แหนแดงพืชน้ำมหัศจรรย์
(Azolla)
ผู้เรียบเรียง
กัณฐิกา เดชแสง
บรรณารักษ์ปฏิบัติการ ฝ่ายบริการ
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
แหนแดง(Azolla) พืชตระกูลเฟิร์นที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในแหล่งน้ำเขตร้อนและเขตอบอุ่นอีกทั้งยังสามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว มีการดำรงชีวิตแบบพึ่งพาอาศัยกันกับสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ในประเทศไทยมีอยู่เพียงชนิดเดียว คือ อะซอลล่า พินนาต้า (Azolla pinnata) แหนแดงมีคุณสมบัติตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้ มีอัตราการตรึงไนโตรเจนสูงถึงวันละ 300-600 กรัมต่อไร่ เนื่องจากแหนแดงสามารถสลายตัวได้ง่ายและปลดปล่อยไนโตรเจนและธาตุอาหารของพืชได้เร็ว เกษตรกรจึงนิยมนำมาใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในการปลูกข้าวเพื่อช่วยลดต้นทุนและทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีอีกทั้งยังช่วยรักษาสภาพดินอีกด้วย
ปุ๋ยพืชสดจากแหนแดงสามารถให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น กรมวิชาการเกษตรได้พัฒนาและขยายพันธุ์แหนแดงไมโครฟิลล่า (Microphylla) ตั้งแต่ปี2520 จนถึงปัจจุบันสามารถเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์แหนแดงได้สำเร็จ พบว่าแหนแดงที่ใช้เป็นปุ๋ยสดในนาข้าวสามารถเพิ่มผลผลิตข้าว เฉลี่ย 160 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งใกล้เคียงกับการใช้ปุ๋ยไนโตรเจน อัตรา 6-12 กิโลกรัมต่อไร่ และปุ๋ยยูเรีย อัตรา 4.8 กิโลกรัมต่อไร่ อีกทั้งยังสามารถลดระยะเวลากล้าจาก 40 วัน เหลือเพียง 30 วัน
นอกจากการนำไปเป็นปุ๋ยใส่นาข้าวแล้ว แหนแดงยังสามารถนำไปใช้ในการปลูกผักได้ด้วย เนื่องด้วยคุณสมบัติของแหนแดงที่มีไนโตรเจนสูงสลายตัวได้ง่ายจึงมีการนำไปใช้ในการปลูกผักชนิดต่างๆ โดยใช้แหนแดงจำนวน1 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ปลูก 2 ตารางเมตร งานวิจัยพบว่าแหนแดง 1 กิโลกรัมให้แร่ธาตุได้เทียบเท่ากับปุ๋ยยูเรีย 100 กรัม กรมวิชาการเกษตรยังได้นำแหนแดงไปต่อยอด โดยการนำไปตากแห้ง พบว่าคุณสมบัติยังคงอยู่ในปริมาณเท่าเดิมกับแหนแดงสด เพราะแหนแดงประกอบด้วยในโตรเจนสูง เมื่อเทียบกับปุ๋ยยูเรีย 10-12 กิโลกรัม เกษตรกรสามารถใช้แหนแดงแห้งเพียง 6 กิโลกรัมก็เพียงพอสำหรับการปลูกพืชแล้ว แหนแดงยังจัดเป็นพืชทางเลือกให้กับเกษตรกรนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์ แหนแดงมีส่วนประกอบของโปรตีนมากถึง 30 เปอร์เซ็นต์ และมีไขมัน กรดอะมิโนที่จำเป็น รวมถึงแร่ธาตุต่างๆ จึงเหมาะแก่การนำไปผสมกับอาหารสัตว์ จัดว่าเป็นแหล่งโปรตีนชั้นดีสำหรับการเลี้ยงสัตว์ เช่น ปลา วัว ควาย เป็ด ไก่ เป็นต้น โดยเฉพาะในหน้าแล้งที่ขาดแคลนหญ้า อีกทั้งยังราคาต่ำกว่าราคาอาหารสัตว์ในท้องตลาด
อ้างอิงข้อมูลจาก
นวลศรี โชตินันทน์. (2564). “แหนแดง” พืชน้ำมหัศจรรย์ เปรียบเหมือนโรงงานผลิตปุ๋ย ใช้ปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์ ทำเกษตรอินทรีย์ ช่วยลดต้นทุน. สืบค้นจาก https://www.technologychaoban.com/agricultural-technology/article_178311
ภาษิตา ทุ่นศิริ, ศิริรัตน์ แจ้งกรณ์, กานดา ปุ่มสิน, ฉันทนา เคนศรี, & พันธ์ทิวา กระจาย. (2563). “แหนแดง”....แหล่งไนโตรเจนในแปลงผัก. วารสารสิ่งแวดล้อม, 24(4), 1-8. สืบค้นจาก http://www.ej.eric.chula.ac.th/content/6136/287
ศิริลักษณ์ แก้วสุรลิขิต. (2564). แหนแดง โรงงานผลิตปุ๋ยชีวภาพไนโตรเจนลอยน้ำ. สืบค้นจาก https://www.doa.go.th/ksp/attachment.php?aid=2984
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
ปริศนา อัครพงษ์สวัสดิ์. (2560). ประสิทธิภาพจุลินทรีย์อีเอ็มร่วมกับมูลสัตว์ต่อผลผลิตแหนแดง. วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา, 1(1), 86-93.
มนตรี ปานตู และคนอื่นๆ. (2559). การใช้แหนแดง (Azolla microphylla) ร่วมกับปุ๋ยไนโตรเจนต่อการเจริญเติบโตและปริมาณธาตุอาหารในใบปาล์มน้ำมัน. วารสารวิชาการเกษตร, 34(3), 286-298.
ศิราภรณ์ ชื่นบาล, & ฐปน ชื่นบาล. (2562). การศึกษาการเจริญ การสะสม และการปลดปล่อยธาตุอาหารของแหนแดงที่เลี้ยงด้วยน้ำทิ้งจากฟาร์มเลี้ยงสุกร. วารสาร มทร. อีสาน ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 12(1), 86-96.
Anjana, V. J., & Lekeshmanaswamy, M. (2019). Biomass increase and preliminary phytochemical screening of azolla microphylla kaulf grown under four soil nutrient medium. Journal of Advanced Scientific Research, 10(4), 275-278.
Gupta, S. K., Gupta, S., Lone, S. A., Kumar, N., Shinde, K. P., & Panigrahy, K. (2016). Importance and production of azolla fodder for feeding of lactating animals. , 31(4), 292-295.
Maswada, H. F., Abd El-Razek, U. A., El-Sheshtawy, A.-N. A., & Mazrou, Y. S. A. (2021). Effect of Azolla filiculoides on Growth, Physiological and Yield Attributes of Maize Grown under Water and Nitrogen Deficiencies. Journal of Plant Growth Regulation, 40(2), 558-573.
Miranda, A. F., Biswas, B., Ramkumar, N., Singh, R., Kumar, J., James, A., . . . Mouradov, A. (2016). Aquatic plant Azolla as the universal feedstock for biofuel production. Biotechnology for Biofuels, 9, 1-17.
Wasuwan, R. (2008). Classification and nitrogen fixation efficiency analysis of azolla species in rice fields. (Master Thesis). Suranaree University of Technology.