โพรไบโอติก (Probiotic) จุลินทรีย์มีประโยชน์ที่ไม่ควรมองข้าม

นายวินัย มะหะหมัด
บรรณารักษ์ชำนาญการ
ฝ่ายบริการ สำนักหอสมุด มก.

 

การรักษาร่างกายให้สมดุล แข็งแรง สุขภาพดี แบคทีเรียจุลินทรีย์ที่ดี ที่มีอยู่ในร่างกายเรานั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญ จุลินทรีย์ที่ดีมีประโยชน์ต่อร่างกายในส่วนของทางเดินอาหาร ที่เรียกว่า Probiotics โพรไบโอติก เป็นจุลินทรีย์มีชีวิตประจำถิ่นขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีทั้งเป็นแบคทีเรียและยีสต์พบได้ในอาหารที่รับประทาน เช่น นมเปรี้ยว ชาหมักคอมบูชา ถั่วเน่า ฯลฯ ประโยชน์จากอาหารเหล่านี้จะช่วยกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ชนิดไม่ดีและเชื้อโรคในร่างกาย ช่วยในการดูดซึมสารอาหาร ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้ม ป้องกันการอักเสบ และการติดเชื้อของระบบทางเดินอาหารได้ ฯลฯ ทั้งพรี และ โพรไบโอติก มีความสัมพันธ์กัน คือ พรีเป็นอาหารของโพรไบโอติก

                   จุลินทรีย์ที่มีอยู่ในร่างกายมนุษย์มีมากกว่าล้านล้านเซลล์ โดยมีอยู่ในลำไส้มากที่สุด แต่มีจุลินทรีย์ 3 ประเภท ที่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์ได้ให้ความสนใจค้นคว้าวิจัยใช้เพื่อการป้องกันรักษา คือ

  1. แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) เป็นแบคทีเรียจุลินทรีย์ชนิดดีในกลุ่มของโพรไบโอติกที่พบได้มากที่สุด สามารถพบได้ในอาหารธรรมชาติ เช่น โยเกิร์ต นมเปรี้ยว อาหารหมักดองบางชนิด ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อระบบขับถ่าย และเหมาะกับผู้ที่มีปัญหาไม่สามารถย่อยแลคโตสในนมได้
  1. บิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) หนึ่งในจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่ได้รับการยอมรับว่าดีที่สุด พบได้ในอาหารที่ทำมาจากนม ช่วยในการบรรเทาอาการลำไส้แปรปรวน และมีการศึกษาในหลายชนิดว่ามีประโยชน์ต่อร่างกายที่แตกต่างกันออกไป เช่น ช่วยผลิตสารตั้งต้นของภูมิต้านทานในร่างกายได้
  1. แซคคาโรไมซิส (Saccharomyces boulardii) เป็นยีสต์ที่พบได้ในกลุ่มของโพรไบโอติกสามารถช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย และปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร แต่เป็นชนิดที่ไม่มีอยู่ในร่างกายคนตามธรรมชาติ         

 ประโยชน์ส่วนหนึ่งของโพรไบโอติกที่มีต่อร่างกาย

  • ป้องกันไม่ให้เชื้อก่อโรคจับที่ผิวเยื่อบุลำไส้ โดยการสร้างเกราะป้องกันบริเวณเยื่อบุลำไส้
  • ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อฉวยโอกาสในร่างกาย
  • กระตุ้นระบบการย่อยอาหารโดยการสร้างเอนไซม์หลากหลายชนิด
  • ช่วยรักษาสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกายที่เสียไป
  • เหนี่ยวนำการกระตุ้นการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกัน ทำให้มีการสร้างสารป้องกันและกระตุ้น ภูมิคุ้มกันให้เข้าสู่ภาวะสมดุลได้

                   กล่าวได้ว่า โพรไบโอติกจึงเป็นจุลินทรีย์ที่มีความสำคัญต่อร่างกาย ที่ช่วยป้องกันและรักษาโรคได้หลายชนิด ทั้งช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ป้องกันการอักเสบ การติดเชื้อของระบบทางเดินอาหาร และประโยชน์อื่นๆอีกมากมาย

 

 

 

 เอกสารอ้างอิง

กัญญรัตน์ กัญญาคำ. (2015). พรีไบโอติก และโปรไบโอติก. วารสารอาหาร, 45(4), 29-32. Retrieved from   

                  https://kukrdb.lib.ku.ac.th/journal/index.php?/FOOD/search_detail/result/20000874

กัญญรัตน์ กัญญาคำ. (2022). ยีสต์โพรไบโอติก. วารสารอาหาร, 52(2), 28-34. Retrieved from

                 https://kukr.lib.ku.ac.th/kukr_es/BKN_FRPD/search_detail/result/20015033

พัทธ์ธีรา โสดาตา (ม.ป.ป.). ประโยชน์ของโพรไบโอติก. Retrieved from https://pharm.tu.ac.th/uploads/pharm/pdf/articles/20181002_4.pdf

โพรไบโอติกและพรีไบโอติกส์ ต่างกันอย่างไร? (2562). Retrieved from https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/july-2019/probiotics-and-prebiotics

 

แนะนำบรรณานุกรมที่เกี่ยวข้อง

 

Kechagia, M., Basoulis, D., Konstantopoulou, S., Dimitriadi, D., Gyftopoulou, K., Skarmoutsou, N., & Fakiri, E. M. (2013).

                  Health benefits of probiotics: a review. ISRN Nutr, 2013, 481651. doi:10.5402/2013/481651

               

ANDERS, H., Jarstrand, C., & PAHLSON, C. (1992). Treatment of bacterial vaginosis with lactobacilli.

                 Sexually transmitted diseases, 19(3), 146-148.

 

Barthow, C., Wickens, K., Stanley, T., Mitchell, E. A., Maude, R., Abels, P., . . . Kang, J. (2016).

                The Probiotics in Pregnancy Study (PiP Study): rationale and design of a double-blind randomised

                controlled  trial to improve maternal health during pregnancy and prevent infant eczema and allergy. BMC

                Pregnancy and Childbirth, 16(1), 1-14.

 

D'souza, A. L., Rajkumar, C., Cooke, J., & Bulpitt, C. J. (2002). Probiotics in prevention of antibiotic

               associated diarrhoea: meta-analysis. Bmj, 324(7350), 1361.

 

de los Angeles Pineda, M., Thompson, S. F., Summers, K., de Leon, F., Pope, J., & Reid, G. (2011).

              A randomized, double-blinded, placebo-controlled pilot  study of probiotics in active rheumatoid arthritis. 

              Medical science monitor: international medical journal of experimental and clinical research, 17(6),

              CR347.

 

Doron, S. I., Hibberd, P. L., & Gorbach, S. L. (2008). Probiotics for prevention of antibiotic-associated diarrhea.

              Journal of Clinical Gastroenterology, 42,S58-S63.

              

Dotterud, C. K., Storrø, O., Johnsen, R., & Øien, T. (2010). Probiotics in pregnant women to prevent allergic

              disease: a randomized, double‐blind trial. British Journal of Dermatology, 163(3), 616-623.

              

Guandalini, S. (2011). Probiotics for Prevention and Treatment of Diarrhea. Journal of Clinical Gastroenterology,

              45, S149-S153. doi:10.1097/MCG.0b013e3182257e98

              

Kumar, N., Behera, B., Sagiri, S. S., Pal, K., Ray, S. S., & Roy, S. (2011). Bacterial vaginosis: etiology and

               modalities of treatment—a brief note. Journal of pharmacy & bioallied sciences, 3(4), 496.

              

Mantegazza, C., Molinari, P., D’Auria, E., Sonnino, M., Morelli, L., & Zuccotti, G. V. (2018). Probiotics and

                antibiotic-associated diarrhea in children: A review  and new evidence on Lactobacillus rhamnosus

               GG during and after antibiotic treatment. Pharmacological Research, 128, 63-72.

 

Miraglia Del Giudice, M., Maiello, N., Decimo, F., Fusco, N., D'Agostino, B., Sullo, N., . . . Ciprandi, G. (2012).

                Airways allergic inflammation and L. reuterii treatment in asthmatic children. Journal of biological

                regulators and homeostatic agents, 26(1 Suppl), S35-40. Rosenfeldt, V., Benfeldt, E., Nielsen,

                S. D., Michaelsen, K. F., Jeppesen, D. L., Valerius, N. H., & Paerregaard, A. (2003). Effect of

                probiotic Lactobacillus strains in children with atopic dermatitis. Journal of Allergy

                and Clinical Immunology, 111(2), 389-395.


 
 
 
1xbet casino siteleri bedava bahis kaçak bahis superbetin yeni giriş casino siteleri