“ปลิงตรีศูล”  ปลิงชนิดใหม่ของโลก

 

ผู้เรียบเรียง

ชนารัตน์ บุณยรัตพันธุ์
นักเอกสารสนเทศปฏิบัติการ
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 Info Pling

          ในฐานะที่สำนักหอสมุด เป็นแหล่งศูนย์กลางของข้อมูลสารสนเทศและถือเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเผยแพร่ข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์นั้น ในบทความสกัดสารสนเทศฉบับนี้ จึงเป็นการคัดเลือกผลงานการวิจัยหรือค้นพบของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่มีการอัพเดทไว้ ผ่านการติดตามจากทางหน้าเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เท่านั้น โดยนำประเด็นนี้มาเป็นแนวทางในการสืบค้นแหล่งข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งในสำนักหอสมุดและจากแหล่งอื่นที่น่าสนใจ ซึ่งเห็นว่าเป็นประโยชน์ เพื่อนำมาชี้แนะแหล่งสืบค้นเพิ่มเติมในส่วนท้ายสุดรวมไว้เป็นที่เดียวให้เข้าถึงง่ายขึ้น โดยเรื่อง “ปลิงตรีศูล” สรุปได้ดังนี้

 

          ทีมนักวิจัยนิสิตปริญญาเอก และอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับสวนสัตว์นครราชสีมา อันได้แก่ นางสาวกฤติยา เชียงกุล นิสิตปริญญาเอก  ดร.ปรเมศร์ ตรีวลัยรัตน์  รศ.ดร.วัชริยา ภูรีวิโรจน์กุล ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  และนายกีรติ กันยา หัวหน้าฝ่ายอนุรักษ์วิจัย และสุขภาพสัตว์ สวนสัตว์นครราชสีมา ได้พบปลิงชนิดใหม่ของโลก “ปลิงตรีศูล” ในเต่าน้ำบอร์เนียว นับเป็นปลิงชนิดใหม่ของโลกชนิดที่ 3 ที่ค้นพบโดยทีมนักวิจัยดังกล่าว โดยค้นพบในพื้นที่เลี้ยงของสวนสัตว์นครราชสีมา ตำบลชัยมงคล อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งสิ่งที่ได้จากการค้นพบนี้คือ ทำให้เห็นถึงความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของสิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้

          Placobdelloides tridens มีชื่อสามัญว่า “Trisun leech” หรือชื่อไทยคือ “ปลิงตรีศูล” เป็นปลิงชนิดใหม่ที่พบเกาะอยู่กับเต่าน้ำจืดหายาก ชนิดที่ใกล้สูญพันธุ์อย่าง เต่าน้ำบอร์เนียว (Orlitia borneensis) โดยปลิงจะดูดเลือดและกินเนื้อเยื่ออ่อน (soft tissues) ด้วยงวงที่เหมือนเข็ม (proboscis) จากเต่าเป็นอาหาร มีลักษณะสำคัญคือ มีขนาดเล็กยาวประมาณ 21 มิลลิเมตร ตัวใส ลำตัวเป็นทรงลูกแพร์ มีเม็ดสีน้ำตาล เหลือง และเขียวเข้มกระจายทางด้านหลัง ไม่มีเส้นแถบกลางหลังเหมือนปลิงชนิดอื่น มีตา 1 คู่ อยู่บริเวณปล้องที่ 3 ลักษณะภายในที่เด่นชัดของปลิงตรีศูลคือ มีต่อมน้ำลายรูปเมล็ดถั่วบริเวณปล้องที่ 14-16 ถุงเก็บอสุจิ (spermatheca) รูปรักบี้บริเวณปล้องที่ 20-25 และแขนงกระเพาะ (crop ceca) ทั้งเจ็ดแขนงบริเวณปล้องที่ 23-66 ที่มีปลายแตกแขนงเป็นสามแฉกเหมือนตรีศูล จึงเป็นที่มาของชื่อปลิงชนิดนี้

          วิธีการที่ทำให้เห็นว่า ปลิงตรีศูล นี้ แตกต่างจากปลิงชนิดอื่น ๆ คือ การแยกชนิดของปลิงโดยใช้เทคนิคทางอณูชีววิทยา โดยเปรียบเทียบยีน COI และ ND1 โดย phylogenetic tree ของยีน COI-ND1 ระบุว่า ปลิงตรีศูลมีลักษณะแตกต่างจากปลิง Placobdelloides ชนิดอื่น ๆ ในประเทศไทย ทั้งปลิงโล่สยาม (P. siamensis) และปลิงอาจารย์ประไพสิริ (P. sirikanchanae) ซึ่งลักษณะการขยายพันธุ์ของปลิงนั้น เนื่องจากปลิงเป็นปรสิตที่สามารถพบได้เสมอในเต่าแทบทุกชนิด อย่างไรก็ตามจากการทดลองในห้องปฏิบัติการโดยใช้ปลิงโล่สยาม (P. siamensis) เป็นตัวแทนในการศึกษา พบว่าปลิง 1 ตัว สามารถวางไข่ได้ประมาณ 272 ฟอง ตัวอ่อนสามารถเข้าสู่ระยะเต็มวัยในเวลา 3 สัปดาห์ จึงสามารถแพร่พันธุ์ได้รวดเร็ว โดยวัฏจักรชีวิตใช้ระยะเวลาเพียง 33-41 วัน ดังนั้นข้อควรระวัง ในการปล่อยเต่าในแหล่งน้ำควรระวังผลกระทบที่เกิดจากการนำปลิงไปแพร่ให้กับเต่าที่มีอยู่เดิมในแหล่งน้ำด้วย หากปลิงมีประมาณที่สูงมากสามารถส่งผลต่อสุขภาพของเต่า และทำให้เต่าตายได้ในที่สุด

 

**สรุป Timeline ที่น่าสนใจสำหรับการค้นพบปลิงของนักวิจัยทีมนี้ มีดังนี้

  • พ.ศ. 2562 ทีมนักวิจัย ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ค้นพบปลิงอาจารย์ประไพสิริ Placobdelloides sirikanchanae เกาะอยู่กับเต่าน้ำจืด (โดยเฉพาะกลุ่มเต่าใบไม้) เช่น เต่าใบไม้ท้องดำมลายู (Cyclemys enigmatica) และเต่าใบไม้เอเชีย (C. dentata) ในร่องยางตามสวนยางในตำบลสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
  • พ.ศ. 2563 พบปลิงกินหอยบางเขน Batracobdelloides bangkhenensis เป็นปลิงกินหอยชนิดใหม่ที่พบครั้งแรกในประเทศไทย พบเกาะอยู่กับหอยฝาเดียวน้ำจืดหลายชนิดค้นพบครั้งแรกในบ่อน้ำ สวน 100 ปี หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
  • พ.ศ.2564 พบปลิงตรีศูล Placobdelloides tridens เป็นปลิงชนิดใหม่ของโลก โดยพบเกาะอยู่กับเต่าน้ำจืดหายาก ชนิดที่ใกล้สูญพันธุ์คือ เต่าน้ำบอร์เนียว (Orlitia borneensis) ที่อาศัยในพื้นที่เลี้ยงของสวนสัตว์นครราชสีมา

 

แหล่งที่มา : เพจ Kasetsart University วันที่ 8 มีนาคม 2564

                   https://www.prachachat.net/education/news-626179

------------------------

>> ข้อมูลแหล่งอื่นเพิ่มเติมเกี่ยวกับ “ปลิง” ที่น่าสนใจ ได้แก่

- รสรินทร์ สุวรรณชาตรี. 2560. ปลิงทะเล..สัตว์โลกแห่งพื้นใต้น้ำ

  http://www.sklonline.com/web/index.php/2016-09-28-04-42-50/23-2016-10-05-06-30-32/49-2017-08-08-06-40-16

- ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2563. ปลิงควายชนิดใหม่ของโลกจากประเทศไทย  เข้าถึงได้จาก: https://www.facebook.com/1567645530182368/posts/2856026691344239/

 

 

>> ข้อมูลจากแหล่งทรัพยากรสารสนเทศในสำนักหอสมุดที่น่าสนใจ (โดยผลลัพธ์การสืบค้นงานวิจัยเกี่ยวกับ “ปลิง” ผ่าน KU Library Catalog มีจำนวน 24 รายการ และผ่าน One Search มีจำนวน 23 รายการ [เมื่อสืบค้นด้วย Title แต่หากสืบค้นด้วย Keyword จะพบผลลัพธ์ที่มากกว่าถึง 113 รายการ แต่เมื่อพิจารณาความเกี่ยวข้องแล้วพบว่ามีไม่เท่า]) 

บทความ :

- เรื่อง “ความสำคัญของปลิงใส (monogenea) ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ” / 2549 / ธีรวุฒิ เลิศสุทธิชวาล /    Fancy Fish Thailand 6, 71 (ก.ย.-ต.ค. 2549) : 63-68

หนังสือ :

- ชนิดและการกระจายของปรสิตปลิงใสในปลาไซพรินิดบางชนิด / นิตยา เลาหะจินดา ... [และคนอื่นๆ] /

  2540 / สห ชั้น3, สิ่งพิมพ์มก. / Call no. QL391.M6 .ช15

 

 

วิทยานิพนธ์ :

- การศึกษาชนิดและคุณค่าทางอาหารของปลิงทะเลของไทย / มัทนา แสงจินดาวงษ์ / 2516 /

  วิทยานิพนธ์. วท.ม. (สัตววิทยา)  เข้าถึง Link Full-text ได้จาก:

  https://www-lib-ku-ac-th.portal.lib.ku.ac.th/KUthesis/2516/B10058746/index.html

 

 


 
 
 
1xbet casino siteleri bedava bahis kaçak bahis superbetin yeni giriş casino siteleri