Influencer รักษ์โลก (Greenfluencer)

ผู้เรียบเรียง

ชนารัตน์ บุณยรัตพันธุ์

นักเอกสารสนเทศปฏิบัติการ ฝ่ายบริการ

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

            เดือนมิถุนายนของทุกปี จะมีหนึ่งวันสำคัญที่ถือว่ามีผลต่อโลก คือ วันสิ่งแวดล้อมโลก (5 มิถุนายน) โดยที่ผ่านมาก็จะมีการรณรงค์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในรูปแบบต่าง ๆ อยู่อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งภายหลังที่เริ่มมีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เพิ่มมากขึ้น การนำเสนอของเนื้อหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมก็เริ่มพัฒนาเปลี่ยนแปลงไป โดยปกติจะเห็นว่า ปัจจุบันมี Influencer เกิดขึ้นอย่างมากมาย ในแง่ของสิ่งแวดล้อม รักษ์โลกก็เช่นกัน โดยจะเรียกว่า “Greenfluencer” มาจาก Green + Influencer ซึ่งในยุคนี้ อาจไม่ใช่การสื่อสารผ่านคนเพียงอย่างเดียว อาทิ จากผู้มีชื่อเสียง ในลักษณะคล้ายกับ Brand Ambassadors เท่านั้น แต่อาจเป็นคนธรรมดาทั่วไปที่เป็นกระแสในสังคมออนไลน์ หรือกระทั่งในรูปแบบผ่านเพจก็เป็นได้ โดยวัตถุประสงค์ไม่ต่างกัน คือ ต้องการนำเสนอให้เห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อม ร่วมรณรงค์ในมิติหรือเรื่องต่าง ๆ หรือเป็นศูนย์กลาง/สร้างพื้นที่ให้เกิดการแลกเปลี่ยน เป็นการรวมตัวกันของผู้ที่มีความชื่นชอบในด้านสิ่งแวดล้อมเหมือนกัน เพื่อต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อโลกหรือสังคมในด้านที่ดีขึ้น

 

p

            เมื่อกล่าวถึงเกี่ยวกับการรักษ์โลกแล้วนั้น ในสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ยุคนี้ ถือได้ว่าเป็นช่องทางที่ทำให้ Greenfluencer ทั้งหลายใช้เป็นสื่อกลางในการร่วมเผยแพร่ได้ ซึ่งมีหลายเพจที่ก่อตั้งขึ้นและน่าสนใจมากมาย ตัวอย่างเช่น

            - Environman นำเสนอประเด็นที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ในแง่ของผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม และมีความหลากหลาย

            - เถื่อน Channel เป็นเพจที่ก่อตั้งขึ้นโดย คุณสิงห์ “วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล” นำเสนอในแง่มุมของการไปท่องเที่ยวมาทั่วโลก และสะท้อนปัญหาสิ่งแวดล้อมในจุดต่าง ๆ ที่พบเห็นว่าเกิดขึ้นจริงออกมา

            - ลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป เน้นนำเสนอประเด็นเกี่ยวกับขยะโดยเฉพาะ

            - Greenery เป็นเครือข่ายผู้บริโภคอาหารปลอดภัย เน้นนำเสนอเกี่ยวกับอาหารธรรมชาติ ที่ดีต่อสุขภาพ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

            - Refill Station เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ ที่เน้นนำเสนอในแง่มุมการผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ

            - EcoLife เน้นนำเสนอข่าวสารที่ต้องการให้ผู้คนได้รับรู้และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เสมือนเป็นกระบอกเสียงเผยแพร่ะกระจายข่าว

            - Little Big Green ถือว่าเป็นเพจที่มี Greenfluencer มากมายที่มาร่วมรณรงค์ โดยจะเป็นการนำเสนอในแง่มุมของการใช้ชีวิตแบบกรีน ๆ อาทิ เชอรี่-เข็มอัปสร สิริสุขะ / ลูกกอล์ฟ คณาธิป สุนทรรักษ์

            - SOS Earth นำเสนอให้เห็นสภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยผู้ก่อตั้งคือ “มารีญา พูลเลิศลาภ” มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2017

            - Moreloop เป็นเพจที่ดูแลผ้าส่วนเกินจากโรงงาน และนำมาทำในรูปแบบหมุนเวียน

            - EEC Thailand เป็นเพจที่เน้นนำเสนอเส้นทางการเดินป่า การศึกษาธรรมชาติในประเทศไทย โดยมี คุณอเล็กซ์ เรนเดล เป็น Co-Founder ของเพจนี้

            - Konggreengreen เน้นนำเสนอเรื่องทั่วไปที่นำมาโยงให้เข้ากับประเด็นของสิ่งแวดล้อม และนำเสนอในรูปแบบเป็นกันเอง โดยผู้ก่อตั้งและดำเนินรายการคือ “ชณัฐ วุฒิวิกัยการ” ที่เป็นทั้ง TV Host, Director, Podcaster, Content Creator มาแล้วหลายหน้าที่ จึงทำให้มีความน่าสนใจ

 

            จากตัวอย่างข้างต้นนั้น จะเห็นได้ว่า มีหลายเพจที่มี Greenfluencer อย่างชัดเจน และในอีกหลายเพจก็จะมีความหลากหลายแตกต่างกันไป อยู่ที่ว่าเน้นนำเสนอหรือเผยแพร่เรื่องใดเป็นพิเศษ แต่ทุกเรื่องล้วนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เน้นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือที่ยุคนี้เรียกกันว่า สายกรีน หรือ สายรักษ์โลก ซึ่งหากกล่าวถึง Greenfluencer แล้วนั้น “ก้อง-ชณัฐ วุฒิวิกัยการ” เจ้าของเพจ Konggreengreen ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ถือได้ว่ามีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากเพิ่งได้รับรางวัล The Best Green Change Maker Influencer จากงาน Thailand Influencer Awards 2021 มาด้วย ถือเป็นสายกรีนแท้จริงที่มีการนำเสนอเนื้อหาผ่านสื่อในยุคนี้ได้อย่างน่าติดตาม

            นายบียอน ทาล เเซนเบิร์ก ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเทเลนอร์ (Telenor Research) ได้กล่าวสรุปเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า Greenfluencer เป็นลักษณะของการที่ Influencer ด้านต่าง ๆ อาทิ เสื้อผ้า อาหาร ไอที ฯลฯ มุ่งเน้นการเผยแพร่เนื้อหาในเชิงรักษ์โลกมากขึ้น เนื่องจากมองว่าผู้คนในโลกยุคปัจจุบันมีแนวโน้มเปลี่ยนไป หาก Influencer แบรนด์ใดไม่ปรับตัว ก็อาจทำให้ผู้คนติดตามน้อยลง ส่งผลไปยังธุรกิจและการตลาดด้วย ซึ่งหากปรับตัวตาม Influencer ด้านนี้ หรือที่เรียกว่า Greenfluencer ก็จะทำให้คงอยู่รอดได้ และบางครั้งอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคมหรือโลกได้อีกเช่นกัน

            ลักษณะของ Greenfluencer ที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น กล่าวคือ จากแต่เดิมจะส่งผ่านเนื้อหาแบบตรง ๆ ในสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เท่านั้น แต่ภายหลังเริ่มเปลี่ยนไปในรูปแบบของการสอดแทรกข้อมูลความรู้ ข้อเท็จจริง ประสบการณ์ตรงของ Influencer ลงไปด้วย เพื่อเพิ่มความแตกต่างและเป็นเอกลักษณ์ให้ผู้คนติดตามมากขึ้น นอกจากเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีตามแต่เดิม ก็ยังทำให้ได้สาระประโยชน์เพิ่มขึ้นอีกด้วย

            จากผลการวิจัยในงานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจและการสื่อสารองค์กร ประเทศเดนมาร์กชิ้นหนึ่งพบว่า จากการสัมภาษณ์และให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามนั้น หลายบริษัทเลือกใช้การสื่อสารผ่าน Influencer เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากในแง่ของผลกระทบที่มีการนำเสนอออกไปเทียบกับความคุ้มค่า และความยืนยาว และในช่วงหลังมานี้ยังพบว่า เริ่มมีการแบ่งกลุ่มความสนใจออกเป็นกลุ่มย่อยมากขึ้น เช่น Influencer สายสารคดี  Esports  การจัดบ้าน  Smart Livings เป็นต้น ซึ่งจากผลการวิจัยทำให้เห็นว่า ด้านสิ่งแวดล้อมนี้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นจริง (The Momentum Team, 2565)

            อีกประเด็นหนึ่งคือ คน Gen Z จะมีลักษณะของการเลือกชื่นชอบ Influencer ที่ตัวเองสนใจ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นผู้มีชื่อเสียงมาก่อน เป็นการชื่นชอบตามหลัก Micro-Influencer ด้วยความเป็นกลุ่มวัยที่มักสืบค้นในสิ่งที่ต้องการรู้ด้วยตัวเอง เน้นเลือกสิ่งที่คุ้มค่า และไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมนั้น ซึ่งการที่แต่ละธุรกิจหรือแบรนด์จะดึงดูดใจคนกลุ่มวัยนี้ได้ จะต้องทำแคมเปญให้เหมาะสม กระตุ้นให้คนกลุ่มนี้อยากแชร์ เพราะคนกลุ่มนี้ไม่เพียงแต่ต้องการติดตาม Influencer เท่านั้น ในบางครั้งก็ต้องการจะเป็น Influencer เองอีกด้วย

            นอกจากนี้ สืบเนื่องจากที่วันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก (World Environment Day) ดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นนั้น มีหลายสิ่งที่ทุกคนอาจเริ่มช่วยสิ่งแวดล้อมได้ แม้ไม่ได้เป็น Greenfluencer ก็ตาม ที่น่าสนใจมีดังนี้ 1) แยกขยะในบ้าน สามารถคัดแยกได้ตั้งแต่ก่อนนำไปทิ้งรวม ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาได้ค่อนข้างมาก และบางอย่างอาจนำไปขายแปรเปลี่ยนกลับมาเป็นเงินได้ 2) ไม่กินทิ้งกินขว้าง เช่น การดูวันหมดอายุให้ชัดเจน เพื่อหลีกเลี่ยงการทิ้งของโดยไม่จำเป็น การสั่งอาหารมาแต่พอดี ทานให้หมด ไม่ให้เหลือ เป็นต้น 3) เพิ่มพื้นที่สีเขียว อาจเป็นการปลูกต้นไม้เล็ก ๆ ภายในบริเวณบ้าน หรือคอนโด ที่ไม่จำเป็นถึงกับต้องไปปลูกป่า 4) ประหยัดพลังงาน เช่น การปิดไฟดวงที่ไม่ได้ใช้ ใช้เครื่องปรับอากาศอย่างถูกวิธี เป็นต้น และ 5) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมระดับชุมชน หมายถึง การมีส่วนร่วมในการประชุม หรือขอความร่วมมือต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การประชุมของหมู่บ้าน คอนโด เป็นต้น

            ในส่วนของเทรนด์บรรจุภัณฑ์ 2565 ที่มีการปรับใช้ หรือเปลี่ยนแปลงไปนั้น จะเห็นได้ในลักษณะ 6 เทรนด์ ดังนี้ 1) Eco-Friendly 2) Color Blocking 3) Delivery & E-commerce 4) Hygienext 5) Minimal Packaging และ 6) Story Telling รวมถึงในส่วนของการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นพลาสติกนั้น ก็ควรเริ่มต้นจาก 4 วิธีลดพลาสติกเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้ได้ ดังนี้ 1) เปลี่ยนชุดความคิด 2) สนับสนุนนโยบายลดใช้พลาสติก 3) มีส่วนร่วมในกิจกรรมขององค์กรอนุรักษ์โลก 4) ใช้บริการร้าน Zero Waste

            ตัวอย่าง บมจ.กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต ได้ออกแบบแคมเปญด้านสิ่งแวดล้อม ชื่อว่า “Commit To Climate เราปรับ โลกเปลี่ยน” โดยมี Greenfluencer คือ คุณเต๋า เศรษฐพงศ์ เพียงพอ นักร้อง-นักแสดง ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม มาร่วมในแคมเปญนี้ที่แบ่งเป็น 4 กิจกรรม คือ “Think ก่อนทิ้ง” “Live Green Save Green” “Green Road Good Life” และ “Green Food Good Health” ซึ่งจะมีไปตลอดปี 2565 เป็นการกระตุ้นให้คนหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อม และเป็นการช่วยรณรงค์ในเรื่องของภาวะโลกร้อน (Climate Change) ด้วย

 

Greenfluencer

 

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

กรุงไทย-แอกซ่า. (2565). กรุงไทย–แอกซ่า ประกันชีวิต ปล่อยแคมเปญใหญ่แห่งปี “Commit To Climate เราปรับ โลกเปลี่ยน”

            ตอกย้ำความเป็นผู้นำและใส่ใจสิ่งแวดล้อม พร้อมเปิดตัว CR Influencer. สืบค้นจาก

            https://www.krungthai-axa.co.th/th/news-Commit-To-Climate-22

กัณยาวีร์ จินตาพิทักษ์. (2565). ส่อง! 6 เทรนด์ Packaging ปี 2022 มาแรง สร้างแบรนด์ยังไง ให้ทันโลก. สืบค้นจาก

            https://www.zipeventapp.com/blog/2022/02/03/packaging-design-2022/

กันติทัต ห่อทอง. (2564). 20 เพจสาย Green เข้าไปเรียนรู้วิธีรักษ์โลกให้เต็มปอด กับคอนเทนต์ช่วยโลกที่คุณอาจไม่เคยรู้.

            สืบค้นจาก https://adaddictth.com/knowledge/20-Page-Facebook-Green

ปานฉัตร สินสุข. (2565). เทเลนอร์ เผย 5 เทรนด์เทคโนโลยีเด่น ปลุกกระแส โลกสีเขียว!!!. สืบค้นจาก

            https://www.bangkokbiznews.com/tech/983045

วิทวัส ปัญญาเลิศวุฒิ. (2565). แพลตฟอร์มแบบไหนถึงเอาชนะใจคน Gen Z. สืบค้นจาก

            https://www.motiveinfluence.com/blog/marketing/แพลตฟอร์มแบบไหนถึงเอาชนะใจคนGenZ/314

ศิวะภาค เจียรวนาลี. (ม.ป.ป.). ก้อง-ชณัฐ วุฒิวิกัยการ กับเส้นทางจากพิธีกรสู่ Influencer สิ่งแวดล้อม Konggreengreen |

            a day talk EP.01. สืบค้นจาก https://adaymagazine.com/a-day-takk-ep1-konggreengreen

สันติภาพ อศวโสตถิ์. (2565). 5 วิธีมีส่วนร่วมกับวันสิ่งแวดล้อมโลก. สืบค้นจาก

            https://th.theasianparent.com/lets-help-the-earth-on-earth-day

SME Startup. (2562). 4 วิธีลดพลาสติกเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้คนรุ่นหลัง. สืบค้นจาก

            https://www.smethailandclub.com/startup-qlife/5247.html

The Momentum Team. (2565). เทรนด์ Green Influencers กำลังมาแรง? เมื่ออินฟลูเอนเซอร์สายรักษ์โลก อาจโดดเด่นกว่า

            ใครในโซเชียลฯ. สืบค้นจาก https://themomentum.co/report-translation-green-influencers/

 

แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

Cooke, P., Nunes, S., Oliva, S. & Lazzeretti, L. (2022). Open Innovation, Soft Branding and Green Influencers:

            Critiquing 'Fast Fashion' and 'Overtourism'. Journal of Open Innovation. 8(1): 52-66. Retrieved from

            https://cutt.ly/CJUrgcY

Martínez-López, F. J., Anaya-Sánchez, R., Fernández Giordano, M. & Lopez-Lopez, D. (2020). Behind influencer

            marketing: key marketing decisions and their effects on followers' responses. Journal of Marketing

            Management. 36(7/8): 579-607. Retrieved from https://cutt.ly/CJUiDrP

Meyers, P. (2009). Gray Goes Green. Promo, 22(1): 34. Retrieved from https://cutt.ly/hJUeJAY

Pittman, M., Oeldorf-Hirsch, A. & Brannan, A. (2022). Green Advertising on Social Media: Brand Authenticity

            Mediates the Effect of Different Appeals on Purchase Intent and Digital Engagement. Journal of

            Current Issues & Research in Advertising (Routledge), 43(1): 106-121. Retrieved from

            https://cutt.ly/vJUtVP9

Usrey, B., Palihawadana, D., Saridakis, C. & Theotokis, A. (2020). How Downplaying Product Greenness Affects

            Performance Evaluations: Examining the Effects of Implicit and Explicit Green Signals in Advertising,

            Journal of Advertising. 49(2): p125-140. Retrieved from https://cutt.ly/SJUipQ5

Yıldırım, S. (2021). Do green women influencers spur sustainable consumption patterns? Descriptive evidences

            from social media influencers. Ecofeminism and Climate Change, 2(4): 198-210. Retrieved from

            https://cutt.ly/eJUyK61


 
 
 
1xbet casino siteleri bedava bahis kaçak bahis superbetin yeni giriş casino siteleri