การพัฒนาผลิตภัณฑ์การเกษตรตามแนวทาง BCG (Bio-Circular-Green Economy)
ผู้เรียบเรียง
นายวินัย มะหะหมัด
บรรณารักษ์ชำนาญการ
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
BCG Model เป็นวาระแห่งชาติเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นการพัฒนา 3 เศรษฐกิจหลักแบบองค์รวมไปพร้อมกัน อันได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy) เศรษฐกิจสีเขียว (Green economy) เป็นการใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่า สร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากรชีวภาพ โดยคำนึงถึงผลกระทบของสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน (สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, ม.ป.ป.) ซึ่งจะช่วยพัฒนาสินค้าการส่งออกการแข่งขันระดับประเทศได้
การเกษตรและอาหารเป็นหนึ่งในแผนพัฒนายุทธศาสตร์ที่สำคัญในการพัฒนา BCG Model การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศดวยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564-2569 (กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, (2564) ที่มุ้งเน้นการลดกิจกรรมที่ปล่อยมลพิษก๊าซเรือนกระจกจากภาคการเกษตรซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิ่งแวดล้อม จากแนวคิดลดของเหลือทิ้ง การสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบ โดยปรับกระบวนการผลิตมีการนำวัสดุเหลือใช้หมุนเวียน นำทุกส่วนกลับมาใช้ใหม่ ทั้งนี้เพื่อช่วยลดการสูญเสียให้เหลือน้อยที่สุด โดยนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด ตัวอย่างจากรายงานของ สำนักแผนงานและโครงการพิเศษ และสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดราชบุรี, (2564) ส่วนหนึ่งจากความสำเร็จและได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่มีหน้าที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามBCG Model ได้ดำเนินการโครงการนำร่องเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรที่ได้จากมะพร้าวน้ำหอม เริ่มต้นจากการศึกษาวิจัยในมะพร้าวน้ำหอมเพื่อการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์/การคัดพันธุ์ดี การให้ผลผลิตต่อเนื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพการติดผล และการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อการลดการสูญเสียของผลผลิต และมีการจัดการวัสดุเหลือใช้จากการผลิตทุกส่วนของมะพร้าวนำมาใช้ประโยชน์ทั้งใบมะพร้าวและเปลือกใช้เป็นปุ๋ย ลำต้นมีอายุมากนำมาแปรรูปดัดแปลงทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ ทางมะพร้าวนำมาทำไม้กวาด เปลือก และกะลา นำมาผลิตพลังงานสะอาด ฯลฯ และยังมีตัวอย่างการพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรในโครงการนำร่องของจังหวัดราชบุรี อื่นๆ อาทิ โครงการพัฒนาการผลิตและการตลาดอ้อยโรงงาน การพัฒนาเครื่องเก็บและสับกลบเศษซากอ้อย นำไปทำปุ๋ยหมักจากการบ่มดินเพื่อปรับปรุงธาตุอาหารในดิน การลดการเผาเศษทิ้งทางการเกษตรเพื่อลดมลพิษทางอากาศ โครงการศึกษาความเป็นไปได้และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของ ฟาร์มโคนม การจัดการน้ำเสียจากฟาร์มโคนมขนาดกลางและขนาดเล็กมาบำบัดแบบไร้อากาศ ช่วยลดปัญหาน้ำล้างคอกไหลลงสู่พื้นที่ และลำน้ำสาธารณะลดกลิ่นเหม็น ลดแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน เหล่านี้ เป็นต้น
กล่าวได้ว่าการจัดการสินค้าทางการเกษตรตามแนวทาง BCG เพื่อยกระดับมาตรฐานให้สามารถแข่งขัน ในระดับประเทศได้นั้น จะต้องคำนึงถึงกระบวนการผลิตทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ จนถึงปลายน้ำ โดยนำเทคโนโลยีนวัตกรรมการผลิต ปรับกระบวนการผลิต ต่อยอดของเหลือทิ้งลดความสูญเสีย ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นผู้เรียบเรียงจึงเล็งเห็นความสำคัญของเรื่องนี้และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะช่วยจุดประกายความคิดให้กับผู้ที่สนใจได้ศึกษาเป็นแนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร โดยนำแนวคิด BCG มาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และเพิ่มมูลค่ากับสินค้าการเกษตรที่มีอยู่ ตามหลักการเศรษฐกิจการหมุนเวียน (Circular economy) เพื่อการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle, Upcycle) และ ช่วยจัดการของเสียให้เป็นศูนย์ (Zero-waste)
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564) ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดล
เศรษฐกิจ BCG พศ.2564-2569 https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2021/20210519-bcg-strategy-2564-2569.pdf
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2565). แผนปฏิบัติการ
ด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ.2564-2570: ฉบับผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565. https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/bcg/BCG-Action-Plan-2564-2570-256502-02.pdf
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.). (ม.ป.ป.). BCG เป็นมายังไง? https://www.bcg.in.th/backgroun
สำนักแผนงานและโครงการพิเศษ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดราชบุรี, 2564. ตัวอย่าง BCG Model สินค้าจังหวัดราชบุรี
https://www.opsmoac.go.th/bpsp-dwl-files-432991791841
ตัวอย่างแหล่งอ้างอิงบทความวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์การเกษตรตามแนวทางของ BCG Model
กิตติชัย โสพันนา. (2558). การประดิษฐ์และสมบัติของกระถางชีวภาพ : Fabrication and properties of biological plant pots. SNRU journal of
Science and Technology, 7(2), 1-7. https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/snru_journal/article/view/43637/36068
นพนันท์ นานคงแนบ, พงษ์ศักดิ์ จิตตบุตร, & ชัยวัฒน์ พรหมเพชร. (2552). การพัฒนาบล็อกดินซีเมนต์ค่าการนำความร้อนต่ำจากฟางข้าว:
Development of Low Thermal Conductivity Soil-Cement Block from Rice Straw. วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบัง, 18(1), 32-41.
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/science_kmitl/article/view/99938/77628
บัวพันธ์ พรหมพักพิง, & มุกดา วงค์อ่อน. (2020). การเกษตรและอาหาร: ประเด็นปัญหาเก่าในวาระใหม่ของการวิจัยและการพัฒนา: Agriculture and Food:
Old Problem in the New Research and Development Agendas. MFU Connexion: Journal of Humanities and Social Sciences, 9(1), 1-18.
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/MFUconnexion/article/view/243893/165838
พิชชาภา โอจงเพียรพาณี, & ปิมปาและเพ็ญศักดิ์จันทราวุธ. (2560). การพัฒนามาสก์ใต้ตาที่มีสารสกัดจากเปลือกแก้วมังกร: Development of Eyes Mask
Containing Dragon Fruit Peel Extract. วารสารเกษตร, 33(3), 415-425. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/243476/166943
พิษณุ อนุชาญ. (2564). การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ด้วยใบยางพาราสําหรับตกแต่งภายในอาคาร: The development of rubber leaves products for
decoration interior design. วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 12(2), 81-96.
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ajnu/article/view/243689/169423
Abraham, A., Mathew, A. K., Sindhu, R., Pandey, A., & Binod, P. (2016). Potential of rice straw for bio-refining: An overview.
Bioresource Technology, 215, 29-36. https://doi.org/10.1016/j.biortech.2016.04.011
Edyvean, R. G. J., Apiwatanapiwat, W., Vaithanomsat, P., Boondaeng, A., Janchai, P., & Sophonthammaphat, S. (2023).
The Bio-Circular Green Economy model in Thailand – A comparative review [Review]. Agriculture and Natural Resources,
57(1), 51-64. https://doi.org/10.34044/j.anres.2023.57.1.06