ที่ถูกกำจัดแต่ยังสามารถใช้งานได้กลับเข้าสู่กระบวนการผลิตใหม่เพื่อลดการเหลือทิ้งให้มากที่สุด
  4. การพัฒนานวัตกรรมที่ยืดอายุสินค้า (Product Life Extension) มุ่งเน้นการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ให้มีอายุการใช้งานยาวนาน ผู้ใช้สามารถซ่อมแซม อัพเกรดใหม่ได้ รีไซเคิลได้ง่ายหลังจากที่ไม่ใช้งาน
  5. เศรษฐกิจแบ่งปัน (Sharing Platform) มุ่งเน้นการใช้และแบ่งปันทรัพยากรร่วมกัน เพื่อการใช้ผลิตภัณฑ์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

        เทคโนโลยีที่สนับสนุนโมเดลธุรกิจเพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินธุรกิจไปสู่ Circular Economy ประกอบด้วย 3 เทคโนโลยี ได้แก่

  1. เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technologies) เป็นการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการข้อมูลและการสื่อสาร ถูกนำมาใช้เพื่อช่วยในการติดตามและตรวจสอบข้อมูลการใช้ทรัพยากรในกระบวนการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์และของเสียที่เกิดขึ้น
  2. เทคโนโลยีกายภาพ (Physical Technologies) เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติของวัสดุและพลังงาน เพื่อช่วยในการผลิตสินค้าให้มีความแข็งแรงทนทานและสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ รวมทั้งช่วยลดค่าใช่จ่ายและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  3. เทคโนโลยีชีวภาพ (Biological Technologies) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่างๆ มาใช้กับระบบทางชีวภาพหรือสิ่งมีชีวิต

เทคโนโลยีเหล่านี้สามารถนำมาใช้พัฒนาวัสดุทดแทนที่มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค

 

แนวทางปฏิบัติตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน

  1. การออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความทนทานและมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น ใช้ทรัพยากรน้อยลงแต่คุณภาพยังคงเดิม
  2. การจัดหาทรัพยากร เลือกใช้ทรัพยากรที่มาจาก Renewable Resources ในการผลิตสินค้าและการใช้พลังงานทดแทนในกระบวนการผลิต
  3. การผลิตโดยใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและใช้เครื่องจักรอัตโนมัติเพื่อเพิ่มความแม่นยำในกระบวนการผลิต
  4. การขาย การตลาด และการขนส่ง ส่งเสริมระบบขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ใช้ระบบการเช่าสินค้าและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลรวบรวมข้อมูล
  5. การใช้งานผลิตภัณฑ์ จากการออกแบบที่ทนทานพร้อมการบริการซ่อมบำรุง ทำให้การใช้ผลิตภัณฑ์เกิดประสิทธิภาพยาวนานมากที่สุดตลอดช่วงอายุการใช้งาน
  6. การกำจัดผลิตภัณฑ์ที่สิ้นอายุผ่านกระบวนการจัดการที่เหมาะสม โดยประยุกต์ใช้กระบวนการนำกลับมาใช้ให้เกิดการหมุนเวียนวัตถุดิบจากผลิตภัณฑ์ที่สิ้นอายุให้อยู่ในวงจรการผลิตและบริโภคให้นานที่สุด

ประโยชน์ของระบบเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน

  1. ลดความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทาน
  2. ลดแรงกดดันจากการบริหารต้นทุน
  3. สร้างโอกาสให้กับรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ
  4. สร้างงานและผลักดันเศรษฐกิจ
  5. เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันและสร้างความมั่นคงด้านทรัพยากร
  6. ผลักดันการสร้างนวัตกรรม
  7. ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

จากปัญหาการใช้ทรัพยากรเกินขนาดและปัญหาการจัดการขยะ คณะกรรมาธิการยุโรปจึงได้พิจารณาหาแนวทางการแก้ไขโดยได้นำเสนอแนวคิด “Industry 2020 in the Circular Economy” มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้

  1. ด้านการผลิตในภาคอุตสาหกรรม ต้องออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ง่ายต่อการแปรรูปและนำกลับไปใช้ใหม่ รวมถึงต้องเพิ่มอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ด้วย
  2. ด้านการบริโภค ส่งเสริมให้ผู้บริโภคได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรให้มากขึ้น เช่น การวางแผนพัฒนาฉลากพลังงาน และเร่งออกกฎระเบียบเกี่ยวกับการรีไซเคิลในภาคครัวเรือนให้เข้มงวด ควบคุมราคาสินค้าให้สอดคล้องกับลักษณะทั่วไปของผลิตภัณฑ์
  3. ด้านการจัดการขยะ โดยลดพื้นที่กักเก็บขยะและการเผาทำลายขยะที่ส่งผลต่อมลภาวะทางอากาศ การใช้เทคโนโลยีเปลี่ยน ขยะให้เป็นพลังงาน
  4. กระบวนการเปลี่ยนแปลงขยะให้กลายเป็นวัตถุดิบในการผลิต โดยนำวัตถุดิบบางประเภทที่ถูกใช้ไปแล้วกลับมาแปรรูปและใช้เป็นวัตถุดิบขั้นต้นในกระบวนการผลิตของบางอุตสาหกรรมได้อีก การจัดตั้งตลาดในการซื้อขายวัตถุดิบที่มาจากการรีไซเคิลรวมถึงกำหนดจำนวนครั้งที่สามารถนำวัตถุดิบกลับมาใช้ใหม่และการพัฒนามาตรการควบคุมปริมาณสารเคมีที่ตกค้างอยู่ในวัตถุดิบจากขั้นตอนรีไซเคิล

  5. แนวทางการจัดการขยะจำแนกตามประเภท
  • ขยะจากพลาสติก โดยจัดการปัญหาการจัดการขยะในทะเล การย่อยสลายยากของพลาสติก ลดปริมาณการใช้พลาสติกต่างๆ
  • ขยะจากอาหาร โดยพัฒนาข้อกำหนดการจัดการขยะประเภทอาหารในแต่ละประเทศสมาชิกให้มีความเข้มงวด การปรับปรุงฉลากบอกวันที่หมดอายุบนบรรจุภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • วัตถุดิบจำพวกอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์และแร่ธาตุที่สำคัญ โดยให้การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาการรีไซเคิลวัสดุจำพวกอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์พร้อมทั้งพัฒนาข้อบังคับของอายุการใช้งานวัสดุประเภทนี้ให้เข้มงวดมากขึ้น
  • ขยะที่เกิดจากการรื้อถอน ทำลายและสร้างสิ่งก่อสร้าง เสนอปรับปรุงข้อตกลงเรื่องอายุการใช้งานของวัสดุก่อสร้างให้มีความเข้มงวดมากขึ้น และให้สอดคล้องกับกฏหมายในทุกประเทศสมาชิก รวมถึงทำหน้าที่ตรวจคุณภาพด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติของสิ่งก่อสร้างต่างๆ ด้วย
  • วัตถุดิบทางชีวภาพ มีมาตรการในการให้คำแนะนำและเผยแพร่วิธีที่ถูกต้องในการแปรรูปวัตถุดิบทางชีวภาพพร้อมทั้งปรับปรุงข้อบังคับเกี่ยวกับการใช้วัตถุดิบทางชีวภาพภายในประเทศสมาชิก

แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนถือเป็นนวัตกรรมที่ปฏิวัติรูปแบบการผลิตและการบริโภคครั้งใหญ่ของโลก ทำให้ทรัพยากรบนโลกถูกนำไปใช้หมุนเวียนจนเกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งการจะทำให้ผู้ประกอบการตระหนักในแนวคิดนี้และนำไปปรับใช้กับการดำเนินธุรกิจนั้นต้องเริ่มต้นจากจิตสำนึกของผู้บริหารองค์กรเผยแพร่ไปยังบุคลากรทุกระดับในองค์กรให้มีเป้าหมายร่วมกันในการขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนให้เกิดขึ้นจริง ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลกใบนี้ด้วย Circular Economy

สามารถดูแหล่งข้อมูล online เพิ่มเติมได้ที่

  1. P. Dewick, J. Pineda and R. Ramlogan, "Hand in Glove? Processes of Formalization and the Circular Economy Post-COVID-19," in IEEE Engineering Management Review, vol. 48, no. 3, pp. 176-183, 1 thirdquarter,Sept. 2020,

DOI: 10.1109/EMR.2020.3014014

  1. M. Montakhabi, S. van der Graaf, P. Ballon and M. A. Mustafa, "Sharing Beyond Peer-to-peer Trading: Collaborative (Open) Business Models as a Pathway to Smart Circular Economy in Electricity Markets," 2020 16th International Conference on Distributed Computing in Sensor Systems (DCOSS), Marina del Rey, CA, USA, 2020, pp. 482-489,

DOI:  10.1109/DCOSS49796.2020.00081

  1. Patwa N, Seetharaman A, Arora A, Agrawal R, Mandalia H. Circular Economy: Bridging the Gap in Sustainable Manufacturing. Journal of Developing Areas. 2021;55(1):151-166.

Doi :10.1353/jda.2021.0012

  1. R. Rocca, P. Rosa, C. Sassanelli, L. Fumagalli and S. Terzi, "Industry 4.0 solutions supporting Circular Economy," 2020 IEEE International Conference on Engineering, Technology and Innovation (ICE/ITMC), Cardiff, United Kingdom, 2020, pp. 1-8,

Doi :  10.1109/ICE/ITMC49519.2020.9198517

  1. Karen Delchet‐Cochet. 2020. Circular Economy: From Waste Reduction to Value Creation, Volume 3.

https://onlinelibrary.wiley.com/doi/book/10.1002/9781119777076

  1. Blomsma, F., Tennant, M., 2020. Circular economy: preserving materials or products? Introducing the Resource States framework in Resources. Conserv. Recycl. 156 https://doi.org/10.1016/j.resconrec.2020.104698.
  2. Marvin Henry. The battle of the buzzwords: A comparative review of the circular economy and the sharing economy concepts. Environmental Innovation and Societal Transitions. 2021;38:1-21.
  3. A. G. Mausbach, F. Safa, D. Harrow and C. Diels, "Ecofitting Circular Economy: An alternative approach to market, consumption, and design towards zero emissions," 2020 Fifteenth International Conference on Ecological Vehicles and Renewable Energies (EVER), Monte-Carlo, Monaco, 2020, pp. 1-9,

Doi : 10.1109/EVER48776.2020.9242964

  1. Tsan-Ming Choi ,Ata Allah Taleizadeh &Xiaohang Yue. Game theory applications in production research in the sharing and circular economy era. INTERNATIONAL JOURNAL OF PRODUCTION RESEARCH. 2020,58(21) : 6660-6669

https://doi.org/10.1080/00207543.2019.1684593

  1. M. Montakhabi, S. van der Graaf, P. Ballon and M. A. Mustafa, "Sharing Beyond Peer-to-peer Trading: Collaborative (Open) Business Models as a Pathway to Smart Circular Economy in Electricity Markets," 2020 16th International Conference on Distributed Computing in Sensor Systems (DCOSS), Marina del Rey, CA, USA, 2020, pp. 482-489,

Doi : 10.1109/DCOSS49796.2020.00081

  1. M. Riesener, C. Dölle, C. Mattern and J. Kreß, "Circular Economy: Challenges and Potentials for the Manufacturing Industry by Digital Transformation," 2019 IEEE International Symposium on Innovation and Entrepreneurship (TEMS-ISIE), Hangzhou, China, 2019, pp. 1-7.

Do i: 10.1109/TEMS-ISIE46312.2019.9074421

  1. Lin BC. Sustainable Growth: A Circular Economy Perspective. Journal of Economic Issues (Taylor & Francis Ltd). 2020;54(2):465-471.

Doi : 10.1080/00213624.2020.1752542

  1. E. Guevara-Rivera, R. Osorno-Hinojosa and V. H. Zaldívar-Carrillo, "A Simulation Methodology for Circular Economy Implementation," 2020 10th International Conference on Advanced Computer Information Technologies (ACIT), Deggendorf, Germany, 2020, pp. 43-48

Doi : 10.1109/ACIT49673.2020.9208839

  1. Govindan K, Hasanagic M. A systematic review on drivers, barriers, and practices towards circular economy: a supply chain perspective. International Journal of Production Research. 2018;56(1/2):278-311. Doi : 10.1080/00207543.2017.1402141
  2. M. T. Bockholt, J. H. Kristensen, B. V. Wæhrens and S. Evans, "Learning from the Nature: Enabling the Transition Towards Circular Economy Through Biomimicry," 2019 IEEE International Conference on Industrial Engineering and Engineering Management (IEEM), Macao, Macao, 2019, pp. 870-875,

doi : 10.1109/IEEM44572.2019.8978540

  1. A. Miaoudakis et al., "Pairing a Circular Economy and the 5G-Enabled Internet of Things: Creating a Class of ?Looping Smart Assets?," in IEEE Vehicular Technology Magazine, vol. 15, no. 3, pp. 20-31, Sept. 2020.

doi: 10.1109/MVT.2020.2991788

  1. Esposito M, Tse T, Soufani K. Introducing a Circular Economy: New Thinking with New Managerial and Policy Implications. California Management Review. 2018;60(3):5-19.

doi:10.1177/0008125618764691

  1. Liaskos C, Tsioliaridou A, Ioannidis S. Organizing Network Management Logic with Circular Economy Principles. 2019 15th International Conference on Distributed Computing in Sensor Systems (DCOSS), Distributed Computing in Sensor Systems (DCOSS), 2019 15th International Conference on. May 2019:451-456.

doi:10.1109/DCOSS.2019.00090

  1. Esposito M, Tse T, Soufani K. Introducing a Circular Economy: New Thinking with New Managerial and Policy Implications. California Management Review. 2018;60(3):5-19.

https://doi.org/10.1177/0008125618764691

  1. Unruh G. Circular Economy, 3D Printing, and the Biosphere Rules. California Management Review. 2018;60(3):95-111.

https://doi.org/10.1177/0008125618759684

  1. Savini F, Giezen M. Responsibility as a field: The circular economy of water, waste, and energy. Environment and Planning C: Politics and Space. 2020;38(5):866-884.

https://doi.org/10.1177/2399654420907622

  1. Lehtokunnas T, Mattila M, Närvänen E, Mesiranta N. Towards a circular economy in food consumption: Food waste reduction practices as ethical work. Journal of Consumer Culture. June 2020. https://doi.org/10.1177/1469540520926252
  2. Kunz N, Mayers K, Van Wassenhove LN. Stakeholder Views on Extended Producer Responsibility and the Circular Economy. California Management Review. 2018;60(3):45-70.

https://doi.org/10.1177/0008125617752694

  1. Dawson L. ‘Our Waste, our Resources; A Strategy for England’– Switching to a circular economy through the use of extended producer responsibility. Environmental Law Review. 2019;21(3):210-218. https://doi.org/10.1177/1461452919851943
  2. Esposito M, Tse T, Soufani K. Introducing a Circular Economy: New Thinking with New Managerial and Policy Implications. California Management Review. 2018;60(3):5-19.

https://doi.org/10.1177/0008125618764691

  1. Garmulewicz A, Holweg M, Veldhuis H, Yang A. Disruptive Technology as an Enabler of the Circular Economy: What Potential Does 3D Printing Hold? California Management Review. 2018;60(3):112-132. https://doi.org/10.1177/0008125617752695
  2. Ramakrishna S, Ngowi A, Jager HD, Awuzie BO. Emerging Industrial Revolution: Symbiosis of Industry 4.0 and Circular Economy: The Role of Universities. Science, Technology and Society. 2020;25(3):505-525. https://doi.org/10.1177/0971721820912918
  1. Chen W-M, Kim H. Circular economy and energy transition: A nexus focusing on the non-energy use of fuels. Energy & Environment. 2019;30(4):586-600.

https://doi.org/10.1177/0958305X19845759

  1. Kalverkamp M, Raabe T. Automotive Remanufacturing in the Circular Economy in Europe: Marketing System Challenges. Journal of Macromarketing. 2018;38(1):112-130.

https://doi.org/10.1177/0276146717739066

  1. Hopkinson P, Zils M, Hawkins P, Roper S. Managing a Complex Global Circular Economy Business Model: Opportunities and Challenges. California Management Review. 2018;60(3):71-94. https://doi.org/10.1177/0008125618764692
  2. สถานการณ์พลังงานของประเทศและแนวทางการจัดการเพื่อลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก. 2019.

https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/210858

  1. Financial returns of implementing a circular economy: A firm’s perspective. 2019.

  https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/jtir/article/view/205143

  1. Valavanidis, Athanasios. (2018). Concept and Practice of the Circular Economy.

https://www.researchgate.net/publication/326625684_Concept_and_Practice_of_the_Circular_Economy

  1. How to globalize the circular economy. 2019.

https://www.nature.com/articles/d41586-019-00017-z?from=groupmessage&isappinstalled=0

  1. Circular economy indicators: What do they measure?. Resources, Conservation & Recycling. 2019:146: 452–461

https://doi.org/10.1016/j.resconrec.2019.03.045

แหล่งอ้างอิง 

ALL AROUND PLASTIC. 2020. มาตรฐานเศรษฐกิจหมุนเวียน แนวปฎิบัติเพื่อความยั่งยืนของทุกองค์กร สืบค้นจาก

https://www.allaroundplastics.com/

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย. 2563. ส่องเทรนด์โลก: ปรับโมเดลธุรกิจสู่ Circular Economy...จุดเริ่มต้นธุรกิจยั่งยืน สืบค้นจาก

https://www.ryt9.com/s/exim/3102630

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). เศรษฐกิจหมุนเวียนคืออะไร สืบค้นจากhttp://carbonmarket.tgo.or.th/index.php?lang=TH&mod=Y2VfaXM=

 ฐิติญาณ สนธิเกษตริน. 2020. Circular Economy – เศรษฐกิจหมุนเวียนทางออกของโลกหลัง โควิด-19 สืบค้นจาก

https://web.tcdc.or.th/th/Articles/Detail/CircularEconomy

กองสหภาพยุโรป กรมยุโรป. แนวคิดเกี่ยวกับเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ของสหภาพยุโรป สืบค้นจาก

https://ec.europa.eu/environment/circular-economy/index_en.htm


 
 
 
1xbet casino siteleri bedava bahis kaçak bahis superbetin yeni giriş casino siteleri