อาหารแห่งนวัตกรรม
(Novel Foods)
ผู้เรียบเรียง
ปิยะธิดา ปรางค์โคกกรวด
นักเอกสารสนเทศ ฝ่ายบริการ
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
จากสถานการณ์แพร่ระบาดของ Covid – 19 ที่เกิดขึ้น และแนวโน้มการเกิดโรคใหม่ในอนาคต การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ภาวะเครียดทั้งจากสภาพสังคม และเศรษฐกิจ ทำให้ผู้บริโภคคำนึงถึงในเรื่องของสุขภาพ ก่อให้เกิดการสร้างแนวคิดของผู้บริโภคยุคปัจจุบันบนมาตรฐานใหม่ (New Normal) ที่ต้องการอาหารคุณภาพดี มีโภชนาการสูงและปลอดภัย ดังนั้น อาหารแห่งอนาคต (Future Food) จึงได้รับความสนใจจากกลุ่มผู้ผลิตและผู้บริโภคมากขึ้น โดยหนึ่งในเทรนด์อาหารแห่งอนาคตที่กำลังมาแรงมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นทั่วโลก คือ อาหารแห่งนวัตกรรม (Novel Food)
อาหารแห่งนวัตกรรม (Novel Food) คืออาหารชนิดใหม่ที่ได้จากพืช หรือสัตว์ โดยไม่ได้ใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบดั้งเดิม หรือไม่เคยมีมาก่อนในการผลิต แต่จะเป็นอาหารที่ได้รับการปรับแต่งโดยผ่านกระบวนการผลิตแบบใหม่หรือใช้เป็นอาหารสำหรับผู้บริโภคบางกลุ่มเท่านั้น และในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับในสังคมโลกมากขึ้น โดยเฉพาะในสหภาพยุโรป (EU) ได้มีการปรับระเบียบอาหารใหม่ในปี 2561 เพื่อรับกับการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหาร โดยมีอาหารที่ต้องจับตามอง ได้แก่ ผงเห็ดเสริมด้วย Vitamin D2 และ Miracle berries อบแห้ง ซึ่งเป็นผลไม้ที่สามารถเปลี่ยนรสเปรี้ยวให้เป็นรสหวาน โดยส่วนใหญ่ไม่ได้มาจากผู้ผลิตในยุโรปเพียงที่เดียว รวมไปถึงอเมริกาและทวีปเอเชีย
จากบทความของ EFSA Journal (Vol. 19 Issue 4, p1-19. 19p) เกี่ยวกับงานวิจัยผงเห็ดเสริมด้วย Vitamin D2 ที่เป็นอาหารใหม่ (NF) ตามระเบียบ (EU) 2015/2283. ที่ได้รับการฉายรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) เพื่อกระตุ้นการเปลี่ยน Vitamin D2 (ergosterol) เป็นวิตามิน D2 (ergocalciferol) ที่มีความปลอดภัยในอาหารและเครื่องดื่มที่หลากหลาย ยกเว้นอาหารเสริมและอาหารเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์พิเศษและปลอดภัยสำหรับผู้ที่มีอายุมากกว่า 1 ปี หรือ ปกติเค้กทำจากแป้งสาลี แต่เปลี่ยนมาทำเค้กจากแป้งข้าวจ้าว ซึ่งถือเป็นเรื่องแปลกใหม่ ในปัจจุบันเกษตรกรหันมาปลูกข้าวออร์แกนิกมากขึ้น และหากนำมาแปรูปเพื่อใช้สำหรับทำเค้ก ก็จะตอบตอบโจทก์ความต้องการของลูกค้าได้ หรือการใช้นาโนเทคโนโลยี อาทิ ผลิตภัณฑ์นมที่ใช้สารสเตอรอลจากพืชเป็นส่วนประกอบ เป็นต้น
ด้วยเหตุนี้ อาหารแห่งนวัตกรรม (Novel Foods) ถือเป็นโอกาสของผู้ประกอบการที่จะผลิตเพื่อส่งออกหรือนำเข้ามาจำหน่าย แต่เนื่องจากอาหารประเภทนี้เป็นของใหม่ อาจยังมีความเสี่ยงทางด้านความปลอดภัยในการบริโภค ดังนั้น จำเป็นต้องผ่านการประเมินความปลอดภัยตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 376) พ.ศ. 2559 เรื่อง อาหารใหม่ (Novel food)
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
"คู่มือสาหรับประชาชน - สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา." 2021, สืบค้นจาก http://bitly.ws/hud7 (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 376) พ.ศ. 2559 เรื่อง อาหารใหม่ (Novel food)).
"เปิดลิสต์ Top 10 เทรนด์สตาร์ทอัพมาแรงรับปี 2022 ที่ต้องรู้ก่อนใคร." 2021, สืบค้นจาก https://www.smethailandclub.com/startups-7360-id.html.
ทองอ่อน, พ. (2562). นวัตกรรมใยอาหารทดแทนครีมเทียมปราศจากน้ำตาลรสชาติที่เหมือนเดิม--แต่เพิ่มเติมเพื่อสุขภาพ [บทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ]. Food Focus Thailand 14, 165, 48-49.
"อาหารใหม่ทำไมถึงติด Trend." 2021, สืบค้นจาก https://www.bangkokbanksme.com/en/novel-food-innovation-world-food-trend (นวัตกรรม Novel Food เทรนด์อาหารโลกยั่งยืน).
Today, B. (2021). เปิด 6 เมกะเทรนด์ THAIFEX 2020 โชว์ศักยภาพอาหารไทยสู่ครัวโลก. สืบค้นจาก https://www.businesstoday.co/business/29/09/2020/51148/
แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
Coppens, Patrick. "The Revision of the Novel Foods Regulation Forget About Cloning and Nanotechnology, Let's Focus on the Scope." Article. European Food & Feed Law Review 8, no. 4 (08// 2013): 238-46.
Haber, Bernd, and Sebastian Aurich. "The Union List of Authorised Novel Foods." Article. European Food & Feed Law Review 13, no. 5 (09// 2018): 403-10.
Knezevic, Nada, Slavka Grbavac, Marina Palfi, Marija Badanjak Sabolovic, and Suzana Rimac Brncic. "Novel Food Legislation and Consumer Acceptance - Importance for the Food Industry." Emirates Journal of Food and Agriculture 33, no. 2 (02/01/ 2021): 93.
Mota, M., and J. Empis. "Novel Foods and Food Ingredients: What Is the Mission of Scientists and Technologists?" (Periodical), 2000, 161. EBSCOhost.
Turck, Dominique, Jacqueline Castenmiller, Stefaan De Henauw, Karen Ildico Hirsch‐Ernst, John Kearney, Alexandre Maciuk, Inge Mangelsdorf, et al. "Safety of Vitamin D2 Mushroom Powder (Agaricus Bisporus) as a Novel Food Pursuant to Regulation (Eu) 2015/2283." Article. EFSA Journal 19, no. 4 (2021): 1-19.