NFT (Non- Fungible Token)

ผู้เรียบเรียง

ดวงพร อรัญญพงษ์ไพศาล

บรรณารักษ์ชำนาญการ ฝ่ายบริการ

 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 


NFT หรือ Non-Fungible Token เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่นอกจากจะนำมาซื้อขายหรือเทรดสำหรับต่อยอดด้านมูลค่าแล้วนั้น NFT ยังเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงด้านสื่อและคอนเทนต์ในปัจจุบัน NFT เป็นโทเค็นประเภทหนึ่งที่นำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ สามารถระบุความเป็นเจ้าของในฐานะผู้ถือชิ้นงานเพียงชิ้นเดียวได้ ทำให้สามารถจัดการเรื่องลิขสิทธิ์ผลงานได้สะดวกยิ่งขึ้น สิ่งที่โดดเด่น คือ NFT แต่ละชิ้นจะแตกต่างกัน ไม่สามารถทำซ้ำหรือทดแทนกันได้ หากถูกคัดลอกขึ้นมาก็สามารถระบุได้ว่าชิ้นไหนคือต้นฉบับด้วยระบบเทคโนโลยีบล็อกเชน สามารถระบุตัวตนหรือความเป็นเจ้าของที่มีจำนวนจำกัด สามารถโอนถ่ายและเขียนโปรแกรมให้ทำงานที่ซับซ้อนได้  โดยเราสามารถตรวจสอบความถูกต้องบนบล็อกเชน มีระบบการทำงานแบบไร้ศูนย์ ไม่มีใครมาคอยกำกับทำให้ไม่เกิดการแทรกแซงและก่อให้เกิดความผิดพลาดของข้อมูล NFT นิยมใช้งานในสื่อ เช่น รูปภาพ เสียง วิดีโอ รวมถึง Digital Asset อื่นๆ

 

หลักการทำงานของ NFT

การทำงานของ NFT แต่ละตัวจะมีโค้ดพิเศษที่แสดงให้เห็นว่าใช้แทนสิ่งใดไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ วีดีโอ ดนตรี หรือที่ดิน เป็นต้น โดยโค้ดพิเศษนี้จะเรียกว่ามาตรฐาน ERC-721 ขณะที่สกุลเงินดิจิทัลบนเครือข่าย Ethereum จะใช้มาตรฐาน ERC-20 ทำให้หลักการทำงานของสินทรัพย์ทั้ง 2 ประเภทนี้แตกต่างกัน NFT จะทำหน้าที่เป็นใบรับรองความเป็นต้นฉบับของสินค้าและบริการดิจิทัล ชิ้นงานต่างๆจะถูกกำหนด Serial Number เป็นหมายเลขที่ไม่ซ้ำกัน เรียกว่า Token ID โดยเป็นการจัดเก็บอยู่ในเทคโนโลยีบล็อกเชนโดย Token ID นี้จะทำงานในลักษณะเดียวกับบาร์โค้ดสำหรับใช้ระบุข้อมูลเกี่ยวกับรายการของสะสมนั้นๆ  สามารถแยกแยะและบ่งบอกได้ถึงคุณลักษณะที่แตกต่างกันของชิ้นงาน ในฝั่งของนักสะสม ลูกค้าหรือนักลงทุนจะมีสัญญาการเป็นเจ้าของชิ้นงานดิจิทัลที่เปิดเผยข้อมูลให้สามารถตรวจสอบความเป็นต้นฉบับของชิ้นงานได้ รวมถึงสามารถพิสูจน์การถือครองชิ้นงานศิลปะหรือของสะสมดิจิทัลที่วางจำหน่ายอยู่ในตลาดด้วยอีกทั้งบล็อกเชนเป็นเครือข่ายแบบกระจายศูนย์ทำให้ข้อมูลบนบล็อกเชนไม่หายไปและไม่สามารถถูกเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นหลายๆ คนจึงต้องการบันทึกชื่อของตนเองลงไปในเครือข่ายเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของผลงาน NFT ที่หายากเหล่านี้




ประโยชน์ของ NFT

  1. เพิ่มมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา ทางด้านงานศิลปะและความบันเทิง
  2. เพิ่มประโยชน์ให้เกมการแข่งขันในรูปแบบ eSport และรับเงินรางวัลมูลค่าสูง รวมไปถึงธุรกิจเกมที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนจนทำให้กำไรของผู้สร้างสูงขึ้น ผู้เล่นก็สามารถซื้อขายและส่งของให้กันและกันจนสร้างรายได้มหาศาล
  3. เชื่อมต่อทุกแพลตฟอร์มของสื่อออนไลน์เพื่อสื่อสารถึงกัน พร้อมนำผลงานต่างๆ เข้ามาขายภายในตลาดได้ง่ายขึ้นและให้ความปลอดภัยสูง
  4. สามารถซื้อขายได้อย่างอิสระและมีความคล่องตัวสูง รองรับผู้ใช้งานได้หลายแพลตฟอร์ม
  5. สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาได้

 

ข้อดีข้อเสียของ NFT

ข้อดี

  • สามารถระบุความเป็นเจ้าของ ความเป็นต้นฉบับได้
  • สร้างความตื่นตัวในเทคโนโลยีบล็อกเชนและทำให้เกิดการศึกษานวัตกรรมใหม่ๆ มากขึ้น
  • เป็นช่องทางในการสร้างชื่อเสียงและรายได้ที่เพิ่มขึ้นให้กับศิลปินและธุรกิจจากหลากหลายวงการ
  • ทำให้เกิดสิ่งของสะสมที่มีเพียงชิ้นเดียวในโลก
  • ประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อขายสินค้า เช่น พื้นที่แสดงนิทรรศการ ค่าใช้จ่ายในการขนส่ง

 

ข้อเสีย

  • คุณค่าของผลงานเป็นศิลปะหรือของสะสม ดังนั้น NFT ที่มีมูลค่าสูงจึงมีแต่ศิลปินหรือคนดังที่สามารถสร้างรายได้ด้วยชื่อเสียงของตนเอง
  • การลงทุนสร้างแพลตฟอร์มเพื่อซื้อขายแลกเปลี่ยนมีความยุ่งยากซับซ้อนและอาจใช้เวลานาน
  • เทคโนโลยีบล็อกเชนและ NFT ยังคงเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก และมีเพียงคนกลุ่มเล็กๆ ที่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • การซื้อขาย NFT ต้องใช้สกุลเงินดิจิทัล ดังนั้นผู้ที่สนใจลงทุนในสินทรัพย์ประเภทนี้จึงต้องรับความเสี่ยงจากความผันผวนของคริปโทเคอร์เรนซี
  • ยังมีการละเมิดลิขสิทธิ์ และการโจมตีทางไซเบอร์ในรูปแบบต่างๆ

 

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

Waranyu Suknantee. (2564). รู้จัก NFT สินทรัพย์ประเภทใหม่จากเทคโนโลยีบล็อกเชน. สืบค้นจาก https://blog.bitkub.com/what-is-nft-181fec8cd0dd

InnoHub. (2565). NFT สินทรัพย์ดิจิทัลตัวใหม่ที่ช่วยเร่งการเติบโตของนวัตกรรมในธุรกิจ FinTech. สืบค้น จาก https://www.bangkokbankinnohub.com/th/the-impact-of-nfts-to-fintech/

Zipmex. (2565). NFT (Non-Fungible Token) คืออะไร? ทำไมนักลงทุนถึงให้ความสนใจ?. สืบค้น จาก https://zipmex.com/th/learn/what-is-nft/#header-c4

 

แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

Ante, Lennart. 2022.The Non-Fungible Token (NFT) Market and Its Relationship with

          Bitcoin and Ethereum.” FinTech 1 (3): 216–24. https://doi.org/10.3390/fintech1030017

 

HOFSTETTER, R. ( 1 ) et al. 2022. “Crypto-Marketing: How Non-Fungible Tokens (NFTs)

          Challenge Traditional Marketing.” Marketing Letters 33 (4): 705-711–711.

          https://doi.org/10.1007/s11002-022-09639-2

 

BOONPARN, P. et al. 2022. “Social Data Analysis on Play-to-Earn Non-Fungible Tokens (NFT)

          Games.” 2022 IEEE 4th Global Conference on Life Sciences and Technologies

          (LifeTech), Life Sciences and Technologies (LifeTech), 2022 IEEE 4th Global

          Conference On, March, 263–64. https://doi.org/10.1109/LifeTech53646.2022.9754936.

BAMAKAN, S. M. H. et al. 2022.Patents and Intellectual Property Assets as Non-Fungible

          Tokens; Key Technologies and Challenges.” Scientific Reports 12 (1): 1–13.

          https://doi.org/10.1038/s41598-022-05920-6.

 

APOSTU, S. A. et al. 2022.NFTs and Cryptocurrencies—The Metamorphosis of the

          Economy under the Sign of Blockchain: A Time Series Approach.” Mathematics

          (2227-7390) 10 (17): 3218. https://doi.org/10.3390/math10173218.

Abaci, Ismet, and Eyup Emre Ulku. 2022. “NFT-Based Asset Management System.” 2022

          International Symposium on Multidisciplinary Studies and Innovative Technologies

          (ISMSIT), Multidisciplinary Studies and Innovative Technologies (ISMSIT), 2022

          International Symposium On, October, 697–701.

          https://doi.org/10.1109/ISMSIT56059.2022.9932702.

BATTAH, A. et al. 2022.Blockchain and NFTs for Trusted Ownership, Trading, and Access of

          AI Models.” IEEE Access, Access, IEEE 10 (January): 112230–49.

          https://doi.org/10.1109/ACCESS.2022.3215660.

          https://doi.org/10.1109/ACCESS.2022.3215660.


 
 
 
1xbet casino siteleri bedava bahis kaçak bahis superbetin yeni giriş casino siteleri