ชีวิตวิถีใหม่ New Normal สู่ Next Normal
ผู้เรียบเรียง
ดวงพร อรัญญพงษ์ไพศาล
บรรณารักษ์ชำนาญการ ฝ่ายบริการ
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชีวิตวิถีใหม่แบบ “New Normal” ไปสู่ “Next Normal” ชีวิตวิถีถัดไป เป็นการใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่หลังจากที่ได้ปรับตัวกับสถานการณ์โควิด 19 เพื่อความอยู่รอดทำให้มนุษย์ต้องเตรียมพร้อมและปรับตัวมากขึ้น โดยเฉพาะการเปิดรับเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ และการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านธุรกิจ
ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) รูปแบบวิถีชีวิตที่ต้องปรับเปลี่ยนมาทำทุกอย่างอยู่ที่บ้านแบบ Work From Home ส่วนภาคธุรกิจก็ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการ จะเห็นได้ว่าชีวิตวิถีใหม่มีการใช้บริการผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น มีแพลตฟอร์มดิจิทัลเกิดขึ้นมากมาย การเข้าถึงสินค้าและบริการต่างๆ ทำได้ง่ายขึ้น
ชีวิตวิถีถัดไป (Next Normal) การใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่จนเกิดความเคยชินทั้งด้านวิธีคิด วิธีเรียนรู้ วิธีสื่อสาร วิธีปฏิบัติ ซึ่งเปลี่ยนตามสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมุ่งเน้นเรื่องความปลอดภัยด้านสุขอนามัยและผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
วิถีชีวิตแบบ New Normal
- การซื้อขายออนไลน์ แพลตฟอร์มตลาดออนไลน์และการส่งสินค้าเติบโตขึ้น
- ธุรกิจ delivery การซื้อสินค้าและอาหาร การขยายพื้นที่การส่งสินค้าครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
- สังคมไร้เงินสดมีบทบาทมากขึ้น ผู้บริโภคใช้ช่องทางการเงินดิจิทัลแทนการชำระด้วยเงินสด
- การเรียนรู้และใช้ big Data ที่มีความน่าเชื่อถือ ถูกต้อง และเปิดรับข้อมูลใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา
- ผู้บริโภคใส่ใจสุขภาพมากขึ้นtrend ดูแลสุขภาพและสุขอนามัยที่จะกลายเป็นวิถีชีวิตใหม่
- พฤติกรรมผู้บริโภคยังเป็นรูปแบบการรักษาระยะห่างทางสังคม
- ผู้บริโภคตื่นตัวเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ต่างๆ ในอนาคต
วิถีชีวิตแบบ Next Normal
- ระบบการขายสินค้าแบบออนไลน์ขยายตัวมากขึ้นการพัฒนาแพลตฟอร์ม Delivery เพื่อแข่งขันทางการตลาดเพิ่มมากขึ้น
- การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในด้านการแพทย์จะได้รับความนิยมมากขึ้น
- การเรียนออนไลน์และการ Reskill ของคนวัยทำงานที่สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง
- รูปแบบ Work From Home จะเป็นแนวคิดการทำงานที่ยังทำอยู่ต่อไป รวมถึงนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาช่วยสนับสนุนการทำงาน
- บทบาทของคนในองค์กรจะลดลง การใช้เครื่องมือดิจิทัลจะได้รับความนิยมมากขึ้น
- การนำบริการ Out Source หรือ Share Service มาช่วยประหยัดต้นทุนทางธุรกิจ
- ธุรกิจด้านการรักษาความปลอดภัยของระบบงาน เพื่อป้องกันความผิดพลาดและการใช้ข้อมูลอย่างไม่ถูกต้องจะเติบโตมากขึ้น
- การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อลดการสัมผัส
- การใส่ใจธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น
ปัจจัยพื้นฐานกับวิถีชีวิตแบบ Next Normal
- การบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ผักผลไม้ ธัญพืชต่างๆ หรือเนื้อสัตว์ทางเลือก
- การชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ ผ่านรูปแบบ e-Payment, Card Payment และ Internet & Mobile Banking มากขึ้น
- การนำเทคโนโลยีอำนวยความสะดวกภายในบ้านด้วยการใช้งานฟังก์ชันต่างๆ ผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ
- การเลือกใช้วัสดุและกระบวนการผลิตเครื่องนุ่งห่มที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- การผลิตยานพาหนะในรูปแบบของยานยนต์ไร้คนขับ และยานยนต์ไฟฟ้า
- การเติบโตของธุรกิจอาหารเสริมที่ช่วยทั้งเรื่องความงามและสุขภาพ
- แนวคิดการตลาดทางโซเชียลมีเดียเพื่อดึงดูดใจผู้ใช้งาน
- ผู้บริโภคนิยมเลือกใช้สินค้าอุปโภคบริโภคที่ผลิตจากธรรมชาติ ย่อยสลายได้
- การใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์และเชื้อเพลิงขยะ
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. (2021). The Next Normal ส่องเทรนด์ "ความปกติถัดไป" หลังโควิด 19. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/256306GlobalTrend.aspx
Office of Knowledge Management and Development. (2021). มาทำความรู้จัก 3 เทรนด์การใช้ชีวิตจาก New Normal สู่ Next Normal. สืบค้นจาก https://www.okmd.or.th/okmdkratooktomkit/4164/
Nattapon Muangtum. (2021). Home-Centric ชีวิตวิถีใหม่ New Normal และ Next Normal 2022. สืบค้นจาก https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/facebook-insight-2022-home-centric-new-normal-next-normal-thai-and-asean/
แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
Xin Xie, Keng Siau & Fiona Fui-Hoon Nah (2020) COVID-19 pandemic – online education in the new normal and the next normal, Journal of Information Technology Case and Application Research, 22:3, 175-187,https://doi.org/10.1080/15228053.2020.1824884
Baskoro, Gembong. “Designing a Master Program to Cope with the New and Next Normal (VUCA World, Industry 4.0, and Covid 19): A Case Study.” IPTEK Journal of Proceedings Series; No 3 (2020): International Conference on Management of Technology, Innovation, and Project (MOTIP) 2020 - IN-PRESS, January 1, 2021. http://dx.doi.org/10.12962/j23546026.y2020i3.11078
Bozkurt, Aras, & Sharma, Ramesh C. (2020). Education in normal, new normal, and next normal: Observations from the past, insights from the present and projections for the future. Asian Journal of Distance Education, 15(2), i–x. https://doi.org/10.5281/zenodo.4362664
Panita Wannapiroon, Prachyanun Nilsook, Jira Jitsupa, & Sakchai Chaiyarak. (2022). Digital Competences of Vocational Instructors with Synchronous Online Learning in Next Normal Education. International Journal of Instruction, 15(1), 293–310. https://doi.org/10.29333/iji.2022.15117a
Sneader, Kevin, and Shubham Singhal. 2021. “The Next Normal: Trends That Will Define 2021 and Beyond.” Rotman Management, 20–25. https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=edo&AN=149796581&site=eds-live.
SHUMAKER, DAVE. 2021. “The Next Normal: The Post-Pandemic Future of Library Services.” Information Today 38 (4): 14–16. https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=eue&AN=149976522&site=eds-live.