'Trend แมลง' อาหารใหม่ที่เป็นมากกว่าความยั่งยืน
ผู้เรียบเรียง
ปิยะธิดา ปรางค์โคกกรวด
นักเอกสารสนเทศ ฝ่ายบริการ
ในขณะนี้ทั่วโลกให้ความสำคัญกับโมเดลเศรษฐกิจใหม่ที่เน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ควบคู่ไปกับวิกฤตความขัดแย้งของรัสเซียและยูเครน ส่งผลให้ทั่วโลกมีความกังวลในเรื่องความมั่นคงทางด้านอาหาร เป็นปัจจัยที่เร่งให้ภาคอุตสาหกรรมให้ความสนใจกับอาหารทางเลือกมากขึ้นโดยเฉพาะอาหารประเภทโปรตีน โดยมีวัตถุดิบหลายชนิดถูกนำมาแปรรูปเป็นอาหารในรูปแบบใหม่ที่ผลิตโดยใช้โปรตีนจากพืชโดยไม่มีเนื้อสัตว์เจือปน แต่ในขณะเดียวกันยังมีแหล่งโปรตีนที่น่าสนใจคือ Insect Protein หรือโปรตีนจากแมลง แหล่งอาหารชนิดใหม่ในภาคอุตสาหกรรมของอาหารและเครื่องดื่มที่กำลังได้รับความนิยมในต่างชาติ มีสัดส่วนการบริโภคและส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นๆ และจะมีโอกาสเติบโตขึ้นอีกจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่หันมาใส่ใจต่อสุขภาพและรักษาสิ่งแวดล้อม ทำให้มีแนวโน้มการบริโภคแมลงซึ่งอุดมไปด้วยโปรตีน แร่ธาตุและวิตามินนานาชนิดมากขึ้น
ปัจจุบันเทคโนโลยีและการวิจัยมีการพัฒนาเป็นอย่างมาก การนำแมลงที่มีการศึกษา วิจัยมาแล้วว่าเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี ไม่ต่างจากเนื้อสัตว์เริ่มได้รับการพัฒนา แปรรูป ปรับเปลี่ยนรูปแบบให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น การผลิตผลิตภัณฑ์จากแมลงประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ ฟาร์มแมลงหรือโรงงานเพาะเลี้ยงแมลง, โรงงานแปรรูปแมลง และธุรกิจที่นำแมลงไปแปรรูปเพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต ห่วงโซ่ของการผลิตแมลงเริ่มจากการที่เกษตรกรนำเศษอาหาร ขยะอินทรีย์ เศษพืชที่เหลือใช้จากธรรมชาติมาใช้เป็นอาหารในการเพาะเลี้ยงแมลง
ผลิตภัณฑ์จากแมลงที่จะเติบโตดี ได้แก่ Insect Protein จะอยู่ในรูปแบบของแมลงสด / ตากแห้งหรือการนำไปแปรรูป (บด, ปั่น, สกัด) เพื่อให้ได้โปรตีนในรูปแบบผงหรือน้ำมัน และผลิตภัณฑ์จากแมลงสามารถต่อยอดไปในกลุ่มอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่มีมูลค่าเพิ่มสูงได้ เช่น อาหาร อาหารเสริม เครื่องสำอาง อาหารสัตว์เลี้ยง และยา โดย Insect Protein เป็นหนึ่งในอาหารกลุ่ม Alternative Protein ประกอบไปด้วย
1) Plant-based Food โปรตีนจากพืช
2) Mycoprotein การใช้ราที่ได้จากการเพาะเลี้ยงสำหรับการทำโปรตีน
3) Insect Protein โปรตีนที่ทำจากแมลง
4) Algal Protein โปรตีนจากสาหร่าย
5) Cultured Meat การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสัตว์จากห้อง Lab
จากข้อมูลของบริษัทวิจัยตลาด Meticulous Market Research Inc. ในปี 2565-2573 ตลาดผลิตภัณฑ์แมลงที่รับประทานได้จะมีอัตราการเจริญเติบโต 28.3% มีมูลค่า 9,600 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นประมาณ 3,139,035 ตัน เติบโต 31.1% เนื่องจากเป็นแหล่งโปรตีนทางเลือกที่อุดมไปด้วยสารอาหารอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุและมีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยรูปแบบในการบริโภคจะมีทั้งผลิตภัณฑ์ในรูปมื้ออาหาร น้ำมัน แบบผง แบบแป้งและการรับประทานเป็นตัว ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์จากแมลงควรพัฒนาในด้านการผลิตให้เกิดความหลากหลายในรูปแบบของผลิตภัณฑ์อาหาร อาทิ การนำเสนอเป็นอาหารสำเร็จรูป ของทานเล่นหรือโปรตีนบาร์ รวมไปถึงการพิจารณาใช้บรรจุภัณฑ์ อีกทั้งควรพิจารณาผลิตแมลงแช่แข็งซึ่งจะช่วยยืดอายุของสินค้าให้นานออกไป
ในระยะอีก 3 - 5 ปีข้างหน้า ตลาดผลิตภัณฑ์จากแมลงจะเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเป็นแหล่งโปรตีนที่มีคุณภาพและคุณค่าทางโภชนาการสูงมีสารอาหารครบถ้วน ช่วยตอบโจทย์ปัญหา Food Security และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
กรุงไทย COMPASS. ทําความรู้จัก Insect Products...เมื่อแมลงกลายเป็นแหล่งโปรตีนใหม่แห่งโลกอนาคต. สืบค้น 9
พฤศจิกายน 2565. Retrieved From https://krungthai.com/Download/economyresources/EconomyResourcesDownload_476Insect_Products.pdf
ประภาศรี โอสถานนท์, เศรษฐกิจ. “แมลง “อาหารอนาคต โอกาสส่งออกไทยสู่ตลาดโลก. สืบค้น 9 พฤศจิกายน 2565.
Retrieved From https://www.bangkokbiznews.com/business/1007884
อิสรภาพแห่งความคิดไทยโพสต์. ส่องเทรนด์การกิน“แมลง”แหล่งโปรตีนทางเลือก. สืบค้น 9 พฤศจิกายน 2565. Retrieved
From https://www.thaipost.net/economy-news/156769/
Marketing Eat, The Academy. เทรนด์ผลิตภัณฑ์จากแมลงพุ่งแรง ก้าวสู่ธุรกิจหมื่นล้าน ตอบโจทย์ความมั่นคงทางอาหาร
และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สืบค้น 9 พฤศจิกายน 2565. Retrieved from https://marketeeronline.co/archives/286849
Praornpit Katchwattana, Salika Knowledge Learning Space. โปรตีนทางเลือกจากแมลง พร้อมตีตลาดส่งออกไทยไป
สหรัฐฯ สอดรับเทรนด์อาหารแห่งอนาคต. สืบค้น 9 พฤศจิกายน 2565. Retrieved
From https://www.salika.co/2022/06/04/thai-export-protein-from-insects-to-usa/
แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
Clarkson, C., Mirosa, M., & Birch, J. (2018). Consumer acceptance of insects and ideal product attributes.
British Food Journal, 120(12), 2898–2911. Retrieved From
FELLOWS, P. (2014). Insect products for high-value Western markets. Food Chain (2046-1887), 4(2), 119–
- Retrieved From
Rovai, D., Michniuk, E., Roseman, E., Amin, S., Lesniauskas, R., Wilke, K., Garza, J., & Lammert, A. (2021).
Insects as a sustainable food ingredient: Identifying and classifying early adopters of edible insects based on eating behavior, familiarity, and hesitation. Journal of Sensory Studies, 36(5). Retrieved From https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=asn&AN=152969684&site=eds-live
Sogari, G., Menozzi, D., & Mora, C. (2019). The food neophobia scale and young adults’ intention to eat
insect products. International Journal of Consumer Studies, 43(1), 68–76. Retrieved From
Veldkamp, T., Meijer, N., Alleweldt, F., Deruytter, D., Van Campenhout, L., Gasco, L., Roos, N., Smetana, S.,
Fernandes, A., & van der Fels-Klerx, H. J. (2022). Overcoming Technical and Market Barriers to Enable Sustainable Large-Scale Production and Consumption of Insect Proteins in Europe: A SUSINCHAIN Perspective. Insects (2075-4450), 13(3), 281–N.PAG. Retrieved From https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=asn&AN=156019577&site=eds-live