Mycelium เส้นใยเห็ดรา ทางเลือกเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
ผู้เรียบเรียง
ดวงพร อรัญญพงษ์ไพศาล
บรรณารักษ์ชำนาญการ ฝ่ายบริการ
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เห็ดประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ที่มีลักษะเป็นเส้นใย มักอยู่รวมกันเป็นก้อนแข็งบริเวณโคนก้านดอกเห็ด มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า สังเคราะห์อาหารเองไม่ได้ กินอาหารโดยสร้างน้ำย่อยแล้วปล่อยออกมา ช่วยย่อยสลายซากพืชและสัตว์ให้ผุพังจนเป็นโมเลกุลเล็กและดูดซึมเข้าเซลล์ ดอกเห็ดส่วนใหญ่มีรูปร่างคล้ายร่ม มีหลายขนาด โดยมีทั้งเห็ดที่รับประทานได้และเห็ดมีพิษ ไมซีเลียมเป็นเส้นใยจากเห็ดราที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น Ultimate green material for the future เป็นเส้นใยที่ได้จากธรรมชาติ มีความเบา ยืดหยุ่นและทนไฟ เจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วและมีอยู่ทั่วไปทุกหนทุกแห่ง มีจุดเด่นในเรื่องการย่อยสลายตัวเองได้ตามธรรมชาติ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หลายๆ อุตสาหกรรมเริ่มนำไมซีเลียมมาใช้ประโยชน์มากขึ้น เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมแฟชั่น ความงาม บรรจุภัณฑ์ อาหาร การแพทย์ รวมถึงปัจจุบันนี้มนุษย์เริ่มตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้นทำให้หลายๆ ธุรกิจได้เลือกใช้วัสดุทางเลือกเพื่อสิ่งแวดล้อม เช่น พลาสติกชีวภาพ หรือผักตบชวาแปรรูป ประกอบกับเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาขึ้นทุกๆวันทำให้ไมซีเลียมกลายเป็นวัสดุทางเลือกรักษ์โลกชนิดใหม่ที่นักวิจัยเชื่อว่าจะเป็นสิ่งที่สามารถเข้ามาเปลี่ยนแปลงอนาคตได้
ประเภทของไมซีเลียม
- aprophyte ดูดซับสารอินทรีย์ที่ตายแล้ว
- mycorrhizae จะกินพืชที่มีชีวิต
- mycorrhizae ชาวสวนใช้เพาะปลูกในดิน
ภาพ - Wikimedia
ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมของไมซีเลียม
- อุตสาหกรรมก่อสร้าง
- การสร้างอิฐเห็ด ด้วยการผสมไมซีเลียมกับเศษซากเกษตรกรรมอื่นๆ เช่น ฟางข้าว เปลือกข้าวโพด กลุ่มเส้นใยไมซีเลียมของเห็ดราสามารถจะเติบโตขึ้นเป็นเนื้ออิฐบล็อกได้ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม จากนั้นจะมีการอบความร้อนให้เชื้อราตายลง ซึ่งจะทำให้เนื้อวัสดุมีความแข็งแกร่งขึ้น มีความทนทานสูง และยืดหยุ่นมากกว่าคอนกรีต สามารถเติบโตซ่อมแซมตัวเองได้ มีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนและทนไฟ
- การทำโลงศพ ผลิตมาจากไมซีเลียม สามารถย่อยสลายสสารได้หลากหลายชนิด ชะล้างสิ่งปนเปื้อน สารพิษ โลหะหนัก ยาฆ่าแมลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงทรัพย์สินต่างๆ ที่ถูกใส่เข้าไปในโลงก็จะถูกย่อยสลายโดยไม่ทิ้งสารตกค้างใดๆ ประหยัดพื้นที่ในการฝังกลบ โลงศพสามารถย่อยสลายเป็นปุ๋ยกลับคืนสู่ธรรมชาติได้รวดเร็วขึ้น
- อุตสาหกรรมด้านอาหาร
- mycelium-based หรือโปรตีนจากเส้นใยเห็ดรา เส้นใยไมซีเลียมนั้นมีความหนาแน่นใกล้เคียงกับมัดกล้ามเนื้อในเนื้อวัว ดังนั้นเส้นใยที่ได้จึงสามารถนำมาจัดเรียงเพื่อให้มีช่องว่างเนื้อสัมผัส ความแข็งและอ่อนนุ่ม และยังมีกรดอะมิโนเหมือนเนื้อสัตว์ที่เป็นประโยชน์ อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุเช่นเดียวกับพืชอีกด้วย
- อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์
- วัสดุกันกระแทกจากเส้นใยเห็ด ผลิตจากไมซีเลียมผ่านกระบวนการผลิตด้วยวิธีการเลียนแบบการเจริญเติบโตตามธรรมชาติของเห็ดในการสร้างเส้นใยขึ้นเพื่อประสานกับเศษวัสดุอื่น สามารถสร้างรูปทรงได้หลากหลาย มีความแข็งแรง น้ำหนักเบา นิ่ม กำหนดรูปร่างเฉพาะเองได้ สามารถทนต่อแรงกันกระแทกได้ดี เป็นฉนวนและทนไฟได้ สามารถย่อยสลายได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เหมาะสำหรับทำบรรจุภัณฑ์กันกระแทกและงานตกแต่งภายใน
- โคมไฟ เป็นการออกแบบโคมไฟขนาดเล็กที่มีลักษณะเหมือนกับเห็ด โดยการนำเศษกระดาษเข้าไปใส่ในแม่พิมพ์ที่ถูกทำให้เป็นรูปร่างตามที่ต้องการ และใส่สปอร์ของไมซีเลียมให้เจริญเติบโตอยู่ ภายใต้สภาวะของอุณหภูมิที่เหมาะสม เมื่อไมซีเลียมแห้งสนิทแล้วจึงจะนำไปสู่การประกอบเป็นโคมไฟ และสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ
- อุตสาหกรรมแฟชั่น
- วัสดุหนังเทียม การผลิตนวัตกรรมเครื่องหนังจากเส้นใยเห็ดราไมซีเลียมมีคุณสมบัติเด่น คือ ความเหนียว ทนทาน ย้อมสีติดง่าย มีผิวสัมผัสใกล้เคียงหนังจริง และยังปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่าการผลิตจากหนังสัตว์หรือพลาสติก เนื่องจากแทบไม่มีการเผาไหม้ในการแปรรูป สีที่นำมาย้อมนั้นสกัดมาจากดอกไม้หรือเปลือกไม้ตามธรรมชาติซึ่งนอกจากจะปลอดสารเคมีและเป็นมิตรกับผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมแล้วยังช่วยลดต้นทุนในการผลิตได้เป็นอย่าง
- ฟองน้ำ พัฟแต่งหน้า การนำไมซีเลียมมาทดแทนการใช้โพลียูรีเทน ไม่ใช้สารเคมี จึงเหมาะกับคนที่มีสภาพผิวแพ้ง่าย
- อุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอ
- การออกแบบชุดเดรสโดยใช้เส้นใยของเห็ดไมซีเลียมมาทำเป็นรูปวงกลม เย็บต่อๆ กัน โดยใช้ วิธีการผลิตที่จะทำให้วัสดุคงรูปเดิม และทำให้เดรสยืดหยุ่นได้ โดยไม่ต้องใช้เส้นใยชนิดอื่นช่วย
- แจ็คเก็ตหนัง จากเส้นใยของเห็ดราภายใต้สภาวะของอุณหภูมิและความชื้น สามารถผลิตหนังที่มีลักษณะคล้ายหนังวัว หนังงู และหนังนกกระจอกเทศที่มีความยืดหยุ่น และขึ้นรูปร่างได้ง่ายได้ ใช้พลังงานในการฟอกและมีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าการฟอกหนังวัว รวมถึงสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ
- อุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยี
- การผลิตคอมพิวเตอร์ที่มีส่วนประกอบของเห็ด โดยใช้ไมซีเลียมที่ทำหน้าที่เหมือนเส้นประสาทของมนุษย์ การทำงานของไมซีเลียมจะสามารถควบคุมการเข้าออกของไฟฟ้า แม้ว่าการส่งกระแสไฟฟ้าของไมซีเลียมยังไม่รวดเร็วเท่ากับฮาร์ดแวร์อิเล็กทรอนิกส์ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน แต่นักวิทยาศาสตร์สามารถเร่งการส่งกระแสไฟฟ้าด้วยการกระตุ้นจุดห่างกันได้
จะเห็นได้ว่าไมซีเลียมเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติทั้งหมดจึงสามารถย่อยสลายได้โดยไม่ส่งผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังไม่มีความเสี่ยงและไม่มีสารอันตรายที่เข้าไปสู่ดิน ทะเล สัตว์ป่าหรือทรัพยากรอื่นๆ และยังปล่อยคาร์บอนน้อยลงถึง 90%
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
Extreme it. (2566). สร้างคอมพิวเตอร์จาก “ไมซีเลียมของเห็ดรา” ส่งสัญญาณไฟฟ้าได้เหมือนวงจร
อิเล็กทรอนิกส์. สืบค้นจาก https://www.extremeit.com/mycelium-of-fungus-computer/
Wazzadu. (2566). จะเป็นอย่างไร? หากมีโคมไฟที่ทำจากเห็ด และย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ.
สืบค้นจาก https://www.wazzadu.com/article/6858
เนชั่นออนไลน์. (2565). เมื่อโลงศพมีชีวิตด้วยเส้นใยเห็ดรา ‘Mycelium’ ผลิตภัณฑ์ทางเลือกรักษ์โลก
แห่งอนาคต. สืบค้นจาก https://www.nationtv.tv/original/378864468
โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์. (2564). รู้จัก Mycelium สุดยอดวัตถุดิบที่กำลังมาแรง. สืบค้นจาก
https://www.toyota.co.th/tsi/tips/893
รชต สนิท. (2564). เนื้อจากพืชหลบไป! สมัยนี้ต้อง “เนื้อจากรา” เฮลท์ตี้กว่า แถมรสสัมผัสไม่ต่างจาก
เนื้อจริง. สืบค้นจาก https://brandinside.asia/mycelium-based-protein-on-the-move/
บีบีซี นิวส์ ไทย. (2563). นาซาพัฒนาวิธีใช้เส้นใยเห็ดรา สร้างฐานที่มั่นบนดวงจันทร์-ดาวอังคาร.
สืบค้นจาก https://www.bbc.com/thai/features-51161304
Urbancreature. (2563). Ecovative เมื่อเชื้อราจากเห็ด กลายเป็นงานดีไซน์เด็ดดวง. สืบค้นจาก
https://urbancreature.co/mushroom-packaging/
แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
Walter, N., & Gürsoy, B. (2022). A Study on the Sound Absorption Properties of Mycelium-
Based Composites Cultivated on Waste Paper-Based Substrates. Biomimetics
(2313-7673), 7(3), 100. https://doi.org/10.3390/biomimetics7030100
Houette, T., Maurer, C., Niewiarowski, R., & Gruber, P. (2022). Growth and Mechanical
Characterization of Mycelium-Based Composites towards Future Bioremediation
and Food Production in the Material Manufacturing Cycle. Biomimetics (2313-
7673), 7(3), 103. https://doi.org/10.3390/biomimetics7030103
Saez, D., Grizmann, D., Trautz, M., & Werner, A. (2022). Exploring the Binding Capacity of
Mycelium and Wood-Based Composites for Use in Construction. Biomimetics
(2313-7673), 7(2), 1–8. https://doi.org/10.3390/biomimetics7020078
Vašatko, H., Gosch, L., Jauk, J., & Stavric, M. (2022). Basic Research of Material Properties
of Mycelium-Based Composites. Biomimetics (2313-7673), 7(2), 1–16.
https://doi.org/10.3390/biomimetics7020051
Sonnenberg, A. S. M., Baars, J. J. P., Straatsma, G., Hendrickx, P. M., Hendrix, E., Blok, C., &
van Peer, A. (2022). Feeding growing button mushrooms: The role of substrate
mycelium to feed the first two flushes. PLoS ONE, 17(7), 1–22.
https://doi.org/10.1371/journal.pone.0270633
Özdemir, E., Saeidi, N., Javadian, A., Rossi, A., Nolte, N., Ren, S., Dwan, A., Acosta, I.,
Hebel, D. E., Wurm, J., & Eversmann, P. (2022). Wood-Veneer-Reinforced
Mycelium Composites for Sustainable Building Components. Biomimetics (2313-
7673), 7(2), 1–19. https://doi.org/10.3390/biomimetics7020039
Dolor R. Enarevba, Karl R. Haapala,, (2023). A Comparative Life Cycle Assessment of
Expanded Polystyrene and Mycelium Packaging Box Inserts, Procedia CIRP, 116,
654-659. https://doi.org/10.1016/j.procir.2023.02.110
Islam, M. R., Tudryn, G., Bucinell, R., Schadler, L., & Picu, R. C. (2018). Mechanical
behavior of mycelium-based particulate composites. Journal of Materials Science,
53(24), 16371–16382. https://doi.org/10.1007/s10853-018-2797-z
Fijałkowska, A., Muszyńska, B., Sułkowska-Ziaja, K., Kała, K., Pawlik, A., Stefaniuk, D.,
Matuszewska, A., Piska, K., Pękala, E., Kaczmarczyk, P., Piętka, J., & Jaszek, M.
(2020). Medicinal potential of mycelium and fruiting bodies of an arboreal
mushroom Fomitopsis officinalis in therapy of lifestyle diseases. Scientific
Reports, 10(1), 20081. https://doi.org/10.1038/s41598-020-76899-1
Charles Jo, Jing Zhang, Jenny M. Tam, George M. Church, Ahmad S. Khalil, Daniel Segrè,
Tzu-Chieh Tang, (2023). Unlocking the magic in mycelium: Using synthetic biology
to optimize filamentous fungi for biomanufacturing and sustainability, Materials
Today Bio, 19, 100560, https://doi.org/10.1016/j.mtbio.2023.100560