Agriculture Technology (AgTech)
ผู้เรียบเรียง
ปิยะธิดา ปรางค์โคกกรวด
นักเอกสารสนเทศ ฝ่ายบริการ
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Agriculture Technology (AgTech) เทคโนโลยีทางด้านการเกษตรและอาหารสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยเข้ามาช่วยพัฒนาคุณภาพของผลผลิตและอำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกร ช่วยทำให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจในพืชเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงเทคโนโลยีจะทำให้คนทั่วไปสามารถปลูกพืชผักไว้รับประทานในที่อยู่อาศัยได้เอง การทำเกษตรยุคใหม่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ถูกนำมาพัฒนาวิถีการทำการเกษตร สามารถช่วยอำนวยความสะดวกให้กับชีวิตของเกษตรกรยุคใหม่ (Smart Farmer) ในทุกด้าน รวมไปถึงการช่วยแก้ปัญหาพื้นที่การเกษตรที่ลดลงเพราะการขยายตัวของสังคมเมือง สภาพของดินฟ้าอากาศที่เปลี่ยนแปลง เกษตรกรที่มีจำนวนลดน้อยลงและผลกระทบจากภัยพิบัติ ส่งผลให้ยังมีผลผลิตเพียงพอต่อความต้องการบริโภคได้
Trend “AGTECH” ที่น่าสนใจทาง “การเกษตร
- การเกษตรดิจิทัล คือการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยบริหารจัดการในทุกขั้นตอน เช่น การเก็บข้อมูลสภาพแวดล้อมร่วมกับการวิเคราะห์ของ AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก และคาดการณ์ผลผลิตได้อย่างแม่นยำ
- บทบาทที่สำคัญช่วยให้เกษตรกรประหยัดเวลา แรงงาน แต่ยังสามารถสร้างผลผลิตได้เหมือนเดิม (หรือมากขึ้นกว่าเดิม) ด้วยนวัตกรรมเครื่องจักรกลเกษตร หุ่นยนต์ โดรนและระบบอัตโนมัติ นวัตกรรมเหล่านี้จะทำให้การเกษตรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- การจัดการฟาร์มรูปแบบใหม่ เช่น การปลูกพืชในระบบปิด (Plant Factory) ที่ควบคุมปัจจัยการผลิตได้ทั้งน้ำ แสงแดด อากาศและความชื้น ให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม
- ศึกษาค้นคว้าเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร เช่น การพัฒนาปรับปรุงพันธุ์พืชให้ต้านทานโรคเพื่อลดการใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลง หรือการพัฒนาจุลินทรีย์ในดินให้ทนทานต่อวัชพืช ทนต่อสภาวะความแห้งแล้ง
- การบริการทางธุรกิจเกษตร โดยเน้นตอบโจทย์อุตสาหกรรมการเกษตรขนาดกลางถึงเล็ก เพื่อให้เกษตรกรสามารถเช่ายืมนวัตกรรมด้านการเกษตรได้ โดยที่ไม่ต้องใช้เงินลงทุนมาก เช่น ระบบจองเครื่องจักร จองโดรนพ่นปุ๋ย บริการแพลตฟอร์มขายผลผลิตการเกษตรออนไลน์ เป็นต้น
โดยเกษตรกรในสหรัฐอเมริกาและยุโรปมีการประยุกต์ใช้ซอฟแวร์เพื่อยกระดับการเพาะปลูก รวมถึงออสเตรเลียก็เริ่มใช้เครื่องจักรอัตโนมัติในการเพาะปลูกเช่นกัน และในยุค 4.0 การเกี่ยวข้าวต้องใช้ Drone เข้ามาช่วย เช่น ในสิงค์โปร์ มี Startup เข้ามาทำตลาดผ่านการสร้างซอฟต์แวร์ให้ Drone เพื่อช่วยตรวจสอบพื้นที่ทำกิจกรรมต่างๆแทนแรงงาน และอินโดนีเซียยังมี Startup: Cl Agriculture ที่วิเคราะห์พื้นที่เพาะปลูกผ่าน Drone และตรวจสอบความชื้นของดินเพื่อแสดงผลลัพธ์ในการเพาะปลูก
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
กรุงเทพธุรกิจ. (2021). นวัตกรรม 'เกษตรสมัยใหม่' ช่วยโลก ช่วยเกษตรกร. Retrieved from https://www.bangkokbiznews.com/social/949228
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (2021). "6 เทรนด์ “AGTECH” เปลี่ยนอนาคต “การเกษตร” ไทย."
https://www.nia.or.th/AgTechTrends
greenlibrarydidital. (2021). นวัตกรรม 'เกษตรสมัยใหม่' ช่วยโลก ช่วยเกษตรกร. Retrieved from https://greendigitallibrary.deqp.go.th/news/detail/706
Insite, B. (2017). AgTech สำคัญ Startup จึงควรศึกษา 3 เทรนด์ยกระดับเกษตรกรรม สร้างธุรกิจเติบโตก้าวกระโดด. Retrieved from https://brandinside.asia/agtech-in-asean/
Salika. (2021). อัปเดต เทรนด์ ‘AGTECH’ สำคัญ ที่ เกษตรกรยุคใหม่ (Smart Farmer) ไม่รู้ไม่ได้. Retrieved from https://www.salika.co/2021/07/07/agtech-technology-for-smart-farmer-thailand/
แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
Agtech and bravado brings Adelaide Hills vineyard back from ashes. (2021), 693, 39-43. Retrieved from https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=edsbl&AN=RN627626848&site=eds-live
Berman, T., & Schallmo, D. (2021). Digital Transformation of Business Models in the Israeli AgTech Landscape. Proceedings of ISPIM Conferences, 1-18. Retrieved from https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=bsu&AN=151806590&site=eds-live
Friedrich Rübcke von, V., & Heinke, H. (2020). The AgTech Startup Perspective to Farmers Ex Ante Acceptance Process of Autonomous Field Robots. Sustainability, 12(10570), 10570-10570. https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=edsdoj&AN=edsdoj.988849d63ed4923854fd01caa9471ce&site=eds-live
Myrick, A., & Deloffre, R. (2017). planting the seeds for an AGTECH INNOVATION ECOSYSTEM. Economic
Development Journal, 16(4), 5-10. Retrieved from https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=bsu&AN=127633941&site=eds-live
Nunez V, J. M., Vargas, V. L., & Quezada L, Y. M. (2020). Implementation of a participatory methodology based on STEAM for the transfer of ICT knowledge and creation of Agtech spaces for the co-design of solutions that contribute to the development of small and medium agricultural producers in Colombia, Panama and China. In (pp. 1-6): IEEE.